ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
วิกฤตเอกลักษณ์เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัยและเกิดในสถานการณ์ไหนก็ได้ โดยส่วนมากมักจะเกิดขึ้นเมื่อเราถูกแยกจากกลุ่มคนหรือคนที่เรารัก แต่ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขแบบไหนก็สร้างความทุกข์ใจได้ไม่ต่างกัน ความรู้สึกถึงตัวตนเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อความสุขของเรา และเมื่อความรู้สึกถึงตัวตนของเราแตกสลายเราก็ย่อมรู้สึกสิ้นหวัง การเรียนรู้ที่จะสร้างความรู้สึกถึงตัวตนขึ้นมาใหม่จะช่วยให้คุณข้ามผ่านวิกฤตเอกลักษณ์และพบกับความสุขได้ในที่สุด
ขั้นตอน
-
สำรวจตัวตนของคุณ. การสำรวจเอกลักษณ์มักพบได้บ่อยที่สุดในช่วงวัยรุ่น วัยรุ่นหลายคนพยายามสวมบทบาทหลายแบบและทดลองชุดค่านิยมที่แตกต่างไปจากที่ตัวเองได้รับการเลี้ยงดูมา การสำรวจเอกลักษณ์เป็นส่วนสำคัญของการเติบโต หากใครไม่ผ่านช่วงสำรวจเอกลักษณ์ เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่เขาอาจจะเสี่ยงต่อการรู้สึกว่าตัวเองไม่มีเอกลักษณ์ที่เลือกเอง [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ถ้าคุณยังไม่เคยผ่านช่วงสำรวจเอกลักษณ์ของตนเองมาก่อนเลย การเริ่มลงมือเสียตั้งแต่ตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้คุณรับมือกับวิกฤตเอกลักษณ์ได้
- ลองนึกถึงคุณสมบัติและลักษณะที่ทำให้คุณเป็นคุณทุกวันนี้ [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตรวจสอบค่านิยมของคุณ อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณ หลักการอะไรที่กำหนดวิถีชีวิตของคุณ หลักการนั้นสร้างขึ้นมาได้อย่างไร และใครที่มีอิทธิพลต่อการเลือกค่านิยมเหล่านั้น [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ประเมินว่าคุณสมบัติและค่านิยมเหล่านั้นเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ในชีวิต หรือค่อนข้างจะเหมือนเดิม ไม่ว่ามันจะเปลี่ยนไปหรือไม่เปลี่ยน ให้ตรวจสอบว่าทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ระบุสิ่งที่ยึดเหนี่ยวตัวตนของคุณ. ทุกคนต้องเคยรู้สึกเคว้งคว้างกันบ้าง แต่เมื่อคุณรู้สึกเคว้งคว้าง คุณต้องหาให้ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวคุณไว้ในชีวิตประจำวัน [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง สำหรับหลายคน สิ่งที่ยึดเหนี่ยวพวกเขาไว้มากที่สุดคือความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ เพื่อนๆ ญาติๆ เพื่อนร่วมงาน หรือคนรักล้วนสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ที่เราเลือกที่จะใช้ชีวิตด้วย
- ลองคิดดูว่าความสัมพันธ์ไหนที่มีความหมายกับคุณมากที่สุด แล้วความสัมพันธ์เหล่านั้นช่วยสร้างตัวตนของคุณในช่วงเวลาที่ดีและแย่อย่างไร [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- จากนั้นก็ลองคิดดูว่าทำไมความสัมพันธ์เหล่านี้ถึงสำคัญกับคุณ ทำไมคุณถึงเลือกที่จะอยู่กับคนที่คุณเลือกอยู่ด้วย [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถ้าความสัมพันธ์ไม่ใช่สิ่งยึดเหนี่ยว ลองคิดว่าทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น เพราะคุณไม่ใช่คนที่มองหาความใกล้ชิดกับคนอื่นหรือเปล่า แล้วสิ่งนี้เป็นตัวตนที่คุณชอบหรือไม่ หรือว่าคุณอยากจะเปลี่ยน
- ถามตัวเองอย่างซื่อสัตย์ว่า คุณจะยังเป็นคนเดิมหรือไม่หากไม่มีความสัมพันธ์ที่คุณเคยมีมาตลอดชีวิต
-
พิจารณาความสนใจของคุณ. นอกจากความสัมพันธ์แล้วความสนใจส่วนตัวก็มักจะเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวตัวตนไว้กับชีวิตของเรา ไม่ว่าคุณจะรู้ตัวหรือไม่ แต่ความสัมพันธ์และงานอดิเรก/ความสนใจของคุณอาจเป็นสิ่งที่กินเวลาว่างส่วนใหญ่ที่อยู่นอกเหนือจากงานหรือโรงเรียนก็ได้ คุณอาจจะเลือกความสนใจจากบุคลิกและเอกลักษณ์ หรือความรู้สึกถึงตัวตนของคุณอาจจะสร้างจากความสนใจและงานอดิเรกก็ได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ความสนใจและงานอดิเรกก็เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการเข้าใจตัวตนของคุณได้อย่างแท้จริง [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ลองคิดว่าตัวเองใช้เวลาว่างอย่างไร สิ่งที่คุณสนใจหรืองานอดิเรกอะไรที่คุณให้เวลาและพลังงานด้วยมากที่สุด
- ถึงตอนนี้มาทบทวนดูว่า ทำไมความสนใจเหล่านั้นถึงสำคัญกับคุณ คุณสนใจสิ่งเหล่านี้มาโดยตลอดหรือเปล่า มันเป็นสิ่งที่บอกถึงตัวตนของคุณตั้งแต่เด็กๆ หรือว่าเป็นสิ่งที่คุณเพิ่งสนใจได้ไม่นานนัก ทำไมคุณถึงสนใจสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่แรก
- ถามตัวเองอย่างซื่อสัตย์ว่า คุณจะยังคงเป็นคนเดิมอยู่ไหมหากไม่มีความสนใจเหล่านี้
-
นึกภาพตัวตนที่ดีที่สุดของคุณในอนาคต. วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณรู้สึกมั่นคงกับความรู้สึกถึงตัวตน และมั่นใจมากขึ้นว่าคุณอยากเป็นคนแบบไหนก็คือ การฝึกนึกภาพตัวตนที่ดีที่สุดของตัวเองในอนาคต การฝึกแบบนี้บังคับให้คุณพิจารณาตัวตนในปัจจุบัน จากนั้นก็นึกภาพและเขียนตัวตนในแบบที่ดีที่สุดที่คุณจะสามารถทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ [9] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- แบ่งเวลา 20 นาทีเพื่อฝึกการนึกภาพตัวเอง [10] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- นึกภาพชีวิตในอนาคตอันใกล้ นึกถึงแต่ละด้านของชีวิตในแบบที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- เขียนรายละเอียดของสิ่งที่คุณจินตนาการเกี่ยวกับตัวเอง [12] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- คิดถึงวิธีที่จะทำให้ภาพที่คุณคิดเกี่ยวกับตัวเองเป็นจริงขึ้นมาได้ และนึกถึงอนาคตที่คุณวาดภาพไว้ทุกครั้งที่คุณรู้สึกหาทางออกไม่เจอหรือหลงทางในชีวิต ให้ภาพนั้นเป็นศูนย์กลางในการกำหนดทิศทางตัวเอง [13] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
-
ประเมินชีวิตเสียใหม่. การสูญเสียและความเปลี่ยนแปลงอาจเป็นเรื่องชวนสิ้นหวัง แต่มันก็ให้โอกาสใหม่ๆ ที่เราจะได้ประเมินว่าเราเป็นใครและเรากำลังทำอะไรอยู่ เป็นไปได้ว่าเป้าหมายและความฝันของคุณอาจจะต่างไปจากเมื่อ 5 ปีหรือ 10 ปีที่แล้ว แต่นิสัยหรือสถานการณ์บางอย่างอาจจะปิดตาคุณจากความเปลี่ยนแปลงนั้น [14] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเป็นทุกข์เพราะการสูญเสียหรือความเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหัน ให้ใช้มันเป็นโอกาสที่คุณจะได้ประเมินและทบทวนชีวิตตัวเองอีกครั้ง เช่น หลายคนเผชิญกับการตายของคนรัก และการสูญเสียนี้ก็เป็นเหมือนสัญญาณเตือนให้พวกเขาทำในสิ่งที่ต่างออกไปหรือเลิกเลื่อนเป้าหมายระยะยาว การตกงานก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือนให้คุณหางานที่ให้ความสุขและเติมเต็มคุณได้มากกว่าก็ได้ [15] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถามตัวเองอย่างซื่อสัตย์ว่า เป้าหมายและค่านิยมส่วนตัวของคุณในตอนนี้เหมือนกับในอดีตหรือเปล่า ถ้าไม่เหมือน ให้หาทางรวมเป้าหมายและค่านิยมใหม่เข้าไปในชีวิตของคุณ [16] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
เปิดใจให้กับการเปลี่ยนแปลง. หลายคนกลัวความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ที่ดูเหมือนจะทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปเลย แต่การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องปกติและก็เป็นเรื่องที่ดีที่สถานการณ์ของเราจะเปลี่ยนแปลงไป ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำว่า ใครก็ตามที่กำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงควรจะปรับและเปลี่ยนเอกลักษณ์ของตัวเองเสียใหม่ แทนที่จะไปต่อต้านความเปลี่ยนแปลงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ [17] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถามตัวเองว่า ในอีก 10 ปีหรือ 20 ปีข้างหน้า คุณจะเสียใจที่ไม่ได้คว้าโอกาสที่จะทำอะไรใหม่ๆ หรือทำสิ่งที่ต่างไปจากนี้หรือเปล่า [18] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ปล่อยให้ตัวเอง เข้าสู่กระบวนการค้นหาตัวเอง หาว่าคุณอยากได้อะไรในชีวิตมากที่สุด และหาวิธีที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นจากจุดที่คุณเป็นอยู่ [19] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ขณะที่คุณจินตนาการภาพตัวเองในอนาคต อย่าลืมว่าตัวตนในอนาคตก็ยังเป็นตัวตนของคุณอยู่ อย่าคาดหวังที่จะเป็นคนอื่น แต่การคาดการณ์ประสบการณ์ในอนาคตจะทำให้คุณฉลาดและรู้อะไรมากกว่าที่คุณรู้ในตอนนี้ โดยที่คุณเองก็ไม่ต้องอยู่ห่างจากแก่นแท้ความเป็นตัวตนของคุณ [20] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
สำรวจทางเลือก. คนที่เคยถูกปลดจากงานหรือตกงาน/สูญเสียสถานะบางคนอาจจะรับรู้ได้ถึงวิกฤตเอกลักษณ์ ที่ไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไปหรือไม่รู้จะเก็บชิ้นส่วนที่แตกมาประกอบกลับตามเดิมได้อย่างไร ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำว่า วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่คุณจะทำได้หลังจากสูญเสียงานที่คุณรักไปก็คือ ให้สำรวจทางเลือกอื่นๆ หาวิธีที่จะได้ทำงานลักษณะเดิมในสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไป [21] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- คุณอาจจะลองรับงานฟรีแลนซ์ในสาขาที่คุณเลือก แม้มันอาจจะไม่ใช่ตำแหน่งงานที่คุณอยากได้ แต่มันก็ทำให้คุณได้ทำงานในสาขาที่คุณชอบต่อไป ซึ่งอาจจะช่วยให้คุณรู้สึกถึงเป้าหมายได้อีกครั้ง [22] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ลองสร้างเครือข่าย เพราะตำแหน่งงานบางอย่างอาจจะมีการประกาศเป็นการภายในที่รู้กันแต่เฉพาะพนักงานเท่านั้น ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมการรู้จักมืออาชีพคนอื่นๆ ที่อยู่ในสาขาเดียวกันกับคุณจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากมายมหาศาล เครือข่ายเปิดประตูไปสู่โอกาสใหม่ๆ ที่คุณอาจจะพลาดไปถ้าคุณไม่มีเครือข่าย และอาจช่วยให้คุณรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนมืออาชีพกลุ่มใหญ่ที่สนใจอะไรเหมือนๆ กัน [23] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- สร้างนิสัยใหม่ๆ ที่ช่วยให้คุณไปถึงจุดที่คุณอยากจะไป การทำสิ่งเดิมๆ หลายๆ ปีอาจจะไม่ช่วยให้คุณข้ามไปอีกเส้นทางได้ เพราะฉะนั้นพยายามสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น [24] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
-
ใช้ชีวิตตามค่านิยมของคุณ. ค่านิยมที่คุณยึดถือคือแก่นแท้ของตัวตนของคุณ และช่วยสร้างเอกลักษณ์ของคุณในหลายๆ ด้าน วิธีที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณหาจุดมุ่งหมายในชีวิตได้ก็คือ การยึดมั่นในค่านิยมที่คุณเชื่อ [25] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถ้าการเป็นคนใจดีมีเมตตาเป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมของคุณ ก็ให้หาวิธีที่คุณจะได้แสดงความใจดีมีเมตตาในทุกๆ วัน
- ถ้าศาสนาเป็นหนึ่งในค่านิยมของคุณ ก็ให้ปฏิบัติตามหลักศาสนาเป็นประจำ
- ถ้าการสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนเป็นหนึ่งในค่านิยมของคุณ ก็ให้ทำความรู้จักกับเพื่อนบ้านและพยายามจัดงานพบปะทุกเดือน
-
ทำในสิ่งที่คุณรัก. ถ้าคุณรักงานที่คุณทำ นั่นจะทำให้ชีวิตคุณมีความสุขมากๆ แต่ถ้าคุณไม่ได้รักงานของคุณ ก็ไม่เป็นไร คุณแค่ต้องการสิ่งที่คุณรักนอกเหนือจากงานเท่านั้นเอง การมีสิ่งที่คุณรักช่วยให้คุณรู้สึกเติมเต็มและทำให้คุณมีจุดมุ่งหมายมากยิ่งขึ้น [26] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- เริ่มจากการทำในสิ่งที่คุณชอบและสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุข (ทั้งนี้สิ่งที่ทำให้คุณมีความสุขต้องปลอดภัยและไม่ผิดกฎหมาย) ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะผัดวันประกันพรุ่งกับสิ่งที่คุณรัก หลายคนถึงขั้นหาวิธีทำให้สิ่งที่เขารักกลายเป็นงานที่ยั่งยืนได้ด้วยตัวเอง มันอาจจะต้องใช้ความพยายามสักหน่อย แต่ก็ต้องเริ่มจากการหาเวลาให้สิ่งที่ทำให้คุณมีความสุขก่อน) [27] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถ้าคุณไม่มีสิ่งที่คุณอยากทำในตอนนี้ ก็ให้หาอะไรทำ ใช้ชุดค่านิยมของคุณสร้างแรงบันดาลใจเพื่อทำในสิ่งที่คุณอาจจะชอบ หรือหางานอดิเรกใหม่ เรียนดนตรี เข้าคลาสต่างๆ หรือไปที่ร้านงานอดิเรกและขอคำแนะนำเกี่ยวกับการทำงานประดิษฐ์ดีๆ สำหรับมือใหม่
-
อยู่กลางแจ้ง. บางคนพบว่า การใช้เวลากลางแจ้งทำให้พวกเขามีจุดมุ่งหมายและรู้สึกเติมเต็ม นอกจากนี้ยังมีการบำบัดแบบธรรมชาติที่ใช้กิจกรรมกลางแจ้งอย่างการเดินป่าและการตั้งแคมป์ในการช่วยให้คนเอาชนะปัญหาด้านสุขภาพจิตและอาการเสพติดด้วย [28] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ค้นหาสวนสาธารณะและเส้นทางการเดินป่าใกล้บ้าน อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัยที่จำเป็น และหาใครไปเป็นเพื่อนถ้าคุณไม่คุ้นเคยพื้นที่หรือไม่คุ้นเคยกับกิจกรรม
-
สำรวจจิตวิญญาณ. ศาสนาไม่ได้เหมาะกับคนทุกคนและไม่สามารถให้จุดมุ่งหมายกับคนทุกคนได้ แต่บางคนก็พบว่า ศรัทธาและกลุ่มคนทางศาสนาช่วยให้พวกเขาเชื่อมโยงกับบางสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากตัวพวกเขาได้ [29] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง แม้แต่การปฏิบัติทางจิตวิญญาณที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาอย่าง การนั่งสมาธิ และ การฝึกสติยังได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีผลดีต่อความเป็นอยู่ที่ดีด้านจิตใจของผู้ฝึก [30] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ American Psychological Association ไปที่แหล่งข้อมูล
- ลองทำสมาธิเพื่อให้รู้สึกสงบขึ้น นึกถึงความตั้งใจเอาไว้ เช่น ความตั้งใจที่จะทำใจให้สงบหรือความตั้งใจที่จะค้นหาตัวตน/จุดมุ่งหมาย จากนั้นให้จดจ่อไปที่ลมหายใจ ไม่ต้องไปสนใจความคิดข้างนอกที่โผล่ขึ้นมาในหัว หายใจทางจมูกและจดจ่ออยู่กับประสาทสัมผัสขณะที่คุณหายใจเข้าออก อยากนั่งนานเท่าไหร่ก็นั่ง และพยายามเพิ่มระยะเวลาการทำสมาธิในครั้งต่อๆ ไป [31] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- หาข้อมูลออนไลน์และอ่านเกี่ยวกับศาสนาต่างๆ ในโลก ความศรัทธาแต่ละแบบมีชุดค่านิยมและความเชื่อที่แตกต่างกัน ซึ่งบางอย่างอาจจะสอดคล้องกับค่านิยมของคุณก็ได้
- คุยกับเพื่อนๆ หรือญาติๆ ที่มีศรัทธาทางด้านจิตวิญญาณ พวกเขาอาจจะมีความเข้าใจบางอย่าง และอาจจะช่วยคุณสำรวจแนวทางและความเชื่อจากหลายศาสนาได้ถ้าคุณสนใจเรื่องนี้จริงๆ
โฆษณา
-
สร้างความสัมพันธ์ที่ดี. เพื่อนๆ ครอบครัว และคนรักล้วนเป็นแหล่งความมั่นคงสำหรับใครหลายคน นอกจากนี้การมีความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับครอบครัวหรือเพื่อนๆ ยังช่วยให้คุณรู้สึกมั่นคงในเอกลักษณ์ของคุณมากขึ้นด้วย เพราะมันทำให้คุณรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่ง [32] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- โทรศัพท์หรือส่งอีเมลหาเพื่อนๆ และ/หรือครอบครัว ติดต่อคนที่คุณพบปะด้วยบ่อยๆ หรือคนที่คุณเจอเป็นครั้งคราว
- บอกให้เพื่อนๆ และครอบครัวของคุณรู้ว่าคุณห่วงใยพวกเขา และบอกพวกเขาว่าคุณอยากใช้เวลาด้วยกันให้มากกว่านี้
- นัดกันไปดื่มกาแฟ ไปรับประทานอาหารด้วยกันข้างนอก ไปดูหนัง ไปหาอะไรดื่ม หรือไปผจญภัยด้วยกัน การให้เวลาและความพยายามในการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งนั้นจะช่วยให้คุณรู้สึกมีความสุขมากยิ่งขึ้นและมั่นใจในความเป็นตัวตนมากขึ้นด้วย [33] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
หาเส้นทางการเติบโตส่วนบุคคล. ไม่ว่าคุณจะพบความพึงพอใจและการเติบโตส่วนบุคคลในศาสนา กีฬา ปรัชญา ศิลปะ การท่องเที่ยว หรือความปรารถนาในด้านไหนๆ ก็ตาม จงไปตามเส้นทางของสิ่งที่สำคัญกับคุณ ปล่อยให้ตัวตนได้สร้างและเปลี่ยนแปลงไปตามแรงปรารถนาของคุณด้วยการทำตัวให้เปราะบาง รับรู้ว่าสิ่งที่คุณทำแล้วมีความสุขนั้นเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การทำ และหาวิธีที่จะได้อยู่กับสิ่งเหล่านั้นทุกวันหรือทุกสัปดาห์ [34] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
พยายามเพื่อความสำเร็จ. วิธีที่ยอดเยี่ยมที่จะทำให้เรารู้สึกถึงจุดมุ่งหมายได้มากขึ้นก็คือ การได้รับคำชมเชยและความสำเร็จในหน้าที่การงาน ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ถ้าคุณทุ่มเทคุณย่อมได้รับผลตอบแทนแน่นอน จริงอยู่ที่ชีวิตไม่ได้มีแค่เรื่องงาน แต่งานก็เป็นสิ่งที่พิสูจน์ตัวเราและทำให้เรารู้สึกว่าเรามีจุดหมาย [35] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถ้าคุณไม่มีความสุขกับการทำงาน ให้มองหาช่องทางที่จะได้ทำงานอย่างอื่น สายงานบางอย่างอาจจะต้องมีการศึกษาหรือการฝึกอบรมเพิ่มเติม ในขณะที่บางสายงานอาจจะใช้วุฒิการศึกษาปัจจุบันและประสบการณ์ทำงานได้ การหาช่องทางที่จะได้ทำงานในสายงานที่ทำให้คุณมีความสุขจะทำให้คุณมีจุดมุ่งหมายอย่างแท้จริง และมอบความพึงพอใจส่วนบุคคลให้คุณด้วย
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201203/are-you-having-identity-crisis
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/enlightened-living/200910/examining-our-sense-identity-and-who-we-are
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/enlightened-living/200910/examining-our-sense-identity-and-who-we-are
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/enlightened-living/200910/examining-our-sense-identity-and-who-we-are
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/enlightened-living/200910/examining-our-sense-identity-and-who-we-are
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/enlightened-living/200910/examining-our-sense-identity-and-who-we-are
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/enlightened-living/200910/examining-our-sense-identity-and-who-we-are
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/enlightened-living/200910/examining-our-sense-identity-and-who-we-are
- ↑ http://www.carolinemiller.com/info/Best_Possible_Future_Selves_Exercise.pdf
- ↑ http://www.carolinemiller.com/info/Best_Possible_Future_Selves_Exercise.pdf
- ↑ http://www.carolinemiller.com/info/Best_Possible_Future_Selves_Exercise.pdf
- ↑ http://www.carolinemiller.com/info/Best_Possible_Future_Selves_Exercise.pdf
- ↑ http://www.carolinemiller.com/info/Best_Possible_Future_Selves_Exercise.pdf
- ↑ https://www.psychologytoday.com/articles/201404/reinvent-yourself
- ↑ https://www.psychologytoday.com/articles/201404/reinvent-yourself
- ↑ https://www.psychologytoday.com/articles/201404/reinvent-yourself
- ↑ https://www.psychologytoday.com/articles/201404/reinvent-yourself
- ↑ https://www.psychologytoday.com/articles/201404/reinvent-yourself
- ↑ https://www.psychologytoday.com/articles/201404/reinvent-yourself
- ↑ https://www.psychologytoday.com/articles/201404/reinvent-yourself
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/who-am-i/201002/identity-exploration-redux
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/who-am-i/201002/identity-exploration-redux
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/who-am-i/201002/identity-exploration-redux
- ↑ https://www.psychologytoday.com/articles/201404/reinvent-yourself
- ↑ http://blogs.psychcentral.com/positive-psychology/2011/06/the-importance-of-purpose-and-how-to-find-it/
- ↑ http://blogs.psychcentral.com/positive-psychology/2011/06/the-importance-of-purpose-and-how-to-find-it/
- ↑ http://www.entrepreneur.com/article/219709
- ↑ http://www.webpages.uidaho.edu/wrc/Pdf/jeev24-2.pdf
- ↑ http://blogs.psychcentral.com/positive-psychology/2011/06/the-importance-of-purpose-and-how-to-find-it/
- ↑ http://www.apa.org/news/press/releases/2013/03/religion-spirituality.aspx
- ↑ https://www.nyimc.org/how-to-meditate/
- ↑ http://blogs.psychcentral.com/positive-psychology/2011/02/how-to-live-a-meaningful-and-significant-life/
- ↑ http://blogs.psychcentral.com/positive-psychology/2011/02/how-to-live-a-meaningful-and-significant-life/
- ↑ http://blogs.psychcentral.com/positive-psychology/2011/02/how-to-live-a-meaningful-and-significant-life/
- ↑ http://blogs.psychcentral.com/positive-psychology/2011/02/how-to-live-a-meaningful-and-significant-life/
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,598 ครั้ง
โฆษณา