ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เวลาที่เรารู้สึกได้ถึงหัวใจที่เต้นตุ้บๆ อยู่ในอกก็เป็นอะไรที่น่ากลัวเหมือนกันนะ! ความเครียดเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น แต่มันก็อาจจะเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้จากอีกหลายๆ สาเหตุ ถ้าคุณเพิ่งสังเกตว่าหัวใจเต้นเร็ว คุณก็อาจจะกังวลถึงปัญหาสุขภาพ และแม้ว่าอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงผิดปกติอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ แต่ก็มีวิธีทางธรรมชาติต่างๆ ที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจและทำให้สุขภาพของหัวใจดีขึ้น แต่ถ้าอาการหัวใจเต้นเร็วของคุณมีอาการอื่นๆ เช่น หายใจลำบาก เป็นลม หรือแน่นหน้าอกร่วมด้วย หรือหากคุณประสบกับภาวะหัวใจเต้นเร็วเป็นระยะเวลาสั้นๆ อยู่บ่อยๆ คุณก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและเข้ารับการรักษา

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

ใช้การฝึกหายใจลึกๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความเครียดอาจทำให้เราหายใจตื้นและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ถ้าหัวใจของคุณกำลังเต้นรัวอยู่ตอนนี้ ให้หาที่เงียบๆ ที่คุณสามารถนั่งพักได้สัก 2-3 นาที ถ้าจะให้ดีก็ควรนั่งหรือนอนลงเพื่อให้คุณรู้สึกสบายตัวมากที่สุด [1]
  2. หลับตาแล้วพยายามตัดเสียงรอบข้างออกไป หายใจลึกๆ ช้าๆ ทางจมูกจนหน้าท้องพอง คุณอาจจะเอามือมาวางตรงหน้าท้องเพื่อให้รู้สึกได้ว่ามันพองขึ้นด้วย ขณะหายใจเข้าช้าๆ ให้นับในใจถึง 5 [2]
  3. คุณสามารถหายใจออกทางจมูกและปากพร้อมกันเลยก็ได้ถ้าทำแบบนั้นแล้วคุณรู้สึกสบายตัวมากกว่า วางมือไว้บนหน้าท้องเพื่อให้คุณรู้สึกว่ามันคลายลงขณะที่คุณหายใจออก ขณะหายใจออกให้นับในใจถึง 10 คุณสามารถเพิ่มเป็น 15 วินาทีได้เมื่อคุณเริ่มชินกับการหายใจลึกๆ แล้ว [4]
    • พยายามจดจ่ออยู่กับลมหายใจและการนับ และต้องนับในจังหวะที่สม่ำเสมอด้วย
  4. หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ ทางจมูก 5 วินาที จากนั้นก็หายใจออกช้าๆ ทางปาก 10-15 วินาที คุณน่าจะรู้สึกได้ว่าอัตราการเต้นของหัวใจลดลงตั้งแต่ 1-2 นาทีแรก ทำอย่างนี้ต่อไปให้ครบ 5 นาทีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด [5]
  5. การหายใจลึกๆ ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจในช่วงเวลาที่เกิดความวิตกกังวล แต่การฝึกหายใจลึกๆ เป็นประจำจนเป็นนิสัยก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้ต่ำลง พยายามสละเวลาอย่างน้อยวันละ 5-10 นาทีมาฝึกการหายใจลึกๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด [6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

ทดลองเทคนิคการผ่อนคลายอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฝึกสมาธิ ทุกวันเพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจและระดับความเครียด. แบ่งเวลาวันละ 2-3 นาทีเพื่อตัดขาดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และหันมาอยู่กับปัจจุบันและการหายใจ หาที่เงียบๆ สบายๆ เพื่อนั่งลงแล้วหลับตา จดจ่ออยู่กับการหายใจลึกๆ ช้าๆ และเบาสบาย ถ้าจิตใจเริ่มจะวอกแวก ก็ให้รับรู้แล้วกลับไปจดจ่อที่ลมหายใจอีกครั้ง [8]
    • ตอนแรกคุณอาจจะฝึกสมาธิได้แค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น อย่าเพิ่งยอมแพ้! ถ้าคุณหมั่นฝึกฝน คุณจะค่อยๆ ฝึกสมาธิได้นานขึ้น พยายามฝึกสมาธิเวลาเดียวกันทุกวันเพื่อให้เกิดเป็นนิสัย
    • ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มจากตรงไหนดี ให้เข้าไปดูแอพฯ ฝึกสมาธิด้วยมโนภาพ วิดีโอสาธิตใน YouTube หรือค้นหาในอินเทอร์เน็ตจนกว่าคุณจะเจอเทคนิคที่เหมาะกับตัวเอง
    • พยายามรักษาทัศนคติที่เปิดกว้าง อย่าตัดสินตัวเองหรือความคิดที่โผล่เข้ามา รับรู้ความคิดเหล่านั้นแล้วปล่อยให้มันผ่านไป [9]
  2. ใช้เทคนิคการนึกภาพในจินตนาการเพื่อผ่อนคลายและจดจ่อ. ถ้าคุณพบว่าตัวเองจมจ่อมอยู่กับความคิดวิตกกังวลระหว่างฝึกหายใจลึกๆ หรือทำสมาธิ การนึกภาพในจินตนาการก็อาจจะช่วยคุณได้ จดจ่อสมาธิไปที่สถานที่ที่ทำให้คุณรู้สึกสงบและผ่อนคลาย ปล่อยให้ตัวเองได้สำรวจสถานที่ที่เงียบสงบแห่งนั้นขณะที่คุณยังคงควบคุมการหายใจของตัวเองต่อไป [10]
    • เช่น นึกภาพตัวเองอยู่ที่ชายหาด เดินเล่น เดินก้าวยาวๆ อยู่บนผืนทราย มีคลื่นซัดเข้ามาที่เท้า
  3. ใช้การคลายกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นทีละส่วนเพื่อลดความตึงเครียด. นั่งลงบนเก้าอี้ในท่าสบายๆ หรือนอนลงในที่ที่สงบ เกร็งกล้ามเนื้อตรงนิ้วเท้าค้างไว้ 5-7 วินาที จากนั้นปล่อยและคลายกล้ามเนื้อ 15-20 วินาที ค่อยๆ ไล่ขึ้นมา เกร็งและคลายกล้ามเนื้อส่วนอื่นในร่างกายแบบเดียวกันตั้งแต่น่อง ต้นขา หน้าท้อง แขน คอ และมือ [11]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ลดอัตราการเต้นของหัวใจด้วยการออกกำลังกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตั้งเป้าออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกปานกลางให้ได้วันละ 30 นาทีเพื่อให้หัวใจแข็งแรงขึ้น. การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกปานกลางได้แก่ การเดินเร็ว วิ่งจ๊อกกิ้ง ปั่นจักรยาน เดินทางไกล ทำสวนเบาๆ และการเต้น ออกกำลังกายในแบบที่คุณชอบเพื่อสร้างกิจวัตรประจำวัน คุณอาจจะแบ่งเป็นวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 15 นาทีก็ได้ถ้าแบบนี้ง่ายกว่า [13]
    • การออกกำลังกายทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้นในขณะนั้น แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปมันจะช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักได้อย่างมาก [14]
    • สำหรับผู้ใหญ่ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักตามปกติจะอยู่ที่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที [15]
  2. เพิ่มการออกกำลังกายแบบแอโรบิคเข้าไปในกิจวัตรประจำวันเพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจ. การออกกำลังกายแบบหนักหน่วง เช่น วิ่ง/วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ทำงานสวนที่ต้องออกแรงมาก กระโดดเชือก และการต่อยมวยช่วยให้หัวใจแข็งแรง และเมื่อผ่านไปสักระยะอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักก็จะลดลง พยายามกำหนดเวลาการออกกำลังกายแบบหนักหน่วงลงไปในกิจวัตร 2-3 วันต่อสัปดาห์ [16]
    • ค่อยๆ เพิ่มความหนักหน่วงของการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ออกกำลังกายตามจังหวะที่กำลังดีสำหรับคุณ
    • หลักการประเมินความหนักหน่วงทั่วไปก็คือ ถ้าคุณพูดขณะออกกำลังกายไม่ได้ แสดงว่าคุณออกกำลังกายหนักเกินไป แต่ถ้าคุณร้องเพลงขณะออกกำลังกายได้ แสดงว่าคุณยังออกกำลังกายไม่หนักพอ
  3. ระบุอัตราการเต้นของหัวใจที่ตั้งเป้าไว้เพื่อให้คุณไปถึงเป้าหมายนั้นระหว่างออกกำลังกาย. การคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดเป็นอะไรที่ง่ายมาก! แค่เอา 220 ลบด้วยอายุปัจจุบัน 220 คือจำนวนครั้งสูงสุดต่อนาทีที่หัวใจคุณควรเต้นระหว่างออกกำลังกาย จากนั้นก็คำนวณอัตราการเต้นของหัวใจที่ตั้งเป้าไว้: อัตราการเต้นของหัวใจระหว่างออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกปานกลางควรจะอยู่ที่ 50-70% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด และอัตราการเต้นของหัวใจระหว่างออกกำลังกายแบบหนักหน่วงควรจะอยู่ที่ 70-85% [17]
    • เช่น ถ้าคุณอายุ 45 ปี อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดก็คือ 175 (220 - 45 = 175) อัตราการเต้นของหัวใจที่ตั้งเป้าไว้ก็คือ 105 (60% ของ 175 = 105) สำหรับการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกปานกลาง และ 140 (80% ของ 175 = 140) สำหรับการออกกำลังกายแบบหนักหน่วง
  4. ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายเพื่อให้แน่ใจว่าคุณทำได้ตามเป้า. ในการคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจด้วยตนเองนั้น ให้วางนิ้วมือ 2 นิ้วลงบนข้อมือด้านในเพื่อจับชีพจร นับจำนวนครั้งเป็นเวลา 30 วินาทีแล้วคูณ 2 เพื่อหาจำนวนครั้งที่หัวใจเต้นต่อนาที [18]
    • แต่ถ้าจะให้ง่ายขึ้น ก็ให้ใส่เครื่องวัดชีพจรหรืออุปกรณ์ออกกำลังกาย (หรือแม้แต่สมาร์ตโฟนก็ยังได้) เพื่อติดตามและบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ
    • การจับชีพจรในช่วงเวลาที่ออกกำลังกายจะทำให้คุณรู้ว่า คุณออกกำลังกายตามอัตราการเต้นของหัวใจที่ตั้งเป้าไว้หรือเปล่า
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

เปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงเพื่อเสริมระบบเส้นเลือด. แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการรักษาสุขภาพของหัวใจให้แข็งแรง เพราะมันเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและการคลายตัวของหลอดเลือด แต่คุณอาจจะต้องปรึกษาแพทย์ว่าแมกนีเซียมปริมาณเท่าไหร่ที่เหมาะสมกับคุณ เพราะถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปก็อาจจะไปลดอัตราการเต้นของหัวใจจนอยู่ในระดับที่อันตรายได้ [19]
    • โดยทั่วไปเด็กวัยรุ่นควรได้รับแมกนีเซียมวันละ 360-410 มก. ในขณะที่ผู้ใหญ่ควรได้รับประมาณวันละ 310-420 มก. [20]
    • อาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียมได้แก่:
      • ผักใบเขียว เช่น ปวยเล้ง
      • ธัญพืชเต็มเมล็ด
      • ถั่วเปลือกแข็ง (เช่น อัลมอนด์ วอลนัต และมะม่วงหิมพานต์)
      • ถั่วดำ
  2. ได้รับโพแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอเพื่อให้เซลล์และอวัยวะต่างๆ แข็งแรง. โพแทสเซียมสำคัญต่อการทำงานได้อย่างเหมาะสมของเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจโดยตรงด้วย การได้รับโพแทสเซียมมากขึ้นจึงช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจได้ [21]
    • โดยทั่วไปวัยรุ่นควรได้รับโพแทสเซียมวันละ 2,300-3,000 มก. และผู้ใหญ่ก็ควรได้รับโพแทสเซียมวันละ 2,600-3,400 มก. [22]
    • อาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียมได้แก่:
      • ปลาบางชนิด (ปลาแซลมอน ปลาคอด ปลาลิ้นหมา)
      • ผักและผลไม้ส่วนใหญ่
      • พืชมีฝัก (ถั่วและถั่วเลนทิล)
      • ผลิตภัณฑ์นม (นม ชีส โยเกิร์ต และอื่นๆ)
  3. แคลเซียมก็เป็นอิเล็กโทรไลต์เช่นเดียวกับโพแทสเซียมและแมกนีเซียม ความแข็งแรงของการเต้นของหัวใจขึ้นอยู่กับปริมาณแคลเซียมในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เพราะฉะนั้นมันจึงสำคัญต่อสุขภาพของหัวใจ [23]
    • วัยรุ่นควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,300 มก. และผู้ใหญ่ก็ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000-1,200 มก. [24]
    • อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมได้แก่:
      • ผลิตภัณฑ์นม (นม ชีส โยเกิร์ต และอื่นๆ)
      • ผักใบเขียวเข้ม (บร็อกโคลี กระถิน ใบขี้เหล็ก และอื่นๆ)
      • ปลาซาร์ดีน
      • นมอัลมอนด์
  4. หลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณคาเฟอีนเพื่อป้องกันไม่ให้หัวใจเต้นเร็ว. คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นที่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและสามารถออกฤทธิ์ได้หลายชั่วโมงหลังจากบริโภคเข้าไป ด้วยเหตุนี้คุณจึงควรหลีกเลี่ยงคาเฟอีนหากคุณพยายามลดอัตราการเต้นของหัวใจ [25]
    • ปริมาณคาเฟอีน 400 มก. ต่อวันนั้นถือว่าปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ที่สุขภาพดี แต่ถ้าคุณเป็นกังวลกับอัตราการเต้นของหัวใจ คุณควรบริโภคให้น้อยกว่านั้นหรือไม่ก็งดคาเฟอีนไปเลย [26]
    • อาหารที่มีคาเฟอีนได้แก่:
      • กาแฟ
      • ชาดำและชาเขียว
      • น้ำอัดลมบางประเภท
      • ช็อกโกแลต
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

เมื่อไหร่ที่ต้องเข้ารับการรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไปพบแพทย์หากคุณประสบภาวะหัวใจเต้นถี่เป็นระยะเวลาสั้นๆ บ่อยๆ. อัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วหรืออาการหัวใจเต้นเร็วนั้นอาจจะเกิดจากสาเหตุต่างๆ มากมายที่ซ่อนอยู่ ซึ่งบางสาเหตุก็อาจจะต้องได้รับการรักษา และอาจจะนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงกว่าเดิมหากไม่ได้รับการควบคุม ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจคุณถี่หรือมีอาการที่เกี่ยวข้อง ให้ไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ระบุว่าอาการเกิดจากอะไรและจะได้วางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง [27]
    • อาการทั่วไปได้แก่:
      • หายใจถี่
      • เวียนศีรษะ
      • ความรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นรัวหรือเต้นตุ้บๆ
      • หัวใจเต้นผิดปกติ
      • เจ็บหน้าอก
      • เป็นลม
  2. ไปห้องฉุกเฉินหากคุณหายใจลำบากหรือเจ็บหน้าอก. ถ้าคุณมีอาการเช่น หายใจลำบาก เป็นลม หรือเจ็บหน้าอกที่กินเวลานานกว่า 2-3 นาที ให้โทรศัพท์เรียกหน่วยฉุกเฉินหรือไปที่ห้องฉุกเฉินทันที เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของอาหารหัวใจวายหรือโรคร้ายแรงอื่นๆ [28]
    • อาการหัวใจวายอื่นๆ ได้แก่:
      • อาการเจ็บที่แผ่ขยายมาถึงลำคอ แขน ขากรรไกร หรือหลัง
      • ความรู้สึกเหมือนมีอะไรมาทับหรือบีบหน้าอก
      • คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง หรือความรู้สึกเหมือนอาการกรดไหลย้อน
      • อ่อนเพลีย
      • มึนศีรษะหรือวิงเวียน
      • เหงื่อกาฬ
  3. ก่อนที่คุณจะพยายามทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลงด้วยอาหาร การออกกำลังกาย หรืออาหารเสริม คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะวิธีการที่แนะนำไปอาจจะเป็นโทษมากกว่าแล้วแต่สุขภาพของคุณโดยรวมหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ปรึกษาแผนการรักษาอย่างรอบคอบร่วมกับแพทย์ และบอกข้อมูลประวัติสุขภาพและยาหรืออาหารเสริมที่คุณรับประทานอยู่อย่างละเอียด [29]
    • อาหารเสริมบางอย่างอาจจะมีปฏิกิริยาต่ออาหารเสริมตัวอื่นๆ หรือยาบางชนิด เพระฉะนั้นคุณต้องถามแพทย์ก่อนว่าคุณสามารถรับประทานตัวไหนได้
    • การออกกำลังกายแบบหักโหมเกินไปอาจเพิ่มความตึงเครียดในระดับที่เป็นอันตรายกับหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วนั้นเกี่ยวข้องกับปัญหาหัวใจที่ซ่อนอยู่ ปรึกษาแพทย์ว่าการออกกำลังกายแบบไหนที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับคุณ
  4. ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่ามีอัตราการเต้นของหัวใจสูง คุณต้องทำงานร่วมกับแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าอาการและภาวะที่ซ่อนอยู่นั้นได้รับการควบคุม ไปพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอและปฏิบัติตัวที่บ้านตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด [30]
    • บอกให้แพทย์ทราบหากมีอาการใหม่เกิดขึ้นหรืออาการแย่ลง
    • อย่าลังเลที่จะโทรศัพท์หาแพทย์หรือทำการนัดหมายหากคุณมีคำถามหรือความกังวล แม้ว่าจะยังไม่ถึงเวลานัดก็ตาม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

โฆษณา
  1. https://www.hackensackmeridianhealth.org/HealthU/2018/07/17/heart-rate/
  2. http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.503.5419&rep=rep1&type=pdf
  3. https://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/relaxation-techniques-breath-control-helps-quell-errant-stress-response
  4. https://www.nhlbi.nih.gov/files/docs/public/heart/phy_active.pdf
  5. https://www.hackensackmeridianhealth.org/HealthU/2018/07/17/heart-rate/
  6. https://www.heart.org/en/healthy-living/fitness/fitness-basics/target-heart-rates
  7. https://www.nhlbi.nih.gov/files/docs/public/heart/phy_active.pdf
  8. https://www.heart.org/en/healthy-living/fitness/fitness-basics/target-heart-rates
  9. https://www.heart.org/en/healthy-living/fitness/fitness-basics/target-heart-rates
  10. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Magnesium-HealthProfessional/
  11. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Magnesium-HealthProfessional/
  12. https://www.cdc.gov/salt/potassium.htm
  13. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Potassium-Consumer/
  14. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Calcium-HealthProfessional/
  15. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Calcium-HealthProfessional/
  16. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5445139/
  17. https://www.fda.gov/consumers/consumer-updates/spilling-beans-how-much-caffeine-too-much
  18. https://www.heart.org/en/health-topics/arrhythmia/about-arrhythmia/tachycardia--fast-heart-rate
  19. https://www.cdc.gov/heartdisease/heart_attack.htm
  20. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tachycardia/symptoms-causes/syc-20355127
  21. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tachycardia/symptoms-causes/syc-20355127
  22. http://europepmc.org/abstract/MED/9566443
  23. https://www.heart.org/en/health-topics/arrhythmia/about-arrhythmia/tachycardia--fast-heart-rate

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,682 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา