ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การทำงบประมาณจะช่วยลดหนี้สินไม่ให้มีมากเกินไปได้ นอกจากนี้ยังช่วยดูแลสภาวะทางการเงินในอนาคต และทำให้คุณเป็นคนมีความสุขและสบายมากยิ่งขึ้น งบประมาณที่เหมาะสมไม่ได้หมายความว่าคุณต้องใช้จ่ายให้น้อยเข้าไว้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของคุณ แต่การทำงบประมาณจะช่วยให้คุณตัดสินใจเรื่องการใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ติดตามรายรับและรายจ่ายของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รวบรวมสิ่งที่คุณต้องใช้เพื่อเริ่มติดตามประวัติการใช้จ่าย. รวบรวมใบแจ้งหนี้ บัญชีแสดงการใช้งานบัตรเครดิตหรือสมุดบัญชีธนาคาร และใบเสร็จ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณประเมินการใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้อย่างแม่นยำ
  2. โปรแกรมการเงินสำหรับบุคคลได้กลายเป็นกระแสทางการเงินรูปในแบบใหม่ โดยโปรแกรมเหล่านี้จะมีเครื่องมือจัดทำงบประมาณให้คุณได้จัดแต่งเพื่อทำงบประมาณของคุณเอง พร้อมทั้งยังมีการวิเคราะห์เพื่อช่วยคุณดูกระแสเงินเวียนในอนาคต และช่วยให้คุณเข้าใจพฤติกรรมการใช้เงินได้ดียิ่งขึ้น โดยโปรแกรมที่เป็นที่นิยมได้แก่:
    • Mint
    • Quicken
    • Microsoft Money
    • AceMoney
    • BudgetPulse
  3. ถ้าคุณไม่ต้องการใช้โปรแกรมทำงบประมาณ คุณสามารถพิจารณาจัดทำงบประมาณได้ด้วยการใช้สเปรดชีต (Spreadsheet) โดยมุ่งเน้นที่การบันทึกรายรับและรายจ่ายระหว่างเดือน ดังนั้น คุณต้องเขียนสเปรดชีตที่แสดงข้อมูลอย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้คุณเห็นได้ว่าตรงไหนที่ควรใช้จ่ายอย่างชาญฉลาดมากกว่าเดิม [1]
    • สร้างช่องตามแนวยาว (เริ่มจากช่อง B1) ด้วยชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน
    • สร้างช่องตามแนวตั้งด้วยรายรับและรายจ่ายในแถว A คุณสามารถสร้างรายการรายรับและรายจ่ายก่อน พยายามจัดรายรับและรายจ่ายให้เป็นหมวดหมู่เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
    • คุณอาจจะจัดรายจ่ายเป็นหมวดหมู่ ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะจัดหมวดหมู่เป็น “ค่าสาธารณูปโภค” ซึ่งรวมใบแจ้งหนี้ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าแก๊ส และค่าโทรศัพท์เอาไว้ในช่องเดียว
    • พิจารณาว่าคุณต้องการเพิ่มค่าใช้จ่ายที่สามารถหักจากรายจ่ายโดยตรงหรือไม่ เช่น ค่าประกันชีวิต เงินหักเพื่อกองทุนเงินฝากหลังเกษียณ หรือเงินภาษี ถ้าคุณไม่อยากเพิ่มไว้ในสเปรดชีต ดูให้ดีคุณได้ใส่รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายเหล่านี้หมดแล้วในส่วนของ “รายจ่าย”
  4. เอกสารข้อมูลประวัติการใช้จ่ายย้อนหลัง 12 เดือน. พิจารณารายรับและรายจ่ายย้อนหลัง 12 เดือน ให้ใช้ข้อมูลจากบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตในการแสดงข้อมูลรายรับและรายจ่ายเพื่อความแม่นยำ
  5. คุณได้รับเงินเดือนประจำที่สามารถรู้ได้ว่าจะได้รับเงินเท่าใหร่ในแต่ละสัปดาห์หรือไม่ คุณทำงานอิสระที่เงินเดือนไม่คงที่หรือไม่ ทำบัญชีประวัติรายรับเป็นรายปีเพื่อให้มองเห็นรายรับเฉลี่ยต่อเดือนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น [2]
    • ถ้าคุณทำงานอิสระ จำไว้ว่าสิ่งที่คุณได้กลับบ้านไม่ใช่สิ่งเดียวกับสิ่งที่คุณได้รับ ยกตัวอย่างเช่น คุณได้เงิน 75,000 บาทต่อเดือน แต่ยังไม่ได้หักภาษี ดังนั้น ให้คำนวณภาษีที่คุณต้องจ่ายและหักออกจากรายรับโดยรวมของคุณเพื่อให้ได้ตัวเลขที่แม่นยำ
    • ถ้าคุณทำงานประจำ อย่าคิดเงินคืนภาษีรวมกับรายได้ของคุณ รายรับประจำเดือนของคุณควรจะแสดงถึงรายได้หลักหักภาษีแล้ว ถ้าคุณได้เงินคืนภาษี คุณสามารถคิดตามที่คุณต้องการได้ แต่ถ้าคุณไม่ได้เงินคืนภาษี คุณก็ไม่จำเป็นต้องไปกังวล
  6. เขียนรายการแสดงรายจ่ายรายเดือนทั้งหมดบนสเปรดชีต. ใบแจ้งหนี้ที่ต้องจ่ายทุกๆ เดือนมีอะไรบ้าง คุณต้องใช้เงินจับจ่ายใช้สอยหรือเติมน้ำมันต่อสัปดาห์มากน้อยแค่ไหน คุณต้องออกไปสังสรรค์กับเพื่อนทุกคืนวันศุกร์หรือดูภาพยนตร์ทุกสัปดาห์หรือไม่ คุณใช้จ่ายกับการซื้อของมากน้อยแค่ไหน ให้ติดตามรายจ่ายของคุณตลอดปีเพื่อให้เห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างแม่นยำ เพราะคนส่วนใหญ่มักเชื่อว่าตัวเองใช้จ่ายน้อยกว่าความเป็นจริง [3]
  7. ถ้ารายจ่ายของคุณมากกว่ารายรับ แสดงว่าคุณใช้ชีวิตเกินกว่าที่ควรจะเป็นงบประมาณของคุณควรแบ่งออกไป 2 ส่วนด้วยกัน :
    • ค่าใช้จ่ายตายตัว คือค่าใช้จ่ายรายเดือน เช่น ใบแจ้งหนี้ ประกันชีวิต หนี้กู้ยืม อาหาร หรือสิ่งของที่จำเป็น เช่น เสื้อผ้าหรือของใช้ในบ้าน
    • ค่าใช้จ่ายที่ไม่ตายตัว คือค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จำเป็นต้องจ่ายเป็นประจำ ซึ่งอาจจะเป็น “ส่วนเสริม” สิ่งที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ เงินฝาก ความบันเทิง เงินเก็บไว้เที่ยว หรือของใช้ฟุ่มเฟือย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

สร้างงบประมาณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ประวัติการใช้จ่ายในส่วนแรกจะช่วยให้คุณสร้างงบประมาณเบื้องต้นได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น คุณควรจะคำนวณรายรับและรายจ่ายที่ตายตัวก่อน จากนั้นตัดสินใจดูว่าคุณต้องใช้เงินกับค่าใช้จ่ายที่ไม่ตายตัวมากน้อยแค่ไหน
    • ในการคิดค่าใช้จ่ายตายตัวนั้น ให้นำค่าใช้จ่ายเฉลี่ยปีที่แล้วในแต่ละเดือน จากนั้นเพิ่มไปอีก 5% ยกตัวอย่างเช่น ถ้าใบแจ้งหนี้ค่าไฟแตกต่างกันตามฤดูกาล แต่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 600 บาทต่อเดือน คุณควรจะประเมินใบแจ้งหนี้ไว้ที่ 630 บาทต่อเดือน
    • คอยติดตามการเปลี่ยนแปลงของรายจ่ายตายตัวอยู่เสมอ เช่น การจ่ายเงินกู้ยืมเรียนหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการซื้อรถใหม่
  2. ตั้งเป้าหมายในการจัดการค่าใช้จ่ายที่ไม่ตายตัว. ตอนนี้คุณได้พิจารณาแล้วว่ามีเงินเหลือสำหรับค่าใช้จ่ายที่ไม่ตายตัวมากน้อยแค่ไหน ตัดสินใจดูว่าคุณต้องใช้เงินส่วนนี้มากน้อยแค่ไหน เป้าหมายของคุณควรจะชัดเจน จับต้องได้ และทำได้จริง เป้าหมายระยะสั้นอาจจะมีดังต่อไปนี้:
    • เก็บเงิน 200,000 บาทเป็นกองทุนฉุกเฉิน
    • นำเงิน 5% ของเงินเดือนฝากธนาคาร
    • จ่ายค่าบัตรเครดิตภายใน 12 เดือน
    • เก็บเงิน 150,000 บาทสำหรับการพักผ่อนประจำปี
  3. คุณสามารถออมเงินโดยใช้ประโยชน์จากภาษีได้ ถ้าคุณนำเงินเดือนไปใช้ในกองทุนเงินฝากหลังเกษียณโดยตรง เงินเดือนจะถูกหักก่อนที่จะถูกรายงานภาษี มีบริษัทบางแห่งที่เสนอโครงการสำหรับเกษียณของพนักงาน ซึ่งจะทำให้การฝากเงินมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  4. ทำงบประมาณนอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่ไม่ตายตัว. ส่วนนี้เป็นส่วนของการกำหนด ค่านิยม คุณมีค่านิยมอะไรบ้างและคุณใช้เงินในการตอบสนองต่อค่านิยมนั้นอย่างไร เงินเป็นสิ่งที่นำไปสู่จุดหมาย ไม่ได้เป็นจุดหมายในตัวเอง
    • คุณเป็นคนแบบไหน และคุณชอบทำอะไร คนส่วนใหญ่มักจะใช้เงินไปกับงานอดิเรก ความสนใจ และการกุุศล คิดถึงสิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนการลงทุนเพื่อประสบการณ์ ความรู้สึก หรือความพึงพอใจ
    • คิดถึงสิ่งที่ทำให้คุณ มีความสุข จริงๆ. ทฤษฎีที่เป็นที่นิยมมากก็คือคนที่ใช้เงินสร้างประสบการณ์จะมีความสุขมากกว่าคนที่ใช้เงินเพื่อครอบครองสิ่งของ [4]
    • พิจารณาแบ่งเงินไว้สำหรับเที่ยวและพักผ่อน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำงบประมาณอย่างเชี่ยวชาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้เงินภายในกรอบงบประมาณและไม่ใช้เกินกว่านั้น. กฎนี้เป็นกฎข้อแรกและข้อเดียวของการทำงบประมาณ ซึ่งดูเป็นสิ่งที่ชัดเจน แต่การใช้จ่ายเงินงบมักเกิดขึ้นได้ง่ายแม้ว่าคุณจะมีงบประมาณอยู่ในมือก็ตาม ดังนั้น ระลึกถึงพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองและสิ่งที่คุณจะซื้ออยู่เสมอ [5]
  2. ค่าใช้จ่ายสูงๆ เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ที่สุด แต่เป็นวิธีการตีกรอบงบประมาณที่มีประสิทธิภาพที่สุด ถ้าคุณชอบไปพักผ่อนประจำปี ลองพิจารณาอยู่บ้านในปีนี้ดู ค่าใช้จ่ายที่น้อยลงก็สามารถทำให้เงินมากขึ้นได้
    • พยายามค้นหาและตัดทอนสิ่งของฟุ่มเฟือยที่คุณชอบซื้อ ถ้าคุณไปนวดหรือดื่มไวน์เป็นประจำทุกสัปดาห์ ให้ลดความถี่ในการทำกิจกรรมเหล่านี้ลง อาจจะเป็น 1 ครั้งต่อเดือนหรือ 2 เดือนครั้ง
    • ประหยัดเงินกับค่าใช้จ่ายที่น้องลงด้วยการเปลี่ยนแบรนด์สินค้าหรือทานอาหารที่บ้านให้บ่อยขึ้น พยายามอย่ากินข้าวนอกบ้านเกินกว่า 1 หรือ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง [6]
    • ดูว่าคุณสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ตายตัวด้วยการเปลี่ยนแพ็คเกจโทรศัพท์ โทรทัศน์ หรือปรับปรุงการใช้ไฟภายในบ้านของคุณได้หรืือไม่
  3. เงินต้องทำงานให้กับคุณ ไม่ใช่คุณทำงานให้เงิน คุณคงไม่อยากตกเป็นทาสของงบประมาณ ดังนั้น การปล่อยตัวเองเล็กน้อยทุกๆ เดือนโดยไม่กระทบต่องบประมาณก็เป็นสิ่งที่สำคัญ
    • อย่าทำลายระบบการให้รางวัลของตัวเองจนเกิดการต่อต้านและส่งผลกระทบต่องบประมาณ แนวคิดคือการซื้อของเล็กๆ ที่ไม่แพงมากให้ตัวเองเช่น ซื้อกาแฟลาเต้หรือเสื้อเชิ้ตตัวใหม่ และหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายเงินไปกับสิ่งของแพงๆ เช่น การท่องเที่ยวหรือรองเท้าหรู
  4. ถ้าคุณใช้บัตรเครดิต คุณควรพยายามทำให้ยอดค้างจ่ายเป็นศูนย์ทุกเดือนเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บค่าธรรมเนียม ถ้าคุณไม่สามารถจ่ายได้ ให้พยายามจ่ายในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้คุณมียอดค้างจ่ายเป็นศูนย์
    • พยายามเปลี่ยนมาใช้เงินสดเป็นหลัก โดยเฉพาะ “ค่าใช้จ่ายพิเศษ” เช่น กินข้าวนอกบ้านหรือทานกาแฟ การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณควบคุมการใช้จ่ายได้ เพราะคนเราจะนึกถึงเงินที่จ่ายจากเงินสดมากกว่ารูดบัตร
  5. ใช้ประโชน์จากการลดราคาเมื่อคุณจ่ายภาษีในทุกๆ ปี
    • เริ่มเก็บสะสมใบเสร็จ โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นผู้รับเหมาอิสระและทำงานที่บ้านหรือทำงานทางไกล เพราะคุณมีค่าใช้จ่ายที่เป็นส่วนหนึ่งของงานที่คุณต้องจ่ายในฐานะภาษี [7]
    • การศึกษาวิธีคืนเงินภาษีในฐานะผู้รับเหมาก็เป็นแนวคิดที่ดี หรือลองถามพนักงานบัญชีเพื่อดูว่าคุณสามารถคืนภาษีได้อย่างไร
  6. ถ้าคุณมีบ้านเป็นของตัวเองและมีหลักฐานที่เพียงพอ คุณสามารถลดภาษีได้ด้วยการเสนอราคาบ้านที่ผู้ประเมินราคาได้ใส่ไว้ในรายการทรัพย์สิน
  7. อย่าคิดถึงแหล่งรายได้ที่คุณไม่มั่นใจ เช่น เงินโบนัสท้ายปี มรดก หรือเงินคืนภาษี คุณต้องใช้เงินที่มั่นใจว่าจะได้แน่ๆ ในการทำงบประมาณ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หยอดกระปุกออมสินแล้วนำไปฝากธนาคาร คุณจะตกใจว่าสิ่งเล็กๆ ที่คุณทำจะส่งผลดีขนาดไหน [8]
  • หลีกเลี่ยงหนี้สินจากการใช้บัตรเครดิตและเงินกู้ยืมที่ดอกเบี้ยสูง เพราะดอกเบี้ยที่สูงจะทำให้คุณต้องเสียเงินมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าคุณไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตรงเวลาหรือเป็นประจำ [9]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,085 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา