ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ชีพจรของคุณบ่งบอกว่าหัวใจของคุณเต้นเร็วมากเท่าไหร่ มันยังสามารถส่งสัญญาณว่าหัวใจของคุณทำงานได้ดีแค่ไหนและแม้แต่บ่งบอกระดับของสุขภาพและความฟิตของร่างกาย [1] มันอาจจะฟังดูยากแต่การวัดชีพจรนั้นเป็นเรื่องง่ายและไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรเป็นพิเศษ คุณสามารถวัดชีพจรของคุณได้โดยใช้มือหรือใช้เครื่องวัดชีพจรอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

การวัดชีพจรโดยใช้มือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาเครื่องจับเวลาเพื่อคำนวณในขณะที่คุณนับการเต้นของหัวใจ. หานาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาแขวนตามบ้าน คุณจะต้องใช้นาฬิกาเพื่อนับการเต้นของหัวใจ หานาฬิกาดิจิตอลหรือแบบอนาล็อกเพื่อใช้จับเวลาหรือนาฬิกาแขวนเพื่อที่คุณจะได้เห็นเวลาและนำมาวัดชีพจรได้ถูกต้อง [2]
    • คุณสามารถใช้เครื่องจับเวลาหรือโหมดจับเวลาบนโทรศัพท์มือถือ
  2. เลือกวัดชีพจรที่ลำคอหรือข้อมือ เลือกจุดวัดชีพจรที่คุณรู้สึกถนัดมากที่สุดหรือที่คุณสามารถหาชีพจรเจอได้ง่าย [3] คุณยังสามารถวัดชีพจรได้ตามจุดเหล่านี้ ถึงแม้ว่ามันอาจจะยากในการคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจตามจุดต่อไปนี้:
    • ขมับ
    • ขาหนีบ
    • หลังหัวเข่า
    • บนฝ่าเท้า
  3. วางนิ้วของคุณในท่าทางที่เหมาะสมเพื่อวัดชีพจร. กดนิ้วลงแต่อย่าแรงมากจนคุณไม่สามารถสัมผัสชีพจรได้ วางนิ้วชี้และนิ้วกลางลงบนคนละฝั่งของลำคอด้านข้างของหลอดลมเพื่อหาหลอดเลือดแดง หากคุณวัดชีพจรบนข้อมือก็ควรวางนิ้วระหว่างกระดูกและเส้นเอ็นเหนือหลอดเลือด [4]
    • ระวังอย่ากดหลอดเลือดแดงแรงเกินไปเพราะอาจทำให้คุณรู้สึกหน้ามืดได้ [5]
    • หาหลอดเลือดของคุณโดยการวาดนิ้วจากด้านล่างของหัวแม่โป้งไปยังข้อมือ จากนั้นสัมผัสหาจุดระหว่างกระดูกข้อมือและเส้นเอ็นเพื่อหาความเคลื่อนไหว
    • วางส่วนที่แบนเรียบของนิ้วบนข้อมือหรือลำคอเพื่อการวัดชีพจรที่แม่นยำ หลีกเลี่ยงการใช้ปลายนิ้วหรือหัวแม่โป้ง [6]
  4. ตัดสินใจว่าคุณจะใช้เวลาวัดเป็นจำนวนเท่าไหร่ไม่ว่าจะเป็น 10 15 30 หรือ 60 วินาที ดูนาฬิกาในขณะที่ทำสิ่งนี้เพื่อที่คุณจะได้จับอัตราการเต้นของหัวใจ [7]
  5. เมื่อคุณจับเวลาครบแล้วก็ควรเริ่มนับเวลาที่คุณรู้สึกชีพจรหรือการเต้นบนลำคอหรือข้อมือ นับไปเรื่อยๆ จนกว่าหมดเวลาที่คุณเลือกจับอัตราการเต้นของหัวใจ [8]
    • ปล่อยให้ตัวเองพักเป็นเวลา 5 นาทีก่อนที่จะวัดชีพจรเพื่อให้ได้อัตราการเต้นของหัวใจที่แม่นยำที่สุด คุณยังสามารถวัดชีพจรในขณะที่คุณออกกำลังกายเพื่อดูว่าคุณออกกำลังกายหนักหน่วงแค่ไหน
  6. จดบันทึกหรือจดจำอัตราการเต้นของหัวใจที่คุณนับได้ อัตราชีพจรนั้นมาจากอัตราการเต้นของหัวใจต่อนาที [9]
    • เช่น หากคุณนับอัตราการเต้นของหัวใจได้ 41 ครั้งใน 30 วินาที คุณสามารถคูณสองเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ 82 ครั้งต่อนาที หากคุณจับเวลา 10 วินาทีก็ควรหารอัตราการเต้นของหัวใจด้วย 6 และหากคุณจับเวลา 15 วินาทีก็ควรหาด้วย 4
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การใช้เครื่องวัดชีพจร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้เครื่องวัดชีพจรอิเล็กทรอนิกส์หากคุณมีปัญหาในการวัดชีพจรด้วยการใช้มือ คุณต้องตรวจสอบระหว่างการออกกำลังกายโดยที่ไม่หยุดหรือหากคุณต้องการค่าวัดที่แม่นยำมาก ซื้อหรือเช่าเครื่องวัดชีพจรอิเล็กทรอนิกส์จากร้านขายเครื่องมือทางการแพทย์หรือผู้จำหน่ายรายใหญ่ [10] ใช้นาฬิกาอัจฉริยะหรือแอพพลิเคชั่นบนมือถือที่คุณดาวน์โหลดมาเพื่อวัดชีพจร [11] ส่วนประกอบบางอย่างที่คุณต้องมี ได้แก่: [12]
    • การมีที่รัดข้อมือหรือสายรัดข้อมือที่คุณใส่ได้
    • การมีหน้าจออ่านผลที่อ่านได้ง่าย
    • การตอบสนองความต้องการและงบประมาณ
    • จำไว้ว่าการใช้แอพพลิเคชั่นสำหรับการวัดชีพจรนั้นอาจจะไม่แม่นยำเสมอไป [13]
  2. นำเครื่องวัดชีพจรอิเล็กทรอนิกส์ติดเข้ากับตัวของคุณ. อ่านคู่มือของผลิตภัณฑ์ จากนั้นติดเครื่องวัดชีพจรอิเล็กทรอนิกส์เข้ากับจุดที่เหมาะสมเพื่อวัดชีพจร เครื่องมือส่วนใหญ่ต้องติดเข้าที่หน้าอก นิ้วหรือข้อมือ [14]
  3. เมื่อคุณพร้อมที่จะวัดชีพจรคุณก็ต้องเปิดเครื่องทำให้มั่นใจว่าหน้าจอแสดงค่า “OO” เมื่อเริ่มเพื่อที่คุณจะได้ผลที่แม่นยำ [15]
  4. เครื่องวัดชีพจรของคุณจะหยุดทำงานอัตโนมัติและแสดงค่าวัดชีพจร ตรวจสอบหน้าจอและบันทึกผลลัพธ์ที่ได้สำหรับการวัดชีพจร [16]
    • บันทึกข้อมูลหรือค่าวัดชีพจรจากหน้าจอเพื่อติดตามผลการวัดชีพจร
    โฆษณา

เคล็ดลับ

โฆษณา

คำเตือน

  • ใช้เพียงการกดเบาๆ ในขณะที่วัดชีพจรบนลำคอหรือข้อมือเท่านั้น การกดแรงเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนลำคออาจทำให้คุณรู้สึกหน้ามืดและเป็นลม [18]
  • ปรึกษาแพทย์หากว่าค่าชีพจรขณะพักของคุณมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที [19]
  • ถ้าหากอัตราการเต้นของหัวใจมักจะต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาทีและคุณไม่ใช่นักกีฬาที่ได้รับการฝึกฝน คุณก็ควรปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีอาการต่างๆ เช่น เวียนหัว เป็นลมหรือหายใจไม่ค่อยออก
  • ชีพจรปกตินั้นคงที่และสม่ำเสมอ หากคุณสังเกตค่าชีพจรที่ต่ำหรือสูงจนเกินไปบ่อยๆ คุณก็ควรปรึกษาแพทย์เพราะมันอาจเป็นสัญญาณของโรคทางหัวใจ [20]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 47,697 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา