ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

รถกับดักหนูใช้เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ หรือการทดลองในชั่วโมงวิชาฟิสิกส์ หรือกิจกรรมสนุกๆ ช่วงสุดสัปดาห์ได้แจ๋วไปเลย รถกับดักหนูมักใช้สำหรับช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องการได้เปรียบเชิงกล ระยะทางกับแรงโน้มถ่วงดีขึ้น โดยครูหลายคนเปลี่ยนการทดลองนี้เป็นการแข่งวัดระยะทางไกล พลังงานศักย์ที่เก็บไว้ในสปริงของแขนดีดจากกับดักหนูนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจลน์ที่ใช้ขับเคลื่อนรถ แต่การจะสร้างรถแข่งกับดักหนูนั้น คุณต้องใช้วัสดุที่เหมาะสม มีความเข้าใจในกฎพื้นฐานของฟิสิกส์บางข้อ และความพยายามอีกเล็กน้อย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ออกแบบรถกับดักหนู

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณจะต้องใช้กับดักหนูยึดติดอยู่กับโครง (หรือลำตัว) ซึ่งจะใช้สร้างเป็นโครงรถ ล้อ และเครื่องยนต์ที่ให้พลังงานแก่กับดัก รถจำลองประเภทนี้มักใช้สำหรับการทดลองในวิชาฟิสิกส์เวลาเรียนเรื่องการได้เปรียบเชิงกล แรงโน้มถ่วง และอัตราทดเกียร์ สำหรับตัวอย่างของเรานี้จะใช้กระดาษกล่องชนิดหนาเป็นโครงช่วงล่างของรถ แต่คุณยังสามารถใช้:
    • แกนโฟม
    • โครงรถของเล่นเก่า
    • แผ่นไม้ที่บางแต่ทนทาน อย่างไม้บัลซ่า
  2. นำหลักฟิสิกส์มาใช้ประโยชน์ให้เกิดผลลัพธ์ดีที่สุด. คุณสามารถดัดแปลงการออกแบบรถเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายเฉพาะด้าน เช่น ถ้าชั่วโมงฟิสิกส์นั้นเป็นการแข่งระยะทางไกล คุณก็จะต้องการ:
    • ทำให้ตัวรถเบาที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากใช้โครงเนื้อแข็ง อาจจะต้องมีการเจาะรูบนโครงและล้อ
    • ใช้ล้อที่บางแต่แข็ง
    • ลดแรงต้านอากาศโดยทำให้ด้านหน้ารถเรียวเล็ก [1] [2]
  3. หากรถต้องวิ่งขึ้นเนินลูกระนาดหรือข้ามเนินดิน ล้อที่เล็กกว่าจะช่วยให้ปีนเนินได้ดีกว่าเนื่องจากแรงเฉื่อย ส่วนพื้นราบอย่างเช่นบนโต๊ะหรือพื้นปกติ การใช้ล้อใหญ่กว่าจะได้ผลดีกว่า [3]
  4. อย่างที่ได้บอกไปแล้ว มีวัสดุหลายประเภทที่อาจนำมาใช้สร้างรถกับดักหนูได้ วัสดุเพิ่มเติมนั้นดูได้ตรงส่วน "เคล็ดลับ" ด้านล่าง อย่างไรก็ดี ถ้าจะทำรถกับดักหนูตามตัวอย่าง คุณจะต้องใช้:
    • วงเวียน (สำหรับวาดวงกลม)
    • เทปกาว
    • เชือกที่ทนทาน
    • ยางยืด / ยางรัด
    • ตะขอเกี่ยว (4)
    • กระดาษกล่องชนิดแข็งหรือแกนโฟม
    • กับดักหนู
    • คีม
    • ไม้บรรทัด
    • เดือยแท่งบาง (2)
    • มีดอเนกประสงค์
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ทำล้อและโครงรถ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณต้องสร้างล้อสี่ล้อจากกระดาษกล่องหรือแกนโฟม ในการทำ ให้นำวงเวียนหรือวัตถุทรงกลมมาทาบแล้วใช้ดินสอเขียนรูปวงกลมที่จะเป็นล้อบนกระดาษแข็ง ในตัวอย่างนี้ รถหน้าจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางหนึ่งนิ้ว (2.5 ซม.) และล้อหลังมีเส้นผ่าศูนย์กลางสองนิ้ว (5 ซม.) หลังจากลากเส้นวงกลมเสร็จแล้ว:
    • ใช้มีดอเนกประสงค์ตัดล้อออกมา
    • พันยางรัดรอบวงนอกของล้อเพื่อเพิ่มความเกาะถนน
    • คุณอาจใช้แผ่นซีดี ดีวีดี หรือแผ่นเสียงมาทำเป็นล้อก็ได้ [4]
    • ข้อสังเกต : ในตัวอย่างนี้ ใช้ล้อหลังใหญ่กว่าและล้อหน้าเล็กกว่า
  2. เอาส่วนเงี่ยงฟันที่อันตรายออกจากแขนงับของกับดักหนู. [5] นำกับดักหนูมาหาท่อนไม้ที่ใช้วางกับดัก ปลายท่อนจะเป็นเงี่ยงฟันแหลมคม เอาท่อนไม้นี้ออกอย่างระมัดระวัง ถ้ามันมีเงี่ยงฟันให้ใช้คีมดึงออกมา
  3. เพื่อให้สามารถวางกับดักหนูได้พอดี คุณต้องเผื่อให้โครงรถใหญ่กว่ากับดักหนูประมาณ ½" (13 มม.) ในทุกด้าน แล้วใช้มีดอเนกประสงค์ตัดโครงรถออกมา [6]
    • ไม้บัลซ่าหรือไม้เบสวูดสามารถใช้ทำโครงรถที่เบาและทนทานกว่า [7]
  4. วางกับดักหนูตรงกลางบนโครงรถ แล้วใช้เทปกาวหรือเทปใสพันรอบกับดักหนูทั้ง 4 ด้าน
    • ขณะพันเทปให้กับดักหนูอยู่กับที่นั้น ระวังอย่าเผลอไปพันเทปตรงส่วนสปริงเข้า จะพบสปริงอยู่ตรงกลางของกับดักหนูและแขนงับ
  5. เรียงตำแหน่งและยึดตะขอเกี่ยวเข้ากับด้านล่างของโครงรถ. [8] ตะขอเกี่ยวเหล่านี้จะยึดแท่งเพลา ซึ่งจะเป็นแท่งที่คุณใช้ยึดกับล้อ ถ้าตะขอเหล่านี้ไม่เรียงให้ตรง รถคุณก็จะแล่นไม่ตรงไปด้วย ดังนั้นคุณจึงควร:
    • ใช้ไม้บรรทัดกับดินสอมาร์คจุดที่จะติดตะขอเกี่ยวทั้งสี่มุมของโครงรถ
    • ตรวจดูอีกครั้งว่าจุดระบุตำแหน่งนี้มันตรงกันโดยใช้ไม้บรรทัดทาบ
    • ยึดตะขอเกี่ยวให้เข้าที่กับโครงรถตรงจุดที่คุณทำรอยมาร์คไว้
  6. [9] ตัดไม้เสียบ 2 แท่งให้มีความยาวกว่าความกว้างของตะขอเกี่ยวประมาณ 4 ซม. แท่งไม้นี้จะเป็นแกนเพลารถสำหรับล้อที่คุณทำขึ้น มันควรจะบางพอสอดผ่านตะขอเกี่ยวและหมุนได้อย่างอิสระ
    • ตะขอเกี่ยวที่หนาเกินไปหรือแท่งไม้ที่บางเกินไปจะทำให้แกนเพลารถนั้นหมุนอยู่ในรูตะขอเกี่ยว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการแล่นให้ตรงของรถ
  7. [10] คุณสามารถเจาะรูตรงกลางล้อแต่ละล้อโดยใช้ปลายวงเวียน มันจะทำให้เกิดรูที่เล็กกว่าแท่งเดือย จากนั้นคุณควร:
    • พันยางรัดกับเพลาเพื่อมันจะชิดกับตัวรถแต่ไม่สัมผัสกัน นี่จะช่วยทำให้เกิดกันชนระหว่างล้อรถกับโครงรถ แต่อาจทำให้เกิดแรงเสียดทานได้ถ้ามันสัมผัสกับโครงรถ
    • ดันล้อเข้ากับแกนเพลา ถ้าคุณมีล้อขนาดใหญ่ ให้ไปวางเป็นล้อหลัง และใช้ล้อที่เล็กกว่ามาอยู่เป็นล้อหน้า
    • เดือยของเพลาควรยื่นเลยล้อออกมาประมาณ 1" (2.5 ซม.)
  8. ป้องกันล้อไม่ให้หลุดออกมาหรือเบี้ยวไม่ตรงกัน. [11] คุณสามารถทำได้โดยพันยางรัดเส้นบางๆ รอบเดือยที่อยู่นอกล้อแต่ละล้อ ยางรัดนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ล้อหลุดออกมา
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ให้รถแล่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยกแขนงับอย่างระมัดระวังให้พอสอดเชือกลอดข้างใต้มัน จากนั้นพันเชือกรอบแขนงับและผูกปมให้เชือกแน่น
    • ปมแบบทั่วไปก็ใช้ยึดเชือกเข้ากับแขนงับได้ดีแล้ว
  2. ก่อนทำ ให้แน่ใจว่ามันยาวพอเลยเพลาหลังของรถ เชือกยิ่งยาว ก็ยิ่งใช้เวลากว่าจะปล่อยแรงดันจากกับดัก ซึ่งจะทำให้เร่งได้ช้ากว่าแต่แล่นได้ระยะทางยาวกว่า [12]
  3. เชือกเป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งแรงจากกลไกสปริงของกับดักหนูไปยังล้อหลังของรถ ง้างแขนงับออกมาจับไว้ให้มั่น ในระหว่างที่จับแขนงับไว้นั้น:
    • ใช้มือข้างที่ว่างพันเชือกรอบเพลาหลังของรถให้แน่น
    • พันไปจนไม่เหลือเชือก
    • เชือกจะแน่นพอที่จะรั้งแขนงับลงมาเอง
  4. วางรถกับพื้นในขณะที่ยังจับแขนงับไว้ ให้แน่ใจว่าคุณจับปลายเชือกแน่นๆ มันจะทำให้แขนงับอยู่กับที่ พอปล่อยเชือกจะทำให้แขนงับดีดไปข้างหน้า เป็นตัวดันให้รถแล่นออกไป
  5. เอามือออกให้พ้นกับดักหนูแล้วปล่อยเชือก พลังงานจลน์จากสปริงของกับดักหนูจะส่งถ่ายผ่านเชือกมายังเพลาหลัง ทำให้รถกับดักหนูแล่นออกไปข้างหน้าไประยะทางที่ขึ้นอยู่กับการออกแบบสร้างรถและความยาวของเชือก [13]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ให้แน่ใจว่าเคลียร์ทางให้โล่งหน้ารถกับดักหนู สิ่งกีดขวางอาจทำลายรถที่ค่อนข้างแบบบางนี้ได้
  • หากคุณไม่มีไม้เสียบ จะใช้หลอดดูดมาแทนก็ได้
  • ในการช่วยให้รถที่ขับเคลื่อนเองนี้แล่นได้ราบรื่น คุณสามารถหาอะไรมาถ่วงด้านหลังหรือด้านหน้าของรถได้ วัสดุรีไซเคิลที่ใช้ได้ก็มี: ขวดน้ำ สายไฟ กาวดินน้ำมัน และยางลบ
  • คุณสามารถใช้เพลาและล้อจากการ์ดของเล่นมาใช้แทนกระดาษกล่องกับเดือย แต่จะต้องใช้กาวตราช้างมาติดเพื่อยึดเชือกให้อยู่
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าลองเล่นกับดักหนู หากแขนงับของกับดักหนูถูกปล่อยออกมาก่อน แรงของมันสามารถทำให้นิ้วขาดได้
  • เด็กควรจะประกอบรถกับดักหนูโดยมีผู้ใหญ่คอยดูแล
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • วงเวียน (สำหรับวาดวงกลม)
  • ดินสอ (สำหรับวาดวงกลม)
  • เทปกาว
  • เชือกที่ทนทาน
  • ยางยืด / ยางรัด
  • ตะขอเกี่ยว (4)
  • กระดาษกล่องชนิดหนาหรือแกนโฟม
  • กับดักหนู
  • คีม
  • ไม้บรรทัด
  • เดือยแท่งบาง (2)
  • มีดอเนกประสงค์

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,510 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา