ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากคุณอยากจะแต่งตัวให้ดูดี ไม่มีอะไรจะเหมาะไปมากกว่าการตัดชุดสูทให้เป็นเรื่องเป็นราวอีกแล้ว สูทของคุณควรจะดูหรูหราและทำให้คุณดูนำสมัยเพื่อที่คุณจะได้ดูเป็นมืออาชีพและดูดีมีสไตล์ การใช้เวลากับการวัดขนาดตัวเพื่อตัดสูทให้พอดีตัวที่สุดก่อนจะซื้อจะช่วยประหยัดเวลา ประหยัดเงินและยังทำให้คุณได้สูทที่มีขนาดเหมาะสมกับตัวเองด้วย คุณสามารถเรียนรู้วิธีการวัดขนาดเพื่อตัดเสื้อสูทและกางเกงรวมไปถึงเคล็ดลับต่างๆ ด้านล่างเพื่อที่จะได้มั่นใจว่าสูทของคุณจะพอดีกับตัวคุณเอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

วัดตัวตัดเสื้อสูท

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าคุณจะสั่งตัดเสื้อสูทตอนไหนและไม่ว่าสไตล์การแต่งตัวและขนาดตัวของคุณจะเท่าไหร่ การแนบน้ำหนักและส่วนสูงล่าสุดของคุณไปด้วยนั้นเป็นความคิดที่ดีเสมอ แม้ว่าการวัดทุกส่วนสัดซึ่งเกี่ยวข้องกับขนาดสูทนั้นมีความสำคัญไม่แพ้กันสำหรับการตัดสูทให้พอดีที่สุด แต่ส่วนสูงและน้ำหนักนั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการกะขนาดคร่าวๆ เลยล่ะ
    • ขั้นตอนนี้สำคัญเป็นพิเศษเมื่อคุณต้องการจะตัดสูทใหม่สำหรับตัวเองโดยเฉพาะ เพราะส่วนสูงและน้ำหนักจะช่วยให้ช่างตัดกะขนาดได้ว่าเมื่อคุณใส่สูทแล้วจะออกมาประมาณไหน โดยเทียบความต่างระหว่างขนาดกางเกงและตัวเสื้อ นี่จะทำให้ช่างตัดสูททำงานได้ไวขึ้นเยอะเลยล่ะ
  2. การใส่เสื้อที่คุณอาจจะใส่ไว้ใต้สูทในสถานการณ์จริงขณะวัดตัวนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ตะเข็บของเสื้อจะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยกะขนาดในขณะที่คุณวัดความกว้างของไหล่หรือความยาวของแขน ในขณะที่ขนาดของเสื้อเชิ้ตที่คุณใส่จะช่วยทำให้เสื้อสูทที่สวมทับไม่แนบตัวเกินไปนัก
  3. การวัดขนาดไหล่ขณะยกแขนเหนือไหล่จะช่วยบอกขนาดความกว้างทั้งหมดของตัวเสื้อจากไหล่ถึงไหล่ เริ่มใช้สายวัดจากมุมด้านในของไหล่โดยเริ่มจากบริเวณจุดสิ้นสุดของไหปลาร้า จกานั้นก็วัดความยาวเรื่อยมาถึงบริเวณที่ไหล่ยกตัวสูงสุด ด้านหลังคอ ไล่ไปจนถึงมุมด้านหลังของไหล่อีกข้าง
    • ในขณะกำลังวัดขนาด อย่าดึงแถบสายวัดตึงเกินไป คุณควรจะวัดจนแน่ใจว่าสายแนบตัวพอดีในส่วนของร่างกายที่กำลังวัด การดึงสายวัดตึงเกินไปจะทำให้สูทตัดออกมาแน่นเกินไปได้นะ
  4. การวัดหน้าอกเป็นส่วนสำคัญของการตัดเสื้อสูทให้ออกมาพอดีตัวและดูโก้เก๋ วิธีการวัดก็คือคุณต้องยกแขนทั้งสองข้างและแนบสายวัดในส่วนที่ฟูที่สุดของหน้าอกใต้แขน ลดแขนลงเพื่อบันทึกขนาดหลังจากแถบสายวัดได้ขนาดที่ถูกต้องแล้ว
    • อย่าเบ่งกล้ามเนื้ออกขณะวัดขนาดหน้าอกตัวเอง การเบ่งกล้ามจะทำให้วัดขนาดหน้าอกได้ออกมาใหญ่เกินความเป็นจริงแล้วเสื้อสูทของคุณก็จะไม่พอดีตัวด้วย
  5. แนบสายวัดจากจุดเดิมที่บริเวณไหล่ตอนที่คุณวัดขนาดความกว้างของไหล่ ปล่อยสายวัดลงมาจนถึงบริเวณข้อมือ
    • คุณต้องอย่าลืมวัดช่วงรอยต่อแขนของเสื้อในขณะสวมสูทด้วยล่ะ แนบแถบวัดด้านในเสื้อห่างจากข้อมือเล็กน้อยและดึงสายวัดมาถึงบริเวณใต้วงแขนถือเป็นอันจบการวัด
  6. หากคุณจะซื้อหรือเช่าเสื้อเชิ้ตทางการสำหรับใส่ข้างใน ต้องวัดขนาดคอด้วย พันสายวัดรอบๆ ส่วนล่างของคอ แค่เหนือกระดูกไหปลาร้าขึ้นมาหน่อยซึ่งปกติแล้วเป็นจุดของปกเสื้อ การทำอย่างนี้จะให้คุณหาเสื้อเชิ้ตที่เหมาะกับตัวเองได้พอดี
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

วัดตัวตัดกางเกง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การสวมรองเท้าทางการจะเปลี่ยนวิธีการยืนของคุณเล็กน้อย รวมไปถึงเพิ่มส่วนสูงให้คุณนิดหน่อยด้วย การใส่รองเท้าทางการซึ่งเป็นแบบที่คุณจะใส่เวลาใส่สูทขณะวัดตัวตัดกางเกงนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะนี่จะช่วยให้คุณได้ขนาดกางเกงที่พอดิบพอดี
  2. เพื่อให้ได้กางเกงที่มีขนาดเอวพอดีตัว วัดส่วนที่กว้างที่สุดของกระดูกสะโพก พันสายวัดรอบๆ สะโพกซึ่งเป็นจุดที่กางเกงจะแนบอยู่
    • วัดเอวด้วย. การที่คุณจะต้องหรือไม่ต้องวัดขนาดเอวนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของกางเกงที่คุณต้องการ ดังนั้นวัดเผื่อเอาไว้แล้วจดไปด้วยตอนไปร้านดีกว่า จุดเริ่มต้นวัดจะอยู่เหนือกระดูกสะโพกหรือรอบๆ เอวขึ้นมานิดหน่อย พันสายวัดรอบๆ เอวและกลับมาที่จุดเริ่มต้นเพื่อให้ได้ขนาดเอวที่พอดีสำหรับตัดกางเกงคู่สูท
  3. ความยาวด้านนอกที่ว่านี้คือการวัดตั้งแต่ส่วนบนสุดของกางเกงไล่ลงมาถึงสะโพกยันปลายข้อเท้า ในการวัดความยาวด้านนอกนี้ คุณต้องยืนหลังตรงให้มากที่สุดและเริ่มวัดตั้งแต่บริเวณขอบเข็มขัดไล่ลงมาถึงปลายเท้าที่สวมรองเท้าอยู่
  4. สวมรองเท้าที่คุณจะสวมออกงาน และเริ่มวัดตั้งแต่ส่วนบนด้านในของกางเกง ซึ่งเป็นจุดที่ขาของคุณบรรจบกับกระดูกเชิงกราน ปล่อยสายวัดไปตามด้านในของขาจนกระทั่งถึงจุดกึ่งกลางเท้า
    • คุณอาจจะวัดความยาวนี้จากกางเกงที่คุณมีอยู่แล้วและใส่ได้พอดีก็ได้ วางกางเกงบนพื้นราบโดยวางด้านสะโพกลง พับขาด้านหนึ่งให้พ้นทางและเริ่มวัดความยาวด้านในทั้งหมดของกางเกง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ตัดสูทให้สมตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรียนรู้ว่าตัวเสื้อสูทนั้นถูกแบ่งขนาดอย่างไร. ปกติแล้ว หากจะอธิบายถึงสูทแล้วล่ะก็ เขาจะพูดกันถึงขนาดและความยาวของตัวสูท ตัวอย่างเช่น สูทขนาด 44 ยาวพิเศษนั้นถือได้ว่าเป็นสูทขนาดค่อนข้างใหญ่ ขนาดของตัวเสื้อจะขึ้นอยู่กับขนาดร่างกาย รวมไปถึงสไตล์ของเสื้อสูทซึ่งวัดมาจากความยาวรอบอกและความยาวใต้วงแขนของคุณ โดยปกติแล้วสูทของผู้ใหญ่ที่มักสวมใส่กันจะมีขนาดดังนี้
    • เสื้อสูทขนาด 38 เป็นสูทสำหรับคนที่มีความยาวรอบอกขนาด 40 นิ้ว ไหล่ 18 นิ้วและแขนยาว 24.5 นิ้ว
    • เสื้อสูทขนาด 40 เป็นสูทสำหรับคนที่มีความยาวรอบอกขนาด 42 นิ้ว ไหล่ 18.5 นิ้วและแขนยาว 25 นิ้ว
    • เสื้อสูทขนาด 42 เป็นสูทสำหรับคนที่มีความยาวรอบอกขนาด 44 นิ้ว ไหล่ 19 นิ้วและแขนยาว 25.5 นิ้ว
    • เสื้อสูทขนาด 44 เป็นสูทสำหรับคนที่มีความยาวรอบอกขนาด 46 นิ้ว ไหล่ 19 นิ้วและแขนยาว 26 นิ้ว
  2. เรียนรู้ว่าความยาวของสูทนั้นมีที่มาอย่างไร. ความยาวของตัวเสื้อนั้นจะขึ้นอยู่กับส่วนสูง ดังนั้น คุณจะรู้ว่าตัวเองใส่เสื้อสูทขนาดใดหากคุณรู้ขนาดเสื้อเชิ้ตและส่วนสูงของตัวเอง
    • สูทแบบสั้นจะเป็นสูทสำหรับคนที่สูงน้อยกว่า 5.7 ฟุตและมีแขนยาวไม่เกิน 32 นิ้ว
    • สูทแบบปกติจะเป็นสูทสำหรับคนที่สูงระหว่าง 5.8 และ 5.11 ฟุตและมีแขนยาวระหว่าง 32-33 นิ้ว
    • สูทแบบยาวจะเป็นสูทสำหรับคนที่สูงระหว่าง 6 และ 6.2 ฟุตและมีแขนยาวระหว่าง 34-36 นิ้ว
    • สูทแบบยาวพิเศษจะเป็นสูทสำหรับคนที่สูงกว่า 6.2 ฟุตและมีแขนยาวกว่า 36 นิ้ว
  3. ดูให้ดีว่ารอยต่อตรงช่วงแขนไม่ได้แน่นเกินไป. เมื่อลองสวมเสื้อสูท บริเวณรอยต่อตรงช่วงแขนจะต้องมีพื้นที่มากพอให้คุณสามารถขยับร่างกายได้อย่างสบายๆ คุณคงไม่อยากจะทำตะเข็บด้านในของเสื้อสูทตัวใหม่ขาดเพราะว่าใส่เสื้อคับเกินไปหรอกใช่ไหม
    • เสื้อสูทนั้นตัดใส่ได้ไม่ยาก ดังนั้น คุณควรจะตัดสูทใส่หากเสื้อสูทของคุณคับ หากคุณรู้สึกตึงๆ ตรงช่วงใต้วงแขนก็ถึงเวลาถอดสูทตัวนั้นทิ้งแล้วล่ะ
  4. ดูให้ดีกว่าพื้นหลังสูทเรียบเนียนเสมอกันหรือไม่. เสื้อสูทของคุณไม่ควรยับย่นกองกันอยู่บริเวณไหล่ด้านหลัง และควรจะทิ้งตัวเรียบเนียนเสมอกัน และเป็นลายเส้นถักทอที่ขับให้ร่างกายของคุณโดดเด่นยิ่งขึ้น หากเสื้อสูทของคุณมีรอยจีบ อาจจะแสดงว่าสูทนี้มีขนาดเล็กเกินไป เย็บได้ไม่ดีหรืออาจจะไม่ใช่ขนาดของคุณ
  5. ปล่อยแขนลงสบายๆ ข้างๆ ตัวเพื่อตรวจดูว่าความยาวของแขนตัดได้พอดีไหม ปลายแขนเสื้อควรยาวถึงข้อนิ้วและเผยให้เห็นข้อมือของเสื้อเชิ้ตประมาณ​ครึ่งนิ้วหรือ 1.3 ซม. เมื่อยืดแขนไปด้านหน้า
  6. ปลายข้อเท้าของกางเกงจะต้องเย็บเสมอกัน เมื่อคุณใส่รองเท้าแล้ว ขอบกางเกงต้องปิดส่วนบนของรองเท้าเล็กน้อย กางเกงไม่ควรจะแคบลงมาหรือกองรวมกันและควรจะปิดรองเท้าไว้อย่างพอดีๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ขอให้คนอื่นมาช่วยยามต้องวัดตัวตัดสูทเพื่อที่ผลจะได้ออกมาเที่ยงตรง
  • จดผลการวัดตัวไว้เพื่อที่ช่างตัดสูทจะได้นำไปใช้หรือคุณอาจจะเก็บไว้ใช้ได้อีกในอนาคต
โฆษณา

คำเตือน

  • ระวังอย่าดึงสายวัดตัวแน่นเกินไป
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • สายวัดตัว
  • ผู้ช่วย

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,109 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา