ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ก็หน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู ชอบเล่นซน แถมขี้อ้อนแบบนี้ไง แมวถึงได้เป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยม แต่ถึงจะป๊อปแค่ไหน บอกเลยว่าบางทีเลี้ยงแมวก็ เรื่องเยอะ อยู่เหมือนกัน! จะเลี้ยงแมวให้มีความสุข สุขภาพดี คุณต้องรู้วิธีเลี้ยงที่ถูกต้องเหมาะสมซะก่อน แมวจะได้อยู่ให้คุณรักและรักคุณไปนานๆ ไงล่ะ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เลือกแมวที่ใช่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [1] ใครๆ ก็คิดว่าลูกแมวตัวเล็กน่ารัก แต่ถามตัวเองก่อนว่าจะขยันเล่นกับลูกแมวได้บ่อยๆ หรือเปล่า ลองพิจารณารับเลี้ยงแมวโตตามศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ก็ดีเหมือนกัน เพราะจริงๆ ก็น่ารักทั้งนั้น แต่ถูกทิ้งและโตแล้ว คนเลยไม่ค่อยนึกถึง ทั้งๆ ที่แมวโตนี่แหละจะสงบเสงี่ยมเรียบร้อยกว่าลูกแมว แต่บางตัวก็ต้องปรับพฤติกรรมจากที่เคยอยู่กับเจ้าของเก่าเหมือนกัน ถ้าคุณจะเลี้ยงแมวโต จุดสำคัญคือต้องรีบพาไปตรวจร่างกายหาโรค ชะล่าใจแบบลูกแมวไม่ได้ ส่วนปัญหาที่อาจเกิดจากลูกแมวคือข่วนบ่อยและข่วนเจ็บชะมัดนี่สิ ยังไงก็ลองศึกษาและพิจารณาดูก่อน
  2. ถ้าคุณสนใจแมวตัวไหนเป็นพิเศษ ต้องสอบถามให้แน่ใจก่อนว่ามีโรคประจำตัวอะไรที่ต้องดูแลกันไปตลอดหรือเปล่า ถ้ามี ต่อมาก็ถามตัวเอง ว่าคุณพร้อมจะดูแลน้องเหมียวตัวนั้นอย่างดีที่สุดหรือยัง?
    • ถึงแมวที่คุณเลือกจะสุขภาพแข็งแรงดี ก็ยังมีปัจจัยเรื่องสายพันธุ์ ถึงบางคนจะนิยมแมวพันธุ์แท้ แต่ถ้าพ่อแม่แท้ทั้งคู่แต่มาจากคนละสายพันธุ์กัน ก็อาจมีปัญหาทางพันธุกรรมได้เหมือนกัน เช่น แมวหน้าแบนอย่าง Manx กับ Scottish folds มักจะมีปัญหาเรื่องการหายใจ [2]
    • แปลกแต่จริง แมวพันธุ์แท้นี่แหละที่มักมีปัญหาสุขภาพมากกว่าแมวพันธุ์ทาง [3]
  3. ถึงคุณไม่ต้องหาเวลาพาแมวไปเดินเล่นเหมือนหมา แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ต้องดูแลเอาใจใส่กันเลย ยังไงแมวก็เป็นสัตว์ที่ปราดเปรียวว่องไว ชอบให้เล่นด้วยเยอะๆ และต้องการความรักและเอาใจใส่ นอกจากนี้คุณก็ต้องหมั่นล้างทำความสะอาดกระบะทราย รวมถึงจัดสรรอาหารที่มีประโยชน์ให้น้องเหมียวด้วย
  4. ค่าตัวน้องเหมียวจะอยู่ที่ประมาณไม่กี่ร้อยถ้าคุณเลือกรับเลี้ยงแมวจากศูนย์ช่วยเหลือ (ส่วนใหญ่เป็นการบริจาคตามศรัทธา เช่น ค่าอาหารแมว เป็นต้น) แต่ก็อาจพุ่งสูงเป็นพันเป็นหมื่นได้ถ้าคุณเลือกซื้อแมวพันธุ์แท้จากฟาร์ม ทั้งนี้นั่นแค่ค่าใช้จ่ายด่านแรก ยังไม่รวมค่าอาหาร ทรายแมว ของเล่น และค่ารักษาเวลาแมวเจ็บป่วย ถ้าจะให้ประมาณคร่าวๆ ก็แตะหมื่นบาทขึ้นไปสำหรับการเริ่มต้นเลี้ยงแมวปีแรก [5] (แต่พอซื้อของจำเป็นชิ้นใหญ่ๆ ไปหมดแล้ว รวมถึงตรวจสุขภาพขั้นต้นและฉีดวัคซีนหรือทำหมัน ต่อไปค่าใช้จ่ายก็จะเริ่มคงที่แล้วล่ะ)
  5. แค่บริจาคตามศรัทธาไม่กี่ร้อยบาท แต่บอกเลยว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เพราะคุณจะได้น้องเหมียวที่ฉีดวัคซีนครบถ้วน แถมทำหมัน และตรวจสุขภาพให้เสร็จสรรพ [6] แต่ถึงจะเป็นแมวที่ได้มา “ฟรีๆ” ก็ยังเป็นหน้าที่ของคุณที่ต้องรับผิดชอบเรื่องที่ว่ามาเหมือนกัน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ฝึกระเบียบน้องแมว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [7] แต่ส่วนใหญ่แมวก็เลือกอึฉี่ในกระบะทราย มากกว่าจะไปถ่ายเรี่ยราดตามพื้นบ้านอยู่แล้วล่ะ เพราะสัมผัสมันถูกใจกว่ากันเยอะ แต่แรกๆ ก็ต้องมีการเตรียมการและฝึกแมวให้คุ้นเคยกับกระบะทรายบ้าง 2 - 3 ขั้นตอน
    • จัดวางกระบะทรายในมุมสงบที่ปราศจากคน สัตว์ และเสียงรบกวน
    • รักษาความสะอาดของกระบะทรายอยู่เสมอ หมั่นเก็บก้อนอึฉี่ทุกวัน และล้างกระบะเปลี่ยนทรายทุกอาทิตย์ ข้อหลังนี่สำคัญมาก เพราะถ้าทรายไม่สะอาด แมวจะไม่ยอมใช้เลย [8]
    • ถ้าเลี้ยงแมวหลายตัว กระบะทรายต้องเพียงพอ ถ้าคุณมีแมว 2 ตัว ให้เตรียมกระบะทรายไว้สัก 3 กระบะตามจุดต่างๆ ของบ้าน เพราะแมวหัวโจกอาจไล่ ไม่ยอมให้แมวที่ขี้กลัวกว่ามาใช้กระบะทรายร่วมกับตัวเองนี่สิ
  2. อย่าไปแกล้งหรือทำให้แมวตกใจตอนกำลังขับถ่ายในกระบะทราย ไม่งั้นแมวจะเชื่อมโยงความรู้สึกแย่ๆ กับกระบะทราย ทีนี้ก็จะไม่ยอมใช้อีก เลือกกระบะทรายที่มีขนาดใหญ่หน่อย เพิ่มงบสักนิดรับรองมีประโยชน์ในระยะยาว เพราะแมวชอบกระบะทรายพื้นที่เหลือเฟือ (เลือกกระบะทรายให้กว้างไว้ ไม่ต้องเน้นความสูงมาก) [9]
    • อย่าเปลี่ยนยี่ห้อทรายแมวบ่อยๆ เพราะแมวไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหัน อย่างการเปลี่ยนทรายปกติไปเป็นทรายแบบจับตัวกับอึฉี่เป็นก้อนตักง่าย (หรือตรงข้ามกัน) ก็อาจทำแมวหงุดหงิดจนเลิกใช้กระบะทรายไปเลย
    • ระวังอย่าใช้ทรายแมวแบบแต่งกลิ่นจัดๆ เพราะอาจทำแมวเลิกขับถ่ายในกระบะทรายเช่นกัน
  3. ลูกแมวเล็กๆ หรือแมวแก่ที่มีปัญหาเรื่องข้ออักเสบ (arthritis) หรือโรคอื่นๆ อาจเข้าออกกระบะทรายสูงๆ ได้ไม่สะดวกนัก ให้เลือกใช้กระบะทรายเตี้ยๆ แล้วจัดวางไว้ในที่ที่ใช้สะดวก หรือใช้กระบะทรายแบบปรับขนาดได้ก็ดี
  4. การข่วนหรือฝนเล็บถือเป็นพฤติกรรมปกติของแมว ไม่ต้องคิดฝึกระเบียบเรื่องนี้เพราะมันเป็นไปไม่ได้ ตราบใดที่แมวยังมีกรงเล็บ คุณต้องเตรียมเสาลับเล็บไว้ให้สัก 1 - 2 เสา จะได้ไม่หันไปข่วนเฟอร์นิเจอร์ หรือตู้โต๊ะเตียงต่างๆ เสาลับเล็บจะทำให้แมวได้ลับเล็บตามธรรมชาติ พออารมณ์ดีสุขภาพก็ดีตาม [10]
    • ถ้าคุณรับแมวมาเลี้ยงแล้วพบว่าแมวถูกเจ้าของเดิมถอดเล็บ คือผ่าตัดเอาเล็บของเท้าหน้าและ/หรือเท้าหลังออกไป ก็จะไม่สามารถข่วนอะไรได้อีก ไม่ต้องใช้เสาลับเล็บแต่อย่างใด
  5. แมวขี้สงสัยอยู่แล้วตามธรรมชาติ เพราะงั้นเผลอแป๊บเดียวก็โดดขึ้นเคาน์เตอร์หรือด้อมๆ มองๆ ตามที่ต่างๆ ที่คุณไม่อยากให้ไป วิธีดัดหลังน้องเหมียวก็เช่น ปู Scat mats หรือพรมยางแบบมีตุ่มหนาม (พอให้แมวเหยียบแล้วขยะแขยง) หรือเอาน้ำธรรมดาใส่ขวดสเปรย์แล้วพ่นใส่ให้กลัว สุดท้ายคือพูดชัดถ้อยชัดคำว่า “ไม่” ถ้าคุณหมั่นฝึกฝนน้องแมวสักระยะ ก็จะทำให้แมวเข้าใจได้ ว่าจงอยู่ให้ห่างพื้นที่หวงห้ามของคุณ
    • ลองดัดนิสัยแมวด้วย "กระป๋องตกใจ" ก็ได้ (จริงๆ ก็คือกระป๋องน้ำอัดลมเปล่าๆ ใส่กรวดก้อนเล็กๆ แล้วเอาเทปกาวปิดให้สนิทนั่นแหละ) พอแมวเข้าใกล้พื้นที่หวงห้ามก็โยนกระป๋องไปใกล้ๆ แค่นี้น้องเหมียวก็กระเจิง ข้อควรระวังคืออย่าโยนแรงหรือโดนตัวแมว
  6. เป็นฟีโรโมนสังเคราะห์เอาไว้ฉีดพ่นให้น้องแมวรู้สึกสงบ สบายใจ แบบไอระเหยก็มีเหมือนกัน ใช้เสียบปลั๊กเอา [11] วิธีที่ว่ามาใช้แก้ปัญหาเรื่องขับถ่ายกับฝนเล็บผิดที่ผิดทางได้ด้วย ก็เขาพิสูจน์กันมาแล้วนี่นาว่าช่วยคลายเครียดคลายกังวลให้แมวได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ให้อาหารอย่างเหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาหารแมวมีด้วยกันหลากหลายชนิด ทั้งอาหารเม็ดแบบแห้ง อาหารเม็ดนิ่มๆ แล้วก็อาหารเปียกแบบกระป๋อง ถ้าเป็นอาหารเม็ดก็เก็บง่ายกินง่ายหน่อย แต่แมวจะชอบรสของอาหารเม็ดนิ่มๆ (กึ่งเปียก) กับอาหารเปียกแบบกระป๋องมากกว่า แถมอาหารเปียกช่วยให้แมวไม่ขาดน้ำได้ด้วย ชนะอาหารเม็ดก็ตรงนี้แหละ แต่สุดท้ายแล้วจะเลือกแบบไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับคุณและแมวของคุณนั่นแหละ
    • แต่ถ้าเป็นแมวที่มีโรคประจำตัวก็ต้องเลือกให้ดีๆ เพราะบางชนิดก็ไม่ควรกิน ถ้าปรึกษาคุณหมอได้จะดีที่สุด
  2. แมวก็เหมือนสัตว์อื่น คือควรกินอาหารเฉพาะให้ได้สารอาหารครบถ้วน แมวนั้นเป็น "obligate carnivores" หรือสัตว์ที่ดำรงชีวิตด้วยเนื้อสัตว์ ถ้าขาดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ละก็ อาจส่งผลร้ายแรงถึงสุขภาพได้ [12] ลองปรึกษาคุณหมอดูก็ได้ ว่าอาหารแมวยี่ห้อไหนดีและเหมาะสมกับแมวของคุณ ถ้าเป็นยี่ห้อถูกๆ ระวังแมวจะได้สารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ อย่าลืมว่าเป้าหมายของคุณคือทำให้แมวมีความสุข สุขภาพแข็งแรง
    • เลือกยี่ห้อที่มีส่วนประกอบหลักเป็นเนื้อสัตว์ อย่างเนื้อวัว เนื้อไก่ ไก่งวง หรือปลา [13]
    • อย่าลืมมองหากรดอะมิโนที่สำคัญอย่าง ทอรีน (taurine) และอาร์จินีน (arginine) รวมถึงกรดไขมันอย่าง อะราคิโดนิก (arachidonic) กับไลโนเลอิก (linoleic) ด้วย [14]
    • ห้ามให้แมวกินอาหารคน เว้นแต่เป็นอาหารที่สอบถามแล้วคุณหมอบอกว่าปลอดภัย บอกเลยว่าอาหารคนบางชนิดทำเอาแมวป่วยหนักได้ บางทีก็ถึงขั้นเป็นพิษ (เช่น ช็อกโกแลต เป็นต้น)
  3. [15] ให้อาหารโดยคำนึงถึงอายุ น้ำหนัก และระดับกิจกรรมของแมว แต่ส่วนใหญ่แมวชอบกินทีละน้อยแต่บ่อยๆ ตลอดวัน [16]
    • ทางที่ดีที่สุด คือปรึกษาคุณหมอว่าแมวควรกินอะไรและอย่างไร
  4. ทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด และอย่าลืมให้แมวออกกำลังกายเยอะๆ เพราะโรคอ้วนนี่แหละปัญหาหนักพุงของน้องเหมียวสมัยนี้ แถมแมวใครเป็นโรคอ้วน พอเริ่มแก่อาจพัฒนากลายเป็นเบาหวานได้ ที่สำคัญคือแมวอ้วนเสี่ยงเป็นโรคข้ออักเสบ โรคหัวใจ และอื่นๆ [17]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจมองว่าปกติแมวก็เลียขนตัวเองประจำอยู่แล้ว คงไม่ต้องไปช่วยแปรงแต่อย่างใด แต่รู้ไว้ใช่ว่า จริงๆ แล้วคุณก็ยัง ต้อง ช่วยแปรงอยู่ดี ถ้าแมวขนยาว อาทิตย์หนึ่งก็ให้แปรงหลายๆ ครั้งหน่อย แต่ถ้าแมวขนสั้น แค่อาทิตย์ละครั้งก็พอ บอกเลยว่าทำแบบนี้แล้วลดปัญหาแมวขนร่วงเต็มบ้านไปได้เยอะ น้องแมวเองก็จะได้ไม่ต้องขากก้อนขนบ่อยๆ ด้วย
    • สำหรับแมวที่ชอบผลัดขน (แมวขนยาวนี่แน่นอน) ให้คุณเลือกใช้หวีเหล็กซี่ถี่ เพราะจะสางได้ลึกถึงขนชั้นใน (undercoat) ช่วยลดขนร่วงได้เป็นอย่างดี
  2. กวาดสายตาหาหมัดหรือปรสิตต่างๆ รวมถึงอาการผิดปกติอย่างอาการแพ้แดง ก้อนนูน ตุ่มนูน หรือโรคผิวหนังอื่นๆ ถ้ามีอะไรผิดสังเกตให้รีบปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำว่าควรดูแลรักษาน้องเหมียวยังไง
  3. [18] แมวก็คือหนึ่งในสมาชิกครอบครัว ต้องมีการตรวจสุขภาพเป็นประจำเหมือนคนเรา แต่แมวไม่เหมือนเด็กตรงที่แมวบอกเราไม่ได้เวลาไม่สบาย มีแค่เจ้าของอย่างคุณที่ต้องคอยพาไปตรวจสุขภาพเป็นประจำกับคุณหมอ ให้แน่ใจว่าน้องแมวแข็งแรงดี อย่างน้อยๆ ก็ต้องปีละ 1 ครั้ง นี่สำหรับการตรวจสุขภาพทั่วไป อย่างสุขภาพฟัน ตา หู หัวใจ รวมถึงฉีดวัคซีนกระตุ้น และถ่ายพยาธิกับกำจัดหมัดด้วย ถ้าคิดจะเลี้ยงแมว คุณต้องพาแมวไปฉีดวัคซีนที่สำคัญอย่างโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว (feline infectious enteritis หรือ FIE) โรคหวัดแมวกับโรคลูคีเมียในแมว (flu and feline leukaemia virus หรือ FeLV) โรคเหล่านี้ถ้าแมวติดขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ถึงตายได้เลย เพราะฉะนั้นถือว่าสำคัญมากถ้าคุณรักแมว ร้านรับฝากแมวบางที่จะไม่รับแมวของคุณเข้าพักเลยถ้าคุณไม่มีใบยืนยันว่าแมวคุณฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว เรื่องวัคซีนนี่ปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุด ว่าแมวของคุณต้องฉีดตัวไหนบ้าง ย้ำอีกทีว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่ "ควรทำ" แต่เป็นเรื่องที่คุณ "ต้องทำ" เลยล่ะ
    • พอแมวเริ่มแก่ขึ้น คุณต้องพาไปตรวจสุขภาพกับคุณหมอเพิ่มเป็น 2 ครั้งต่อปี
  4. ก็เหมือนเด็กแบเบาะไง ลูกแมวก็ต้องไปหาหมอบ่อยกว่าแมวโตเป็นธรรมดา โดยเริ่มจากอายุประมาณ 8 อาทิตย์ ก็ต้องพาไปหาหมอประมาณ 2 - 3 ครั้งเพื่อฉีดวัคซีนและถ่ายพยาธิ วัคซีนสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือวัคซีนป้องกันโรคไข้หัดแมว (feline distemper) กับโรคพิษสุนัขบ้า (rabies) บางกรณีคุณหมออาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนตัวไหนเพิ่มเติม ก็อย่าลืมขอความรู้จากคุณหมอเรื่องโรคอันตราย เช่น ลูคีเมียในแมว (feline leukemia) แล้วค่อยตัดสินใจว่าควรจะฉีดตัวไหนเพิ่ม
    • คุณหมอจะตรวจลูกแมวหาหมัดกับไรหู (ear mites) ด้วย แล้วทำการรักษาต่อไป
    • อย่าลืมถ่ายพยาธิให้ลูกแมว ที่พบบ่อยสุดในลูกแมวคือพยาธิตัวกลม (roundworms) ที่จะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของลูกแมว แถมเสี่ยงถ่ายทอดมายังคุณได้ด้วย
  5. จะทำหมันแมวตัวเมีย (spaying) หรือทำหมันแมวตัวผู้ (neutering) ก็มีแต่ได้กับได้ เพราะช่วยปรับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์อย่างการอยู่ไม่สุข กับการฉี่พ่นอาณาเขตไปทั่ว ส่วนข้อดีด้านสุขภาพ คือลดปัญหาแมวท้องไม่พร้อมจนเสี่ยงต่อโรคอย่างมดลูกอักเสบ (pyometra) [19] สุดท้ายประโยชน์ต่อส่วนรวม คือช่วยลดจำนวนลูกแมวจรจัดยังไงล่ะ!
    • ปรึกษาคุณหมอว่าเมื่อไหร่ที่สมควรทำหมันลูกแมว แต่ปกติแล้วคุณหมอมักแนะนำให้ทำหมันตอนลูกแมวอายุได้ 2 - 6 เดือน
  6. บอกเลยว่าแมวก็เป็นโรคในช่องปากได้เหมือนกับคุณ (บางโรคก็รุนแรง) ถ้าจะแปรงฟันให้แมว คุณต้องใช้แปรงขนนุ่มหรือแปรงกับยาสีฟันสำหรับแมวโดยเฉพาะ ห้ามใช้ยาสีฟันของคนเด็ดขาด เพราะถ้าฟลูออไรด์มากไปจะทำให้แมวปวดท้องได้ แถมฟลูออไรด์เข้มข้นในยาสีฟันของคนก็อาจถึงขั้นเป็นพิษกับแมวได้เลย เริ่มจากให้แมวชิมรสยาสีฟันก่อน ต่อมาค่อยขยับขยายลากนิ้วของคุณไปตามเหงือกบนของแมว สุดท้ายก็เปลี่ยนมาใช้แปรงสีฟันแทน แปรงไล่ไปตามแนวเหงือกของกรามด้านบน เอียงแปรงทำมุมเฉียงขึ้นนิดหนึ่ง ขนแปรงจะได้เข้าไปถึงใต้เหงือก แปรงจากในปากออกข้างนอก และให้แปรงวนๆ ไล่ตามเหงือกด้วย เวลาแปรงอย่าให้นานเกิน 30 วินาที
    • ครั้งแรกอย่าพยายามแปรงให้ครบทั้งปาก แค่แมวยอมให้แปรงฟันหน้าด้านบน ก็ถือว่าวันนั้นประสบความสำเร็จแล้ว อย่างน้อยคุณก็ได้ดูแลรักษาบริเวณสำคัญที่มักเกิดปัญหาเหงือกและฟัน
  7. ถึงคุณจะแปรงฟันให้น้องเหมียวดีแค่ไหน แต่แมวบางตัวก็ยังต้องไปให้คุณหมอขูดหินปูนเป็นบางครั้ง การแปรงฟันช่วยลดคราบพลัคและหินปูนที่ผิวฟันด้านนอกได้ แต่หินปูนด้านในฟันนี่สิที่น่าเป็นห่วง นอกจากนี้ระหว่างขูดหินปูนคุณหมอยังได้ตรวจสุขภาพช่องปากให้แมวอย่างละเอียด เพราะเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ยาสลบ สัญญาณบอกปัญหาในช่องปากก็เช่น [20]
    • ปากเหม็น
    • ฟันโยก
    • ฟันเหลือง เปลี่ยนสี หรือฟันมีคราบดำ (tartar)
    • เสียวฟันหรือปวดฟัน (รวมถึงเจ็บปวดบริเวณอื่นในช่องปาก)
    • มีเลือดออก
    • น้ำลายไหลเยอะกว่าปกติ หรือพยายามกินแล้วอาหารร่วงจากปาก
    • ไม่ค่อยอยากอาหาร หรือน้ำหนักลด
  8. ทุกวันคุณต้องหาเวลามาเล่นและพูดคุยกับแมว แมวจะได้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง จะให้เล่นของเล่น พูดคุย หรือแปรงขนให้ก็ได้ทั้งนั้น ของเล่นอย่างปากกาเลเซอร์ ลูกบอล หนูปลอม และของเล่นแบบติดขนนกนี่แหละที่ดึงดูดแมวนัก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ให้แมวกินอาหารคุณภาพสูงในปริมาณที่เหมาะสม แมวจะได้ไม่อ้วนเกินไป สุขภาพแข็งแรง
  • แปรงขนแมวอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง แต่ถ้าเป็นแมวขนยาวก็ต้องบ่อยกว่านั้น
  • นมทำให้แมวปวดท้อง ท้องเสียได้ น้ำเปล่านี่แหละดีที่สุดสำหรับแมว
  • ถ้าแมวช่างเลือก ไม่ยอมกินน้ำก๊อก ก็เปลี่ยนเป็นน้ำกรองซะ
  • รู้ไว้ใช่ว่า: แมวไม่รู้รสหวาน แต่ไวต่อกรดอะมิโนมาก (ก็กินเนื้อเป็นหลักไง)
  • แมวมีกรงเล็บ และใช้บ่อยด้วยเวลาตื่นเต้น กลัว โกรธ และอื่นๆ เพราะงั้นก็ระวังอย่าให้แมวข่วน แต่ถึงจะถูกข่วนขึ้นมา ก็รู้ไว้เถอะว่าน้องเหมียวเขาไม่ค่อยตั้งใจหรอก ถ้าไม่ชอบ เวลาเล่นกันแล้วแมวข่วน ให้ลองพูดว่า "ไม่!" แล้วเลิกเล่นไปเลย สุดท้ายแมวจะเริ่มเข้าใจเอง ว่าเวลาเล่นอย่ากางเล็บ
  • ถ้าแมวกัดหรือข่วนคุณ ให้ฟอกสบู่ที่แผลแล้วล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นตามด้วยแอลกอฮอล์ (หรือยาฆ่าเชื้ออื่นๆ) สุดท้ายก็ปิดพลาสเตอร์ ถ้าแผลบวมหรือดูท่าทางติดเชื้อ ให้รีบไปหาหมอ
  • พาแมวไปตรวจสุขภาพกับคุณหมออย่างน้อยปีละครั้ง
  • ถ้าคุณมีกระถางต้นไม้ในบ้าน ให้เช็คก่อนว่าเป็นต้นที่ปลอดภัยสำหรับแมวหรือเปล่า เพราะไม้ประดับบางชนิดเป็นพิษรุนแรงกับสัตว์เลี้ยง (เช่น Poinsettias หรือต้นคริสต์มาส)
  • เลี้ยงแมวแบบปิดดีที่สุด บอกเลยว่าแมวที่เลี้ยงแบบเปิดน่ะอายุขัยสั้นกว่าเยอะเลย เพราะเสี่ยงบาดเจ็บ ติดโรค ถูกหมาฟัด หรือพบเจออันตรายอื่นๆ
  • ถ้าอยากหาอะไรสนุกๆ ให้แมวทำ ลองซื้อ catnip หรือกัญชาแมว มาเทเป็นกองจิ๋วๆ ที่พื้นกระเบื้องหรือพื้นทั่วไป (ที่ไม่ได้ปูพรม ไม่งั้นล่ะดูดฝุ่นกันตาย!) แล้วคุณจะรู้เอง ว่าทำไมคนถึงเรียกกัญชาแมว! ไม่ว่าตัวไหนก็มักจะกลิ้งเกลือกไปมาทับกองแคทนิป หรือไม่ก็กินมันซะเลย คำเตือน: แมวบางตัวคึกจนน่ากลัวหลังโดนฤทธิ์กัญชาแมว แต่ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ออกจะฮาซะมากกว่า
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณไม่รักแมวแล้วอย่าทิ้งขว้างกัน อย่างน้อยก็สงเคราะห์ด้วยการพาไปส่งที่ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ใกล้บ้านคุณหน่อยเถอะ น้องเหมียวจะได้เจอบ้านใหม่ครอบครัวใหม่ที่เขารักและต้องการ ใครเอาแมวไปเที่ยวทิ้งขว้างตามถนน ระวังอีกหน่อยกรรมตามสนองนะ
  • ห้ามทำร้ายแมวเด็ดขาด ลองนึกถึงใจแมวสิ คุณเองยังไม่ชอบเลยไม่ใช่หรือ เวลามีคนมาทำกันเจ็บๆ น่ะ? (แมวเล็บคมนะจะบอกให้ ไปเที่ยวแกล้งๆ เดี๋ยวเจอข่วนหน้าแหกหรอก!)
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.adoptapet.com/blog/adopting-a-cat-or-a-kitten-which-is-better-for-me/
  2. http://www.worldofdani.com/healthproblemsextremepersiansen2.htm
  3. http://www.icatcare.org/advice/cat-breeds/inherited-disorders-cats
  4. https://www.aspca.org/pet-care/cat-care/general-cat-care
  5. https://www.aspca.org/adopt/pet-care-costs
  6. http://www.animalhumanesociety.org/adopt/adoption-fees
  7. Feline Internal Medicine Secrets. Michael R. Lappin, DVM, PhD. Hanley and Belfus, Inc. 2001
  8. Litter Box Preference in Domestic cats: Covered Versus Uncovered. E.K. Grigg, et al. Journal of Feline Medicine and Surgery April 2013 vol. 15 no. 4 280-284
  9. Litterbox Size Preference in Domestic Cats (Felis catus). N.C. Guy, et al. Journal of Veterinary Behavior Clinical Applications and Research. March–April, 2014Volume 9, Issue 2, Pages 78–82
  1. Canine and Feline Behavior for Veterinary Technicians and Nurses. Edited by Julie Shaw and Debbie Martin. John Wiley & Sons, Inc. 2015
  2. Clinical Trial of a Feline Pheromone Analogue for Feline Urine Marking. Niwako Ogata and Yukari Takeuch. Journal of Veterinary Medical Science Vol. 63 (2001) No. 2 P 157-161
  3. Differences between cats and dogs: a nutritional view. 7. Veronique Legrand-Defretin (1994). Proceedings of the Nutrition Society, 53, pp 15-24. doi:10.1079/PNS19940004.
  4. http://www.petmd.com/cat/slideshows/nutrition-center/choosing-best-cat-food
  5. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=1+2230&aid=2660
  6. https://www.aspca.org/pet-care/cat-care/feeding-your-adult-cat
  7. The Evolutionary Basis for the Feeding Behavior of Domestic Dogs (Canis familiaris) and Cats (Felis catus) John W.S. Bradshaw The Journal of Nutrition. July 2006 vol. 136 no. 7 1927S-1931S
  8. The Growing Problem of Obesity in Dogs and Cats. Alexander J. German. The Journal of Nutrition. July 2006 vol. 136 no. 7 1940S-1946S
  9. Feline Medicine and Therapeutics. E. A. Chandler, R. M. Gaskell, and C. J. Gaskel. Blackwell Publishing. 2004.
  10. http://www.aspcapro.org/resource/shelter-health-animal-care/pediatric-spayneuter#advantages
  11. http://www.avdc.org/ownersinfo.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 22,651 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา