ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มีคำพูดหนึ่งที่ผู้ใหญ่มักจะสอนเราตอนเด็กๆ ว่า “แม้ท่อนไม้และก้อนหินอาจจะทำให้กระดูกเราหักได้ แต่คำพูดไม่มีทางทำร้ายเราได้หรอก” ซึ่งนั่นไม่จริงเสมอไป เพราะเวลาที่มีใครสักคนมาเรียกชื่อเราในเชิงดูถูก หรือดูถูกความสามารถของเรา คำพูดเหล่านั้นก็อาจจะเป็นสิ่งที่ทำร้ายจิตใจเราได้เหมือนกัน ฉะนั้น ให้ลองเรียนรู้วิธีลืมคำพูดที่เจ็บปวดเหล่านั้นออกไปจากใจด้วยการลดอิทธิพลของคำพูดเหล่านั้น และเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเอง รวมถึงเรียนรู้วิธีรักษาบาดแผลทางอารมณ์เอาไว้ด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รับมือกับคำพูดที่เจ็บปวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จำไว้ว่าคำพูดของคนอื่นก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงตัวพวกเขาเอง ไม่ใช่คุณ ซึ่งบางครั้ง เวลาที่คนอื่นโจมตีคุณด้วยคำพูดแรงๆ บางทีนั่นอาจจะเป็นเพราะว่าพวกกำลังรู้สึกเจ็บปวดอยู่ในใจก็เป็นได้ และคนทุกคนก็ล้วนเคยเป็นแบบนี้ในบางครั้งบางคราว และมักจะทำออกไปโดยไม่ทันคิด และก็อาจจะรู้สึกเสียใจกับสิ่งที่ทำไปในภายหลังก็เป็นได้ [1]
    • หากมีใครมาพูดอะไรที่ทำร้ายจิตใจคุณ ให้คุณพยายามเตือนตัวเองเอาไว้ว่าพวกเขาอาจจะกำลังรู้สึกเจ็บปวดอยู่ก็ได้ และแสดงให้พวกเขาเห็นไปเลยว่าคุณเข้าใจความรู้สึกพวกเขา ดีกว่าที่จะไปเก็บเอาคำพูดของพวกเขามาคิดมาก
  2. หากมีใครมาพูดจาทำร้ายจิตใจคุณ ให้คุณตอบโต้กลับไปอย่างนุ่มนวลด้วยวิธีที่ทำให้พวกเขาฉุกคิดขึ้นมาได้ และอย่าไปทำให้พวกเขาคิดว่าตัวเองคิดถูกแล้วที่พูดคำพูดเหล่านั้นออกมา ซึ่งไม่ว่าคนอื่นจะตั้งใจให้คำพูดของพวกเขาทำร้ายความรู้สึกคุณหรือไม่ก็ตาม การที่ตอบโต้กลับไปด้วยวิธีแบบนี้จะสามารถทำให้พวกเขาเริ่มรู้สึกไม่แน่ใจ และก็อาจจะหยุดทำแบบนั้นไปในที่สุด และเริ่มฉุกคิดว่าคำพูดของพวกเขามีผลกระทบกับคุณอย่างไรบ้าง
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะพูดว่า “ว้าว...คือว่าฉันแปลกใจมากเลยที่ได้ยินคนดีๆ แบบเธอพูดอะไรใจร้ายแบบนั้นน่ะ”
  3. กำหนดเวลาให้ตัวเองได้นั่งคิดถึงคำพูดเหล่านั้น. แทนที่จะมัวแต่ยึดติดอยู่กับคำพูดที่คนอื่นพูดทำร้ายความรู้สึกคุณ เราอยากให้คุณวางเดดไลน์ให้ตัวเองได้นั่งคิดถึงคำพูดพวกนั้นเอาไว้เลย และภายในช่วงเวลาที่คุณกำหนดขึ้นมานี้ ก็ให้คุณรับรู้ถึงความรู้สึกเจ็บปวดเหล่านั้นเอาไว้ หลังจากนั้นก็ปล่อยมันไปซะ [2]
    • อย่างเช่นถ้าปกติคุณมักจะใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ หรือเป็นวันๆ หมดไปกับการนั่งคิดมากถึงคำพูดเหล่านั้น ให้คุณเริ่มตั้งเวลาให้ตัวเองสัก 10 นาที จากนั้นก็นั่งคิดดูว่าคำพูดเหล่านั้นมันทำให้คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง แล้วก็รับรู้ถึงความเจ็บปวดนั้นเอาไว้ และเมื่อหมดเวลาแล้ว ให้คุณตัดความรู้สึกนั้นออกไป และไม่ต้องหยิบยกขึ้นมาอีก
  4. เขียนคำพูดเหล่านั้นลงกระดาษ แล้วทำลายกระดาษแผ่นนั้น. หากคุณเป็นคนประเภทที่ชอบลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง คุณอาจจะลดอิทธิพลของคำพูดที่ทำร้ายจิตใจเหล่านั้นด้วยการทำลายมันไปก็ได้ โดยให้คุณเขียนคำพูดพวกนั้นลงไปในกระดาษแผ่นหนึ่ง จากนั้นคุณอาจจะฉีกกระดาษออกเป็นชิ้นๆ หรือโยนเข้าไปในกองไฟ หรือว่าจะขีดฆ่าคำพูดพวกนั้นด้วยดินสอหรือปากกาก็ได้ [3]
  5. ให้คุณทดแทนผลกระทบแบบลบๆ ที่เกิดจากคำพูดเหล่านั้นด้วยการแทนที่มันด้วยคำพูดที่เป็นเชิงบวกของตัวเอง วิธีนี้ช่วยได้จริง เพราะคุณได้ตัดคำพูดแย่ๆ เหล่านั้นออกไปจากใจด้วยการใช้คำพูดที่เป็นด้านบวกและช่วยยกระดับจิตใจเข้ามาแทนที่นั่นเอง [4]
    • ตัวอย่างเช่น หากมีใครบางคนมาพูดกับคุณว่า “แกมันขี้เหร่” คุณอาจจะแทนที่คำพูดแบบนี้ด้วยการพูดกับตัวเองว่า “ในโลกนี้มีคนแบบเราเพียงคนเดียวเท่านั้น เรามีความพิเศษ และเราก็ไม่เหมือนใครด้วย”
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สร้างความเชื่อมั่นในตัวเองขึ้นมาอีกครั้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้คำพูดเหล่านั้นมาเป็นแรงผลักดันเพื่อทำให้ตัวเองแข็งแกร่งขึ้น. เหตุการณ์แบบนี้ทดสอบอะไรในตัวคุณได้บ้าง? ลองประเมินคำพูดที่เจ็บปวดเหล่านั้นไว้ด้วย แล้วดูว่าตัวเองจะสามารถเปลี่ยนมันให้กลายเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาตัวเองได้หรือเปล่า และถามตัวเองด้วยว่าทำไมคำพูดเหล่านั้นถึงทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวด และคุณจะสามารถทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้บ้าง [5]
    • ตัวอย่างเช่น หากมีคนมาพูดกับคุณว่า “แกมันอ่อนแอ” แล้วคุณก็เชื่อในสิ่งที่พวกเขาพูดมา นั่นอาจจะยิ่งทำให้คุณรู้สึกทุกข์ใจหรือโมโหได้ แต่ถ้าคุณตัดสินใจลุกขึ้นมาจัดการกับสิ่งนี้ อย่างเช่น เรียนรู้ที่จะปกป้องตัวเอง หรือเสริมความแข็งแกร่งให้กับจิตใจ คุณก็จะสามารถป้องกันไม่ให้คำพูดพวกนั้นมาทำร้ายจิตใจคุณได้อีก
  2. ใช้ประสบการณ์และมุมมองของตัวเองเพื่อช่วยเหลือคนอื่น. คำพูดที่ทำร้ายจิตใจนั้นมักจะมาจากพื้นที่ที่เจ็บปวดหรือความไม่มั่นคงภายในจิตใจของคนๆ หนึ่ง ฉะนั้น ให้คุณลองพิจารณาดูว่าคนที่พูดแบบนั้นออกมาน่าจะได้เจอเรื่องราวอะไรในชีวิตมาบ้าง และลองคิดดูว่าตัวคุณเองน่าจะทำหรือพูดอะไรเพื่อช่วยเหลือคนๆ นั้นได้บ้าง นอกจากนี้ คุณอาจจะเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเองด้วยการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือและให้การสนับสนุนแก่คนอื่นๆ ที่ถูกทำร้ายด้วยคำพูดที่ทารุณหรือไร้จิตใจด้วยก็ได้
  3. ให้ความสำคัญกับความเชื่อของตัวเองเป็นอันดับแรก. ความเชื่อมั่นในตัวเองมักจะสั่นคลอนเสมอเวลาที่คุณปล่อยให้คนอื่นมากำหนดว่าคุณควรจะต้องรู้สึกกับตัวเองอย่างไร ฉะนั้น อย่าให้น้ำหนักกับสิ่งที่คนอื่นคิดเกี่ยวกับตัวคุณมากไป และให้ถือเอาความเชื่อของตัวเองมาเป็นอันดับแรก [6]
    • ตัวอย่างเช่น หากมีใครบางคนมาพูดว่า “แกเป็นคนที่ไม่มีค่าพอสำหรับอะไรเลยสักอย่าง” แต่ในใจคุณไม่เชื่อแบบนั้น ก็ให้คุณเตือนตัวเองด้วยสิ่งที่ตัวเองเชื่อมั่น โดยคุณอาจจะพูดกับตัวเองว่า “นั่นไม่จริงหรอก ฉันเชื่อว่าโชคชะตากำหนดฉันมาเพื่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่”
  4. ทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จเพื่อทำให้ตัวเองมีความเชื่อมั่นมากขึ้น. วิธีที่คุณรู้สึกกับตัวเองและความสามารถของตัวเองนั้นมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับความเชื่อมั่นในตัวเองของคุณ ฉะนั้น คุณอาจจะเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเองด้วยการทำในสิ่งที่ท้าทายมากขึ้นก็ได้ ลองคิดถึงเป้าหมายหรืองานบางอย่างที่คุณอยากจะทำให้สำเร็จดู จากนั้นก็แบ่งออกเป็นขั้นย่อยๆ ที่จะทำให้คุณสามารถทำมันให้สำเร็จไปทีละขั้นได้ [7]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณอยากจะมีอิสระทางการเงิน คุณอาจจะเริ่มต้นจากการหางานทำก่อน จากนั้น ก็อาจจะมองหาที่อยู่ที่เหมาะสมกับระดับรายได้ของคุณ ต่อจากนั้น คุณอาจจะเปิดบัญชีออมทรัพย์ไว้ หรือไม่ก็ลงทุนในหุ้นที่จะเป็นประโยชน์ต่อสถานะทางการเงินในระยะยาวของคุณก็ได้
    • การทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จตามขั้นตอนที่วางไว้จะช่วยทำให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้น และทำให้คุณมีความเชื่อมั่นมากกว่าเดิมว่าตัวเองมีความสามารถที่จะรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ที่เข้ามา
  5. หายใจลึกๆ และท่องวลีที่ช่วยเพิ่มพลังในตัวเองซ้ำๆ . การหายใจลึกๆ เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายได้ และเมื่อนำมาคู่กับวลีหรือคำพูดด้านบวกแล้ว การฝึกนี้ก็จะช่วยคุณ สร้างความเชื่อมั่น ทั้งในตัวเองและในความสามารถของตัวเองได้ [8]
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะหายใจเข้าลึกๆ ผ่านทางจมูกแล้วพูดในใจว่า “ฉันหายใจเอาความมั่นใจและความเชื่อมั่นในตัวเองเข้ามา” แล้วหายใจค้างไว้สักสองสามวินาที จากนั้นหายออกพร้อมกับพูดในใจว่า “ฉันหายใจออกพร้อมกับเอาสิ่งลบๆ และข้อกังขาในใจออกไปด้วย”
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เยียวยาตัวเองจากคำพูดที่เจ็บปวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฝึกที่จะรักตัวเอง ทุกวัน. เมื่อคุณละเลยอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง คำพูดที่เจ็บปวดต่างๆ ก็มีแนวโน้มที่จะทำร้ายจิตใจคุณได้มากขึ้นไปอีก ฉะนั้น ให้คุณต่อต้านคำพูดหรือการกระทำเชิงลบที่มาจากคนอื่นด้วยการปฏิบัติต่อตัวเองด้วยความเมตตา ซึ่งนี่สามารถตีความได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากจะทำอะไร ฉะนั้น ให้คุณเขียนลิสต์เกี่ยวกับกิจกรรมเชิงบวกที่คุณชอบทำมากที่สุดออกมา หลังจากนั้นก็มุ่งมั่นทำสิ่งที่อยู่ในลิสต์นั้นสักสองสามอย่างให้ได้ทุกวัน [9]
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเลือกทำอาหารเพื่อสุขภาพให้ตัวเองทาน หรือไม่ก็พาสุนัขออกไปเดินเล่นแถวๆ ทะเลสาบ หรืออาจจะนั่งสมาธิก่อนนอนก็ได้
  2. ในความขัดแย้งและประสบการณ์ที่เจ็บปวดย่อมมีสิ่งให้เรียนรู้อยู่เสมอ และถ้าคุณได้ผ่านความเจ็บปวดนั้นมาแล้ว ให้คุณลองใช้เวลาสักช่วงหนึ่งเพื่อพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งที่น่าจะนำมาคิดก็มีอย่างเช่น
    • มีอะไรที่อาจจะเกิดขึ้นในชีวิตของคนอื่น หรือในความสัมพันธ์ที่คุณมีกับพวกเขาบ้าง ที่น่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดคำพูดที่ทำร้ายจิตใจแบบนั้น?
    • ในคำพูดเหล่านั้นมีข้อเท็จจริงที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณอยู่บ้างหรือเปล่า? ถึงแม้ว่ามันอาจจะเป็นคำพูดที่ฟังดูหยาบกระด้างหรือเปล่าประโยชน์ก็ตามที
    • หากในอนาคตมีใครมาพูดแบบนี้กับคุณอีก คุณจะรับมือกับคำพูดแบบนั้นในทางที่ดีขึ้นได้อย่างไร?
  3. คนที่คิดบวกมักจะนำมาซึ่งสิ่งที่เป็นด้านบวก และคนที่คิดลบก็มักจะนำสิ่งที่เป็นด้านลบมากับตัวด้วย ฉะนั้น ให้คุณสร้างทางเลือกนี้ขึ้นมาเพื่อลดการใช้เวลาอยู่กับคนที่คิดลบหรือคนที่มีความคิดอันตรายที่ชอบติเตียนและลดคุณค่าในตัวคุณ และให้เลือกใช้เวลาอยู่กับคนที่คอยสนับสนุนคุณ และเห็นคุณค่าในสิ่งที่คุณทำออกมาแทนจะดีกว่า [10]
  4. วิธีดีๆ วิธีหนึ่งที่จะช่วยเยียวยาตัวเองจากคำพูดที่เจ็บปวดได้ก็คือ การทำกิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบ โดยคุณอาจจะเลือกทำงานอดิเรกสักอย่างหนึ่ง หรือไม่ก็เข้าร่วมชมรมหรือองค์กรที่ตัวเองสนใจ หรืออาจจะกลับไปเริ่มทำในสิ่งที่ตัวเองล้มเลิกเมื่อนานมาแล้วก็ได้ ฉะนั้น ในกิจวัตรประจำวันและประจำสัปดาห์ของตัวเอง ให้คุณจัดการแบ่งเวลาให้กับสิ่งต่างๆ ที่ทำให้คุณยิ้มได้เข้าไปซะ [11]
    • วิธีนี้อาจจะรวมไปถึงการทำตามความหลงใหลในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ของตัวเอง หรืออาจจะสอนทักษะที่ตัวเองทำได้ดีอยู่แล้วให้กับคนอื่นๆ หรือไม่ก็อาจจะเพิ่มพูนความรู้ของตัวเองเกี่ยวกับการเย็บปักถักร้อยหรือการทำสวนก็ได้
  5. ให้คุณกระตุ้นการเยียวยาความรู้สึกของตัวเองด้วยการทำสิ่งดีๆ ให้แก่คนอื่นให้มากกว่าเดิม และมุ่งมั่นที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในชีวิตและในชุมชนของตัวเองในเชิงบวกมากขึ้น
    • ให้คุณปฏิบัติกับคนที่คุณรักในเชิงบวกด้วยการแสดงออกมาว่าคุณเห็นคุณค่าในตัวพวกเขา และทำให้พวกเขารับรู้ถึงด้านดีๆ ที่คุณเห็นในตัวพวกเขา ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะพูดว่า “ชัย คุณช่วยเหลือฉันได้เสมอเลย ถ้าไม่มีคุณฉันคงทำอะไรไม่ถูกจริงๆ “ [12]
    • นอกจากนี้คุณอาจจะลองทำสิ่งดีๆ ให้คนอื่นอีก เช่น ช่วยเพื่อนบ้านทำงานสวน หรือจ่ายมื้อกลางวันให้คนที่อยู่ข้างหลังคุณตอนอยู่ในร้าน หรือคุณอาจจะส่งต่อสิ่งดีๆ ในชุมชนของตัวเองด้วยการเป็นอาสาสมัครหรือบริจาคเงินเพื่อการกุศลก็ได้
  6. เขียนบันทึกประจำวันเพื่อทำความเข้าใจความรู้สึกของตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม. การเขียนความคิดของตัวเองลงบนกระดาษนั้นช่วยทำให้คุณมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกภายในของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ เวลาที่คุณเขียนคำพูดเหล่านั้นลงไป มันก็เหมือนว่าคุณได้หยุดคำพูดเหล่านั้นไม่ให้ดึงคุณจมดิ่งลงไปด้วย ฉะนั้น ให้คุณเริ่มเขียนบันทึกประจำวันให้กลายเป็นนิสัย โดยให้เขียนนานสักสองสามนาทีให้ได้ทุกวัน [13]
    • คุณอาจจะเขียนบันทึกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน หรืออาจจะเขียนตามประเด็นที่ใช้สำหรับเขียนบันทึกประจำวัน (journal prompt) ที่สามารถหาดูได้ในอินเทอร์เน็ตก็ได้ หรือว่าคุณจะจดบันทึกเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองรู้สึกยินดีในชีวิตสักสองสามอย่างก็ได้อีกเช่นกัน
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,729 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา