ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เพื่อนบ้านเสียงดังบางครั้งก็น่ารำคาญสุดๆ เพราะมันทั้งรบกวนการนอนและกิจกรรมทั่วไป แต่พวกเขาอาจจะไม่รู้ตัวก็ได้ว่าทำให้คุณรำคาญ เพราะฉะนั้นทางที่ดีควรเริ่มจากการบอกอย่างสุภาพก่อนเสมอ แต่ถ้าบอกไปสองสามครั้งแล้วยังไม่ได้ผล คุณอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้มาตรการที่รุนแรงขึ้น รับรองว่าเพื่อนบ้านคนอื่นๆ จะต้องซาบซึ้งอย่างแน่นอน!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

วิธีการแก้ไขปัญหากับเพื่อนบ้านโดยตรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เดินเข้าไปบอกเพื่อนบ้านเรื่องที่คุณไม่สบายใจแบบใจเย็นๆ และสุภาพ ขอให้เขาลดเสียงลงและวางแผนเพื่อแก้ปัญหาเสียงดังรบกวนด้วยกัน [1]
    • เดินไปเล่าปัญหานี้ให้เพื่อนบ้านฟังแบบใจเย็น ถ้าคุณไม่เคยพบกันแบบต่อหน้าหรือพูดคุยกันเลย หาจังหวะแนะนำตัวเองก่อน บอกว่า “สวัสดี ฉันชื่อเมย์นะคะ ฉันใช้กำแพงร่วมกับคุณและอยู่บ้านติดกับคุณค่ะ”
    • เกริ่นเข้าเรื่องเสียงที่ดังรบกวนคุณ แต่พยายามพูดอย่างให้เกียรติให้ได้มากที่สุดเพื่อระวังไม่ให้เกิดความไม่พอใจ พูดประมาณว่า “ฉันไม่แน่ใจว่าคุณรู้หรือเปล่าว่าที่นี่ผนังบางมาก ฉันได้ยินเสียงชัดเลย แล้วก็นอนไม่ค่อยหลับน่ะค่ะ”
  2. บอกให้เพื่อนบ้านรู้ว่าเสียงดังรบกวนส่งผลกับคุณอย่างไร. คุณอาจจะกำลังอ่านหนังสือสอบ หรืออาศัยอยู่กับเด็กเล็กหรือญาติผู้สูงวัยที่ไม่สามารถฟังเสียงดังเกินไปได้ ช่วยให้เขาเข้าใจว่าทำไมเขาถึงต้องลดเสียงลง [2]
    • เช่น ถ้าคุณเป็นนักศึกษา อธิบายให้เพื่อนบ้านฟังว่าคุณต้องการความสงบและความเงียบเพื่ออ่านหนังสือช่วงดึก พูดไปตามตรงประมาณว่า “ฉันไม่ได้อยากจะทำให้คืนนี้หมดสนุกหรอกนะคะ แต่คุณช่วยพยายามลดเสียงลงช่วง 4 ทุ่มถึงตี 3 ได้ไหมคะ เพราะเป็นช่วงที่ฉันอ่านหนังสือพอดีน่ะค่ะ”
    • วิธีการเผชิญหน้ากับเพื่อนบ้านเรื่องเสียงดังรบกวนอีกวิธีหนึ่งก็คือ พูดถึงสมาชิกในบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเสียง พูดอย่างจริงใจทำนองว่า “พอดีลูกฉันยังเล็กน่ะค่ะ ตัวฉันเองก็ชอบเปิดเพลงร็อกดังๆ แล้วเต้นตามเหมือนกัน แต่พอมีเสียงดังแล้วลูกฉันนอนไม่หลับเลยค่ะ คุณช่วยลดเสียงลงได้ไหมคะ ฉันไม่อยากสติแตกไปซะก่อน”
  3. อย่าด่าว่าหรือกล่าวโทษ และอย่าข่มขู่เพื่อนบ้านเด็ดขาด ถ้าคุณเข้าไปกร่างใส่เขา เขาก็จะยิ่งตอบโต้ด้วยการกร่างใส่คุณกลับ จำไว้ว่าคุณกำลังหาวิธีแก้ปัญหา ไม่ใช่ทางตันที่สุดท้ายแล้วไม่มีใครยอมใคร
    • อย่าใช้ภาษากล่าวโทษ เช่น “คุณเป็นพวก” หรือ “คุณต้อง” แต่ให้เน้นไปที่ความรู้สึกของคุณและสื่อสารความต้องการกับเพื่อนบ้านแทน [3] แต่ให้ทำหลังจากที่งานเลี้ยงเสียงดังสนั่นจบลงแล้ว อย่าพยายามคุยกันด้วยเหตุผลท่ามกลางเสียงดังรอบตัว
    • อย่าเข้าไปหาเพื่อนบ้านด้วยท่าทีที่เดือดดาลหรือขุ่นเคือง ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองหงุดหงิดจนไม่สามารถคุยกันดีๆ แบบผู้ใหญ่ได้ ให้เก็บไว้คุยกันวันหลังเมื่อคุณใจเย็นลงแล้ว
  4. พวกเขาสามารถลดเสียงลงก่อนและหลังเวลานี้ในแต่ละวันได้ไหม คุณหรือเพื่อนบ้านสามารถใส่หูฟังเพื่อลดเสียงลงได้ไหม ยึดกฎการร้องเรียงเรื่องเสียงดังตามที่อาคารกำหนดเพื่อให้ช่วยให้คุณมีแนวทางในการหาข้อตกลงร่วมกัน
    • อ่านกฎของอะพาร์ตเมนต์และ/หรือบริเวณที่อยู่อาศัยของคุณ ขอให้เพื่อนบ้านเคารพช่วงเวลาที่กำหนดไว้ว่าห้ามส่งเสียงดัง [4]
    • ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะหาข้อตกลงร่วมกับเพื่อนบ้านด้วยตนเองได้อย่างไร ให้ใช้กฎของที่พักอาศัยเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา [5]
  5. ถ้าปัญหายังคงเกิดขึ้นต่อไป ลองเขียนจดหมายหาเพื่อนบ้าน แม้จะเป็นวิธีที่ดูเป็นทางการ แต่มันก็เป็นวิธีการสื่อสารความไม่พอใจที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ โดยที่คุณเผชิญหน้าน้อยที่สุด
    • ค่อยๆ เขียนจดหมายด้วยถ้อยคำที่สุภาพและเน้นข้อเท็จจริงเหมือนเข้าไปคุยครั้งแรก บอกผลลัพธ์ที่คุณต้องการตามข้อเรียกร้องในตอนแรก
    • เก็บสำเนาไว้เป็นส่วนหนึ่งของบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรว่าคุณได้ทำอะไรเพื่อแก้ปัญหาไปแล้วบ้าง
  6. จดบันทึกผลที่ตามมาหลังจากพูดคุยด้วยข้อเท็จจริงและรายละเอียดเท่าที่จะนึกออกและเขียนทันที คุณจะสามารถยืนยันได้ว่าคุณได้พยายามแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองแล้ว
    • การจดบันทึกสิ่งที่คุณทำอย่างละเอียดจะเป็นประโยชน์กับคุณหากปัญหายังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องหรือหากคุณจำเป็นต้องเขียนคำร้องอย่างเป็นทางการในภายหลัง การเขียนวันที่และเวลาลงไปรวมถึงการเก็บสำเนาบทสนทนาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (เช่น ข้อความ อีเมล จดหมาย) นั้นจะช่วยได้มาก
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

วิธีแก้ปัญหาเรื่องเสียงรบกวนผ่านทางเจ้าหน้าที่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณคิดว่าลำพังแค่คุณกับเขาไม่น่าจะแก้ปัญหาเรื่องเสียงดังรบกวนได้ ให้แก้ปัญหาด้วยการขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่สาม ไม่แน่ว่าสมาชิกนิติบุคคลหรือผู้จัดการอะพาร์ตเมนต์อาจเข้ามาช่วยพูดคุยและเลี่ยงไม่ให้ความขัดแย้งระหว่างคุณกับเพื่อนบ้านลุกลามไปมากกว่าเดิมได้ [6]
    • ถ้าอาคารที่คุณพักอาศัยไม่มีระบบคนกลาง ให้ปรึกษาเจ้าของหรือผู้คุมอาคารเรื่องเสียงที่ดังรบกวน
    • ผู้คุมหรือเจ้าของอาคารจะทำหน้าที่เป็นคนกลางและแจ้งเพื่อนบ้านว่า มีคนร้องเรียนเรื่องเสียงดังรบกวนจากบุคคลนิรนาม และไม่แน่ว่าอาจจะมีการแจ้งเตือนอย่างเป็นทางการด้วย [7]
  2. ติดต่อเจ้าหน้าที่ทางกฎหมายหากวิธีอื่นไม่ได้ผล. กรณีที่เสียงดังเกิน 70 เดซิเบล คุณสามารถไปร้องเรียนกับกรมควบคุมมลพิษทางเสียงที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาจัดการแก้ไขปัญหา ซึ่งหากเพื่อนบ้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ ก็จะถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย นอกจากนี้คุณยังสามารถติดต่อศูนย์รับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร (เบอร์ 1555) ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ กรมควบคุมมลพิษ (เบอร์ 1650) และศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน ยานพาหนะเสียงดัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (เบอร์ 1197) ได้อีกด้วย [8]
    • เวลาโทรเข้าไปแจ้งเหตุ บอกเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจนว่าคุณอยู่ที่ไหน ถ้าคุณอยู่ในอะพาร์ตเมนต์ที่มีหลายอาคาร ให้บอกชื่อถนนและหมายเลขอาคารให้ชัดเจน และอย่าลืมแจ้งรหัสผ่านหากอาคารที่คุณพักอาศัยมีรั้วกั้นไว้อีกชั้นหนึ่ง [9]
    • อธิบายสั้นๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น แจ้งเจ้าหน้าที่ไปว่าตอนนี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง พูดทำนองว่า “ผมขอแจ้งเหตุเพื่อนบ้านจัดงานเลี้ยงสังสรรค์เสียงดังเกินกว่าที่ชุมชนกำหนดไว้ครับ”
    • ถ้าคุณไม่อยากบอกชื่อเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองถูกหาเรื่อง แจ้งเจ้าหน้าที่ที่รับสายว่า คุณไม่อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาติดต่อคุณ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะติดต่อเพื่อนบ้านตามที่คุณร้องเรียน แต่จะไม่ดึงคุณเข้ามาด้วยและไม่เปิดเผยตัวตนของคุณ [10]
  3. ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาแก้ปัญหาเพื่อนบ้านเสียงดัง. ถ้าปัญหานี้สามารถแก้ได้หรือแก้ได้แล้วด้วยตัวคุณเอง เพื่อนบ้าน และเจ้าของอาคาร ก็ไม่ต้องให้ตำรวจเข้ามายุ่ง แต่ถ้าคุณพยายามจัดการกันภายในแล้วก็ยังไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ ให้แจ้งตำรวจ [11]
    • เบอร์ 191 เป็นเบอร์สำหรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย เพราะฉะนั้นพยายามค้นเบอร์สถานีตำรวจในพื้นที่ก่อน โทรแจ้งตำรวจหากมีงานเลี้ยงเสียงดังหรือมีวงดนตรีเล่นตลอดทั้งคืน [12]
    • คุณต้องโทรแจ้งตำรวจตอนที่ยังมีเสียงดังเกิดขึ้นเมื่อตำรวจมาถึง แต่ถ้าเสียงดังรบกวนหายไปแล้ว ให้โทรไปที่ศูนย์รับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์หรือศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน [13]
  4. การดำเนินคดีตามกฎหมายควรเป็นทางเลือกสุดท้ายหลังจากที่คุณพยายามแก้ไขปัญหาทุกวิถีทางแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ใช้บันทึกการเจรจากับเพื่อนบ้านในอดีตที่คุณเขียนไว้เป็นเอกสารประกอบเพื่อยื่นคำฟ้องในคดีมโนสาเร่ [14]
    • ฟ้องเพื่อนบ้านในศาลเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงิน หรือให้ศาลสั่งให้เพื่อนบ้านเลิกส่งเสียงดังหรือที่ในทางกฎหมายเรียกว่า “ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญ” [15]
    • การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการส่งเสียงดังอาจเป็นเรื่องยากเพราะมูลค่าความเสียหายนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละคน แต่ถ้าคุณยังอยากฟ้องคดีมโนสาเร่ ให้ใช้บันทึกที่คุณเขียนไว้ในขั้นตอนก่อนหน้าประกอบคำฟ้อง แจ้งศาลว่าเพื่อนบ้านที่คุณยื่นฟ้องนั้นส่งเสียงดังรบกวนเกินเหตุมาหลายครั้งแล้ว
    • แจ้งศาลว่าคุณได้ขอให้เขาหรือเธอหยุดส่งเสียงดังมาหลายครั้งแล้ว แต่ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข แสดงหลักฐานว่ามีการแจ้งตำรวจและมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้านแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

วิธีการหลีกเลี่ยงเพื่อนบ้านเสียงดัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ราคาค่าห้องชั้นบนสุดอาจจะสูงกว่า แต่มันก็เป็นวิธีการหลีกเลี่ยงเพื่อนบ้านที่เสียงดังได้มากที่สุด เพราะเสียงจะไม่ดังรบกวนห้องชั้นบนสุดในอะพาร์ตเมนต์มากเท่ากับห้องชั้นล่างสุด เวลาที่มองหาอะพาร์ตเมนต์ก็ให้พิจารณาข้อนี้ด้วย [16]
  2. เข้าไปดูละแวกบ้านที่คุณวางแผนจะเช่าหรือซื้อ. การเข้าไปดูละแวกบ้านที่คุณวางแผนว่าจะเข้าไปอยู่อาศัยนั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้คุณรู้ว่าระดับเสียงอยู่ที่ระดับไหน และอย่าลืมสังเกตสภาพแวดล้อมด้วย
    • บนถนนที่คุณตั้งใจจะไปอยู่ ให้ดูว่ามีห่วงบาสเก็ตบอล ลานสเก็ตบอร์ด หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ทำให้เกิดเสียงดัง หรือมีเด็กๆ มาจับกลุ่มกันเสียงดังในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งหรือเปล่า [17]
    • หลีกเลี่ยงถนนที่มีป้ายรถเมล์ สี่แยกที่มีป้ายหยุด คลับ พื้นที่ว่างเปล่า หรือมีบ้านกึ่งวิถีอยู่ใกล้ๆ พูดง่ายๆ ก็คืออย่าเลือกบริเวณที่คนจอแจและมีรถสัญจรไปมาพลุกพล่าน
  3. แจ้งเจ้าของอาคารตั้งแต่แรกว่าคุณให้ความสำคัญกับความเงียบ. เวลามองหาที่พักอาศัย แจ้งเจ้าของอาคารเลยว่าคุณให้ความสำคัญกับการอาศัยอยู่ในอาคารที่ค่อนข้างเงียบสงบ [18]
    • ประเมินว่าเจ้าของอาคารเต็มใจที่จะทำตามความต้องการของคุณมากแค่ไหน ถ้าเขาหรือเธอพยายามหาห้องที่เงียบกว่าห้องอื่นให้คุณ แสดงว่าเจ้าของอาคารยินดีที่จะช่วยเหลือเพื่อให้คุณสบายใจ
    • ถ้าคุณได้ยินประโยคยอดฮิตอย่าง “ตึกนี้มีแต่คนรุ่นใหม่ครับ” เตรียมใจไว้เลยว่าจะต้องมีปาร์ตี้เด็กมหาวิทยาลัยแน่นอน ถ้าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คุณรับไม่ได้และไม่ยินดีที่จะให้เสียงระดับนี้เล็ดลอดเข้ามาในพื้นที่อาศัย คุณก็ควรหาที่อยู่ใหม่ดีกว่า
  4. แม้ว่าคุณจะพยายามอยู่ห่างไกลจากเสียงดังและ/หรือเพื่อนบ้านที่เสียงดังมากที่สุดแล้ว แต่เสียงก็ยังเล็ดลอดเข้ามาให้คุณประสาทเสียตอนไหนก็ได้อยู่ดี จู่ๆ ก็อาจจะมีเสียงดังจากการก่อสร้าง หรือเพื่อนบ้านอาจจะยืนกรานว่าจะตัดหญ้าตอน 9 โมงเช้าวันเสาร์ [19]
    • ลงทุนซื้อหูฟังตัดเสียงรบกวนหรือเครื่องเสียงสีขาวเพื่อลดระดับเสียงดังรบกวนที่อาคารดูดซับเอาไว้
    • อีกวิธีที่ช่วยดูดซับเสียงและลดความรำคาญก็คือ การติดตั้งเบสแทรปหรือวัสดุดูดซับเสียงอื่นๆ บนผนัง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเลย 4 ทุ่มไปแล้ว คุณสามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้
  • ถ้าคุณกับเพื่อนบ้านเป็นผู้เช่าทั้งคู่ ลองส่งสำเนาจดหมายและคำร้องเรียนให้เจ้าของอาคารหรือนิติบุคคล เสียงที่ดังรบกวนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเวลาทำการอาจละเมิดสัญญาเช่าและกฎของอาคารรวมไปถึงกฎหมายด้วย และอาจทำให้เขาหันมาสนใจเรื่องนี้
  • ใจเย็นๆ และใช้เหตุผล เพราะมันจะช่วยให้สถานการณ์เบาลงและไม่เกิดความขัดแย้ง
  • พยายามทำความรู้จักกับเพื่อนบ้าน (ทั้งที่เสียงดังและเสียงไม่ดัง) ก่อนเกิดปัญหา เพราะมันจะช่วยให้คุณพูดคุยกับเขาได้เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น
  • ใช้วิจารณญาณตัดสินใจว่าจะใช้ขั้นตอนไหน ถ้าการพูดคุยกันดีๆ สามารถแก้ปัญหาได้ การตักเตือนแบบสุภาพเป็นครั้งคราวก็อาจจะพอแล้ว แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองถูกข่มขู่หรือเพื่อนบ้านมีท่าทีก้าวร้าวเมื่อคุณไปขอร้อง การติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรงก็อาจเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
  • ชวนเพื่อนบ้านคนอื่นๆ มาเป็นพวก เป็นไปได้ว่าไม่ใช่คุณคนเดียวที่ได้รับผลกระทบจากเสียงรบกวน ถ้าคุณไปถึงขั้นตอนยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการแล้ว ให้ขอแรงสนับสนุนจากพวกเขา เพราะมันจะทำให้เรื่องของคุณมีน้ำหนักมากขึ้น
  • อย่าพยายามทำตัวเป็นฮีโร่ การเดินไปหาเพื่อนบ้านที่เมาแอ๋ตอนตี 3 ไม่ใช่ความคิดที่ดีแน่นอน เพราะมันอาจทำให้ปัญหายิ่งบานปลายแทนที่จะเบาบางลง
โฆษณา

คำเตือน

  • เวลายื่นคำร้องอย่างเป็นทางการไม่ต้องลงนาม เพราะแม้แต่คนที่มีเหตุผลก็ยังอาจหาทางกลับมาเอาคืนได้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่
  • แม้ว่าคุณจะอยากเอาคืนแค่ไหน แต่มันไม่ได้ผลหรอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะยาว การเปิดเพลงเสียงดังกว่าเดิมหรือทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นมีแต่จะทำให้คุณกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาไปด้วย
  • ถ้าคุณสงสัยว่า เสียงรบกวนอาจเกิดจากความรุนแรงในครอบครัวหรือมีใครกำลังตกอยู่ในอันตราย ให้โทรแจ้งตำรวจทันทีและอธิบายสิ่งที่คุณกังวลให้ชัดเจน อย่าพยายามทำตัวสุภาพด้วยการไม่เข้าไปยุ่ง
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,852 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา