ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

MySQL จะว่าเป็นโปรแกรมที่ใช้ยากก็พอมีเหตุผล เพราะต้องป้อนคำสั่งในหน้าต่าง command prompt เท่านั้น ไม่มีเมนูให้เลือกใช้ง่ายๆ เหมือนโปรแกรมอื่นๆ เพราะแบบนี้ ถ้าคุณพอมีพื้นฐาน รู้จักวิธีสร้างและใช้งานฐานข้อมูลไว้บ้าง ก็จะทำให้ไม่ปวดหัวหรือเสียเวลางมโข่ง บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการสร้างฐานข้อมูลของรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาและประชากรของรัฐนั้นๆ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

สร้างและใช้งานฐานข้อมูล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ที่บรรทัดคำสั่ง MySQL ให้ใส่คำสั่ง CREATE DATABASE <DATABASENAME>; แทนค่า <DATABASENAMEs> ด้วยชื่อฐานข้อมูล ห้ามเว้นวรรค
    • เช่น ถ้าอยากสร้างฐานข้อมูลของทุกรัฐในสหรัฐอเมริกา ให้พิมพ์ว่า CREATE DATABASE us_states;
    • หมายเหตุ: คำสั่งที่ใส่ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ (upper-case) ทั้งหมด
    • หมายเหตุ: ทุกคำสั่งของ MySQL ต้องลงท้ายด้วย ";" ถ้าคุณลืม ก็ให้ใส่ ";" ในบรรทัดถัดไป เพื่อใช้งานคำสั่งในบรรทัดก่อนหน้า
  2. ให้ใส่คำสั่ง SHOW DATABASES; เพื่อแสดงฐานข้อมูลทั้งหมดที่มี นอกจากฐานข้อมูลที่คุณสร้างไว้แล้ว ยังจะมีฐานข้อมูล mysql กับฐานข้อมูล test ด้วย ซึ่งตอนนี้ยังไม่ต้องสนใจ
  3. พอสร้างฐานข้อมูลแล้ว ต้องเลือกฐานข้อมูลที่จะแก้ไข โดยใส่คำสั่ง USE us_states; จะเห็นข้อความ Database changed บอกให้รู้ว่าตอนนี้ฐานข้อมูลที่ใช้งานอยู่คือ us_states
  4. ตาราง (table) เอาไว้ใส่ข้อมูลของฐานข้อมูล เวลาจะสร้างตารางก็ต้องกำหนดฟอร์แมตของตารางทั้งหมดด้วยคำสั่งพื้นฐาน หรือก็คือ CREATE TABLE states (id INT NOT NULL PRIMARY KEY AUTO_INCREMENT, state CHAR(25), population INT(9)); คำสั่งนี้ใช้สร้างตารางชื่อ "states" ที่มี 3 ช่อง คือ id , state และ population
    • คำสั่ง INT จะสร้างช่อง id ที่มีแค่ตัวเลข (จำนวนเต็ม)
    • คำสั่ง NOT NULL ทำให้เว้นว่างช่อง id ไม่ได้
    • PRIMARY KEY จะกำหนดให้ช่อง id เป็นช่องหลักของตาราง หรือก็คือช่องที่ห้ามป้อนข้อมูลซ้ำ
    • คำสั่ง AUTO_INCREMENT จะใส่ค่าที่เพิ่มขึ้นในช่อง id โดยอัตโนมัติ สรุปคือนับแต่ละข้อมูล (entry) โดยอัตโนมัติ
    • คำสั่ง CHAR (อักขระ) กับ INT (จำนวนเต็ม) จะกำหนดชนิดข้อมูลที่ป้อนในช่องพวกนี้ได้ หมายเลขข้างคำสั่งจะบอกว่าคุณป้อนข้อมูลในช่องนี้ได้กี่อักขระหรือจำนวนเต็ม
  5. ตอนนี้พอมีตารางแล้ว ก็ถึงเวลาป้อนข้อมูล ให้ใช้คำสั่งต่อไปนี้ป้อนข้อมูล (entry) แรกเข้าไป INSERT INTO states (id, state, population) VALUES (NULL, 'Alabama', '4822023');
    • เพื่อบอกให้ฐานข้อมูลแบ่งข้อมูลที่คุณป้อนลงใน 3 ช่องของตารางตามชนิดข้อมูล
    • ช่อง id มีคำสั่ง NOT NULL เพราะงั้นถ้าใส่ NULL เป็นค่า (value) ก็เท่ากับบังคับให้เพิ่มเป็น 1 โดยอัตโนมัติ ตามคำสั่ง AUTO_INCREMENT ที่เราใส่ไว้
  6. คุณเพิ่มทีละหลายข้อมูลได้ด้วยคำสั่งเดียว อย่างถ้าจะใส่ข้อมูลอีก 3 รัฐ ให้ใช้คำสั่ง INSERT INTO states (id, state, population) VALUES (NULL, 'Alaska', '731449'), (NULL, 'Arizona', '6553255'), (NULL, 'Arkansas', '2949131');
  7. พอสร้างฐานข้อมูลขั้นต้นแล้ว ก็ใส่ queries ให้ได้ผลลัพธ์บางอย่างได้ ขั้นแรกให้ใช้คำสั่ง SELECT * FROM states; เพื่อแสดงทั้งฐานข้อมูล โดย "*" ก็คือ "all" นั่นเอง
    • ถ้าอยากใช้ query ขั้นสูง ให้ใช้คำสั่ง SELECT state, population FROM states ORDER BY population; เพื่อแสดงตารางที่มีรัฐต่างๆ เรียงตามลำดับประชากร แทนตามตัวอักษร โดยไม่แสดงช่อง id เพราะคุณขอให้แสดงแค่ state กับ population
    • ถ้าอยากเรียงลำดับรัฐตามจำนวนประชากรจากมากไปน้อย ให้ใช้คำสั่ง SELECT state, population FROM states ORDER BY population DESC; โดยคำสั่ง DESC จะเป็นการเรียงข้อมูลจากมากไปน้อย แทนน้อยไปมาก [1]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ต่อยอดการใช้งาน MySQL

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าสงสัย ให้ลองศึกษาวิธีการติดตั้ง MySQL ในเครื่อง Windows เพิ่มเติมดู
  2. ถ้าอยากลบบางฐานข้อมูลที่ล้าสมัยแล้ว ให้ลองศึกษาวิธีการเพิ่มเติมดู
  3. เพื่อให้สามารถสร้างเว็บไซต์เต็มรูปแบบได้ ทั้งเพื่อความบันเทิงและเพื่อประโยชน์การใช้งาน
  4. เราแนะนำให้ backup ข้อมูลเสมอ โดยเฉพาะฐานข้อมูลสำคัญๆ
  5. ถ้าจุดประสงค์ของฐานข้อมูลเปลี่ยนแปลงไป อาจต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อรองรับข้อมูลที่แตกต่าง ลองศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมดู แล้วจะรู้ว่ามีประโยชน์
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ชนิดข้อมูลที่ใช้บ่อย (ถ้าอยากอ่านแบบเต็มๆ ให้อ่านคู่มือ mysql ที่ http://dev.mysql.com/doc/ )
    • CHAR ( length ) - กำหนดความยาวของอักขระที่ป้อนได้แบบตายตัว
    • VARCHAR ( length ) - ความยาวของอักขระที่ป้อนได้ไม่ตายตัว แต่ห้ามเกิน length
    • TEXT - ความยาวของอักขระที่ป้อนได้ไม่ตายตัว แต่ text ที่ได้ห้ามเกิน 64 KB
    • INT ( length ) - จำนวนเต็มแบบ 32-bit ไม่เกิน length หลัก (สำหรับจำนวนลบ '-' นั้นนับเป็น '1 หลัก')
    • DECIMAL ( length , dec ) - แสดงเลขทศนิยม ไม่เกิน length อักขระ ส่วนช่อง dec คือจำนวนจุดทศนิยมมากสุดที่อนุญาต
    • DATE - ค่าวันที่ (ปี เดือน วัน)
    • TIME - ค่าเวลา (ชั่วโมง นาที วินาที)
    • ENUM (" value1 "," value2 ", ....) - รายการค่าที่แจกแจง
  • พารามิเตอร์เพิ่มเติม:
    • NOT NULL - ต้องป้อนค่าในช่องนั้น ห้ามเว้นว่าง
    • DEFAULT default-value - ถ้าไม่ได้ป้อนค่าไหน จะใช้ default-value แทน
    • UNSIGNED - สำหรับช่องตัวเลข จำนวนที่ใส่จะไม่เป็นจำนวนลบ
    • AUTO_INCREMENT - ค่าจะเพิ่มขึ้นเองอัตโนมัติ ทุกครั้งที่มีแถวใหม่ในตาราง
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,040 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา