ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บียอนเซ่เคยกล่าวไว้ว่า "การรู้ว่าคุณเป็นใครเป็นความฉลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะคิดได้ การรู้จักเป้าหมายของตนเอง รู้ว่ารักอะไร ยึดถือในความดีอะไร ต้องการอะไร รู้มาตรฐานของตนเอง อะไรที่ทนไม่ได้และอะไรที่เต็มใจจะขวนขวายหามาให้ได้ ทั้งหมดนี้นิยามความเป็นคุณ" คำพูดนี้ถูกต้องที่สุดเลย และพึงระลึกด้วยว่า เมื่อคุณผ่านโลกมากขึ้นและได้พบเจอผู้คนกับประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป ความเป็นตัวคุณจะมีการพัฒนาต่อเนื่อง ถ้าคุณมีปัญหาในการนิยามตัวตนของคุณ ก็ควรทำการไตร่ตรองคิดใคร่ครวญในตนเองเพื่อเผยตัวตนที่แท้จริงของคุณออกมา

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สำรวจตัวเองอย่างใกล้ชิดขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผู้คนมักเน้นไปที่ตัวเองชอบอะไรมากที่สุด ในขณะที่การค้นหาว่าอะไรทำให้คุณมีความสุขได้นั้นเป็นเรื่องสำคัญ แต่มันจะช่วยได้มากเลยถ้าได้รู้ด้วยว่าอะไรทำให้คุณไม่มีความสุขหรือไม่พอใจบ้าง หนึ่งในขั้นตอนแรกๆ ของการใคร่ครวญตนเองคือการนั่งลงและคิดรายชื่อสิ่งต่างๆ ที่คุณชอบและไม่ชอบ [1]
    • สิ่งที่คุณชอบและไม่ชอบมักเป็นสิ่งที่คุณอธิบายตัวเองให้คนอื่นฟัง นี่คือสิ่งที่จะแสดงความเกี่ยวพันหรือแบ่งแยกตัวเรากับผู้คนรอบกายเรา การเข้าใจในสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้รู้ว่าคุณต้องการอะไรในชีวิตและอะไรที่พึงหลีกเลี่ยง การรู้ในสิ่งที่ชอบและไม่ชอบสามารถนำมาเป็นแนวทางในการเลือกอาชีพ สถานที่อาศัย งานอดิเรก และประเภทของผู้คนที่คุณจะสนิทด้วย
    • ใช้กิจกรรมนี้เพื่อดูว่าสิ่งที่คุณชอบหรือไม่ชอบนั้นตายตัวเกินไปหรือไม่ คุณกำลังตีกรอบข้อจำกัดของตนเองอยู่หรือเปล่า มีอะไรที่คุณอยากจะทำหรือลองทำที่อยู่นอกเหนือสิ่งที่คุณคิดว่าควรจะเป็นบนกระดาษใบนั้นบ้างไหม รวบรวมความกล้าที่จะลองทำอะไรใหม่ๆ ดูบ้าง บางทีคุณอาจได้พบตัวตนอีกด้านที่แตกต่างจากเดิมของคุณเองก็ได้
  2. ทดสอบจุดแข็งและจุดอ่อนของคุณ . ก็เหมือนที่ความชอบและไม่ชอบทำให้คุณได้มองออกว่าคุณเป็นแบบไหน การทำความเข้าใจว่าคุณเก่งหรือไม่เก่งในด้านใดก็เช่นเดียวกัน ทำรายชื่อจุดแข็งและจุดอ่อนของคุณไว้ในกระดาษอีกแผ่น
    • สำหรับคนส่วนใหญ่ จุดแข็งหรือความสามารถอาจจะเหลื่อมอยู่กับสิ่งที่ชอบ และจุดอ่อนอาจเหลื่อมกับสิ่งที่ไม่ชอบ ยกตัวอย่างว่าถ้าคุณชอบคัพเค้ก คุกกี้ และขนมหวาน และจุดแข็งของคุณคือการอบขนม สองอย่างนี้มันไปด้วยกันได้ ในทางตรงข้าม คุณอาจไม่ชอบกีฬา และจุดอ่อนของคุณคือการประสานส่วนต่างๆ ของร่างกายหรือความอึดของร่างกาย
    • ในหลายๆ กรณี สิ่งที่เป็นจุดอ่อนได้กลายมาเป็นสิ่งที่คุณไม่ชอบเพราะคุณไม่ถนัดมันสักเท่าไหร่ นี่บอกได้ว่า ทำไม คุณถึงชอบหรือไม่ชอบอะไร
    • แค่รู้สิ่งเหล่านี้ก็มีความหมายในตัวมันเองแล้วล่ะ อย่างไรก็ดี คุณสามารถเจาะลึกลงไปอีกและตัดสินใจเองว่าคุณอยากจะลงมือพัฒนาในสิ่งที่คุณพบว่ามันเป็นจุดอ่อนหรือไม่ หรือคุณอยากจะเก็บพลังไว้เน้นแต่ในสิ่งที่คุณถนัดเท่านั้น
  3. เราสามารถเรียนรู้ตัวเองได้มากขึ้นเมื่อเรากำลังมีความสุข แต่เราก็ยังสามารถทำความเข้าใจจากในเวลาที่เรารู้สึกแย่ด้วยเช่นกัน ลองพยายามคิดถึงครั้งสุดท้ายที่คุณรู้สึกแย่หรือเครียด คุณมองหาอะไรมาเยียวยาในช่วงเวลาเช่นนั้น อะไรที่จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น
    • การรู้ว่าอะไรทำให้คุณสบายใจจะบอกได้มากว่าคุณเป็นคนเช่นไร มันอาจเป็นว่าคุณมองหาความช่วยเหลือจากใครคนหนึ่งอยู่เสมอเพื่อช่วยกระตุ้นจิตใจหรือทำให้คุณลืมเรื่องราวพวกนั้น คุณอาจดูหนังเรื่องโปรดหรือหนีไปอยู่กับตัวหนังสือของนิยายเล่มที่ชอบ แหล่งพำนักใจของคุณอาจเป็นอาหาร ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับคนที่ชอบทานตามอารมณ์ [2]
  4. บันทึกความคิดและอารมณ์ของคุณลงในสมุดบันทึก. [3] วิธีหนึ่งที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองได้ดีขึ้นคือการกลายเป็นผู้สังเกตการณ์ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ทำมันสักหนึ่งสัปดาห์หรือกว่านั้นเพื่อให้ได้ภาพรวมของหัวข้อเรื่องที่มักจะเกิดขึ้นในใจคุณ หรือระบุสภาพอารมณ์ที่คุณมักรู้สึกอยู่บ่อยๆ ความคิดคุณเป็นแบบมองโลกในแง่บวกหรือเปล่า หรือว่าเป็นในแง่ลบ? [4]
    • การทบทวนดูบันทึกอาจเปิดเผยให้เห็นถึงข้อสังเกตแฝงหลายอย่างเกี่ยวกับทิศทางที่คุณอยากดำเนินชีวิตไปแต่ไม่ได้มีสติรับรู้ คุณอาจเขียนซ้ำเขียนซากว่าอยากจะออกไปท่องเที่ยว หรือเขียนถึงใครคนหนึ่งที่ชอบเป็นประจำ หรืองานอดิเรกใหม่ที่คุณสนใจอยากจะทำ
    • หลังจากค้นพบประเด็นหลักที่เกิดซ้ำบ่อยๆ ในบันทึกของคุณแล้ว ใช้เวลาสักนิดไตร่ตรองถึงความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ว่ามันหมายถึงอะไร และคุณอยากจะทำอะไรกับมันไหม
  5. อีกวิธีหนึ่งที่จะเรียนรู้ตนเองเพิ่มขึ้นก็คือการทำแบบประเมินบุคลิกภาพทางอินเทอร์เน็ต คนบางคนอาจไม่ชอบให้ถูกจำแนกแยกพวก ในขณะที่บางคนชอบติดป้ายให้ตัวเองกับพฤติกรรมของตนเพื่อให้ชีวิตดูเป็นระเบียบขึ้น ถ้าคุณเป็นคนที่สนุกไปกับการทำความเข้าใจตนเองโดยการทดสอบว่าคุณมีส่วนคล้าย (หรือแตกต่างจาก) คนอื่นๆ เช่นไร ลองใช้เวลาทำแบบทดสอบบุคลิกภาพออนไลน์ก็อาจมีประโยชน์นะ
    • เว็บไซต์อย่างเช่น HumanMetrics.com ต้องการให้คุณตอบกลุ่มคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่คุณชอบและทัศนะในการมองโลกหรือมองตนเองของคุณ จากนั้นมันจะวิเคราะห์คำตอบเพื่อบอกประเภทของบุคลิกภาพที่จะช่วยคุณเข้าใจว่าความสนใจหรืออาชีพอะไรที่คุณควรมองหา เช่นเดียวกับคุณควรสื่อสารกับผู้คนรอบข้างอย่างไร
    • พึงระลึกว่าการประเมินที่คุณทำได้ฟรีทางอินเทอร์เน็ตนั้นไม่ควรจะยึดว่าถูกต้องแน่นอน แบบทดสอบเหล่านี้แค่ให้คุณทำความเข้าใจโดยรวมว่าคุณเป็นคนอย่างไร กระนั้น ถ้าคุณต้องการการวิเคราะห์เจาะลึกในบุคลิกภาพ คุณจำเป็นต้องไปพบนักจิตวิทยา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ถามคำถามสำคัญกับตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจสอบลึกขึ้นเพื่อเรียนรู้ค่านิยมหลักของคุณ. ค่านิยมคือมาตรฐานทั่วไปที่คุณยึดถือและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ พฤติกรรม และทัศนคติของคุณ มันคือความเชื่อหรือกฎเกณฑ์ที่คุณยึดถือเป็นหลักชี้นำและทำตาม: ครอบครัว ความเสมอภาค ความยุติธรรม สันติภาพ ความกตัญญู การพึ่งพา ความโปร่งใส ความมั่นคงทางการเงิน ความซื่อตรง เป็นอาทิ ถ้าคุณไม่รู้ค่านิยมหลักของตนเอง คุณจะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าคุณได้ตัดสินใจเลือกทำในสิ่งที่เห็นพ้องกับมันหรือไม่ คุณสามารถค้นพบค่านิยมหลักของตนเองได้โดย: [5]
    • ลองคิดถึงคนสองคนที่คุณชื่นชมนับถือ มีอะไรเหมือนกันในสองคนนั้นที่ทำให้คุณนับถือเขา
    • คิดถึงช่วงเวลาที่คุณรู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง มันเกิดอะไรขึ้น คุณยื่นมือช่วยเหลือใรหรือเปล่า ทำอะไรสำเร็จ หรือลุกขึ้นเรียกร้องสิทธิของคุณเองหรือเป็นปากเป็นเสียงให้คนอื่น
    • คิดดูว่าประเด็นอะไรที่คุณรู้สึกอยากมีส่วนร่วมมากที่สุดในชุมชนหรือในโลก สิ่งเหล่านั้นอาจเป็นเรื่องรัฐบาล เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องการศึกษา เรื่องสิทธิสตรี เรื่องอาชญากรรม เป็นต้น แต่ไม่จำเป็นต้องจำกัดเฉพาะเรื่องเหล่านี้
    • ลองคิดถึงว่าสิ่งของสามอย่างที่คุณจะหยิบฉวยออกมาหากบ้านเกิดเพลิงไหม้ (ตีไว้ก่อนว่าคนในบ้านทุกคนปลอดภัย) ทำไมคุณถึงหยิบของสามชิ้นนั้นออกมา
  2. ตั้งคำถามว่าคุณได้ใช้ชีวิตอย่างภาคภูมิใจหรือไม่. ดังเช่นที่เอฟ. สก็อต ฟิตซ์เจอรัลด์ได้กล่าวเอาไว้ว่า "ผมหวังว่าคุณได้ใช้ชีวิตอย่างที่คุณภาคภูมิใจกับมัน ถ้าคุณพบว่าไม่ได้เป็นอย่างนั้น ผมหวังว่าคุณจะมีความเข้มแข็งพอที่จะเริ่มต้นทุกอย่างขึ้นใหม่อีกครั้ง" ถ้าคุณเกิดจะต้องตายไปในวันนี้ คุณคิดว่าได้ทิ้งอะไรไว้เป็นมรดกให้คนกล่าวขานบ้าง
  3. ถามตัวเองว่าคุณปรารถนาจะทำอะไรหากเรื่องเงินไม่ใช่ประเด็นสำคัญ. ตอนที่เราเป็นเด็ก เรามักจะมีความฝันอันสูงส่งให้กับตัวเอง พอโตขึ้นและได้รับอิทธิพลความคิดจากสังคมมากขึ้น เรากลับยกความฝันนั้นขึ้นหิ้ง ย้อนกลับไปสู่เวลาที่คุณยังมีความฝันจะทำอะไรสักอย่างอันยากจะปฏิเสธได้ ความฝันที่คุณรูดม่านปิดมันเพียงเพราะไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมหรือเงินคุณมีไม่พอ เขียนดูว่าคุณอยากทำอะไรในวันหนึ่งๆ ถ้าหากไม่ต้องคิดถึงฐานะทางการเงิน คุณจะใช้ชีวิตอย่างไรล่ะ
  4. ใคร่ครวญดูว่าชีวิตคุณจะเป็นอย่างไรหากคุณไม่กลัวในความล้มเหลว. เรามักจะพลาดโอกาสงามๆ หรือไม่ยอมคว้าโอกาสนั้นเพราะเรามัวแต่พะวงว่าเราจะเป็นฝ่ายหน้าแตก การตั้งข้อกังขาในตนเองสามารถตีกรอบชีวิตทั้งชีวิตของคุณได้เลยถ้าคุณไม่พยายามจะเอาชนะมัน น่าเสียดายที่มันยังมีอิทธิพลต่อจำนวนครั้งที่คุณชอบนึก "ถ้าเกิดว่า" เมื่อคุณแก่ตัวลง หากคุณคิดว่ามันเป็นอุปสรรครั้งตัวคุณเอาไว้ไม่ให้คุณได้เป็นคนอย่างที่คุณอยากจะเป็น นี่คือบางวิธีที่คุณจะเอาชนะความกลัวที่จะล้มเหลวได้: [6]
    • รู้ว่าความล้มเหลวนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เวลาที่เราทำผิดพลาด เราสามารถประเมินการกระทำของตนเองและทบทวนวิธีการใหม่ เราเติบโตและเรียนรู้ผ่านทางการล้มเหลว
    • นึกภาพความสำเร็จ วิธีหนึ่งที่จะสลัดความกลัวการล้มเหลวออกไปก็คือการพยายามนึกภาพตนเองทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ
    • ยืนกรานไม่ย่อท้อ. เดินหน้าสู่จุดหมายแม้มีอุปสรรคขวากหนาม บ่อยครั้งที่เรามักจะสามารถทำความฝันให้กลายเป็นจริงได้สำเร็จในเวลาที่เราเกือบจะยกธงขาวยอมแพ้อยู่รอมร่อ อย่ายอมให้ความล้มเหลวเล็กๆ น้อยๆ มาทำให้คุณมองไม่เห็นเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้น
  5. ถามคนอื่นดูว่าพวกเขามองเห็นคุณเป็นคนอย่างไร. หลังจากได้ถามคำถามนี้กับตัวเองไปแล้ว ให้หาคนสนิทแล้วถามพวกเขาดูว่าพวกเขาคิดว่าคุณเป็นคนอย่างไร การประเมินของพวกเขาอาจอยู่ในรูปแบบลิสต์ของลักษณะเฉพาะตัวหรือตัวอย่างเวลาที่ในสายตาของพวกเขาแล้วมองว่าเป็นบทสรุปตัวตนของคุณได้ดีที่สุด
    • หลังจากคุณได้ถามความเห็นของญาติหรือเพื่อนๆ แล้ว ไตร่ตรองคำตอบเหล่านั้น พวกเขาอธิบายว่าคุณเป็นอย่างไร คุณแปลกใจในผลการประเมินของพวกเขาไหม คุณเสียใจหรือเปล่า คำอธิบายเหล่านั้นเหมาะกับคนที่คุณอยากจะเป็นหรือเหมือนกับที่คุณมองตัวเองบ้างไหม
    • หากคุณให้ค่าในความเห็นของคนเหล่านี้ คุณอาจถามตนเองก็ได้ว่าคุณต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะสร้างความกลมกลืนระหว่างการที่พวกเขามองคุณกับที่คุณมองตนเอง บางทีคุณอาจมองตัวเองด้วยภาพที่บิดเบือนและจำเป็นต้องประเมินการกระทำของตนเองเสียใหม่ [7]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ตรวจสอบว่าคุณเชื่อมโยงกับผู้อื่นอย่างไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณได้ทำแบบทดสอบบุคลิกภาพออนไลน์ หนึ่งในปัจจัยที่คุณต้องประเมินก็คือความสนใจต่อสิ่งภายในหรือความสนใจต่อสิ่งภายนอก (introversion-extraversion) นี่เป็นศัพท์ที่ใช้โดยคาร์ล จยุงที่อธิบายว่าคุณได้รับพลังงานมาจากที่ใดในชีวิต เป็นโลกภายนอกหรือโลกส่วนตัว [8]
    • คนชอบเก็บตัว (Introvert) ใช้อธิบายคนที่ได้พลังงานจากการสำรวจโลกภายในของความคิด ความทรงจำ และปฏิกิริยา คนเหล่านี้จะชอบความสันโดษและอาจเลือกใช้เวลาอยู่กับคนแค่คนสองคนที่เขารู้สึกสนิทด้วย พวกเขาอาจจะเป็นคนชอบหมกมุ่นครุ่นคิดและดูสงวนท่าที ส่วน คนชอบแสดงออก (Extrovert) ใช้อธิบายคนที่ได้พลังงานจากการได้โต้ตอบกับโลกภายนอก พวกเขาชมชอบการได้ออกไปร่วมกิจกรรมและพบเจอกับผู้คนสารพัดรูปแบบ พวกเขาจะรู้สึกตื่นเต้นเมื่ออยู่ท่ามกลางคนอื่นๆ พวกเขาอาจลงมือทำอะไรไปก่อนที่จะคิดถึงเหตุผล
    • หลายๆ ครั้งที่คนส่วนใหญ่จะตีความว่าคนที่ชอบเก็บตัวจะต้องขี้อายและปลีกตัวออกจากสังคม ส่วนพวกชอบแสดงออกจะต้องชอบเข้าสังคมและออกไปเที่ยว การตีความแบบนี้นั้นไม่เป็นตามความจริงเลย เพราะงานวิจัยส่วนใหญ่ได้ข้อสรุปเข้าใจว่าทั้งหมดนี้มันจะเป็นเสมือนแถบกราฟของระดับความถี่ ไม่มีใครที่จะเป็นคนชอบเก็บตัวหรือคนชอบแสดงออก 100% แต่จะเอนเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งตามแต่สถานการณ์
  2. การจะรู้ว่าตัวคุณเป็นใครนั้นควรครอบคลุมไปถึงการรู้ความคาดหวัง ความรู้สึก และการกระทำของคุณในแง่ของมิตรภาพด้วย ใคร่ครวญดูมิตรภาพที่ผ่านมาในอดีต คุณชอบพูดคุยกับเพื่อนทุกวันหรือนานๆ ที คุณชอบเป็นโต้โผจัดให้เพื่อนออกมาเจอกันหรือชอบแค่เป็นฝ่ายถูกชวน คุณให้คุณค่ากับช่วงเวลาดีๆ ที่ได้อยู่กับเพื่อนแค่ไหน คุณมีการแชร์เรื่องราวของตัวเองกับเพื่อนหรือชอบปกป้องข้อมูลต่างๆ ของตนเองมากกว่า คุณปลุกปลอบและคอยให้กำลังใจเพื่อนไหมในเวลาที่เขารู้สึกแย่ คุณพร้อมจะสละทุกอย่างที่ทำอยู่ไปหาเพื่อนในยามที่เขาต้องการหรือไม่ คุณมีข้อเรียกร้องที่สมเหตุสมผลในเรื่องมิตรภาพหรือเปล่า (เช่น ไม่คาดหวังให้เพื่อนต้องพร้อมเจอเราเสมอหรือเป็นเพื่อนเฉพาะกับคุณ) [9]
    • ทันทีที่คุณถามคำถามเหล่านี้กับตัวเอง ตัดสินดูว่าคุณพึงพอใจกับเพื่อนประเภทที่คุณเป็นอยู่นี้หรือไม่ ถ้าไม่ ลองปรึกษาเพื่อนสนิทที่สุดแล้วดูว่าพวกเขามีคำแนะนำอะไรให้คุณเป็นเพื่อนที่ดีขึ้นในอนาคต
  3. กล่าวกันว่าคุณนั้นก็เป็นเสมือนภาพจำลองคร่าวๆ ของคนห้าคนที่ใกล้ชิดกับคุณที่สุด ความคิดนี้มีพื้นฐานมาจากกฎของค่าเฉลี่ย: ผลที่ได้จากเรื่องราวใดๆ จะมีพื้นฐานมาจากผลทั้งหมดที่เป็นไปได้ของเรื่องนั้นๆ ปัญหาความสัมพันธ์ก็ไม่ได้เป็นข้อยกเว้นของกฎข้อนี้ ผู้คนที่คุณใช้เวลาขลุกอยู่ด้วยมากที่สุดจะมีอิทธิพลอย่างมากกับตัวคุณ ไม่ว่าพวกเขาจะต้องการให้เป็นเช่นนั้นหรือไม่ สังเกตดูคนที่ใกล้ชิดสนิทสนมกับคุณที่สุด เพราะผู้คนเหล่านี้เป็นผู้หล่อหลอมความเป็นตัวคุณเช่นกัน [10]
    • แน่นอน คุณยังเป็นตัวของคุณเอง มีความสามารถที่จะตัดสินใจเลือกหรือทำการสรุปเรื่องราวใดๆ ด้วยตัวเอง กระนั้น คนที่อยู่รอบกายคุณมีอิทธิพลกับชีวิตคุณอยู่ดีในหลายๆ ด้าน พวกเขาอาจแนะนำให้คุณรู้จักอาหารแบบใหม่ แฟชั่น หนังสือ หรือดนตรีใหม่ๆ พวกเขาอาจแนะนำช่องทางอาชีพ พวกเขาอาจอยู่ดึกร่วมปาร์ตี้กับคุณ หรือซบไหล่คุณร้องไห้ยามเลิกกับแฟน
    • คุณสามารถมองเห็นส่วนหนึ่งของตัวตนที่ได้มาจากคนที่สนิทกับคุณหรือเปล่า คุณพึงพอใจกับสิ่งที่ได้รับมานี้ไหม พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าคุณอยู่กับคนที่มองโลกในแง่ดีและเปี่ยมด้วยความหวัง คุณจะรู้สึกและทำตัวเฉกเช่นเดียวกัน ถ้าคุณสนิทแต่กับคนที่มองโลกในแง่ร้าย ทัศนคติเช่นนี้อาจส่งผลครอบงำชีวิตคุณเช่นกัน ถ้าอยากจะรู้ว่าคุณเป็นใคร มองดูรอบกายก็พอได้คำตอบ
  4. สิ่งที่คุณทำร่วมกับผู้อื่นบ่งบอกถึงตัวคุณอย่างมาก แต่สิ่งที่คุณจะทำเพียงลำพังก็บอกได้ด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะได้รับอิทธิพลอย่างหนักจากกลุ่มสังคมให้คิด กระทำ และรู้สึกในทางใดทางหนึ่ง อย่างไรก็ดี ในเวลาที่เราอยู่คนเดียวตามลำพัง เราจะอยู่ใกล้ชิดกับตัวตนที่แท้จริงของเรามากที่สุดโดยปราศจากการแตะต้องของสังคม
    • เวลาอยู่คนเดียวคุณทำอะไรบ้าง คุณไม่มีความสุขเวลาอยู่คนเดียวหรือเปล่า หรือชอบ? คุณชอบอ่านหนังสือไปเงียบๆ หรือเปิดเพลงดังๆ เต้นหน้ากระจก หรือฝันเฟื่องเรื่องต่างๆ
    • คิดถึงสิ่งเหล่านี้และดูว่ามันบอกถึงตัวคุณอย่างไร
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ในการครุ่นคิดถึงแต่ละวิธีการทั้งหมดเหล่านี้เพื่อที่คุณจะสามารถระบุตัวตนที่แท้จริงของคุณเอง อย่าทำวิธีการทั้งหมดพร้อมๆ กันในคราวเดียว
  • น้อมรับในคนที่คุณเป็น ไม่ว่าคนอื่นจะบอกอย่างไร มีแต่คุณเท่านั้นที่จะสามารถเป็นตัวคุณเอง!
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • สมุดบันทึกและปากกา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,068 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา