PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

แบบสอบถามเป็นกลวิธีรวบรวมข้อมูลโดยที่ให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบคำถามหนึ่งชุด [1] เราต้องใช้ความมานะและเวลาในการสร้างแบบสอบถามที่จะนำมาใช้รวบรวมข้อมูล อย่างไรก็ตามหากเราสร้างแบบสอบถามไปทีละขั้นตอนตามที่บทความนี้แนะนำ เราก็จะสามารถออกแบบ สร้าง และแจกแบบสอบถามด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ สามารถรวบรวมข้อมูลซึ่งจะตอบคำถามวิจัยโดยเฉพาะได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ออกแบบแบบสอบถาม

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ข้อมูลอะไรบ้างที่ราต้องการรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม จุดประสงค์หลักของเราคืออะไร แบบสอบถามเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดที่จะใช้ในการรวบรวมข้อมูลนี้ไหม
    • คิดคำถามวิจัย อาจตั้งแค่คำถามเดียวหรือหลายคำถามก็ได้ คำถามวิจัยควรจะเป็นแนวทางที่นำมาใช้สร้างแบบสอบถาม
    • ตั้งสมมติฐานหนึ่งข้อหรือหลายข้อที่ต้องการทดสอบ คำถามที่มีในแบบสอบถามควรจะมีเป้าหมายเพื่อทดสอบสมมติฐานเหล่านี้อย่างเป็นระบบ
  2. มีคำถามหลายประเภทที่จะนำมาใช้ในแบบสอบถามของเราได้ คำถามแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน จะเลือกคำถามประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เราต้องการรวบรวม ประเภทคำถามที่ใช้กันโดยทั่วไปในแบบสอบถามมีดังนี้
    • คำถามแบบมีคำตอบให้เลือกสองข้อ โดยทั่วไปคำถามแบบนี้เป็นคำถามแบบต้องการคำตอบ “ใช่/ไม่ใช่” และอาจรวมถึงคำถามแบบต้องการคำตอบ “เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย” เราสามารถวิเคราะห์คำถามประเภทนี้ได้เร็วที่สุดและง่ายที่สุดแต่ไม่ใช่วิธีการที่มีความละเอียดสูง
    • คำถามแบบปลายเปิด คำถามแบบนี้จะให้ผู้ตอบเขียนคำตอบเป็นถ้อยคำของตนเอง คำถามแบบปลายเปิดจะทำให้เราได้เข้าใจความรู้สึกของผู้ตอบ แต่เวลาวิเคราะห์ข้อมูล ก็อาจทำได้ยากหน่อย ขอแนะนำให้ใช้คำถามปลายเปิด เมื่อต้องการให้ผู้ตอบบอกเหตุผลว่า “ทำไม” [2]
    • คำถามแบบมีหลายตัวเลือก คำถามแบบนี้ประกอบด้วยตัวเลือกที่แตกต่างกันมากกว่าสามตัวเลือกขึ้นไปและให้ผู้ตอบเลือกตัวเลือกได้แค่ตัวเดียวหรือหลายตัวเลือก [3] คำถามแบบมีหลายตัวเลือกจะทำให้เราวิเคราะห์ผลง่าย แต่อาจทำให้ผู้ตอบไม่ได้เลือกคำตอบที่ตนเองต้องการ
    • คำถามแบบจัดอันดับ คำถามประเภทนี้จะให้ผู้ตอบจัดลำดับตัวเลือกหรือเลือกตัวเลือกในชุดตัวเลือกที่ให้มาตามลำดับของตนเอง ตัวอย่างเช่น คำถามอาจขอให้ผู้ตอบเรียงลำดับตัวเลือกห้าตัวเลือกจากสำคัญน้อยที่สุดไปหาสำคัญมากที่สุด คำถามประเภทนี้จะบังคับให้เลือกตัวเลือกที่มีให้ แต่ไม่แสดงเหตุผลว่าทำไมผู้ตอบถึงเลือกตัวเลือกเหล่านี้ [4]
    • คำถามแบบมาตราการประเมิน คำถามแบบนี้จะให้ผู้ตอบประเมินหัวข้อเฉพาะที่อยู่ในขอบเขตซึ่งให้มา ในแบบสอบถามจะมีระดับตัวเลือกที่เป็นบวกและลบเท่าๆ กัน ตัวอย่างเช่น มีตัวเลือกตั้งแต่ “เห็นด้วยอย่างยิ่ง” ไปจนถึง “ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง” [5] คำถามเหล่านี้ยืดหยุ่นมาก แต่ก็ไม่ได้ตอบคำถามว่า “ทำไม” ถึงเลือกตัวเลือกนี้ [6]
  3. คำถามที่จะนำมาใช้ในแบบสอบถามควรจะชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา คำถามที่มีลักษณะแบบนี้จะทำให้เราได้คำตอบที่ดีที่สุดจากผู้ตอบแบบสอบถาม
    • เขียนคำถามให้สั้นกระชับและเข้าใจง่าย เราไม่ควรเขียนโดยใช้ถ้อยคำที่เข้าใจยากหรือคำศัพท์เฉพาะทาง เพราะไม่เพียงสร้างความสับสนให้แก่ผู้ตอบเท่านั้น ยังทำให้พวกเขาตอบคำถามไม่ถูกต้องด้วย
    • ถามเพียงแค่ทีละคำถามเท่านั้น จะช่วยป้องกันความสับสนได้
    • ระมัดระวังการสอบถามข้อมูลส่วนตัวหรือเรื่องที่ “ละเอียดอ่อน” [7] ข้อมูลส่วนตัวอาจเป็นข้อมูลทั่วไปอย่างเช่น อายุ น้ำหนัก เป็นต้น หรือข้อมูลที่มีความยุ่งยากซับซ้อนอย่างเช่น ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
      • โดยปกติเวลามีการถามคำถามที่เป็นข้อมูลส่วนตัวหรือเรื่องที่ละเอียดอ่อนเราจำเป็นต้องเอาข้อมูลที่ระบุตัวตนของผู้ตอบออกหรือเข้ารหัสข้อมูลประชากรที่เรารวบรวม
    • กำหนดว่าเราจะรวมคำตอบอย่างเช่น “ไม่รู้” หรือ “ไม่มีคำตอบ” ด้วยหรือไม่ นอกจากตัวเลือกเหล่านี้จะทำให้ผู้ตอบหลีกเลี่ยงไม่ตอบคำถามบางข้อได้แล้ว การมีตัวเลือกเหล่านี้ยังอาจนำไปสู่การเกิดข้อมูลสูญหายด้วย อาจสร้างปัญหาเวลาวิเคราะห์ข้อมูลได้
    • วางคำถามซึ่งสำคัญที่สุดไว้ที่ช่วงต้นของแบบสอบถาม [8] การวางคำถามสำคัญไว้ช่วงต้นช่วยเรารวบรวมข้อมูลที่สำคัญได้ หากเห็นว่าผู้ตอบอาจเริ่มวอกแวกในช่วงท้ายของการตอบแบบสอบถาม
  4. พยายามให้แบบสอบถามของเราสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผู้คนมักจะชอบตอบแบบสอบถามที่สั้น ฉะนั้นเราจะต้องทำแบบสอบถามให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ยังคงรวบรวมข้อมูลที่สำคัญเอาไว้ [9] ถ้าสามารถสร้างแบบสอบถามที่มีคำถามเพียง 5 คำถามได้ ก็ให้ลงมือทำซะ
    • เลือกเฉพาะคำถามที่มีประโยชน์ต่อคำถามวิจัยโดยตรง [10] เราไม่สามารถใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลทุกประเภทของผู้ตอบได้
    • อย่าถามคำถามซ้ำๆ เพราะจะทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามหงุดหงิดรำคาญได้
  5. แบบสอบถามของเรามีเป้าหมายเป็นประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือเปล่า ถ้าใช่ เราควรกำหนดประชากรเป้าหมายก่อนเริ่มนำแบบสอบถามไปแจก [11]
    • คิดดูสิว่าเราอยากให้แบบสอบถามของตนเองรวบรวมข้อมูลจากทั้งผู้ชายและผู้หญิงไหม การศึกษาบางการศึกษาจะสำรวจเพียงแค่เพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น
    • กำหนดว่าเราต้องการให้แบบสอบถามนี้เก็บข้อมูลจากทั้งเด็กและผู้ใหญ่หรือไม่ แบบสอบถามส่วนใหญ่เหมาะให้ประชากรเป้าหมายที่อยู่ในช่วงอายุใดอายุหนึ่งเท่านั้นเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม
      • กำหนดช่วงอายุของประชากรเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น เราอาจกำหนดให้วัยหนุ่มสาวอยู่ในช่วงอายุ 18-29 ปี วัยผู้ใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30-54 ปี และผู้สูงวัยอยู่ในช่วงอายุ 55+ การกำหนดช่วงอายุจะช่วยให้เราได้ผู้ตอบแบบสอบถาม ไม่ใช่จำกัดตัวเองให้ได้ประชากรเป้าหมายในช่วงอายุใดอายุหนึ่งเท่านั้น
    • คิดสิว่ามีคุณสมบัติอะไรอื่นอีกไหมที่ทำให้คนคนหนึ่งเป็นประชากรเป้าหมายที่เหมาะจะตอบแบบสอบถามของเรา ผู้ตอบต้องขับรถไหม ผู้ตอบต้องมีการประกันสุขภาพไหม ผู้ตอบต้องมีลูกอายุต่ำกว่า 3 ปีไหม เราต้องกำหนดคุณสมบัติของผู้ตอบแบบสอบถามให้ชัดเจนจริงๆ ก่อนแจกแบบสอบถาม
  6. มีแผนปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ตอบก่อนเริ่มเขียนแบบสอบถาม การปกป้องความเป็นส่วนตัวเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยมากมาย
    • ใช้แบบสอบถามแบบไม่เปิดเผยชื่อ เราอาจไม่ขอให้มีการลงชื่อในแบบสอบถาม นี้เป็นขั้นตอนหนึ่งที่เราสามารถใช้ปกป้องความเป็นส่วนตัวได้ อย่างไรก็ตามก็อาจมีโอกาสรู้ตัวตนของผู้ตอบได้อยู่โดยใช้ข้อมูลประชากร (เช่น อายุ รูปร่างหน้าตา รหัสไปรษณีย์ เป็นต้น)
    • ทำให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถเชื่อมโยงไปถึงตัวตนของผู้ตอบได้ กำหนดตัวเลขหรือคำเฉพาะของแบบสอบถามแต่ละใบ (และรวมถึงผู้ตอบแต่ละคนด้วย) อ้างถึงแบบสอบถามและตัวบุคคลโดยใช้ตัวเลขหรือคำเฉพาะเหล่านี้เท่านั้น ลบหรือทำลายข้อมูลส่วนตัวที่สามารถนำไปใช้ระบุตัวตนได้
    • จำไว้ว่าเราไม่จำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลประชากรให้ละเอียดมากจนสามารถระบุตัวตนใครได้ ผู้คนอาจระวังตัวที่จะให้ข้อมูลเหล่านี้ ฉะนั้นถามข้อมูลส่วนตัวให้น้อย (ถ้าทำได้) เราจะได้ขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจากผู้อื่นได้มากขึ้น
    • เราต้องทำลายข้อมูลที่ระบุตัวตนของผู้ตอบทั้งหมดหลังจากการวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้ว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

สร้างแบบสอบถาม

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. แนะนำตัวเองว่าเราเป็นใครและทำงานอะไร เราควรจะบอกด้วยว่าตนเองทำงานคนเดียวหรือเป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน รวมถึงชื่อสถาบันการศึกษาหรือชื่อบริษัทที่เรารวบรวมข้อมูลให้ ด้านล่างนี้คือตัวอย่างการแนะนำตัวเอง
    • ผมชื่อทวีศักดิ์ เจริญสุข เป็นหนึ่งในผู้จัดทำแบบสอบถามนี้ ผมเป็นนักศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำลังศึกษาเรื่องวิธีสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาต่างประเทศ
    • ดิฉันชื่อธิติมา จันทรา เป็นนักศึกษาชั้นปีที่สามของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แบบสอบถามนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาสถิติ
    • ผมชื่อสุธี เจริญวงศ์ เป็นนักวิเคราะห์การตลาดของบริษัทบิ๊กดาต้าคอมพานี ผมได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อศึกษาปัจจัยในการเลือกใช้แอปพลิชั่นบนโทรศัพท์มือถือ
  2. [12] คนจำนวนมากจะไม่ตอบแบบสอบถาม หากไม่เข้าใจจุดประสงค์ของแบบสอบถาม ไม่จำเป็นต้องอธิบายยาวเหยียด แค่อธิบายเป็นประโยคสั้นๆ ไม่กี่ประโยค ก็เพียงพอแล้ว ด้านล่างนี้คือตัวอย่างคำอธิบายจุดประสงค์ของแบบสอบถาม
    • ดิฉันกำลังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติของวัยรุ่นไทยที่มีต่อละครโทรทัศน์เกาหลี ข้อมูลนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิจัยการตลาด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
    • แบบสอบถามนี้มี 15 ข้อ เป็นคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกาย เราต้องการหาความสัมพันธ์ระหว่างการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ความถี่ของการออกกำลังกาย และอัตราการเกิดมะเร็งในผู้สูงอายุ
    • แบบสอบถามนี้จะถามท่านเกี่ยวกับประสบการณ์การเดินทางทางอากาศเมื่อไม่นานมานี้ คำถามจะแบ่งเป็นสามตอน ตอนแรกจะขอให้ท่านเล่าประสบการณ์การเดินทางทางอากาศเมื่อไม่นานมานี้ ตอนที่สองจะขอให้ท่านบอกเล่าความรู้สึกที่มีต่อการเดินทางเหล่านี้ และตอนที่สามจะขอให้ท่านเล่าถึงแผนการเดินทางในอนาคตของท่าน เราต้องการรู้ว่าความรู้สึกของบุคคลหนึ่งต่อการเดินทางทางอากาศมีผลต่อแผนการเดินทางในอนาคตอย่างไร
  3. เรารวบรวมข้อมูลนี้เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนในห้องหรือนำไปตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปใช้ในการวิจัยตลาดใช่ไหม อาจมีข้อกำหนดต่างๆ ที่เราต้องคำนึงถึงก่อนแจกแบบสอบถาม ขึ้นอยู่กับว่าเราตั้งใจจะนำข้อมูลที่รวบรวมจากแบบสอบถามไปทำอะไร
    • ยื่นเรื่องเพื่อขออนุญาตหากเรากำลังรวบรวมข้อมูลให้มหาวิทยาลัยหรือเพื่อตีพิมพ์ เราต้องยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย(IRB) ของสถาบันตัวเองเพื่อขออนุญาตก่อนเริ่มลงมือเก็บข้อมูล มหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยส่วนใหญ่จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยและโดยปกติเราสามารถหาข้อมูลการยื่นเรื่องขออนุญาตได้ที่เว็บไซต์ของสถาบันที่ตนเองสังกัด
    • จำไว้ว่าเราต้องทำทุกสิ่งอย่างโปร่งใส เราต้องบอกไปตามความจริงว่าจะเอาข้อมูลที่รวบรวมนี้ไปทำอะไร
    • ขอความยินยอมได้รับข้อมูล ถ้าจำเป็น ถึงเราจะไม่สามารถรับรองได้ว่าจะรักษาความลับได้ แต่เราจะพยายามทุกวิถีทางเท่าที่จะทำได้เพื่อเป็นการรับประกันว่าเราจะปกป้องข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม [13]
  4. ก่อนที่จะให้ใครตอบแบบสอบถามของเรา บอกให้เขารู้ว่าต้องใช้เวลาในการตอบแบบสอบถามเท่าไหร่ เช่น 10 นาทีหรือ 2 ชั่วโมง เป็นต้น เขียนระยะเวลาทำแบบสอบถามไว้ที่ส่วนต้นของแบบสอบถาม จะทำให้ได้แบบสอบถามที่มีคำตอบครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้นในตอนท้าย
    • จับเวลาทำแบบสอบถามของตนเอง จากนั้นคิดสิว่าคนที่ใช้เวลาทำแบบสอบถามนานกว่าเราจะใช้เวลาเท่าไหร่ คนที่ใช้เวลาทำแบบสอบถามสั้นกว่าเราจะใช้เวลาเท่าไหร่
    • บอกระยะเวลาเป็นช่วงเวลาแทนการกำหนดเวลาแบบตายตัว ตัวอย่างเช่น บอกว่าใช้เวลาตอบแบบสอบถามนี้ประมาณ 15 ถึง 30 นาที อย่าบอกว่าใช้เวลาตอบแบบสอบถามนี้ 15 นาที เพราะอาจมีคนเลิกตอบแบบสอบถามทั้งที่ยังตอบไม่ครบทุกข้อได้ เมื่อเวลาหมด
    • พยายามกำหนดเวลาทำแบบสอบถามให้สั้นเข้าไว้! การขอให้ผู้คนช่วยสละเวลาตอบแบบสอบถามสัก 20 นาทีจะทำให้เราลำบากใจน้อยกว่าการขอให้ผู้คนช่วยสละเวลาตอบแบบสอบถาม 3 ชั่วโมง
  5. บอกว่ามีสิ่งตอบแทนอะไรบ้างหลังทำแบบสอบถามเสร็จ. สิ่งตอบแทนจะเป็นอะไรก็ได้ที่เราสามารถให้เป็นรางวัลได้หลังผู้ตอบทำแบบสอบถามเสร็จ สิ่งตอบแทนอาจเป็นอย่างเช่น เงิน ของรางวัลที่ผู้ตอบอยากได้ บัตรกำนัล ลูกกวาด เป็นต้น การให้ของตอบแทนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
    • การให้สิ่งตอบแทนอาจดึงดูดผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย เราคงไม่อยากได้คำตอบจากคนที่ทำแบบสอบถามเพราะหวังแค่สิ่งตอบแทนในตอนสุดท้าย นี้คือข้อเสียของการให้สิ่งตอบแทน [14]
    • การมีสิ่งตอบแทนอาจกระตุ้นให้มีผู้คนมาตอบแบบสอบถามของเรามากขึ้นในกรณีที่บางคนอาจไม่ตอบแบบสอบถาม หากไม่มีรางวัลให้ ในสถานการณ์นี้การมีสิ่งตอบแทนช่วยเราให้ได้จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามตามเป้าหมายได้ [15]
    • ลองใช้กลวิธีของ SurveyMonkey ก็ได้ แทนที่จะจ่ายให้ผู้ตอบแบบสอบถามไปโดยตรง กลับบริจาคเงิน 15 บาทให้แก่องค์กรการกุศลที่ผู้ตอบเลือก เมื่อมีคนมาตอบแบบสอบถามของเรา การทำแบบนี้จะลดโอกาสที่ผู้ตอบจะตอบแบบสอบถามเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ของตัวเองเท่านั้น [16]
    • ให้ผู้ตอบเริ่มเข้าสู่การจับของรางวัล หากทำแบบสอบถามเสร็จแล้ว ของรางวัลอาจจะเป็นบัตรกำนัลร้านอาหารมูลค่า 800 บาท ไอพอดเครื่องใหม่ หรือตั๋วชมภาพยนตร์ก็ได้ การทำแบบนี้จะช่วยลดโอกาสที่ผู้คนจะตอบแบบสอบถามเพราะอยากได้ของรางวัลเพียงอย่างเดียว อีกทั้งยังทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามมีโอกาสได้รางวัลที่ตนเองพอใจด้วย
  6. เนื่องจากเราต้องการให้ผู้คนมีความมั่นใจในตัวเราในฐานะผู้รวบรวมข้อมูล แบบสอบถามของเราจึงต้องดูมีความเป็นมืออาชีพ
    • มีการพิสูจน์อักษร ตรวจความถูกต้องของตัวสะกด ไวยากรณ์ และเครื่องหมายวรรคตอน
    • ใส่หัวข้อแบบสอบถามด้วย หัวข้อจะช่วยให้ผู้ตอบเข้าใจจุดประสงค์ของแบบสอบถามได้เร็วที่สุด
    • ขอบคุณผู้ตอบแบบสอบถาม กล่าวขอบคุณผู้ตอบแบบสอบถามที่สละเวลาตอบแบบสอบถามนี้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

แจกแบบสอบถาม

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขอให้คนที่เรารู้จักตอบแบบสอบถามของเรา (คำตอบของเขาจะไม่รวมอยู่ในผลที่มาจากแบบสอบถามนี้) และเตรียมที่จะปรับแก้ หากจำเป็น [17] หาผู้ทดลองตอบแบบสอบถามมา 5-10 คน [18] ถามคำถามดังต่อไปนี้เพื่อจะได้รู้ผลตอบรับของแบบสอบถาม
    • แบบสอบถามเข้าใจง่ายหรือไม่ มีคำถามข้อไหนที่อ่านแล้วสับสนหรือไม่
    • แบบสอบถามเข้าถึงง่ายหรือไม่ (คำถามข้อนี้สำคัญอย่างยิ่ง หากแบบสอบถามเป็นแบบออนไลน์)
    • แบบสอบถามนี้คุ้มค่ากับเวลาของท่านหรือไม่
    • ท่านสะดวกที่จะตอบคำถามในแบบสอบถามนี้หรือไม่
    • มีอะไรในแบบสอบถามนี้ที่ท่านต้องการให้ปรับปรุงหรือไม่
  2. เราต้องกำหนดว่าจะใช้วิธีแจกแบบสอบถามวิธีไหนถึงจะดีที่สุด [19] วิธีการแจกแบบสอบถามโดยทั่วไปมีดังนี้
    • ใช้เว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ตอย่างเช่น SurveyMonkey.com เว็บไซต์นี้จะให้เราสร้างแบบสอบถามของตนเองโดยใช้ตัวสร้างแบบสอบถามของเว็บไซต์ มีตัวเลือกเพิ่มเติมอย่างเช่น ตัวเลือกซื้อกลุ่มเป้าหมายและใช้เครื่องมือวิเคราะห์ของเว็บไซต์ในการวิเคราะห์ข้อมูลของเรา [20]
    • ใช้วิธีส่งทางไปรษณีย์ ถ้าเราเลือกวิธีส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ จะต้องแนบซองที่มีชื่อที่อยู่ของตนเองและติดแสตมป์ให้เรียบร้อย ผู้ตอบแบบสอบถามจะได้ส่งแบบสอบถามที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วกลับมาได้ง่าย แบบสอบถามจะต้องมีขนาดที่สามารถพับใส่ซองจดหมายธุรกิจขนาดมาตรฐานได้พอดี
    • ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว วิธีสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวทำให้เราได้ติดต่อพูดคุยกับประชากรเป้าหมายและลดโอกาสที่ข้อมูลในแบบสอบถามจะสูญหาย เพราะเมื่อเราเป็นฝ่ายถามคำถามโดยตรง พวกเขาก็จะหลีกเลี่ยงการตอบคำถามได้ยากขึ้น
    • ใช้วิธีโทรศัพท์ไปสอบถาม ถึงแม้การโทรศัพท์ไปสอบถามจะเป็นวิธีที่ประหยัดเวลาในการรวบรวมข้อมูล แต่ก็อาจหาคนที่จะมาตอบแบบสอบถามทางโทรศัพท์ได้ยาก
  3. ขอให้ผู้ตอบแบบสอบถามกรอกข้อมูลในแบบสอบถามให้เสร็จและส่งกลับมาให้เราภายในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อให้เรามีเวลาที่จะวิเคราะห์ผล
    • กำหนดเวลาให้เหมาะสม การให้เวลาผู้ตอบแบบสอบถามจนถึง 2 สัปดาห์ก็น่าจะเพียงพอแล้ว เพราะหากให้เวลานานกว่านี้ ก็มีความเสี่ยงที่ผู้ตอบแบบสอบถามจะลืมเรื่องแบบสอบถามไปเสียสนิทได้
    • อย่าลืมเตือนผู้ตอบแบบสอบถามด้วย ควรเตือนผู้ตอบแบบสอบถามอย่างสุภาพหนึ่งสัปดาห์ก่อนกำหนดส่งแบบสอบถาม รวมทั้งส่งแบบสอบถามไปให้อีกครั้งหากผู้ตอบแบบสอบถามทำแบบสอบถามหาย [21]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 20,558 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา