ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการวิตกจริต (Anxiety) เป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครก็ต้องเคยพบเจอ บางคนอาจถึงขั้นเป็นโรควิตกกังวล (anxiety disorder) อย่างโรคกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder หรือ GAD) ถ้ารู้สึกกังวลเกินจริงกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันแบบทำยังไงก็ไม่หาย [1] แต่ถ้าอยู่ๆ ก็เกิดอาการวิตกจริตกะทันหัน ประมาณว่าหัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ ตัวสั่น รวมถึงอาการกลัวอย่างรุนแรง แปลว่านั่นแหละคุณกำลังเกิด panic attacks [2] Panic attacks หรืออาการวิตกจริตรุนแรงกะทันหัน ฟังแล้วน่ากลัว เพราะฉะนั้นคุณควรรู้วิธีป้องกันไม่ให้อาการลุกลาม แค่คุณมีสติรู้ตัวและหมั่นฝึกฝน คุณก็สามารถบรรเทาอาการ panic attack จัดการกับความกลัวและกังวล รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดอาการซ้ำในอนาคตอันใกล้ได้แล้ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

สงบใจเมื่อเกิดอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    "อยู่กับปัจจุบัน" คือวิธีการใช้สงบใจตอนเกิดวิตกจริตกะทันหัน. อันดับแรกให้ระบุ 5 อย่างที่แวบเข้ามาในสายตาคุณ อีก 4 อย่างที่คุณจับต้องสัมผัสได้ 3 เสียงที่คุณได้ยิน 2 กลิ่นที่ลอยมาเตะจมูก สุดท้ายคือ 1 รสชาติในปากของคุณ
  2. ถ้ากำลังเกิด panic attack เป็นไปได้ว่าคุณจะเริ่มหายใจหอบถี่ (hyperventilate) ด้วย แต่ถึงจะไม่มีอาการที่ว่า การหายใจลึกๆ ก็ช่วยลดความเครียด เพิ่มออกซิเจนให้สมอง ทำให้คุณมีสมาธิและสติจดจ่อกับสิ่งตรงหน้าได้ [3] พอรู้ตัวว่าเริ่มวิตกจริตเมื่อไหร่ให้หยุดหายใจ แล้วเริ่มใหม่โดยหายใจช้าๆ ลึกๆ
    • เริ่มด้วยการกลั้นหายใจ จะได้ลดความรู้สึกเหมือนกำลังสำลักหรือหายใจไม่ออก [4]
    • จากนั้นให้เริ่มหายใจใหม่แบบช้าๆ ลึกถึงกระบังลม เอามือข้างหนึ่งทาบอก ส่วนอีกข้างวางที่ท้อง ให้รู้สึกถึงหน้าท้องที่พองออกและยุบเข้าระหว่างหายใจ ส่วนมือที่อยู่ตรงอกก็ค้างไว้แบบนั้น ให้คุณปลีกตัวไปอยู่ในห้องคนเดียว แล้วพยายามเพ่งสมาธิไปที่เสียงต่างๆ รอบตัว [5]
    • หายใจเข้าทางจมูก 4 วินาที จากนั้นให้กลั้นหายใจไว้ 2 - 3 วินาที หายใจออกช้าๆ ทางปาก 5 - 6 วินาที
    • หายใจเข้าออกลึกๆ แบบนี้ต่อไปอีกหลายๆ นาที จนกว่าจะรู้สึกได้ว่ากล้ามเนื้อของคุณผ่อนคลายลง สมองแจ่มใสอีกครั้ง
  3. ช่วงเกิด panic attack ความคิดคุณคงสับสนปนเปไปหมด ความรู้สึกต่างๆ ประดังประเดเข้ามาในคราวเดียว จนรู้สึกเหมือน “overload” คือทุกอย่างเยอะเกินรับไหว ที่เป็นแบบนี้เพราะร่างกายของคุณได้กระตุ้นให้ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) เปิดโหมด “fight or flight” คือไม่สู้ก็เผ่นสิจะรออะไร จนหัวใจเต้นแรงเร็วและหายใจหอบถี่ กล้ามเนื้อตึงเกร็ง และเลือดสูบฉีดแรง [6] หยุดตั้งสติก่อน แล้วหันมาสังเกต รู้สึกถึงสัมผัสต่างของร่างกายคุณ ขั้นตอนนี้ช่วยให้สมองของคุณลืม “ปฏิกิริยาตอบสนองแบบอัตโนมัติ” หรือพฤติกรรมตื่นตูมกับสิ่งเร้าต่างๆ แบบอัตโนมัติไปได้ โดยค่อยๆ แตกรายละเอียดออกมา "รู้สึก" ทีละสัมผัส [7]
    • พยายามรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ด่วนตัดสินไปก่อนว่ามันเป็นเรื่อง “ดี” หรือ “ร้าย” เช่น คุณรู้สึกว่า “หัวใจเราเต้นเร็วมาก มือก็ชุ่มเหงื่อ รู้สึกเหมือนจะอ้วกเลย”
    • จากนั้นให้ย้ำเตือนตัวเองว่าอาการพวกนี้เป็นผลมาจากความวิตกกังวล อย่าคิดว่าต้อง “ควบคุม” อาการพวกนี้ให้ได้ เพราะจะทำให้ panic กว่าเดิม [8] คิดซะว่าอาการพวกนี้เกิดแค่ชั่วคราว เดี๋ยวก็หายไป
    • ระหว่างสังเกตและรับรู้ความรู้สึกตัวเอง ให้หยุดอยู่กับที่ อย่าเพิ่งไปไหน พอเวลาผ่านไปสมองจะรับรู้ตามมาเอง ว่าไม่เห็นมีอะไรอันตรายซะหน่อย ถ้าวิ่งหนีไปจากตรงนั้น จะทำให้สมองเชื่อมโยงรุนแรง ว่าเหตุการณ์นั้นสมควรต้องเกิดอาการ panic [9]
  4. ถ้ากำลังเกิด panic attack ให้เบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองไปจากความกลัวโดยคิดเรื่องอื่นแทน เช่น นับถอยหลังจาก 100 โดยก้าวกระโดดทีละ 3 จำนวน ไล่ชื่อนายกฯ ตามลำดับที่รับตำแหน่ง หรือร้องเพลงไม่ก็กลอนโปรด บังคับตัวเองให้ใช้เทคนิคที่ว่าสักอย่าง (หรือหลายอย่าง) จนกว่าจะสงบใจได้บ้าง
    • สำคัญมากว่าว่าห้ามเบี่ยงเบนความสนใจโดยหนีไปจากเหตุการณ์ที่ทำให้คุณ panic หาทางสงบใจให้ได้จากตรงนั้นแหละ ไม่งั้นก็เท่ากับฝึกตัวเองให้เชื่อมโยงสถานที่หรือสถานการณ์กับความกลัวไปโดยปริยาย พอเจอเรื่องแบบนี้หรือมาที่นี่อีกก็จะกระตุ้นให้เกิดวิตกจริตขึ้นมาอีก [10]
  5. เป็นวิธีเกร็งแล้วคลายกล้ามเนื้อทีละส่วน ค่อยๆ ทำไล่ไปจนครบทั้งร่างกาย เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เพราะบังคับให้คุณต้องจดจ่ออยู่กับอย่างอื่นที่ไม่ใช่ความกลัว และคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียดของคุณไปในเวลาเดียวกัน เริ่มจากกล้ามเนื้อที่ใบหน้าก่อน แล้วค่อยไล่ลงไป จนกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายคุณผ่อนคลาย [11]
    • เกร็งกล้ามเนื้อทีละส่วน ส่วนละ 5 - 10 วินาที จากนั้นค่อยคลาย โดยส่วนหนึ่งสามารถทำซ้ำได้หลายครั้ง แต่จริงๆ แค่ครั้งเดียวก็เห็นผลแล้ว
    • กล้ามเนื้อส่วนที่สามารถเกร็งและคลายได้ก็เช่น ขากรรไกร ปาก (เบ้ปากแล้วคลาย) แขน มือ ท้อง สะโพก ต้นขา น่อง แล้วก็เท้า
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

จัดการความกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงจุดประสงค์ของเราคือคลายความวิตกกังวล แต่ไม่ได้แปลว่าต้องกลบเกลื่อนหรือทำเป็นสบายดี ถ้าทำไม่ใส่ใจหรือไปเก็บกดอารมณ์ อาจทำให้อารมณ์นั้นยิ่งรุนแรงและทำให้คุณยิ่งหวาดกลัว คุณต้องรู้ตัวและยอมรับซะก่อน ว่าคุณกำลังกลัว ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่อง “ผิด” หรือ “ไม่ดี” แต่อย่างใด [12]
  2. เป็นขั้นตอนที่คุณเลิกคิดเรื่องชวนกังวล แล้วแทนที่ด้วยเรื่องอื่นที่คิดแล้วคุณมีความสุข สงบใจได้ จะได้ไม่คิดวน หมกมุ่นอยู่กับเรื่องเดิมๆ เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง [13]
    • เช่น คุณอาจเครียดจัดเรื่องที่เดี๋ยวต้องขึ้นเครื่องบิน จนหยุดคิดซ้ำไปซ้ำมาไม่ได้ ว่าถ้าเครื่องเกิดตกขึ้นมาจะทำยังไง ให้คุณตั้งสติโดยบอกตัวเองว่า “หยุดเลย” จะพูดออกมาหรือแค่คิดก็ได้
    • ขั้นต่อมาก็ให้คิดถึงเรื่องดีๆ ที่ชวนสงบใจแทน เช่น คุณอาจเปลี่ยนไปคิดเรื่องที่ว่าจะไปพักร้อนกับเพื่อนๆ แทน ถ้าไปถึงแล้วคุณจะทำอะไรสนุกๆ กันบ้าง
    • อาจต้องฝึกหรือทำซ้ำๆ กว่าวิธีนี้จะได้ผล เพราะฉะนั้นให้พยายามเข้า ถ้ายังไม่เห็นผลก็อย่าด่วนโกรธหรือโทษตัวเอง
    • แต่วิธีนี้ไม่เหมาะกับตอนกำลังเกิด panic attack เพราะอาจรุนแรงเกินไปจนคุณคิดอะไรได้ไม่กระจ่าง หรือเป็นเหตุเป็นผลนัก เหมาะสำหรับใช้คลายความวิตกกังวลทั่วไปมากกว่า
  3. จินตภาพบำบัด (guided imagery) ช่วยให้คุณผ่อนคลายความวิตกกังวล สบายใจขึ้นได้ [14]
    • ให้ลองจินตนาการถึงสถานที่ที่ทำให้คุณรู้สึกสงบและผ่อนคลาย อาจจะเป็นบ้านของคุณ สถานที่ท่องเที่ยวที่ชอบ หรือตอนอยู่ในอ้อมกอดของคนรักก็ได้
    • ตอนที่กำลังคิดถึงสถานที่นั้น ให้เพิ่มสัมผัสต่างๆ เข้าไปในฉากให้ชัดเจน จะได้เพ่งสมาธิทั้งหมดไปที่การจินตนาการรายละเอียด ตอนจินตนาการจะหลับตาหรือลืมตาก็ได้ แต่ถ้าหลับตาก็จะง่ายกว่าเยอะ เพ่งสมาธิให้รู้สึกได้อย่างชัดเจน ว่าคุณเห็นอะไร ได้กลิ่นอะไร สัมผัสอะไร ได้ยินเสียงอะไร กระทั่งรู้รสอะไรในปากบ้างเมื่ออยู่ในสถานที่ปลอดภัยนั้นของคุณ
    • ทุกครั้งที่เกิดอาการวิตกจริต ให้จินตนาการว่าคุณอยู่ในที่ปลอดภัยนั้นอย่างสงบและผ่อนคลาย พอคุณเริ่มรู้สึกผ่อนคลายลงจริงๆ แล้ว ก็ค่อยกลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง
    • หรือลองถามใจตัวเองดู ว่าตอนนี้คุณตกอยู่ในอันตรายจริงหรือเปล่า? เพราะส่วนใหญ่คุณมักด่วนคิดไปก่อนว่า “ถ้า...จะทำยังไง” ทำให้ตีตนไปก่อนไข้ เกิด panic เพราะเรื่องที่ยังไม่ได้เกิด หรืออาจไม่มีทางเกิดขึ้น ย้ำให้แน่ใจว่าคุณแค่กลัว แต่ไม่ได้มีเรื่องอันตรายเกิดขึ้นจริงๆ พอสมองคุณรู้ว่าไม่มีอะไรจะมาทำร้ายคุณได้ คุณก็จะรู้สึกผ่อนคลายขึ้นเอง
  4. ถ้าคุณมีแนวโน้มจะเกิด panic attacks หรือวิตกจริตง่าย ให้ลองเขียนไดอารี่บรรยายความรู้สึกของคุณลงไป เขียนไปตามที่รู้สึกเลย คุณกลัวอะไร มีความคิดหรือความเชื่อไหนที่เกี่ยวข้องกับความกลัวนั้น และเวลาเกิดวิตกจริตอาการคุณรุนแรงแค่ไหน การเขียนมันออกมาจะทำให้คุณรวบรวมความคิดได้ เมื่อมาอ่านหรือย้อนดูทีหลัง ก็จะช่วยให้คุณรับมือกับอาการวิตกจริตได้ดีขึ้น [15]
    • ตอนแรกคุณอาจรู้สึกเหมือนไม่มีอะไรจะเขียนหรือไม่รู้จะเขียนยังไง ก็ขอให้พยายามวิเคราะห์สถานการณ์ที่ทำให้คุณเกิดวิตกจริตซะก่อน พอคุณฝึกตัวเองให้เริ่มสงบใจลงและคิดพิจารณาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้แล้ว คุณก็จะเลือกได้เองว่าความคิดและความรู้สึกไหนที่ไปเพิ่มเชื้อไฟให้อาการวิตกจริตของคุณ
    • เห็นใจตัวเองบ้างตอนเขียนความรู้สึก อย่าด่วนตัดสินตัวเองหรือความคิดนั้นๆ จำไว้ว่าให้ความคิดและความรู้สึกผุดขึ้นมาตามธรรมชาติ และไม่มีความคิดหรือความรู้สึกไหนที่ “ดี” หรือ “ร้าย” ไปซะหมด คุณทำได้แค่เลือกว่าจะรับมือกับมันยังไงเท่านั้น
  5. ถ้าคุณดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง จิตใจก็จะแข็งแกร่งตามไปด้วย ถึงการออกกำลังกายและการกินอาหารที่มีประโยชน์ไม่ได้ทำให้อาการวิตกจริตของคุณ “หายไป” แต่พอเกิดอาการเมื่อไหร่คุณจะได้รับมือไหวไงล่ะ
    • ออกกำลังกายบ้างนิดๆ หน่อยๆ พอร่างกายกระฉับกระเฉงโดยเฉพาะหลังออกแอโรบิค ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (endorphins) ออกมา ทำให้คุณรู้สึกสงบใจ มีความสุขมากขึ้น [16]
    • หลีกเลี่ยงสารกระตุ้น เช่น คาเฟอีนและนิโคติน เพราะทำให้คุณเครียดและกระวนกระวายได้ ทีนี้อาการวิตกจริตจะเลวร้ายกว่าเดิม [17] หลายคนเชื่อผิดๆ ว่าสูบบุหรี่ช่วยสงบจิตใจ แต่นั่นไม่จริงเลย ถ้าติดนิโคตินแล้วขาด จะทำให้คุณยิ่งเครียดยิ่งกังวล แถมสูบบุหรี่แล้วเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย [18]
    • กินอาหารให้ครบหมู่ ถึงจะไม่มี “อาหารวิเศษ” ที่การันตีว่ากินแล้วจะไม่เกิดวิตกจริตอีก แต่ถ้าคุณหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปหรือน้ำตาลสูงได้ก็ดี รวมถึงกินโปรตีนไขมันต่ำ และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเยอะๆ เช่น โฮลเกรนกับผักผลไม้สด [19]
  6. นั่งวิตกจริตวนไปทำให้อาการคุณยิ่งหนัก ทีนี้ถึงอยากหาย panic ก็ยากแล้ว หาอะไรทำเบี่ยงเบนความสนใจตัวเองหน่อยทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ทำความสะอาด วาดรูป โทรหาเพื่อน สรุปคืออะไรก็ได้ที่ทำให้คุณมือไม่ว่างหัวไม่ว่าง แต่ดีที่สุดคือหางานอดิเรกที่คุณทำแล้วเพลินจนลืมเครียด [20]
    • ลองอาบหรือแช่น้ำอุ่น เพราะมีงานวิจัยที่ชี้ว่าพอตัวอุ่นสบายแล้วใจคุณก็จะสดชื่นผ่อนคลายไปในเวลาเดียวกัน [21] จะลองหยดน้ำมันเลม่อน บาล์ม (lemon balm) มะกรูด (bergamot) มะลิ (jasmine) หรือลาเวนเดอร์ (lavender) ลงในน้ำด้วยก็ได้ เพราะน้ำมันหอมระเหยหรือ essential oils พวกนี้มีสรรพคุณช่วยให้คุณรู้สึกสงบใจได้เป็นอย่างดี [22]
  7. ทำ playlist รวมเพลงที่คุณฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลายสบายใจหรือฟังแล้วสุขสุดๆ ขึ้นมา จากนั้นถ้าเกิดวิตกจริตขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็เปิดเพลงขับกล่อมตัวเองซะเลย ใช้เฮดโฟนแบบ noise-cancelling ด้วยถ้าเป็นไปได้ จะได้ปราศจากเสียงรบกวน ให้คุณได้จดจ่ออยู่กับเพลงโปรดของคุณ ระหว่างที่ฟังเพลงให้มุ่งความสนใจไปที่เพลงแต่ละท่อน ทั้งทำนองและเนื้อเพลง จะได้ลืมความกลัวไปชั่วขณะ [23]
    • พยายามเลือกเพลงที่จังหวะช้าๆ (ประมาณ 60 bpm หรือ 60 จังหวะต่อนาที) และมีเนื้อเพลงที่ชวนผ่อนคลายสบายใจ (ไม่มีเนื้อเลยได้ยิ่งดี) [24] ถ้าเป็นเพลงเร็วหรือเนื้อโหดๆ แรงๆ ระวังจะทำคุณเครียดกว่าเดิม [25]
  8. ถ้าคุณทรมานกับอาการวิตกจริตแบบไร้ทางออก ลองโทรหาเพื่อนหรือครอบครัวดู พูดคุยกับเขาให้ได้เบี่ยงเบนความสนใจตัวเองไปจากอาการ panic แล้วลองวิเคราะห์ว่าทำไมคุณถึงเกิดความกลัว จะได้หาทางคลายเครียด ถ้าคุณมีแนวโน้มจะเกิด panic attacks ได้ง่าย ให้บอกเพื่อนไว้แต่เนิ่นๆ ว่าจะช่วยเหลือคุณได้ยังไง พอถึงเวลาคับขันแล้วคุณโทรไปจะได้ช่วยคุณได้ทันท่วงที
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณเกิด panic attacks รุนแรงเป็นเวลานานๆ หรือบ่อยๆ ให้ปรึกษาคุณหมอหรือนักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป เพราะคุณอาจเป็นโรคแพนิค (panic disorder) หรือโรคกังวลทั่วไป (generalized anxiety disorder) ซึ่งทั้ง 2 โรคนี้ถ้ารักษาอย่างถูกต้องก็สามารถหายขาดได้
    • วิธีรักษาที่เห็นผลและเป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับโรควิตกจริต ก็คือ Cognitive-Behavioral Therapy (CBT) หรือความคิดและพฤติกรรมบำบัด เป็นการบำบัดที่เน้นฝึกให้คุณจับสังเกตเวลาตัวเองคิดและรับมือสถานการณ์ต่างๆ แบบไม่เข้าท่าเท่าไหร่ จากนั้นก็เปลี่ยนแปลงไปสู่วิธีคิดและรับมือที่มีประโยชน์กับคุณ หรือก็คือรู้เท่าทันเวลาตัวเองคิดกลัวเกินจริงและรับมืออย่างทันท่วงที [26]
    • คุณหมอหรือจิตแพทย์ของคุณอาจพิจารณาจ่ายยาคลายกังวล (anxiety-controlling medication) ในบางเคสที่ใช้วิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล [27]
  2. ในจังหวัดที่คุณอยู่อาจจะไม่มีคุณหมอเก่งๆ หรือน่าเชื่อถือ หรือในกรณีที่คุณมีงบจำกัดหรือประกันไม่ครอบคลุม ให้ลองพูดคุยปรึกษาปัญหากับคุณหมอประจำตัวดูก่อน เพราะถึงคุณหมอที่รักษาโรคทั่วไปให้คุณจะไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องจิตบำบัดด้วย แต่รับรองเลยว่าถ้าอาการของคุณไม่รุนแรงหรือซับซ้อนมาก เช่น โรควิตกจริตหรือโรคซึมเศร้า คุณหมอต้องให้คำแนะนำดีๆ และจ่ายยาให้ได้
    • รวมถึงคุณหมออาจโอนเคสไปยังนักจิตบำบัดที่รู้จักให้คุณด้วยถ้าคุณต้องการและสะดวก
  3. ถ้าคุณงบไม่พอให้ไปบำบัด ลองสอบถามสถานีอนามัยใกล้บ้านดูก่อน เจ้าหน้าที่อาจดูแลให้คำแนะนำเบื้องต้นได้ ว่าคุณควรทำยังไงต่อไป [28]
    • บางสถานีอนามัยก็มีบริการให้คำปรึกษาปัญหาชีวิต หรือลองโทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของ กรมสุขภาพจิต ดูก็ตรงจุดดี
    • นักจิตบำบัดบางคนหรือบางคลินิกให้บริการในราคาที่ “ต่อรองกันได้” ถ้าคุณทั้งร้อนใจและเดือดร้อนเรื่องเงิน ก็ลองปรึกษาดู กระทั่งคลินิกให้คำปรึกษาฟรีเดี๋ยวนี้ก็มีเหมือนกัน
    • หลายมหาวิทยาลัยมีศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตฟรี บางทีก็เฉพาะนักเรียนนักศึกษา แต่มหาวิทยาลัยดังๆ ใหญ่ๆ บางแห่งก็เปิดโอกาสให้คนภายนอกเข้ามารับคำปรึกษาได้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาของนักเรียนไปในเวลาเดียวกัน โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำควบคุม แบบหลังอาจมีค่าใช้จ่ายบ้าง แต่รับรองว่าไม่แพงเกินรับได้
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

รู้จักอาการ Panic Attack

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Panic attacks เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคแพนิค หรือก็คือโรควิตกจริต รู้สึกกลัวและกังวลรุนแรงกะทันหันบ่อยๆ อาการจะกำเริบเพราะสถานการณ์บางอย่าง ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่สถานการณ์อันตรายหรือคุกคาม อาการที่บอกว่าคุณกำลังเกิด panic attack ก็คือ [29]
    • เจ็บแน่นหน้าอก โดยมักจะเป็นเฉพาะจุด ไม่ได้เจ็บแผ่ไปทั้งซีกซ้ายเหมือนเวลาหัวใจวาย [30]
    • วิงเวียนหรือเป็นลม
    • สำลัก
    • คลื่นไส้หรืออาเจียน แต่ถ้าเป็น panic attacks จะไม่ค่อยอาเจียนเหมือนเวลาหัวใจวาย
    • เป็นเหน็บหรือชา
    • หัวใจเต้นเร็ว
    • หายใจติดขัด
    • เหงื่อแตก ตัวเหนียวเหนอะ หรือร้อนวูบวาบ
    • ตัวสั่น ไม่ว่าจะมากหรือน้อย
  2. นอกจากอาการทางกายแล้ว panic attacks มักมีบางความรู้สึกร่วมด้วย เช่น [31]
    • หวาดกลัวรุนแรง
    • กลัวตาย
    • กลัวจะคุมสติหรือเหตุการณ์ไม่ได้
    • คาดการณ์ไปถึงเรื่องร้ายๆ
    • จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
    • ไม่รับรู้สถานการณ์ตามจริง
  3. หลายอาการของ panic attack กับหัวใจวาย (heart attack) บางทีก็คล้ายหรือเหมือนกัน [32] ถ้าคุณสงสัย แม้จะแค่ นิดเดียว ว่าตัวเองเป็น panic attack หรือโรคหัวใจกันแน่ ให้รีบขอความช่วยเหลือด่วน อาการหัวใจวายก็เช่น [33]
    • เจ็บแน่นหน้าอก ถ้าเป็นหัวใจวาย คุณจะรู้สึกเหมือนมีอะไรกดทับ แน่นไปหมด หรือเหมือนมีอะไรมาบีบหัวใจ ซึ่งอาการจะคงอยู่นานถึง 2 - 3 นาที
    • เจ็บช่วงตัวบน และเจ็บแผ่ไปถึงแขน หลัง คอ ขากรรไกร หรือท้อง
    • หายใจติดขัด โดยอาจเกิดอาการก่อนเจ็บแน่นหน้าอก
    • วิตกจริต อยู่ๆ ก็รู้สึกกลัวหรือรู้สึกแย่
    • วิงเวียนหรือเป็นลม
    • เหงื่อแตก
    • คลื่นไส้หรืออาเจียน เวลาหัวใจวายจะอาเจียนได้ง่ายกว่าตอนเกิด panic attacks [34]
  4. แยกให้ออก คุณวิตกกังวลธรรมดาหรือเข้าขั้น panic attack. ใครๆ ก็เคยเครียด หรือนานๆ ทีจะวิตกจริตบ้างก็ไม่แปลก คนส่วนใหญ่มักจะ "นอยด์" ตอนมีเรื่องหรือเหตุการณ์มากระตุ้น เช่น สอบไล่ หรือต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ ซึ่งพอหมดเรื่องอาการที่ว่าก็จะหายไปเอง แต่ถ้าคนเป็นโรควิตกกังวล จะเครียดหรือนอยด์บ่อยกว่าคนทั่วไป [35] ส่วนคนเป็นโรคแพนิคก็จะเกิด panic attacks บ่อยและรุนแรงเช่นกัน [36]
    • panic attack มักทุเลาลงหลังผ่านไปได้ 10 นาที แต่บางอาการก็อาจนานกว่านั้น [37] แต่ถ้าเป็นโรควิตกกังวลทั่วไปหรือวิตกกังวลตามธรรมดา อาการอาจจะหายช้ากว่าแต่ไม่รุนแรงเท่า
    • panic attack ไม่ต้องมีอะไรไปกระตุ้นก็เกิดได้ ประมาณว่าอยู่ๆ ก็เป็น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • บางคนก็บอกว่าคาโมมายล์ (Chamomile) ช่วยให้ผ่อนคลาย สงบใจได้ แต่บางคนก็แพ้ แถมไปต้านฤทธิ์ยา เพราะงั้นให้ลองปรึกษาคุณหมอก่อนใช้จะดีที่สุด [38]
  • ถ้าอยู่ๆ คุณก็ panic ขึ้นมากลางดึก ให้ลองเดินรอบห้อง พร้อมกับหายใจเข้าออกลึกๆ
  • หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ฝึกเทคนิคคลายเครียดต่างๆ ที่ได้ผลดีสำหรับคุณ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนนี่แหละจำเป็นสุดๆ สำหรับคนเป็นโรควิตกจริต ไม่ว่ายังไงก็ห้ามอดนอนเด็ดขาด
  • บางคนอาจจะคิดว่าไม่บอกก็รู้ แต่เราก็ขอย้ำอีกทีว่ากำลังใจที่สำคัญมาจากครอบครัวที่คอยรัก ดูแล และอยู่เคียงข้างคุณนี่แหละ บางอย่างคุณอาจมองว่าเล็กน้อยหรือน่าอาย แต่บอกเลยว่ามีอะไรให้เปิดอกคุยกับครอบครัวจะดีที่สุด
  • ถ้ากำลังเกิด panic attack อย่าพยายามข่มตาหลับในทันที เพราะตอนกำลังเครียดจัดขนาดนั้นคุณหลับไม่ลงหรอก ลองพยายามผ่อนคลายหน่อยก็ยังดี (หายใจลึกๆ หรือใช้เทคนิคสงบใจอื่นๆ) แล้วค่อยหลับ พอคุณผ่อนคลายลงได้ด้วยวิธีต่างๆ จนนอนหลับสนิทยาวนาน รับรองเลยว่าอาการคุณจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • พยายามไล่รายชื่อสิ่งต่างๆ (เพลงโปรด หนังโปรด หรืออื่นๆ) หรือจะนับเลข ไม่ก็ท่องก.ไก่ จะได้เบี่ยงเบนความสนใจของคุณไปจากเรื่องเครียด แล้วบังคับให้คุณมีสมาธิกับอะไรตรงหน้า
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าอาการกำเริบบ่อยขึ้น รีบไปหาหมอหรือนักบำบัดจะดีกว่า ถ้ามัวรอช้าอาจอาการหนักกว่าเดิม
  • ถ้าไม่แน่ใจว่าคุณเป็น panic attack หรือโรคหัวใจ ก็ควรขอความช่วยเหลือด่วนเช่นกัน
โฆษณา
  1. http://www.nhs.uk/conditions/stress-anxiety-depression/pages/coping-with-panic-attacks.aspx
  2. http://www.anxietybc.com/sites/default/files/MuscleRelaxation.pdf
  3. http://mentalhealthsf.org/six-simple-habits-that-defeat-anxiety/
  4. https://counselling.anu.edu.au/brochure/10-best-ever-anxiety-management-techniques
  5. http://prtl.uhcl.edu/portal/page/portal/COS/Self_Help_and_Handouts/Visualization
  6. https://www.psychologytoday.com/blog/shyness-is-nice/201404/how-keep-thought-diary-combat-anxiety
  7. http://www.adaa.org/living-with-anxiety/managing-anxiety/exercise-stress-and-anxiety
  8. http://www.nhs.uk/conditions/stress-anxiety-depression/pages/coping-with-panic-attacks.aspx
  9. http://www.mentalhealth.org.uk/help-information/mental-health-a-z/s/smoking/
  10. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/generalized-anxiety-disorder/expert-answers/coping-with-anxiety/faq-20057987
  11. http://www.anxietycoach.com/overcoming-panic-attacks.html
  12. http://journal.frontiersin.org/researchtopic/1627
  13. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/anxiety
  14. http://www.webmd.com/anxiety-panic/tc/panic-attacks-and-panic-disorder-other-treatment
  15. http://blogs.psychcentral.com/panic/2012/02/the-most-relaxing-tune-ever-according-to-science/
  16. http://www.unr.edu/counseling/virtual-relaxation-room/releasing-stress-through-the-power-of-music
  17. http://www.adaa.org/finding-help/treatment/therapy
  18. http://www.adaa.org/finding-help/treatment/medication
  19. http://www.adaa.org/finding-help/treatment/low-cost-treatment
  20. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000924.htm
  21. http://www.calmclinic.com/panic/panic-attack-or-heart-attack
  22. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000924.htm
  23. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000924.htm
  24. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-attack/in-depth/heart-attack-symptoms/art-20047744
  25. http://www.calmclinic.com/panic/panic-attack-or-heart-attack
  26. http://www.nimh.nih.gov/health/topics/anxiety-disorders/index.shtml
  27. http://www.nimh.nih.gov/health/topics/panic-disorder/index.shtml
  28. http://www.nimh.nih.gov/health/topics/panic-disorder/index.shtml
  29. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/anxiety

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,270 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา