PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ไม่มีใครชอบเมื่อถูกบอกว่าพวกเขาเป็นพวกนึกถึงแต่ตัวเอง คนที่คิดถึงแต่ตัวเองจะสนใจแต่เรื่องของตัวเองเป็นอันดับแรกและสนใจเรื่องของคนอื่นน้อยมาก [1] พวกเราทุกคนอยากคิดว่าเราเป็นคนที่มีความเห็นอกเห็นใจและเอื้ออาทรต่อคนอื่น และเราเป็นผู้คิดถึงความรู้สึกของผู้อื่นมากเท่ากับคิดถึงความรู้สึกของเราเอง แต่มีหลายคนที่ติดนิสัยสนใจแต่เรื่องของตัวเองแทนที่จะคิดถึงคนอื่น การพิจารณาว่าคุณมีลักษณะของคนที่นึกถึงแต่ตนเองหรือไม่จะทำให้คุณเปลี่ยนแปลงนิสัยหรือความคิดของคุณ เพื่อที่จะเป็นคนที่คิดถึงเหล่านี้ตรงกับตัวคุณ แล้วเรียนรู้วิธีที่จะเป็นคนคิดถึงความต้องการและความรู้สึกของคนอื่นมากขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ประเมินว่าคุณเป็นคนนึกถึงแต่ตัวเองหรือไม่

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลักษณะของคนที่นึกถึงแต่ตัวเองมักจะเห็นได้ชัดเจนเวลาที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ถ้าคุณเริ่มจะรับรู้ลักษณะและทิศทางของบทสนทนาของคุณกับคนอื่น คุณจะเริ่มรับรู้ว่าคุณเป็นคนนึกถึงแต่ตนเองหรือไม่ หลังจากพูดคุยเสร็จ ลองตั้งคำถามเหล่านี้กับตัวคุณเอง:
    • ใครเป็นคนพูดเยอะสุดในการพูดคุยครั้งนี้
    • ใครดูเหมือนจะเป็นคน "คุมบังเหียน" หรือครอบครองพื้นที่ในการสนทนาครั้งนี้
    • คุณเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เกี่ยวกับคนที่คุณคุยด้วยหรือไม่
    • คุณถามถึงคนอื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตหรือประสบการณ์ของคุณหรือไม่
  2. [2] คนที่นึกถึงแต่ตัวเองมักจะดึงบทสนทนาให้กลับไปที่เรื่องของตัวเอง แทนที่จะฟังหรือชื่นชมในสิ่งที่คนอื่นจะพูดถึง อันที่จริง ถ้าคุณเป็นคนนึกถึงแต่ตัวเองคุณอาจจะไม่แม้แต่ฟังในสิ่งที่คนอื่นพูดเลยด้วยซ้ำ ลองนึกว่าคุณเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นผู้ฟังที่สนใจอีกฝ่ายมากกว่าจะรอให้บทสนทนาหยุดพักเพื่อที่คุณจะได้วกกลับไปคุยประเด็นเกี่ยวกับตัวเองต่อ
    • ถามตัวเองว่าคุณฟังในสิ่งที่คนอื่นกำลังพูดและวิธีการพูดของอีกฝ่ายหรือไม่ เธอบอกคุณในสิ่งที่คุณยังไม่รู้หรือไม่ คุณตั้งคำถาม พยักหน้า หรือรับรู้ส่วนหนึ่งของสิ่งที่เธอพูดเพื่อที่จะต่อยอดการพูดคุยหรือไม่ ถ้าอีกฝ่ายหงุดหงิด คุณสังเกตเห็นไหม ถ้าคุณเห็น ใช้เวลานานแค่ไหนคุณถึงจะรู้ตัว [3]
  3. รู้ตัวคุณรู้สึกอย่างไรหลังจากพบปะพูดคุยกับคนอื่น. การพูดคุยนั้นให้ความรู้สึกเหมือนการแข่งขันมากกว่าหรือไม่ คุณรู้สึกเหมือนกับงัดข้อเพื่อจะได้เป็นฝ่ายพูดหรือไม่ หรือต้องขัดคอคนอื่นหรือพูดข้ามหัวคนอื่นเพื่อให้ได้พูดความคิดของคุณออกมาหรือไม่ คุณรู้สึกเหมือนคุณต้องการให้เรื่องของคุณดราม่ากว่านี้หรือมีพลังมากกว่าของคนอื่นหรือไม่ นี่อาจเป็นสัญญาณบอกว่าคุณเป็นคนนึกถึงแต่ตัวเอง
    • สัญญาณอีกอย่างที่แสดงว่าคุณอาจเป็นคนคิดถึงเรื่องของตัวเองคือ คุณสนใจที่จะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด หรือชนะข้อโต้แย้งนั้นๆ มากกว่าจะนั่งทำความเข้าใจถึงสถานะหรือความคิดของอีกฝ่ายหรือไม่ [4]
    • ถ้าคุณรู้สึกหมดแรงหรือเหนื่อยล้าหลังจากจบบทสนทนา นี่อาจบ่งบอกถึงคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณรู้สึกโมโหหรือโกรธเคือง ถ้าคุณรู้สึกแบบนี้ถึงแม้คุณจะไม่ "เป็นฝ่ายชนะ" ในบทสนทนานั้นก็ตาม
  4. ดูว่าคุณใช้เวลานึกถึงความรู้สึกของคนอื่นมากน้อยแค่ไหน. สัญญาณพื้นฐานอย่างหนึ่งของการเป็นคนคิดถึงแต่ตัวเองคือ การที่ไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้ [5] ถ้าคุณแทบไม่คิดถึงความรู้สึกของเพื่อนหรือคนในครอบครัว คุณอาจจะเป็นคนคิดถึงแต่ตัวเอง ไม่เป็นไรที่จะคิดว่าทำยังไงให้ตัวเองมีความสุขและพึงพอใจ แต่คนอื่น (โดยเฉพาะคนที่คุณรัก) ไม่ควรรู้สึกเหมือนไม่มีตัวตนหรือถูกเมินจากคุณ
    • ถ้าคุณมักทำให้คนอื่นหงุดหงิดเป็นประจำจากพฤติกรรมของคุณและคุณไม่ค่อยตระหนักว่าคุณกำลังทำให้พวกเขารู้สึกอย่างไร คุณก็ควรจะต้องการสร้างนิสัยเป็นคนเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและคิดถึงตัวเองน้อยลง
  5. คุณใช้เวลาปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นพร้อมกับคิดว่าคุณประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน. คนที่นึกถึงแต่ตัวเองมีแนวโน้มจะเข้าสังคมและต้องการดูเป็นคนน่าสนใจ มีเสน่ห์ น่ารัก หรือดูพิเศษกว่าคนอื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ถ้าคุณพบว่าตัวเองมักเดินออกมาจากกลุ่มและคิดว่าคุณทำได้ดีแค่ไหนให้ดูเป็นคนฉลาด เท่ หรือน่าสนใจโดยไม่ได้นึกถึงคนที่คุณพูดด้วย นั่นก็อาจแปลว่าคุณนึกถึงแต่ตัวเอง
    • คุณใช้เวลารอบพูดถึงสิ่งที่คุณเคยพูด นึกย้อนว่าคุณทำให้คนหัวเราะได้กี่ครั้ง หรือคิดว่าใครบ้างในงานสังคมที่ถูกอกถูกใจคุณอย่างเห็นได้ชัด คุณอาจเป็นคนคิดถึงแต่ตัวเอง
  6. ประเมินวิธีที่คุณตอบสนองต่อคำวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์หรือคำติชมอย่างไร. [6] คนที่คิดถึงแต่ตัวเองมีแนวโน้มจะไม่ไว้ใจหรือไม่รับฟังคำติชมจากคนอื่น ในขณะที่การไม่เก็บคำติดเชิงลบมาทำให้ใจคุณหมองเศร้าเป็นสิ่งที่ดี แต่มันก็อาจทำลายความสัมพันธ์ส่วนตัวและงานของคุณลงได้ถ้าคุณไม่ฟังสิ่งที่คนอื่นพูดหรือให้ความเคารพในความเห็นของพวกเขาบ้าง สังเกตว่าถ้าคำตอบโต้แรกๆ ของคุณคือ ปกป้องตัวเองหรือโมโหแทนที่จะพยายามทำความเข้าใจในมุมมองของคนอื่น
  7. ลองดูว่าคุณมักจะโทษคนอื่นๆเมื่อมีบางอย่างไม่เป็นไปตามที่คิดหรือไม่. ถ้าคุณลืมจ่ายบิลหรืองานโปรเจคเสร็จไม่ทันตามกำหนด คุณจะโทษคนอื่นโดยอัตโนมัติหรือไม่ [7] ถ้านี่เป็นวิธีโต้ตอบตามปกติของคุณ คุณอาจเป็นคนที่คิดถึงแต่ตัวเองและเชื่อว่าคุณไม่มีวันเป็นฝ่ายผิด [8]
  8. งานวิจัยชี้ว่าคนหนุ่มสาวสมัยนี้จะนึกถึงตัวเองมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ [9] [10] คนยุคมิลเลเนียม (Millennials) (คนที่เกิดระหว่างปี 1980 ถึง 2000) พวกเขาเกิดในโลกแห่งยุควิกฤติซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตพวกเขาอย่างมาก สิ่งที่ดูเหมือนการนึกถึงแต่ตัวเองอันที่จริงอาจเป็นวิธีในการรับมือของพวกเขาก็ได้
    • นอกเหนือไปจากความแตกต่างด้านวัยแล้ว ไม่มีใครต้องการใช้เวลากับคนที่คิดถึงแต่ตัวเองมากจนไม่สนใจคนอื่นๆ นอกเหนือจากตัวเอง การคิดและการแสดงออกความห่วงใยต่อคนอื่นเป็นนิสัยที่เรียนรู้ได้และไม่สายมีคำว่าสายไปที่จะเรียน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เลิกนิสัยคิดถึงแต่ตัวเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนที่คิดถึงแต่ตัวเองมักจะรอให้คนอื่นชมพวกเขา ถ้าคุณไม่เพียงแต่ชอบคำชมแต่คุณใช้ชีวิตเพื่อให้ได้รับคำชมด้วย นั่นก็อาจหมายความว่าคุณเป็นคนคิดถึงแต่ตัวเอง เป็นเรื่องปกติถ้าคุณถือว่าคำชมเป็นเหมือนความสุขที่คาดไม่ถึงหรือเป็นเรื่องเซอร์ไพรส์ แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าคนอื่นติดค้างคำชมให้คุณอยู่เพราะคุณยอดเยี่ยมมากล่ะก็ คุณก็เข้าข่ายคนนึกถึงแต่ตัวเองแล้วล่ะ
    • คำชมควรจะเป็นความสุข "พิเศษ" ที่ช่วยเติมพลังให้คุณ ไม่ใช่ความคาดหวัง
  2. ยืดหยุ่นเกี่ยวกับวิธีการทำสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป. ถ้าคุณมีปัญหากับการยอมรับวิธีการอื่นๆ ในการลงมือทำบางอย่างล่ะก็ คุณคงเชื่อว่าคุณเป็นเพียงคนเดียวที่รู้ว่าอะไรดีที่สุด ไม่ว่าคุณกำลังจะวางแผนโปรเจคในที่ทำงานหรือจัดงานเต้นรำที่โรงเรียนของคุณ ถ้าคุณคิดว่าคุณรู้วิธีจัดการสิ่งต่างๆดีสุดและเกลียดเวลาที่คนอื่นๆเข้ามาควบคุม คุณก็ต้องเรียนรู้วิธีเป็นคนยืดหยุ่นกว่านี้ คุณเกลียดการเป็นคนที่ไม่สามารถอ้างเครดิตในการทำเรื่องบางอย่างหรือยอมรับว่าคนอื่นทำถูกต้อง แต่การยอมรับจะช่วยให้คุณเป็นคนใจกว้างมากขึ้น
    • ตัวอย่าง ถ้าคุณเห็นว่าตัวเองโกรธ หงุดหงิด หรือแม้กระทั่งฉุนจัดเมื่อคนอื่นพยายามทำบางอย่างด้วยวิธีการที่แตกต่างออกไป แม้ว่านั่นเป็นคนคู่หูในห้องแล็บที่มีความคิดใหม่สำหรับโปรเจค นี่อาจเกิดจากคุณเป็นคนคิดถึงแต่ตัวเองมากเกินกว่าที่จะรับรู้ความคิดเห็นคนอื่นๆ
  3. ปล่อยวางความอิจฉาเรื่องความสำเร็จของคนอื่น. [11] คนที่นึกถึงแต่ตัวเองมักพบปัญหาในการยินดีกับคนอื่นที่ได้รับคำยกย่องหรือการจดจำ ถ้ามีคนในกลุ่มคุณได้รับคำสรรเสริญไม่ว่าจะเป็นพี่น้องคุณได้เกรดดี หรือเพื่อนร่วมงานคุณสรุปงานโปรเจคได้อย่างน่าทึ่ง ถ้าแบบนั้นคุณควรจะรู้สึกยินดีไปกับพวกเขาอย่างเป็นธรรมชาติจะดีกว่า ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังอิจฉา โกรธ หรือมึนงงว่าทำไมคุณไม่ใช่คนที่ได้รับเครดิตอันนั้น คุณก็ต้องพยายามมากขึ้นเพื่อคิดถึงตัวเองให้น้อยลง
  4. คุณจำวันเกิด เหตุการณ์สำคัญ หรือเรื่องราวสำคัญของชีวิตของคนอื่นได้หรือไม่. ถ้าคุณมักจะลืมวันเกิด วันเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย การเลื่อนขั้น หรือเหตุการณ์เด่นๆ ในชีวิตของเพื่อนๆ คุณล่ะก็ นี่อาจเป็นเพราะคุณให้ความสำคัญแต่กับตัวเองมากเกินไป แม้เรามีงานยุ่งและไม่ได้ไปร่วมงานสำคัญบ้างบางครั้ง แต่การที่เรามักลืมเหตุการณ์สำคัญของเพื่อนๆ อยู่เป็นประจำล้วนเป็นสัญญาณของการหมกหมุ่นแต่เรื่องของตัวเอง
    • ลองสำรวจพฤติกรรมการจัดการของตัวคุณ ถ้าคุณลืมงานเหล่านี้และมีปัญหาในการจำนัดหมายหรืองานประชุมในแต่ละวัน คุณอาจแค่เป็นคนไม่มีระเบียบเฉยๆ หรือ ถ้าคุณเป็นโรคสมาธิสั้น อาการขี้หลงลืมนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับกับโรคมากกว่าการที่คุณนึกถึงแต่ตัวเอง
  5. [12] คนที่คิดถึงแต่ตัวเองไม่ชอบออกไปเที่ยวกับคนที่เข้ากับคนอื่นง่าย เสียงดัง หรือมีเพื่อนฝูงเยอะ พวกเขาไม่ชอบชิงดีชิงเด่นกับใครและชอบอยู่คนเดียวในแสงสปอร์ตไลท์มากกว่า คนที่สนใจแต่เรื่องของตัวเองเกลียดการยืนอยู่ข้างๆ คนที่หน้าตาดีกว่าหรือน่าสนใจกว่า พวกเขาจะมองหาคนที่กิริยาท่าทางธรรมดาหรือเป็นคนเขินอายมาไว้เป็นคนข้างตัวเพื่อที่พวกเขาจะได้มีดูโดดเด่นอยู่ตลอดเวลา ถ้าคุณคิดว่าตัวเองมีลักษณะนี้ คุณควรจะผูกสัมพันธ์กับคนที่มีบุคลิกหลากหลาย เป็นเรื่องดีที่คุณจะใช้เวลาอยู่ใกล้คนที่เข้ากับคนง่ายหรือคนที่สงวนท่าที และคุณจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนได้หลากหลายประเภท
    • เรื่องนี้อาจเกิดขึ้นกับความสัมพันธ์ของคุณได้เช่นกัน ถ้าคุณเกลียดการไปเดทกับคนที่มีแนวโน้มจะได้รับจุดสนใจ นั่นอาจเป็นเพราะคุณเกลียดการที่ถูกแย่งความสนใจไปจากตัวเอง
  6. คนที่คิดถึงแต่ตัวเองมีแนวโน้มที่จะหยาบคายกับคนอื่นเพราะพวกเขาคิดว่าคนเหล่านั้นไม่มีความสำคัญ ถ้าคุณพูดจาห้วนๆ ใส่พนักงานเสิร์ฟ หรือกับคนในที่ทำงาน หรือมาสายไปครึ่งชั่วโมงกับคนที่คิดว่าเป็นเพื่อนสนิทของคุณล่ะก็ คุณกำลังส่งสัญญาณว่าพวกเขาไม่คู่ควรกับเวลาหรือความสนใจของคุณ ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ตั้งใจก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าคุณจะคิดถึงแต่ตัวเองมากกว่าคนอื่นและจะทำให้คุณดูเป็นคนเห็นแก่ตัว
    • คนที่หมกหมุ่นกับเรื่องของตัวเองจะรู้สึกหวาดกลัวเวลาพวกเขาไม่ได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม แต่มักเมินคนอื่นเป็นประจำโดยไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำ การรู้ว่าคุณอยากได้รับการปฏิบัติต่ออย่างไรและคุณควรจะปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไรจะช่วยให้ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นราบรื่นขึ้นและทำให้คนอื่นมองคุณในแง่ดีขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เอาใส่ใจมากขึ้น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. พวกเราส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเราไม่รับรู้ถึงตัวตนหรือความรู้สึกของคนอื่น คุณสามารถรู้ถึงการมีอยู่ของพวกเขาได้ด้วยการถอยออกจากพฤติกรรมเดิมๆ ของคุณและสังเกตตัวคุณเอง [13] เมื่อคุณตระหนักถึงพฤติกรรมของตัวเอง คุณก็จะเริ่มเปลี่ยนตัวเอง เพื่อให้คุณรับรู้พฤติกรรมของตัวเองได้มากขึ้น เริ่มจากถามตัวคุณเองด้วยคำถามต่อไปนี้ หลังกลับจากการอยู่กับเพื่อนฝูง:
    • “ฉันดูให้แน่ใจว่าการพูดคุยนั้นอยู่แต่เรื่องของฉันหรือความสนใจของฉันอย่างเดียวใช่หรือไม่”
    • “ฉันได้รู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเพื่อนของฉัน และความเป็นอยู่ของพวกเขาในทุกวันนี้”
  2. การถามผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าคุณสนใจที่จะรู้มุมมองของพวกเขาอย่างกระตือรือร้น ถ้าคุณกำลังคุยอยู่กับเพื่อนหรือคนรู้จัก ลองถามพวกเขาว่ารู้สึกอย่างไรในเรื่องที่คุณกำลังพูดคุยกันอยู่ ถามว่าเขาบรรลุเป้าหมายหรือทำงานยากสำเร็จลงได้อย่างไร คนชอบที่จะรู้ว่าคนอื่นใส่ใจเรื่องของเขามากพอที่จะไต่ถามว่าเขาจัดการกับชีวิตของตนเองด้วยวิธีการแบบไหน คุณอาจจะแปลกใจว่าคนพูดเปิดใจได้มากขนาดไหน เมื่อคุณเริ่มด้วยคำถามปลายเปิดและถูกจังหวะไม่กี่คำถาม [14]
    • ในที่ทำงาน คุณอาจจะลองถามคนอื่นตรงๆ ว่าอยากจะทำโปรเจคให้สำเร็จด้วยวิธีไหน ในกรณีนี้ คุณใส่ใจกับคำแนะนำของเธอมากกว่าการที่เธอยอมรับความคิดของคุณ [15]
  3. คนที่นึกถึงแต่ตัวเองมักจะไม่สนใจว่าตัวเองทำร้ายความรู้สึกคนอื่น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเขาไม่รับรู้ถึงความรู้สึกคนอื่น ถ้าคุณกำลังพยายามล้มเลิกนิสัยนึกถึงแต่ตัวเองล่ะก็ ลองนึกว่าคุณเป็นอีกฝ่ายและขอโทษถ้าคุณทำบางอย่างที่อาจจะทำร้ายความรู้สึกของเขา
    • ขอโทษจากใจจริง คำขอโทษคุณสำคัญน้อยกว่าความรู้สึกผิดของคุณจริง และคุณรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น [16] ถ้าคุณเป็นมือใหม่หัดขอโทษหรือเพิ่งเริ่มฝึกเห็นใจผู้อื่น การขอโทษคุณอาจดูเคอะเขินก็ไม่เป็นไร คุณจะคุ้นเคยมากขึ้นเมื่อคุณเริ่มมีประสบการณ์เยอะขึ้น และเหตุการณ์ที่คุณต้องเอ่ยปากขอโทษก็จะลดลงไปตามกาลเวลาเช่นกัน
  4. พยายามไม่แสดงความคิดที่มาจากประสบการณ์ของตนเองก่อนที่คนอื่นจะเล่าเรื่องของพวกเขาจบ ฟังในสิ่งที่พวกเขาพูด และพยายามสนุกเข้าถึงอรรถรสให้มากขึ้น ต่อให้คุณไม่มีโอกาสที่จะมีส่วนร่วมก็ตาม คุณควรจะให้ความสนใจมากพอที่คุณจะพูดทวนคำพูดและจำวลีที่เป็นใจความสำคัญได้ [17]
    • นิสัยเหล่านี้จะทำให้คนรู้ว่าคุณฟังในสิ่งที่พวกเขาพูดและให้เกียรติพวกเขา การฟังคนอื่นยังช่วยได้ถ้าคุณรู้จักยืดหยุ่นในขณะรับฟัง อย่าฟันธงอะไรก่อนเริ่มพูดคุย แต่ปล่อยให้คนอื่นทำให้คุณเชื่อในสิ่งพวกเขาพูด พยายามให้ความสนใจพอที่คุณจะสรุปเรื่องราวของเขาและอธิบายว่าเขามีความรู้สึกเกี่ยวกับสถานการณ์นั้นอย่างไร [18]
  5. [19] เริ่มใส่ใจเพื่อนฝูง ถึงคุณแม้ว่าคุณจะไม่ได้อยู่กับพวกเขาก็ตาม ถ้าคนที่คุณรู้จักกำลังมีช่วงเวลาที่ยากลำบาก ส่งข้อความหรือทำสิ่งดีๆ ให้เพื่อแสดงให้เขาเห็นว่าคุณยังคิดถึงพวกเขา จดจำเรื่องที่เขาพูดตอนคุยกันครั้งล่าสุดได้ คอยตามเรื่องราวพวกเขาด้วยคำถามหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่คุณคุยกัน ลองทำสิ่งเล็กๆน้อยๆที่แสดงให้เห็นว่าคุณใส่ใจ เช่น โทรศัพท์ไปพูดคุยว่าพวกเขารู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง นี่แสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณใส่ใจเรื่องความเป็นไปของพวกเขา [20]
    • อย่าแค่บอกใครบางคนว่าคุณคอยสนับสนุนหรือใส่ใจเรื่องของเธอ แสดงให้เห็นผ่านการกระทำของคุณ นี่ยังรวมทั้งรับฟังเธอแต่ก็ให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของเธอในแบบที่ต่างไปจากแนวคิดเดิมของคุณ [21] ตัวอย่าง คุณอาจถามความคิดเห็นของเธอถึงเรื่องที่คุณกำลังคิดจะจ่ายเงินก้อนใหญ่ ขอคำแนะนำจากเธอจะทำให้เธอรู้สึกตัวเองมีคุณค่า
  6. พักเรื่องของตัวเองไว้ก่อนมาช่วยคนที่ต้องการความช่วยเหลือจากคุณ ลองเป็นอาสาสมัครที่งานการกุศลแถวบ้านหรือตามโรงทานต่างๆ ฝึกทำสิ่งเหล่านี้โดยไม่หวังผลตอบแทน นี่จะช่วยพัฒนาความเห็นอกเห็นใจและห่วงใยคนอื่นของคุณ [22]
    • ดูให้ดีว่าคุณให้ความสำคัญกับมิตรภาพในสิ่งที่พวกเขาเป็น ไม่ใช่เพราะสิ่งที่พวกเขาทำให้คุณ คุณจำเป็นต้องหยุดใช้คนหรือกิจกรรมเพียงเพื่อผลประโยชน์ของคุณเอง
  7. เติมพลังความเชื่อมั่นในตัวเองหรือรักตัวเอง. มีเส้นบางๆ กั้นระหว่างการรักตัวเองกับการหมกหมุ่นเรื่องตัวเอง และไม่ง่ายเลยที่จะแยกสองสิ่งนี้จากกัน [23] คุณจะรักและรับรู้ตัวตนของตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ และในขณะเดียวกันก็ต้องแน่ใจว่าคนอื่นสังเกตเห็นและรับฟังคุณด้วย ความมั่นใจในตัวเองป้องกันไม่ให้คนอื่นดูถูกหรือทำร้ายความรู้สึกของคุณ แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณสามารถทำร้ายคนอื่นเพื่อประโยชน์ของตัวเองได้
    • การรักตัวเองเป็นเรื่องของความสมดุล ถ้าคุณเห็นอกเห็นใจทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น คุณก็ไม่ใช่คนที่คิดถึงแต่ตัวเอง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อ่านหนังสือเกี่ยวกับวิธีเพิ่มความมั่นใจในตนเอง การจัดการกับความโกรธ หรือการมีความอดทน จำไว้ว่ามีแหล่งข้อมูลให้คุณเข้าถึงอยู่
  • ถ้าคนพยายามบอกคุณว่าคุณเป็นคนที่คิดถึงแต่ตัวเอง อย่าคิดแค่ว่าพวกเขาเสียมารยาทและไม่รับฟังพวกเขา คุณอาจกำลังทำร้ายความรู้สึกใครบางคน ดังนั้นพิจารณาในสิ่งที่พวกเขากำลังพยายามคุณให้หยุดทำ ไม่ได้พูดจาดูหมิ่นคุณ
  • เวลาฟังความเห็นหรือความคิดของคนอื่น พยายามเข้าใจและเคารพความคิดของพวกเขา ถ้านั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องในมุมมองของคุณ ลองค่อยๆ และระมัดระวังที่จะบอกพวกเขาว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าแปลกใจถ้าผู้คนทำตัวมีเส้นแบ่งกั้นกับคุณและเลือกที่จะใช้เวลาอยู่กับคุณให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นี่เป็นมาตรฐานในการจัดการ เพราะคนที่ไม่คิดถึงแต่ตัวเองจะรู้ว่าพวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนอะไรคุณได้ ให้คุณถือเอาการหายหน้าหายตาไปของพวกเขาเป็นสัญญาณว่า การหมกหมุ่นกับตัวเองของคุณเริ่มจะมากเกินไปสำหรับพวกเขาแล้ว
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 36,901 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา