ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากคุณจะต้องคอยดันแว่นตอนสวมใส่อยู่เสมอ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับไม่ให้เลื่อนอีกต่อไป หากเป็นช่วงรีบร้อนก็มีวิธีมากมายที่ซ่อมได้อย่างรวดเร็วที่ทำได้เองที่บ้าน หากต้องการวิธีที่แก้ไขได้ถาวร คุณอาจจะต้อง ปรับโครงแว่น ให้พอดีกับศีรษะ เมื่อปรับโครงแว่นแล้ว แว่นก็จะอยู่กับที่ได้ตลอดทั้งวัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปรับให้แว่นกระชับกับหน้าได้เองที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ล้างหน้าเพื่อล้างน้ำมันตามธรรมชาติบนผิวหนังออกไป. ผิวที่มันจะทำให้แว่นเลื่อนลงมาที่จมูกได้ ลองหาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากธรรมชาติที่ช่วยลดความมัน และเพื่อให้ได้ผลดีควรล้างหน้าวันละ 1 หรือ 2 ครั้ง ถูด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดลงบนผิวและล้างออกให้สะอาดก่อนสวมแว่นตาแล้วสังเกตว่าแว่นตายังลื่นอยู่หรือไม่ [1]
    • ร่างกายจะผลิตน้ำมันออกมาเพิ่มตลอดทั้งวัน ดังนั้นให้พกทิชชู่เปียกไว้ลดความมันส่วนเกินระหว่างวัน
    • การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหน้าเพื่อลดความมันบ่อยจะทำให้ผิวแห้งได้
  2. นำยางรัดผม 2 เส้นที่มีสีเดียวกันกับโครงแว่นเพื่อให้กลมกลืนและไม่สะดุดตาออกมา เลื่อนยางรัดผมเส้นหนึ่งเข้าไปแล้วมัดประมาณ 3 ทบไปบนบริเวณที่ขาแว่นงอลงแล้วบิดให้เป็นเกลียว รัดให้แน่นก่อนรัดทบต่อไปเรื่อยๆ รัดยางรัดผมไปเรื่อยๆ รอบขาแว่นจนแน่นแล้วทำเช่นเดียวกันกับขาแว่นอีกข้าง [2]
    • ให้ยางรัดผมที่รัดยู่ในแนวราบไปกับขาแว่น และไม่รู้สึกรำคาญเมื่อสวมใส่แว่น
    • ลองใช้ยางที่มีความหนาแตกต่างกันไปเพื่อดูว่าแบบไหนพอดีกับขาแว่นที่สุดและรู้สึกสบายที่สุดเมื่อสวมใส่
  3. แว็กซ์สำหรับแว่นนั้นสามารถนำจากลิปมันมาใช้เพื่อเพิ่มความเสียดทานระหว่างกรอบแว่นกับจมูก เปิดฝาออกแล้วถูเล็กน้อยลงบนสะพานกรอบแว่น ลองสวมแว่นดูว่ายังลื่นอยู่หรือไม่ หากยังลื่นให้ทาแว็กซ์เพิ่มลงไปเล็กน้อยบนแว่น [3]
    • สามารถซื้อแว็กซ์สำหรับแว่นตาได้ทางออนไลน์หรือร้านขายยาใกล้บ้าน

    คำเตือน: แว็กซ์สำหรับแว่นตาจะไม่ได้ผลหากแว่นขนาดไม่พอดีกับศีรษะ ลองไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดสายตาประกอบแว่นหรือร้านแว่นตาเพื่อวัดกรอบแว่นให้พอดีกับขนาดใบหน้า [4]

  4. ท่อหดจะเปลี่ยนรูปร่างตามวัตถุที่หุ้มอยู่เมื่อโดนความร้อน โดยเลื่อนท่อหดนี้ให้ทับบนขาแว่นแต่ละข้างเพื่อให้เกี่ยวไว้กับหู พ่นเครื่องเป่าลมร้อนให้ห่างจากตัวท่อประมาณ 4-5 นิ้วโดยเปิดลมร้อนแค่พออุ่นๆ ค้างไว้ 30 วินาทีเพื่อให้ท่อหดตัว [5]
    • สามารถหาซื้อท่อหดได้จากร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใกล้บ้าน โดยเลือกท่อที่สีเดียวกันกับขาแว่นเพื่อไม่ให้โดดเด่นเกินไป
    • หากไม่มีเครื่องเป่าลมร้อน สามารถใช้ไดร์เป่าผมโดยตั้งค่าร้อนสูงสุดแทนได้
    • อย่าจ่อเครื่องเป่าลมร้อนใกล้แว่นตานานเกินไป เพราะจะทำให้โครงแว่นละลายได้
    • โรงแว่นบางอันมีที่จับเป็นยางให้มาด้วยอยู่แล้วที่ขาแว่น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับโครงแว่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ไขควงจากร้านซ่อมแว่นตาขันเพื่อเปลี่ยนแป้นจมูกอันใหม่ไปใส่แทน ดึงแป้นจมูกอันเก่าออกแล้วใส่อันใหม่เข้าไปยึดที่โครงแว่นแทน เก็บตัวน็อตไว้ให้ดีก่อนเปลี่ยนใส่แป้นใหม่ [6]
    • สามารถซื้อแป้นจมูกมาเปลี่ยนได้จากทางออนไลน์หรือร้านจำหน่ายแว่นทั่วไป
    • นักทรรศนมาตรอาจจะเปลี่ยนแป้นจมูกให้ใหม่โดยมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย

    เคล็ดลับ: หากโครงแว่นตาไม่มีแป้นจมูก สามารถซื้อแป้นจมูกมาติดที่สะพานแว่นเพื่อให้แว่นอยู่กับที่ได้

  2. โครงแว่นบางอันมีแป้นจมูกที่ทำจากโลหะชิ้นบางเพื่อให้สามารถปรับเองได้ ให้หยิบขอบด้านนอกของด้านจมูกโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งบีบแป้นจมูกทั้งสองฝั่งให้เข้ามาใกล้กันอย่างระมัดระวัง โดยบีบให้สองอันเข้ามาใกล้กันในระยะที่เท่ากันสองฝั่งหรือให้แว่นโค้งเข้าหากันพอดีกับใบหน้า [7]
    • หากเผลอบีบแป้นจมูกเข้ามาแคบเกินไป ให้ดันออกให้กว้างขึ้น
    • ระวังการงอแป้นจมูกที่มากเกินไปเพราะอาจจะหักและหลุดออกจากโครงแว่นได้
    • อาจนำแว่นไปให้นักทรรศนมาตรหรือร้านแว่นตาทั่วไปช่วยปรับให้ หากรู้สึกทำเองไม่สะดวก
  3. มุมตรงขมับนั้นบ่งบอกว่าขาแว่นยึดกับด้านข้างศีรษะได้ดีแค่ไหน หากโครงแว่นเป็นโลหะ ให้ถือขาแว่นด้วยมือข้างที่ไม่ถนัดแล้วคีบปลายขาแว่นไว้ด้วยคีมปากแหลม ดัดปลายขาแว่นสองข้างเข้าหากันให้โครงแว่นแน่นขึ้น หากโครงแว่นทำจากพลาสติก ให้เป่าด้วยไดร์เป่าผมให้ร้อนระดับสูง 1-2 นาทีก่อนดัดด้วยมือ [8]
    • สามารถนำแว่นไปให้นักทรรศนมาตรปรับให้ได้
  4. สวมที่เกี่ยวหูกันแว่นตาตกลงบนขาแว่นเพื่อไม่ให้ขาแว่นเลื่อนหลุดจากหู. ที่เกี่ยวหูเป็นบางชิ้นเล็กที่สวมใส่บนขาแว่นเพื่อป้องกันไม่ให้แว่นหล่นจากหู เลื่อนที่เกี่ยวหูไปส่วนปลายของขาแว่นและไว้ตรงตำแหน่งที่ไกลพอจะเกี่ยวหูได้เมื่อสวมแว่นตา สวมที่เกี่ยวหูเข้ากับขาแว่นอีกข้างให้แว่นสมดุล [9]
    • สามารถซื้อที่เกี่ยวหูได้ทางออนไลน์หรือจากร้านจำหน่ายแว่นตา
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เลือกขนาดกรอบที่พอดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วัดขนาดใบหน้าเมื่อเปรียบเทียบว่าต้องใช้โครงแว่นขนาดไหน. ไปพบนักทรรศนมาตรหรือช่างเพื่อหากรอบที่พอดีกับเลนส์, สันจมูก และขาแว่นในหน่วยมิลลิเมตร [10]
    • ตัวอย่างเช่น ค่าที่ได้จากการวัดตัดแว่นได้ 55-18-140 โดย 55 มิลลิเมตรคือความกว้างเลนส์, 18 มิลลิเมตรคือความกว้างสะพานแว่น และ 140 มิลลิเมตรคือความยาวขาแว่น
    • หากมีแว่นที่สวมใส่ได้พอดีแล้ว ให้สังเกตตัวเลขทั้ง 3 ค่าที่เขียนบนขาแว่นข้างหนึ่งเพื่อหาขนาดที่พอดี
    • บางแอพลิเคชันสำหรับซื้อแว่นตาอาจมีเครื่องมือวัดซึ่งใช้การประมาณจากกล้องโทรศัพท์เพื่อให้ได้ขนาดที่พอดีที่สุดกับคุณ

    เคล็ดลับ: หลีกเลี่ยงการเลือกโครงแว่นที่สามารถสวมใส่ได้ทุกคนเพราะอาจจะใหญ่หรือเล็กเกินไปสำหรับใบหน้าของคุณ ทำให้เลื่อนหลุดบ่อยๆ ได้

  2. สวมที่สวมขาแว่นไว้ที่ปลายขาแว่นเพื่อให้เลื่อนหลุดยากขึ้น. ที่สวมขาแว่นเป็นยางชิ้นเล็กๆ หุ้มที่ปลายขาแว่นไว้เพื่อเพิ่มแรงเสียดทานทำให้เลื่อนหลุดยากขึ้น หาโครงแว่นขนาดพอดีที่มียางหุ้มปลายขาแว่นและลองสวมจริงเพื่อดูว่าสวมแล้วรู้สึกพอดีกับศีรษะหรือไม่ [11]
    • หากโครงแว่นบีบแน่นเกินไป อาจจะรู้สึกไม่สบายเมื่อสวมใส่นานๆ
    • สามารถซื้อที่สวมขาแว่นเพิ่มได้หากไม่มีติดมาให้กับโครงแว่น
  3. ลองกับแป้นจมูกที่ปรับได้เพื่อให้สามารถขันให้แน่นได้. แว่นหลายอันที่แป้นจมูกทำจากชิ้นโลหะที่ปรับได้เพื่อให้สามารถปรับตามรูปจมูกได้ หาโครงแว่นขนาดพอดีกับคุณที่มีแป้นจมูกปรับได้ตามร้านแว่นตาทั่วไปหรือทางออนไลน์ หากแป้นจมูกหลวมเกินไปจะยึดกับสันจมูกได้ไม่ดี จากนั้นบีบเข้าหากันสองฝั่งให้กระชับกับใบหน้า [12]
    • หากโครงแว่นที่คุณเลือกไม่มีแป้นจมูกที่ปรับได้ อาจต้องติดที่ยึดแป้นจมูกเพื่อช่วยให้แว่นตาไม่เลื่อนหลุด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ไปร้านแว่นตาทั่วไปหรือพบนักทรรศนมาตรเพื่อเลือกโครงแว่นที่พอดีกับใบหน้าของคุณ เพื่อให้ทราบขนาดที่เหมาะสมเมื่อต้องซื้อโครงแว่น แว่นก็จะได้ไม่เลื่อนหลุดจากใบหน้าอีก [13]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,298 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา