ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
การเป็นไข้คือการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายที่มีต่อการติดเชื้อหรือการบาดเจ็บ มันจะกระตุ้นร่างกายให้ผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวและสารภูมิต้านทานเพิ่มขึ้นเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ นักวิจัยบางส่วนเชื่อว่าเมื่อเป็นไข้อ่อนๆ ควรปล่อยไว้ แต่ไข้ในเด็กเล็กก็อาจทำให้คุณไม่สบายใจได้ แม้โดยปกติแล้วไข้ต่ำๆ จะไม่ต้องการการรักษา แต่บางทีคุณอาจจะอยากให้ไข้ลดเพื่อความสบายตัวของลูก หากเป็นไข้สูงอาจเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้แม้จะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เด็กควรได้รับการตรวจอาการโดยกุมารแพทย์ [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
ขั้นตอน
-
วัดไข้ให้เด็ก. วัดไข้เด็กโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิทัล คุณจะได้ค่าที่แม่นยำกว่าหากสอดเทอร์โมมิเตอร์ทางทวารหนัก แต่จะเหน็บใต้รักแร้ก็ได้ (ค่าที่ได้จะมีความแม่นยำน้อยกว่า) ห้ามใช้เทอร์โมมิเตอร์อันเดิมปนกันเด็ดขาด [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- คุณสามารถวัดไข้บริเวณหน้าผากเด็กได้โดยเลือกใช้แถบวัดอุณหภูมิ และใช้เทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดทางหูก็ได้เช่นกัน
- ทารกและเด็กเล็กมักจะมีอุณหภูมิร่างกายที่สูงกว่าและมีหลายช่วงมากกว่าอุณหภูมิร่างกายของผู้ใหญ่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าร่างกายของเด็กจะมีอัตราส่วนพื้นที่ผิวต่อปริมาตรมากกว่า และส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังพัฒนาอยู่ [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- อุณหภูมิปกติของร่างกายเด็กเล็กคือ 97-99 องศาฟาเรนไฮต์ (36-37.2 องศาเซลเซียส)
- ไข้ต่ำในเด็กเล็กจะอยู่ในช่วง 99-100.9 องศาฟาเรนไฮต์ (37.3-38.3 องศาเซลเซียส)
- ถ้าอุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 101-103.5 องศาฟาเรนไฮต์ (38.4-39.7 องศาเซลเซียส) บ่งบอกได้ว่าควรเฝ้าดูแลอาการ ไข้ที่อยู่ในระดับนี้มักจะเกิดจากเชื้อไวรัสหรือการติดเชื้อแบบไม่รุนแรงมาก
- ถ้ามีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 103.6 องศาฟาเรนไฮต์ (39.8 องศาเซลเซียส) ควรได้รับการรักษาหรือหาวิธีลดไข้ (ดูได้จากขั้นตอนต่อไป) ถ้าใช้วิธีในขั้นตอนต่อไปแล้วไข้ลดลงก็สามารถรอไปพบแพทย์ในตอนเช้าได้ แต่ถ้าไม่ คุณควรพาเด็กไปห้องฉุกเฉินทันที
- หมายเหตุ: บทความนี้กล่าวถึงเฉพาะอาการไข้เพียงอย่างเดียว ถ้าเด็กมีอาการอื่นๆ ที่น่าเป็นห่วง หรือมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
อาบน้ำให้เด็ก. น้ำจะช่วยนำความร้อนออกจากร่างกายได้เร็วกว่าอากาศ การอาบน้ำเป็นวิธีที่ดีที่จะใช้ลดไข้ และได้ผลเร็วกว่ายาเสียอีก คุณอาจจะอาบน้ำให้เด็กเพื่อลดไข้ในระหว่างที่รอให้ยาอะเซตามีโนเฟน (ไทลินอล) หรือยาแก้ปวดลดไข้ทำงาน [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ใช้น้ำอุ่นอาบ ห้ามใช้น้ำเย็นเพื่อลดไข้เด็ดขาด อุณหภูมิของน้ำที่ต่ำกว่าอุณหภูมิร่างกายเล็กน้อยจะช่วยลดไข้ได้เร็วขึ้น
- หลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ผสมน้ำอาบ มันเป็นวิธีการที่เก่าและไม่ได้รับการรับรองจากแพทย์
- คุณสามารถใช้ผ้าชุบน้ำวางบนหน้าผากเด็กหรือเช็ดตามร่างกายเพื่อลดไข้ได้
-
ให้เด็กดื่มน้ำเยอะๆ. การเป็นไข้อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งเป็นอาการที่อันตราย ดังนั้นการให้เด็กดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ เพื่อคงความชุ่มชื้นของร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- น้ำเปล่าสะอาดเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเสมอ แต่ตัวเลือกอื่นๆ ก็ใช้ได้ถ้าลูกของคุณไม่ยอม ให้เด็กดื่มน้ำผลไม้ผสมน้ำเปล่า หรือน้ำเปล่าใส่ผลไม้สดแทนก็ได้
- คุณสามารถให้เด็กดื่มชาสมุนไพรเย็นแบบไม่มีคาเฟอีน (เช่น ชาคาโมมายล์และชาเปปเปอร์มินต์) หรือน้ำเกลือแร่อย่างพีเดียไลท์ (Pedialyte) ก็ได้ ใช้ได้สำหรับเด็กทุกวัย
- ควรระมัดระวังและสังเกตอาการของภาวะขาดน้ำอยู่ตลอด ยิ่งเด็กมีไข้สูงเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการขาดน้ำ
- สัญญาณบ่งบอกถึงภาวะขาดน้ำ ได้แก่ ปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง ซึ่งจะมีสีเข้มและอาจมีกลิ่นแรงกว่าปกติ ความถี่ในการปัสสาวะ (ระยะห่างระหว่างครั้ง 6 ชั่วโมงขึ้นไป) ปากแห้ง ร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตา และตาโหล
- หากเด็กมีอาการที่บ่งบอกถึงภาวะขาดน้ำ ให้รีบพาไปพบแพทย์ [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ปรับอุณหภูมิภายนอกร่างกายและอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม. สวมเสื้อผ้าเนื้อเบาชั้นเดียวให้เด็กเพื่อควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม เพราะเสื้อผ้าหลายชั้นจะยิ่งเก็บกักความร้อนไว้กับตัวเด็ก ชุดที่หลวมและบางจะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดีกว่า [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- วางผ้าห่มไว้ใกล้ตัวเผื่อเด็กรู้สึกหนาวหรือบ่นว่าหนาว
- พัดลมทำให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้นและช่วยพาความร้อนออกจากร่างกายได้ ถ้าคุณเปิดพัดลม ควรเฝ้าดูแลเด็กให้ดีเพื่อไม่ให้หนาวเกินไป และอย่าเปิดพัดลมจ่อเด็กโดยตรง
-
ให้เด็กกินยาลดไข้. การใช้ยาลดไข้เป็นสิ่งที่ควรทำเมื่อต้องการให้เด็กรู้สึกดีขึ้น หรือต้องการลดไข้สูงๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงเท่านั้น [9] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ HealthyChildren.org ไปที่แหล่งข้อมูล
- ถ้าเด็กมีไข้ต่ำหรือไข้อ่อนๆ การปล่อยไว้ให้หายเองจะดีที่สุด เว้นแต่ว่าจะมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย หากมีไข้ปานกลางถึงไข้สูง หรือมีอาการอื่นๆ ตามมา มักจะรักษาได้ด้วยยาลดไข้
- ยาอะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) หรือพาราเซตามอล เช่น ไทลินอล (Tylenol) สามารถใช้ในเด็กทารกและเด็กเล็กได้ ควรปรึกษาแพทย์ถึงปริมาณยาที่เหมาะสม
- ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เช่น แอดวิล (Advil) และมอตริน (Motrin) สามารถใช้ในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปได้ ควรปรึกษาแพทย์ถึงปริมาณยาที่เหมาะสม
- ไม่แนะนำให้ใช้ยาแอสไพรินกับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะอาจทำให้เป็นโรคไรย์ซินโดรม (Reye's Syndrome) ได้
- ยาลดไข้มีขายในรูปแบบยาเหน็บทวารหนักและยาน้ำสำหรับเด็กด้วย ให้ยาในปริมาณที่เหมาะสมโดยดูจากอายุและน้ำหนักตัวเด็ก
- ห้ามใช้ยาเกินขนาดหรือความถี่ในการให้ยา ควรจดบันทึกเวลาและปริมาณยาที่ให้เด็กในแต่ละครั้งเอาไว้
- ถ้าเด็กกินยาตามแพทย์สั่งอยู่ ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนจะซื้อยาลดไข้ตามร้านขายยาให้เด็กกิน
- ถ้าเด็กมีอาการอาเจียนและไม่สามารถกินยาได้ อาจต้องใช้ยาลดไข้อะเซตามีโนเฟนแบบเหน็บทวารหนัก ควรอ่านฉลากสำหรับปริมาณในการใช้ที่เหมาะสม
- หากยาลดไข้ใช้ไม่ได้ผล ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์
-
ปรึกษาแพทย์ว่าเด็กควรได้รับยาปฏิชีวนะหรือไม่. ยาปฏิชีวนะใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย และไม่สามารถรักษาการติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสได้ [10] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- การใช้ยาปฏิชีวนะในปริมาณมากโดยไม่จำเป็น จะกระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยาได้ ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถ้าเด็กได้รับยาปฏิชีวนะ ควรให้กินจนครบตามที่แพทย์สั่ง
โฆษณา
-
เข้าใจถึงสาเหตุของไข้. ในบางระดับ ไข้ก็เป็นเหมือนเพื่อนของเรา มันเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่อสาเหตุที่แตกต่างกันไป ดังนี้ [12] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง [13] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- การติดเชื้อจากแบคทีเรีย เช่น แบคทีเรียสเตรปโตคอกคัส ที่เป็นสาเหตุของโรคเจ็บคอสเตรปโธรท และโรคหูอักเสบ จะทำให้เป็นไข้ มักจะรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ
- การติดเชื้อจากไวรัส เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคอื่นๆ ที่พบทั่วไปในเด็ก (โรคอีสุกอีใส และโรคหัด) ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ และวิธีเดียวที่จะช่วยได้ก็คือรอและรักษาอาการอื่นๆ ไปก่อน การติดเชื้อจากไวรัสเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กเป็นไข้ และมักจะเป็นอยู่ 3-4 วัน
- เมื่อเด็กฟันขึ้นมักจะทำให้เป็นไข้ต่ำๆ
- การสร้างภูมิคุ้มกันจะทำให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบไม่รุนแรง ซึ่งมักจะส่งผลให้มีไข้อ่อนๆ
- เด็กอาจเป็นไข้ได้เมื่อร่างกายร้อนเกินไปเนื่องจากอยู่ในที่ร้อนๆ และเป็นโรคเพลียแดดหรือโรคลมแดด ซึ่งจัดเป็นภาวะฉุกเฉิน
- ไม่บ่อยนักที่สาเหตุของไข้จะมาจากการอักเสบ เช่น ข้ออักเสบ หรือโรคร้ายแรงอื่นๆ รวมถึงมะเร็งบางชนิด
-
รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์. การเฝ้าไข้เด็กเป็นวิธีการที่เหมาะสม คุณคงไม่อยากจะทำอะไรมากเกินไป แต่ก็ไม่อยากประเมินสถานการณ์ต่ำไปเช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งเด็กอายุน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นเรื่องใหญ่เท่านั้น เรามีคำแนะนำให้คุณ ขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก [14] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- 0-3 เดือน: หากมีไข้ 100.4 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส) ควรรีบพาไปพบแพทย์แม้จะไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย [15] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล เด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน ต้องรีบพบแพทย์ทันที
- 3 เดือน - 2 ปี: ไข้ต่ำกว่า 102 องศาฟาเรนไฮต์ (38.9 องศาเซลเซียส) สามารถจัดการได้ที่บ้าน (ดูวิธีการในส่วนก่อนหน้านี้)
- 3 เดือน - 2 ปี: ไข้สูงกว่า 102 องศาฟาเรนไฮต์ (38.9 องศาเซลเซียส) ต้องรับการรักษา ควรปรึกษากุมารแพทย์สำหรับคำแนะนำ และจะยิ่งสำคัญมากหากเด็กมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ไข้ไม่ลดหลังจากกินยา หรือมีไข้นานเกิน 1-2 วัน
-
รู้ทันสัญญาณบอกถึงอาการที่อันตราย. พ่อแม่มักจะมีสัญชาตญาณรับรู้เกี่ยวกับอาการป่วยของลูก เด็กจะมีการตอบสนองต่อโรคในแบบต่างๆ และพ่อแม่ก็มักจะรู้ถึงความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว [16] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- หากมีไข้ร่วมกับมีอาการอ่อนเพลียและเซื่องซึม อาจเป็นสัญญาณบอกถึงอาการที่น่าวิตกกังวล
- ถ้าลูกของคุณมีอาการร้ายแรง เช่น มีภาวะสับสน รอบปากหรือนิ้วเป็นสีม่วงน้ำเงิน เป็นลมชัก ปวดหัวอย่างหนัก คอแข็งเกร็ง เดินไม่ได้ หรือหายใจลำบาก ควรรีบโทร.เบอร์ฉุกเฉิน 911 ทันที [17] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
เคล็ดลับ
- ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าลูกของคุณมีไข้สูงหรือควรเข้ารับการรักษาหรือเปล่า ควรปรึกษาแพทย์ทันที ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่าต้องเสียใจภายหลัง
โฆษณา
คำเตือน
- ตรวจสอบกับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาพร้อมกันสองชนิดขึ้นไป เพราะยาหลายชนิดอาจประกอบด้วยตัวยาแบบเดียวกัน และอาจทำให้ได้รับยาเกินปริมาณที่กำหนดโดยไม่รู้ตัว
- อย่าพยายามลดไข้ในเด็กด้วยการใช้แอลกอฮอล์ มันจะช่วยให้ตัวเด็กเย็นเร็วเกินไป และจะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นมากกว่า
- ถ้าลูกของคุณไข้ขึ้นเนื่องจากอยู่ในที่ที่อากาศร้อน ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็ว
- ห้ามใช้ยาแอสไพรินกับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะอาจทำให้เกิดโรคไรย์ซินโดรมซึ่งเป็นอันตรายมากและอาจไปทำลายตับได้ [18] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.britannica.com/science/fever
- ↑ http://www.askdrsears.com/topics/health-concerns/childhood-illnesses/fever
- ↑ http://www.askdrsears.com/topics/health-concerns/childhood-illnesses/fever
- ↑ http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003090.htm
- ↑ http://www.babycenter.com/404_how-can-i-reduce-my-childs-fever-without-using-medicine_10338495.bc
- ↑ http://www.babycenter.com/404_how-can-i-reduce-my-childs-fever-without-using-medicine_10338495.bc
- ↑ http://www.babycenter.com/0_dehydration-in-babies_11527.bc
- ↑ http://www.babycenter.com/404_how-can-i-reduce-my-childs-fever-without-using-medicine_10338495.bc
- ↑ https://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/fever/Pages/Medications-Used-to-Treat-Fever.aspx
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infectious-diseases/expert-answers/infectious-disease/faq-20058098
- ↑ http://www.tufts.edu/med/apua/consumers/personal_home_5_3563412786.pdf
- ↑ http://www.askdrsears.com/topics/health-concerns/childhood-illnesses/fever
- ↑ http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003090.htm
- ↑ http://www.askdrsears.com/topics/health-concerns/childhood-illnesses/fever
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/in-depth/fever/art-20050997
- ↑ http://www.askdrsears.com/topics/health-concerns/childhood-illnesses/fever
- ↑ http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003090.htm
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/reyes-syndrome/basics/definition/con-20020083
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 19,488 ครั้ง
โฆษณา