ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ช่างน่าหงุดหงิดใจที่รู้สึกว่าตนเองหิวตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ก็กินไม่หยุดปาก การรู้สึกหิวตลอดเวลามีเหตุปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกินอาหารผิดประเภท มีปัญหาสุขภาพโดยไม่รู้ตัว และเข้าใจผิดว่าการกินตามอารมณ์เป็นเพราะร่างกายต้องการอาหาร การหาสาเหตุที่ทำให้รู้สึกหิวนั้นช่วยให้เอาชนะความรู้สึกหิวได้ และได้ปฏิบัติตามรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

กินอาหารอย่างเหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อกินอาหารแบบสมดุลแล้ว ก็อาจยังรู้สึกหิวได้ ถ้าไม่ได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ฉะนั้นต้องกินอาหารให้ครบห้าหมู่ ควรกินผักผลไม้ ลีนโปรตีน และธัญพืชเต็มเมล็ดมากๆ กินน้ำมันและไขมันที่ดีปริมาณพอสมควร [1]
    • อาหารเช้าแบบสมดุลอาจเป็นข้าวโอ๊ตบดหยาบๆ ครึ่งถ้วยราดด้วยน้ำผึ้ง สตรอเบอร์รีหนึ่งถ้วย และคอทเทจชีสหนึ่งถ้วย
    • อาหารกลางวันเพื่อสุขภาพอาจเป็นสลัดผักต่างๆ ใส่แครนเบอร์รี่อบแห้ง เมล็ดดอกทานตะวัน และชีสบดอย่างเช่น เฟตาชีส หรือชีสจากน้ำนมแพะ จะทำน้ำสลัดเอง หรือเลือกน้ำสลัดที่แคลอรีต่ำก็ได้ ถ้าไม่ชอบกินสลัด ก็เอามาห่อ! ห่อผักใบเขียว แครนเบอร์รี่ และเมล็ดดอกทานตะวัน ในพิตา หรือตอร์ตียา เพิ่มเนื้อแดงอย่างไก่งวงเข้าไปด้วยก็ได้ แล้วโรยน้ำสลัดสักเล็กน้อย
    • อาหารเย็นแบบสมดุลอาจเป็น เนื้อหรือปลา 4 ออนซ์ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ผักสองอย่าง และธัญพืชเต็มเมล็ด ตัวอย่างเช่น แซลมอนย่าง ข้าวป่ายักษ์ บรอกโคลีอบหรือนึ่ง และฟักบัตเตอร์นัทอบ
  2. อาหารที่มีอากาศหรือน้ำมากจะมีปริมาตรมาก อาหารพวกนี้จะช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็ว และรู้สึกว่ากินอาหารเข้าไปปริมาณมาก จึงช่วยได้ถ้ารู้สึกหิว อาหารที่มีปริมาตรสูงได้แก่ [2]
    • ถั่วเมล็ดแห้ง
    • ซุป
    • ผักต่างๆ
    • ข้าวโพดคั่ว
    • ผลไม้สด
    • ธัญพืชเต็มเมล็ด
  3. แตงกวามีส่วนประกอบที่เป็นน้ำสูง ฉะนั้นกินสลัดซึ่งราดน้ำสลัดแบบใสก่อนกินอาหารหลัก จะช่วยให้อิ่มเร็วขึ้น และหิวน้อยลงหลังมื้ออาหารหลังผ่านไปแล้ว [3]
    • สลัดที่อร่อยไม่ต้องทำอะไรซับซ้อน ลองคลุกผักใบเขียวต่างๆ ในน้ำมะนาวและน้ำมันมะกอก จากนั้นตกแต่งด้วยมะเขือเทศสีดาสักสองสามผล
    • ถ้าอยากหาอะไรที่ท้าทายและสร้างสรรค์กว่านี้ ลองผสมผักและผลไม้ลงในสลัด อาจทำสลัดที่ประกอบด้วยบลูเบอร์รี หรือสตรอเบอร์รีสดพร้อมกับใส่พริกหวาน หรือบีทหมักลงไปด้วย
  4. กินของว่างที่ให้พลังงานสูงอย่างผลไม้และถั่วเปลือกแข็ง จะช่วยให้รู้สึกหิวน้อยลงระหว่างมื้ออาหาร โดยเฉพาะถั่วเปลือกแข็งเป็นของว่างที่ดีในการลดความหิว เพราะมีไขมันและโปรตีนที่ดี อีกทั้งย่อยช้า เป็นของว่างที่ให้พลังงานมากกว่าของว่างที่มีน้ำตาล [4]
  5. บางครั้งการดื่มน้ำให้มากขึ้นก็ช่วยให้กินน้อยลงได้ ดื่มน้ำให้มากก่อนกินอาหาร และเริ่มจิบน้ำไปเรื่อยๆ ระหว่างกินจะช่วยให้รู้สึกอิ่มขึ้นโดยไม่ต้องกินอาหารเยอะมากเกินไป [5]
    • ถ้าดื่มน้ำจนเบื่อ ลองสลับไปดื่มอย่างอื่นที่ไม่มีแคลอรี อาจจะดื่มโซดาแทนน้ำเปล่าบ้างเป็นครั้งคราว
    • ดื่มชาเขียวแทนน้ำเปล่าชั่วคราวก็ได้ ชาเขียวยังมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก
  6. อาหารขยะเป็นอาหารผ่านกระบวนการแปรรูปแล้ว มีไขมัน เกลือและน้ำตาลสูง จึงทำให้รู้สึกหิวมากขึ้นเมื่อกินเข้าไป เป็นอาหารที่กระตุ้นต่อมรับรส โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ติดใจอยากกินอีก จึงทำให้กินมากเกินไป [6]
    • อาหารที่มีไขมันสูงจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีในสมองซึ่งส่งสัญญาณให้เรากินอีก ถึงแม้จะไม่หิวแล้วก็ตาม [7]
    • อาหารที่ผ่านการแปรรูปมากเกินไปจะสูญเสียสารอาหาร ร่างกายคนเราต้องการอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารเพื่อจะได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นร่างกายจึงส่งสัญญาณหิว แม้จะเพิ่งกินอาหารหรือของว่างที่ให้พลังงาน 1,000 แคลอรีก็ตาม [8]
    • การกินอาหารที่มีรสเค็มทำให้เราอยากกินของหวาน กลายเป็นว่าเราต้องกินของว่างมากเป็นสองเท่า [9]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ไม่กินตามอารมณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แยกระหว่างความหิวเพราะอยากกินและความหิวเพราะร่างกายต้องการอาหาร. น่าประหลาดใจที่ความหิวเพราะอยากกินนั้นคล้ายคลึงกับความหิวเพราะร่างกายต้องการอาหารมากทีเดียว การรู้ความแตกต่างระหว่างความหิวเพราะอยากกินและความหิวเพราะร่างกายต้องการอาหาร ช่วยให้เราเลือกกินอาหารที่เหมาะสม นี้เป็นความแตกต่างระหว่างความหิวทั้งสองแบบ [10]
    • ความหิวเพราะร่างกายต้องการอาหารจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ขณะที่ความหิวเพราะอยากกินจะเกิดขึ้นทันทีทันใด
    • ความหิวเพราะร่างกายต้องการอาหารจะไม่จำกัดชนิดอาหาร แต่ความหิวเพราะอยากกินอาจมีอาการอยากกินอาหารเฉพาะบางชนิดอย่างรุนแรง
    • ความเบื่ออาจทำให้เกิดความหิวเพราะอยากกิน ขณะที่ความหิวเพราะร่างกายต้องการอาหารจะไม่เป็นอย่างนี้ ลองหันเหไปทำกิจกรรมอื่น ถ้าความหิวหายไป แสดงว่าเป็นความหิวเพราะอยากกิน ถ้ายังหิวอยู่แสดงว่าเป็นความหิวเพราะร่างกายต้องการอาหาร
  2. บางครั้งความอยากกินอาหารเฉพาะอย่างอาจดูเหมือนเกินต้านทางไหว จะตอบสนองต่อความอยากกินนั้นก็ได้ แต่แค่รับรู้ไว้ว่าความอยากกินนั้นเป็นเพราะความรู้สึกมากกว่า และไม่ใช่อาการหิวที่แท้จริง
    • สนองความอยากสักเล็กน้อย ถ้าอยากขจัดความอยากกินเฟรนช์ฟราย ก็สั่งชุดเล็กๆ และค่อยๆ ลิ้มรสมัน ถ้าอยากกินช็อกโกแลต ก็หักช็อกโกแลตดำมากินสักสองชิ้นเล็กๆ และกินทีละนิดสลับกับจิบกาแฟ หรือชาไปด้วย
    • หาอาหารที่คล้ายกันมากินแทน. ถ้าอยากกินมันฝรั่งทอดเค็มๆ ก็ลองกินพวกถั่วเปลือกแข็งอบเกลือแทน นอกจากจะสนองความอยากกินของเค็มแล้ว ยังได้กินโปรตีนและไขมันที่ดี ซึ่งช่วยให้อิ่มนานขึ้น [11] วิธีนี้ลดความอยากกินของว่างในภายหลัง อยากกินไก่ทอด ก็ลองคลุกขนมปังและอบในเตา จะได้ไก่ที่มีเนื้อคล้ายไก่ทอด ถ้าอยากกินของหวาน ก็กินผลไม้สดใหม่ตามฤดูกาล
  3. ถ้าเริ่มรู้สึกว่าอยากเคี้ยวอะไรสักอย่าง ให้ลองชะลอการกินไปสักครู่หนึ่ง นี้เป็นกลเม็ดที่ช่วยลดความรู้สึกหิวจนกว่าจะถึงเวลากินมื้อต่อไป
    • ดมกลิ่นผลไม้ สูดกลิ่นแอปเปิลหรือกล้วยจะช่วยระงับความรู้สึกหิวได้ชั่วคราว [12]
    • มองสีฟ้า สีฟ้าเป็นสีลดความอยากอาหาร ขณะที่สีแดง สีส้ม และสีเหลืองเพิ่มความอยากอาหาร มองสีฟ้าถ้าต้องการลดความอยากอาหารลง [13]
    • ไปเดินเล่น ถ้าอยากจะหาอะไรกินเล่นจริงๆ อย่าอยู่เฉย ลองออกไปเดินเล่นสัก 15 นาทีแทน (เดินเล่นกลางแจ้งถ้าเป็นไปได้) วิธีนี้จะหันความสนสนใจของเราออกจากความอยากหาอะไรมากินเล่น แถมยังได้ออกกำลังกายด้วย [14]
  4. ความเครียดที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้ร่างกายสร้างคอร์ติซอล ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกหิว การลดความเครียดช่วยลดปริมาณคอร์ติซอลได้ และช่วยให้เราหิวน้อยลง นี่เป็นข้อแนะนำในการลดความเครียด [15]
    • ฟังดนตรี ผู้คนจำนวนมากเห็นว่าดนตรีนั้นมีส่วนช่วยในการบำบัดความเครียด หาดนตรีที่ฟังแล้วไม่เครียด และปล่อยให้ใจได้พักด้วยการฟังดนตรีเป็นช่วงๆ
    • หัวเราะมากขึ้น การหัวเราะช่วยลดความเครียด และทำให้รู้สึกมีความสุขมากขึ้น ความเครียดมีส่วนในการทำให้เกิดความหิว คราวหน้าถ้ารู้สึกเครียด ลองโทรหาเพื่อนที่คุยสนุก หรือดูคลิปวิดีโอเด็กหรือแมวที่ทำอะไรตลกๆ (อะไรก็ได้ที่ทำให้หัวเราะได้)
    • นั่งสมาธิ หรือสวดมนต์ การให้พลังใจตนเองด้วยการนั่งสมาธิหรือสวดมนต์ช่วยลดความเครียดได้ หาเวลาให้เราอยู่คนเดียวและสงบจิตสงบใจตนเองทุกวัน
    • ออกกำลังกาย การออกกำลังกายมากๆ ลดความเครียด และลดความเบื่อซึ่งมีส่วนทำให้เกิดความหิว แม้แต่การเดิน 30 นาทีทุกวัน ก็ช่วยให้ สุขภาวะทางอารมณ์และทางกายเปลี่ยนแปลงไปมากทีเดียว
  5. การนอนหลับดีต่อสุขภาวะทางอารมณ์และทางกาย ช่วยลดความเครียดได้ ช่วยจัดการความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ และจะช่วยรักษาสุขภาพโดยรวมให้ดี คนส่วนใหญ่ต้องหลับวันละ 7-9 ชั่วโมง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

หาความผิดปกติทางสุขภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไฮโปไกลซีเมีย หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความรู้สึกหิวได้ ทั้งยังทำให้เกิดอาการสั่น และอาการวิงเวียน เราอาจเข้าทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการเข้าเครื่องวัดระดับน้ำตาล หรือป้องกันผลกระทบจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำด้วยการเปลี่ยนแปลงอาหารการกิน. [16]
    • กินเนื้อทีละนิดแต่บ่อยๆ [17]
    • ไม่กินอาหารมีน้ำตาล ถึงแม้ “ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ”จะฟังดูเหมือนว่าเราต้องการน้ำตาล แต่ทางแก้ไม่ใช่การกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง เลือกกินอาหารที่ให้พลังงานยาวนานและสม่ำเสมอ
  2. ถ้ารู้สึกหิวเสมอ เราอาจเป็นเบาหวานได้ 2 ชนิด โรคนี้เกิดจากเซลล์ไม่สามารถใช้อินซูลินสกัดน้ำตาลจากสารอาหาร จึงทำให้น้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด [18]
    • เพราะร่างกายได้รับอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายจึงส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อขออาหารเพิ่ม
  3. อาการไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ยังทำให้เราหิวตลอดเวลาได้เช่นกัน ไทรอยด์ควบคุมเมตาบอลิซึม หรือระดับการเผาผลาญอาหารของร่างกาย ต่อมไทรอยด์ที่ทำงานเกินไปจะทำให้ร่างกายเผาผลาญอาหารเร็วเกินไป ร่างกายจึงต้องการอาหารเพิ่ม [19]
  4. ถ้ารู้สึกหิวตลอดเวลาเพราะกินอาหารไม่เพียงพอ เราอาจจะเป็นโรคการกินผิดปกติอย่าง อะนอเร็กเซีย หรือบูลิเมีย [20] แม้แต่การคุมอาหารอย่างสุดโต่งเกินไปก็ทำให้เป็นโรคอะนอเร็กเซียได้ ถ้ามีน้ำหนักน้อย รู้สึกไม่มีความสุขกับภาพลักษณ์ของตนเอง และประสบปัญหาการกิน หรือทำให้ตนเองอาเจียนหลังจากกินอาหาร ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตทันที
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,926 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา