ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การมีไข้นั้นเป็นอาการทั่วไปของไวรัส การติดเชื้อ การไหม้แดด โรคลมแดดหรือแม้กระทั่งยาที่แพทย์จ่าย [1] อุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้นเป็นเหมือนกลไกธรรมชาติที่จะต่อต้านการติดเชื้อและโรค โดยในต่อมไฮโพธาลามัส จะเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ซึ่งขึ้นลงตลอดวันตั้งแต่ระดับปกติ คือ 98.6 °F (37.0 °C) ซึ่งไข้ที่พบทั่วไปจะเป็นการที่อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าอุณหภูมิปกติ [2] และแม้มันจะเป็นกระบวนการธรรมชาติที่ช่วยรักษาร่างกาย แต่อาจต้องดูแลให้ดีขึ้นจากอาการไข้ หรือแม้กระทั่งไปหาหมอ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

การลดไข้ด้วยยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กินอะเซตามิโนเฟน (พาราเซตามอล) หรือไอบูโปรเฟน. ยาเหล่านี้มีจำหน่ายทั่วไปหน้าเคาน์เตอร์ และลดไข้ได้อย่างเห็นผลชั่วคราว [3] ซึ่งมันช่วยได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้สบายขึ้นเหมือนร่างกายได้รับการรักษา
    • ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชก่อนจ่ายยา (สูตรสำหรับเด็ก หรือทารก) ให้กับเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ และห้ามให้เด็กทารกอายุต่ำกว่าหกเดือนกินไอบูโปรเฟน [4]
    • ห้ามกินยาเกินปริมาณที่แนะนำ และต้องให้ความสำคัญกับปริมาณยาที่ให้กับเด็ก โดยอย่าวางขวดยาไว้ในที่ที่เด็กเอื้อมถึง เพราะการกินมากเกินปริมาณที่แนะนำจะเป็นอันตราย
    • กินอะเซตามิโนเฟนทุกๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง แต่ห้ามกินเกินปริมาณที่แนะนำ [5]
    • กินไอบูโปรเฟนทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมง แต่ห้ามกินเกินปริมาณที่แนะนำ [6]
  2. ห้ามให้เด็กกินยาหน้าเคาน์เตอร์มากกว่าหนึ่งอย่าง พร้อมกันในครั้งเดียวในการรักษาอาการอื่น เช่น ถ้าให้เด็กกินยาอะเซตามิโนเฟน หรือไอบูโปรเฟนอย่างหนึ่งแล้ว ก็ห้ามให้กินยาแก้ไอ หรือยาอย่างอื่นโดยไม่ได้ปรึกษาหมอก่อน เพราะยาที่มีปฏิกิริยารุนแรงต่อกันจะทำร้ายสุขภาพของเด็กได้ [7]
    • การกินอะเซตามิโนเฟนและไอบูโปรเฟนสลับกัน สำหรับเด็กทารกที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป เด็กๆ และผู้ใหญ่นั้นปลอดภัย และกินอะเซตามิโนเฟน ทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมง และไอบูโปรเฟนทุกๆ 6 – 8 ชั่วโมง ในปริมาณที่แนะนำ
  3. [8] แอสไพรินเป็นยาลดไข้ที่ได้ผลกับผู้ใหญ่ หากกินแค่ในปริมาณที่แนะนำ แต่ห้ามให้เด็กกินแอสไพรินของผู้ใหญ่เด็ดขาด เพราะมันอาจทำให้เกิดอาการเรย์ Reye’s syndrome ซึ่งมีผลถึงชีวิต [9]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

บรรเทาอาการไข้ด้วยการรักษาแบบพื้นบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รักษาความชุ่มชื้นให้ร่างกายเป็นสิ่งที่สำคัญระหว่างมีไข้ เพราะการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ [10] โดยการดื่มน้ำและของเหลวอื่นๆ ช่วยให้ร่างกายขับไล่ไวรัสและแบคทีเรียที่ทำให้เกิดไข้ แต่ควรหลีกเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เพราะมันทำให้ขาดน้ำมากยิ่งขึ้น
    • ชาเขียวอาจจะช่วยลดไข้และเสริมภูมิคุ้มกันได้ [11]
    • ถ้ามีอาการวิงเวียนและคลื่นไส้ขณะมีไข้ ให้หลีกเลี่ยงน้ำผลไม้ นม เครื่องดื่มที่น้ำตาลสูงมาก และเครื่องดื่มอัดแก๊ส เพราะของเหล่านี้ทำให้รู้สึกป่วยและเป็นตัวทำให้อาเจียนได้ [12]
    • ลองแทนที่อาหารแข็งๆ ด้วยซุปหรือน้ำสต็อก เพื่อช่วยเติมความชุ่มชื้นให้ร่างกายใหม่ (แต่ต้องระวังเรื่องเกลือ) ไอศกรีมแท่งหรือหวานเย็นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการดื่มของเหลว และยังทำให้ร่างกายเย็นขึ้นอีกด้วย
    • ถ้าอาเจียน อาจเป็นการที่อิเล็กโทรไลต์ไม่สมดุล ดังนั้นให้ดื่มสารละลายที่เติมน้ำ (เกลือแร่) หรือเครื่องดื่มสปอร์ตที่มีอิเล็กโทรไลต์ [13] [14]
    • เด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ ซึ่งไม่ค่อยกินนมแม่ หรือไม่กินนมกะทันหันในระหว่างการป่วย ควรกินเกลือแร่ที่มีอิเล็กโทรไลต์ เช่น Pedialyte เพื่อให้ได้สารอาหารที่พวกเขาต้องการ [15]
  2. การนอนเป็นวิธีฟื้นฟูแบบธรรมชาติร่างกายจากไข้ เพราะการนอนหลับที่น้อยเกินไปจะทำให้ป่วยได้ [16] โดยการพยายามสู้และทำต่อไปอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นได้ [17] ซึ่งการนอนหลับอย่างเต็มที่ก็จะทำให้แน่ใจว่า ได้ปล่อยให้ร่างกายใช้พลังงานเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อแทนที่จะทำอย่างอื่น
    • ใช้วันหยุดจากการทำงาน หรือถ้าเด็กป่วย ให้เขาหรือเธอพักอยู่บ้าน โดยการนอนหลับที่เพิ่มขึ้นก็จะเป็นวิธีที่ทำให้ฟื้นไข้ได้เร็วขึ้นอย่างแน่นอน และไข้อาจติดต่อกันได้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือให้อยู่บ้าน ซึ่งไข้ส่วนใหญ่จะเกิดจากไวรัสที่สามารถติดต่อกันได้สูง หากยังมีอาการไข้อยู่ [18]
  3. อย่าเอาผ้าห่มหรือกองผ้ามาทับตัวเองหรือเด็ก โดยอาจจะรู้สึกหนาวเย็น แต่ถ้าเอาผ้าอุ่นๆ มาคลุม อุณหภูมิร่างกายจะไม่ลดลง ดังนั้นให้ใส่ชุดที่บางแต่เป็นชุดนอนที่อบอุ่น [19]
    • ห้ามพยายาม “ทำให้เหงื่อออก” โดยการห่อหุ้มคนไข้
  4. แม้จะมีคำพูดโบราณว่า “กินเยอะๆ แล้วจะหาย” แต่มันไม่ใช่คำแนะนำที่ดีนัก แต่ให้หล่อเลี้ยงร่างกายด้วยอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อการฟื้นไข้ที่รวดเร็ว โดยซุปไก่ที่กินได้เลยถือเป็นทางเลือกที่ดี เพราะมีทั้งผักและโปรตีน [20]
    • ถ้าไม่อยากอาหารมาก ให้ลองแทนที่อาหารแข็งๆ ด้วยซุปหรือน้ำสต็อกเพื่อเติมความชุ่มชื้นให้ร่างกาย
    • กินอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก เช่น แตงโม เพื่อช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ [21]
    • ถ้ามีอาการเวียนหัวหรือคลื่นไส้ร่วมกับมีไข้ ให้ลองอาหารอ่อนๆ เช่น แครกเกอร์เค็ม หรือซอสแอปเปิ้ล [22]
  5. เพราะสมุนไพรบางตัวก็ช่วยลดไข้หรือเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่จะช่วยต่อต้านสิ่งที่ทำให้เกิดไข้ได้ แต่สมุนไพรและยาธรรมชาติอาจจะไปรบกวนการทำงานของยาแผนปัจจุบัน หรืออาการป่วยอื่นๆ ดังนั้นต้องปรึกษาหมอหรือเภสัชกรก่อนจะใช้ [23]
    • ฟ้าทะลายโจร นั้นใช้กันในแพทย์แผนจีนในการรักษาอาการหวัด เจ็บคอ และไข้เป็นวงกว้าง โดยใช้วันละ 6 กรัม เป็นเวลา 1 อาทิตย์ แต่ห้ามใช้ถ้าเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีหรือโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ตั้งครรภ์หรือกำลังพยายามตั้งครรภ์ หรือกินยาความดันเลือดสูง หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin
    • ดอกยาโรว์อาจจะช่วยลดไข้ด้วยการช่วยให้เหงื่อออก แต่หากแพ้หญ้า ragweed หรือดอกเดซี่ ก็อาจแพ้ดอกยาโรว์ได้ และห้ามใช้มัน ถ้ากินยาทำให้เลือดจางหรือความดันเลือดสูง ลิเทียม ยาลดกรดในกระเพาะ หรือยารักษาโรคลมชักอยู่ รวมทั้งเด็กและสตรีมีครรภ์ก็ไม่ควรใช้ด้วย และอาจใช้ทิงเจอร์ยาโรว์เติมลงในน้ำอุ่น (ที่ไม่ร้อน) ไว้อาบ ช่วยลดไข้ได้ [24] [25]
    • ดอกเก็กฮวย (feverfew) แม้จะมีชื่อนี้ แต่มันไม่ได้ช่วยลดไข้ได้ดีนัก [26]
  6. การเตรียมน้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำหรืออาบน้ำด้วยฝักบัวแบบผ่อนคลาย เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกสบายในการลดไข้ โดยอุณหภูมิห้องที่อุ่นหรือลดลง คือ อุณหภูมิที่เหมาะกับการทำให้ร่างกายเย็นขึ้น โดยยังคงสภาพสมดุลไว้อยู่ ซึ่งมันอาจเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นประโยชน์ในการทำหลังกินยาลดไข้ [27]
    • ห้ามให้ตัวเองหรือเด็กอาบน้ำร้อน และก็ควรหลีกเลี่ยงน้ำเย็นด้วย เพราะมันทำให้เกิดอาการสั่นที่เป็นตัวเพิ่มอุณหภูมิภายในร่างกาย และหากไม่อยากอาบน้ำ อุณหภูมิที่เหมาะสมอย่างเดียวก็ คือความอุ่น หรือมากกว่าอุณหภูมิห้องเท่านั้น [28]
    • ถ้าเด็กมีไข้ ก็อาบน้ำให้ด้วยฟองน้ำในน้ำอุ่น แล้วค่อยๆ ล้างตัวเด็ก และเช็ดตัวด้วยผ้าขนหนูนุ่มๆ จากนั้นแต่งตัวให้อย่างรวดเร็ว เพื่อที่เขาจะได้ไม่หนาวเกินไป เพราะมันจะทำให้เกิดการหนาวสั่น ซึ่งเป็นตัวเพิ่มความร้อนแก่ร่างกาย
  7. แม้มันจะเคยถูกใช้เพื่อลดไข้ แต่มันก็ทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงรวดเร็วอย่างน่ากลัว [29] [30]
    • หากกินรับบิ้งแอลกอฮอล์ (สำหรับล้างแผล) เข้าไปอาจถึงขั้นตายได้ ดังนั้นไม่ควรใช้หรือเก็บไว้ใกล้ๆ เด็กเล็กเด็ดขาด [31]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ใช้เครื่องอ่านอุณหภูมิ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มันมีหลายแบบ ทั้งดิจิตอลและแบบแก้ว (ปรอท) [32] ซึ่งวิธีทั่วไปที่สุดในการอ่านอุณหภูมิสำหรับเด็กที่โตหรือผู้ใหญ่ก็ คือ วางเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลหรือแก้วไว้ใต้ลิ้น เพื่อวัดความร้อนของร่างกาย แต่มันมีเทอร์โมมิเตอร์หลายแบบให้เลือกใช้สำหรับหลายวิธีต่างๆ เพื่อวัดอุณหภูมิ
    • เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอล สามารถใช้ทางปาก ทางทวาร (ดูข้อข้างล่าง) หรือใต้รักแร้ (แต่มันจะลดค่าที่แม่นยำ) โดยมันจะมีเสียงเตือนเมื่ออ่านค่าสำเร็จ และอุณหภูมิจะแสดงบนหน้าจอ
    • เทอร์โมมิเตอร์แบบวัดทางหู โดยใส่เข้าไปในช่องหู และวัดด้วยแสงอินฟาเรด แต่ข้อเสียของเครื่องมือนี้ คือ ขี้หูหรือช่องหูทำให้อาจอ่านค่าได้ไม่แม่นยำ
    • เทอร์โมมิเตอร์วัดที่ขมับ ใช้แสงอินฟาเรดเพื่อวัดอุณหภูมิ ซึ่งมันดีเพราะมันใช้ได้เร็วและทำให้เกิดติดต่อได้น้อย โดยการใช้ต้องเลื่อนจากหน้าผากไปยังหลอดเลือดขมับ ไปจนถึงเหนือโหนกแก้ม ซึ่งมันยากที่จะบอกตำแหน่งที่แน่นอน แต่การอ่านค่าหลายๆ แบบก็จะช่วยให้ได้ค่าที่แม่นยำขึ้น
    • เทอร์โมมิเตอร์แบบจุกนม อาจใช้สำหรับเด็กทารก ซึ่งมันเหมือนกับแบบดิจิตอลที่อ่านทางปาก แต่ดีสำหรับเด็กที่ใช้จุกนม โดยการอ่านค่าสูงสุดจะแสดงเมื่อวัดอุณหภูมิ
  2. หลังจากเลือกเทอร์โมมิเตอร์แล้ว ให้ใช้ตามวิธีของเทอร์โมมิเตอร์แต่ละแบบ (ทางปาก ในหู บนขมับ หรือทางทวารของเด็ก (ดูข้างล่าง) ) โดยหากมีไข้มากกว่า 103 °F (39.4 °C) [33] หรือเด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป ที่มีไข้มากกว่า 102 °F (38.9 °C) หรือมีเด็กทารก (0- 3 เดือน) ที่มีไข้มากกว่า 100.4 °F (38 °C) ให้หาหมอโดยทันที [34]
  3. ซึ่งมันเป็นวิธีที่แม่นยำที่สุด แต่ก็ต้องระวังสุดๆ ไม่ให้ทะลุลำไส้เด็ก โดยเทอร์โมมิเตอร์ที่ดีที่สุดสำหรับอุณหภูมิของทวารหนักก็คือ แบบดิจิตอล
    • ทาปิโตรเลียมเจลหรือเควายเจลลงบนเครื่องเทอร์โมมิเตอร์เล็กน้อย
    • ให้เด็กนอนคว่ำท้องลง และให้อีกคนช่วยถ้าจำเป็น
    • ค่อยๆ สอดเครื่องมือเข้าไปในทวารหนักอย่างระมัดระวัง 1 นิ้ว ถึง 1 นิ้วครึ่ง
    • จับเด็กและเทอร์โมมิเตอร์ค้างไว้ประมาณ 1 นาที จนได้ยินเสียงเตือน แต่ห้ามปล่อยเด็กไว้กับเครื่องเอง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บ
    • เอาเครื่องออกและอ่านค่าบนหน้าจอ
  4. ไม่แนะนำให้ลดไข้ทั้งหมด ถ้าไข้ค่อนข้างต่ำ (ผู้ใหญ่หรือเด็กอายุเกิน 6 เดือนมีไข้ไม่เกิน 102 °F (38.9 °C) ) เพราะการลดไข้ที่สร้างโดยร่างกายที่เป็นสัญญาณว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาที่มากขึ้น
    • การรักษาไข้ที่แรงเกินไปสามารถไปขัดขวางวิธีการกำจัดไวรัสหรือการติดเชื้อ แบบธรรมชาติของร่างกายได้ โดยการลดอุณหภูมิร่างกายจะผลิตสิ่งที่แปลกปลอมสำหรับร่างกาย ดังนั้นปล่อยให้หายเองจะดีกว่า [35]
    • วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับบางคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง รับยาเคมีบำบัด หรือคนที่เพิ่งผ่านการศัลยกรรมมา [36]
    • ทำสิ่งเหล่านี้ เช่น พักผ่อน ดื่มของเหลว และใจเย็น ให้ตัวเองหรือเด็กสบายขึ้นระหว่างเป็นไข้ดีกว่าพยายามกำจัดอาการไข้ [37]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

รู้ว่าต้องไปหาหมอตอนไหน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่มีอุณหภูมิของใครที่ 98.6 °F (37.0 °C) เป๊ะๆ หรอก โดยอุณหภูมิร่างกายปกติที่ต่างไปหนึ่งหรือสององศานั้นถือว่าปกติ [38] และแม้กระทั่งไข้อ่อนๆ ก็ไม่ต้องกังวล [39] ซึ่งจะมีอาการเหล่านี้:
    • รู้สึกไม่สบาย อุ่นเกินไป
    • อ่อนแรงแบบทั่วไป
    • ร่างกายอุ่น
    • ตัวสั่นเทา
    • เหงื่อออก
    • อาจจะมีอาการเหล่านี้ด้วย : ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ไม่อยากอาหารหรือขาดน้ำ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของไข้
  2. [40] โดยผู้ใหญ่ที่มีไข้สูงกว่า 103 °F (39 °C) ควรไปหาหมอ ส่วนร่างกายเด็กจะอ่อนไหวต่อไข้มากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นให้โทรหาหมอในกรณีต่อไปนี้ : [41]
    • เด็กทารกต่ำกว่าสามเดือน มีไข้มากกว่า 100.4 °F (38.0 °C)
    • เด็กอายุสามถึงหกเดือน มีไข้มากกว่า 102 °F (39 °C)
    • เด็ก มีไข้มากกว่า 102 °F (39 °C)
    • ผู้ใหญ่ มีไข้ 103 °F (39 °C) ขึ้นไป ร่วมกับอาการง่วงซึมหรือฉุนเฉียว
  3. เพราะมันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาอื่นที่หนักกว่า ซึ่งต้องแยกกันรักษา ห้ามวินิจฉัยตัวเองหรือเด็ก แต่ควรไปให้หมอตรวจ โดยควรหาหมอถ้า : [42] [43]
    • เด็กต่ำกว่า 2 ขวบ มีไข้มากกว่า 24 ชั่วโมง
    • เด็กอายุมากกว่า 2 ขวบ มีไข้มา 72 ชั่วโมง (3 วัน)
    • ผู้ใหญ่ มีไข้มากกว่า 3 วัน
  4. ถ้าไข้มีอาการที่บอกปัญหาอื่นร่วมด้วย หรือเมื่อคนที่มีไข้มีเหตุขัดข้อง ต้องติดต่อหมอ ไม่ว่าไข้จะสูงขนาดไหนก็ตาม ซึ่งนี่คือเหตุบางอย่างที่ควร หาหมอทันที หากเกิดขึ้น: [44] [45]
    • หายใจลำบาก
    • มีผื่นหรือจุดด่างดำขึ้นบนผิว
    • มีภาวะเซื่องซึมหรือเพ้อ
    • อ่อนไหวต่อแสงอย่างไม่ปกติ
    • มีอาการเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน มะเร็ง หรือ HIV
    • เพิ่งเดินทางไปต่างประเทศ
    • ไข้จากสภาพอากาศร้อนจัด เช่น อยู่ในที่ที่อากาศร้อนมาก หรือพาหนะที่ร้อนเกินไป
    • มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เจ็บคอ วิงเวียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหู ผื่นแดง ปวดหัว มีเลือดปนในอุจจาระ เจ็บหน้าท้อง มีปัญหาในการหายใจ สับสนมึนงง ปวดคอ หรือเจ็บเวลาปัสสาวะ
    • ไข้ลด แต่ยังมีอาการป่วย
    • ถ้ามีอาการชักให้โทรหารถพยาบาล
    โฆษณา

คำเตือน

  • ปรึกษาแพทย์ก่อนจ่ายยาให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ
  • ระวังปริมาณที่เหมาะสมของยาที่อาจเปลี่ยนแปลง เช่น ขวดอะเซตามิโนเฟนสำหรับทารกแบบเข้มข้น ได้ถูกเปลี่ยนเป็นปริมาณที่น้อยลง คือ (80 mg/0.8 mL to 160 mg/5 mL)
โฆษณา
  1. http://www.emedicinehealth.com/fever_in_adults/page6_em.htm#home_remedies_for_fever_in_adults
  2. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/fever-of-unknown-origin
  3. http://www.webmd.com/digestive-disorders/understanding-nausea-vomiting-prevention
  4. http://www.medicinenet.com/nausea_and_vomiting/page7.htm#what_are_home_remedies_for_nausea_or_vomiting
  5. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000122.htm
  6. http://www.mayoclinic.com/health/fever/DS00077/DSECTION=lifestyle-and-home-remedies
  7. http://www.webmd.com/sleep-disorders/excessive-sleepiness-10/immune-system-lack-of-sleep
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/basics/lifestyle-home-remedies/con-20019229
  9. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003090.htm
  10. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003090.htm
  11. http://www.webmd.com/cold-and-flu/features/the-truth-behind-moms-cold-and-flu-advice
  12. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000122.htm
  13. http://www.webmd.com/cold-and-flu/features/the-truth-behind-moms-cold-and-flu-advice
  14. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/fever-of-unknown-origin
  15. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/yarrow
  16. http://learningherbs.com/remedies-recipes/herbs-for-fever/
  17. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/feverfew
  18. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003090.htm
  19. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003090.htm
  20. http://www.babycenter.com/404_how-can-i-reduce-my-childs-fever-without-using-medicine_10338495.bc
  21. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003090.htm
  22. http://www.nationwidechildrens.org/fever
  23. http://www.mayoclinic.org/healthy-living/infant-and-toddler-health/in-depth/thermometer/art-20047410
  24. http://www.emedicinehealth.com/fever_in_adults/page4_em.htm#when_to_seek_medical_care
  25. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/in-depth/fever/ART-20050997
  26. http://www.mayoclinic.com/health/fever/DS00077/DSECTION=treatments-and-drugs
  27. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/in-depth/fever/art-20050997
  28. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/basics/lifestyle-home-remedies/con-20019229
  29. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/basics/symptoms/con-20019229
  30. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003090.htm
  31. http://www.babycenter.com/404_how-can-i-reduce-my-childs-fever-without-using-medicine_10338495.bc
  32. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/basics/symptoms/con-20019229
  33. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/basics/symptoms/con-20019229
  34. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003090.htm
  35. http://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/fever/Pages/When-to-Call-the-Pediatrician.aspx
  36. http://www.emedicinehealth.com/fever_in_adults/page4_em.htm#when_to_seek_medical_care

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,696 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา