PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าระดับ TSH (thyroid-stimulating hormones) หรือ "ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์" ของคุณสูง แสดงว่าไทรอยด์ทำงานได้น้อยกว่าปกติ หรือก็คือ hypothyroidism หรือภาวะขาดไทรอยด์ ไฮโปไทรอยด์เกิดได้เมื่อไทรอยด์ของคุณหลั่งฮอร์โมนบางอย่างได้ไม่เพียงพอให้ร่างกายใช้ควบคุมการเผาผลาญหรือกระบวนการทางเคมีที่สำคัญ เป็นไฮโปไทรอยด์แล้วทำให้อ่อนเพลีย ซึมเศร้า น้ำหนักตัวเพิ่ม และไม่อยากอาหาร [1] ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา จะทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา รวมถึงภาวะมีบุตรยาก โรคหัวใจ และปวดข้อ [2] ถ้าคุณเป็นไฮโปไทรอยด์ ก็ต้องหาทางลดระดับ TSH เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ ของโรค เช่น การกินยาไทรอยด์ลดระดับ TSH และปรับเปลี่ยนอาหารการกินและวิถีชีวิตควบคู่ไปด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

กินยาไทรอยด์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    ทดสอบวัดระดับ TSH. ถ้าคุณมีอาการของไฮโปไทรอยด์ เช่น ท้องผูก เสียงแหบ และอ่อนเพลีย ควรไปหาหมอเพื่อตรวจเช็คร่างกายให้แน่ใจ ว่าไม่ได้เป็นไฮโปไทรอยด์ พอเจอคุณหมอแล้ว จะมีให้ตรวจเลือดเพื่อเช็คว่าไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติหรือเปล่า [3]
  2. วิธีที่จะช่วยลดระดับ TSH ที่สูงขึ้นเพราะภาวะไฮโปไทรอยด์ได้อย่างเห็นผล ก็คือต้องใช้ฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทนชื่อ levothyroxine [4] เป็นยาที่ต้องให้คุณหมอสั่งเท่านั้น กินแล้วจะช่วยปรับระดับฮอร์โมนให้สมดุล และบรรเทาอาการของภาวะไฮโปไทรอยด์ ปกติจะต้องกินยานี้วันละ 1 เม็ด [5]
    • พอเริ่มกินยาแล้ว อาการต่างๆ จะทุเลาลงใน 3 - 5 วัน และจะเห็นผลของยาเต็มที่ก็ต่อเมื่อผ่านไป 4 - 6 อาทิตย์ด้วยกัน [6]
    • ต้องกินยาตามปริมาณที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด ห้ามกินยาเกินขนาดเด็ดขาด
    • เริ่มแล้วก็ต้องกินยาไทรอยด์ไปตลอดชีวิต เพื่อรักษาระดับ TSH ให้ต่ำไว้ แต่โชคดีที่ยานี้ราคาไม่แพง โดยคุณหมอจะแจกแจงเรื่องค่ายาให้เอง
  3. 3
    รู้จักผลข้างเคียงของยา. ถ้ากินยาไทรอยด์ปริมาณมากๆ จนฮอร์โมนไทรอยด์เพิ่มสูงเกินพิกัด ก็อาจเกิดผลข้างเคียงได้ คุณหมอก็ต้องมาพิจารณาปรับลดปริมาณยาให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายคุณ บางทีร่างกายก็ตอบสนองต่อยาบางตัวที่คุณหมอสั่งให้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ให้ไปโรงพยาบาลทันทีถ้ามีอาการแพ้ยา levothyroxine คือลมพิษขึ้น หายใจติดขัด และหน้า ปาก ลิ้น หรือคอบวม [7] ต่อไปนี้คืออาการที่ถ้าเป็นต้องหาหมอทันที
    • หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ
    • เจ็บแน่นหน้าอก และ/หรือหายใจลำบาก
    • มีไข้ ร้อนวูบวาบ และ/หรือเหงื่อแตกพลั่ก
    • หนาวผิดปกติ
    • อ่อนแรง เหนื่อยล้า และ/หรือนอนไม่ค่อยหลับ
    • จำอะไรไม่ค่อยได้ ซึมเศร้า หรือหงุดหงิดรำคาญใจ
    • ปวดกล้ามเนื้อ
    • ผิวแห้ง ผมแห้ง หรือผมร่วง
    • ประจำเดือนมาผิดปกติ
    • อาเจียน ท้องเสีย ความอยากอาหารเปลี่ยนไป และ/หรือน้ำหนักตัวผิดปกติ [8]
  4. ถ้าไปกินอาหารเสริมธาตุเหล็กและแคลเซียม จะทำให้ร่างกายดูดซึมยาได้น้อยลง รวมถึงอย่ากินยาที่มี cholestyramine และ aluminum hydroxide [9]
    • ก่อนเริ่มกินยาไทรอยด์ ต้องปรึกษาคุณหมอถ้ากินอาหารเสริมหรือยาตัวอื่นอยู่ด้วย
    • โดยทั่วไป ยาไทรอยด์จะมีประสิทธิภาพที่สุด ถ้ากินตอนท้องว่าง ประมาณ 30 นาทีก่อนอาหาร
  5. 5
    ใช้วิจารณญาณในการกินยาไทรอยด์จาก “ธรรมชาติ”. ยาไทรอยด์ทางเลือก “ตามธรรมชาติ” นั้นเป็นไทรอยด์ที่ได้จากสัตว์ โดยเฉพาะหมู หาซื้อได้ตามเน็ตและร้านขายอาหารเสริม แต่ระวังยาพวกนี้ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองโดยองค์การอาหารและยา บางทีก็มีสารปนเปื้อน เพราะงั้นอย่าพยายามซื้อหรือใช้ยาไทรอยด์ “สูตรธรรมชาติ” ที่คุณหมอไม่ได้สั่งหรือแนะนำ [10]
    • ถ้าจำเป็น คุณหมอมักสั่งยาทางเลือก “สูตรธรรมชาติ” พวกนี้ในรูปของสารสกัด (extract หรือ desiccated)
    • ถ้าอยากรู้รายละเอียดมากกว่านี้ ให้ลองปรึกษาคุณหมอเรื่อง Armour Thyroid ที่เป็นไทรอยด์สกัดตามธรรมชาติ คุณหมอจะเป็นคนสั่งให้เท่านั้น [11]
  6. ไปตามหมอนัดทุกครั้ง เพื่อติดตามผลว่าระดับ TSH ลดลงหรือยังหลังกินยา บางเคสคุณหมอจะปรับปริมาณยาให้หลังผ่านไป 2 - 3 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายได้รับฮอร์โมนเพียงพอ [12]
    • พอกินยาในปริมาณที่เหมาะสมไปได้ 1 - 2 เดือนแล้ว อาการของคุณน่าจะทุเลาลง และเหนื่อยน้อยลง พฤติกรรมการกินและน้ำหนักตัวก็น่าจะดีขึ้นด้วย
  7. ไปตรวจตามนัดกับคุณหมอเป็นประจำทุกปี ให้แน่ใจว่าระดับ TSH เหมาะสมดีแล้ว คุณหมอจะตรวจวัดระดับอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อเช็คว่ายาที่กินไปได้ผลดี [13]
    • อาจจะต้องวัดระดับ TSH บ่อยกว่านั้น ถ้าเพิ่งปรับปริมาณยา levothyroxine ใหม่
    • ถ้าเป็นไฮโปไทรอยด์ เริ่มแล้วต้องกินยาฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทนไปตลอดชีวิต ห้ามอยู่ๆ หยุดกินยาเองเด็ดขาดหลังรู้สึกดีขึ้น เพราะเดี๋ยวอาการก็จะกลับมา
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ปรับเปลี่ยนอาหารการกินและวิถีชีวิต

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. กินอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนอย่างเต้าหู้ ไก่ และถั่ว รวมถึงอาหารที่อุดมวิตามินบี อย่างธัญพืชเต็มเมล็ด (โฮลเกรน) ถั่ว และเมล็ดพืชต่างๆ อย่าลืมกินผักและผลไม้ให้เพียงพอด้วย โดยเฉพาะพืชน้ำที่พบได้ในทะเล เพราะอุดมไปด้วยไอโอดีน อาหารที่มีไอโอดีนตามธรรมชาติสูงๆ นั้นจะดีต่อไทรอยด์ [14]
    • ให้กินพืชน้ำที่พบได้ในทะเลอย่างสาหร่ายเคลป์ (kelp), สาหร่ายญี่ปุ่น (nori และ kombu) อย่างน้อยวันละครั้ง จะโรย kelp ใส่สลัดหรือซุปเพื่อเพิ่มไอโอดีนก็ได้ หรือกินสาหร่าย kombu กับถั่วหรือเนื้อ รวมถึงใช้สาหร่าย nori ห่ออาหาร
    • เพิ่มถั่วและเมล็ดพืชในเมนูผัดต่างๆ รวมถึงคีนัวและสลัด
  2. ออกกำลังกายแล้วช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญ ต้านผลข้างเคียงของไฮโปไทรอยด์ได้ เช่น อาการอ่อนเพลีย ซึมเศร้า และน้ำหนักตัวเพิ่ม แนะนำให้ไปวิ่งหรือปั่นจักรยาน หรือจะเข้าคลาสต่างๆ ของฟิตเนส ขอแค่ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 30 นาที [15]
    • ลองเข้าคลาสโยคะ เพื่อเสริมสร้างความกระฉับกระเฉงและคลายเครียด จะเข้าคลาสตามฟิตเนส สตูดิโอโยคะของครูที่สนใจ หรือเปิดคลิปใน Youtube แล้วทำตามก็ได้
  3. พยายามตากแดดให้ได้อย่างน้อยวันละ 20 - 30 นาที ในช่วงเช้าและเย็นๆ ควรให้แขน ขา และใบหน้ารับแสงแดด มีหลักฐานที่ชี้ว่าวิตามินดีต่ำก็เกี่ยวข้องกับไฮโปไทรอยด์ ถ้าเพิ่มวิตามินดี จะช่วยบรรเทาอาการไฮโปไทรอยด์ได้ [16]
    • ถ้าที่ที่คุณอยู่ไม่ค่อยมีแดดส่องตรงๆ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในบ้านหรือออฟฟิศทั้งวัน ให้ลองปรึกษาคุณหมอเรื่องกินวิตามินดีเสริมอีกทาง
  4. พยายามคลายเครียดและลดความวิตกกังวล จะช่วยให้ไทรอยด์ดีขึ้นได้ [17] ทำกิจกรรมชวนผ่อนคลาย เช่น วาดรูป ระบายสี หรือเย็บปักถักร้อย ไม่ก็หางานอดิเรกที่ชอบจริงๆ ทำแล้วลืมเครียดลืมกังวลไปเลย การออกกำลังกายก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยคลายเครียดได้ดี [18]
    • ลองทำสมาธิ ฝึกการหายใจ หรือเข้าคลาสโยคะอาทิตย์ละครั้งดู จะช่วยคลายความตึงเครียดได้
    โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,037 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา