ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การมีแม่สามี/แม่ยายจอมแสบนั้นถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ เพราะท่านอาจจะเข้ามาก้าวก่ายเรื่องการเลี้ยงลูก ทำให้คุณรู้สึกอึดอัดเวลาอยู่กับครอบครัว และอาจจะถึงขั้นทำให้เกิดรอยร้าวระหว่างคุณกับสามี/ภรรยาด้วย ส่วนใหญ่แล้วปัญหาเรื่องแม่สามี/แม่ยายมักจะเป็นเรื่องของความกลัวและความรู้สึกไม่มั่นคงของท่านมากกว่า เพราะฉะนั้นคุณต้องพยายามที่จะไม่เก็บมาใส่ใจหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามนั้น ในการรับมือกับแม่สามี/แม่ยายจอมแสบนั้น ให้พูดคุยกับสามี/ภรรยาเพื่อวางแผนร่วมกัน พอคุณตกลงกันได้แล้วว่าจะใช้วิธีไหนรับมือกับปัญหานี้ คุณก็ต้องส่งสัญญาณอยู่เป็นระยะว่าคุณพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอย่างจริงจังและท่านจะต้องเคารพคุณด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

เอาใจแม่สามี/แม่ยายหัวโบราณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุยปัญหากันเป็นการส่วนตัวเพื่อหาต้นตอของปัญหา. ชวนแม่สามี/แม่ยายไปดื่มกาแฟหรือทานข้าวกลางวันด้วยกัน เมื่อต่างคนต่างนั่งลงแล้วก็ชวนคุยเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้น เริ่มจากการอธิบายก่อนว่าคุณไม่ได้โกรธหรือไม่พอใจ แต่แค่อยากจะเข้าใจว่าทำไมท่านถึงชอบวิจารณ์คุณนัก มันอาจจะมีปัญหาที่กวนใจท่านซ่อนอยู่ และการพูดคุยถึงปัญหาในลักษณะที่ให้ความร่วมมือจะทำให้คุณเข้าใกล้การแก้ปัญหามากขึ้น [1]
    • เริ่มจากการทำให้มันเป็นปัญหาของคุณก่อน พูดว่า “หนูอยากจับเข่าคุยกับคุณแม่เรื่องที่กวนใจหนูในช่วงหลังมานี่” วิธีนี้จะทำให้ดูเหมือนว่าคนที่มีปัญหาคือคุณ ไม่ใช่ท่าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโต้เถียงกันต่อไป

    เคล็ดลับ: ถ้าปัญหาของแม่สามี/แม่ยายเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมหรือศาสนาของคุณ พยายามรวบรวมสติให้ได้มากที่สุด พูดว่า “หนูเคารพความเชื่อของคุณแม่ และหนูคิดว่าถ้าคุณแม่เคารพความเชื่อของหนูด้วยก็คงจะดีเหมือนกัน”

  2. คิดว่าคำวิจารณ์คือคำแนะนำและตอบกลับไปอย่างอ่อนโยน. ถ้าแม่สามี/แม่ยายวิจารณ์สไตล์หรือความเชื่อของคุณ ให้ถือเสียว่าคำวิจารณ์ของท่านเป็นคำแนะนำ ไม่ใช่การวิจารณ์ตามความเป็นจริง วิธีนี้จะทำให้คำวิจารณ์ของแม่สามี/แม่ยายมีอิทธิพลน้อยลงด้วยการทำให้มันเป็นแค่ความคิดเห็นล้วนๆ นอกจากนี้ยังช่วยลดความตึงเครียดได้เล็กน้อยด้วยการช่วยให้คุยกันต่อได้ง่ายขึ้น [2]
    • “หนูคงต้องเก็บไปคิดสักหน่อย” “ก็เป็นมุมมองที่น่าสนใจค่ะ” และ “หนูเข้าใจที่มาที่ไปของคุณแม่นะคะ ขอหนูกลับไปคิดทบทวนดูก่อน” เป็นคำตอบที่ดีที่จะทำให้มันดูเหมือนไม่มีอะไรต้องพูดต่อแล้ว
  3. เรียกสติท่านเมื่อท่านล้ำเส้นเพื่อสร้างขอบเขตส่วนตัว. ถ้าแม่สามี/แม่ยายแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์สิ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อทางการเมือง หรือชนชั้น ให้สร้างขอบเขตที่แข็งแกร่งด้วยการเรียกสติท่านกลับมา ถ้าคุณทำให้ท่านเห็นอยู่เรื่อยๆ ว่าคุณจะไม่ทนกับความคิดเห็นของท่าน ท่านจะถูกบังคับให้ต้องเผชิญหน้ากับความเชื่อที่ไม่เป็นธรรมของตัวเองและต้องปกป้องมันให้ได้ ถ้าท่านไม่ยอมทำอย่างนั้น ซึ่งท่านก็น่าจะตอบโต้มาแบบนั้น ท่านก็จะต้องเลิกพูดประเด็นที่อ่อนไหวไปเอง [3]
    • หนักแน่นแต่เคารพ เช่น ถ้าแม่สามี/แม่ยายบอกว่าคุณต้องเข้าวัดเสียบ้าง ให้พูดว่า “หนูไม่เคยวิจารณ์ความเชื่อเรื่องศาสนาของคุณแม่ และคุณแม่ก็ไม่มีสิทธิ์มาวิจารณ์ความเชื่อหนู หนูจะไม่ยอมให้คุณแม่มาพูดกับหนูแบบนี้ คุณแม่ช่วยกรุณาหยุดเถอะค่ะ เราจะได้อยู่ด้วยกันต่อไปได้”
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

รับมือกับแม่สามี/แม่ยายที่ชอบเถียงหรือชอบวิจารณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สื่อสารกับแม่สามี/แม่ยายโดยการถามว่าปัญหาที่ซ่อนอยู่คืออะไร. ชวนแม่สามี/แม่ยายไปดื่มกาแฟหรือทานอาหารกลางวันด้วยกันแล้วอธิบายว่า คุณไม่อยากให้เกิดความเกลียดชังและคุณเองก็เคารพท่าน ค่อยๆ อธิบายอย่างใจเย็นว่าคุณรู้สึกว่าท่านเถียงคุณบ่อยๆ และถามว่าคุณต้องทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ คุณอาจจะไม่ชอบคำตอบของท่าน แต่คุณก็จะได้ข้อมูลเชิงลึกของปัญหาที่ซ่อนอยู่ [4]
    • ถ้าแม่สามี/แม่ยายปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าท่านไม่ได้เถียงคุณ ท่านก็อาจจะแค่ไม่รู้ตัวว่าท่านทำ ซึ่งก็อาจจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าท่านไม่ได้ตั้งใจที่จะพยายามวิพากษ์วิจารณ์คุณ เลิกพูดเรื่องนี้แล้วดูว่าพฤติกรรมของท่านเปลี่ยนไปไหมหลังจากที่คุณเกริ่นเรื่องนี้ให้ท่านรับรู้แล้ว
    • ถ้าแม่สามี/แม่ยายบอกแค่ว่าท่านไม่ชอบคุณ คุณก็ทำอะไรไม่ได้มาก แสดงให้ท่านเห็นว่าคุณเป็นคู่ครองที่คู่ควรกับลูกของท่านด้วยการไม่เข้าไปโต้เถียงกับท่านและยอมรับความเห็นที่แตกต่าง

    เคล็ดลับ: เป็นไปได้ว่าปัญหาอาจจะไม่เกี่ยวกับคุณเลยก็ได้ ท่านอาจจะมีปัญหากับสามีของท่านหรือท่านอาจจะไม่พอใจเรื่องที่เกิดขึ้นในที่ทำงานก็ได้ ถ้าเป็นอย่างนี้ให้เสนอตัวช่วยเหลือท่านในทุกๆ อย่างที่ทำได้ แล้วท่านก็อาจจะเลิกมาลงกับคุณ

  2. ขอให้สามี/ภรรยาไปพูดคุยกับท่านถ้าท่านเป็นคนสื่อสารไม่เป็น. ถ้าท่านไม่สามารถพูดคุยถึงปัญหาโดยไม่เริ่มทะเลาะได้ ขอให้สามี/ภรรยาไปคุยกับท่าน ขอให้เขาทำให้ท่านใจเย็นและเปิดช่องทางการสื่อสารกับท่าน ท่านอาจจะแค่รู้สึกอึดอัดที่จะต้องเล่าความเจ็บปวดของท่านให้คุณฟัง [5]
    • ถ้าท่านสื่อสารกันดีๆ ไม่ได้ อย่าไปร่วมวงทะเลาะด้วย เพราะแม่สามี/แม่ยายของคุณน่าจะพยายามหาเรื่องทะเลาะ ซึ่งจะกลายเป็นวงจรอุบาทว์ที่คุณต้องให้รางวัลท่านด้วยการให้ในสิ่งที่ท่านต้องการ
  3. ยืนหยัดปกป้องตัวเองถ้าท่านวิพากษ์วิจารณ์คุณในที่สาธารณะ. ถ้าแม่สามี/แม่ยายหาเรื่องคุณตอนที่คุณอยู่ต่อหน้าสามี/ภรรยาหรือลูกๆ แสดงให้ท่านเห็นว่าคุณจะไม่ปล่อยให้ท่านปฏิบัติกับคุณอย่างไม่เป็นธรรมด้วยการยืนหยัดปกป้องตัวเอง ใช้น้ำเสียงหนักแน่นและเคารพในการชี้ให้เห็นว่า ท่านกำลังประพฤติตัวไม่เหมาะสมและเน้นไปที่พฤติกรรมของท่านมากกว่าสาระของการโต้เถียง [6]
    • เช่น ถ้าท่านพูดว่า “เธอนี่ไม่เคยจำได้เลยนะว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำไมเธอถึงได้เป็นคนเลอะเลือนไม่มีระเบียบขนาดนี้” ให้ตอบโต้ด้วยการพูดว่า “คุณแม่ครับ ผมไม่ทราบนะครับว่าทำไมคุณแม่ถึงคิดว่าการทำให้สามีของลูกขายหน้าถึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม แต่มันเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ครับ เพราะฉะนั้นกรุณาหยุดเถอะครับ”
    • ชี้ให้เห็นว่ามันมีช่วงเวลาและสถานที่ที่เหมาะจะคุยเรื่องยากๆ เหล่านี้ พูดว่า “ไว้เราค่อยคุยเรื่องนี้กันส่วนตัวแบบผู้ใหญ่คุยกันเถอะครับ แต่ผมจะไม่นั่งตรงนี้แล้วเถียงกันต่อหน้าแขก”
  4. เลือกวงทะเลาะให้ดีเพื่อพิสูจน์ว่าท่านเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา. ถ้าท่านพยายามที่จะเถียงกันต่อหน้าแขกและเรื่องที่เถียงกันก็เป็นเรื่องไร้สาระหรือไม่สำคัญ ก็แค่ปล่อยให้ท่านพูดไปและตอบกลับให้สั้นที่สุด ท่านจะทำให้ทุกคนเห็นแค่ว่าท่านโกรธมากแค่ไหนในขณะที่คุณแสดงให้เห็นว่าคุณมีเหตุผลและนิ่งมากแค่ไหน และมันอาจจะส่งผลให้ท่านใจเย็นลงเมื่อท่านเห็นว่าคุณไม่ตอบโต้ [7]
    • วิธีนี้เป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลดีมากเป็นพิเศษหากคุณมีปัญหาในการโน้มน้าวใจให้สามี/ภรรยาเห็นว่าเรื่องนี้เป็นปัญหา
    • เมื่อแม่สามี/แม่ยายของคุณพูดประมาณว่า “ฉันไม่อยากเชื่อเลยว่าเธอไม่พาลูกไปเข้าค่ายภาคฤดูร้อน ทำไมเธอถึงไม่ใส่ใจความต้องการของลูกเสียบ้าง” ให้พูดกลับไปว่า “ยังไงคะคุณแม่” เพื่อให้ท่านร่ายต่อและปล่อยให้ท่านทำตัวโง่ๆ เพราะคุณจะดูเป็นคนมีเหตุผลที่เปิดรับคำแนะนำ ในขณะที่ท่านจะไม่ต่างอะไรกับเด็กที่ชอบชวนทะเลาะ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

รับมือกับแม่สามี/แม่ยายจอมบงการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม่สามี/แม่ยายจอมบงการมักจะแสดงพฤติกรรมจากความต้องการที่อยากจะปกป้องลูก ถ้าคุณเกริ่นเรื่องนี้กับท่านตอนที่สามี/ภรรยาไม่ได้อยู่ด้วย ท่านจะรู้สึกทันทีว่าคุณกำลังหักหลังความไว้ใจของลูกท่านและไม่ได้เอาประโยชน์ของลูกท่านเป็นที่ตั้ง [8]
    • นอกจากนี้ท่านก็อาจจะไม่ไว้วางใจการตัดสินใจของคุณ เพราะฉะนั้นการเผชิญหน้ากับท่านตัวต่อตัวอาจจะให้ผลที่ตรงกันข้ามและนำไปสู่การทะเลาะ
  2. อธิบายว่าทำไมคุณถึงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของแม่สามี/แม่ยาย. ถ้าแม่สามี/แม่ยายของคุณมักจะออกคำสั่งอยู่เรื่อย ค่อยๆ อธิบายเหตุผลว่าทำไมคุณถึงไม่ทำแบบนั้นอย่างใจเย็นเพื่อให้ดูเหมือนว่าคุณไม่ได้ไม่ทำเพราะอยากจะกวนประสาทท่าน ถ้าคุณแค่ทำเป็นไม่สนใจ คุณจะทำให้ท่านคิดว่าท่านต้องจี้คุณให้มากกว่าเดิม การอธิบายตัวเองนอกจากจะแสดงให้ท่านเห็นว่าคุณพร้อมที่จะยืนหยัดเพื่อตัวเองแล้ว คุณยังได้ชี้ให้เห็นถึงบางจุดที่ท่านอาจจะไม่ได้คิดมาก่อนและทำให้ท่านเห็นด้วยกับคุณ [9]
    • เช่น ถ้าท่านอ้างว่าคุณไม่เห็นคุณค่าของภรรยามากพอ ค่อยๆ อธิบายว่า “ผมแสดงให้เธอรู้ว่าผมเห็นคุณค่าของเธอเวลาอยู่ด้วยกันสองคนเสมอ เพียงแต่ผมไม่ได้ทำต่อหน้าคุณแม่เท่านั้น และที่ผมไม่แสดงให้คุณแม่เห็นก็เพราะเกรงว่าจะเป็นการไม่ให้เกียรติคุณแม่”
    • ถ้าแม่ยายไม่เลิกถามสักทีว่าเมื่อไหร่คุณจะมีหลานให้ท่าน ให้อธิบายในแง่ของคุณภาพชีวิตของลูกเพื่อให้ดูเหมือนว่าคุณไตร่ตรองมาดีแล้ว พูดว่า “พวกเราจะรอจนกว่าจะเก็บเงินส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัยได้ พวกเราจะได้ให้อนาคตที่ดีที่สุดกับเขาเท่าที่เราจะทำได้”
  3. รอจนกว่าท่านจะไม่อยู่ใกล้ๆ ค่อยคุยกันเรื่องการตัดสินใจที่สำคัญ. ถ้าแม่สามี/แม่ยายของคุณมักจะแทรกตัวเข้ามาในการตัดสินใจหรือการพูดคยเรื่องสำคัญ ก็แค่รอจนกว่าท่านจะไม่อยู่หรือย้ายไปคุยกันส่วนอื่นของบ้าน เพราะถ้าท่านไม่อยู่ตรงนั้นท่านก็แทรกความคิดเห็นขึ้นมาไม่ได้ [10]
    • “ไว้ค่อยคุยกัน” เป็นวิธีง่ายๆ ในการเบี่ยงเบนการพูดคุยเรื่องที่ต้องคิดหนักต่อหน้าแม่สามี/แม่ยาย

    เคล็ดลับ: ตกลงกับกับสามี/ภรรยาว่าจะส่งสัญญาณอะไรเวลาที่คุณอยากคุยกันส่วนตัว อาจจะเป็นแค่การดึงหูหรือคำพูดไม่มีพิษภัยอย่าง “เดี๋ยวเราต้องไปซื้อของเข้าบ้านกันแล้วนะ” วิธีนี้จะทำให้แม่สามี/แม่ยายของคุณไม่โกรธที่คุณวางแผนจะพูดคุยเรื่องอะไรกันตอนที่ท่านไม่อยู่ด้วย

  4. แสดงความขอบคุณสามี/ภรรยาต่อหน้าแม่สามี/แม่ยาย. ถ้าแม่สามี/แม่ยายมักจะวิพากษ์วิจารณ์คุณมากเป็นพิเศษ ให้ลองแสดงความรักและความซาบซึ้งที่มีต่อสามี/ภรรยาเมื่อไหร่ก็ตามที่ท่านอยู่ใกล้ๆ ท่านอาจจะผ่อนลงมาบ้างถ้าท่านรู้สึกว่าคุณกับท่านต่างก็พยายามเพื่อเป้าหมายเดียวกันคือทำให้ลูกของท่านมีความสุข [11]
    • คำพูดทั่วไปอย่าง “ฉันขอบคุณคุณมากเลยนะคะที่ไปรับลูกวันนี้ คุณเป็นสามีที่น่ารักจังเลยค่ะ!” ก็เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะทำให้คุณได้คะแนนต่อหน้าแม่สามี
    • วิธีนี้เป็นกลยุทธ์ที่ดีถ้าแม่สามี/แม่ยายของคุณแสดงความกังวลเรื่องความจงรักภักดีหรือการอุทิศตนให้กับคู่สมรส การแสดงให้เห็นว่าคุณห่วงใยลูกของท่านจะทำให้ท่านสบายใจและทำให้ท่านอยากจะแทรกตัวเข้ามาน้อยลง
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ร่วมมือกับสามี/ภรรยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พูดคุยกับสามี/ภรรยาว่าเรื่องนี้เป็นปัญหามาโดยตลอดไหม. ถ้าแม่สามี/แม่ยายเป็นคนชอบวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องมาก หรือชอบเถียงอยู่แล้ว คุณก็อาจจะแค่วางแผนเพื่อลดพฤติกรรมและรับมือกับมัน แต่ถ้ามันเป็นพฤติกรรมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและพุ่งเป้ามาที่คุณคนเดียว ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะมีปัญหาที่ซ่อนอยู่และต้องพูดคุยกันให้ชัดเจน พูดคุยกับสามี/ภรรยาเพื่อให้คุณเข้าใจแม่สามี/แม่ยายมากขึ้น [12]
    • ถ้าคุณกังวลว่าจะเข้าเรื่องอย่างไรดี ให้พูดประมาณว่า “ฉันมีเรื่องอยากคุยกับคุณเกี่ยวกับท่าทีของแม่คุณ แต่ฉันไม่ได้ชวนทะเลาะนะ แค่อยากจะพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อดูว่าเรามีทางแก้หรือเปล่า”

    เคล็ดลับ: คุณมีโอกาสที่จะทำสำเร็จมากขึ้นถ้าคุณจัดการกับปัญหานี้ร่วมกับสามี/ภรรยา เพราะพวกเขารู้ตื้นลึกหนาบางดี และถ้าเกิดคุณทำตัวไม่เข้าท่าใส่แม่สามี/แม่ยาย มันก็อาจจะก่อให้เกิดรอยร้าวระหว่างคุณกับสามี/ภรรยาได้

  2. ถ้าท่านพุ่งเป้ามาที่คุณคนเดียว ขอให้สามี/ภรรยาคอยช่วยคุณหรือเข้าไปคุยกับท่าน. การเผชิญหน้าร่วมกับสามี/ภรรยาเป็นการสื่อให้แม่สามี/แม่ยายรู้ว่า พฤติกรรมของท่านเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ ถ้าสามี/ภรรยาของคุณเป็นฝ่ายเผชิญหน้ากับปัญหาก่อน มันก็จะเป็นการส่งสัญญาณให้รู้ว่าคุณทั้งคู่ต่างรับรู้ถึงปัญหา ขอให้สามี/ภรรยาไปพูดคุยกับท่านเป็นการส่วนตัวเพื่อดูว่าเขาเจอต้นตอของปัญหาหรือเปล่า แต่ถ้าสามี/ภรรยาของคุณไม่สบายใจที่จะเป็นคนกลาง อย่างน้อยก็ขอให้เขาคอยช่วยเหลือคุณเวลาที่ท่านล้ำเส้น [13]
    • ขอให้สามี/ภรรยากลับมาเล่าให้คุณฟังหลังจากที่เขาพูดคุยกับแม่เป็นการส่วนตัว เพราะเขาอาจจะได้ข้อมูลสำคัญว่าอะไรที่เป็นต้นตอของปัญหา
    • บอกสามี/ภรรยาว่า “ฉันคิดว่าถ้าเป็นคุณไปคุยกับท่านน่าจะง่ายกว่าฉันไปคุยเอง ถ้าคุณเข้าไปคุยกับท่านก่อนแล้วหาว่าอะไรที่ทำให้ท่านมีท่าทีที่ไม่ดีกับฉัน ฉันก็อาจจะจับเข่าคุยกับท่านได้ง่ายขึ้น”
  3. อย่าดุ่ยๆ เข้าไปแล้วเริ่มพูดคุยหรือเถียงกับแม่สามี/แม่ยายเลยโดยไม่ได้ปรึกษาสามี/ภรรยาของคุณก่อน เพราะถ้าคุณล้ำเส้นหรือร่วมวงเถียงกับแม่สามี/แม่ยายโดยไม่ได้ตกลงเรื่องแผนรับมือกันก่อน คุณก็อาจจะทำให้สามี/ภรรยาไม่พอใจได้ ตัดสินใจว่าคุณจะเผชิญหน้า เบี่ยงเบน หรือหลีกเลี่ยงปัญหาหรือไม่ร่วมกันเพื่อเพิ่มโอกาสที่คุณจะทำได้สำเร็จ [14]
    • แม้ว่าคุณจะอยากจัดการกับปัญหาด้วยการเข้าไปคุยกับแม่สามี/แม่ยายเป็นการส่วนตัว คุณก็ควรปรึกษาสามี/ภรรยาก่อน เพราะเขาอาจจะมีเคล็ดลับหรือคำแนะนำว่าจะต้องพูดคุยกับท่านอย่างไร และคุณก็ควรบอกเขาไว้ล่วงหน้าเผื่อว่าแม่สามี/แม่ยายของคุณมาปรึกษาเขาหลังจากที่คุณคุยกับท่านแล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

รับมือกับปัญหาเรื่องการเลี้ยงลูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขอคำแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูกแม้ว่าคุณจะไม่ได้ตั้งใจทำตาม. แม่สามี/แม่ยายของคุณมีประสบการณ์เลี้ยงลูกมาอย่างโชกโชน เป็นไปได้ว่าท่านอาจจะมีท่าทีที่ไม่ดีใส่คุณเพราะท่านรู้สึกว่าคุณไม่เคารพท่านด้วยการเพิกเฉยหรือไม่ขอคำแนะนำจากท่าน ถามท่านว่าท่านจะสอนลูกๆ ว่ายน้ำหรือหาโรงเรียนเตรียมอนุบาลอย่างไร ถึงคุณจะไม่ได้ทำตามคำแนะนำของท่าน แต่ท่านก็อาจจะผ่อนคลายลงมาบ้างเมื่อท่านเห็นว่าความคิดเห็นของท่านสำคัญ [15]

    เคล็ดลับ: ให้ท่านชนะเล็กๆ น้อยๆ บ้าง! ถ้าท่านบอกว่าถ้าน้ำมูกไหลให้ดื่มน้ำขิงดีกว่าชา ก็แค่รับคำแนะนำนั้นแล้วทำน้ำขิงให้ลูกดื่ม วิธีนี้จะช่วยให้คุณมีพื้นที่ที่จะไม่ทำตามเมื่อถึงเวลาต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญ

  2. พยายามเห็นด้วยกับความคิดเห็นของแม่สามี/แม่ยาย แม้ว่าท่านจะวิพากษ์วิจารณ์มากเกินไปก็ตาม. ความคิดเห็นอย่างเช่น “เธอต้องหาโรงเรียนเอกชนดีๆ ให้ลูกนะ” คุณก็สามารถเอาน้ำเย็นเข้าลูบได้อย่างรวดเร็วด้วยคำตอบง่ายๆ ว่า “หนูจะจำไว้ค่ะ!” หรือ “การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ เดี๋ยวหนูจะกลับไปคิดค่ะ!” วิธีนี้จะช่วยลดความหมายที่ซ่อนอยู่ในความคิดเห็นของท่านด้วยการทำให้มันดูเหมือนไม่ใช่ปัญหา [16]
    • ถ้าท่านพูดอะไรที่คุณเองก็เห็นด้วย ให้พูดออกมาดังๆ ความคิดเห็นอย่างเช่น “ลูกๆ เธอนี่โตไวจัง!” ก็แค่ตอบกลับไปว่า “ใช่เลยค่ะ!”
  3. แม่สามี/แม่ยายของคุณอาจจะรู้สึกเหมือนโดนจ้ำจี้จ้ำไชถ้าคุณมีข้อกำหนดและคำแนะนำในการช่วยดูลูกๆ ยาวเป็นหางว่าว แม่สามี/แม่ยายของคุณก็ทำหน้าที่เลี้ยงดูสามี/ภรรยาของคุณได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นเชื่อใจท่านหน่อย คุณอาจจะกลัวที่ต้องทิ้งลูกไว้กับคนอื่นตอนที่ลูกยังเล็ก แต่ท่านก็อาจจะรู้สึกถึงการไม่เคารพกันได้ถ้าคุณมีรายการสิ่งที่ต้องทำหรือคำเตือนเต็มไปหมด [17]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าทำทุกวิธีแล้วก็ยังไม่ได้ผลและปัญหามันก็เกินกว่าที่คุณจะรับมือได้จริงๆ คุณก็สามารถย้ายไปอยู่ให้ไกลขึ้นได้เสมอเพื่อให้ท่านเข้ามาก้าวก่ายได้ยากขึ้น
  • ถ้าสามี/ภรรยาไม่ช่วยคุณและยืนหยัดปกป้องคุณ ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณสองคนกำลังเจอปัญหาใหญ่ คุณอาจจะไปพบที่ปรึกษาคู่สมรสเพื่อเริ่มแก้ไขปัญหาระหว่างคุณ
  • ถ้าคุณเรียกแม่สามี/แม่ยายว่า “คุณแม่” หรือ “แม่” ให้เลิกทันที เพราะคุณอาจจะทำให้ท่านรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมกับคุณแบบผิดๆ จนทำให้ท่านรู้สึกว่าท่านสามารถวิจารณ์ หยาบคาย หรือใจร้ายใส่คุณได้
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เริ่มความสัมพันธ์แบบ Friends with Benefits
ทำให้แฟนเก่ากลับมารักคุณอีกครั้ง
รู้ว่าเมื่อไหร่ที่อีกฝ่ายไม่อยากคุยกับคุณแล้ว
รู้ว่าแฟนสาวของคุณแอบไปนอนกับคนอื่นหรือเปล่า
ทำให้ใครบางคนรู้สึกผิด
พิชิตหัวใจแฟนเก่ากลับมา หลังจากการเลิกรา
ทำให้แฟนเก่าคิดถึงคุณ
หาเสี่ยเลี้ยง
ปลอบโยนแฟนสาวของคุณเมื่อเธอรู้สึกแย่
ดูว่าเพื่อนอิจฉาคุณหรือไม่
จบความสัมพันธ์
ดูว่าผู้ชายกำลังหลอกใช้คุณเพื่อเซ็กส์หรือไม่
เรียกความเชื่อใจจากเขาหรือเธอกลับมา
ฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กลับมาดีเหมือนเดิม
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,036 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา