ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สมาคมการตั้งครรภ์แห่งสหรัฐอเมริกาชี้ว่า ภาวะความดันโลหิตสูงส่งผลกระทบต่อผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ประมาณ 6-8 % หากความดันโลหิตของคุณในช่วงหัวใจบีบตัว (เลขตัวบน) มีค่าเกิน 140 มิลลิเมตรปรอท หรือ 90 มิลลิเมตรปรอท ในช่วงหัวใจคลายตัว (เลขตัวล่าง) แสดงว่าคุณกำลังเผชิญกับโรคความดันโลหิตสูง ตัวอย่างปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ประกอบด้วยการมีน้ำหนักเกิน การเป็นโรคความดันเลือดสูงอยู่แล้วก่อนการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์แฝด การป่วยโรคเรื้อรัง และ/หรือการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (อาหารที่มีเกลือและไขมันสูง) เนื่องจากความดันโลหิตสูงสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน (ทารกน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน ปัญหาเกี่ยวกับไต การคลอดก่อนกำหนด และภาวะครรภ์เป็นพิษ) คุณจึงควรดำเนินการเพื่อลดความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

การลดความดันโลหิตด้วยตัวเลือกการดำเนินชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผู้หญิงที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิงที่ออกกำลังกาย ดังนั้นไม่ว่าคุณจะตั้งครรภ์อยู่หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณเกี่ยวกับการเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกาย [2]
    • พยายามออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือเกือบทุกวันตลอดสัปดาห์
    • ถ้าคุณยังเป็นมือใหม่ ให้ลองออกกำลังกายเบาๆ ด้วยการเดินหรือว่ายน้ำ
    • ปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณก่อนเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกาย และสอบถามว่ากิจกรรมบางอย่างปลอดภัยสำหรับคุณหรือไม่ทุกครั้ง [3]
  2. การมีน้ำหนักเกินเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องคอยระมัดระวังให้การเพิ่มน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ของคุณอยู่ภายในขอบเขตที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ การกินอาหารที่เหมาะสมและการออกกำลังกายเป็นประจำเป็นแนวทางที่ได้ผลในการจัดการกับการเพิ่มน้ำหนักของคุณระหว่างตั้งครรภ์ [4]
    • ภาวะครรภ์เป็นพิษ คือ รูปแบบหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคุณมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเกินไประหว่างตั้งท้อง ภาวะครรภ์เป็นพิษอาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับไตและตับในผู้เป็นแม่และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนในทารก [5]
    • การมีน้ำหนักเกินยังเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น อาการปวดหลัง อ่อนเพลีย ตะคริวที่ขา ริดสีดวงทวาร โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการแสบร้อนกลางอก และอาการปวดข้อ เป็นต้น
  3. การมีความเครียดอาจทำให้เกิดความดันเลือดสูงได้ไม่ว่าคุณจะตั้งครรภ์อยู่หรือไม่ก็ตาม ให้พยายามกำจัดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความเครียดหากทำได้
    • อย่าทำงานหนักเกินไปขณะตั้งครรภ์ หากคุณทำงานเกิน 41 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ความเสี่ยงของคุณต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงอาจเพิ่มขึ้น [6]
    • ลองใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การนั่งสมาธิ การสร้างมโนภาพ และโยคะ เทคนิคเหล่านี้สามารถนำความเงียบสงบมาสู่ร่างกายและจิตใจของคุณได้ และยังช่วยลดระดับความเครียดของคุณได้อีกด้วย
  4. เทคนิคการหายใจแบบต่างๆ เช่น การหายใจโดยใช้กระบังลม สามารถช่วยสงบร่างกายและจิตใจของคุณและช่วยบรรเทาความเครียดได้ นอกจากนั้นแล้ว เมื่อใช้กระบังลม (กล้ามเนื้อบริเวณฐานปอด) คุณจะสามารถทำให้การหายใจของคุณมีพละกำลังมากยิ่งขึ้น และลดอาการตึงที่กล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ บริเวณลำคอและหน้าอกของคุณ [7]
    • นอนหงายหรือนั่งบนเก้าอี้ในท่าสบายๆ หากเลือกท่านอนหงาย ให้รองหมอนไว้ใต้หัวเข่าเพื่อให้เข่างอ [8]
    • วางมือของคุณลงบนหน้าอกและใต้กระดูกซี่โครงเพื่อให้รู้สึกเมื่อกระบังลมมีการเคลื่อนไหว
    • หายใจเข้าช้าๆ ผ่านทางจมูกให้รู้สึกถึงหน้าท้องที่พองขึ้น
    • หายใจออกช้าๆ ผ่านทางปากโดยนับหนึ่งถึงห้าพร้อมกับแขม่วกล้ามเนื้อหน้าท้องและปล่อยให้ท้องยุบเข้า
    • ทำซ้ำและคอยกำหนดให้การหายใจของคุณเป็นไปอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ
  5. ผลการศึกษาพบว่า การฟังดนตรีถูกประเภทพร้อมกับการหายใจอย่างช้าๆ อย่างน้อยวันละ 30 นาที สามารถลดความดันโลหิตได้ [9]
    • ฟังดนตรีที่ทำให้รู้สึกสงบและผ่อนคลาย อย่างเช่น แนวเซลติก คลาสสิก หรืออินเดีย เป็นต้น หรือหากคุณมีเพลงช้าๆ ที่คุณชอบฟังอยู่แล้วที่สร้างแรงบันดาลใจและผ่อนคลายคุณได้ ให้ฟังเพลงนั้นๆ
    • หลีกเลี่ยงเพลงที่ดังอึกทึกและมีจังหวะเร็ว เช่น แนวร็อค ป๊อป และเฮฟวี่เมทัล เนื่องจากเพลงแนวเหล่านี้อาจให้ผลที่ตรงกันข้ามกับคุณ
  6. ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นผลข้างเคียงอย่างหนึ่งของยารักษาโรคบางชนิด ปรึกษาแพทย์ประจำตัวเกี่ยวกับยารักษาโรคของคุณและดูว่าสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยขณะตั้งครรภ์หรือไม่ [10]
  7. นอกเหนือจากจะเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ของคุณแล้ว การสูบบุหรี่ยังสามารถเพิ่มความดันเลือดของคุณให้สูงขึ้นอีกด้วย ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์ คุณควรเลิกสูบบุหรี่ทันที [11]
    • ปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับวิธีการเลิกบุหรี่ที่ปลอดภัยกับตัวคุณเองและลูกของคุณ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การลดความดันโลหิตด้วยพฤติกรรมการกินอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้ว่าร่างกายของคุณจะต้องการโซเดียมในปริมาณเล็กน้อย แต่การบริโภคโซเดียมมากเกินไปนั้นไม่ดีต่อตัวคุณเอง และอาจนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดสมองอีกด้วย หากคุณประสบปัญหาความดันโลหิตสูง ให้จัดการกับปัญหานี้โดยการลดปริมาณโซเดียมที่คุณบริโภค: [12]
    • อย่าใส่เกลือลงในอาหารเมื่อปรุงอาหาร แต่ให้ใช้เครื่องเทศอื่นๆ แทน (เช่น ยี่หร่า ผงพริกไทยผสมเลมอน สมุนไพรสด เป็นต้น)
    • ล้างอาหารกระป๋องเพื่อกำจัดโซเดียม
    • ซื้ออาหารที่ติดป้าย “โซเดียมต่ำ” หรือ “ปราศจากโซเดียม”
    • หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น ขนมปังกรอบ ของทอด และขนมอบ ที่มักจะมีโซเดียมสูง
    • และหลีกเลี่ยงการกินอาหารจานด่วน และขอให้ลดปริมาณโซเดียมลงเมื่อสั่งอาหารในภัตตาคาร
  2. ธัญพืชเต็มเมล็ดมีปริมาณเส้นใยอาหารสูง และการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าการเพิ่มปริมาณใยอาหารลงในอาหารที่คุณกินอาจช่วยลดอาการความดันโลหิตสูงได้ [13]
    • ทำให้มั่นใจว่าคุณกินธัญพืชเต็มเมล็ดอย่างน้อย 6-8 หน่วยบริโภค เป็นประจำทุกวัน
    • เปลี่ยนจากธัญพืชที่ผ่านการขัดสีเป็นธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง และพาสต้าและขนมปังที่ผลิตจากธัญพืชเต็มเมล็ด
  3. เพิ่มอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงลงในอาหารที่คุณกินในแต่ละมื้อ. อาหารที่มีโพแทสเซียมสูงควรเป็นส่วนหนึ่งของอาหารควบคุมความดันของคุณ อาหารที่คุณควรเพิ่ม ได้แก่ มันเทศ มะเขือเทศ ถั่วแดง น้ำส้ม กล้วย ถั่วลันเตา มันฝรั่ง ผลไม้ตากแห้ง เมลอน และแคนตาลูป [14]
    • รักษาระดับโพแทสเซียมเป้าหมายของคุณให้พอประมาณ (ราวๆ 2,000 ถึง 4,000 มก. ต่อวัน) [15]
  4. งานวิจัยทางการแพทย์ระบุว่า จริงๆ แล้วดาร์กช็อกโกแลตอาจมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตลงได้ [16]
    • กินดาร์กช็อกโกแลตที่มีโกโก้อย่างน้อย 70 % วันละ 14 กรัม [17]
    • เนื่องจากดาร์กช็อกโกแลตมีแคลอรี่สูง จึงไม่ควรอร่อยกับมันมากเกินไป
  5. หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน. นอกจากจะไม่ดีต่อความดันโลหิตแล้ว คาเฟอีนและแอลกอฮอล์ยังมีผลกระทบทางสุขภาพในแง่ลบอื่นๆ ต่อตัวคุณเองและลูกของคุณระหว่างตั้งครรภ์อีกด้วย ดังนั้น คุณจึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มทั้งสองชนิดนี้ โดยเฉพาะหากคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว
    • การดื่มคาเฟอีนขณะตั้งครรภ์มีการเชื่อมโยงกับการลดลงของการไหลเวียนโลหิตผ่านรกและความเสี่ยงต่อการแท้งลูก แม้ยังคงต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลกระทบของคาเฟอีน แต่ก็ควรเปลี่ยนไปดื่มแบบไม่ผสมคาเฟอีนระหว่างที่คุณตั้งครรภ์ [18]
    • การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประมาณสูงนั้นเป็นที่ทราบดีว่าจะไปเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีผลในทางลบต่อลูกในท้องของคุณอีกด้วย ก่อนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด แม้แต่จะดื่มไวน์สักแก้ว ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณก่อน [19]
  6. เพิ่มผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองและนมไขมันต่ำในอาหารที่คุณกินในแต่ละวันหากยังไม่ได้เริ่มทำ. การศึกษาทางการแพทย์ชี้ให้เห็นว่า ความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวสามารถลดลงได้ด้วยการเพิ่มอาหารเหล่านี้ลงในมื้ออาหารของคุณ [20]
    • เพิ่มผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำหรือไม่มีไขมัน (เช่น นม คอทเทจชีส โยเกิร์ต) ลงในมื้ออาหารของคุณ
    • ถ้าคุณมีภาวะการย่อยแลคโตสผิดปกติ ให้ลองผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองแทน
    • เพลาๆ มือกับปริมาณชีสที่คุณกิน (แม้แต่ชนิดไขมันต่ำ) เนื่องจากโซเดียมในชีสที่มีปริมาณสูง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พักผ่อนให้เพียงพอ การอดนอนอาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพ
  • ดื่มน้ำเยอะๆ ในแต่ละวันเพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ ดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน [21]
โฆษณา

คำเตือน

  • ปรึกษาแพทย์ของคุณทุกครั้งหากคุณมีภาวะความดันโลหิตสูง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 46,120 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา