ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเป็นไข้คือกลไกการป้องกันตัวตามปกติของร่างกายที่มีต่อการติดเชื้อหรือการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม ถ้ามันกินระยะเวลานานเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อตัวคุณและเด็กในครรภ์ได้ คุณสามารถรักษาไข้อ่อนๆ ได้ด้วยตัวเองที่บ้าน แต่ควรปรึกษาแพทย์ทันทีหากไม่มั่นใจว่าจะทำอย่างไรเมื่อเป็นไข้ หรือสงสัยว่าจะมีอาการอื่นๆ ที่รุนแรงกว่านั้น [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

การลดไข้ระหว่างตั้งครรภ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การพูดคุยกับแพทย์เป็นสิ่งสำคัญ เขาจะได้ทราบถึงอาการของคุณและช่วยยืนยันได้ว่าไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง นอกจากนี้แพทย์ยังสามารถวินิจฉัยหาสาเหตุของไข้และรักษาที่ต้นเหตุ แทนที่จะรักษาแค่อาการอย่างเดียว [2]
    • สาเหตุทั่วไปของการเป็นไข้ขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ อาหารเป็นพิษ และโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในส่วนต่อไป)
    • อย่ารอที่จะปรึกษาแพทย์หากมีไข้ร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ผื่นคัน คลื่นไส้ มดลูกบีบตัว หรือปวดท้อง
    • รีบไปโรงพยาบาลทันทีหากเป็นไข้และน้ำเดิน (ถุงน้ำคร่ำฉีกขาด) [3]
    • ควรติดต่อแพทย์หากอาการไข้ไม่ดีขึ้นภายใน 24-36 ชั่วโมง หรือแจ้งทันทีหากมีไข้สูงกว่า 100.4 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส)
    • การเป็นไข้นานๆ อาจส่งผลเสียต่อตัวเด็กและเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะแท้งได้ ถ้าคุณไม่สามารถทำให้ไข้ลดได้เอง ควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์หรือผดุงครรภ์ [4]
    • หากแพทย์ไม่ได้ให้คำแนะนำที่ต่างไปจากนี้ คุณก็สามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อลดไข้ได้
  2. การแช่น้ำหรืออาบน้ำเป็นวิธีที่ใช้ลดไข้ได้ดี เพราะเมื่อน้ำระเหยออกจากผิวหนังของคุณ มันจะนำพาความร้อนออกไปด้วย และช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายลง [5]
    • ห้ามอาบน้ำเย็นเพราะจะทำให้หนาวสั่นและจะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย
    • ห้ามผสมแอลกอฮอล์ลงในน้ำ เพราะไอระเหยของมันอาจเป็นอันตรายได้
  3. วิธีหนึ่งที่จะช่วยลดไข้ได้ก็คือนำผ้าชุบน้ำเย็นหมาดๆ มาวางบนหน้าผาก มันจะช่วยนำความร้อนออกจากร่างกายและลดอุณหภูมิร่างกาย [6]
    • อีกวิธีหนึ่งที่จะลดไข้ได้คือใช้พัดลมช่วยขจัดความร้อนออกจากร่างกาย โดยนั่งหรือนอนใต้พัดลม เปิดเบาๆ เพื่อไม่ให้หนาวเกินไป
  4. สิ่งสำคัญที่ควรทำคือการรักษาความชุ่มชื้นในร่างกายและเติมเต็มน้ำที่สูญเสียไประหว่างเป็นไข้ [7]
    • การดื่มน้ำช่วยคงความชุ่มชื้นและยังช่วยให้ร่างกายเย็นลงจากภายในด้วย
    • ซดน้ำซุปอุ่นๆ หรือซุปไก่ เพื่อเติมน้ำและคุณค่าให้ร่างกาย
    • ดื่มเครื่องดื่มที่มีวิตามินซีสูง เช่น น้ำส้มคั้น หรือจะบีบมะนาวลงในน้ำเปล่าก็ได้
    • คุณสามารถดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อชดเชยแร่ธาตุและน้ำตาลที่สูญเสียไปได้เช่นกัน
  5. การเป็นไข้เป็นปฏิกิริยาทั่วไปที่จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของคุณต่อสู้กับการติดเชื้อ ดังนั้น สิ่งสำคัญก็คือการพักผ่อนเยอะๆ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ [8]
    • นอนเยอะๆ และหลีกเลี่ยงการเครียดและการทำกิจกรรมที่มากเกินไป
    • ถ้าคุณมีอาการเวียนศีรษะ ควรนอนลงและหยุดเคลื่อนไหวเพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะสะดุดหรือล้ม
  6. ไม่ควรแต่งตัวมากเกินไปขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นไข้ด้วย การใส่เสื้อผ้าหลายชั้นอาจทำให้ร่างกายร้อนเกินไป และถ้าอุณหภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นลมแดดหรือถึงขั้นคลอดก่อนกำหนดได้ [9]
    • สวมใส่เสื้อผ้าเนื้อเบาบาง โปร่งสบาย เช่น ผ้าคอตตอนหรือผ้าฝ้าย ที่จะช่วยให้อากาศถ่ายเทสะดวก
    • ห่มผ้าหรือผ้าห่มบางๆ เมื่อต้องการเท่านั้น
  7. วิตามินก่อนคลอดจะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและช่วยรักษาสมดุลของวิตามินและแร่ธาตุในร่างกาย [10]
    • กินวิตามินและดื่มน้ำตามเยอะๆ หลังอาหาร
  8. ปรึกษาแพทย์หรือผดุงครรภ์ว่าคุณสามารถกินยาลดไข้ได้หรือไม่ เช่น ยาอะเซตามีโนเฟน (ไทลินอล) อะเซตามีโนเฟน หรือพาราเซตามอล สามารถใช้ลดไข้และทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ในระหว่างที่ร่างกายกำลังต่อสู้กับตัวต้นเหตุของไข้ [11]
    • อะเซตามีโนเฟนเป็นยาที่ปลอดภัยสำหรับหญิงมีครรภ์ แต่ไม่ควรกินคู่กับคาเฟอีน เช่น ยาแก้ปวดไมเกรน [12]
    • หญิงมีครรภ์ไม่ควรกินยาแอสไพริน หรือยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อย่างไอบูโพรเฟน การกินยาเหล่านี้จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กในครรภ์ หากไม่มั่นใจว่าคุณสามารถกินยาชนิดใดได้หรือไม่ได้บ้าง ควรปรึกษาแพทย์ [13]
    • ถ้ากินยาอะเซตามีโนเฟนแล้วไข้ไม่ลดลง ควรติดต่อแพทย์หรือผดุงครรภ์โดยเร็ว
  9. ควรปรึกษาแพทย์หรือผดุงครรภ์ก่อนจะกินยาสกัดจากธรรมชาติหรือยาที่ขายทั่วไป เนื่องจากยาบางตัวอาจส่งผลต่อเด็กในครรภ์ได้ [14]
    • ยาดังกล่าวรวมถึงวิตามินหลายชนิด สารสกัดจากสมุนไพรเอคินาเซีย (Echinacea) หรือยาสกัดจากธรรมชาติอื่นๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

รู้สาเหตุโดยทั่วไปของการเป็นไข้ระหว่างตั้งครรภ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โรคหวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรคติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน เป็นสาเหตุทั่วไปของการเป็นไข้ระหว่างตั้งครรภ์ ในชีวิตของหลายคนคงเคยเป็นหวัดตามฤดูกาลกันบ้าง แต่เนื่องจากเมื่อตั้งครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกันจะถูกกดไว้ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นหวัดมากกว่าปกติ [15] [16]
    • อาการมักจะไม่รุนแรงนัก จะมีไข้ (100 องศาฟาเรนไฮต์ หรือสูงกว่า) หนาวสั่น น้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และไอ [17]
    • โรคจากเชื้อไวรัสจะต่างจากโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียตรงที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ และมักจะหายเองหลังจากระบบภูมิคุ้มกันของคุณสามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้
    • ควรดื่มน้ำเยอะๆ และลองทำตามวิธีรักษาที่ทำได้เองที่กล่าวไว้ในส่วนก่อนหน้านี้ เพื่อลดไข้และทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น [18]
    • ถ้าไม่ดีขึ้นภายใน 3-4 วัน หรืออาการแย่ลง ควรปรึกษาแพทย์หรือผดุงครรภ์
  2. โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนติดเชื้อ เช่นเดียวกับโรคหวัดธรรมดา แต่อาการของไข้หวัดใหญ่จะรุนแรงกว่า [19] [20]
    • อาการของไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการหนาวสั่น มีไข้ (100 องศาฟาเรนไฮต์ หรือสูงกว่า) อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล ไอ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน และคลื่นไส้
    • ถ้าคุณคิดว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ระหว่างตั้งครรภ์ ควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
    • ไม่มีวิธีรักษาไข้หวัดใหญ่โดยตรงนอกจากการดูแลรักษาอาการต่างๆ แพทย์อาจแนะนำให้กินยาต้านไวรัสเพื่อลดระยะเวลาการป่วยและลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน [21] หากเป็นไข้หวัดใหญ่ หญิงมีครรภ์อาจต้องรับการรักษาด้วยยาทามิฟลู (Tamiflu) หรือยาอะแมนตาดีน (amantadine) เพราะไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์เป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้ที่ตั้งครรภ์มากกว่าคนทั่วไป
    • ควรอยู่บ้านพักผ่อนและดื่มน้ำเยอะๆ ทำตามวิธีในส่วนแรกเพื่อลดไข้และทำให้รู้สึกดีขึ้น [22]
  3. รู้จักอาการของโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection - UTI). โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะหรือยูทีไอ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการมีไข้ระหว่างตั้งครรภ์ (และการมีไข้ทั่วไปด้วย) โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินปัสสาวะ (ประกอบด้วย ท่อปัสสาวะ ท่อไต ไต และกระเพาะปัสสาวะ) [23] [24]
  4. รู้ทันสัญญาณบอกของโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้. ถ้าคุณมีไข้ร่วมกับอาการอาเจียนและท้องร่วง คุณอาจเป็นโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ซึ่งมักจะเกิดจากเชื้อไวรัส [29] [30]
    • อาการของโรคไวรัสลงกระเพาะ คือ มีไข้ ท้องร่วง ปวดบีบบริเวณท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ [31]
    • โรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้นี้ไม่มียารักษา แต่โชคดีที่ส่วนใหญ่อาการจะหายได้เอง ควรดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และทำตามขั้นตอนที่กล่าวไปแล้วเพื่อลดไข้
    • ถ้าคุณไม่สามารถดื่มน้ำได้ 24 ชั่วโมง เกิดภาวะขาดน้ำ อาเจียนมีเลือดปน หรือมีไข้สูงเกิน 101 องศาฟาเรนไฮต์ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
    • ภาวะแทรกซ้อนหลักๆ ของโรคไวรัสลงกระเพาะคือ ภาวะขาดน้ำ ถ้าเกิดภาวะขาดน้ำขั้นรุนแรง อาจทำให้มดลูกบีบตัวหรืออาจถึงขั้นคลอดก่อนกำหนดได้ ดังนั้น คุณควรปรึกษาแพทย์หรือไปโรงพยาบาลหากมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อาเจียน และไม่สามารถดื่มน้ำได้ [32]
  5. หญิงมีครรภ์ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียที่เรียกว่า โรคลิสเทริโอซิส [33]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ารู้สึกเจ็บคอ ลองใช้น้ำเกลือกลั้วคอเพื่อบรรเทาอาการ โดยผสมน้ำอุ่น 8 ออนซ์ กับเกลือ 1 ช้อนชา
  • ถ้าคุณปวดศีรษะจากไซนัสหรือมีอาการคัดจมูก การล้างจมูกหรือใช้สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูก (แบบไม่ผสมยา) อาจช่วยได้ หรือจะลองใช้เครื่องทำความชื้นช่วยบรรเทาอาการก็ได้เช่นกัน
  • ถ้าคุณมีไข้ การเฝ้าสังเกตอาการอื่นๆ อย่างระมัดระวังจะช่วยให้สูติแพทย์หรือผดุงครรภ์หาสาเหตุของไข้ได้ง่ายขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • ควรปรึกษาแพทย์เสมอเมื่อเป็นไข้ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ อุณหภูมิที่สูงเกิน 100.4 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส) อาจเป็นอันตรายต่อทั้งตัวคุณและเด็ก การมีไข้สูงอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งบุตรหรือการพิการแต่กำเนิดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอยู่ในระยะแรกๆ ของการตั้งครรภ์
  • ถ้ามีไข้นานเกิน 24-36 ชั่วโมง หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ มีผื่นคัน อาการปวด ภาวะขาดน้ำ หายใจลำบาก หรือลมชัก ควรรีบไปพบแพทย์
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

  1. http://www.whattoexpect.com/pregnancy/pregnancy-health/if-you-get-sick/colds-and-flu.aspx
  2. http://www.whattoexpect.com/pregnancy/pregnancy-health/if-you-get-sick/colds-and-flu.aspx
  3. http://www.nhs.uk/chq/pages/2397.aspx#close
  4. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22299823
  5. http://www.whattoexpect.com/pregnancy/pregnancy-health/if-you-get-sick/colds-and-flu.aspx
  6. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000466.htm
  7. http://www.parents.com/pregnancy/complications/health-and-safety-issues/fever-pain-chills-during-pregnancy/
  8. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000466.htm
  9. http://www.wikihow.com/Treat-a-Cold
  10. http://www.flu.gov/symptoms-treatment/symptoms/index.html
  11. http://www.parents.com/pregnancy/complications/health-and-safety-issues/fever-pain-chills-during-pregnancy/
  12. http://www.flu.gov/symptoms-treatment/treatment/
  13. http://www.wikihow.com/Treat-the-Flu
  14. http://www.parents.com/pregnancy/complications/health-and-safety-issues/fever-pain-chills-during-pregnancy/
  15. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/urinary-tract-infection/basics/definition/con-20037892
  16. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/urinary-tract-infection/basics/causes/con-20037892
  17. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/urinary-tract-infection/basics/symptoms/con-20037892
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/urinary-tract-infection/basics/treatment/con-20037892
  19. http://health.clevelandclinic.org/2013/12/hold-the-cranberries-uti-myths-explained/
  20. http://www.parents.com/pregnancy/complications/health-and-safety-issues/fever-pain-chills-during-pregnancy/
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/viral-gastroenteritis/basics/definition/con-20019350
  22. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/viral-gastroenteritis/basics/symptoms/con-20019350
  23. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/viral-gastroenteritis/basics/complications/con-20019350
  24. http://www.cdc.gov/listeria/
  25. http://www.cdc.gov/listeria/definition.html
  26. http://www.cdc.gov/listeria/definition.html
  27. http://www.cdc.gov/listeria/treatment.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 32,161 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา