ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

นิ่วในไต (kidney stones) เป็นก้อนเล็กๆ แข็งๆ ที่เกิดจากแร่ธาตุสะสม จับตัวกันเป็นผลึกในไต นิ่วจะฝังตัวอยู่ในทางเดินปัสสาวะ จนทำให้เจ็บไปจนถึงเจ็บมากได้ หลายคนนิยมใช้วิธีธรรมชาติในการละลายและขับนิ่วในไต แต่ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้ควบคู่กันไปกับการรักษาทางการแพทย์ เพราะก้อนนิ่วอาจจะใหญ่เกินไป บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการขับนิ่วในไตให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้วิธีธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นิ่วจะตอบสนองต่อวิธีธรรมชาติที่คุณใช้แค่ไหน ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนนิ่ว
    • จะรักษาด้วยวิธีธรรมชาติแล้วเห็นผลดี ก้อนนิ้วต้องเล็กกว่า 1/10 นิ้ว (3 มม.)
    • ถ้าก้อนนิ่วใหญ่จนมีขนาดประมาณ 3/10 นิ้ว (8 มม.) จะเหลือโอกาสละลายแล้วขับออกมาด้วยวิธีธรรมชาติได้แค่ 20%
    • ก้อนนิ่วที่ใหญ่ 2/5 นิ้ว (1 ซม.) นี่แทบไม่มีโอกาสรักษาเอง ต้องหาหมอลูกเดียว
  2. น้ำจะช่วยชะหรือขับเอานิ่วออกมา เพราะงั้นต้องพยายามดื่มน้ำให้ได้ 2 - 3 ควอร์ต (2 - 3 ลิตร) ต่อวัน [1]
    • ต้องดื่มน้ำเยอะขนาดที่ฉี่ออกมาแล้วใสหรือเกือบใสทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ ดื่มน้ำเปล่านี่แหละดีที่สุด
  3. พยายามบีบเลมอนใส่น้ำดื่ม หรือกินอะไรที่ผสมน้ำเลมอน
    • เลมอนมีกรดซิตริกสูง ว่ากันว่าช่วยละลายนิ่วในไตที่เป็นแคลเซียมได้ดี พอนิ่วแตกตัวก็จะถูกขับออกมาทางฉี่ได้ง่ายขึ้น ไม่เจ็บ [2]
    • ดื่มน้ำเลมอนคั้นสดให้ได้วันละ 1/2 ถ้วยตวง (125 มล.) [3]
    • น้ำผลไม้อื่นจะไม่ค่อยได้ผลเท่า อย่างน้ำแครนเบอร์รี่ น้ำแอปเปิ้ล และน้ำเกรปฟรุต จริงๆ แล้วยิ่งเพิ่มความเสี่ยงการเกิดนิ่วด้วยซ้ำ ไม่ได้ช่วยละลาย
  4. พยายามลดโซเดียมในแต่ละวันให้เหลือแค่ไม่ถึง 3 กรัม และกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์แต่พอควร
    • เกลือจะไปเพิ่มแคลเซียมในฉี่ ทำให้ยิ่งเพิ่มนิ่วในไตเพราะเป็นแคลเซียมเหมือนกัน มีบางงานวิจัยชี้ว่าโซเดียมยังไปเพิ่ม urate ด้วย ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้นิ่วในไตก่อตัว
    • โปรตีนจะไปเพิ่มระดับกรดยูริก (uric acid), แคลเซียม และออกซาเลต (oxalate) ในฉี่ ในขณะเดียวกับที่ลดซิเตรท (citrate) โปรตีนจากเนื้อสัตว์ยิ่งน่าเป็นห่วง เพราะซัลเฟอร์สูง เลยยิ่งเพิ่มกรดกว่าโปรตีนจากพืช
  5. ให้เน้นธัญพืชเต็มเมล็ด (โฮลเกรน) และผักสด ระหว่างที่พยายามจะละลายและขับนิ่วในไต
    • พวกอาหารที่กากใยสูงมักมีไฟเตต (phytate) ที่ช่วยป้องกันและลดการสะสมตกผลึกของเกลือแคลเซียมที่ทำให้เกิดนิ่ว ปกติไฟเตตพบมากในถั่วฝัก ข้าวสาลี และรำข้าว
  6. ถ้าเป็นชาหรือกาแฟก็พอดื่มได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นแบบดีแคฟ (decaffeinated) หรือไม่มีคาเฟอีน
    • น้ำอัดลมที่มีกรดฟอสฟอริก (phosphoric acid) จะไปลดซิเตรตในฉี่ ทำให้นิ่วแย่กว่าเดิม แต่ถ้าเป็นน้ำอัดลมที่มีซิเตรตก็พอได้
    • ถึงจะบอกว่ากาแฟและชาดื่มได้ไม่เป็นไร แต่ยังไงน้ำเปล่าก็เป็นเครื่องดื่มที่ดีที่สุดสำหรับคนเป็นนิ่วในไตอยู่ดี
    • หลีกเลี่ยงคาเฟอีนให้ได้มากที่สุด บางแหล่งข้อมูลก็ว่าคาเฟอีนไม่ส่งผลต่อนิ่ว แต่บางแหล่งก็ว่าคาเฟอีนทำให้ขาดน้ำ จะทำให้นิ่วแย่กว่าเดิม เพราะงั้นทางที่ดีให้เลือกเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีน
  7. แค่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวตามปกติก็ช่วยขับนิ่วในไตได้แล้ว เพราะงั้นก็ออกกำลังกายเบาๆ ถึงปานกลาง ไม่ต้องหนักมาก
    • เป็นนิ่วในไตแล้วเจ็บมาก อาจจะออกกำลังกายไม่ค่อยได้มาก ให้ออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินไปมา จากนั้นพักมากๆ เพื่อลดอาการเจ็บปวด ยังไงก็ขอให้ขยับตัวเข้าไว้ พอเจ็บเกินทนเมื่อไหร่ค่อยพักผ่อน
  8. มีบางข้อมูลที่ชี้ว่าความเครียดมีผลต่อการเกิดนิ่วในไต ถึงจะไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าคลายเครียดแล้วจะช่วยขับนิ่วที่เป็นอยู่ได้ไหม แต่อย่างน้อยก็ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดนิ่วก้อนใหม่ เลยทำให้อาการไม่หนักไปกว่าเดิม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้ยาที่คุณหมอจ่ายให้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. alpha-blocker ช่วยคลายกล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) ในร่างกาย คนเลยนิยมใช้รักษานิ่วในไต, โรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก และความดันสูง [4]
    • ปกติยาตัวอื่นจะจ่ายตามสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่ว แต่ alpha-blocker ใช้รักษานิ่วในไตได้ทุกประเภท
    • alpha-blocker ที่คุณหมอมักจ่ายให้คือ Tamsulosin นอกเหนือจากนี้ก็มี Alfuzosin, Doxazosin, Silodosin และ Terazosin
  2. ปรึกษาคุณหมอเรื่องใช้ยาสำหรับนิ่วบางชนิดโดยเฉพาะ. ยาบางตัวก็ใช้รักษานิ่วเฉพาะเจาะจงตามสาเหตุไป [5] ยาบางตัวอาจใช้ขับนิ่วในไต แต่ยาบางตัวก็ใช้ป้องกันการเกิดนิ่วในไต
    • นิ่วที่เกิดจากแคลเซียมคือนิ่วในไตที่พบบ่อยที่สุด ยาที่ใช้รักษานิ่วชนิดนี้ได้แก่ thiazides, potassium citrates และ orthophosphates
    • นิ่วจากกรดยูริกนับเป็น 5 - 10% ของนิ่วในไต ยาที่ใช้รักษานิ่วชนิดนี้คือ potassium citrate, sodium bicarbonate และ allopurinol
    • นิ่วที่เกิดจากสารซีสตีน (cystine stones) จะพบได้ยากกว่า ปกติรักษาโดยใช้ยา potassium citrate, penicillamine, tiopronin หรือ captopril
    • นิ่วสตรูไวท์ (struvite stones) เกิดจากการติดเชื้อในไตซ้ำๆ เป็นนิ่วที่ไม่ค่อยตอบสนองกับยารักษา คุณหมอมักจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อที่เป็นอยู่ รวมถึงยายับยั้งเอนไซม์ยูรีเอส (urease inhibitors)
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาทางการแพทย์เพิ่มเติม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy (ESWL) หรือการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก นิยมใช้กับก้อนนิ่วขนาดใหญ่ 80 - 90% เว้นแต่กรณีที่นิ่วอยู่ต่ำลงไป 1 ใน 3 ของท่อไต (ureter)
    • เวลารักษาด้วย ESWL คนไข้จะนอนใต้เครื่องชื่อ lithotripter ที่จะปล่อยคลื่นเสียงแรงดันสูงทะลุผ่านร่างของคนไข้ คลื่นกระแทกนี้แรงพอจะสลายนิ่วในไตขนาดใหญ่ให้กลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งจะขับออกมาทางปัสสาวะตามปกติ
  2. คือส่องกล้องและสอดอุปกรณ์ไปทำให้นิ่วแตกตัวหรือสลายก้อนนิ่วขนาดใหญ่ [6]
    • คุณหมอจะสอด Ureteroscope หรืออุปกรณ์ที่เป็นท่อยาวๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะ (urethra) และกระเพาะปัสสาวะ จนถึงท่อไตที่นิ่วมักก่อตัวและติดค้างอยู่
    • รวมถึงใช้อุปกรณ์พิเศษสำหรับสลายนิ่วโดยเฉพาะ แต่ถ้าก้อนนิ่วใหญ่เกินไป จะใช้เลเซอร์ผ่าเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยให้ขับออกมาทางฉี่แทน
  3. เป็นขั้นตอนที่คล้ายกันกับ ureteroscopy แต่จะยุ่งยากกว่า เลยสงวนไว้ใช้กับเคสที่รุนแรง
    • คุณหมอจะสอดท่อเข้าไปที่ไตโดยตรง ผ่านรอยผ่าเล็กๆ ที่หลัง แล้วปล่อยคลื่นกระแทกให้ก้อนนิ่วแตกตัว แล้วจคงสอดท่อเล็กๆ เรียกว่า nephrostomy tube เข้าไปในไตเพื่อดูดฉี่ออกไปพร้อมเศษนิ่ว
    • ปกติหลังผ่า คนไข้จะพักฟื้นในโรงพยาบาล 2 - 3 วัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อาจจะต้องฉี่ผ่าน strainer หรือที่กรอง เพื่อเก็บตัวอย่างนิ่วที่ถูกขับออกมา คุณหมอจะได้นำไปวินิจฉัยหาวิธีขับนิ่วที่เหลือหรือป้องกันไม่ให้เกิดนิ่วซ้ำ
  • กินยาแก้ปวดตามต้องการ หรือตามคำแนะนำของคุณหมอ ถึงสุดท้ายคุณจะหาทางขับนิ่วได้โดยไม่พึ่งวิธีทางการแพทย์ แต่ก็จะยังมีอาการเจ็บปวดอยู่ดี เพราะงั้นให้ใช้ยาแก้ปวด เช่น ibuprofen, acetaminophen และ naproxen sodium จะช่วยได้มาก
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามดื่มแอลกอฮอล์เพื่อขับนิ่วในไต จริงอยู่ว่าแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ คือทำให้ฉี่บ่อยขึ้นหรือเยอะขึ้น แต่ก็น้ำตาลสูง ทำให้นิ่วที่เป็นอาจจะแย่กว่าเดิม
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มอื่นๆ
  • เลมอน
  • แหล่งไฟเบอร์ (กากใย) ตามธรรมชาติ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,354 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา