PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

นมลวก (scalded milk) ผสมแล้วช่วยให้ขนมปัง เค้ก และขนมอบอื่นๆ นุ่มฟูดี ขั้นตอนการลวกนมนั้นจะกำจัดโปรตีนในนม ทำให้กลูเตนไม่ฉีกขาด แถมช่วยให้น้ำตาลและยีสต์ละลายดี ขนมปังและของหวานต่างๆ ที่ทำออกมาเลยนุ่มฟูยิ่งขึ้น [1] บทความวิกิฮาวนี้จะมาแนะนำวิธีการลวกนม ทั้งโดยใช้ไมโครเวฟ และการตั้งไฟ โดยค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิแล้วหยุดก่อนที่นมจะทันเดือด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ใช้ไมโครเวฟ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ลวกนม
    เทนมในปริมาณที่ต้องใช้ ใส่ชามที่เข้าไมโครเวฟได้. จะใช้นมเต็มมันเนย นมพร่องมันเนย หรือนมผงก็ได้ หรือจะใช้นมชนิดอื่นที่ไม่ใช่นมวัว เช่น นมอัลมอนด์ นมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ และนมถั่วเหลือง แต่ระวังสูตรขนมอบจะเปลี่ยนไป เพราะนมจากพืชไม่มีโปรตีนชนิดที่แปรสภาพไปหลังลวกนม เหมือนกับในนมวัว [2]
    • ถ้าใช้ชามแก้วกับไมโครเวฟจะปลอดภัยที่สุด แต่ถ้าเป็นชามพลาสติก ต้องเลือกที่แน่ใจว่าใช้กับไมโครเวฟได้จริงๆ
    • ใช้ชามก้นลึกพอที่นมจะไม่หกหรือกระฉอกออกมา
  2. Watermark wikiHow to ลวกนม
    ใส่ตะเกียบไม้เข้าไปในชาม ก่อนลวกนมในไมโครเวฟ. หรือใช้ไม้เสียบลูกชิ้น ไม่ก็อุปกรณ์อื่นๆ ที่เอาเข้าไมโครเวฟได้ และมีด้ามยาว ตะเกียบจะแหวกผิวหน้าของนม ทำให้นมไม่ถึงกับเดือดตอนเอาเข้าไมโครเวฟ [3]
    • ถึงตะเกียบหรือไม้เสียบลูกชิ้นจะแตะโดนด้านในของไมโครเวฟก็ไม่เป็นไร แค่อาจจะขยับไปมาในชามบ้าง ถ้าไมโครเวฟที่ใช้มีจานหมุน
  3. ไม่ต้องหาอะไรมาครอบชาม ให้ลวกนมครั้ง 30 วินาที นมจะได้ไม่ร้อนเกินจนกระเด็นทั่วไมโครเวฟ [4]
    • อย่าชะล่าใจหรือแอบขี้เกียจจนลวกนมในไมโครเวฟทีเดียว 3 - 4 นาที เพราะนมจะได้รับความร้อนไม่ทั่วถึง ดีไม่ดีนมจะไหม้ได้เลย
  4. Watermark wikiHow to ลวกนม
    ใช้ผ้าหรือถุงมือจับของร้อน ยกชามออกมา แล้วคนด้วยไม้พาย. จะได้กระจายความร้อนในนมให้ทั่วถึง จะคนด้วยไม้พายหรือทัพพีซิลิโคนก็ได้ แต่อย่าใช้อะไรที่เป็นโลหะ เพราะโลหะจะทำปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์กับโปรตีนในนม [5]
    • คุณหาซื้อไม้พายหรือไม้พายซิลิโคนได้ตามร้าน/แผนกเครื่องครัว หรือซื้อจากร้านในเน็ตก็ได้
  5. Watermark wikiHow to ลวกนม
    ให้เอาที่วัดอุณหภูมิน้ำเชื่อม จิ้มลงไปกลางชามนม แต่อย่าให้โดนก้นหรือข้างชาม ให้จุ่มค้างไว้ 10 - 15 วินาที หรือจนกว่าเข็มอุณหภูมิจะนิ่ง [6]
    • คุณหาซื้อ candy thermometer ราคาย่อมเยา ได้ตามแผนกเครื่องครัวหรืออุปกรณ์ทำขนมในห้างสรรพสินค้า หรือในเน็ต
  6. Watermark wikiHow to ลวกนม
    ลวกนม เอาออกมาคน แล้วหมั่นเช็คอุณหภูมิทุก 30 วินาทีไปเรื่อยๆ. ต้องอุ่นนมให้ร้อนขึ้นเรื่อยๆ ทีละนิด อย่าลวกทีเดียวจนนมเดือด ไหม้ หรือร้อนเกินไป ปกติจะใช้เวลาประมาณ 3 - 4 นาที นมที่ลวกด้วยไมโครเวฟถึงจะได้อุณหภูมิที่เหมาะสม เท่ากับต้องทยอยอุ่นแล้วคนไปเรื่อยๆ ประมาณ 6 - 8 ครั้ง [7]
    • การนำนมออกมาคนเรื่อยๆ จะทำให้นมไม่จับตัวเป็นชั้นฟิล์มบางๆ ด้านบนด้วย
  7. เลิกเวฟนมได้ เมื่ออุณหภูมิสูงถึง 80 องศาเซลเซียส (180 องศาฟาเรนไฮต์). ห้ามให้อุณหภูมินมสูงเกิน 100 องศาเซลเซียส (212 องศาฟาเรนไฮต์) เด็ดขาด ถ้าเกิน 100 องศาเซลเซียส (212 องศาฟาเรนไฮต์) เท่ากับต้องเริ่มลวกนมชามใหม่กันแต่แรกเลย เพราะโปรตีนและกระบวนการทางเคมีของนมจะเปลี่ยนไปเมื่อนมเดือด ไม่ตรงตามสูตรเหมือนการลวกนม [8]
    • ย้ำว่าต้องใช้ผ้าหรือถุงมือจับของร้อน เวลายกชามออกจากไมโครเวฟ
  8. พักนมให้เย็นลงจนเท่าอุณหภูมิห้อง แล้วค่อยนำไปทำอาหารหรือขนม. อย่าเพิ่งงงว่าทำไมลวกนมเสร็จแล้วต้องปล่อยให้เย็นก่อนใช้ จริงๆ แล้วจุดสำคัญไม่ได้อยู่ที่อุณหภูมิของนม เราลวกนมเพราะต้องการให้เกิดปฏิกิริยากับโปรตีนในนมระหว่างลวกต่างหาก ให้ตั้งชามนมพักไว้จนอุณหภูมิลดเหลือประมาณ 40 องศาเซลเซียส (105 องศาฟาเรนไฮต์) หรือน้อยกว่า ค่อยนำไปทำอาหารหรือขนมต่อไป [9]
    • ถ้าเทผสมกับวัตถุดิบอื่นทั้งที่นมกำลังร้อนๆ ระวังสูตรจะเพี้ยนหรือเสียไปเลย เช่น ถ้าผสมนมร้อนจัดในไข่ ไข่จะเริ่มจับตัวเป็นก้อน ไข่สุก หรือทำให้ยีสต์ตายจนขนมไม่ขึ้นฟูได้เลย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ตั้งไฟ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ลวกนม
    เทนมที่ตวงแล้วใส่หม้อแบบมีด้ามจับที่ตั้งเตาไว้. ถ้าตวงนมไว้ล่วงหน้า ก็สบายใจได้ว่าไม่เสียของ นมไม่เยอะเกินไปหรือน้อยจนไม่พอ แถมสะดวกกว่า เพราะหลังลวกนมแล้วก็เทผสมกับวัตถุดิบอื่นได้เลย ไม่ต้องมาเสียเวลาตวงทีหลัง [10]
    • หม้อแบบ heavy-bottom คือก้นหนา จะเหมาะสำหรับใช้ลวกนมมากที่สุด เพราะกระจายความร้อนได้ทั่วถึง [11]
    • จะนมเต็มมันเนย พร่องมันเนย หรือนมผง ก็นำมาลวกได้ทั้งนั้น แต่ถ้าเป็นนมที่ไม่ใช่นมวัว อย่างนมอัลมอนด์ นมถั่วเหลือง นมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ไปจนถึงกะทิ จะขาดโปรตีนสำคัญที่ทำปฏิกิริยาตอนลวกนม
  2. อุณหภูมิอุ่นประมาณนี้ ช่วยให้นมไม่ร้อนจัดเร็วเกินไป ลดความเสี่ยงเผลอทำนมไหม้ เราแค่ต้องการจะลวกนม ไม่ได้จะต้มสุกให้นมเดือด หรือแย่กว่านั้นคือไหม้กรังติดก้นหม้อ [12]
    • ระหว่างอุ่นและลวกนมต้องเฝ้าไว้ตลอด ปกติจะใช้เวลาลวกนมทั้งหมดไม่เกิน 4 - 5 นาที
  3. Watermark wikiHow to ลวกนม
    หมั่นคนเรื่อยๆ จนมีไอน้ำและฟองผุดที่ขอบหม้อ. การคนช่วยไม่ให้เกิดชั้นฟิล์มบางๆ ที่ผิวนม ซึ่งถ้ามีแล้วจะนำไปใช้ทำขนมอบไม่ได้เลย นอกจากนี้ถ้าคนนมเรื่อยๆ จะช่วยกระจายความร้อนในนมให้ทั่วถึงด้วย [13]
    • จะคนนมด้วยไม้พายหรือไม้พายซิลิโคนก็ได้ แต่ห้ามใช้อะไรที่เป็นโลหะ เพราะโลหะจะทำปฏิกิริยากับโปรตีนในนมได้
  4. Watermark wikiHow to ลวกนม
    จะมีฟองอากาศเล็กๆ ผุดขึ้นมาในนม แต่ต้องระวังอย่าให้นมถึงขั้นเดือดปุดๆ (เหมือนเวลาต้มน้ำเตรียมทำพาสต้า) [14]
    • ยกหม้อลงจากเตาแล้ว ให้วางพักไว้บนพื้นผิวที่ทนความร้อน หรือจะยกไปวางที่หัวเตาอื่นที่ว่างและเย็นอยู่ก็ได้ อีกทีคือใช้แผ่นรองหม้อ แล้ววางพักไว้บนเคาน์เตอร์
  5. พักไว้ให้นมเย็นลงจนถึงประมาณ 40 องศาเซลเซียส (105 องศาฟาเรนไฮต์). ถ้าเทนมที่เพิ่งลวกเสร็จร้อนๆ ใส่ในส่วนผสมอื่น อาจทำให้ยีสต์ตายจนขนมอบไม่ฟู หรือทำให้ไข่สุกได้ จนทำให้สูตรเพี้ยนหรือพังไปเลย ปกติให้พักนมที่ลวกเสร็จไว้ประมาณ 5 - 10 นาที ก็เย็นลง พร้อมใช้แล้ว ระหว่างนั้นก็ไปเตรียมวัตถุดิบอื่นได้เลย [15]
    • เช็คอุณหภูมินมด้วย candy thermometer หรือที่วัดอุณหภูมิน้ำเชื่อม โดยจุ่มลงไปในนม อย่าให้โดนก้นหรือข้างหม้อ รอประมาณ 15 วินาที หรือจนกว่าเข็มบอกอุณหภูมิจะนิ่ง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ามีแต่นมพร่องมันเนย ให้ผสมนมพร่องมันเนย 1 ถ้วยตวง (240 มล.) กับเนยที่ละลายแล้ว 1 หรือ 1/2 ช้อนชา (5 หรือ 2.5 มล.) ใช้แทนนมเต็มมันเนย 1 ถ้วยตวงในสูตรได้เลย [16]
  • แต่งกลิ่นและรสของนมที่ลวกแล้ว ด้วยฝักวานิลลา ผิวส้มหรือมะนาว และสมุนไพรอื่นๆ อย่างมิ้นท์ (สะระแหน่) หรือลาเวนเดอร์ ก็ช่วยให้สูตรขนมน่าสนใจขึ้นได้ [17]
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

ใช้ไมโครเวฟ

  • ถ้วยตวง
  • ชามทนความร้อน
  • ตะเกียบไม้ หรือไม้เสียบลูกชิ้น
  • ทัพพีหรือไม้พาย ที่ทำจากไม้หรือซิลิโคน
  • Candy thermometer หรือที่วัดอุณหภูมิน้ำเชื่อม
  • ผ้าหรือถุงมือจับของร้อน

ตั้งไฟ

  • หม้อแบบ heavy saucepan (ก้นหน้า กระจายความร้อนดี)
  • ถ้วยตวง
  • Candy thermometer หรือที่วัดอุณหภูมิน้ำเชื่อม
  • ทัพพีหรือไม้พาย ที่ทำจากไม้หรือซิลิโคน

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,858 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา