ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ปกติคนจะมองว่าฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) เป็นฮอร์โมน "เพศชาย" แต่จริงๆ แล้วผู้หญิงก็มี (แม้จะน้อยหน่อยก็ตาม) หลายคนมีเยอะจนเกิดปัญหา อย่างฝรั่งเองก็มีข้อมูลว่าผู้หญิงอเมริกัน 4 - 7% มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในรังไขมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome) [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง อีกกรณีคือทำให้เป็นหมัน เพราะไข่ไม่ตก ไม่รวมเรื่องน่าอายปนรำคาญอย่างสิวขึ้น เสียงทุ้ม และมีหนวด ปกติจะลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้หญิงต้องใช้ยา แต่จริงๆ แล้วการเปลี่ยนอาหารการกินก็ช่วยได้เหมือนกัน
ขั้นตอน
-
ปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว. ลองไปตรวจสุขภาพกับคุณหมอดู ถ้ารู้สึกว่าฮอร์โมน "ผิดปกติ" อย่างการตรวจเลือดก็เช็คภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลได้ อย่างถ้าฮอร์โมนเอสโตรเจนมากไป ก็จะมีอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวนรุนแรง แต่ถ้าฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมากไป อาการจะไม่ชัดเจนเท่า และใช้เวลานานกว่าจะแสดง ทั้งพันธุกรรมและปัจจัยแวดล้อมที่ระบุไม่ได้ ต่างก็เป็นตัวกระตุ้นบางต่อม (รังไข่ ต่อมใต้สมอง และต่อมหมวกไต) ให้ทำงานผิดปกติได้ จนเป็นผลให้มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมากเกินพิกัด [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) หรือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ นั้นมักเป็นผลมาจากการหลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมากเกินไปในผู้หญิง ถ้าถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่อไหร่ (มีประจำเดือน) ก็เป็นได้ทุกคน
- PCOS เกิดได้เพราะเทสโทสเตอโรนทำให้ไข่ไม่ตกจากถุงไข่ (follicles) ในรังไข่ พอถุงไข่ไม่เปิด ไข่กับของเหลวก็ถูกกักเก็บไว้ในรังไข่ จนกลายเป็นซีสต์เล็กๆ เยอะแยะไปหมด [3] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- นอกจากไม่ค่อยเป็นเมนส์และเกิดภาวะ PCOS แล้ว อาการอื่นที่เกิดจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมากเกินไปก็เช่น hirsutism (ภาวะขนดก), ก้าวร้าวรุนแรงและมีความต้องการทางเพศ (libido) สูง, มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น, คลิตอริสใหญ่ขึ้น, สิวเยอะ, เสียงทุ้มต่ำ และผิวหนังหนาและคล้ำเข้มขึ้น
-
ระวังโรคเบาหวาน. Type 2 diabetes หรือโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นทำให้เซลล์ไม่ค่อยไวต่อผลจากอินซูลิน [4] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล มักเกิดจากโรคอ้วน ทำให้ผลิตอินซูลินออกมาเยอะเกินไป จนรังไข่สร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้น เพราะงั้นทั้งโรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ภาวะดื้อต่ออินซูลิน) ฮอรโมนเทสโทสเตอโรนที่มากเกินไป และภาวะ PCOS ที่พบในผู้หญิงมักเกิดร่วมกัน ถ้าไม่รู้ตัวและรักษาช้าเกินไป ถ้าไปตรวจเช็คร่างกาย คุณหมอจะตรวจวัดระดับอินซูลินและกลูโคสในเลือดได้ ว่าคุณเป็นหรือเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวานไหม
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ป้องกันได้หรือเป็นแล้วก็หายได้ถ้าลดน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเปลี่ยนแปลงอาหารการกิน (เช่น ลดแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) และไขมันที่มีการเติมไฮโดรเจนเข้าไป)
- คุณหมออาจสั่งยาลดอาการดื้ออินซูลินให้คุณด้วย เช่น metformin (Glucophage) หรือ pioglitazone (Actos) ยาพวกนี้จะปรับระดับอินซูลินกับเทสโทสเตอโรนให้เป็นปกติ ช่วยให้คุณกลับมามีเมนส์สม่ำเสมอ
- ถ้าสูงทั้งอินซูลินและเทสโทสเตอโรน จะยิ่งเสี่ยงเป็นความดันสูง (hypertension), คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ( คอเลสเตอรอล LDL หรือ "ไขมันเลว" เยอะเกินไป) รวมถึงโรคหัวใจ [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- งานวิจัยหนึ่งพบว่า 43% ของคนที่มีภาวะ PCOS จะมีปัญหาเรื่อง metabolic syndrome หรือโรคอ้วนลงพุง ซึ่งเกิดจากปัจจัยเสี่ยงเดียวกับโรคเบาหวาน คือ โรคอ้วน, ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia), ภาวะไขมันในเลือดสูง (hyperlipidemia) และความดันสูง (hypertension) [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Apridonidze T, Essah PA, Iuorno MJ, Nestler JE. Prevalence and characteristics of the metabolic syndrome in women with polycystic ovary syndrome. J Clin Endocrinol Metab 2005; 90:1929.
-
ปรึกษาคุณหมอเรื่องใช้ยาคุม. พอเกิดภาวะ PCOS จากระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่สูงต่อเนื่องแล้ว ก็ยังเสี่ยงเป็นมะเร็งมดลูก (uterine cancer) ด้วย ถ้าอยู่ๆ เมนส์ไม่มา (โดยที่ยังไม่หมดประจำเดือน) [7] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล เท่ากับถึงเวลา "ปรับตัว" ให้เมนส์กลับมาสม่ำเสมอเหมือนเดิม จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งได้ ถ้าอยากเห็นผลไวหน่อยก็ต้องกินยาคุมเพิ่มโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนเป็นประจำ แต่การมีเมนส์ระหว่างกินยาคุมนั้นไม่ได้ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้น
- ถ้ามีภาวะ PCOS กินยาคุมก็จะช่วยได้ แต่ยังไงควรปรึกษาคุณหมอก่อนเรื่องผลข้างเคียง เช่น ความต้องการทางเพศลดลง อารมณ์แปรปรวน น้ำหนักตัวเพิ่ม ปวดหัว กดเจ็บที่หน้าอก และคลื่นไส้ [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ปกติต้องกินยาคุม 6 เดือนถึงจะเห็นผลเรื่องลดระดับเทสโทสเตอโรน เช่น ขนบนใบหน้า (โดยเฉพาะหนวด) และสิวลดลง [9] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
พิจารณาใช้ยายับยั้งฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน). อีกตัวเลือกของผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเยอะต่อเนื่องยาวนาน แล้วไม่ได้เป็นเบาหวานและไม่อยากใช้ยาคุม ก็คือใช้ยา anti-androgen ยับยั้งฮอร์โมนเพศชาย androgens เป็นกลุ่มฮอร์โมนที่ไม่ได้สัมพันธ์กัน หนึ่งในนั้นมีเทสโทสเตอโรนที่มีหน้าที่พัฒนาลักษณะต่างๆ ของเพศชาย [10] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ยาต้านแอนโดรเจนที่นิยมใช้กันก็เช่น spironolactone (Aldactone), leuprolide (Lupron, Viadur, Eligard), goserelin (Zoladex) และ abarelix (Plenaxis) คุณหมออาจแนะนำให้ใช้ขนานต่ำๆ ก่อนประมาณ 6 เดือน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและเฝ้าระวังผลข้างเคียง
- ยา anti-androgen นั้นใช้ในการแปลงเพศจากชายเป็นหญิงด้วย เพื่อลดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน โดยเฉพาะในการผ่าตัดแปลงเพศ
- โรคและภาวะอื่นๆ ที่อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้หญิงสูงขึ้นกว่าปกติก็คือ เนื้องอก/มะเร็งรังไข่, กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing's disease) ที่เกิดจากต่อมใต้สมองผิดปกติ และมะเร็งต่อมหมวกไต
- ผู้หญิงที่สุขภาพแข็งแรง รังไข่และต่อมหมวกไต (อยู่ด้านบนของไต) จะผลิตเทสโทสเตอโรนไม่เกิน 50% [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
-
กินอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองมากขึ้น. เพราะมีสารประกอบ phytoestrogenic ที่ชื่อ isoflavones เยอะ (โดยเฉพาะ genistein กับ glycitein) พวกนี้จะจำลองผลที่เอสโตรเจนมีต่อร่างกาย ช่วยลดการสร้างเทสโทสเตอโรน [12] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล นอกจากนี้ถั่วเหลืองยังมีสารประกอบชื่อ daidzein ที่ลำไส้ใหญ่ของบางคนเปลี่ยนเป็น (ต้องอาศัยแบคทีเรีย "ดี" บางชนิด) สารประกอบต้านแอนโดรเจนสูงอย่างได้ ช่วยลดการผลิตเทสโทสเตอโรนโดยตรง
- อาหารที่ทำจากถั่วเหลืองนั้นมีหลากหลาย ทั้งซีเรียล ขนมปัง เต้าหู้ เครื่องดื่มต่างๆ ธัญพืชอัดแท่ง (energy bar) และโปรตีนเกษตร (เช่น ฮอตดอกและเบอร์เกอร์เจ)
- ถั่วเหลืองนั้นเป็น phytoestrogen หรือสารประกอบพืช (plant compounds) ที่เชื่อมตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen receptors) ไว้ด้วยกัน แต่ยังไงก็เทียบเอสโตรเจนที่ร่างกายผลิตเอง "ไม่ได้" เพราะอย่างหลังส่งผลต่อ estrogen receptors ทั้งแบบ alpha และ beta ถ้าเป็นเอสโตรเจนจากพืชจะมีผลเฉพาะกับ beta receptors เท่านั้น นอกจากนี้คนยังเชื่อกันผิดๆ จริงๆ แล้วกินถั่วเหลืองเยอะๆ ไม่ได้ ทำให้เกิดความผิดปกติในทรวงอกหรือปัญหาเรื่องไทรอยด์ (จาก estrogen alpha receptor) เขาวิจัยทางการแพทย์กันมาแล้วว่าปลอดภัยดี
- แต่ถั่วเหลืองอาจก่อให้เกิดปัญหาอื่นแทน โดยเฉพาะถั่วเหลืองแบบ GMO (ตัดต่อพันธุกรรม) และผ่านกระบวนการแปรรูป อย่างโปรตีนถั่วเหลืองที่ผ่านการย่อยด้วยกรดในอุณหภูมิสูง (นิยมใช้กัน) ก็ทำให้เกิดสารก่อเกิดมะเร็งอย่าง 3-MCPD และ 1,3-DCP ได้ เพราะงั้นต้องเช็คว่าซอสถั่วเหลืองและผงโปรตีนถั่วเหลืองนั้นผลิตโดยไม่ใช้ความร้อนสูง (โดยเฉพาะซอสถั่วเหลือง/ซอสหอยนางรม/ซอสฮอยซิน/ซอสเทริยากิ ที่ต้อง "หมักตามธรรมชาติ" ใช้เวลานานเป็นอาทิตย์ๆ)
- ถ้ากินถั่วเหลืองมากเกินไป จะลดการผลิตคอลลาเจน เพราะถูก estrogen beta receptor ขัดขวาง
-
เพิ่มเมล็ดแฟลกซ์. Flaxseed (เมล็ดแฟลกซ์/ลินิน) นั้นอุดมกรดไขมันโอเมก้า-3 (มีสรรพคุณต้านการอักเสบ) และสารประกอบชื่อ lignans ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเอสโตรเจน และลดระดับเทสโทสเตอโรนในร่างกาย เปลี่ยนเทสโทสเตอโรนเป็น dihydrotestosterone ที่มีประโยชน์กว่า [13] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล ให้คุณบดเมล็ดแฟลกซ์ก่อนถึงจะกินได้ โดยใช้โรยบนซีเรียลและ/หรือโยเกิร์ต หรือกินขนมปังโฮลเกรนที่มีเมล็ดแฟลกซ์ผสมอยู่แล้ว
- Lignans จะไปเพิ่มตัวจับฮอร์โมนเพศ (binder) ช่วยยับยั้งไม่ให้โมเลกุลของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทำงาน เพราะไปจับกับ androgen receptors ในร่างกายแทน
- ในบรรดาอาหารต่างๆ ที่คนนิยมกินกัน เมล็ดแฟลกซ์มี lignans เยอะที่สุด ส่วนงานั้นตามมาห่างๆ [14] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
อย่ากินของมันๆ. เทสโทสเตอโรนเป็นสเตอรอยด์ฮอร์โมนที่จะสร้างได้ต้องมีคอเลสเตอรอล ส่วนคอเลสเตอรอลนั้นพบได้เฉพาะในไขมันอิ่มตัวจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์เท่านั้น (เช่น เนื้อสัตว์ ชีส เนย และอื่นๆ) จริงอยู่ว่าบางคอเลสเตอรอลนั้นจำเป็นต่อการสร้างสเตอรอยด์ฮอร์โมนและเยื่อหุ้มเซลล์ของทั้งร่างกาย แต่อาหารที่ไขมันอิ่มตัวสูงๆ มักกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้น [15] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง อาหารที่อุดมไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fat) เช่น อะโวคาโด ถั่วต่างๆ น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา และน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย ก็เพิ่มระดับเทสโทสเตอโรนเช่นกัน มีเพียงกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (Polyunsaturated fatty acids (PUFA)) ที่ช่วยลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
- น้ำมันพืชส่วนใหญ่ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง เรพซีด/คาโนลา นั้นอุดมไปด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวโอเมก้า-6 กินเยอะๆ แล้วช่วยลดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้ก็จริง แต่ระวังปัญหาสุขภาพอื่นๆ จะตามมา
- กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่ดีต่อสุขภาพกว่า (โอเมก้า-3 เยอะ) ก็เช่น น้ำมันปลา ปลาที่มีไขมันสูง (แซลมอน ทูน่า แมคเคอเรล และเฮอร์ริ่ง) เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท และเมล็ดทานตะวัน
- อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวเยอะจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่จริงๆ แล้วกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวโอเมก้า-6 ก็ใช่จะปลอดภัยกับสุขภาพหัวใจซะทีเดียว เพราะฉะนั้นจุดสำคัญอยู่ที่กินไขมันดีได้ แต่อย่าเยอะเกินไป และอย่ากินไขมันอิ่มตัวหรือไขมันเพิ่มไฮโดรเจน
-
หลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตขัดสี. พวกนี้มีน้ำตาลที่ย่อยง่ายเยอะ (กลูโคส) ทำให้ระดับอินซูลินพุ่งพรวด กระตุ้นให้รังไข่ยิ่งผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพิ่ม ลักษณะเดียวกับอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่จะเป็นแค่ช่วงสั้นๆ ไม่ใช่ในระยะยาว [16] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง เพราะฉะนั้นให้หลีกเลี่ยงการกินคาร์โบไฮเดรตขัดสี (อะไรก็ตามที่ใส่น้ำเชื่อมข้าวโพดชนิดฟรุกโตสสูง) เปลี่ยนมากินคาร์โบไฮเดรตดีอย่างผลิตภัณฑ์โฮลเกรน เบอร์รี่สด ผลไม้รสเปรี้ยว ผักที่มีกากใยสูง ผักใบเขียว และถั่วต่างๆ
- อาหารที่ใส่น้ำตาลขัดสีเยอะๆ และควรหลีกเลี่ยง ก็คือท็อฟฟี่ คุกกี้ เค้ก เบเกอรี่ ไอศครีม ช็อคโกแลต น้ำอัดลม และน้ำหวานต่างๆ
- นอกจากนี้อาหารที่ใส่น้ำตาลขัดสีเยอะๆ ยังทำให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากขึ้น รวมถึงโรคอ้วนและโรคเบาหวานชนิดที่ 2
-
พิจารณาใช้สมุนไพร. มีสมุนไพรหลายชนิดที่มีสรรพคุณยับยั้งฮอร์โมนเพศชาย (จากการทดลองในสัตว์) แต่ถ้าใช้ลดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้หญิงโดยตรงนั้นยังไม่มีงานวิจัยมารองรับเท่าไหร่ สมุนไพรที่นิยมใช้ยับยั้งฮอร์โมนเพศชายมากที่สุดก็เช่น saw palmetto (ตระกูลต้นปาล์ม), เชสต์เบอร์รี่ (chaste berries), แบล็คโคฮอช (black cohosh), ชะเอมเทศ (licorice), สเปียร์มินต์ (spearmint) และเปปเปอร์มินต์ โดยชงเป็นชาดื่ม หรืออีกทีคือใช้น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์ [17] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มใช้สมุนไพร โดยเฉพาะที่มีสรรพคุณเพิ่ม-ลดฮอร์โมนแบบนี้
- ห้าม กินอาหารเสริมสมุนไพรถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นม หรืออีกทีคือกำลังวางแผนจะตั้งครรภ์
- ผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็งมาก่อน (ไม่ว่าจะที่เต้านม มดลูก หรือรังไข่ก็ตาม) หรือมีปัญหาด้านฮอร์โมน ถ้าคิดจะใช้สมุนไพร ต้องปรึกษาคุณหมอประจำตัวก่อนเท่านั้น
โฆษณา
เคล็ดลับ
- ปกติผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนแค่ 1/10 ของผู้ชาย แต่พออายุมากขึ้นฮอร์โมนนี้จะเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ
- ผลข้างเคียงของการที่ผู้หญิงมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเยอะไม่อันตรายเสมอไป เช่น ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และเพิ่มความต้องการทางเพศ เป็นต้น
- วิธีจัดการภาวะขนดก (hirsutism) ที่ได้ผลก็เช่น ถอน หรือทำเลเซอร์ (electrolysis) ตามสถานเสริมความงาม
- อาหารมังสวิรัติมักช่วยลดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกาย ตรงข้ามกับอาหารอุดมไขมันอิ่มตัวและ/หรือไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ที่มักเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
- ถ้าอยากลดน้ำหนัก ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอจะช่วยได้เยอะ แต่ระวังเรื่องการยกเวท เพราะถ้ายกบ่อยๆ หรือใช้น้ำหนักเยอะๆ จะยิ่งไปเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายเลย
โฆษณา
คำเตือน
- ถ้าคุณสงสัยว่าฮอร์โมนในร่างกายไม่ค่อยสมดุล ลองไปตรวจร่างกายกับคุณหมอดู ก่อนจะลงมือปรับเปลี่ยนระดับฮอร์โมนด้วยวิธีต่างๆ ถ้าเปลี่ยนอาหารการกินอย่างเดียวก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่รู้แน่ชัดว่าตัวเองเป็นอะไร วิธีต่างๆ อาจทำอาการแย่กว่าเดิม
- ปรึกษาคุณหมอให้ละเอียดเรื่องผลข้างเคียงของยาที่คุณหมอสั่งเพื่อลดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่สำคัญคือแจ้งคุณหมอเรื่องโรคอื่นๆ และยาหรืออาหารเสริมทั้งหมดที่คุณใช้อยู่
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.drugs.com/health-guide/polycystic-ovary-syndrome.html
- ↑ http://www.drugs.com/health-guide/polycystic-ovary-syndrome.html
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pcos/basics/definition/con-20028841
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/basics/definition/con-20033091
- ↑ http://www.drugs.com/health-guide/polycystic-ovary-syndrome.html
- ↑ Apridonidze T, Essah PA, Iuorno MJ, Nestler JE. Prevalence and characteristics of the metabolic syndrome in women with polycystic ovary syndrome. J Clin Endocrinol Metab 2005; 90:1929.
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pcos/basics/complications/con-20028841
- ↑ http://www.medicalnewstoday.com/articles/290196.php
- ↑ http://www.drugs.com/health-guide/polycystic-ovary-syndrome.html
- ↑ https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001165.htm
- ↑ https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001165.htm
- ↑ http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3074428/
- ↑ http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7490559/
- ↑ http://www.whfoods.com/genpage.php?tname=foodspice&dbid=81
- ↑ http://jap.physiology.org/content/82/1/49
- ↑ http://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/carbohydrates/carbohydrates-and-blood-sugar/
- ↑ http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/hirsutism
โฆษณา