ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หลายคนคุ้นเคยกับการฉีดบาดทะยัก แต่คุณรู้ไหมว่าควรฉีดตอนไหน โรคบาดทะยักในประเทศไทยและประเทศพัฒนาแล้วเป็นโรคที่เกิดขึ้นน้อยเนื่องจากมีอัตราการฉีดวัคซีนสูง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักเป็นเรื่องสำคัญเพราะโรคบาดทะยักไม่มีทางรักษาและเป็นโรคที่เกิดจากพิษแบคทีเรียในดิน สิ่งสกปรก และมูลสัตว์ แบคทีเรียที่เป็นพิษนี้จะสร้างสปอร์ที่ทำลายได้ยากมากเนื่องจากสปอร์เหล่านี้ทนความร้อน ยา และสารเคมีหลายตัว บาดทะยักมีผลต่อระบบประสาทและทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อที่สร้างความเจ็บปวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกรและลำคอ นอกจากนี้ยังขัดขวางการหายใจซึ่งทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้คุณจึงต้องเข้าใจว่าเมื่อไหร่ที่ควรไปฉีดวัคซีนกันบาดทะยัก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รู้ว่าเมื่อไหร่ควรฉีดวัคซีนบาดทะยัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยทั่วไปพิษแบคทีเรียจะเข้าสู่ร่างกายทางรอยแผลบนผิวผ่านทางสิ่งของที่มีเชื้อบาดทะยักอยู่ ถ้าคุณมีอาการบาดเจ็บต่อไปนี้หนึ่งอย่างหรือมากกว่า หรือมีบาดแผลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อบาดทะยัก คุณก็ควรไปฉีดยากระตุ้นบาดทะยัก อาการบาดเจ็บที่ว่านี้ได้แก่
    • แผลที่เห็นได้ชัดว่ามีดิน ฝุ่น หรือมูลม้าเปราะอยู่
    • แผลรอยเจาะ สิ่งที่อาจก่อให้เกิดแผลประเภทนี้ได้แก่เศษไม้ ตะปู เข็ม แก้ว และรอยกัดของคนหรือสัตว์ [1]
    • แผลไหม้ แผลไหม้ระดับที่ 2 (การไหม้ชั้นหนังกำพร้าทั้งชั้นและหนังแท้หรืออาจมีแผลพุพอง) และระดับที่ 3 (การไหม้ที่ชั้นของหนังแท้ส่วนลึก) เป็นแผลไหม้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าแผลไหม้ระดับที่ 1 (ชั้นหนังกำพร้า) [2]
    • บาดแผลจากการกระแทกที่ทำลายเนื้อเยื่อที่เกิดจากการถูกวัตถุหนัก 2 ชิ้นบีบอัดผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดจากการที่มีวัตถุหนักหล่นใส่บางส่วนของร่างกายได้เช่นกัน [3]
    • บาดแผลที่เกี่ยวกับเนื้อเยื่อตายบางส่วนหรือเนื้อเยื่อตาย เนื้อเยื่อประเภทนี้ไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยง จึงเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อ (ร่วมกับเนื้อเยื่อที่บกพร่องอย่างรุนแรง) เช่น บริเวณเนื้อตายเน่า (เนื้อเยื่อของร่างกายส่วนที่ตายไปแล้ว) ก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น [4]
    • บาดแผลที่มีสิ่งของแปลกปลอมอยู่ข้างใน บาดแผลที่มีสิ่งของแปลกปลอม เช่น เศษไม้ เศษแก้ว ก้อนกรวด หรือสิ่งของอื่นๆ อยู่ข้างในมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น [5]
  2. รู้ว่าเมื่อไหร่ถึงเวลาแล้วที่จะต้องไปฉีดบาดทะยัก. ถ้าคุณไม่เคยฉีดบาดทะยักชุดแรก (ชุดวัคซีนพื้นฐาน) หรือคุณไม่แน่ใจว่าตัวเองฉีดบาดทะยักครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ คุณก็ควรไปฉีดบาดทะยัก แต่ถ้าคุณได้รับบาดเจ็บและสงสัยว่าตัวเองจะต้องไปฉีดกระตุ้นบาดทะยักหรือเปล่า คุณจะต้องฉีดบาดทะยักหาก [6]
    • บาดแผลของคุณเกิดจากสิ่งของที่ “สะอาด” และคุณฉีดบาดทะยักครั้งสุดท้ายเกิน 10 ปีแล้ว
    • บาดแผลของคุณเกิดจากสิ่งของที่ “สกปรก” และคุณฉีดบาดทะยักครั้งสุดท้ายเกิน 5 ปีแล้ว
    • คุณไม่แน่ใจว่าแผลเกิดจากสิ่งของที่ “สะอาด” หรือ “สกปรก” และคุณฉีดบาดทะยักครั้งสุดท้ายเกิน 5 ปีแล้ว
  3. เพื่อถ่ายทอดภูมิคุ้มกันบาดทะยักไปสู่ลูกในท้อง คุณควรฉีดวัคซีนบาดทะยักระหว่างตั้งครรภ์ 27-36 สัปดาห์ [7]
    • แพทย์จะแนะนำให้คุณฉีดวัคซีนชนิดเนื้อตาย Tdap (บาดทะยัก คอตีบ และไอกรน) ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ [8]
    • ถ้าคุณไม่ได้ฉีดวัคซีน Tdap มาก่อนและไม่ได้ฉีดระหว่างตั้งครรภ์ คุณควรฉีดทันทีหลังคลอด [9]
    • ถ้าคุณมีรอยบาดหรือบาดแผลสกปรกระหว่างตั้งครรภ์ คุณต้องฉีดกระตุ้นบาดทะยัก
  4. วิธีการ "รักษา" บาดทะยักที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันไม่ให้เป็นตั้งแต่แรก คนส่วนใหญ่ไม่มีปฏิกิริยารุนแรงกับวัคซีน แต่ก็มีปฏิกิริยาเล็กน้อย 2-3 อย่างที่พบได้บ่อย ได้แก่ อาการบวมตามจุดเล็กๆ อาการกดเจ็บ และรอยแดงในบริเวณที่ฉีด แต่มักจะหายภายใน 1-2 วัน [10] ไม่ต้องกังวลเรื่องการฉีดกระตุ้นบาดทะยักเพิ่ม เพราะตามปกติแล้วคุณไม่จำเป็นต้องเว้นระยะห่าง 10 ปีถึงจะฉีดแต่ละเข็มได้ มีวัคซีนหลายตัวที่ป้องกันบาดทะยักได้ ได้แก่ [11]
    • DTaP วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (ไอหอบ) เป็นวัคซีนที่มักฉีดให้เด็กอายุ 2 4 และ 6 เดือน และจะฉีดอีกครั้งเมื่ออายุ 15-18 เดือน DTap เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากในเด็ก และเด็กจะต้องฉีดกระตุ้นอีกครั้งช่วงระหว่าง 4-6 ขวบ
    • Tdap เมื่อเวลาผ่านไป ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคบาดทะยักจะลดลง เพราะฉะนั้นเด็กโตจะต้องไปฉีดกระตุ้น ซึ่งจะเป็นวัคซีนที่ป้องกันโรคบาดทะยักเต็มขนาดแต่จะวัคซีนสำหรับโรคคอตีบกับไอกรนจะลดลง ทุกคนที่อายุระหว่าง 11-18 ปีควรไปฉีดกระตุ้น ซึ่งถ้าจะให้ดีควรเป็นช่วงอายุประมาณ 11 หรือ 12 ปี
    • Td ถ้าคุณเป็นผู้ใหญ่ ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้น Td (บาดทะยักและคอตีบ) ทุก 10 ปีเพื่อให้มีภูมิคุ้มกัน เนื่องจากบางคนจะสูญเสียระดับสารภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อหลังจากผ่านไป 5 ปี เพราะฉะนั้นถ้าหากคุณมีบาดแผลลึกและมีการปนเปื้อนสิ่งสกปรกและไม่ได้ฉีดวัคซีนมากว่า 5 ปี ก็ควรไปฉีดวัคซีนกระตุ้น [12]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ศึกษาและรู้อาการของบาดทะยัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้ว่าใครเสี่ยงต่อการติดเชื้อบาดทะยักและรู้ว่าโรคบาดทะยักแพร่เชื้ออย่างไร. การติดเชื้อบาดทะยักแทบทุกกรณีเกิดในคนที่ไม่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยัก หรือผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ฉีดกระตุ้นบาดทะยักในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา [13] แต่โรคนี้ไม่ได้แพร่จากคนสู่คน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้โรคนี้ต่างจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนโรคอื่นๆ [14] บาดทะยักจะแพร่กระจายโดยสปอร์แบคทีเรียที่โดยทั่วไปจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลที่เป็นรอยเจาะ ทำให้เกิดพิษต่อระบบประสาทที่ทำให้เกิดการชักเกร็งและการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ
  2. ทันทีที่คุณได้รับบาดเจ็บหรือเป็นแผล ให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อทันที ถ้าคุณปล่อยทิ้งไว้ไม่ยอมฆ่าเชื้อแผลใหม่เกิน 4 ชั่วโมง ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อบาดทะยักมากยิ่งขึ้น [17] ซึ่งการฆ่าเชื้อสำคัญมากหากบาดแผลเกิดจากการถูกสิ่งของตำลงไปในผิวที่จะทำให้แบคทีเรียและสิ่งสกปรกเข้าลึกลงไปในแผล ทำให้เกิดเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
    • สังเกตว่าสิ่งที่ทำให้เกิดบาดแผลสะอาดหรือสกปรกเพื่อพิจารณาว่าคุณควรฉีดวัคซีนกระตุ้นบาดทะยักหรือไม่ สิ่งของที่สกปรกหรือมีการปนเปื้อนจะมีสิ่งสกปรก/ดิน น้ำลาย หรืออุจจาระ/มูลสัตว์อยู่บนสิ่งของนั้นๆ ในขณะที่สิ่งของสะอาดจะไม่มี จำไว้ว่าคุณไม่มีทางรู้ได้เลยจริงๆ ว่าสิ่งของชิ้นนั้นมีแบคทีเรียหรือไม่
  3. ระยะเวลาฟักตัวของบาดทะยักจะอยู่ระหว่าง 3-21 วัน โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 8 วัน ความรุนแรงของบาดทะยักจะแบ่งออกเป็นระดับ 1 ถึง 5 ยิ่งอาการออกช้าเท่าไหร่ การติดเชื้อก็มีแนวโน้มที่จะไม่รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น [18] อาการที่พบบ่อยของโรคบาดทะยัก (เรียงลำดับตามการอาการที่ปรากฏ) ได้แก่ [19]
    • การชักเกร็งที่กล้ามเนื้อขากรรไกร (มักเรียกทั่วไปว่า “ขากรรไกรค้าง”)
    • อาการเมื่อยล้าที่ลำคอ
    • กลืนยาก (การกลืนลำบาก)
    • การแข็งเกร็งเป็นแผ่นของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
  4. การวินิจฉัยโรคบาดทะยักอยู่ที่การสังเกตอาการเท่านั้น ไม่มีการตรวจเลือดที่สามารถวินิจฉัยโรคบาดทะยักได้ เพราะฉะนั้นคุณต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้คุณอาจสังเกตได้ว่ามีไข้ เหงื่อออก ความดันโลหิตสูงขึ้น หรืออัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น (ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ) [20] และเข้าใจภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้ [21] [22]
    • กล่องเสียงหดเกร็ง หรืออาการเกร็งที่เส้นเสียง ซึ่งอาจทำให้หายใจลำบาก
    • กระดูกหัก
    • ลมชัก/อาการชัก
    • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
    • การติดเชื้อขั้นที่ 2 เช่น โรคปอดบวม ที่เป็นผลมาจากการเข้าโรงพยาบาลเป็นเวลานาน
    • ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดปอด หรือการมีก้อนเลือดติดอยู่ในปอด
    • เสียชีวิต (10% ของกรณีที่มีการรายงานถึงขั้นเสียชีวิต)
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รักษาโรคบาดทะยัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณคิดหรือแม้กระทั่งสงสัยว่าตัวเองอาจติดเชื้อบาดทะยัก ให้เข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยทันที เพราะถือเป็นการรักษาฉุกเฉินและจะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากโรคบาดทะยักมีอัตราการเสียชีวิตสูง (10%) ที่โรงพยาบาลคุณจะได้รับสารต้านพิษบาดทะยัก เช่น วัคซีนบาดทะยักชนิดอิมมูโนโกลบูลิน ซึ่งจะยับยั้งพิษที่ยังเข้าไปไม่ถึงเนื้อเยื่อประสาท จะมีการล้างแผลอย่างสะอาดและคุณก็ยังจะได้รับวัคซีนบาดทะยักที่ป้องกันการติดเชื้อในอนาคตอีกด้วย [23] [24] [25]
    • การติดเชื้อบาดทะยักไม่ได้ทำให้คุณมีภูมิคุ้มกันการติดเชื้อในอนาคต แต่คุณจะต้องได้รับวัคซีนเพื่อไม่ให้ติดเชื้ออีก
  2. เนื่องจากไม่มีการตรวจเลือดที่สามารถวินิจฉัยโรคบาดทะยักได้ การทดสอบในห้องทดลองจึงไม่มีประโยชน์ต่อการประเมินโรค ด้วยเหตุนี้แพทย์ส่วนใหญ่จึงไม่รอดูก่อนว่าจะรักษาอย่างไร แต่จะใช้การรักษาเชิงรุกไปเลยถ้าหากสงสัยว่ามีการติดเชื้อ
    • แพทย์จะสันนิษฐานจากอาการและอาการพิษที่ปรากฏเป็นหลัก ยิ่งอาการรุนแรงมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องลงมือรักษาเร็วมากขึ้นเท่านั้น
  3. เนื่องจากไม่มียารักษาโรคบาดทะยัก การรักษาจึงเน้นไปที่รักษาอาการและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นแทน คุณจะได้รับยาปฏิชีวนะโดยการฉีดเข้าเส้นเลือดหรือทางปาก และคุณก็จะได้รับยาที่ควบคุมการชักเกร็งของกล้ามเนื้อด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มีวัคซีนบาดทะยักที่สามารถป้องกันโรคคอตีบและโรคไอกรน (Tdap) หรือป้องกันโรคคอตีบอย่างเดียว (Td) ซึ่งทั้งสองชนิดนี้สามารถป้องกันได้ 10 ปี
  • วันที่ฉีดกระตุ้นบาดทะยักครั้งสุดท้ายน่าจะอยู่ในบันทึกการฉีดวัคซีนที่สำนักงานของโรงพยาบาลที่มีประวัติของคุณ บางคนจะมีใบรับรองวันที่ฉีดวัคซีนส่วนตัวไว้ด้วย ซึ่งสามารถขอจากแพทย์ได้
  • ถ้าคุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คุณต้องเข้าใจสัญญาณและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคบาดทะยัก อาการชักเกร็งอาจรุนแรงมากจนแทรกแซงการหายใจแบบปกติ โรคลมชักก็อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้กระดูกสันหลังและกระดูกยาวแตกหักได้
  • กันไว้ดีกว่าแก้ ถ้าคุณกังวลมากว่าจะติดเชื้อบาดทะยัก ให้ไปฉีดวัคซีนป้องกันไว้
  • มีโรคที่พบได้ยากบางโรคที่อาจมีอาการเหมือนกับโรคบาดทะยัก ความร้อนสูงขั้นรุนแรงเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้มีไข้อย่างรวดเร็วและเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงเมื่อได้รับยาสลบ [30] โรคคนแข็งซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้ยากมากๆ ที่ทำให้เกิดการชักเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นพักๆ โดยทั่วไปอาการเหล่านี้จะเริ่มในช่วงวัย 40 กลางๆ [31]
โฆษณา

คำเตือน

  • เข้ารับการรักษาจากแพทย์หากคุณได้รับบาดแผลหรือบาดเจ็บร้ายแรง ถ้าคุณสงสัยว่าคุณติดเชื้อแบคทีเรียบาดทะยัก อย่ารอจนกว่าอาการจะออกแล้วค่อยไปเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง เพราะโรคบาดทะยักไม่มียารักษา มีแต่การรักษาตามอาการจนกว่าอาการจะหายไปเท่านั้น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,475 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา