ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเคยคุยกับใครหรือพยายามจะเข้าสู่บทสนทนาแต่กลับต้องมาถามตัวเองว่า เขาไม่อยากคุยกับเราหรือเปล่าไหม อาจมีหลายเหตุผลที่ทำให้เขาไม่อยากคุยกับคุณ ตั้งแต่ว่าเขาอาจจะเหนื่อยไปจนถึงว่าเขาไม่ชอบที่คุณไปขัดจังหวะการพูดคุยส่วนตัวของเขา บางครั้งมันก็ยากที่จะบอกได้ว่าเขาไม่อยากคุยกับคุณหรือเปล่า แต่ถ้าคุณอ่านภาษาท่าทางและฟังรูปแบบการพูดของเขา คุณจะรู้ได้ว่าเขาไม่อยากคุยกับคุณและค่อยๆ ขอตัวออกจากการสนทนาอย่างสุภาพได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

อ่านภาษาท่าทางและรูปแบบการพูด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณส่งข้อความหรือใช้เว็บไซต์โซเชียลมีเดีย คุณก็จะไม่เห็นภาษาท่าทางหรือได้ยินน้ำเสียงของเขานอกเสียจากว่าคุณจะคุยวิดีโอคอลกัน แต่คุณก็สามารถประเมินได้ว่าเขาไม่อยากคุยกับคุณหรือเปล่าได้จากการอ่านข้อความตอบกลับและดูว่าเขาใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะตอบกลับมา
    • ดูตรงที่บอกว่า “อ่าน” ในเว็บไซต์อย่าง Facebook Instagram หรือ Whatsapp ถ้าข้อความของคุณกับการตอบของเขาเว้นช่วงไปนาน หรืออีกฝ่ายไม่ตอบเลย ก็เป็นไปได้ว่าเธออาจจะไม่อยากคุยกับคุณ แต่คุณก็ไม่สามารถแน่ใจได้จริงๆ หรอก เพราะเธออาจจะยุ่งอยู่หรือลืมตอบข้อความของคุณก็ได้
    • สังเกตว่าอีกฝ่ายรีบ offline ทันทีที่คุณส่งข้อความไปหาหรือเปล่า เพราะเป็นไปได้ว่าเธออาจจะไม่อยากคุยกับคุณ แต่คุณก็ไม่มีทางรู้ได้จริงๆ อีกนั่นแหละว่าเกิดอะไรขึ้น เธออาจจะยุ่งอยู่ก็ได้
    • ดูข้อความที่เขาตอบกลับมา ถ้าเขาตอบกลับมาแค่คำเดียว เช่น “อืม” “ใช่” หรืออะไรประมาณนี้ ก็เป็นไปได้ว่าเขาไม่อยากคุยต่อหรือไม่อยากคุยกับคุณ
  2. น้ำเสียงที่คนอื่นใช้พูดกับคุณสามารถบอกได้ชัดเจนว่าเขารู้สึกอย่างไร การสังเกตน้ำเสียงในการพูดคุยจะช่วยให้คุณรู้ได้ว่า เขาไม่ได้อยากคุยกับคุณ และช่วยให้คุณออกจากบทสนทนานั้นได้อย่างสวยงาม [1] ลองถามคำถามเรื่องน้ำเสียงกับตัวเอง :
    • เธอเหมือนจะรำคาญเวลาที่ฉันพูดอะไรหรือเปล่า
    • เวลาตอบกลับมาเขาดูเหนื่อยๆ เฉื่อยชา หรือเบื่อๆ ไหม
    • เธอดูร่าเริงหรือตื่นเต้นที่ได้คุยกันไหม
    • เธอดูจะตั้งคำถามกับทุกสิ่งที่ฉันพูดหรือเปล่า [2]
  3. ถ้าคุณสงสัยว่าอีกฝ่ายไม่อยากคุยกับคุณ ให้ดูว่าใครเป็นคนนำบทสนทนา วิธีนี้ยังบอกได้ด้วยว่าคู่สนทนาของคุณไม่อยากคุยต่อแล้วและคุณก็ต้องหยุดพูดได้แล้ว
    • สังเกตว่าคุณได้ยินเสียงตัวเองบ่อยกว่าเสียงของคู่สนทนาหลายเท่าหรือเปล่า เพราะมันอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าเธอไม่สนใจที่จะเข้าร่วมการสนทนาอีกต่อไปแล้ว
    • หยุดพูดสักเดี๋ยวเพื่อดูว่าอีกฝ่ายเริ่มพูดมากขึ้นแล้วหรือยัง วิธีนี้ก็สามารถบอกได้ว่าจริงๆ แล้วเธออาจจะอยากพูดแต่คุณไม่เปิดโอกาสให้เธอได้พูดบ้างหรือเปล่า
    • ถ้าในกลุ่มนั้นมีคนมากกว่า 2 คน ให้สังเกตว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาไหม ถ้าไม่ ก็ลองพูดอะไรออกไปบ้างแล้วดูว่าคนอื่นๆ ในกลุ่มตอบสนองกลับมาอย่างไร
  4. การตอบคำถามหรือการตอบกลับมาสามารถบอกได้ชัดเจนว่า เขาอยากคุยกับคุณหรือไม่ ประเภทของการตอบกลับดังต่อไปนี้สามารถบอกได้ว่าอีกฝ่ายเบื่อจะคุยแล้วหรือไม่อยากคุยกับคุณหรือเปล่า :
    • ใช้การตอบกลับแบบขี้เกียจ เช่น “อ๋อเหรอ” “ใช่” หรือ “อยู่แล้วล่ะ”
    • พูดสิ่งที่คุณพูดไปแล้วกลับมา เช่น คุณบอกว่า “วันนี้หนาวจัง” แล้วเขาก็ตอบกลับมาว่า “อือ วันนี้หนาว” [3]
    • ไม่สนใจคำถามหรือคำพูดของคุณ
    • ตอบมาคำเดียวหรือใช้คำตอบปลายปิด เช่น ตอบกลับมาแค่ว่า “ไม่ใช่” หรือ “ใช่” การใช้ท่าทางอย่างการพยักหน้าก็เป็นสิ่งที่บอกให้รู้เหมือนกันว่าเขาไม่อยากคุย
  5. โบราณบอกไว้ว่า ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ เพราะฉะนั้นการสังเกตดวงตาของอีกฝ่ายในระหว่างการสนทนาก็สามารถบอกได้ว่าเขาอยากคุยกับคุณหรือเปล่า สัญญาณต่อไปนี้อาจเป็นสิ่งที่บอกว่าคู่สนทนาไม่อยากคุยต่อแล้ว :
    • มองพื้น
    • มองไปรอบห้อง
    • มองนาฬิกา [4]
    • มองขึ้นไปข้างบน [5]
  6. ท่าทางของร่างกายก็บ่งบอกถึงความสนใจของคู่สนทนาได้เช่นเดียวกับตำแหน่งของสายตา ลองสังเกตว่าอีกฝ่ายยืนอย่างไหร่เพื่อดูว่าเธออยากคุยกับคุณหรือเปล่า [6]
    • ดูว่าท่าทางของเธอสะท้อนท่าทางของคุณและเธอหันตัวเข้าหาคุณหรือไม่ ถ้าไม่ ก็แสดงว่าเธอน่าจะไม่อยากคุยต่อแล้ว [7]
    • ดูว่าเขาหันหน้ามาทางคุณหรือไม่ ถ้าไม่ เธอก็อาจจะอยากจบการสนทนาแล้ว [8]
    • ดูว่าเท้าของเขาชี้ไปที่คุณหรือเปล่า เพราะเป็นสิ่งที่บอกได้เหมือนกันว่าเขาอยากคุยกับคุณหรือไม่
    • สังเกตระยะห่างระหว่างคุณกับเขา ถ้าเธอไม่เข้าใกล้คุณ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าเธอไม่อยากคุย [9]
  7. ภาษาท่าทางคือสิ่งที่บอกได้อย่างชัดเจนมากๆ ว่า อีกฝ่ายรู้สึกอย่างไรกับคุณหรือการสนทนากับคุณ ตัวอย่างภาษาท่าทางที่อาจบอกได้ว่าเขาไม่อยากคุยกับคุณก็เช่น :
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ขอตัวอย่างสุภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้งคนเราก็แค่ไม่อยากคุยเพราะเขาอาจจะยุ่งหรือมีอะไรบางอย่างเกิดขึ้นในชีวิตส่วนตัวของเขา พยายามอย่าตื่นตระหนกและอย่าไปโกรธเขา พยายามเข้าใจเขาและขอตัวออกจากการสนทนาอย่างสุภาพ ซึ่งจะช่วยให้คุณและคู่สนทนาไม่ต้องคุยกันต่อแบบกระอักกระอ่วน [12]
    • พยายามอย่าแสดงอารมณ์กับอีกฝ่าย
  2. มีเหตุผลมากมายที่คุณอาจจะยกมาเพื่อจบการสนทนา เช่น ไปเข้าห้องน้ำไปหรือรับโทรศัพท์ [13] ถ้าคุณสังเกตว่าคู่สนทนาไม่ได้สนใจจะคุยกับคุณแล้ว ให้คิด “ทางออกง่ายๆ” ขึ้นมาเพื่อจบการพูดคุยแบบสวยๆ [14] คุณอาจจะบอกว่า :
    • คุณจะไปเอาเครื่องดื่มที่บาร์
    • คุณต้องรับหรือต้องโทรศัพท์เรื่องสำคัญ
    • คุณต้องไปเข้าห้องน้ำ
    • คุณรู้สึกไม่สบายนิดหน่อยและอยากออกไปสูดอากาศ [15]
  3. ถ้าจู่ๆ ก็มีบางสิ่งแทรกเข้ามาในบทสนทนา ก็ให้ปลีกตัวออกมา [16] วิธีนี้จะช่วยให้คุณยุติการสนทนาได้แบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น
    • มองหาอะไรในห้องที่ทำให้คุณ “นึกถึง” อะไรบางอย่างขึ้นมาได้ เช่น คุณอาจจะพูดว่า “ตายล่ะ ดิฉันคุยเพลินจนลืมเวลาไปเลย ต้องกลับบ้านส่งลูกเข้านอนแล้วค่ะ” หลังจากมองไปที่นาฬิกาหรือนาฬิกาข้อมือ
    • ดูว่ามีใครสามารถเข้ามาร่วมวงสนทนาเพื่อให้คุณออกไปได้ไหม [17]
    • รอให้ถึงจังหวะที่ต่างคนต่างเงียบแล้วใช้โอกาสนี้ออกจากบทสนทนา เช่น คุณอาจจะพูดว่า “ดิฉันคุยกับคุณเสียเพลิน แต่ตอนนี้ต้องไปแล้วค่ะเพราะมีประชุมเช้า” [18]
  4. คุณสามารถเอาตัวเองออกจากบทสนทนาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้ง่ายๆ ด้วยการทำให้การยุติบทสนทนาเป็นผลดีกับอีกฝ่าย ใช้คำพูดกลยุทธ์ เช่น “ดิฉันไม่รบกวนเวลาของคุณแล้วดีกว่าค่ะ” เพื่อจบการพูดคุย [19]
    • พูดประมาณว่า “ดิฉันว่าคุณคงอยากคุยกับคนอื่นบ้าง เพราะฉะนั้นดิฉันแวบออกไปดีกว่าค่ะ” [20]
    • อย่าลืมรักษาน้ำเสียงและภาษาท่าทางให้จริงใจที่สุด [21]
    • แต่ก็อย่าใช้เทคนิคนี้บ่อยเกินไป เพราะมันจะทำให้คุณดูเป็นคนไม่จริงใจ [22]
  5. โดยธรรมชาติแล้วการขอข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะติดต่อเขาได้อย่างไรคือสิ่งที่บอกว่าการสนทนากำลังจะยุติ หาคำพูดดีๆ เพื่อบอกเขาว่า คุณดีใจที่ได้คุยกับเขาและอยากจะติดต่อกลับไปเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม [23]
    • ถามคำถามเจาะจงเกี่ยวกับธุรกิจ หลักสูตรการศึกษา หรือความสนใจของเขา ใช้คำถามพวกนี้เกริ่นนำไปสู่คำถามที่ว่า “ดิฉันอยากได้ข้อมูลเรื่องนั้นเพิ่มเติมค่ะ ไม่ทราบว่าคุณมีนามบัตรหรือข้อมูลติดต่อที่ดิฉันจะสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณไหมคะ”
    • อย่าลืมดูข้อมูลตอนที่เขายื่นข้อมูลการติดต่อให้คุณ เพราะมันบ่งบอกถึงการให้เกียรติ [24]
    • เสนอความช่วยเหลือ คุณอาจจะบอกว่า “ดิฉันดีใจมากเลยค่ะที่ได้พูดคุยกับคุณและได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานของคุณ ถ้ามีอะไรที่ดิฉันสามารถช่วยคุณได้ก็บอกกันเลยนะคะ” [25]
    • ใช้เทคนิคนี้กับคนที่คุณไม่ได้รู้จักเขามากนัก
  6. ถ้าคุณสังเกตว่าอีกฝ่ายไม่อยากคุยกับคุณแล้ว ให้หาทางจบบทสนทนาด้วยการย้อนกลับไปที่เรื่องที่คุณเริ่มคุยกัน อย่าลืมย้ำสิ่งที่คุณได้เรียนรู้และขอบคุณที่เขาสละเวลามาคุยกับคุณ [26]
    • พยายามให้การยุติบทสนทนาเป็นไปตามธรรมชาติให้มากที่สุด ถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่คุณเริ่มคุยกันเพื่อหาทางยุติการสนทนา [27]
  7. แม้ว่าคุณจะรู้ว่าอีกฝ่ายไม่อยากคุยกับคุณแล้วและก็อาจจะแสดงท่าทีที่ไม่สุภาพใส่คุณ ก็ให้รักษามารยาทและรักษาบรรยากาศที่ดี [28] อย่าลืมบอกเขาว่าคุณดีใจที่ได้คุยกับเขา ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้รู้สึกแบบนั้นก็ตาม และขอบคุณที่เขาสละเวลาให้ [29]
    • พูดประมาณว่า “ต้องขอโทษด้วยนะคะ แต่ดิฉันต้องขอตัวแล้วค่ะ ดิฉันดีใจที่ได้คุยกับคุณนะคะคุณคมกฤต และขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่มีประโยชน์ค่ะ”
    • พูดชื่อของอีกฝ่ายในคำพูดก่อนยุติการสนทนาเพื่อแสดงว่าคุณให้เกียรติและจำชื่อเขาได้ [30]
    • อย่าลืมรักษาบรรยากาศเหมือนที่เขาพูดกันว่า “น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย”
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ติดตามการสนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าเขาไม่อยากคุยกับคุณหรือเปล่า ให้นึกไว้ว่าทุกคนล้วนมีวันแย่ๆ วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้ก้าวเข้าสู่ขั้นแรกของการติดตามคนๆ นี้ต่อไปเพื่อดูว่า ตอนนั้นเธอเพิ่งจะผ่านวันแย่ๆ มาหรือว่าเธอไม่อยากคุยกับคุณจริงๆ
    • เว้นระยะห่างจากวันล่าสุดที่คุยกันกับวันที่คุณจะติดต่อเธอไปใหม่สักพัก วิธีนี้จะช่วยให้เธอมีเวลาจัดการกับปัญหาของเธอหรือช่วยให้เธอหายหงุดหงิดคุณได้
  2. ติดต่อเขากลับไปอีกครั้งผ่านทางข้อความ อีเมล โซเชียลมีเดีย หรือโทรศัพท์ไปหา หรือคุณจะแวะไปหาเขาที่ออฟฟิศหรือที่ห้องเรียนก็ได้ วิธีนี้จะช่วยเปิดโอกาสการสนทนาครั้งใหม่และช่วยให้คุณรู้ว่าเธออยากคุยกับคุณหรือเปล่า
    • ส่งข้อความสั้นๆ และเป็นมิตร ย้ำว่าคุณดีใจแค่ไหนที่ได้คุยกันเมื่อคราวที่แล้ว [31] เช่น เขียนประมาณว่า “ผมดีใจมากเลยที่ได้คุยกับคุณเมื่อคราวที่แล้ว ผมหวังว่าคุณจะสบายดีนะ คุณอยากไปดื่มกาแฟแล้วคุยกันต่อไหมครับ”
    • อย่าส่งข้อความยาวๆ หรือส่งไปหลายข้อความ เพราะสิ่งที่เขาตอบมาบอกอะไรได้มากมายเกี่ยวกับการวางสถานะของเขา
  3. สังเกตสิ่งที่เขาตอบกลับมาและดูว่านานแค่ไหนกว่าเขาจะอ่านและตอบกลับมา วิธีนี้จะช่วยบอกได้ว่าเธอไม่อยากคุยกับคุณหรือเปล่า
    • สังเกตว่าเธอตอบกลับมาตอนไหนและตอบมาว่าอย่างไร ถ้าเธอตอบกลับมาเร็วๆ ว่า “หวัดดี ฉันไปหาไม่ได้ โทษที” ก็เป็นไปได้ว่าเธอไม่อยากคุยกับคุณ แต่ถ้าข้อความของเธอดูเป็นมิตรและดูกระตือรือร้น ก็เป็นไปได้ว่าครั้งล่าสุดที่คุณเจอกันเธออาจจะเพิ่งผ่านวันแย่ๆ มา
    • ถ้าเขาไม่ตอบกลับมา ให้ถือว่าเธอไม่อยากคุยกับคุณ
    • อย่าส่งข้อความติดตามเขาเพิ่มเติม เพราะไม่อย่างนั้นเขาอาจจะไม่พอใจเอาได้ ซึ่งก็จะทำให้คุณไม่พอใจไปด้วย
  4. ถ้าการตอบที่ดูไม่กระตือรือร้นเท่าไหร่หรือการที่เขาไม่ติดต่อคุณกลับมาเลยทำให้คุณรู้ว่าเขาไม่อยากคุยกับคุณ ก็ให้อยู่ห่างจากเธอ เพราะสิ่งนี้ไม่เพียงแต่ทำให้ทั้งเธอและคุณไม่พอใจเท่านั้น แต่มันยังอาจมีผลที่ไม่ดีตามมาด้วย เช่น การมีชื่อเสียงในทางที่ไม่ดี
    • อย่าส่งข้อความไปหาอีก เลิกเป็นเพื่อน หรือเลิกติดตามเขาในโซเชียลมีเดีย วิธีนี้จะแสดงให้เห็นว่าคุณเข้าใจว่าเขาไม่อยากคุยกับคุณ
    • ให้เขาติดต่อกลับมาหาคุณเองถ้าคุณโอเคและตัดสินใจเอาว่าคุณจะตอบกลับไปอย่างไร คุณอาจจะให้โอกาสเธออีกครั้งก็ได้ การมีเมตตาต่อคนอื่นไม่เคยทำร้ายใคร แม้ว่าเขาจะไม่ได้ดีกับคุณมาตลอดก็ตาม
    โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เริ่มความสัมพันธ์แบบ Friends with Benefits
ทำให้แฟนเก่ากลับมารักคุณอีกครั้ง
รู้ว่าแฟนสาวของคุณแอบไปนอนกับคนอื่นหรือเปล่า
ทำให้ใครบางคนรู้สึกผิด
พิชิตหัวใจแฟนเก่ากลับมา หลังจากการเลิกรา
ทำให้แฟนเก่าคิดถึงคุณ
หาเสี่ยเลี้ยง
ปลอบโยนแฟนสาวของคุณเมื่อเธอรู้สึกแย่
ฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กลับมาดีเหมือนเดิม
ดูว่าเพื่อนอิจฉาคุณหรือไม่
จบความสัมพันธ์
เรียกความเชื่อใจจากเขาหรือเธอกลับมา
ดูว่าผู้ชายกำลังหลอกใช้คุณเพื่อเซ็กส์หรือไม่
จิตวิทยาการรับมือเพื่อเอาชนะคนหลงตัวเอง
โฆษณา
  1. http://www.helpguide.org/articles/relationships/nonverbal-communication.htm
  2. http://changingminds.org/techniques/body/bored_body.htm
  3. http://www.businessinsider.com/how-to-gracefully-exit-a-conversation-2014-7
  4. http://www.entrepreneur.com/article/238978
  5. http://www.entrepreneur.com/article/238978
  6. http://www.entrepreneur.com/article/238978
  7. http://www.entrepreneur.com/article/238978
  8. http://www.entrepreneur.com/article/238978
  9. http://www.businessinsider.com/how-to-gracefully-exit-a-conversation-2014-7
  10. http://www.businessinsider.com/how-to-gracefully-exit-a-conversation-2014-7
  11. http://www.businessinsider.com/how-to-gracefully-exit-a-conversation-2014-7
  12. http://www.businessinsider.com/how-to-gracefully-exit-a-conversation-2014-7
  13. http://www.businessinsider.com/how-to-gracefully-exit-a-conversation-2014-7
  14. http://www.businessinsider.com/how-to-gracefully-exit-a-conversation-2014-7
  15. http://www.businessinsider.com/how-to-gracefully-exit-a-conversation-2014-7
  16. http://www.entrepreneur.com/article/238978
  17. http://www.businessinsider.com/how-to-gracefully-exit-a-conversation-2014-7
  18. http://www.businessinsider.com/how-to-gracefully-exit-a-conversation-2014-7
  19. http://www.businessinsider.com/how-to-gracefully-exit-a-conversation-2014-7
  20. http://www.businessinsider.com/how-to-gracefully-exit-a-conversation-2014-7
  21. http://www.businessinsider.com/how-to-gracefully-exit-a-conversation-2014-7
  22. http://www.businessinsider.com/how-to-gracefully-exit-a-conversation-2014-7

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 67,058 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา