ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความเชื่อใจเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ [1] การที่ใครคนหนึ่งจะเชื่อใจใครสักคนได้นั้นก็ต่อเมื่อพวกเขามั่นใจว่าพวกเขาสามารถทำบางอย่างผิดพลาดได้ และทุกๆ อย่างจะไม่เป็นไร เพราะว่าเขาเชื่อใจคนๆ นั้น ซึ่งคุณสามารถสร้างความเชื่อใจให้กับคนอื่นได้ หากคุณทำตัวให้คู่ควรกับความไว้วางใจ เพราะการสร้างความเชื่อใจต้องอาศัยการกระทำที่น่าเชื่อถือนั่นเอง [2]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ทำตัวให้น่าเชื่อถือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างรากฐานความเชื่อใจ ก็คือ ทำตามสิ่งที่เคยบอกไว้ว่าจะทำ [3] การไม่ทำตามคำพูดที่ให้ไว้ จะทำให้ความน่าเชื่อถือของคุณลดน้อยลง แม้คุณจะคิดว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องเล็กก็ตามที
    • แม้ว่าบางทีการผิดคำพูดนั้นจะดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ถ้าหากคุณผิดคำพูดซ้ำแล้วซ้ำอีก นานๆ เข้า คนใกล้ตัวคุณอาจจะไม่เชื่อใจคุณก็เป็นได้
  2. ความเชื่อใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนอื่นเชื่อว่าคุณเป็นคนที่ไว้ใจได้ในระยะยาว [4] ดังนั้น ถ้าให้สัญญาใครไว้ ก็อย่าลืมทำตามสัญญาล่ะ
    • หากคุณไม่สามารถทำตามสัญญาที่ให้ไว้ได้ ให้คุณอธิบายไปตรงๆ ว่าทำไมคุณถึงทำตามสัญญานั้นไม่ได้
    • โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสัญญาของคุณนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ คำอธิบายอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ คุณอาจจะต้องจะต้องให้คำสัญญาใหม่กับคนนั้น แล้วคุณก็ต้องทำตามสัญญาใหม่นี้ให้ได้ ไม่ว่ามันจะยากแค่ไหนก็ตาม
    • อย่าละเลยสัญญาเก่าที่เคยให้ไว้ แม้ว่าสิ่งที่สัญญาไว้ดูจะเป็นสิ่งเล็กน้อยและไม่สำคัญอะไรสำหรับคุณนัก แต่คุณต้องนึกไว้เสมอว่าสิ่งนั้นอาจจะสำคัญมากสำหรับคนอื่นก็ได้ การที่คุณไม่ทำตามสัญญานั้น อาจจะทำให้คนอื่นผิดหวังมากๆ ก็ได้
  3. สิ่งสำคัญในการสร้างความไว้วางใจ คือ การรักษาคำพูดให้ได้ทุกครั้งและสม่ำเสมอ เพราะโดยความหมายแล้ว คนที่มีความน่าเชื่อถือ คือ คนที่ไว้วางใจได้นั่นเอง
    • จำไว้ว่าการทำตามคำพูดแค่ครั้งเดียวหรือสองครั้งนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะสร้างความเชื่อใจให้คนอื่นได้ [5]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ซื่อตรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้ว่าในบางสถานการณ์ การพูดความจริงอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก [6] แต่ในกรณีส่วนใหญ่ การพูดออกไปตรงๆ นั้น เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณควรทำ
    • ในบางที เวลาที่สำคัญที่สุดในการพูดความจริงนั้น ก็คือเวลาที่คุณรู้ตัวว่าการโกหกจะทำให้คุณรอดตัวจากความผิดบางอย่าง [7] แต่ถ้าหากคุณซื่อสัตย์กับตัวเองและพูดความจริง นั่นแสดงให้เห็นว่าคุณให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่น และคนอื่นก็จะเห็นว่าคุณให้ความสำคัญกับพวกเขาจริงๆ [8]
    • ตัวอย่างเช่น จินตนาการว่าคุณยืมหนังสือเพื่อนมาเล่มหนึ่ง แล้วคุณก็ทำกาแฟหกใส่หนังสือ คุณอาจจะบอกเพื่อนว่าคุณทำหนังสือหาย หรือไม่คุณก็ไปซื้อเล่มใหม่มาแทน แล้วก็ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่คุณควรทำมากที่สุดก็คือ บอกกับเพื่อนไปตรงๆ เลยว่าคุณทำกาแฟหกใส่หนังสือ ซึ่งหนังสือที่มีคราบกาแฟอาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร แต่ถ้าหากเพื่อนของคุณมารู้ความจริงภายหลัง เขาอาจจะสูญเสียความเชื่อใจในตัวคุณก็ได้
  2. บางครั้งการโกหกมันก็หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะบางครั้งมันเกิดขึ้นมาโดยที่คุณไม่ได้คิดด้วยซ้ำ หากคุณโกหกใครบางคนอยู่ สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำ คือ สารภาพความจริงให้เร็วที่สุด จากนั้น อธิบายเหตุผลและแสดงความสำนึกผิดอย่างจริงใจออกไป [9]
    • หากถูกจับได้ว่าโกหก อย่าปฏิเสธ เพราะมันอาจจะกลายเป็นว่าคุณโกหกมากกว่าเดิม ซึ่งอาจจะทำให้ความเชื่อใจถูกทำลายได้
  3. เมื่อคุณรู้สึกเหมือนกับว่าคุณกำลังโกหกใครสักคนอยู่ ให้คุณเตรียมรับอารมณ์หรือคำตอบที่ไม่เป็นมิตรจากพวกเขาไว้ด้วย พยายามหาจุดอื่นโฟกัสแทน โดยเลือกโฟกัสสิ่งที่ดีในตัวคนนั้น แล้วนำจุดดีนั้นมาเน้นในขณะที่คุณทั้งคู่กำลังสื่อสารกันอยู่
    • เวลาพูดกับอีกฝ่าย ให้คุณมองไปที่จุดดีของเขาด้วย ดีกว่าที่จะไปคิดถึงแต่ข้อผิดพลาดต่างๆ ที่คุณต้องการจะบอกกับเขา
    • ทำให้คนอื่นมั่นใจว่าคุณตั้งใจฟังพวกเขาพูดอยู่จริงๆ โดยคำพูดที่ใช้ได้ดีก็อย่างเช่น “สำหรับฉัน ฉันว่า...” หรือ “ฉันคิดว่า...” ซึ่งคำพูดเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าคุณรับรู้ถึงสิ่งที่พวกเขาพูดมา [10] และยังแสดงให้เห็นว่าคุณเปิดรับมุมมองของพวกเขา ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยรักษาความเชื่อใจให้อยู่ต่อไป
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณรู้ว่าเพื่อนของคุณทำข้อผิดพลาดบางอย่างแล้วคุณต้องการจะบอกเขา ให้คุณอธิบายว่ามีอะไรที่มันผิด โดยใช้ภาษากลางๆ และไม่ใช้อคติ โฟกัสไปที่จุดแข็งของเพื่อนและคุณค่าของเพื่อนที่มีต่อตัวคุณ ถ้าเป็นไปได้ ดูว่าเพื่อนของคุณจะกู้สถานการณ์กลับมาด้วยวิธีไหน จากนั้นขอให้เพื่อนเล่าสิ่งที่เขาคิด แล้วให้คุณฟังเขาอย่างตั้งใจด้วย แต่ว่าอย่าไปบอกกับเพื่อนนะว่า ทุกๆ อย่างจะปกติเอง ถ้าในความจริงแล้วมันไม่ใช่แบบนั้น
    • ในบทสนทนาอาจจะเป็นแบบนี้: “เฉลิม ฉันคิดว่าเธอได้ทำบางอย่างผิดพลาดในรายงานของพวกเรา ฉันเข้าใจว่าเธอซีเรียสกับโปรเจ็คนี้มาก และฉันรู้ว่าข้อผิดพลาดนี้ไม่ได้แสดงว่าเธอนั้นไม่มีความสามารถ แต่ฉันคิดว่าเราควรจะบอกกับลูกค้าของเราไปตรงๆ ก่อน แล้วก็ค่อยเสนอรายงานเล่มใหม่ให้กับพวกเขา”
  4. เราไม่ได้หมายความว่าให้คุณพูดความจริงออกมาโต้งๆ โดยที่ไม่ต้องนึกถึงใจคนอื่นนะ เพราะว่าการทำแบบนี้ไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อใจใดๆ ทั้งสิ้น
    • คุณอาจจะคิดว่ามันง่ายมาก เพราะคุณก็แค่พูดความจริงออกไปตรงๆ ตามที่เห็น แต่การที่พูดออกไปโดยปราศจากความเข้าใจและไม่นึกถึงใจคนอื่นนั้น คนฟังอาจจะคิดว่าคุณชอบเห็นความทุกข์ของคนอื่นก็เป็นได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

เปิดเผย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์เริ่มลดลง ให้คุณลองสื่อสารด้วยเนื้อหาที่หลากหลายขึ้นกว่าเดิม การพูดถึงเรื่องอื่นๆ ในชีวิตก็เป็นไอเดียที่ดีนะ เพราะนั่นแสดงให้เห็นว่าคุณไม่ได้ซ่อนอะไรบางอย่างไว้ [11] เช่นในตัวอย่างด้านล่างนี้
    • ในการสร้างความสัมพันธ์ใหม่สำหรับคนสองคน คนหนึ่งอาจจะถามอีกคนหนึ่งว่า “วันนี้เป็นยังไงบ้าง?” คำตอบที่ได้อาจจะเป็น “ก็ดีอยู่นะ” ซึ่งนี่ไม่ได้ช่วยสร้างความเชื่อใจใดๆ เพราะว่าคุณยังไม่ได้แชร์ข้อมูลจริงอะไรเลย
    • ทีนี้ลองจินตนาการถึงคำตอบอีกแบบหนึ่ง เช่น “อืม วันนี้ฉันไปหาหมอมา ฉันคิดว่ามันก็คงปกติเหมือนทุกที แต่หมอบอกว่าฉันอาจจะมีเสียงฟู่จากหัวใจ แล้วตอนนี้หมอเขาก็ยังไม่ได้สรุปผลอะไร แต่เขาอยากให้ฉันมาตรวจเพิ่มอีกอาทิตย์หน้า ฉันไม่รู้ว่าฉันควรจะต้องกังวลกับเรื่องนี้ดีหรือเปล่า” คำตอบแบบนี้แสดงให้เห็นถึงความเปิดใจ และช่วยสร้างความเชื่อใจด้วย
    • ในกรณีนี้ ผู้ฟังอาจจะรู้สึกเสียใจที่ได้ยินข่าวนี้ แม้ว่าผลสรุปนั้นจะยังไม่แน่ชัดก็ตามที แต่ถ้าหากคุณหลีกเลี่ยงที่จะบอกเรื่องนี้ มันอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของคุณและคนๆ นั้นไม่ดีเท่าที่ควร เพราะว่าคุณอาจจะกังวลเรื่องการตรวจทั้งอาทิตย์นั้น แต่ว่าคนๆ นั้นไม่รู้ว่าคุณกังวลเรื่องอะไร บางทีเขาอาจจะอยากรู้ว่าคุณมีปัญหาอะไร เผื่อว่าเขาพอจะช่วยได้
  2. เหตุผลหลักที่คุณไม่ควรจะละเลยรายละเอียดสำคัญนั้นก็เพราะว่า มันยากที่รายละเอียดที่คุณแชร์นั้นจะอยู่อย่างครบถ้วนเหมือนกับตอนแรก คนจะเริ่มสังเกตเห็นจุดขัดแย้งในเรื่องของคุณบอก ซึ่งนั้นจะทำให้คุณเสียเครดิต แม้ว่าคุณได้ตัดเนื้อความออกไปเพียงนิดเดียวก็ตาม
    • หากคุณอยากจะสร้างความเชื่อใจ ให้คุณพูดแค่สิ่งที่คนอื่นต้องการจะรู้เท่านั้น
  3. หากคุณมีสิ่งที่ยังไม่อยากจะแชร์ให้คนอื่นรู้ อย่าแชร์. คุณไม่ควรแชร์ทุกความรู้สึกหรือทุกความลับเพื่อสร้างความเชื่อใจ จำไว้ว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะเก็บข้อมูลส่วนตัวไว้กับตัวเอง [12] กุญแจสำคัญในการเป็นคนที่น่าเชื่อถือในขณะที่ยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวของตัวเองไว้อยู่ก็คือ การวางขอบเขตความเป็นส่วนตัวไว้ให้ชัดเจน
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะบอกใครสักคนว่า “ฉันยังไม่พร้อมที่จะพูดความรู้สึกของฉันตอนนี้ แต่ฉันการันตีได้เลยว่า มันไม่มีอะไรให้คุณต้องเป็นห่วงหรอก” นี่จะทำให้ผู้ฟังมีโอกาสที่จะพิสูจน์ว่าพวกเขามีความเข้าใจและความอดทนพอ และสำคัญที่สุด มันยังช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกปลอดภัยด้วย ซึ่งการใช้วิธีนี้ย่อมดีกว่าการพูดคลุมเครือไปมา เพื่อหลีกเลี่ยงการพูดถึงเรื่องส่วนตัว
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าเล่าความลับของใครคนหนึ่งให้อีกคนฟัง หากเขาต้องการให้คุณเก็บความลับนั้นไว้ เพราะถ้าหากคุณเอาไปเล่าต่อ นั้นหมายถึงว่าคุณหักหลังพวกเขา [13]
    • แนวโน้มที่คุณจะเผลอพูดความลับออกมานั้น จะเกิดเมื่อคุณอยู่ภายใต้ความกดดัน ความเหนื่อย หรือสมองตื้อ หากว่าคุณเผลอพูดออกมา ให้คุณสารภาพความจริง แล้วก็ขอโทษคนๆ นั้น ซึ่งด้วยวิธีนี้ คนๆ นั้นก็จะไม่ไปรู้จากคนอื่นว่าคุณได้บอกความลับของเขาให้คนอื่นฟัง นอกจากนี้ มันยังช่วยเพิ่มโอกาสในการลดความเสียหายที่คุณอาจจะเป็นสาเหตุอีกด้วย
  2. ความซื่อสัตย์ หมายถึง ความเต็มใจที่จะปกป้องคนอื่นและอยู่เขียงข้างพวกเขา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    • ความเชื่อใจจะแข็งแกร่งได้ก็ต่อเมื่อคนอื่นรู้ว่าคุณจะไม่หักหลังพวกเขา คุณสามารถสร้างความเชื่อใจได้โดยการใส่ใจอีกฝ่ายให้มากๆ [14]
    • ตัวอย่างเช่น คุณสามารถสร้างความเชื่อใจให้กับเพื่อร่วมงานได้ โดยการอยู่ต่อหลังเลือกงานเพื่อช่วยพวกเขาทำโปรเจ็ค แม้ว่าคุณจะไม่ได้รับเครดิตสำหรับโปรเจ็คนั้นก็ตามที
  3. คุณจะได้รับความเคารพและคำชื่นชมจากคนอื่นได้ โดยการจัดการอารมณ์ของตัวเองให้อยู่ในการควบคุม เพราะมันยากที่จะเชื่อใจใครสักคนที่อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ และไม่สามารถคาดเดาได้
    • จากการศึกษาการจัดอันดับของ Fortune 500 พบว่าคนที่ควบคุมและแสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมนั้นมีแนวโน้มที่จะได้รับความเชื่อใจมากกว่าคนที่ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ [15]
    • ตัวอย่างเช่น พยายามอย่าโมโหเมื่อมีคนทำผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ เพราะว่านี่จะทำให้ความเชื่อใจของพวกเขาที่มีต่อตัวคุณลดลง
    • หากคุณรู้สึกว่า คุณกำลังถูกครอบงำด้วยอารมณ์ ให้คุณระวังสัญญาณที่คุณกำลังส่งออกไปให้คนอื่น พยายามลดสัญญาณเหล่านั้น โดยผ่อนคลายกำปั้นและกราม และผ่อนความตึงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
    • โฟกัสไปที่ลมหายใจของตัวเองจะช่วยให้คุณจัดการกับอารมณ์ได้ง่ายขึ้น โดยพยามยามโฟกัสไปที่ความรู้สึกของลมหายใจ ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องคิดถึงจังหวะการหายใจและพยายามไปเปลี่ยนมัน ขอเพียงแค่คุณรับรู้ถึงการสัมผัสของลมหายใจก็พอ หากคุณสังเกตว่าตัวเองเริ่มวอกแวก ให้คุณค่อยๆ เพ่งความสนใจให้กลับไปอยู่ที่ลมหายใจอีกครั้ง [16]
    • หากคุณเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ คนที่อยู่รอบๆ ตัวคุณก็จะคาดเดาการกระทำของคุณได้ พวกเขาจะมองว่าคุณมีอารมณ์ที่มั่นคง และต่อไปพวกเขาก็จะไว้วางใจคุณ
  4. พฤติกรรมบางอย่างสามารถทำลายความเชื่อใจลงได้ เพราะฉะนั้น คุณควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่อไปนี้ [17]
    • ดูถูกและลดคุณค่าของคนอื่น
    • แยกตัวออกจากคนอื่น
    • คุกคามหรือทำร้ายร่างกายคนอื่น
    • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หากคุณได้ทำพฤติกรรมที่กล่าวมาข้อใดข้อหนึ่ง ให้คุณขอโทษอีกฝ่ายทันที แล้วให้สัญญาว่าจะประพฤติให้ดีกว่านี้ แล้วอย่าลืมให้ความสำคัญกับคำสัญญานั้นด้วยล่ะ
  5. แทนที่คุณจะใช้การสื่อสารด้วยพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ให้คุณใช้การพูดคุยอย่างเป็นมิตรดีกว่า ซึ่งก็หมายถึงว่า บอกความต้องการของคุณไปตรงๆ และให้ความเคารพโดยรับฟังความต้องการและความคิดเห็นของอีกฝั่งด้วย [18]
    • การสื่อสารในแบบที่เหมาะสมนั้นก็คือ รู้จักปฏิเสธเมื่อคุณไม่อยากทำบางสิ่งบางอย่าง รวมไปถึงการจัดการกับอารมณ์ของตัวเองด้วย [19]
    • ซึ่งก็หมายถึงการแชร์ความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างเปิดเผย โดยไม่มีการดูถูกหรือข่มใคร
    • ยกตัวอย่างเช่น ให้คุณจินตนาการว่าเพื่อบ้านของคุณกำลังเปิดเพลงเสียงดังมากๆ การตอบโต้แบบใช้อารมณ์ก็คงจะหนีไม่พ้นการตรงดิ่งไปที่บ้านหลังนั้นแล้วก็โวยวายว่า “ปิดเพลงของแกซะไอเบื๊อก ไม่อย่างนั้นฉันจะเรียกตำรวจ” ซึ่งการเข้าไปพูดคุยแบบเหมาะสมก็น่าเป็นการเคาะที่ประตูหน้าบ้านแบบธรรมดาแล้วก็พูดว่า “คุณ ตอนนี้มันก็มืดแล้ว ฉันอยากจะนอนเร็วๆ หน่อย คุณช่วยเบาเสียงเพลงให้ฉันหน่อยได้หรือเปล่า” นี่จะทำให้เพื่อนบ้านคนนั้นรู้ว่าเขากำลังทำให้คนอื่นเดือดร้อนอยู่ โดยที่คุณไม่ต้องไปพูดดูถูกหรือขู่อะไรเขาเลย
  6. มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม. หากคุณได้หลอกลวงหรือทำลายความเชื่อใจของใครสักคน ให้คุณสัญญากับเขาว่าคุณจะเปลี่ยนความประพฤติใหม่และคุณก็ต้องมุ่งมั่นที่จะทำตามคำสัญญานั้นด้วย จำไว้ว่า คุณต้องให้ค่าของทุกคำสัญญาเพื่อสร้างความเชื่อใจให้กับคนอื่น
    • คำสัญญาเพียงอย่างเดียวนั้น สามารถดึงความเชื่อใจให้กลับมาเพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น [20]
    • คำขอโทษอย่างเดียวก็ไม่มีผลในระยะยาวเช่นกัน [21]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การหลอกลวงตัวเองนั้นก็ถือว่าเป็นการโกหกอย่างหนึ่ง คุณอาจจะมีความเชื่อว่าสิ่งที่คุณพูดหรือทำนั้นซื่อตรงแล้ว แต่ในความเป็นจริง คนอื่นๆ ในเหตุการณ์อาจจะเห็นตรงกันข้ามกับคุณก็ได้ การที่คุณมองความเป็นจริงในแบบที่คุณอยากจะให้เป็นนั้น ไม่ได้หมายความว่าคนอื่นจะมองในแบบเดียวกับคุณ หากคนอื่นตีความคำพูดและการกระทำของคุณว่าเป็นสิ่งที่ไว้ใจไม่ได้ ความเชื่อใจก็อาจจะถูกทำลายลง
โฆษณา

คำเตือน

  • การทำตัวลึกลับนั้น เป็นสิ่งที่ทำลายความน่าเชื่อถือได้ หากคุณกำลังทำตัวแบบนั้นอยู่ ให้คุณถามตัวเองว่า คุณหวังจะได้อะไรจากการกระทำนี้ นอกจากนี้ ให้ถามด้วยตัวเองด้วยว่า คุณชอบทำพฤติกรรมแบบนี้หรือเปล่า เพราะบางทีคุณอาจจะไม่ได้ชอบทำก็ได้ แต่ถ้าหากคุณเชื่อว่า มันเป็นทางเดียวที่ใช้ในการเข้าหาผู้อื่น เราว่ามันถึงเวลาที่คุณจะต้องปรับเปลี่ยนทักษะการเข้าสังคมแล้วล่ะ
  • ในบางกรณี คนที่ไม่มีความน่าเชื่อถือบางคนอาจจะมีอาการป่วยทางจิต ไม่สามารถควบคุมความโกรธได้ หรือมีอาการอื่นๆ เกี่ยวข้องอีก ซึ่งในกรณีนี้ พวกเขาอาจจะต้องพบนักบำบัดเพื่อได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Simpson, J. A. (2007). Psychological foundations of trust. Current directions in psychological science, 16(5), 264-268.
  2. Rousseau, D. M., Sitkin, S. B., Burt, R. S., & Camerer, C. (1998). Not so different after all: A cross-discipline view of trust. Academy of management review, 23(3), 393-404.
  3. http://www.huffingtonpost.com/margaret-paul-phd/keeping-promises_b_2519691.html
  4. Simpson, J. A. (2007). Psychological foundations of trust. Current directions in psychological science, 16(5), 264-268.
  5. Simpson, J. A. (2007). Psychological foundations of trust. Current directions in psychological science, 16(5), 264-268.
  6. Plante, T. G. (2004). Do the Right Thing. Living Ethically.
  7. Simpson, J. A. (2007). Psychological foundations of trust. Current directions in psychological science, 16(5), 264-268.
  8. Simpson, J. A. (2007). Psychological foundations of trust. Current directions in psychological science, 16(5), 264-268.
  9. http://www.relationshipgold.com/communication/apologizelyin.htm
  1. Knapp, M. L. "Lying and deception in human interaction." (2008).
  2. http://www.wphealthcarenews.com/8-ways-to-build-trust-in-uncertain-times/
  3. Petronio, S. (2013). Brief status report on communication privacy management theory. Journal of Family Communication, 13(1), 6-14.
  4. http://goweloveit.info/lifestyle/8-things-to-stop-doing-right-now-if-you-want-people-to-like-you/
  5. Simpson, J. A. (2007). Psychological foundations of trust. Current directions in psychological science, 16(5), 264-268.
  6. Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. Bantam.
  7. Arch, J. & Craske, M., (2006). Mechanisms of mindfulness: Emotion regulation following a focused breathing induction. Behaviour Research and Therapy, 44, 1849–1858.
  8. Shepard, M. F., & Campbell, J. A. (1992). The abusive behavior inventory A measure of psychological and physical abuse. Journal of Interpersonal Violence, 7(3), 291-305.
  9. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/assertive/art-20044644
  10. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/assertive/art-20044644 .
  11. Schweitzer, M. E., Hershey, J. C., & Bradlow, E. T. (2006). Promises and lies: Restoring violated trust. Organizational behavior and human decision processes, 101(1), 1-19.
  12. Schweitzer, M. E., Hershey, J. C., & Bradlow, E. T. (2006). Promises and lies: Restoring violated trust. Organizational behavior and human decision processes, 101(1), 1-19.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 31,490 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา