ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

"การสอบแบบเปิดหนังสือ" คือการสอบที่คุณสามารถนำหนังสือหรือเอกสารที่คุณใช้ในการเรียนเข้าไปในห้องสอบได้ เมื่อได้ยินครั้งแรกคุณอาจจะคิดว่าในวันสอบคุณก็แค่เปิดหาคำตอบ เพราะฉะนั้นมันน่าจะเป็นการสอบที่ง่ายมาก แต่โดยทั่วไปแล้วการสอบแบบเปิดหนังสือมักไม่ได้เป็นแบบนั้น อันที่จริงการสอบแบบนี้มักจะค่อนข้างยากด้วยซ้ำ เพราะในการสอบแบบเปิดหนังสือนั้นคุณจะต้องเข้าใจเนื้อหาและสามารถตีความ คิดวิเคราะห์ และนำเสนอคำตอบที่ผ่านการเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ แต่การเตรียมตัวสักเล็กน้อย ทักษะการจดโน้ต และกลยุทธ์การทำข้อสอบจะช่วยให้คุณทำข้อสอบแบบเปิดหนังสือในครั้งถัดไปได้ผ่านฉลุย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมตัวสอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจหลักการเบื้องหลังของการสอบแบบเปิดหนังสือ. การสอบแบบเปิดหนังสือไม่ได้อาศัยการเรียนรู้แบบท่องจำแล้วสำรอกเนื้อหาออกมา แม้ว่าคุณจะมีข้อมูลอยู่ตรงหน้า แต่คำถามที่คุณได้รับมักจะค่อนข้างซับซ้อน การสอบแบบเปิดหนังสือมีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีวิจารณญาณและลึกซึ้ง การสอบแบบเปิดหนังสือจะไม่ได้เน้นการท่องจำข้อมูล แต่เป็นการนำข้อมูลนั้นมาประยุกต์ใช้ ซึ่งหมายความว่าคุณจะแค่สรุปเนื้อหาในหนังสือมาตอบไม่ได้ แต่คุณจะต้องตีความข้อมูลนั้นในบริบทของคำถามและสถานการณ์ในโจทย์ [1]
    • เช่น ในวิชาที่เรียนเกี่ยวกับเช็กสเปียร์ ข้อสอบไม่น่าจะถามว่า "โรมิโอนามสกุลอะไร" แต่น่าจะถามว่า "จงอธิบายว่าครอบครัวของโรมิโอมีส่วนทำให้เขาเสียชีวิตในตอนท้ายอย่างไร พร้อมยกเนื้อหาประกอบ"
    • โดยทั่วไปการสอบแบบเปิดหนังสือจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบจำกัดและไม่จำกัด ในการสอบแบบจำกัดนั้นจะระบุว่า นักศึกษาสามารถนำเอกสารอะไรเข้าไปได้บ้าง เช่น โน้ต 1 ชุดหรือหนังสือเรียนเล่มเดียว แต่ถ้าเป็นการสอบแบบไม่จำกัด คุณจะเอาอะไรเข้าไปในห้องสอบก็ได้หรือไม่ก็เป็นการสอบที่บ้าน คุณต้องรู้ก่อนว่าการสอบครั้งนี้เป็นการสอบแบบจำกัดหรือไม่จำกัดก่อนถึงวันสอบ [2]
    • โดยส่วนใหญ่คุณไม่จำเป็นต้องท่องจำเนื้อหาเพื่อเตรียมตัวสอบแบบเปิดหนังสือ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวเพราะมันไม่ใช่แบบนั้น การสอบแบบนี้จะเน้นความเข้าใจ ไม่ใช่แค่การท่องจำแล้วนำไปเขียนตอบ ข้อสอบจะไม่ถามว่า "จงอธิบาย X" แต่จะถามว่า "จงอธิบายว่า X สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ Y ได้อย่างไร" หรือ "X มีผลต่อสถานการณ์ปัจจุบันของ Y อย่างไร" เพราะฉะนั้นคุณต้องเข้าใจเนื้อหาจริงๆ ก่อนเข้าห้องสอบ [3]
  2. ถ้าการสอบอนุญาตให้คุณนำหนังสือเข้าไปได้ ให้จัดระเบียบหนังสือล่วงหน้าเพื่อให้คุณหาข้อมูลสำคัญได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย [4]
    • ปากกาไฮไลต์เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากหากคุณได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ ขีดคำสำคัญ วันที่ทางประวัติศาสตร์ สมการ และข้อมูลยิบย่อยต่างๆ ที่คุณต้องดึงมาใช้ในการตอบคำถาม ระหว่างสอบคุณจะได้เปิดหนังสือเร็วๆ แล้วเจอข้อความที่ไฮไลต์ไว้ได้อย่างง่ายดาย
    • การจดโน้ตไว้ตามขอบหนังสือก็เป็นการจัดระเบียบหนังสือเรียนที่ช่วยได้มากหากได้รับอนุญาต การเขียนความคิดเห็นของอาจารย์หรือสรุปเนื้อหาสั้นๆ ของย่อหน้าที่เข้าใจยากไว้ตรงขอบจะช่วยให้คุณเห็นข้อมูลสำคัญได้อย่างรวดเร็ว
    • ทำเครื่องหมายไว้ที่หน้า หลายคนพับหน้าที่สำคัญเอาไว้ แต่การพับหน้าหนังสือไว้อย่างเดียวก็อาจจะหาไม่เจอ ลงทุนซื้อกระดาษโพสต์อิตหลากสีจากร้านหนังสือและห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่ไว้สำหรับทำเครื่องหมายในแต่ละหน้า นอกจากนี้คุณก็อาจจะใช้สีทำเครื่องหมายเชื่อมโยงเนื้อหาส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันโดยใช้สีที่ต่างกันแยกว่าส่วนนี้เน้นเรื่องอะไร
    • แม้ว่าจะเป็นการสอบแบบจำกัดที่ไม่อนุญาตให้นำหนังสือเรียนเข้าห้องสอบ กลยุทธ์นี้ก็ยังมีประโยชน์ เพราะการจัดระเบียบหนังสือระหว่างเรียนจะช่วยให้คุณเจอข้อมูลสำคัญระหว่างอ่านหนังสือเตรียมสอบได้สะดวก
  3. การเตรียมตัวสอบแบบเปิดหนังสือนั้นยากกว่า เพราะคุณไม่สามารถทดสอบทักษะที่ต้องใช้ได้ง่ายๆ เหมือนการท่องจำธรรมดา แต่ก็มีเคล็ดลับที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อให้แน่ใจว่าตัวเองพร้อมสำหรับการสอบแบบเปิดหนังสือแล้ว
    • เขียนความคิดเห็นของตัวเองเกี่ยวกับข้อมูลลงไป เขียนความคิดเห็นและความเข้าใจลงไปในโน้ตของตัวเองเพราะข้อสอบจะวัดการตีความเป็นหลัก บังคับให้ตัวเองอธิบายว่าคุณคิดอย่างไรกับข้อมูลในส่วนนี้และเพราะอะไร วิธีนี้จะช่วยฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ที่จำเป็นต่อการสอบแบบเปิดหนังสือ [5]
    • ถ้าอาจารย์มีตัวอย่างคำถามมาให้ ให้ตอบคำถามเหล่านั้นระหว่างที่อ่านหนังสือสอบ คำถามในข้อสอบแบบเปิดหนังสือจะเน้นความเข้าใจที่มีต่อเนื้อหาที่เรียนอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นใช้คำถามตัวอย่างวัดความเข้าใจเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเตรียมตัวพร้อมแล้ว [6]
    • จับกลุ่มกับนักศึกษาคนอื่นๆ แม้ว่าการติวหนังสือเป็นกลุ่มจะมีประโยชน์กับการสอบทุกประเภทอยู่แล้ว แต่การติวหนังสือนั้นมีประโยชน์กับการสอบแบบเปิดหนังสือมากเป็นพิเศษ เพราะคุณสามารถพูดคุยและถกข้อมูลกันได้แทนที่จะแค่ผลัดกันถามเนื้อหา วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถนำข้อมูลที่เรียนไปประยุกต์ใช้ได้ [7]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

พัฒนาทักษะการจดโน้ต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรื่องนี้ไม่ต้องบอกก็น่าจะรู้อยู่แล้ว แต่วิธีที่จะทำให้โน้ตของคุณตรงกับเนื้อหาที่ออกสอบมากที่สุดก็คือ การเข้าฟังบรรยายและเข้าเรียนทุกคาบสม่ำเสมอ
    • จำไว้ว่าการสอบแบบเปิดหนังสือไม่ใช่การท่องจำเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริงด้วย ในการเลือกเอกสารประกอบการอ่านนั้นอาจารย์แต่ละท่านจะมีจุดเน้นที่ไม่เหมือนกัน คุณไม่สามารถตอบคำถามที่อาจารย์ต้องการได้ด้วยการอ่านเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่คุณต้องเข้าเรียนด้วย
    • ถ้ามีตรงไหนไม่เข้าใจให้ทำเครื่องหมายไว้ หลายคนจะใช้สัญลักษณ์ เช่น เขียนเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่ๆ ไว้ในจุดที่ไม่เข้าใจ เผื่อที่ไว้ส่วนหนึ่งในโน้ตสำหรับเขียนเติมทีหลัง ถามเพื่อนที่เรียนด้วยกันหรือส่งอีเมลหาอาจารย์ถ้ามีเรื่องไหนที่คุณไม่เข้าใจ
      • เป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีเนื้อหาที่คุณไม่ค่อยเข้าใจ ครูที่ดีจะมีความสุขมากหากคุณมีคำถาม
      • ถ้ามีตรงไหนที่คุณยังไม่ค่อยแม่น การรู้จุดอ่อนของตัวเองก็ถือเป็นเรื่องดี ถ้าคุณสามารถเลือกได้ว่าจะเขียนตอบคำถามข้อไหน คุณก็จะเลือกได้อย่างรวดเร็วว่าจะตอบหัวข้อไหนดี
    • ถ้าอาจารย์พูดเร็ว คุณอาจจะอัดเสียงคำบรรยายของอาจารย์ไว้ แต่แน่นอนว่าต้องขออนุญาตก่อน แม้ว่าคุณจะนำบันทึกเสียงเข้าห้องบรรยายไม่ได้ แต่คุณก็สามารถย้อนกลับไปฟังหลังเลิกเรียนและพยายามจับประเด็นเนื้อหาได้เสมอ [8] ครูบางท่านอาจจะบันทึกเสียงไว้ให้คุณทบทวนหรือเรียนชดเชยเลยด้วยซ้ำ
    • หากคุณต้องขาดเรียนเพราะป่วยหรือเหตุฉุกเฉิน ให้หาเพื่อนหรือเพื่อนที่เรียนด้วยกันที่คุณสามารถยืมโน้ตได้ เลือกคนที่คุณรู้ว่าจดโน้ตเก่งและตั้งใจเรียน ไม่ใช่คนที่ขาดเรียนบ่อยและไม่ค่อยตั้งใจเรียนเท่าไหร่
  2. คุณคงไม่อยากเดินเข้าห้องสอบพร้อมกองกระดาษที่มีข้อมูลและตัวเลขต่างๆ ปนกันมั่วไปหมด จัดระเบียบโน้ตระหว่างฟังบรรยายและจัดอีกครั้งระหว่างเตรียมสอบ
    • สร้างระบบจำนวนและย่อหน้าในการจดโน้ต หลายคนใช้ตัวเลขโรมันโดยใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่สำหรับหัวข้อ และตัวอักษรพิมพ์เล็กสำหรับหัวข้อย่อย (เช่น IV กับ i.v.)
    • เขียนวันที่ลงในโน้ตทั้งหมด วิธีนี้จะทำให้คุณหาหัวข้อที่คุณไม่ค่อยเข้าใจได้ง่ายหากคุณจำได้ว่าหัวข้อนี้ทบทวนตอนประมาณช่วงไหน
    • แยกโน้ตแต่ละวิชาออกจากกัน ใช้แฟ้มสันห่วงหรือสมุดจดโน้ตแต่ละวิชาแยกกัน หรือจะใช้สมุดคนละเล่มสำหรับแต่ละวิชาเลยก็ได้
    • เขียนให้อ่านง่าย ถ้าคุณรู้ว่าลายมือตัวเองห่วยมาก ลองดูว่าคุณสามารถนำโน้ตบุ๊กเข้าเรียนและพิมพ์โน้ตได้ไหม แต่ก็ระวังไว้หน่อย เพราะอาจารย์หลายคนไม่อนุญาตให้นำโน้ตบุ๊กเข้าห้องเรียนเพราะคิดว่านักศึกษาจะใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น [9]
    • แม้ว่าระหว่างเรียนคุณจะอยากวาดรูปเล่นเมื่อถึงตอนที่น่าเบื่อ พยายามข่มใจไว้เพราะรูปวาดเหล่านี้จะทำให้คุณเสียสมาธิระหว่างอ่านหนังสือเตรียมสอบในภายหลัง
    • เขียนเนื้อหาที่จำยากไว้ตอนต้น ระหว่างทำข้อสอบคุณจะได้หยิบมาดูได้เลย นอกจากนี้คุณก็ควรเขียนสมการ คำสำคัญ และวันที่ไว้ตอนต้นด้วย เพราะคุณจะนึกข้อมูลเหล่านี้ไม่ค่อยออกและมันมักจะออกสอบ
  3. บางครั้งเวลาเตรียมสอบแบบเปิดหนังสือ เรามักจะเผลอถอดคำพูดในหนังสือหรือคำบรรยายทั้งหมด แต่วิธีนี้นอกจากจะเสียเวลาสุดๆ แล้วยังไม่มีประสิทธิภาพอีกด้วย เพราะสุดท้ายแล้วคุณจะมัวแต่ดูโน้ตหน้านั้นหน้านี้จนทำข้อสอบไม่ทัน
    • สังเกตว่าระหว่างบรรยายอาจารย์เน้นตรงไหนมากที่สุด ถ้าอาจารย์เขียนเนื้อหาส่วนไหนลงบนกระดาน พูดซ้ำ หรือถกเรื่องนี้อยู่นาน เป็นไปได้ว่ามันจะออกสอบ เขียนหัวข้อเหล่านี้ใส่ลงในโน้ตเตรียมสอบ [10]
    • ฟังการบรรยายในช่วงท้าย อาจารย์มักจะพูดปิดท้ายสั้นๆ ที่เป็นการสรุปประเด็นที่สำคัญที่สุดของการเรียนในวันนั้น
    • เทียบโน้ตของตัวเองกับเพื่อนที่เรียนด้วยกัน ถ้ามีหัวข้อไหนเหมือนกัน ก็เป็นไปได้ว่าอาจเป็นเนื้อหาที่คุณต้องเน้นในการเตรียมตัวสอบ และคุณยังได้รู้ด้วยว่าประเด็นไหนที่คุณหลุดไป [11]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำข้อสอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความวิตกกังวลจากการสอบมีผลต่อการทำข้อสอบ เพราะฉะนั้นคุณต้องหากลยุทธ์ดีๆ ที่ช่วยให้คุณสงบสติอารมณ์ได้ในห้องสอบ
    • หยุดอ่านหนังสือก่อนสอบ 1 ชั่วโมงและใช้เวลาช่วงนี้ดูแลตัวเอง เดินเล่นหรือกินอะไรเบาๆ ถ้าคุณเอาแต่ดูเนื้อหาเสร็จแล้วก็เข้าสอบเลย คุณสติแตกแน่ๆ
    • รู้เวลาและสถานที่สอบพร้อมกับเผื่อเวลาเดินทางไปที่นั่น การหาสถานที่สอบไม่เจอหรือเข้าสอบสายจะทำให้คุณยิ่งวิตกกังวลและมีผลต่อการทำข้อสอบ
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก่อนสอบ อะไรก็ตามที่ส่งผลต่อร่างกายของคุณย่อมส่งผลต่อจิตใจด้วย เพราะฉะนั้นคุณต้องพักผ่อนให้เต็มที่และรู้สึกสดชื่นก่อนเข้าห้องสอบ
    • ถ้าคุณเริ่มสติแตกระหว่างทำข้อสอบ ให้หยุดสักครู่ แม้ว่าเวลาจะงวดเข้ามา แต่การฝืนทำข้อสอบต่อไปทั้งที่รู้สึกกังวลจะทำให้โดยรวมแล้วคุณทำข้อสอบได้ไม่ดี อย่าลังเลที่จะหยุด หลับตา และหายใจลึกๆ เพื่อตั้งสติก่อนทำข้อสอบต่อ
  2. มีกลยุทธ์ต่างๆ มากมายที่ช่วยให้คุณใช้เวลาในการสอบได้อย่างคุ้มค่าที่สุดและทำให้คุณมีโอกาสที่จะได้เกรดดีมากขึ้นด้วย
    • การสอบแบบเปิดหนังสืออาจมีการจับเวลาด้วย เพราะฉะนั้นคุณต้องรู้ว่าคุณมีเวลาเท่าไหร่และคำนวณคร่าวๆ อย่างรวดเร็วว่าคุณควรใช้เวลาตอบคำถามแต่ละข้อนานแค่ไหน [12]
    • ตอบคำถามที่คุณสามารถตอบได้โดยไม่ต้องดูโน้ตก่อน วิธีนี้จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาได้ด้วยการตอบบางคำถามที่คุณตอบเองได้เลย และวิธียังช่วยให้คุณมีเวลามากขึ้นในการตอบคำถามที่คุณตอบเองไม่ได้และต้องดูโน้ต [13]
    • ถ้ามีข้อไหนที่คุณทำไม่ได้จริงๆ ก็ให้ทำเหมือนการสอบอื่นๆ คือทิ้งไว้ก่อนแล้วค่อยกลับมาทำในตอนท้ายหลังจากที่คุณมีเวลาตั้งสติและรวบรวมความคิดแล้ว
  3. ถ้าคุณมีเวลาเหลือในช่วงท้ายของการทำข้อสอบ ให้อ่านทวนแต่ละข้ออีกครั้งและใช้โน้ตให้เป็นประโยชน์
    • ย้อนกลับไปอ่านข้อสอบทวนอีกครั้งและตรวจสอบจุดที่คุณอาจจะใส่ข้อมูลสลับกัน เช่น วันที่ ชื่อ คำศัพท์ และสมการ
    • หาคำถามที่คุณรู้สึกว่ายังตอบได้ไม่ค่อยดี และพยายามแก้ไขคำตอบให้ดีขึ้นในเวลาที่เหลือ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถึงคุณจะสอบแบบไม่เปิดหนังสือ ก็ให้เขียนโน้ตสรุปขึ้นมา ถึงคุณจะเปิดดูตอนสอบไม่ได้ แต่คุณสามารถใช้เป็นแนวทางในการเตรียมสอบได้
  • ถ้าคุณมีคำถามหรือข้อสงสัยว่าคุณนำอะไรเข้าไปในห้องสอบได้และไม่ได้บ้าง อย่าลังเลที่จะติดต่อครูหรืออาจารย์เพื่อถามล่วงหน้า
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าเขียนโน้ตเยอะเกินไป เพราะระหว่างทำข้อสอบคุณอาจจะหาข้อมูลไม่เจอ
  • คุณไม่สามารถลอกข้อมูลในหนังสือมาใส่คำต่อคำได้เพราะถือเป็นการคัดลอกผลงานผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้คุณสอบตกในครั้งนี้หรือวิชานี้ไปเลย และอาจมีการดำเนินการหรือบทลงโทษทางวินัยอีกด้วย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,506 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา