ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อไรที่ความดันโลหิตขึ้นสูงผิดปกติ คุณจะต้องรีบลดความดันลงให้เร็วที่สุด ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือใดๆ เพียงแค่ปรับอาหารการกินและรูปแบบการดำเนินชีวิตของคุณเท่านั้น แต่ในกรณีที่คุณเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณคงต้องเป็นการให้คุณหมอจ่ายยาให้ และในบทความนี้เราจะมาเผยถึงทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับตัวเลือกทั้งหมดที่คุณมี

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การลดความดันโลหิตด้วยอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาหารที่มีส่วนประกอบของโฮลเกรน ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำสามารถลดความดันได้ถึง 14 มิลลิเมตรปรอท (mmHg.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอาหารเหล่านั้นมีคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวอยู่ในปริมาณน้อย [1]
    • การปรับพฤติกรรมการกินเรียกได้ว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการลดความดันโลหิต ถ้าคุณแค่พยายามทานอาหารให้สมดุล ผลที่ได้อาจจะเกิดขึ้นช้าสักหน่อย แต่ถ้าคุณเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยลดความดันโลหิต พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตควบคู่ไปด้วย ความดันของคุณจะลดลงเร็วขึ้นอีกหลายเท่าเลยทีเดียว
    • หลังจากความดันลดลงจนถึงระดับที่ควรเป็น คุณก็สามารถทานขนมหรือคุกกี้ตามใจชอบได้บ้างเป็นครั้งคราวแล้วล่ะ เพียงแต่ต้องพยายามควบคุมพฤติกรรมการกินให้ได้อย่างนี้ให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้ความดันพุ่งสูงขึ้นอีกนั่นเอง
  2. รู้หรือไม่ว่าเกลือคือศัตรูตามธรรมชาติที่นำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูง แม้ระดับโซเดียมในร่างกายลดลงแค่เพียงนิดเดียว ก็สามารถทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ถึง 2-8 มิลลิเมตรปรอทแล้ว
    • จำกัดปริมาณโซเดียมให้ไม่เกิน 2300 มก. ต่อวัน แต่ถ้าคุณมีอายุ 51 ปีขึ้นไปหรือมีโรคที่อาจทำให้ความดันโลหิตขึ้นสูง ก็ควรควบคุมปริมาณโซเดียมให้ไม่เกิน 1500 มก. ต่อวัน
    • หากจำเป็นต้องเพิ่มรสชาติให้กับอาหารสักหน่อย คุณสามารถทำได้อย่างปลอดภัยโดยใช้สมุนไพรหรือเครื่องเทศชนิดต่างๆ
      • พริกคาเยน (Cayenne pepper) มีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือดและกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
      • ขมิ้นมีคุณสมบัติในการลดอาการอักเสบภายในร่างกาย จึงช่วยให้หลอดเลือดและหัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น และลงเอยด้วยการทำให้ความดันลดลงนั่นเอง
      • กระเทียมช่วยลดได้ทั้งคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตเลยทีเดียว
  3. รู้หรือไม่ว่าความจริงแล้วแอลกอฮอล์ช่วยลดความดันได้ถ้าดื่มแค่เพียงนิดเดียว แต่ถ้าดื่มในปริมาณมากล่ะก็ มันจะทำให้ค่าความดันของคุณพุ่งปรี๊ดเลยทีเดียว
    • สำหรับผู้ชายและผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป สามารถดื่มไวน์หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคล้ายแอลกอฮอล์ได้วันละ 1 แก้ว ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี อาจดื่มได้ไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน
    • ถ้าจะเอาให้เป๊ะ 1 แก้วในที่นี้หมายถึงเบียร์ 12 ออนซ์ (355 มล.), ไวน์ 5 ออนซ์ (148 มล.) หรือแอลกอฮอล์ 80 Proof (40%) 1.5 ออนซ์ (45 มล.)
    • การดื่มไวน์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นๆ ในปริมาณแต่พอดีสามารถลดความดันโลหิตได้ตั้งแต่ 2 ถึง 4 มิลลิเมตรปรอทเลยทีเดียว
    • ขอเตือนไว้ว่าวิธีการนี้จะได้ผลก็ต่อเมื่อคุณเป็นคนที่ดื่มแอลกอฮอล์อยู่แล้ว เพราะผลที่ได้ยังไม่เป็นที่ยอมรับแพร่หลาย อีกทั้งยังมีความเสี่ยงสูงกว่าสำหรับผู้ที่ไม่ได้ดื่มเป็นประจำ
    • การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากอาจลดประสิทธิภาพของยาลดความดัน
  4. ในนมนั้นอัดแน่นไปด้วยโพแทสเซียมและแคลเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิต นอกจากนี้ในผลิตภัณฑ์นมยังมีวิตามินดี ซึ่งอาจมีส่วนช่วยด้วยเช่นเดียวกัน
    • แนะนำให้ดื่มนมไขมันต่ำหรือที่ไม่มีไขมันแทนนมสดธรรมดา เพราะในนมสดจะมีกรดพาล์มิติก ซึ่งงานวิจัยพบว่าอาจเป็นหนึ่งในตัวการปิดกั้นสัญญาณภายในที่ทำหน้าที่ลดความตึงเครียดของหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดมีการไหลเวียนน้อยและความดันโลหิตสูงต่อเนื่อง [2]
  5. ชาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของดอกชบาสามารถลดความดันโลหิตได้อย่างรวดเร็ว และจะยิ่งลดได้มากหากดื่มเป็นประจำวันละ 3 แก้ว
    • ควรแช่ชาประมาณ 6 นาทีก่อนนำมาดื่ม โดยจะดื่มแบบร้อนหรือเย็นก็ได้
    • หากดื่มชาดอกชบาวันละ 3 แก้วโดยไม่ใช้วิธีการรักษาอื่นๆ ร่วมด้วย คุณจะสามารถลดความดันช่วงบน (Systolic blood pressure) ได้ถึง 7 จุด ภายใน 6 สัปดาห์เท่านั้น
    • ชาดอกชบามีสารแอนโทไซยาซินและสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ ที่ช่วยให้หลอดเลือดของคุณแข็งแรงขึ้น และป้องกันไม่ให้หลอดเลือดหดเกร็งซึ่งเป็นสาเหตุให้ความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้น
  6. น้ำแครนเบอร์รี่ 1 แก้ว สามารถลดความดันโลหิตได้เทียบเท่ากับไวน์แดง 1 แก้วเลยทีเดียว
    • น้ำแครนเบอร์รี่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า “โปรแอนโทไซยานิดิน” สารอาหารเหล่านี้จะช่วยจำกัดปริมาณการสร้างสาร ET-1 ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการลดการไหลเวียนภายในหลอดเลือดและทำให้ความดันเพิ่มสูงขึ้น
  7. เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าผักและผลไม้มีส่วนสำคัญในการควบคุมอาหารให้สมดุล แต่รู้หรือไม่ว่าผักผลไม้บางชนิดสามารถลดความดันได้มากเป็นพิเศษ
    • รับประทานกีวี่ ในงานวิจัยของสมาคมหัวใจอเมริกา (American Heart Association) นักวิจัยค้นพบว่าการรับประทานกีวี่วันละ 3 ผล เป็นเวลา 8 สัปดาห์ขึ้นไปสามารถลดค่าความดันช่วงบนได้เป็นอย่างมาก เพราะในกีวี่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า “ลูทีน” [3]
    • อิ่มอร่อยกับแตงโมสักชิ้น เพราะแตงโมประกอบไปด้วยไฟเบอร์ ไลโคปีน วิตามินเอ และโพแทสเซียน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต นอกจากนี้ในแตงโมยังมีกรดอะมิโนที่เรียกว่า “แอลซิทรูลีน/แอลอาร์จินีน” ซึ่งงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ชี้ว่าอาจมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตด้วยเช่นเดียวกัน
    • เพิ่มผักผลไม้หลายๆ ชนิดที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียมเข้าไปในมื้ออาหารของคุณ นักวิทยาศาสตร์ให้การยอมรับกันโดยทั่วไปว่าโพแทสเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหารสำหรับลดความดันโลหิต แหล่งอาหารดีๆ ที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียมประกอบด้วย ถั่วฝัก กล้วย มันฝรั่ง มะเขือเทศ น้ำส้ม ถั่วที่มีรูปร่างคล้ายไต แคนตาลูป เมลอนผิวเรียบ (honeydew melon) และลูกเกด
  8. ในน้ำมะพร้าวอุดมไปด้วยโพแทสเซียม อิเล็กโทรไลต์ และสารอาหารอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิต
    • งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร West Indian Medical Journal ชี้ให้เห็นว่าน้ำมะพร้าวสามารถลดความดันช่วงบนได้ถึง 71% ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และยังสามารถลดความดันช่วงล่างได้ถึง 29% ของกลุ่มตัวอย่าง [4]
  9. รับประทานเต้าหู้และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองให้มากขึ้น. เพราะในผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองจะมีสารไอโซฟลาโวน ซึ่งเป็นสารอาหารที่อาจช่วยลดความดันโลหิต
    • งานวิจัยในปี 2555 พบว่าอาหารที่อุดมไปด้วยสารไอโซฟลาโวนน่าจะมีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงได้มากกว่า 5.5 จุด เมื่อเทียบกับผู้ป่วยความดันโลหิตที่ร่างกายมีสารไอโซฟลาโวนอยู่ในระดับต่ำ [5]
    • ชาเขียวและถั่วลิสงมีสารไอโซฟลาโวนในปริมาณที่ดีต่อสุขภาพ
  10. เพราะช็อกโกแลตส่วนใหญ่จะอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัวและทำให้ความดันลดลงได้ในที่สุด
    • แม้ช็อกโกแลตทุกประเภทจะมีประโยชน์ในด้านนี้ทั้งสิ้น แต่ดาร์กช็อกโกแลตและผลคาเคา 100% จะมีความเข้มข้นสูงกว่าช็อกโกแลตนม จึงอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเลยก็ว่าได้
    • ผลการวิจัยชี้ว่าการรับประทานช็อกโกแลตสามารถลดระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ แต่ผลยังไม่เป็นที่แน่ชัดสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติหรือเกือบปกติ
  11. แคพไซซินซึ่งเป็นสารสร้างความเผ็ดในพริกอาจช่วยกระตุ้นให้ความดันโลหิตลดลงเมื่อได้รับประทาน
    • ข้อสรุปนี้ได้มาจากงานวิจัยในปี 2553 ที่พบว่าความดันโลหิตของหนูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจะลดลงหลังจากทานแคพไซซินเข้าไป แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะได้ผลลัพธ์เดียวกันในมนุษย์
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การใช้ชีวิตให้ห่างไกลจากความดันโลหิตสูง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การออกกำลังกายเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที ให้ได้ในเกือบทุกๆ วันจะช่วยให้ความดันโลหิตของคุณลดลงได้อย่างมากภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยคุณสามารถออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬาหรือแค่ทำงานบ้านทั่วๆ ไปก็ได้เช่นเดียวกัน [6]
    • ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกายในแต่ละวัน เพราะการเพิ่มเวลาออกกำลังกายแบบก้าวกระโดดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายหรือเป็นลมแดดได้
    • การเดินเร็วเป็นหนึ่งในวิธีการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุดที่คุณสามารถเพิ่มเข้าไปในชีวิตประจำวันของคุณ การเดินด้วยจังหวะที่กระฉับกระเฉงเป็นเวลา 30 นาที สามารลดความดันโลหิตได้เกือบ 8 มิลลิเมตรปรอทเลยทีเดียว
    • กิจกรรมกีฬาอื่นๆ ที่คุณสามารถลองทำได้ ได้แก่ วอลเลย์บอล ทัชฟุตบอล โยนบอลลงตะกร้า ปั่นจักรยาน เต้นรำ แอโรบิกในน้ำ ว่ายน้ำ และกระโดดเชือก
    • งานบ้านที่ได้ผล ได้แก่ การล้างรถ เช็ดกระจกและถูพื้น ทำสวน เก็บกวาดใบไม้ ตักหิมะ รวมถึงการเดินขึ้นลงบันได
  2. การหายใจเข้าช้าๆ อย่างมีสติจะทำให้ร่างกายของคุณรู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งช่วยให้ร่างกายของคุณสร้างก๊าซไนตริกออกไซด์ออกมามากขึ้น และสร้างฮอร์โมนความเครียดน้อยลงนั่นเอง
    • ไนตริกออกไซด์จะช่วยขยายหลอดเลือด และทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ในที่สุด
    • ฮอร์โมนความเครียดทำให้ระดับเรนินในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น และเจ้าเรนินนี้ก็คือเอนไซม์ในไตซึ่งมีส่วนทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง
    • ใช้เวลาอย่างน้อย 5 นาที ในช่วงเช้า ตั้งใจหายใจเข้าลึกๆ โดยแต่ละครั้งให้พยายามหายใจเข้าลึกๆ ด้วย “การหายใจโดยใช้ท้อง”
    • ลองเรียนรู้วิธีการนั่งสมาธิ เล่นโยคะ หรืออาจจะลองฝึกชี่กงหรือไทเก๊กอย่างจริงจัง
  3. ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการทำงานมากกว่า 41 ชั่วโมงต่อสัปดาห์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 15% เพราะฉะนั้น ถ้าจำเป็นต้องลดความดันโลหิตแบบด่วนๆ ล่ะก็ คุณจะต้องตัดคิวงานออกทีละนิดทีละหน่อยในทุกครั้งที่ทำได้
    • ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณทำงานที่ต้องพบเจอกับความวุ่นวายหรือความเครียดสูง เพราะฮอร์โมนความเครียดจะทำให้การไหลเวียนภายในหลอดเลือดถูกจำกัด ซึ่งเป็นสาเหตุให้หัวใจของคุณสูบฉีดเลือดได้ยากขึ้นนั่นเอง
  4. การฟังเพลงผ่อนคลายสบายอารมณ์สักประมาณ 30 นาทีต่อวันสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ และจะได้ผลดียิ่งขึ้นหากทำร่วมกับเทคนิคการหายใจเข้าลึกๆ และการใช้ยาลดความดัน
    • เลือกเพลงที่ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย เช่น เพลงคลาสสิก เพลงเซลติก เพลงอินเดีย
    • ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าหลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์ ค่าความดันช่วงบนของคุณอาจลดลงถึง 3.2 จุดเลยทีเดียว
  5. สารนิโคตินเป็นหนึ่งในตัวการที่อยู่เบื้องหลังภาวะความดันโลหิตสูง หากคุณสูบบุหรี่หรืออยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่ล่ะก็ การตัดพฤติกรรมนี้ออกไปจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถลดค่าความดันได้อย่างรวดเร็ว
    • การสูบบุหรี่จะทำให้ความดันโลหิตของคุณสูงขึ้น 10 มิลลิเมตรปรอท นานถึง 1 ชั่วโมงหลังการสูบบุหรี่ ดังนั้นถ้าคุณสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง ความดันโลหิตของคุณก็จะสูงต่อเนื่องด้วยเช่นเดียวกัน แม้กระทั่งผู้ที่แวดล้อมไปด้วยผู้ที่สูบบุหรี่ก็จะได้รับผลกระทบในลักษณะเดียวกัน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การลดความดันโลหิตด้วยการทานยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โคเอนไซม์ คิวเทนเป็นอาหารเสริมและสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติที่สามารถลดความดันโลหิตจาก 17 มิลลิเมตรปรอท เหลือเพียง 10 มิลลิเมตรปรอทเมื่อรับประทานเป็นประจำ สารอาหารประเภทนี้จะเข้าไปขยายหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้หัวใจของคุณสูบฉีดเลือดผ่านหลอดเลือดได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
    • ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการทานอาหารเสริม คุณหมอจะแนะนำให้คุณทานอาหารเสริมโคเอนไซม์ คิวเทนประมาณ 60-100 มก. สูงสุดวันละ 3 ครั้ง
  2. ยาขับปัสสาวะจะช่วยขับโซเดียมและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย [7]
    • โซเดียมเป็นหนึ่งตัวการสำคัญของอาการความดันโลหิตสูง การขับโซเดียมส่วนเกินออกจึงช่วยให้ความดันลดลงได้อย่างมาก
  3. ลองทานยาปิดกั้นการทำงานของเบต้า หรือที่เรียกว่าเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta-blocker). เบต้าบล็อกเกอร์จะช่วยให้อัตราการทำงานของหัวใจลดลง
    • ผลก็คือ หัวใจของคุณจะสูบฉีดเลือดออกน้อยลง และทำให้ความดันโลหิตลดลงนั่นเอง
  4. ACE ย่อมาจาก "Angiotensin-Converting Enzyme" ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำให้ร่างกายผลิตสารแอนจิโอเทนซิน ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นตัวการปิดกั้นการไหลเวียนภายในหลอดเลือดแดงทั่วทั้งร่างกาย
    • ยาต้าน ACE จะทำให้หลอดเลือดขยายออกและทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ในที่สุด
  5. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยาต้านเอนไซม์ “แอนจิโอเทนซิน ทู รีเซบเตอร์ บล็อกเกอร์” (angiotensin II receptor blocker). ยาตัวนี้จะเข้าไปหยุดยั้งผลของเอนไซม์แอนจิโอเทนซิน ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการปิดกั้นการไหลเวียนภายในหลอดเลือดแดง
    • เอนไซม์แอนจิโอเทนซินจำเป็นต้องจับตัวกับตัวรับเพื่อให้มีผลกับหลอดเลือด แต่ยาในกลุ่มนี้จะเข้าไปสกัดกั้นตัวรับและป้องกันไม่ให้สารเคมีส่งผลกระทบใดๆ
  6. แคลเซียมทำให้เซลล์กล้ามเนื้ออ่อนในบริเวณเหล่านี้แข็งขึ้น ซึ่งหมายความว่าหัวใจจะต้องใช้แรงมากขึ้นในการสูบฉีดเลือดผ่านหลอดเลือดแดง
    • ยาตัวนี้จะเข้าไปคลายหลอดเลือดที่บีบตัว และทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ในที่สุด
  7. ยาต้านอัลฟ่าจะช่วยลดแรงต้านในหลอดเลือดแดง
    • ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดคลายตัวและเลือดไหลเวียนผ่านได้ง่ายขึ้น
  8. สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับยากระตุ้นตัวรับอัลฟ่า 2 (alpha-2 receptor agonist). ยาตัวนี้จะเข้าไปลดการทำงานของส่วนซิมพาธีติกของระบบประสาทอัตโนมัติ
    • นั่นหมายความว่าร่างกายจะผลิตสารอะดรีนาลีนน้อยลง เพราะสารอะดรีนาลีน รวมถึงฮอร์โมนความเครียดอื่นๆ เป็นหนึ่งในตัวการที่ทำให้หลอดเลือดเกิดการหดตัว
  9. ยาประเภทนี้จะทำหน้าที่เป็นปราการด่านแรกให้กับผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับภาวะความดันโลหิตสูงมาก และสามารถลดความดันได้เร็วกว่ายาตัวอื่นๆ
    • ยาตัวนี้จะช่วยลดแรงต้านที่หลอดเลือดแดงสร้างขึ้น และทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง
  10. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยากระตุ้นกลุ่มเซนทรัล อะโกนิสต์ (Central Agonist). ยาในกลุ่มนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้หลอดเลือดหดเกร็งได้ง่าย และทำให้เลือดไหลเวียนสะดวกขึ้นนั่นเอง
    • ยาตัวนี้จะมีผลคล้ายๆ กับยาต้านอัลฟ่า-เบต้า
  11. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยาต้านในกลุ่มเพอริฟีรอล อะดรีเนอร์จิก (peripheral adrenergic inhibitor). สมองถือเป็นเป้าหมายแรกของยากลุ่มนี้
    • สารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ที่ทำหน้าที่สั่งการกล้ามเนื้ออ่อนของหัวใจและหลอดเลือดจะถูกปิดกั้นการทำงานเมื่อทานยากลุ่มนี้ ข้อความสั่งการให้หลอดเลือดหดเกร็งจึงไม่สามารถไปถึงที่หมายได้
  12. ยาในกลุ่มนี้จะทำให้กล้ามเนื้อของหลอดเลือดคลายตัวเท่านั้น
    • ผลก็คือ ยาตัวนี้จะเข้าไปขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนผ่านได้สะดวกและความดันลดลงได้ในที่สุด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากพอมีเวลาสักหน่อย หนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความดันโลหิตคือการลดน้ำหนัก เพราะความดันโลหิตมักจะเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักตัวของคนเรา การลดน้ำหนักเพียงแค่ 4.5 กก. (10 ปอนด์) ก็สามารถลดความดันโลหิตได้มากแล้ว โดยการลดน้ำหนักอย่างสุขภาพดีต้องทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังกายให้มากขึ้น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 225,506 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา