ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าคุณจะต้องการป้อมค่ายแห่งความเป็นส่วนตัวหรืออยากจะเริ่มสร้างสตูดิโออัดเสียงเป็นของตัวเอง คุณก็ต้องทำการเก็บเสียงพื้นที่ซึ่งตนตั้งใจจะใช้ประโยชน์นั้น อ่านบทความด้านล่างนี้สำหรับคำแนะนำว่าคุณจะสร้างห้องเก็บเสียงในราคาถูกแต่ใช้งานได้ในระดับมืออาชีพได้อย่างไร

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

วิธีง่าย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณสามารถดูดซับเสียงลงมาได้บ้างโดยการติดตั้งผ้าห่มผืนหนาๆ ไว้กับผนัง [1] ถ้าพอมีกำลังจะจ่ายได้ อาจหาซื้อม่านซับเสียงหนาๆ มาใช้ก็ได้ [2]
    • หากคุณมีผนังกันความร้อนที่หนาอยู่แล้ว ตรงนี้จะไม่ค่อยมีผลสักเท่าไหร่
  2. คุณสามารถทำให้ฝาผนังหนาขึ้นและกันเสียงได้มากขึ้นโดยแค่ใช้ประโยชน์ของชั้นวางหนังสือ ใช้ตู้วางเรียงตามฝาผนังแล้วใส่หนังสือเป็นตัวกันเสียงได้ดีพอควร ยิ่งกว่านั้นคุณยังได้ห้องสมุดเป็นของแถมในตัว
  3. เคยมีเพื่อนบ้านที่ชอบเปิดเพลงดังลั่นแล้วคุณสังเกตว่าเสียงสั่นสะเทือนนั่นแหละที่ดังมากกว่าเสียงอื่นๆ บ้างไหม ใช่แล้ว นี่แหละเหตุผลว่าทำไมคุณต้องตรึงอุปกรณ์อย่างลำโพงให้อยู่กับที่ ใช้แผ่นกันสั่นสะเทือนเวลาติดตั้งอุปกรณ์อย่างลำโพงเพื่อไม่ให้ไปรบกวนคนรอบข้าง [3]
  4. ติดยางกันเสียงตรงขอบล่างของประตูเพื่อกั้นช่องว่างที่เสียงจะหลุดลอดไป ถ้าช่องว่างใหญ่เกินจะปิดด้วยยางขอบประตู ให้ติดแผ่นไม้อัดเข้าไปตรงฐานประตูก่อน [4]
  5. หาซื้อแผ่นฟองน้ำขนาด 12"x12" ที่มีความโค้งของรังไข่ลึก 2" นี่จะดูดซับเสียงความถี่ต่ำไปจนถึงสูงได้ดี แผ่นซับเสียงบางเจ้ามีกาวลอกติดมาให้สำเร็จรูป ใช้กาวสเปรย์ 3M ติดแผ่นฟองน้ำกับผนังและฝ้าเพดานถ้ามันไม่ติดกาวมาให้ด้วย คุณสามารถติดหมดทั้งห้องหรือแค่เฉพาะบางส่วนขึ้นอยู่กับใจคุณว่าอยากลดเสียงขนาดไหน มันจะลด 'เสียง' ภายในห้องและทำให้สบายหูขึ้น โดยเฉพาะถ้าคุณต้องการทำห้องซ้อมดนตรี
    • ใช้แผ่นฟองน้ำดูดซับเสียงที่ทำจากฉนวนใยแก้วเป็นหลักโดยมีแผ่นหน้าเป็นไมลาร์บางแบบเป็นรูพรุน แผ่นซับเสียงประเภทนี้มีอัตราการดูดซับเสียงสูงที่สุดแต่ก็เป็นแบบที่มีราคาแพงที่สุดเช่นกัน รับรองว่าได้จ่ายราคาแพงแต่ได้คุณภาพมากกว่าใครในตลาด
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

สร้างห้องเก็บเสียง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยิ่งวัสดุหนาและมีความหนาแน่นแค่ไหน มันก็จะยิ่งดูดซับเสียงได้มากขึ้น ลองพิจารณาใช้แผ่นฝ้าบุผนังขนาด ⅝" (1.6 ซม.) แทนที่จะเป็นขนาดบางกว่านั้น
    • ถ้าคุณจะต่อเติมจากผนังที่มีอยู่แล้ว ให้สร้างโครงผนังคร่าวๆ แล้วตอกติดกับผิวผนัง ปิดทับชั้นผนังใหม่นี้ด้วยแผ่นดูดซับเสียงหรือผนังสำเร็จรูป
  2. เมื่อไหร่ก็ตามที่เสียงเดินทางผ่านไปยังสสารใหม่ พลังงานของมันจะถูกดูดซับไปบางส่วน และบางส่วนก็จะสะท้อนกลับ ให้เพิ่มผลกระทบที่ว่านี้โดยการสร้างผนังจากแผ่นดูดซับเสียงหรือผนังสำเร็จรูปสองแผ่นโดยให้มีพื้นที่ว่างระหว่างมันให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นี่เรียกว่าการปิดกั้นการถ่ายโอนเสียง (decoupling)
    • จริงๆ แล้วการปิดกั้นการถ่ายโอนเสียงจะทำให้ผนังกั้นเสียงความถี่ต่ำได้แย่ลงกว่าเดิม อันเป็นเหตุมาจากเสียงสะท้อนของผนัง ถ้าพื้นที่ว่างมีเพียง 1 นิ้ว (2.5 ซม.) หรือน้อยกว่านั้น แนะนำให้ใช้วัสดุดูดเสียงสะท้อนมาช่วยแก้ผลกระทบนี้ [5]
  3. ผนังส่วนใหญ่จะมีโครงแถวเดียวที่สัมผัสกับผนังทั้งสองชั้น เสียงเดินทางผ่านโครงเหล่านี้ได้ง่าย ซึ่งจะไปทำให้งานที่ลงแรงทำมานี้พังไม่เป็นท่า เวลาสร้างฝาผนังใหม่ ให้เลือกการใส่โครงผนังดังต่อไปนี้แทน: [6]
    • โครงเรียงสองแถว แต่ละแถวพาดไปตามผนังด้านในแต่ละฝั่ง นี่เป็นวิธีกันเสียงที่แพร่หลายที่สุด แต่ต้องมีพื้นที่ว่างพอจะทำให้เกิดพื้นที่ว่างระหว่างสองแถว
    • โครงวางซ้อนกัน วางโครงพาดไปตามผนังด้านในด้านหนึ่งแล้ววางซ้อนลงไป
  4. ลองพิจารณาการใช้ตัวเก็บเสียงหรือร่องซับเสียง. พวกนี้จะนำมาใส่ระหว่างโครงไม้กับแผ่นดูดซับเสียง ช่วยเพิ่มอุปสรรคขวางการเดินทางของเสียง จะมีด้วยกันสองทางเลือกหลักคือ:
    • ตัวเก็บเสียง (Sound clips) เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด มันจะดูดซับเสียงด้วยวัสดุที่เป็นยางหนา ติดสกรูยึดมันกับโครงไม้ แล้วสอดรางรูปหมวกเข้าไป สกรูยึดแผ่นดูดซับเสียงกับรางนั้น [7]
      Watermark wikiHow to สร้างห้องเก็บเสียง
    • Resilient channel จะเป็นรางสปริงโลหะที่ออกแบบมาเพื่อกันเสียง สกรูยึดมันกับโครงไม้และแผ่นดูดซับเสียงโดยใช้สกรูเยื้องศูนย์ [8] นี่จะช่วยเพิ่มการขวางกั้นเสียงความถี่สูงโดยการยอมสละความถี่ต่ำบางส่วน [9]
      Watermark wikiHow to สร้างห้องเก็บเสียง
    • โปรดสังเกตด้วยว่ารางรูปหมวกนั้นไม่ได้มีผลต่อการกันเสียง
  5. สารมหัศจรรย์ตัวนี้จะแปลงพลังงานเสียงให้เป็นความร้อน มันสามารถใช้ระหว่างชั้นผนัง พื้น หรือเพดาน วิธีนี้จะต่างจากวิธีอื่นๆ ตรงที่มันช่วยดูดซับเสียงความถี่ต่ำ จึงเหมาะจะใช้ถ้าคุณชอบดนตรีที่มีเบสหนักๆ หรือทำเป็นห้องโฮมเทียเตอร์ [10]
    • มีขายทั้งในแบบกาวกันเสียงหรือกาวยางยืดหยุ่น
    • วัสดุเหล่านี้บางตัวอาจต้องใช้เวลาหลายวันหรือเป็นสัปดาห์กว่าจะ "อยู่ตัว" ทำหน้าที่ได้เต็มสมรรถภาพ [11]
  6. กาวกันเสียงเป็นหนึ่งในวัสดุกันเสียงอเนกประสงค์ที่ดีที่สุด แต่ก็ยังมีวัสดุอื่นๆ ที่สามารถใช้ทดแทนได้
    • ไฟเบอร์กลาสมีราคาถูกและได้ผลดีพอสมควร [12]
    • แผ่นกันเสียงที่ทำจากโฟมเป็นตัวกันเสียงที่คุณภาพต่ำ ข้อดีหลักของมันคือกันความร้อน
  7. แม้กระทั่งรูร่องเล็กๆ ระหว่างวัสดุก็ยังสามารถทำลายระบบกันเสียงลงได้ ให้อุดมันด้วยยาแนวกันเสียงรั่ว (วางขายในชื่อกาวกันไฟ) ซึ่งเป็นวัสดุทนเสียงที่ยืดหยุ่นได้ ให้อุดตามร่องและตามตะเข็บรอบฝาผนังกับหน้าต่าง พึงระลึกถึงสิ่งต่อไปนี้ด้วย: [13]
    • ยาแนวที่มีส่วนผสมของน้ำจะทำความสะอาดได้ง่ายกว่า หากจะใช้ยาแนวแบบที่มีส่วนผสมของตัวทำละลาย ให้ตรวจดูฉลากเพื่อความแน่ใจว่ามันไม่เป็นอันตรายต่อวัสดุที่คุณใช้
    • หากยาแนวสีไม่เข้ากับสีผนัง ให้เลือกชนิดที่บอกว่าสามารถทาสีทับได้
    • พิจารณาเลือกยาแนวธรรมดาสำหรับรูร่องเล็กๆ เนื่องจากยาแนวกันเสียงนั้นดูแลได้ยากกว่า
  8. พื้นกับเพดานสามารถกันเสียงได้ด้วยโดยใช้ระบบเดียวกันกับที่ใช้ตรงส่วนผนัง ปกติแล้วเจ้าของบ้านจะเพิ่มชั้นแผ่นดูดซับเสียงขึ้นมาอีกชั้น (หรือสองชั้น) โดยทากาวกันเสียงตรงกลาง [14] ขั้นตอนง่ายๆ เพิ่มขึ้นคือ ปูพื้นด้วยแผ่นพรมกันเสียง แล้วปูพรมทับ
    • คุณไม่จำเป็นต้องกันเสียงตรงพื้นถ้าหากไม่มีห้องอยู่ใต้ห้องของคุณ
    • เพดานคอนกรีตหนักไม่ได้มีประโยชน์นักจากการเพิ่มแผ่นดูดซับเสียงทากาวกันเสียงติดเข้าไปอีกชั้น ให้เพิ่มแผ่นดูดซับเสียงโดยให้มีช่องว่างแทนจะดีกว่า หรือไม่ก็อุดช่องว่างนั้นด้วยฉนวนใยแก้ว
  9. หากการกันเสียงในห้องที่เสร็จแล้วนี้ยังไม่ถูกใจพอ คุณยังสามารถใช้แผ่นกันเสียง แบบราคาถูกก็มีวางขาย แต่แบบราคาแพงกว่าก็จะเห็นผลมากกว่า
    • ให้แน่ใจว่าได้ยึดพวกมันไว้กับโครงผนังหรือสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงอื่นๆ
  10. โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เปลี่ยนแผ่นฝ้าเพดานแบบเซลลูลอส พวกมันสะท้อนเสียงอย่างมาก
  • ยาแนวตามช่องว่างที่เปิดไว้เป็นช่องไว้ติดดวงไฟเป็นต้น เช่นเดียวกับตามขอบเพดานที่ลาดลงมา
โฆษณา

คำเตือน

  • การก่อสร้างหรือปรับแต่งต่อเติมฝาผนัง พื้น หรือฝ้าเพดานควรจะทำภายใต้คำแนะนำจากช่างผู้ชำนาญการเท่านั้น
  • ระบบวัดการกันเสียง STC ที่เป็นมาตรฐานนั้นไม่ได้มีประโยชน์เสมอไป มันไม่ได้นำคลื่นความถี่ต่ำกว่า 125 เฮิร์ตซ์มาคิดด้วย ซึ่งนั่นรวมถึงเสียงจากดนตรี การจราจร เครื่องบิน และเสียงก่อสร้าง [15]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 59,934 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา