PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณอยากขยายฐานคนอ่านของเว็บตัวเอง หรืออยากเด่นดังใน podcast ก็ถึงเวลาที่ต้องมี RSS feed แล้วล่ะ RSS feed ช่วยอัพเดทให้คนอ่านของคุณรู้เวลาคุณลงบทความหรือ episode ใหม่ๆ บอกเลยว่าเผลอแป๊บเดียวไม่รู้ traffic มาจากไหนเยอะแยะ การสร้าง RSS feed นั้นทั้งเร็วและง่าย ไม่ว่าจะสร้างด้วยโปรแกรม RSS creation หรือสร้างเองก็เถอะ ส่วนวิธีการก็เลื่อนลงไปอ่านข้างล่างเลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

สร้างด้วยโปรแกรมสร้าง RSS

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าพูดถึงบริการ RSS ก็พอมีตัวเลือกอยู่ จะใช้เว็บที่ให้บริการสร้างและอัพเดท RSS feed อัตโนมัติเป็นรายเดือน หรือจะดาวน์โหลดโปรแกรม RSS feed มาสร้างแล้วอัพเดทเองก็ได้เหมือนกัน โปรแกรมดังๆ ก็เช่น [1]
    • RSS Builder – เป็นโปรแกรมสร้าง RSS ฟรีแบบ open-source ใช้สร้างไฟล์ RSS ไว้อัพโหลดขึ้นเว็บของคุณ รวมถึงจัดการ RSS feed ของเว็บโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปนั่งอัพโหลดไฟล์ทุกครั้งไป
    • Feedity กับ rapidfeeds – คือเว็บที่คุณใช้จัดการหลาย feed ได้ด้วยการอัพเดทแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องอัพเดท feed เองเวลาอัพเดทเนื้อหาในเว็บ ถ้าเป็น Feedity จะสร้างไฟล์ RSS โดยไม่ต้องอัพโหลดทีละไฟล์เลย
    • FeedForAll – เป็นโปรแกรมแบบเสียเงิน ใช้สร้าง RSS feed ไว้อัพโหลดขึ้นเว็บคุณ มีเครื่องมือพิเศษสำหรับสร้าง podcast feed ใน iTunes ด้วย
  2. พอเลือกเว็บหรือโปรแกรมได้แล้ว ก็ถึงเวลาสร้าง feed แรกของคุณ ขั้นตอนจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละโปรแกรม แต่วิธีการใช้งานหลักๆ ก็จะเหมือนกัน โดยที่ทุก feed ต้องมี metadata พื้นฐานบางตัว
    • ตั้งชื่อ feed ควรจะใช้ชื่อเว็บหรือ podcast ของคุณ
    • พิมพ์ URL ของเว็บ คนอ่านเขาจะได้ตามมาที่หน้าเว็บคุณถูก
    • พิมพ์คำอธิบาย feed อย่าให้เกิน 1 - 2 ประโยค แค่อธิบายเนื้อหาคร่าวๆ ของ feed
  3. คุณใส่รูปเป็นสัญลักษณ์ประจำ feed ได้ โดยอัพโหลดไฟล์รูปในเว็บก่อน รูปถึงจะขึ้น จริงๆ จะไม่ใส่รูปก็ได้ แต่เราแนะนำว่าถ้าเป็น podcast นี่ขาดไม่ได้เลย
  4. พอกรอกข้อมูลของ podcast แล้ว ก็ถึงเวลาใส่เนื้อหาเข้าไป ให้ใส่ชื่อบทความ โพสต์ในบล็อก podcast episode หรืออื่นๆ ลงไป แล้วใส่ URL ที่จะลิงค์ไปถึงเนื้อหาโดยตรง รวมถึงวันที่โพสต์ ถ้าเป็น Feedity แค่ใส่ URL ของเว็บ เนื้อหาก็จะโผล่มาเองโดยอัตโนมัติ
    • ให้คุณอธิบายแต่ละเอนทรีแบบสั้นๆ แต่โดนใจ เพราะนี่คือด่านแรกที่คนอ่านต้องเจอก่อนตัดสินใจคลิกเอนทรีของคุณใน RSS reader ของเขา
    • GUID คือ unique identifier หรือหมายเลขประจำเนื้อหา ปกติคุณใส่ URL ไปในช่องนี้ได้เลย ถ้า 2 เนื้อหาอยู่ใน URL เดียวกัน ก็ต้องใช้ unique identifier แทน
    • จะใส่ข้อมูลผู้เขียน (Author) กับคอมเม้นท์ด้วยก็ได้
    • ใส่เอนทรีใหม่ของแต่ละเนื้อหาที่อยากจะเผยแพร่
  5. พอกรอกทุกรายละเอียดของเนื้อหาใน feed แล้ว คุณต้องนำออก (export) เป็นไฟล์ XML ไฟล์ XML นี้จะทำให้คนอ่านเขา subscribe ติดตาม RSS feed ของคุณได้
  6. อัพโหลดไฟล์ XML ที่เพิ่งสร้างขึ้นเว็บ แล้วแปะไว้ที่หน้า home บางเว็บจะสร้าง URL ไปยัง feed ให้คุณใช้แปะที่เว็บได้เลย
    • ถ้าใช้ RSS Builder ให้คุณใส่ข้อมูล FTP ของเว็บ feed จะได้อัพเดทอัตโนมัติทุกครั้งที่แก้ไข ให้คุณคลิกปุ่ม FTP ในแถบเครื่องมือข้างบน คลิกปุ่ม New Site แล้วใส่ข้อมูล FTP พอคุณจะอัพเดทไฟล์ XML ในเว็บ ก็ให้คลิกปุ่ม Publish Feed ได้เลย
  7. มีหลายเว็บเลยที่เป็น aggregate site เว็บแบบนี้แหละที่คุณส่ง RSS feed ของคุณไปได้ เว็บพวกนี้จะรวบรวมบทความจากเว็บต่างๆ ไว้ตามความสนใจเฉพาะด้าน ช่วยเพิ่มจำนวนคนเข้าชมเว็บให้คุณได้เยอะเลย ลองหา RSS Feed Directories ที่ตรงตามความสนใจใน feed ของคุณ แล้วส่ง URL ของไฟล์ XML ของ feed คุณไปดู
    • ถ้า feed คุณเป็น podcast ก็ให้ส่งไปที่ iTunes แทน เหล่าผู้ใช้ใน iTunes จะได้ค้นเจอแล้ว subscribe ผ่านโปรแกรมเลย แต่ podcast ของคุณต้องผ่านการอนุมัติก่อนนะ ถึงจะไปโผล่ในผลการค้นหาได้ [2]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

สร้าง Feed ด้วยตัวเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้โปรแกรม word สร้างลิสต์ง่ายๆ รวมเนื้อหาล่าสุด ให้ได้สักประมาณ 10 - 15 เอนทรี จริงๆ จะใส่ไปใน feed มากหรือน้อยกว่านั้นก็ตามสะดวก จากนั้น copy URL ใส่ในลิสต์ที่ว่า เขียนชื่อบทความกับคำอธิบายสั้นๆ ด้วย รวมถึงวันที่เผยแพร่
  2. เปิด Notepad (Windows) หรือ TextEdit (Mac) ก่อนจะกรอกข้อมูลของเนื้อหา ต้องใส่ RSS header ก่อน ให้ใส่โค้ดต่อไปนี้ที่ด้านบนของไฟล์ text
     <?xml version="1.0" encoding="utf-8"?> 
     <rss 
     version= 
     "2.0" 
     > 
     <channel> 
     <title> 
    ชื่อ Feed </title> 
     <link> 
    http://www.ชื่อเว็บของคุณ.com/ </link> 
     <description> 
    คำอธิบาย Feed 
    อย่าให้เกิน 2 ประโยค </description> 
    
  3. แต่ละเนื้อหาต้องเป็นเอนทรี <item> แยกกันไปใต้ header ให้ copy โค้ดต่อไปนี้ไปใช้กับแต่ละเอนทรีที่จะใส่ โดยแทนที่รายละเอียดด้วยข้อมูลเนื้อหาของคุณ [3]
     <item> 
     <title> 
    ชื่อเนื้อหา </title> 
     <link> 
    URL ที่ลิงค์ไปยังเนื้อหาโดยตรง </link> 
     <guid> 
    Unique ID ของเนื้อหา ให้ copy URL มาใส่อีกรอบ </guid> 
     <pubDate> 
    Wed, 27 Nov 2013 15:17:32 GMT 
    (หมายเหตุ: วันที่ต้องอยู่ในฟอร์แมตนี้เท่านั้น) </pubDate> 
     <description> 
    คำอธิบายเนื้อหา </description> 
     </item> 
    
  4. พอกรอกทุกรายละเอียดครบแล้ว ให้ปิดแท็ก <rss> กับ <channel> ก่อนจะเซฟไฟล์ เหมือนในตัวอย่าง feed ข้างล่าง ที่มี 3 บทความด้วยกัน
     <?xml version="1.0" encoding="utf-8"?> 
     <rss 
     version= 
     "2.0" 
     > 
     <channel> 
     <title> 
    Blog สุดเจ๋งของฉัน </title> 
     <link> 
    http://www.ชื่อเว็บของคุณ.com/ </link> 
     <description> 
    บทความเด็ดล่าสุด </description> 
     <item> 
     <title> 
    บทความ 3 </title> 
     <link> 
    example.com/3 </link> 
     <guid> 
    example.com/3 </guid> 
     <pubDate> 
    Wed, 27 Nov 2013 13:20:00 GMT </pubDate> 
     <description> 
    บทความล่าสุดของฉัน </description> 
     </item> 
     <item> 
     <title> 
    บทความ 2 </title> 
     <link> 
    example.com/2 </link> 
     <guid> 
    example.com/2 </guid> 
     <pubDate> 
    Tue, 26 Nov 2013 12:15:12 GMT </pubDate> 
     <description> 
    บทความที่ 2 ของฉัน </description> 
     </item> 
     <item> 
     <title> 
    บทความ 1 </title> 
     <link> 
    example.com/1 </link> 
     <guid> 
    example.com/1 </guid> 
     <pubDate> 
    Mon, 25 Nov 2013 15:10:45 GMT </pubDate> 
     <description> 
    บทความแรกของฉัน </description> 
     </item> 
     </channel> 
     </rss> 
    
  5. พอสร้าง feed เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เซฟเป็นไฟล์ XML โดยคลิก File แล้วเลือก Save As ในเมนู file type ให้เลือก All Files จากนั้นเปลี่ยน extension จาก .TXT เป็น .XML เสร็จแล้วตั้งชื่อไฟล์ให้ตรงกับชื่อ feed เช็คให้ชัวร์ด้วยว่าไม่มี space หรือเว้นวรรคในชื่อไฟล์
  6. ตอนนี้พอมีไฟล์ XML แล้วก็ถึงเวลาอัพโหลดเข้าเว็บ ให้คุณใช้โปรแกรม FTP หรือ cPanel แปะไฟล์ XML ที่หน้า home ของเว็บ อย่าลืมสร้างลิงค์ไปยังไฟล์ XML ด้วย คนอ่านเขาจะได้ subscribe ติดตามได้
  7. ตอนนี้พอ feed ของคุณออนไลน์แล้ว คุณก็กระจายลิงค์ไปทั่วๆ ได้ในหลาย Feed Directories ลองท่องเว็บหา directories ที่ตรงกับความสนใจใน feed ของคุณดู จากนั้นก็หมั่นแชร์ feed รับรองว่า traffic จะเพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ
    • ถ้าคุณจะสร้างลิสต์ของ podcast ให้ส่ง feed ไปที่ iTunes แทน ผู้ใช้ใน iTunes เข้าจะได้หา feed คุณเจอจากใน iTunes store สำหรับรายละเอียดการส่งไฟล์ XML ไปยัง iTunes ให้ลองศึกษาเพิ่มเติมในเน็ตดู และต้องรออนุมัติก่อนถึงจะไปโผล่ในผลการค้นหา
  8. ถ้าคุณสร้างและดูแล RSS feed ด้วยตัวเอง คุณต้องคอยอัพเดททุกครั้งที่มีเนื้อหาใหม่และต้องการเผยแพร่ โดยเปิดไฟล์ XML เวอร์ชั่นล่าสุดใน text editor แล้วใส่เนื้อหาใหม่ที่ด้านบนของลิสต์ ใช้โค้ดที่เราบอกไปนั่นแหละ เสร็จแล้วให้เซฟไฟล์ จากนั้นอัพโหลดเข้าเว็บอีกรอบ
    • อย่าให้ feed ยาวเกินไป เวลาคนเปิดอ่านจะได้โหลดเร็วๆ หรือก็คือเวลาคุณเพิ่มเนื้อหาใหม่ใน feed ให้ลบเอนทรีเก่าซะ อย่างถ้าคุณเพิ่มเอนทรีใหม่เข้าไปที่ด้านบนของลิสต์เรื่อยๆ เวลาลบก็ให้ลบเอนทรีสุดท้ายล่างลิสต์ แบบนี้ feed จะได้กระชับอยู่เสมอ
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณใช้ Dreamweaver หรือโปรแกรมออกแบบเว็บอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ระวังอย่าให้แท็กถูกลบหายไป เพราะบางที Dreamweaver ก็ลบแท็กที่ขึ้นซ้ำๆ สำคัญมากว่าแท็กพวกนี้ต้องอยู่ครบถ้วนตามตำแหน่ง ถึงจะได้ RSS feed ที่ถูกต้องใช้งานได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 28,964 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา