ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
Gorilla Glue ก็เหมือนกาวตราช้างบ้านเรา คือติดแน่นทนนานเป็นพิเศษ ทั้งน้ำและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปไม่มีผล แต่เวลาใช้ Gorilla Glue ต้องระวัง เพราะถ้าติดตามมือหรือพื้นผิวต่างๆ แล้ว ก็เหมือนกาวตราช้างคือล้างออกยากมาก แต่บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการล้างกาว Gorilla Glue ให้คุณเอง เริ่มจากทำให้กาวนิ่มด้วยน้ำ ผลไม้รสเปรี้ยว หรืออะซิโตน พอกาวแฉะแล้ว ก็ขัดหรือลอกออกด้วยแปรงสีฟันหรืออะไรที่ไม่มีคม พอทำตามขั้นตอนไปได้ 2 - 3 รอบ ก็จะล้างกาวออกได้อย่างง่ายดาย
ขั้นตอน
-
ล้างบริเวณที่กาวติด โดยใช้น้ำผสมน้ำยาล้างจาน. บีบน้ำยาล้างจาน 1 ช้อนโต๊ะ (15 มล.) ใส่อ่างหรือกะละมังที่เติมน้ำอุ่นไว้ 2 ถ้วยตวง (ประมาณ 500 มล.) แช่ผิวที่เลอะกาวทิ้งไว้ในน้ำ 5 นาที เทน้ำทิ้ง แล้วเปลี่ยนน้ำผสมน้ำยาล้างจานใหม่ จากนั้นทำซ้ำตามขั้นตอน จะช่วยให้กาวหลุดลอกจากผิวหนังได้ [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ทาน้ำผลไม้รสเปรี้ยวที่กาว. หยดน้ำผลไม้รสเปรี้ยวตรงผิวที่เลอะกาว ประมาณ 2 - 3 หยด หรือผ่าครึ่งมะนาว (เหลืองหรือเขียวก็ได้) แล้วทาที่ผิวโดยตรง ทิ้งน้ำผลไม้รสเปรี้ยวหรือมะนาวไว้ที่ผิวประมาณ 5 นาที กรดซิตริกจะเริ่มกัดกาวให้หลุดลอกออกมา [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ระวังอย่าใช้วิธีนี้ ถ้ามีแผลหรือผิวบาง แพ้ง่าย เพราะน้ำผลไม้รสเปรี้ยวจะกัด เกิดอาการระคายเคืองได้
-
ใช้น้ำยาล้างเล็บสูตรอะซิโตน. ใช้คอตตอนบัดหรือสำลีก้อนชุบน้ำยาล้างเล็บมาเล็กน้อย ถ้าเลอะกาวกินบริเวณกว้าง ให้เทน้ำยาล้างเล็บใส่ถ้วยหรือชาม จากนั้นจุ่มส่วนที่เลอะกาวลงไปแช่ประมาณ 6 - 10 นาที ค่อยเอาออก แล้วล้างด้วยน้ำอุ่นผสมน้ำยาล้างจาน [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ต้องใช้น้ำยาล้างเล็บที่เป็นอะซิโตน 100% เพราะเป็นสารออกฤทธิ์ (active ingredient) ที่จะกัดกาวให้หลุดลอกออกไป
-
ขัดผิวด้วยหินภูเขาไฟ (pumice stone). ถือหินภูเขาไฟให้มั่นด้วยมือเดียว แล้วขัดไปมาที่ผิวหนังส่วนที่เลอะกาว ให้กดลงไปพอประมาณ จะได้ขัดถูกาวออกมาได้ แต่อย่าแรงจนผิวถลอกหรือเป็นแผล ทำแบบนี้ซ้ำๆ 2 - 3 นาที จนกาวหลุดลอกจากผิว [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถ้ากลัวผิวเสียหรือถลอก ให้เปลี่ยนทิศทางทุกครั้งที่ขัดด้วยหินภูเขาไฟ
- หรือใช้ถุงมือขัดตัวที่หยาบๆ หน่อย ก็ช่วยขัดกาวออกได้เหมือนกัน
-
ขัดด้วยเกลือหรือน้ำตาล. หาถ้วยมาใบหนึ่ง แล้วผสมน้ำตาล 1 ช้อนพูน กับเกลือ 1 ช้อนพูดลงไป ตามด้วยน้ำพอให้ส่วนผสมแฉะๆ ผสมแล้วใช้ทาบริเวณที่เลอะกาว แล้วถูด้วยนิ้ว พอเริ่มหายหยาบ ก็เช็ดออกแล้วลงส่วนผสมใหม่เรื่อยๆ เกล็ดเกลือกับน้ำตาลจะช่วยขัดหยาบให้กาวหลุดลอกออกมาได้ [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ถูด้วยน้ำมันอุ่นๆ. เทน้ำมันทานตะวัน น้ำมันมะพร้าว เบบี้ออยล์ หรือน้ำมันมะกอกใส่ถ้วย แล้วเอาไปอุ่นในไมโครเวฟประมาณ 10 - 20 วินาที อุณหภูมิที่ได้คืออุ่นๆ ไม่ใช่ร้อนจัดจนลวกผิว จากนั้นใช้คอตตอนบัดทาน้ำมันตรงผิวที่เลอะกาวโดยตรง ทิ้งไว้ประมาณ 3 - 4 นาที แล้วเช็คว่ากาวละลายหรือยัง ถ้ายังให้ทำซ้ำตามขั้นตอนอีกรอบ [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- บางคนก็ว่าเคยล้างกาวด้วยลิปกลอส (ลิปมัน) สเปรย์น้ำมันสำหรับทำอาหาร ก็ช่วยละลายกาวได้แบบไม่ต้องเอาไปอุ่นก่อน
-
รอจนกาวหลุดไปเอง. ปกติผิวหนังคนเราจะมีการผลัดผิว เกิดใหม่ตลอดเวลา ถ้าบริเวณที่เลอะกาวไม่ใหญ่มาก ไม่เจ็บ ก็แค่รอให้หลุดออกไปเองใน 5 - 6 วันก็ได้ ให้สังเกตว่าจะมีผิวแตกหรือลอกรอบๆ จุดที่เลอะกาว เป็นวิธีที่เหมาะกับคนที่ไม่อยากกัดกาวออกจากผิวด้วยสารเคมี [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ทาครีมบำรุงผิวทีหลัง. กาวจะไปสร้างชั้นป้องกัน จนผิวขาดความชุ่มชื้น พอไปรวมกับสารเคมีที่ใช้กัดกาวออกจากผิว จะสังเกตว่าผิวจะแห้ง แตก ลอกได้ คุณแก้ได้โดยทาโลชั่น ครีม หรือเบบี้ออยล์ เพื่อบำรุงฟื้นฟูผิว [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ห้ามดึงผิวออกจากกัน. ถึงจะล่อตาล่อใจแค่ไหน ก็ระวังอย่าดึงทึ้งผิวที่ติดกันออกจากกันเด็ดขาด เพราะกาว Gorilla glue ก็เหมือนกาวตราช้าง เป็นกาวแรง ดีไม่ดีจะกัดผิวไว้แล้ว ก่อนคุณจะทันดึงแยกออกจากกัน ยิ่งถ้าเลอะกาวกินวงกว้าง หรือแสบร้อน ยิ่งต้องรีบไปหาหมอทันที อย่าพยายามดึงกาวออกจากผิว หรือดึงผิวออกจากกันด้วยตัวเอง [9] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
-
ทดสอบแค่จุดเล็กๆ ก่อน. หาจุดที่ไม่เป็นที่สังเกตของพื้นผิวที่เลอะกาวนั้น เอาสำลีก้อนชุบสารเคมีล้างกาวที่จะใช้ แล้วลองแปะสำลีก้อนไว้ตรงจุดนั้นประมาณ 5 นาทีค่อยเอาออก เช็คว่าจุดนั้นด่างหรือเสียหายไหม จะได้รู้ว่าน้ำยาที่จะใช้ล้างกาว ปลอดภัยใช้ได้จริงหรือเปล่า [10] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ลงอะซิโตนที่พื้นผิว. ให้ใช้อะซิโตน 100% ละลายกาว Gorilla Glue ให้หลุดลอกจากผ้า หรือพื้นผิวแข็งๆ โดยเอาสำลีก้อนชุบอะซิโตนให้ชุ่ม แล้วเอาไปโปะตรงที่เลอะกาว ทิ้งไว้ 5 นาทีค่อยเอาสำลีออก เช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าเปียกหมาดอีกที ถ้ายังมีคราบกาวก็ทำซ้ำได้ตามขั้นตอน
- ห้ามลงอะซิโตนที่พลาสติกเด็ดขาด เพราะจะทำให้เสียหายหนักกว่าเดิม
-
ลง isopropyl alcohol ที่โลหะหรือพื้นผิวที่ไม่ใช่พลาสติก. เอาสำลีก้อนหรือทิชชู่พับแล้ว ชุบแอลกอฮอล์ล้างแผล (isopropyl alcohol) แล้วเอาไปโปะตรงที่เลอะกาวประมาณ 5 นาที ให้ออกฤทธิ์ แล้วค่อยเช็ดออก จากนั้นทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่นผสมน้ำยาล้างจานอีกที กาวน่าจะนิ่มลง ใช้เกรียงแซะออกได้ง่ายๆ [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
แซะกาวที่ติดพื้นผิวแข็งๆ ออกด้วยของไม่มีคม. ให้ใช้เกรียงหรืออุปกรณ์อื่น แซะโดยออกแรงเล็กน้อย ที่ขอบของคราบกาว ให้แซะเบาๆ เพื่อยกให้ขอบกาวเผยอขึ้นมา ถ้าไม่ได้ผล ให้ลงอะซิโตนเล็กน้อย โดยใช้สำลีก้อนชุบ จากนั้นลองแซะใหม่อีกที [12] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ถ้าเป็นผ้า ให้ใช้แปรงสีฟัน. ลงอะซิโตนหรือน้ำผสมน้ำยาล้างจานที่ผ้าเล็กน้อย แล้วขัดคราบกาวด้วยแปรงสีฟัน ให้ขัดเปลี่ยนทิศทางไปเรื่อยๆ ลองขัดแบบเร็วๆ แต่เบาๆ ดูว่ากาวหลุดจากผ้าหรือเปล่า [13] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ซักผ้าหรือเสื้อผ้า. พอขจัดคราบกาวเลอะผ้าออกเท่าที่จะทำได้แล้ว ให้เอาผ้าไปซักในเครื่องซักผ้า อย่าซักรวมกับผ้าอื่น เลือกใช้น้ำร้อนสุดเท่าที่มี อย่าลืมอ่านคำแนะนำการซักที่ป้ายก่อน จะได้ไม่ทำเนื้อผ้าเสีย [14] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ต้องรอให้ Gorilla Glue แห้งสนิทก่อน ค่อยทำตามขั้นตอนนี้ กาวจะได้ไม่เลอะเทอะไปที่ส่วนอื่นของผ้า
-
ปูผ้าเปียกทับพลาสติก. ถ้ากาวเลอะพื้นผิวที่เป็นพลาสติก จะขจัดคราบยากมาก เพราะอะซิโตนกับแอลกอฮอล์กัดพลาสติกได้ ให้เอาผ้าคอตตอนไปชุบน้ำอุ่นผสมน้ำยาล้างจานมาชุ่มๆ แล้วปูทับบริเวณที่เลอะกาว ทิ้งไว้ 2 - 4 ชั่วโมง ถ้าผ้าเริ่มแห้ง ให้คอยหยดน้ำผสมน้ำยาล้างจานเพิ่มเรื่อยๆ [15] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- พอเอาผ้าออก ก็เช็ดกาวที่ละลายแล้วได้เลย แต่ถ้ายังเหลือคราบกาว ให้ขัดถูด้วยแปรงสีฟันเบาๆ
โฆษณา
-
ใช้งานตามคำแนะนำที่ฉลาก. ก่อนจะเริ่มสร้างสรรค์ผลงาน ต้องอ่านคำแนะนำที่ฉลากของ Gorilla Glue ให้ละเอียดซะก่อน จะได้รู้ว่าต้องถือยังไง ทากาวยังไง มากน้อยแค่ไหน ถ้าอยากได้ข้อมูลโดยละเอียด จะติดต่อไปที่ฝ่ายบริการลูกค้าของ Gorilla Glue โดยตรงก็ได้ โดยเข้าไปที่เว็บ official จะมีเบอร์โทรและช่องทางติดต่ออื่นๆ [16] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- เช่น ถ้าจะให้กาวไหลไปที่ปลายปากขวดหรือหลอดสำหรับแต้ม ก็ให้ถือกาวแบบคว่ำขวดลง แล้วเคาะฝากับอะไรแข็งๆ สัก 2 - 3 ครั้ง แบบไม่ต้องกระแทก
-
สวมถุงมือ. สวมถุงมือเสมอเวลาทำงานที่ต้องใช้กาว เพื่อป้องกันไม่ให้กาวตราช้างแบบนี้ติดมือได้ อาจจะลองเลือกถุงมือแบบต่างๆ ที่ร้านขายอุปกรณ์ดูก่อน ว่าแบบไหนเหมาะกับคุณและเหมาะกับการใช้งานที่สุด แต่ข้อเสียก็มี คือระวังอย่าเผลอทำการเลอะจนถุงมือติดกัน [17] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้งก็สะดวกดี โดยเฉพาะเวลาทำงานที่ต้องใช้กาว แต่ต้องเลือกที่สวมใส่พอดี
-
ปูพื้นกันเปื้อน. อะไรเกะกะ ไม่เกี่ยวข้อง ให้เก็บจากพื้นที่ทำงานไปให้หมด แล้วปูรองทั้งพื้นที่ทำงานด้วยฟอยล์หรือแผ่นพลาสติก ข้อดีของการใช้ฟอยล์ คือกาวแห้งแล้วจะไม่ติด แต่นอกจากนั้นคือปูพื้นเพื่อกันไม่ให้พื้นเปื้อน ไม่ว่าจะเป็นหน้าเค้าน์เตอร์หรือโต๊ะก็ตาม [18] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
เลือกหัวแต้มกาวให้เหมาะกับงาน. หนึ่งในข้อผิดพลาดหลักๆ ที่คนมักทำกัน คือทำชิ้นงานโดยใช้หัวแต้มกาวเล็กหรือใหญ่เกินไป เดี๋ยวนี้มีกาว Gorilla Glue มากมายหลายรูปแบบ ทั้งแบบแท่งหัวปากกา ไปจนถึงเจลแบบหลอด เพราะงั้นให้ลองศึกษาและทดลองดู ว่ากาวแบบไหน เหมาะจะใช้ทำชิ้นงานของคุณ [19] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- จริงๆ แล้วถึงจะเป็นชิ้นงานขนาดใหญ่ ก็มักจะทากาวแค่จุดเล็กๆ ปริมาณไม่มากซะเป็นส่วนใหญ่
โฆษณา
เคล็ดลับ
- ถ้าอยากรู้วิธีขจัดคราบผลิตภัณฑ์ไหนของ Gorilla Glue โดยเฉพาะ ทางแบรนด์ก็มีทีมงานด้านความปลอดภัยในการใช้งานคอยให้ข้อมูลโดยเฉพาะ ติดต่อไปได้ที่ 1-800-966-3458 แต่ย้ำว่าเป็นเบอร์ต่างประเทศ และให้บริการเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น
โฆษณา
คำเตือน
- ถ้า Gorilla Glue กระเด็นเข้าตา ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด แต่ถ้าล้างกาวออกได้ไม่หมด จนเปลือกตาติด ลืมตาไม่ขึ้น ให้รีบไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลทันที ถ้า Gorilla Glue เข้าปาก หรือเผลอกลืนลงไป ก็ต้องรีบไปโรงพยาบาลเช่นกัน
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.gorillatough.com/gorilla-super-glue-gel
- ↑ http://zukzik.com/how-to-get-gorilla-glue-off-skin/
- ↑ http://www.gorillatough.com/gorilla-super-glue-gel
- ↑ http://zukzik.com/how-to-get-gorilla-glue-off-skin/
- ↑ https://www.bobvila.com/articles/how-to-remove-superglue/# .WbruGsjfrIU
- ↑ http://zukzik.com/how-to-get-gorilla-glue-off-skin/
- ↑ http://zukzik.com/how-to-get-gorilla-glue-off-skin/
- ↑ http://www.gorillatough.com/gorilla-super-glue-gel
- ↑ http://www.gorillatough.com/gorilla-super-glue-gel
- ↑ https://www.bobvila.com/articles/how-to-remove-superglue/# .WbruGsjfrIUM
- ↑ http://www.gorillatough.com/gorilla-super-glue-gel
- ↑ https://www.bobvila.com/articles/how-to-remove-superglue/# .WbruGsjfrIU
- ↑ https://www.bobvila.com/articles/how-to-remove-superglue/# .WbruGsjfrIU
- ↑ https://www.persil.com/uk/laundry/laundry-tips/stains/how-to-remove-super-glue-from-clothes.html
- ↑ https://www.cleanipedia.com/gb/laundry/how-to-remove-super-glue
- ↑ http://www.gorillatough.com/gorilla-super-glue-gel
- ↑ http://zukzik.com/how-to-get-gorilla-glue-off-skin/
- ↑ https://www.bobvila.com/articles/how-to-remove-superglue/# .WbruGsjfrIU
- ↑ https://www.bobvila.com/articles/how-to-remove-superglue/# .WbruGsjfrIU
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,620 ครั้ง
โฆษณา