ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
การทดสอบ ESR (erythrocyte sedimentation rate) คือการหาอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงใน 1 ชั่วโมง ซึ่งจะบอกได้ว่ามีการอักเสบเกิดขึ้นหรือไม่ วิธีการคือทดสอบว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงตกลงไปก้นหลอดทดลองที่บางมากๆ ได้เร็วแค่ไหน ถ้าค่า ESR ค่อนข้างสูงหน่อย ก็เป็นไปได้ว่ามีการอักเสบเจ็บปวดที่ต้องการบรรเทา ให้รักษาอาการอักเสบนี้โดยเปลี่ยนแปลงอาหารและออกกำลังกาย รวมถึงไปหาหมอตรวจเช็คร่างกายว่าค่า ESR เพิ่มขึ้นหรือสูงเพราะโรคอะไรหรือเปล่า แนะนำให้ตรวจค่า ESR เรื่อยๆ
ขั้นตอน
-
ถ้าเป็นไปได้ให้ออกกำลังกายหนักๆ เป็นประจำ. ต้องพยายามมากหน่อย ถึงจะออกกำลังกายแบบหนักๆ (แรงเร็ว) ได้ ไม่ว่าจะเป็นกีฬาหรือกิจกรรมไหน ต้องทำแล้วเหงื่อออก หัวใจเต้นแรงเร็ว และบ่นในใจว่า “โหย เหนื่อยอะ!” ให้ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที อาทิตย์ละ 3 ครั้งขึ้นไป [1] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ American Heart Association ไปที่แหล่งข้อมูล การออกกำลังกายประเภทนี้เขาพิสูจน์กันมาแล้วว่าช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี [2] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล
- ตัวอย่างการออกกำลังกายหนักๆ ก็เช่น วิ่ง หรือ ปั่นจักรยาน เร็วๆ ว่ายน้ำไปมาในสระหลายๆ รอบ เต้นแอโรบิก หรือเดินขึ้นเนินลาดชัน [3] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ American Heart Association ไปที่แหล่งข้อมูล
-
ออกกำลังกายเบาๆ หรือหนักปานกลางแทน. ถ้าเป็นมือใหม่หัดออกกำลังกาย หรือมีโรคประจำตัวที่ออกแรงหนักมากไม่ได้ ให้เปลี่ยนเป็นออกกำลังกายเบาๆ อย่างน้อย 30 นาทีแทน ถึงจะออกแค่นิดๆ หน่อยๆ ต่อวัน ก็ช่วยลดการอักเสบได้ ดีกว่าอยู่เฉยๆ [4] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล ให้ผลักดันตัวเองจนถึงจุดที่รู้สึกว่า “โอเค ก็เหนื่อยนะ แต่ไม่เหนื่อยขนาดนั้น” [5] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ American Heart Association ไปที่แหล่งข้อมูล
- เดินเร็วแถวบ้าน หรือเข้าคลาสแอโรบิกใต้น้ำ
-
ฝึกโยคะนิทรา 30 นาทีต่อวัน. โยคะนิทรา (Yoga nidra) ก็คือโยคะประเภทหนึ่งที่เข้าสู่ภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ มีอย่างน้อย 1 งานวิจัยที่ชี้ว่าฝึกโยคะนิทราแล้วช่วยลดค่า ESR ได้อย่างเห็นได้ชัด ขั้นตอนการฝึกโยคะนิทราก็คือ [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- นอนหงายราบไปกับเสื่อโยคะ หรือพื้นราบที่นอนได้สบาย
- ฟังคำแนะนำของครูสอนโยคะ (ดาวน์โหลดแอพหรือเปิดคลิปใน Youtube แทนก็ได้ ถ้าไม่สะดวกไปฟิตเนสหรือจ้างครูสอนโยคะส่วนตัว)
- หายใจเข้าและออก ให้รู้สึกว่าลมผ่านเข้าและออกร่างกายตามธรรมชาติ [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ระหว่างนี้อย่าขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว
- ปล่อยใจให้ลอยไปจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มีสติแต่ไม่ต้องตั้งสมาธิจดจ่อ
- ให้ถึงจุดที่ “นอนหลับแบบยังมีสติรู้ตัว”
-
หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปหรืออาหารหวานๆ. เพราะมีคอเลสเตอรอลประเภทที่อันตราย (LDL) ก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกายได้ [8] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Harvard Medical School ไปที่แหล่งข้อมูล พออักเสบ ค่า ESR ก็สูงขึ้น ที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือพวกเฟรนช์ฟรายส์และของทอดต่างๆ ขนมปังขาว เบเกอรี่ น้ำอัดลม เนื้อแดง เนื้อแปรรูป และมาการีนหรือน้ำมันหมู [9] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Harvard Medical School ไปที่แหล่งข้อมูล
-
เน้นผัก ผลไม้ ถั่ว และน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ. ทั้งหมดนี้เป็น อาหารดีมีประโยชน์ รวมถึงเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ อย่างไก่และปลา นอกจากนี้ยังมีผัก ผลไม้ และน้ำมันที่กินแล้วต้านการอักเสบโดยเฉพาะ แนะนำให้กินหลายๆ ครั้งต่ออาทิตย์ อาหารที่ว่าก็เช่น [10] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Harvard Medical School ไปที่แหล่งข้อมูล
- มะเขือเทศ
- สตรอว์เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ เชอร์รี่ และ/หรือส้ม
- ผักใบเขียว เช่น ปวยเล้ง เคล และคะน้า
- อัลมอนด์ และ/หรือวอลนัท
- ปลาไขมันสูง (fatty fish) เช่น แซลมอน แมคเคอเรล ทูน่า และซาร์ดีน
- น้ำมันมะกอก
-
ปรุงอาหารด้วยสมุนไพรอย่างออริกาโน พริกคาเยน (cayenne) และโหระพา. เพราะเป็นวัตถุดิบที่มีสรรพคุณต้านการอักเสบในร่างกายตามธรรมชาติ ถ้าเพิ่มเติมไปในอาหารแต่ละมื้อจะดีมีประโยชน์ แถมยังช่วยปรุงอาหารให้รสจัดจ้านขึ้นอีกด้วย! หรือใช้ขิง ขมิ้น และเปลือกต้นหลิวขาว (white willow bark) ลดทั้งการอักเสบและค่า ESR [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ลองท่องเว็บเลือกสูตรอาหารที่ใส่สมุนไพรโปรดของคุณลงไปได้
- จะชงชาสมุนไพรจากขิงกับเปลือกต้นหลิวก็ได้ โดยใส่ไปในที่กรองชา
- ถ้าเป็นหญิงตั้งครรภ์หรือแม่ที่ต้องให้นม ห้ามใช้เปลือกต้นหลิว
-
ดื่มน้ำเยอะๆ ทุกวัน. จริงๆ แล้วภาวะขาดน้ำไม่ได้ทำให้อาการอักเสบแย่ลง แต่ถ้าร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ ก็จะป้องกันอาการบาดเจ็บเสียหายที่กระดูกและกล้ามเนื้อได้ [12] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล นอกจากการออกกำลังกายลดการอักเสบแล้ว ยังต้องดื่มน้ำเยอะๆ ป้องกันอาการบาดเจ็บด้วย พยายามดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 1 - 2 ลิตร (0.25 - 0.5 แกลลอน) ในแต่ละวัน [13] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ให้รีบดื่มน้ำทันทีถ้ามีอาการต่อไปนี้ [14] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- กระหายน้ำรุนแรง
- อ่อนเพลีย วิงเวียน หรือมึนงง
- ไม่ค่อยฉี่ ฉี่น้อยมาก
- ฉี่สีเข้ม
โฆษณา
-
ปรึกษาคุณหมอเรื่องผลการทดสอบ. ก็เหมือนการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ คือค่ามาตรฐานจะต่างกันไปตามวิธีการที่คุณหมอใช้ พอผลออกแล้วให้ลองปรึกษาคุณหมอว่าผลเป็นยังไง โดยทั่วไปค่ามาตรฐานจะอยู่ที่ [15] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ MedlinePlus ไปที่แหล่งข้อมูล
- ต่ำกว่า 15 มม./ชม. (mm/hr คือมิลลิเมตรต่อชั่วโมง) ถ้าเป็นผู้ชายอายุไม่เกิน 50 ปี
- ต่ำกว่า 20 มม./ชม. ถ้าเป็นผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป
- ต่ำกว่า 20 มม./ชม. ถ้าเป็นผู้หญิงอายุไม่เกิน 50 ปี
- ต่ำกว่า 30 มม./ชม. ถ้าเป็นผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป
- 0 - 2 มม./ชม. ถ้าเป็นทารกแรกคลอด
- 3 - 13 มม./ชม. ถ้าเป็นทารกแรกคลอดไปจนถึงวัยรุ่น
-
ปรึกษาคุณหมอว่าค่า ESR ของคุณเกินมาตรฐานหรือสูงจนน่าเป็นห่วง. มีหลายปัจจัยที่ทำให้ค่า ESR ของคุณสูงเกินค่ามาตรฐาน เช่น การตั้งครรภ์ โลหิตจาง ไทรอยด์ และโรคไต ไปจนถึงมะเร็ง อย่าง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งไขกระดูกชนิด MM (multiple myeloma) ถ้าค่า ESR สูงผิดปกติ เป็นสัญญาณบอกโรคลูปัสหรือแพ้ภูมิตัวเอง (lupus) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) และติดเชื้อรุนแรงสักแห่งในร่างกาย [16] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ MedlinePlus ไปที่แหล่งข้อมูล
- ถ้าค่า ESR สูงมาก ก็อาจเป็นสัญญาณบอกโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disorders) ชนิดหายาก อย่างโรคหลอดเลือดอักเสบ (allergic vasculitis) โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ (giant cell arteritis) โรคไฟบริโนเจนมากเกิน (hyperfibrinogenemia) มะเร็งที่เริ่มต้นจากบีเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน (macroglobulinemia) โรคหลอดเลือดอักเสบแบบ necrotizing vasculitis และโรคปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนเหตุอักเสบเรื้อรัง (polymyalgia rheumatica)
- การติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับค่า ESR สูงผิดปกติ อาจเกิดที่กระดูก หัวใจ ผิวหนัง และเกิดได้ทั่วร่างกาย บางทีก็เพราะวัณโรค (tuberculosis) หรือไข้รูมาติก (rheumatic fever)
-
คุณหมออาจให้ตรวจวินิจฉัยแบบอื่นเพิ่มเติม. ค่า ESR ที่สูงกว่าค่ามาตรฐานหรือสูงผิดปกติ อาจเป็นได้เพราะหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่คุณหมอจะตรวจซ้ำด้วยวิธีการอื่น เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของคุณ ระหว่างรอคุณหมอตัดสินใจหรือรอผลตรวจ ก็อย่าตื่นตระหนกไป พยายามหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ กังวลใจเรื่องอะไรก็ปรึกษาคุณหมอได้เลย รวมถึงครอบครัวและเพื่อนฝูง จะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหมดกำลังใจ [17] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ MedlinePlus ไปที่แหล่งข้อมูล
- แค่ค่า ESR ที่ตรวจได้อย่างเดียว ใช้วินิจฉัยโรคไม่ได้
-
กลับมาตรวจค่า ESR ซ้ำเพื่อติดตามผล. ส่วนใหญ่ค่า ESR ที่สูงกว่ามาตรฐาน มักเกิดจากอาการอักเสบหรือเจ็บปวดเรื้อรัง คุณหมอเลยมักแนะนำให้เข้ามาตรวจติดตามผลบ่อยๆ ถ้าคอยเฝ้าระวังค่า ESR เป็นระยะ ก็จะช่วยเรื่องการรักษาอาการอักเสบและเจ็บปวดในร่างกายได้ ถ้าดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ค่านี้ก็น่าจะลดลงได้มาก!
-
กินยาและทำกายภาพบำบัดช่วยเรื่องการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis). น่าเศร้าว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่อย่างน้อยก็ควบคุมบรรเทาอาการ ให้อยู่ใน remission หรือการไม่แสดงอาการของโรคได้ ปกติคุณหมอจะสั่งยา DMARDs (disease-modifying antirheumatic drugs) ยา NSAIDs (nonsteroidal anti-inflammatory drugs) เช่น ไอบูโพรเฟน และสเตียรอยด์ให้ [18] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- การทำกายภาพบำบัด (physical therapy) หรือกิจกรรมบำบัด (occupational therapy) จะช่วยให้คุณรู้จักออกกำลังกายให้ข้อต่อต่างๆ ยืดหยุ่นและขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้สะดวก รวมถึงหัดทำกิจวัตรประจำวันเดิมๆ ในแบบที่แตกต่างออกไป (เช่น การรินน้ำดื่ม) ในกรณีที่เจ็บปวดมากเป็นพิเศษ
-
ป้องกันโรคลูปัสกำเริบโดยใช้ยา NSAIDs และอื่นๆ. ลูปัสแต่ละเคสจะต่างกันออกไป ต้องอยู่ในการดูแลรักษาของคุณหมออย่างใกล้ชิด จะได้แน่ใจว่าวิธีการรักษาแบบไหนเหมาะสมที่สุด ปกติยา NSAIDs ใช้กินแก้ปวดแก้ไข้ ส่วนสเตียรอยด์ (corticosteroids) ใช้บรรเทาอาการอักเสบ แต่บางทีคุณหมอก็สั่งยาต้านมาลาเรีย (antimalarials) หรือยากดภูมิ (immunosuppressants) แทน แล้วแต่ลักษณะอาการ [19] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
-
รักษาอาการติดเชื้อในกระดูกและข้อด้วยยาปฏิชีวนะและ/หรือการผ่าตัด. ถ้าค่า ESR สูงกว่าปกติ แสดงว่ามีอาการติดเชื้อต่างๆ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดที่กระดูกและข้อมากกว่าจุดอื่น ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่หายยาก คุณหมอมักให้ทดสอบเพิ่มเติมเพื่อระบุลักษณะการติดเชื้อและสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ถ้าเป็นเคสรุนแรง อาจถึงขั้นต้องผ่าตัดกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกไปเลย [20] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล
-
ให้คุณหมอ refer หรือโอนเคสต่อไปยังคุณหมอด้านมะเร็งโดยเฉพาะ (oncologist) ถ้าสรุปแล้วคุณหมอวินิจฉัยว่าคุณเป็นมะเร็ง. ค่า ESR ที่สูงมาก (เกิน 100 มม./ชม.) ชี้ชัดว่าคุณมีมะเร็งในร่างกาย หรือมีเซลล์ที่รุกรานเนื้อเยื่อโดยรอบ แล้วแพร่มะเร็ง [21] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Cancer Institute ไปที่แหล่งข้อมูล ค่า ESR สูงๆ มักแปลว่าคุณเป็นมะเร็งไขกระดูกชนิด MM (multiple myeloma) [22] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ถ้าสุดท้ายแล้วคุณหมอวินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคนี้จากการตรวจเลือดด้วยวิธีอื่น รวมถึงการสแกนและตรวจปัสสาวะ คุณหมอโรคมะเร็งจะเข้ามาดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ถูกต้องเหมาะสมกับเคสของคุณ [23] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูลโฆษณา
-
ไปหาหมอถ้าคิดว่าต้องตรวจค่า ESR. การทดสอบค่า ESR มักใช้ตรวจหาอาการอักเสบในร่างกายที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด ถ้าคุณอยู่ๆ ก็เป็นไข้ ข้ออักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการอักเสบที่เห็นได้ชัดเจน ควรตรวจหาค่า ESR คุณหมอจะได้ชี้ชัดได้เรื่องต้นตอและความรุนแรงของอาการ [24] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ MedlinePlus ไปที่แหล่งข้อมูล
- การตรวจหาค่า ESR เอื้อต่อการวินิจฉัยอาการที่หาสาเหตุไม่ได้ด้วย เช่น ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลดเฉียบพลัน ปวดหัว ปวดไหล่ และปวดคอ [25] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ปกติคุณหมอจะไม่ตรวจหาค่า ESR แค่อย่างเดียว อย่างน้อยก็ต้องตรวจหาระดับ C-reactive protein (CRP) หรือโปรตีนที่ร่างกายสร้างมาตอบสนองต่อการอักเสบด้วย [26] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล เป็นอีกการทดสอบที่ยืนยันเรื่องอาการอักเสบในร่างกายได้ [27] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ใช้ยาอะไรอยู่ต้องแจ้งคุณหมอ. ทั้งยาที่คุณหมอสั่งและยาที่ซื้อกินเอง มีหลายตัวที่ทำให้ค่า ESR ตามธรรมชาติเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ เพราะงั้นถ้าใช้ยาประเภทนี้อยู่ คุณหมอจะแนะนำให้หยุดยาประมาณ 1 อาทิตย์ก่อนตรวจวัดค่า แต่ห้ามอยู่ๆ ก็หยุดยาหรือเปลี่ยนปริมาณโดยไม่ปรึกษาคุณหมอก่อนเด็ดขาด [28] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ยาที่เพิ่มค่า ESR ก็เช่น dextran, methyldopa, ยาเม็ดคุมกำเนิด, penicillamine procainamide, theophylline และวิตามินเอ
- ยาที่ลดค่า ESR ก็เช่น แอสไพริน, คอร์ติโซน และควินิน
-
แจ้งพยาบาลว่าจะให้เจาะเลือดที่แขนข้างไหน. ปกติพยาบาลจะเจาะเลือดที่ข้อพับตรงข้อศอก ซึ่งไม่ทำให้ปวดหรือบวมเท่าไหร่ แต่ก็แนะนำให้แจ้งพยาบาลให้ช่วยเจาะเลือดจากแขนข้างที่ไม่ถนัด (ไม่ได้ใช้งานเป็นหลัก) จะดีกว่า แต่ทั้งนี้พยาบาลจะเป็นคนพิจารณาเอง ว่าเส้นเลือดที่แขนข้างไหนชัดเจน เจาะเลือดง่ายกว่า [29] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถ้าเลือกเส้นเลือดได้เหมาะสม จะทำให้เจาะเลือดง่าย รู้ผลเร็ว
- ถ้าพยาบาลหาเส้นเลือดเหมาะๆ ไม่ได้ที่แขนทั้ง 2 ข้าง ก็อาจจะต้องเจาะเลือดจากจุดอื่นแทน [30] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถ้าเคยมีปัญหาอะไร แนะนำให้แจ้งพยาบาลก่อนเจาะเลือด เช่น เคยวิงเวียนหรือเป็นลม พยาบาลจะได้ให้คุณนอนราบ ไม่เสี่ยงเป็นลมจนล้มหัวกระแทก แต่ถ้าใครกลัว ไม่ค่อยถูกโรคกับการเจาะเลือด หรือเจาะเลือดแล้วจะหวิวๆ ตลอด แนะนำให้หาคนไปเป็นเพื่อนหรือนั่งแท็กซี่ อย่าขับรถเอง
-
ทำใจให้สบายตอนเจาะเลือด. พยาบาลจะใช้สายยางรัดต้นแขน แล้วใช้คอตตอนบัดชุบแอลกอฮอล์เช็ดบริเวณที่จะเจาะเลือด จากนั้นใช้เข็มเจาะเข้าไปในเส้นเลือด เก็บเลือดมาไว้ในหลอดฉีดยา เสร็จแล้วก็ดึงเข็มออกและคลายยางรัด สุดท้ายพยาบาลจะแปะผ้าก๊อซแผ่นเล็กๆ ที่แผล โดยบอกให้คุณกดแผลไว้ให้แน่น [31] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Health Service (UK) ไปที่แหล่งข้อมูล
- ถ้ากลัว ก็ให้มองไปทางอื่นตอนเจาะเลือด
- บางทีก็ต้องเจาะเลือดมากกว่า 1 หลอดฉีดยา ก็อย่าเพิ่งตกใจไป
- บางทีพยาบาลจะใช้ผ้ายืดพันแผลรัดไว้ จะได้เลือดหยุดไหลเร็วขึ้นหลังเจาะเลือดเสร็จ กลับบ้านแล้วก็แกะผ้าพันแผลออกได้เลยหลังผ่านไป 2 - 3 ชั่วโมง [32] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Heart, Lung, and Blood Institute ไปที่แหล่งข้อมูล
-
แผลอาจมีช้ำหรือแดงบ้าง. ส่วนใหญ่แผลเจาะเลือดจะหายดีใน 1 - 2 วัน ระหว่างนั้นอาจจะมีแดงหรือช้ำบ้าง ถือว่าปกติ [33] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง แต่ในเคสที่หายาก เส้นเลือดที่ถูกเจาะอาจจะบวมขึ้นมาได้ [34] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ซึ่งก็ไม่อันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แค่เจ็บ แนะนำให้ประคบเย็นในวันแรก แล้วเปลี่ยนไปประคบร้อนทีหลัง อุปกรณ์ที่ใช้ประคบร้อน ก็เช่น ผ้าขนหนูชุบน้ำที่เอาไปอุ่นในไมโครเวฟ 30 - 60 วินาที ให้ประคบร้อนครั้งละ 20 นาที วันละ 2 - 3 ครั้ง
- วัดอุณหภูมิของผ้าคุณหนูก่อน โดยเอามืออัง ถ้าไอร้อนจากผ้าร้อนเกินไป จับไม่ไหว ให้รอ 10 - 15 วินาทีแล้วค่อยเช็คอีกรอบว่าเย็นลงหรือยัง
-
ถ้ามีไข้ให้หาหมอ. ถ้าเจาะเลือดแล้วแผลปวดบวมกว่าเดิม แสดงว่าติดเชื้อ แต่มักพบในเคสที่หาได้ยาก [35] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ยิ่งถ้า มีไข้ ขึ้นมา ให้รีบไปหาหมอทันที
- ถ้าไข้สูงเกิน 39℃ (103℉) ขึ้นไป คุณหมออาจส่งตัวไปรักษาที่แผนกฉุกเฉิน [36] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
โฆษณา
เคล็ดลับ
- วันที่เจาะเลือด ต้องดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อช่วยให้เส้นเลือดเต่งขึ้น หาง่ายเจาะง่าย รวมถึงควรสวมใส่เสื้อที่แขนหลวมหน่อย
- ถ้าตั้งครรภ์หรือมีประจำเดือนก็ทำให้ค่า ESR สูงขึ้นชั่วคราวได้ แบบนี้ต้องแจ้งคุณหมอก่อนเจาะเลือด
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.heart.org/HEARTORG/HealthyLiving/PhysicalActivity/FitnessBasics/Moderate-to-Vigorous---What-is-your-level-of-intensity_UCM_463775_Article.jsp# .WeT4rxNSxok
- ↑ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12192226
- ↑ http://www.heart.org/HEARTORG/HealthyLiving/PhysicalActivity/FitnessBasics/Moderate-to-Vigorous---What-is-your-level-of-intensity_UCM_463775_Article.jsp#.WeT4rxNSxok
- ↑ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12192226
- ↑ http://www.heart.org/HEARTORG/HealthyLiving/PhysicalActivity/FitnessBasics/Moderate-to-Vigorous---What-is-your-level-of-intensity_UCM_463775_Article.jsp# .WeT4rxNSxok
- ↑ http://nopr.niscair.res.in/bitstream/123456789/13871/1/IJTK%2011%282%29%20358-361.pdf
- ↑ https://www.yogajournal.com/meditation/10-steps-of-yoga-nidra
- ↑ https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/the-truth-about-fats-bad-and-good
- ↑ https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/foods-that-fight-inflammation
- ↑ https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/foods-that-fight-inflammation
- ↑ http://www.newhealthadvisor.com/how-to-reduce-esr-in-blood.html
- ↑ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4755996/
- ↑ http://www.newhealthadvisor.com/how-to-reduce-esr-in-blood.html
- ↑ https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dehydration/symptoms-causes/syc-20354086
- ↑ https://medlineplus.gov/ency/article/003638.htm
- ↑ https://medlineplus.gov/ency/article/003638.htm
- ↑ https://medlineplus.gov/ency/article/003638.htm
- ↑ https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rheumatoid-arthritis/diagnosis-treatment/drc-20353653
- ↑ https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/lupus/basics/treatment/con-20019676
- ↑ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4091374/
- ↑ https://www.cancer.gov/publications/dictionaries/cancer-terms?cdrid=45771
- ↑ https://www.rcpa.edu.au/getattachment/7d8d8036-473e-4e15-8756-bf07e597de43/Making-Sense-of-Inflammatory-Markers.aspx
- ↑ https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/multiple-myeloma/diagnosis-treatment/drc-20353383
- ↑ https://medlineplus.gov/ency/article/003638.htm
- ↑ https://labtestsonline.org/understanding/analytes/esr/tab/test/
- ↑ https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/sed-rate/details/why-its-done/icc-20207019
- ↑ https://labtestsonline.org/understanding/analytes/crp/tab/glance/
- ↑ https://labtestsonline.org/understanding/analytes/esr/tab/test/
- ↑ http://www.onemedical.com/blog/live-well/blood-draw-faq/
- ↑ http://www.registerednursern.com/how-to-draw-blood-drawing-blood-clinical-nursing-skills-for-rns/
- ↑ http://www.nhs.uk/conditions/Blood-tests/Pages/Introduction.aspx
- ↑ https://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/bdt/with
- ↑ http://www.onemedical.com/blog/live-well/blood-draw-faq/
- ↑ http://www.frhg.org/documents/Lab_Manuals/Blood-Collection-Adverse-Reactions-and-Patient-Blood-Volumes.pdf
- ↑ http://www.frhg.org/documents/Lab_Manuals/Blood-Collection-Adverse-Reactions-and-Patient-Blood-Volumes.pdf
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/symptoms-causes/dxc-20341502
โฆษณา