PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

การร้องเพลงถือเป็นความสามารถพิเศษอย่างหนึ่งที่แทบทุกคนนั้นมี และแน่นอนว่าโดยธรรมชาติของบางคนอาจจะทำให้พวกเขามีทักษะดีกว่าคนอื่นๆ แต่ว่าจริงๆ แล้ว แม้แต่เสียงร้องที่ไม่ดีก็สามารถพัฒนาให้ไปถึงจุดที่ดีได้เหมือนกัน ถ้าหากว่ามีความมุ่งมั่นและขยันฝึกซ้อมมากพอ ฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะชอบร้องเพลงในห้องน้ำหรือชอบที่จะแสดงบนเวที จำไว้ว่ายังมีอีกหลายอย่างที่คุณสามารถทำเพื่อพัฒนาเสียงร้องของตัวคุณเองได้ และเพื่อที่จะเรียนรู้วิธีการร้องเพลงให้ได้ดี คุณก็จะต้องฝึกพื้นฐาน เรียนรู้วิธีการร้องที่ถูกต้อง และปรับปรุงการวางท่วงท่าเวลาที่อยู่บนเวทีด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เรียนรู้การวางท่าทางและการหายใจที่ถูกต้อง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การวางท่าทางที่ถูกต้องนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนเป็นนักร้องสามารถไปถึงจุดที่เป็นศักยภาพสูงสุดของตัวพวกเขาได้ ดังนั้น ให้คุณยืนตัวตรงพร้อมกับวางเท้าข้างหนึ่งให้อยู่เหนือขึ้นไปข้างหน้าของเท้าอีกข้างหนึ่งเล็กน้อย และให้เว้นระยะห่างของเท่าทั้งสองข้างให้เท่ากับระยะความกว้างของไหล่ จากนั้น ยืดอกให้ผายเพื่อเว้นที่ว่างให้ปอดคุณได้ขยายและหดตัว วิธีนี้จะช่วยทำให้คุณหายใจได้ง่ายขึ้นและใช้พื้นที่ในปอดได้อย่างสมบูรณ์แบบ ส่งผลให้คุณร้องโน้ตและถ้อยคำต่างๆ ออกมาได้ดียิ่งขึ้นไปด้วย [1]
    • หากคุณกำลังนั่งอยู่ ให้คุณใช้วิธีการเดียวกัน โดยให้นั่งแค่ครึ่งหน้าของเก้าอี้ และวางเท้าทั้งสองข้างให้อยู่แนบติดกับพื้น ที่สำคัญอย่านั่งไขว่ห้าง เพราะว่าการที่คุณคอยควบคุมลำตัวของตัวเองให้อยู่ในท่าตรงเอาไว้ จะทำให้คุณสามารถควบคุมการร้องและการลากเสียงยาวได้ดียิ่งขึ้นโดยที่ไม่ต้องตะเบ็งออกมา นอกจากนี้เวลาที่คุณนั่ง หลังของคุณไม่ควรจะสัมผัสกับพนักพิงเก้าอี้ และให้คุณทำหลังของตัวเองให้ตรงด้วย
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Annabeth Novitzki

    ครูสอนดนตรีเอกชน
    แอนนาเบ็ธ โนวิตซ์กีเป็นครูสอนดนตรีเอกชนในเท็กซัส เธอสำเร็จปริญญาตรีด้านดุริยางคศาสตร์จากคาร์เนกี เมลลอนในปี 2004 และปริญญาโทด้านการใช้เสียงจากมหาวิทยาลัยเมมฟิสในปี 2012
    Annabeth Novitzki
    ครูสอนดนตรีเอกชน

    แอนนาเบ็ธ โนวิตสกี้ ครูสอนร้องเพลงแนะนำว่า: "ถ้าคุณต้องการจะพัฒนาเสียงร้อง คุณจะต้องฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ เหมือนที่นักกีฬาฝึกร่างกายและดูแลมันทุกวัน ถ้าคุณฝึกร้องอย่างชาญฉลาดทุกวัน มันจะพัฒนาดีขึ้น และก็เหมือนนักกีฬาอีกเช่นกัน การหยุดพักเมื่อจำเป็นก็สำคัญไม่แพ้กัน"

  2. ดูว่าการวางท่าทางแบบไหนที่ทำให้คุณรู้สึกสบายและมีความมั่นใจ. แม้ว่าจะมีเทคนิคที่ถูกต้องให้มามากมาย แต่จริงๆ แล้วตำแหน่งท่าทางที่พอดีสำหรับแต่ละคนนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไป และก็แน่นอนว่าคุณคงไม่สามารถร้องออกมาให้ดีที่สุดได้หากคุณทำตัวงอ แต่การร้องเพลงไปพร้อมกับการทำหลังตรงจนเกินไปก็อาจจะทำให้คุณรู้สึกอึดอัดได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ให้ลองร้องเพลงในหลายๆ ท่าทางจนกว่าคุณจะเจอว่าการวางท่าทางแบบไหนที่เหมาะกับตัวคุณมากที่สุด [2]
  3. เสียง คือ สิ่งที่ถูกนิยามว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม เนื่องจากว่า 80% ของการร้องเพลงคือการหายใจนั่นเอง ซึ่งการร้องเพลงแบบถูกวิธีจะเริ่มและจบด้วยการหายใจที่ถูกต้อง ดังนั้น ให้คุณเริ่มต้นจากการพยายามหายใจให้ถูกวิธีด้วยการหายใจลึกๆ ด้วยลมที่ดึงออกมาจากในท้อง โดยหายใจเข้า 8 วินาที จากนั้นหายใจออกอีก 8 วินาที [3]
  4. ให้คุณลองฝึกการหายใจด้วยการใช้หนังสือเป็นอุปกรณ์เสริมดู โดยให้คุณนอนลงบนพื้นและวางหนังสือไว้บนท้อง จากนั้นร้องโน้ตที่คุณร้องได้แบบสบายๆ ออกมา และเวลาที่คุณกำลังหายใจออก/ร้องเพลง พยายามทำให้หนังสืออยู่สูงขึ้นไปจากเดิมให้ได้ [4]
  5. หากคุณอยากจะร้องเพลงออกมาให้ดี คุณก็จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการเก็บลมให้เยอะๆ ด้วยการหายใจเข้าแบบรวดเร็ว ซึ่งวิธีการฝึกก็คือ เริ่มต้นจากการหายใจเข้าและแกล้งทำเหมือนกับว่าอากาศที่หายใจเข้ามานั้นมีความหนาแน่นมาก แล้วปล่อยให้ลมลงลึกเข้าสู่ภายในร่างกายตัวเอง หลังจากนั้นให้หายใจเข้าให้เร็วขึ้นกว่าเดิม พร้อมกับยังจินตนาการอยู่เหมือนเดิมว่าลมที่เข้ามานั้นมีความหนาแน่น และปล่อยให้ลมนั้นลงลึกเข้าสู่ภายในร่างกายในอัตราที่เร็วขึ้นอีก โดยให้คุณทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะสามารถเก็บลมได้เยอะๆ เวลาที่หายใจเข้าเร็วๆ [5]
    • นอกจากนี้ คุณอาจจะลองจินตนาการว่าปอดของคุณเป็นลูกโป่งที่คุณกำลังเติมลมเข้าไปก็ได้
  6. การหายใจออกให้นิ่มนวลและไม่ขาดตอนนั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณควรฝึกเช่นกัน วิธีการฝึกก็คือ ให้คุณฝึกหายใจออกด้วยการเป่าลมไปที่ขนนก โดยให้หาขนนกมาหนึ่งอันแล้วพยายามเป่าขนนกให้ลอยไปบนอากาศด้วยลมเป่าครั้งเดียวแบบยาวๆ ซึ่งในขณะที่คุณกำลังฝึกวิธีนี้ ท้องของคุณควรจะกลับคืนสู่ขนาดปกติของมัน และหน้าอกของคุณก็ไม่ควรยุบลงด้วย โดยให้คุณฝึกไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะหายออกได้นานแบบคงที่โดยที่ไม่รู้สึกอึดอัดได้ [6]
    • คุณควรจะทำให้ตัวเองรู้สึกเหมือนกับว่าในตัวคุณนั้นไม่มีอากาศเหลืออยู่แล้ว และคุณก็ต้องการอากาศเพิ่มขึ้นในทันทีที่คุณหายใจออกจนหมดลม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ฝึกซ้อมเทคนิคและการใช้เสียง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนที่คุณจะเริ่มร้องเพลงหรือเริ่มฝึกซ้อม คุณควรจะวอร์มเสียงก่อนเสมอ ฉะนั้น ให้คุณวอร์มด้วยการร้องในเรนจ์เสียงกลาง ต่อด้วยเรนจ์เสียงต่ำ แล้วก็เรนจ์เสียงสูง จากนั้นกลับไปร้องในเรนจ์เสียงกลางอีก โดยให้วอร์มแบบไม่ต้องเกร็ง และลองวอร์มเสียงด้วยวิธีนี้อีกครั้งด้วยความระมัดระวัง หากเริ่มรู้สึกว่าเสียงตัวเองเหมือนจะกลายเป็นเสียงตะเบ็งหรือแหบแห้ง ให้คุณหยุดก่อน และให้เวลาตัวเองได้พักสักช่วงหนึ่ง [7]
  2. จริงๆ แม้แต่การใช้ไดนามิคแบบที่ง่ายที่สุดก็สามารถทำให้เพลงที่คุณร้องออกมานั้นมีชีวิตชีวาขึ้นได้ และยิ่งคุณฝึกมากเท่าไร คุณก็จะสามารถควบคุมความดัง-เบาเวลาร้องเพลงได้ดีขึ้นเท่านั้น ฉะนั้น ให้คุณเริ่มฝึกด้วยการร้องในระดับเสียงที่ง่ายสำหรับคุณก่อน จากนั้นค่อยๆ เพิ่มเป็นเสียงดัง แล้วก็ค่อยๆ ลดจนเป็นเสียงเบา ซึ่งในช่วงระยะแรกๆ ของการฝึก คุณอาจจะยังร้องได้แค่ในระดับเสียง mp (mezzo piano ที่หมายถึง เบาปานกลาง) จนถึงระดับเสียง mf (mezzo forte ที่หมายถึง ดังปานกลาง) แต่ถ้าคุณฝึกไปเรื่อยๆ คุณก็จะสามารถขยายเรนจ์เสียงของตัวเองให้กว้างขึ้นได้ [8]
  3. ให้คุณร้องไล่โน้ตตั้งแต่ โด ไปจนถึง ซอล โดยให้ร้องไล่กลับไปมาอย่างรวดเร็ว และพยายามร้องให้ถึงทุกโน้ต ฝึกแบบนี้โดยเพิ่มเสียงไปทีละครึ่งเสียงบนพยางค์ต่างๆ ที่ร้องออกมา วิธีนี้จะช่วยทำให้เสียงร้องของคุณมีความยืดหยุ่นมากขึ้น [9]
  4. ให้คุณฝึกออกเสียงสระในทุกระดับเสียง (สูง ต่ำ และกลาง) ซึ่งในภาษาไทยจะมีเสียงสระเดี่ยวค่อนข้างเยอะ และโดยปกติแล้วเราก็มักจะต้องเจอกับการใช้เสียงสระประสม (เสียงสระที่รวบเสียงสระเดี่ยว 2 เสียงเข้าด้วยกัน) ด้วยเช่นกัน [10]
    • ตัวอย่างเสียงสระเดี่ยวที่คุณควรจะต้องฝึกก็อย่างเช่น สระ อา อี อิ เอ อู อะ อุ โอ
  5. ให้คุณฝึกไล่สเกลบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับระดับเสียง ซึ่งครูสอนร้องเพลงส่วนใหญ่จะแนะนำว่าควรฝึก 20-30 นาทีต่อวันในช่วงเริ่มแรก เพราะการฝึกสเกลจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนที่ใช้ในการร้องเพลง และทำให้คุณสามารถควบคุมเสียงตัวเองได้ดีขึ้น โดยเวลาที่คุณจะเริ่มฝึกสเกล ให้คุณดูว่าเรนจ์เสียงของตัวเองอยู่ในระดับเสียงไหน (ระดับเทเนอร์ บาริโทน อัลโต โซปราโน ฯลฯ) และให้รู้ว่าจะหาโน้ตที่อยู่ในช่วงเรนจ์เสียงของตัวเองบนคีย์บอร์ดหรือเปียโนได้ยังไง จากนั้นให้ฝึกสเกลเมเจอร์ในทุกๆ คีย์ โดยให้คุณไล่สเกลขึ้น-ลงด้วยเสียงสระต่างๆ [11]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การซ้อมร้องเพลง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. แบ่งเวลาไว้สำหรับฝึกร้องเพลงโดยเฉพาะทุกวัน. หากคุณอยากจะพัฒนาเสียงร้องของตัวเอง การฝึกฝนให้ได้ทุกวันนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งการฝึกซ้อมร้องเพลงนั้นก็คล้ายๆ กับการออกกำลังกาย หากคุณหยุดพักจากการออกกำลังกายเป็นเวลานาน ความแข็งแรงและศักยภาพโดยรวมของตัวคุณก็จะลดลง และจะฟื้นสภาพได้ก็ต่อเมื่อคุณเริ่มต้นฝึกใหม่อีกครั้ง ฉะนั้น ถึงแม้ว่าจริงๆ คุณจะมีเวลาเหลือพอแค่ให้ฝึกวอร์มเสียงในรถเวลาที่คุณขับไปทำงาน แต่นั่นก็โอเคแล้ว [12]
    • ถ้าเป็นไปได้ ในทุกๆ วัน ให้คุณแบ่งเวลาไว้สำหรับฝึกซ้อมโดยเฉพาะ อย่างเช่น ถ้าคุณรู้ว่าตัวเองจะมีเวลาว่างตอน 9-10 โมง ก็ให้คุณจดเอาไว้ในแพลนเนอร์ของตัวเองว่าคุณจะใช้เวลานี้ฝึกซ้อมร้องเพลง
  2. คนที่เล่นเครื่องดนตรีอาจจะสามารถซ้อมได้ทีละหลายๆ ชั่วโมง แต่วิธีนี้ไม่สามารถใช้กับคนที่เป็นนักร้องได้ เพราะถ้าคุณใช้เสียงมากเกินไป เสียงของคุณก็อาจจะแหบแห้งหรือต้องตะเบ็ง ฉะนั้น ในแต่ละวันให้คุณพยายามฝึกซ้อมที่ไหนก็ได้ โดยให้อยู่ในช่วงเวลาระหว่าง 30-60 นาที จำไว้ว่าคุณไม่ควรจะซ้อมนานกว่า 60 นาที และสามารถปรับเปลี่ยนเวลาให้เหมาะสมตามเงื่อนไขของร่างกายคุณได้ อย่างเช่น ถ้าคุณมีไข้หรือรู้สึกเมื่อยล้า [13]
    • อย่าพยายามฝืนตัวเอง หากคุณรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถซ้อมให้ครอบ 30 นาทีได้
  3. บน YouTube มีคลิปสอนร้องเพลงเป็นพันๆ คลิปที่มีทุกอย่างตั้งแต่ผู้สอนระดับมือสมัครเล่นไปจนถึงนักร้องมืออาชีพที่จบทางด้านนี้โดยเฉพาะ แต่บางทีการจะหาครูฝึกร้องเพลงดีๆ บนอินเทอร์เน็ตนั้นก็เป็นเรื่องยุ่งยาก แต่มันก็เป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้คุณรู้ว่าตัวคุณเองชอบให้คนอื่นมาสอนร้องเพลงให้หรือเปล่า ฉะนั้น ให้ลองค้นหาแชนแนลที่เกี่ยวกับการฝึกร้องเพลง และเสิร์ชดูว่าแชนแนลไหนที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด [14]
    • จริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าข้อมูลทุกอย่างบนอินเทอร์เน็ตจะถูกต้องไปเสียหมด ฉะนั้นคุณต้องระวังด้วย และถึงแม้ว่าคุณจะหาเจอแหล่งข้อมูลดีๆ แต่โอกาสที่คุณจะตีความหมายคำแนะนำเหล่านั้นแบบผิดๆ ก็อาจจะยังมีอยู่ ซึ่งนั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมครูสอนร้องเพลงถึงยังเป็นที่ต้องการอยู่
  4. ซื้อคอร์สสอนร้องเพลงออนไลน์มาเรียนเองที่บ้าน. สมัยนี้มีคอร์สสอนร้องเพลงออนไลน์ให้คุณได้เรียนเองที่บ้านแล้ว อย่างในประเทศไทยเราเองก็จะมีคอร์สของ อาจารย์ หมุ่ย แห่งสถาบัน TN masterclass และคอร์สของอาจารย์ธนพรรษ ญาติเจริญ ที่อยู่ใน singasongbeautifully.edumall.co.th ส่วนถ้าหากคุณอยากจะเรียนจากคอร์สของต่างประเทศก็มีอีกหลายคอร์สเช่น Singing Success, Sing and See, Singorama, Vocal Release ซึ่งคอร์สออนไลน์แบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการเรียนแบบตัวต่อตัว แต่ก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อคอร์ส ให้คุณค้นหาข้อมูลดูก่อนว่าคอร์สไหนที่ได้ผลดีกับนักร้องคนอื่นๆ [15]
  5. หากคุณจะทุ่มเทให้กับการร้องเพลง ให้คุณลองพิจารณาเรื่องการลงเรียนกับมืออาชีพดู โดยให้คุณหาครูสอนร้องเพลงมืออาชีพที่จะสามารถช่วยให้คุณเป็นนักร้องที่ดีกว่าเดิมได้ ซึ่งคุณอาจจะสอบถามข้อมูลจากร้านขายเครื่องดนตรีใกล้บ้าน หรือครูสอนดนตรีที่โรงเรียน หรือว่าแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่น่าเชื่อถือก็ได้ [16]
    • การลงเรียนกับครูสอนร้องเพลงมืออาชีพอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง ฉะนั้น ก่อนที่คุณจะสมัครเรียน ให้คุณพิจารณาให้ดีก่อนว่าการร้องเพลงนั้นสำคัญกับตัวคุณมากแค่ไหน
  6. หากคุณไม่มีทุนมากพอที่จะไปเรียนกับครูสอนร้องเพลง หรือไม่อยากจะให้แรงผลักดันในการฝึกซ้อมของตัวเองนั้นมาจากการจ้างครูสอนร้องเพลงมืออาชีพแค่เพียงอย่างเดียว ให้คุณลองพิจารณาเรื่องการเข้าร่วมคณะประสานเสียงดู แม้ส่วนใหญ่คณะประสานเสียงจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับโบสถ์ของศาสนาคริสต์ แต่ว่าจริงๆ คุณก็สามารถหาคณะประสานเสียงที่ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรทางศาสนาได้เช่นกัน ซึ่งคณะประสานเสียงจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับการร้องเพลง รวมถึงการมีส่วนร่วมกับชุมชนที่คุณอยู่ด้วย [17]
    • จำไว้เสมอว่าหากคุณอยากเข้าร่วมคณะประสานเสียง คุณอาจจะต้องออดิชันก่อน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ให้ดื่มชาอุ่นๆ ใส่น้ำผึ้งหรือดื่มน้ำเปล่าที่อุณหภูมิห้องเวลาที่รู้สึกกระหายน้ำ วิธีนี้จะช่วยทำให้คอของคุณไม่แห้งและชาก็ยังเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับช่องคอของคุณด้วย [18]
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่อาจจะทำให้เส้นเสียงของคุณเสียหายได้
  • หากมีอาการแน่นจมูก ให้คุณล้างจมูกเพื่อหลีกเลี่ยงเสียงขึ้นจมูกหรือการหายใจแบบติดๆ ขัดๆ
  • อย่าพยายามร้องในระดับเสียงที่สูงมาก จนกว่าคุณจะวอร์มเสียงและเตรียมพร้อมสำหรับการร้องเพลงเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพราะถ้าคุณไม่วอร์มเสียง มันจะไม่ดีต่อเส้นเสียงของคุณ และถ้าหากคุณรู้ว่าในท่อนต่อไปคุณจะต้องร้องยาวมาก ให้คุณหายใจเข้าลึกๆ แล้วร้องมันออกมา
โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณรู้สึกเจ็บๆ เวลาร้อง ให้คุณหยุดร้องสักประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นให้วอร์มเสียงแล้วค่อยลองใหม่อีกครั้ง เพราะไม่ใช่แค่เพียงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเส้นเสียงของคุณเท่านั้น เสียงของคุณก็จะฟังดูน่าอึดอัดและไม่ลื่นไหลไปด้วย ถ้าหากคุณไม่ยอมหยุดพักเสียก่อน
  • หากเสียงหรือช่องคอของคุณเจ็บจริงๆ และคุณก็รู้สึกว่าตัวเองไม่แม้แต่จะสามารถพูดออกมาเฉยๆ โดยที่ไม่เจ็บคอได้ ให้คุณหยุดใช้เสียงทันที และในช่วงเวลาที่เหลือของวันนั้นให้คุณงดใช้เสียงไปเลย ดื่มชาอุ่นให้มากๆ และถ้าหากคุณมีเครื่องอบไอน้ำสำหรับจมูก (stream inhaler) ให้คุณอบไอน้ำสัก 20 นาที และถ้าเกิดว่าอาการยังไม่ดีขึ้น ให้คุณไปปรึกษาแพทย์
  • อาการเกร็งตึงของกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร ไหล่ คอ และบริเวณรอบๆ นั้นอาจจะสร้างความเจ็บปวดให้คุณได้ ฉะนั้น ก่อนที่คุณจะร้องเพลง คุณต้องทำตัวเองให้ผ่อนคลายก่อน ถ้าขากรรไกรของคุณสั่นสะเทือนมากเวลาที่คุณร้องเพลง นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความตึงเกร็งในขากรรไกรของคุณ และมันอาจจะส่งผลให้เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อของคุณฉีกขาดได้ หากคุณฝืนร้องต่อไปเรื่อยๆ
  • หากคุณพยายามจะร้องโน้ตเสียงต่ำและทำเสียงแหบ จำไว้ว่า นั่นคือการทำลายเสียงอย่างหนึ่ง และอาจจะทำให้เกิดตุ่มอันตรายในลำคอของคุณได้ ซึ่งตุ่มลักษณะนี้จะเป็นเหมือนกับตุ่มนูนๆ ที่อยู่บนเส้นเสียง และมันก็จะไม่มีทางหายไปเองได้ หากคุณไม่ผ่าตัดออกหรือพักการใช้เสียงให้นานๆ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 18,095 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา