ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเพิ่งไปเจาะ (หู หรือส่วนไหนของร่างกายก็ตาม) มาหมาดๆ แต่ชักไม่แน่ใจแล้วสิ ว่าที่เจ็บอยู่นี่ถือว่าปกติ หรือแผลกำลังติดเชื้อกันแน่ บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการสังเกตรอยเจาะที่ติดเชื้อ จะได้ดูแลรักษาทันท่วงที รอยเจาะจะได้หายดี ไม่กลายเป็นแผลลุกลาม อาการที่บอกว่ารอยเจาะคุณติดเชื้อก็คือปวด บวม แดง ร้อน และมีหนอง แต่อาการที่ร้ายแรงกว่านี้ก็มี ทางที่ดีให้ดูแลรอยเจาะตามที่ช่างแนะนำ หรือในบทความนี้ จะดีที่สุด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

สัญญาณอันตราย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติรอยเจาะใหม่ๆ จะสีออกชมพู อย่าลืมว่าคุณเพิ่งไปให้ใครเขาเจาะเนื้อคุณทะลุมา แต่ถ้าแดงขึ้นเรื่อยๆ จนน่ากลัว หรือลามเป็นวงกว้าง ก็เป็นไปได้มากว่าแผลติดเชื้อซะแล้ว [1] ต้องคอยดูแลรอยเจาะให้ดี หรือถ่ายรูปไว้เรื่อยๆ จะได้รู้ว่าแดงขึ้นหรือเริ่มหายดี หลังผ่านไป 1 - 2 วัน
  2. แน่นอนว่าหลังเจาะ แผลจะบวมอยู่ประมาณ 48 ชั่วโมง เพราะร่างกายพยายามรักษารอยเจาะที่นึกว่าเป็นแผลบาดเจ็บ แต่หลังจากนั้นจะต้องยุบลง ถ้ายังบวมต่อ หรือบวมแดงหนักกว่าเดิม แถมปวด ก็เป็นไปได้ว่าแผลติดเชื้อ [2]
    • รอยเจาะบวมแล้วจุดที่เจาะจะใช้งานไม่ค่อยสะดวก เช่น ถ้าไปเจาะลิ้นแล้วลิ้นบวม ก็แน่นอนว่าต้องพูดหรือกินลำบาก ถ้าบริเวณที่ไปเจาะมาเจ็บปวดและบวมแดงจนขยับเขยื้อนไม่สะดวก สันนิษฐานไว้ได้เลยว่าแผลติดเชื้อ
  3. ถ้ามีอาการเจ็บปวด แปลว่าร่างกายประท้วงว่ามีอะไรผิดปกติ ปกติความเจ็บปวดหลังเจาะจะดีขึ้นใน 2 วันหรือมากกว่าหน่อย ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่อาการบวมลดลง ถ้าตึงๆ แปลบๆ, ปวดทึบๆ, แสบ หรือกดเจ็บ ถือว่าปกติ แต่ถ้าปวดนานกว่า 2 วันขึ้นไป หรือปวดมากเป็นพิเศษ แสดงว่าติดเชื้อ [3]
    • ถ้าเผลอไปโดนแล้วรอยเจาะระคายเคือง ก็แน่นอนว่าต้องเจ็บเป็นธรรมดา ที่น่าเป็นห่วงคือเจ็บนานหรือเจ็บมากผิดปกติ
  4. ต่อจากแผลแดง บวม ปวด ก็คือแผลร้อน ถ้ารอยเจาะติดเชื้อหรืออักเสบขึ้นมาจริงๆ จะรู้สึกร้อน หรือจับแล้วร้อน [4] ถ้าจะแตะรอยเจาะดูว่าร้อนไหม อย่าลืมล้างมือให้สะอาดก่อน
  5. ปกติหลังเจาะ จะมีน้ำใสๆ หรือใสออกเหลืองไหลออกมาจากแผล แล้วเป็นคราบเกาะเครื่องประดับที่ใส่ พวกนี้คือน้ำเหลือง ไม่น่าเป็นห่วงอะไรเพราะแปลว่าร่างกายกำลังรักษาตัว แต่ถ้ามีน้ำขาวข้นหรือของเหลวมีสี (เหลืองหรือเขียว) ไหลออกมา นั่นแหละหนอง ถ้าเป็นหนองจะมีกลิ่นเหม็นด้วย [5]
    • ถ้ามีน้ำสีขาวข้นหรือสีอื่นๆ ไหลออกมา เป็นไปได้มากว่าแผลคุณติดเชื้อ ให้รีบไปหาหมอเพื่อตรวจรักษา
  6. ถ้าเจาะวันนั้นแล้วยังเจ็บ ก็ถือว่าปกติ ต้องใช้เวลาเป็นวันๆ กว่าแผลติดเชื้อจะแสดงอาการ ส่วนคนที่เจาะมานาน ก็ไม่ต้องกลัวติดเชื้อแต่อย่างใด เพราะแผลหายนานแล้ว
    • แต่ถ้ารอยเจาะเก่าเกิดติดเชื้อขึ้นมา น่าจะเป็นเพราะมีแผลใหม่เกิดขึ้นบริเวณที่เจาะมากกว่า เช่น อะไรบาดผิวจนแบคทีเรียเล็ดลอดเข้าไปได้
  7. ถ้าเจาะบริเวณที่ติดเชื้อง่ายกว่าส่วนอื่น จะจับสังเกตได้ง่ายกว่าเยอะเลย ยังไงลองสอบถามช่างเจาะดู ว่าบริเวณที่คุณเลือกเจาะนั้น ติดเชื้อง่ายหรือเปล่า
    • เจาะสะดือแล้วต้องรักษาความสะอาดดีๆ เพราะเป็นจุดที่ทั้งอับทั้งอุ่น ยิ่งบริเวณที่เจาะอับชื้นง่ายแค่ไหน ก็ยิ่งเสี่ยงติดเชื้อมากเท่านั้น
    • เจาะลิ้นแล้วมีโอกาสติดเชื้อมากที่สุด เพราะในปากคนเราเป็นแหล่งซ่องสุมของแบคทีเรีย ทีนี้พอลิ้นติดเชื้อแล้วอาจมีโรคแทรกซ้อนได้อีก เช่น ลามไปถึงสมอง [6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ป้องกันการติดเชื้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติช่างเจาะจะแนะนำวิธีดูแลและรักษาความสะอาดรอยเจาะใหม่อยู่แล้ว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เจาะจุดไหนก็ต้องรักษาความสะอาดต่างวิธีกันไป ให้สอบถามโดยละเอียด จดไว้ได้ยิ่งดี ส่วนวิธีดูแลเบื้องต้นก็คือ [7]
    • ล้างทำความสะอาดรอยเจาะด้วยน้ำอุ่น กับสบู่ฆ่าเชื้อแบบไม่แต่งกลิ่น เช่น ยี่ห้อ Dial หรือยี่ห้ออื่นๆ แต่จริงๆ แล้วจะใช้น้ำเกลืออุ่นๆ ก็ได้
    • อย่าล้างรอยเจาะด้วยแอลกอฮอล์ล้างแผลหรือไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) เพราะแรงไป อาจกัดหรือทำผิวหนังระคายเคืองได้
    • อย่าใช้ครีมหรือขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะ เพราะทาแล้วฝุ่นผงจะมาเกาะ แถมเป็นชั้นหนา อากาศไม่ถ่ายเทไปยังรอยเจาะ
    • ทำความสะอาดรอยเจาะตามที่ช่างแนะนำ อย่าบ่อยไปหรือนานไป ถ้านานๆ ล้างแผลทีอาจมีฝุ่นหรือสะเก็ดผิวหนังสะสมหมักหมม แต่ถ้าล้างถี่ไปอาจทำผิวแห้ง ระคายเคืองแทน ทั้ง 2 แบบจะทำให้แผลไม่หายสักที
    • ค่อยๆ ขยับหรือหมุนเครื่องประดับที่ใส่ระหว่างล้างแผล น้ำสบู่หรือน้ำเกลือจะได้ทั่วถึง โดนทั้งรอยเจาะและเครื่องประดับ แต่ก็ไม่เสมอไป การเจาะบางประเภทก็ใช้วิธีต่างออกไป ยังไงสอบถามช่างเจาะจะดีที่สุด
  2. นอกจากล้างทำความสะอาดแล้ว ถ้าดูแลดีๆ ก็จะทำให้หายเจ็บเร็ว แถมไม่ติดเชื้อ วิธีการอื่นๆ ที่ใช้ดูแลตัวเองหลังเจาะก็เช่น [8]
  3. บอกเลยว่าคนไปเจาะ 1 ใน 5 คนมักเกิดแผลติดเชื้อ ส่วนใหญ่เพราะอุปกรณ์เจาะไม่สะอาด หรือดูแลตัวเองหลังเจาะไม่ดี [13] ให้ป้องกันแต่เนิ่นๆ โดยเลือกช่างเจาะที่เก่งๆ ร้านสะอาดๆ (หรือเจาะในโรงพยาบาลไปเลย) จุดสำคัญคือให้สอบถามหรือสังเกตว่าช่างฆ่าเชื้ออุปกรณ์ตรงไหนยังไง ควรมีหม้อนึ่งฆ่าเชื้อโรค (autoclave) และล้างทำความสะอาดบริเวณโดยรอบด้วยน้ำยาฟอกขาวและน้ำยาฆ่าเชื้อ
    • ช่างเจาะต้องใช้เข็มใหม่แกะกล่อง (ผ่านการฆ่าเชื้อ) เท่านั้น "ห้าม" ใช้เข็มซ้ำเด็ดขาด นอกจากนี้ต้องสวมถุงมือแบบใช้แล้วทิ้งเท่านั้น [14]
    • "อย่าเลือก" ร้านที่ใช้ปืนเจาะ (piercing gun) เห็นแล้วให้เปลี่ยนร้านทันที เลือกร้านที่สะอาด ปลอดเชื้อ หรือเจาะที่โรงพยาบาลเลยดีกว่า
    • เลือกคลินิกหรือร้านเจาะที่มีใบอนุญาตและช่างมีประสบการณ์
    • "อย่า" เจาะหูหรือส่วนไหนก็ตามด้วยตัวเอง หรือให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ช่วยกันเจาะเด็ดขาด
  4. ถึงอาการแพ้เครื่องประดับจะเป็นคนละอย่างกับแผลติดเชื้อ แต่ถ้ารอยเจาะเกิดอาการระคายเคือง ก็อาจลุกลามติดเชื้อได้ ถ้าแพ้หนักๆ ก็ต้องถอดทิ้งไปเลย เพราะงั้นหลังเจาะต้องใส่เครื่องประดับแบบ hypoallergenic คือไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ รอยเจาะจะได้หายเร็วๆ
  5. คุณเลือกเจาะได้สารพัดที่ทั่วร่างกาย ซึ่งแต่ละจุดก็มีเนื้อเยื่อต่างชนิดกันไป เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงได้ยากง่ายต่างกัน บางจุดเลยหายช้ากว่าอีกจุด เพราะงั้นให้ศึกษาว่าจุดที่คุณเจาะมักใช้เวลาฟื้นตัวเท่าไหร่ จะได้ดูแลถูก (ถ้าข้อมูลด้านล่างไม่มีจุดที่คุณเจาะ ให้สอบถามช่างเจาะของคุณ) [16]
    • เจาะกระดูกอ่อนหลังใบหู, รูจมูก, แก้ม, หัวนม, สะดือ และเจาะแบบ dermals/anchors/surface: 6 - 12 เดือน
    • เจาะติ่งหู, คิ้ว, ผนังกั้นโพรงจมูก, ริมฝีปาก, ริมฝีปากล่าง, เหนือริมฝีปาก (เหมือนไฝ) และเจาะแบบ Prince Albert (อวัยวะเพศชาย): 6 - 8 อาทิตย์
    • เจาะหนังหุ้มคลิตอริส: 4 - 6 อาทิตย์
    • เจาะลิ้น: 4 อาทิตย์
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ดูแลรักษาเมื่อเกิดอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ละลายเกลือ, เกลือทะเล (sea salt) หรือดีเกลือฝรั่ง (Epsom salt) 1 ช้อนชา (5 มล.) ในน้ำอุ่น 1 ถ้วยตวง (250 มล.) ภาชนะก็ต้องสะอาด เป็นไปได้ให้ใช้ถ้วยหรือแก้วพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง เวลาล้างแผลแต่ละครั้งจะได้ทิ้งไปเลย ให้เอารอยเจาะไปจุ่มหรือใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลือให้ชุ่มมาประคบ 2 - 3 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 15 นาที [17]
    • ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2 - 3 วัน หรือหนักกว่าเดิม ให้รีบไปหาหมอ
    • ต้องแช่หรือประคบให้ทั่วรอยเจาะ หรือก็คือ 2 ด้านของรู ส่วนการล้างทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่นกับสบู่ฆ่าเชื้อสูตรอ่อนๆ เป็นประจำก็อย่าให้ขาด
    • ถ้าแผลติดเชื้อ จะแต้มขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะนิดๆ หน่อยๆ ก็ได้
  2. ถ้าติดเชื้อไม่มาก ลองปรึกษาคลินิกหรือร้านเจาะดู. ถ้ามีอาการติดเชื้อเบื้องต้น เช่น บวมแดงไม่ยอมหาย จะลองสอบถามช่างเจาะก็ได้ ว่าควรปฏิบัติตัวยังไง หรือถ้ามีน้ำอะไรไหลออกมา ก็ไปที่คลินิกเลย ถ้าเป็นร้านหรือคลินิกที่เชี่ยวชาญ จะบอกได้เลยว่าอาการของคุณผิดปกติ ควรไปหาหมอหรือเปล่า
    • ถ้าเจาะตามร้านข้างทาง ก็อย่าเสียเวลากลับไปที่ร้านอีก เลยไปโรงพยาบาลเลยจะดีกว่า
  3. ถ้าจับไข้ หนาวสั่น หรือปวดท้อง รีบไปหาหมอเลย. ปกติอาการติดเชื้อจะจำกัดเฉพาะบริเวณที่เจาะ แต่ถ้าลุกลามหรือเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ก็ทำให้อาการหนัก หรือถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าติดเชื้อหนักแล้ว อาการที่พบคือเป็นไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ /อาเจียน หรือเวียนหัว [18]
    • ถ้าอาการปวด บวม แดงเริ่มลามจากบริเวณที่เจาะ ต้องหาหมอทันที เพราะแปลว่าติดเชื้อหนักกว่าเดิม และกำลังขยับขยายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
    • ปกติคุณหมอจะจ่ายยาปฏิชีวนะให้ เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อร้ายแรง แต่ถ้าเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว ก็ต้องถึงขั้นแอดมิทและให้ฉีดยาปฏิชีวนะเข้าเส้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเจาะบริเวณใบหน้าหรือช่องปากต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะถ้าติดเชื้อจะลามไปสมองง่ายมาก อันตรายสุดๆ
  • ขอบแข็งรอบรอยเจาะไม่ได้แปลว่าแผลติดเชื้อเสมอไป นั่นคือรอยเจาะกำลังหายเป็นปกติ
  • ถ้าคิดว่ารอยเจาะน่าจะติดเชื้อ ก็อย่าเพิ่งฟอกสบู่หรือทาขี้ผึ้งยา! ให้ล้างด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ แทน (ละลายเกลือ 1/4 ช้อนชาในน้ำ 1 ถ้วยตวง) หรืออะไรที่ช่างเจาะหรือคุณหมอแนะนำ
  • ถ้ารู้สึกว่ามีอะไรผิดปกติ ให้หาหมอจะดีที่สุด ถ้ารีบรักษาแต่เนิ่นๆ จะหายเร็วไม่ลุกลาม (แต่ดีกว่านั้นคือเลือกร้านหรือคลินิกที่รับเจาะดังๆ ดีๆ แต่แรก)
โฆษณา

คำเตือน

  • ให้รีบหาหมอทันทีถ้ามีอาการที่ส่งผลกระทบทั้งร่างกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หนาวสั่น วิงเวียน หรือมึนงง เพราะอาการติดเชื้อในกระแสเลือดถือว่าอันตรายมาก ดีไม่ดีอาจถึงชีวิต [19]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 48,700 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา