ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคออทิซึม (Autism) เป็นโรคไร้ความสามารถที่มีลักษณะหลากหลาย นั่นหมายถึงลูกคุณอาจแสดงอาการออกมาได้หลากหลายรูปแบบ หรือแสดงสัญญาณของการเป็นออทิซึมโดยพฤติกรรมที่มีรูปแบบกว้างขวางมาก เด็กที่มีพัฒนาการทางสมองผิดปกติแบบออทิซึมมักจะแสดงออกมาทางความยากลำบากในการแสดงสติปัญญา การมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา กับการมีพฤติกรรมทำซ้ำๆ (กระตุ้นตัวเองซ้ำๆ เช่น ขยับตัวไปมาซ้ำๆ) [1] ถึงแม้ว่าเด็กออทิสติกทุกคนจะมีความเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน แต่มันก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องจดจำสัญญาณกับอาการให้ไวเพื่อจะได้รับการดูแลแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณกับลูกใช้ชีวิตได้เต็มที่เท่าที่จะทำได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ตระหนักในความแตกต่างของการเข้าสังคม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เด็กทารกปกติจะเป็นพวกชอบสังคมโดยธรรมชาติ และรักจะสบตาผู้คน เด็กทารกที่เป็นออทิสติกอาจแลดูเหมือนว่าจะไม่ชอบมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ หรืออาจดู "เพิกเฉย" ในสายตาของพ่อแม่ที่ไม่ได้เป็นออทิสติก
    • สบตา เด็กทารกที่กำลังมีพัฒนาการจะสบตากลับได้ภายในอายุหกถึงแปดสัปดาห์ เด็กที่เป็นออทิสติกอาจไม่มองคุณ หรืออาจเลี่ยงที่จะสบตาด้วย
    • ยิ้มให้ เด็กทารกที่ไม่ได้เป็นออทิสติกสามารถยิ้มและแสดงท่าทีว่าอบอุ่นมีความสุขได้ตั้งแต่อายุหกสัปดาห์หรือก่อนหน้านั้นอีก เด็กที่เป็นออทิสติกจะไม่ยิ้มให้กระทั่งกับพ่อแม่
    • จ้องหน้า ดูว่าเขาเลียนแบบคุณหรือไม่ เด็กที่เป็นออทิสติกอาจไม่สนใจในการเล่นทำเลียนตาม
  2. ทารกทั่วไปจะตอบสนองตามชื่อได้ภายในอายุเก้าเดือน [2]
    • ปกติแล้วเด็กทารกที่กำลังพัฒนาจะสามารถเอ่ยเรียกคุณว่ามามะหรือปาป๊ะกลับได้ภายในอายุ 12 เดือน
  3. พออายุสองหรือสามขวบ เด็กปกติจะสนใจเล่นเกมกับคุณและคนอื่นๆ
    • เด็กที่เป็นออทิสติกอาจดูตัดขาดจากโลก หรือตกอยู่ในภวังค์ความคิดของตนเอง เด็กเล็กที่ไม่ได้เป็นออทิสติกจะให้คุณเข้ามามีส่วนร่วมในโลกของเขา ไม่ว่าจะโดยการชี้มือชี้ไม้ แสดง ยื่นมือมา หรือโบกไม้โบกมือ ตั้งแต่อายุ 12 เดือน
    • เด็กปกติจะเข้าร่วมในการเล่นแบบใกล้กับคนอื่น (parallel play) จนกระทั่งพวกเขามีอายุราวสามขวบ ในการเล่นแบบใกล้กับคนอื่นนั้น หมายความว่าพวกเขาจะเล่นอยู่ข้างๆ เด็กคนอื่นและสนุกกับการมีคนอื่นอยู่ด้วย แต่ไม่จำเป็นจะต้องเข้าร่วมเล่นด้วยกัน [3] อย่าสับสนการเล่นแบบใกล้กับคนอื่นและเด็กออทิสติกที่ไม่สนใจเข้าสังคม
  4. พออายุประมาณห้าขวบ เด็กปกติจะเข้าใจได้ว่าคุณมีความเห็นต่อสิ่งต่างๆ ต่างออกไปจากเขา เด็กออทิสติกมักจะทำความเข้าใจว่าคนอื่นก็อาจมีมุมมองแบบอื่นและไม่ได้รู้สึกเหมือนกับตัวเองได้ยาก พวกเขามักทำตัวเหมือนขาดความเห็นใจในผู้อื่น
    • ถ้าลูกคุณชอบไอศกรีมสตรอเบอร์รี่ จงบอกลูกว่าคุณชอบรสช็อกโกแล็ตมากที่สุด แล้วดูว่าเขาทักท้วงหรือเสียใจไหมที่คุณไม่ได้มีความคิดเห็นพ้องไปกับเขา
    • คนที่เป็นออทิสติกหลายคนเข้าใจเรื่องนี้ในทางทฤษฏีมากกว่าในทางปฏิบัติ [4] เด็กออทิสติกอาจเข้าใจว่าคุณชอบสีฟ้า แต่ไม่รู้ตัวเลยว่าอาจทำให้คุณเสียใจถ้าเธอจะเดินเตร็ดเตร่ออกไปดูลูกโป่งอีกฟากของถนน
  5. เด็กที่เป็นออทิสติกอาจประสบกับช่วงอารมณ์ระเบิด หรือการปลดปล่อยอารมณ์ออกมาอย่างสุดขั้วที่คล้ายกับการชักดิ้นชักงอ [5] อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดด้วยความเต็มใจและมันจะสร้างความเสียใจแก่เด็กอย่างมาก
    • เด็กออทิสติกอาจประสบกับเรื่องท้าทายมากมาย และหลายคนคิดลองจะจับเอาอารมณ์ความรู้สึกของตน "ยัดใส่ขวด" เพื่อเอาใจคนดูแล และเด็กอาจคับข้องใจมากจนอาจเกิดการทำร้ายตัวเอง เช่น เอาศีรษะโขกผนังหรือกัดตัวเองได้
    • เด็กออทิสติกอาจรู้สึกเจ็บปวดมากกว่าเพราะทั้งประเด็นอ่อนไหว การถูกปฏิบัติแบบผิดๆ และปัญหาอื่นๆ พวกเขาอาจแสดงอาการกราดเกรี้ยวออกมาบ่อยเพื่อเป็นการป้องกันตัวเอง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

สังเกตความยากลำบากในการสื่อสาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฟังดูเสียงและการพึมพำที่จะต้องเพิ่มขึ้นเมื่อเขาเติบโตขึ้น เด็กมักจะส่งเสียงได้เต็มคำเมื่ออายุได้ประมาณ 16 ถึง 24 เดือน
    • ทารกปกติจะสามารถร่วมส่งเสียงโต้ตอบกับคุณได้เหมือนการร่วมสนทนาเมื่ออายุราวเก้าเดือน ทารกที่เป็นออทิสติกอาจไม่ส่งเสียงเลยหรืออาจส่งเสียงเป็นคำได้แต่แล้วก็สูญทักษะนี้ไป
    • เด็กปกติจะสามารถพูดอ้อแอ้ได้ในราวอายุ 12 เดือน
  2. พูดกับเขาเรื่องของเล่นชิ้นที่โปรดและฟังการเรียบเรียงคำและทักษะการสนทนา เด็กที่มีพัฒนาการตามปกติจะพูดคำได้มากในตอนอายุ 16 เดือน และสามารถสร้างวลีสองคำที่มีความหมายได้ในตอนอายุ 24 เดือน และพูดประโยคเชื่อมโยงได้ตอนอายุห้าขวบ
    • เด็กที่เป็นออทิสติกมักจะสลับคำในการเรียบเรียงประโยค หรือไม่ก็จะทวนวลีหรือประโยคของคนอื่น อย่างที่เรียกกันว่า อาการพูดเลียน (echolalia) หรือพูดเป็นนกแก้วนกขุนทอง [6] [7] พวกเขาอาจใช้คำสรรพนามผสมปนเปเช่น พูดว่า "เธออยากจะกินแพนเค้กไหม" ในเวลาที่พยายามจะบอกว่าพวกเขาต้องการกินแพนเค้ก [8]
    • เด็กออทิสติกบางคนผ่านขั้นตอน “การพูดจาแบบเด็ก” และมีทักษะทางภาษาขั้นสูงก็มี พวกเขาอาจเรียนรู้ที่จะพูดได้ก่อนวัย และ/หรือมีคลังคำศัพท์อยู่เยอะมาก พวกเขาอาจจะมีการสนทนาที่แตกต่างไปจากเพื่อนร่วมอาการคนอื่นได้
  3. ดูว่าลูกคุณตีความทุกอย่างตรงตัวหรือไม่ เด็กที่เป็นออทิสติกมักจะตีความหมายของภาษากาย น้ำเสียง และการแสดงออกทางสีหน้าท่าทางผิดจากความจริง
    • ถ้าคุณมีช่วงเวลาแสดงอาการหัวเสียแกมประชดประชัน แล้วร้องขึ้นมาว่า “ช่างยอดเยี่ยมมากเลย!” เมื่อไปเจอลูกออทิสติกใช้ปากกาแดงเขียนอะไรจนเปรอะผนังห้องนั่งเล่นไปหมด พวกเขาอาจคิดว่าคุณหมายความตรงตัวว่าฝีมือทางศิลปะของเขาเยี่ยมยอด
  4. ตรวจดูการแสดงสีหน้า น้ำเสียง และภาษากายของเขา. เด็กออทิสติกมักมีวิธีการสื่อสารทางอวัจนภาษาที่ไม่เหมือนใคร เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะเคยชินกับการเห็นภาษากายที่ไม่เป็นออทิสติก มันเลยจะทำให้คุณและคนอื่นๆ สับสนอยู่บ่อยๆ
    • น้ำเสียงเป็นแบบหุ่นยนต์ เหมือนร้องเพลง หรือเป็นเหมือนเด็กเล็ก (ทั้งที่เขากำลังย่างวัยรุ่นหรือเป็นผู้ใหญ่)
    • ภาษากายที่มักจะไม่ตรงกับความรู้สึก
    • มีการแสดงสีหน้าน้อยมาก หรือแสดงสีหน้ามากเกินไป หรือไม่ก็แสดงแบบไม่มีใครเหมือน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ระบุพฤติกรรมที่ชอบทำซ้ำๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตว่าลูกคุณมีการทำพฤติกรรมซ้ำๆ แบบแปลกๆ หรือไม่. ในขณะที่เด็กปกติจะสนุกกับการทำอะไรซ้ำๆ ในระดับหนึ่ง เด็กออทิสติกกลับแสดงพฤติกรรมการทำซ้ำอยู่สูงมาก เช่น โยกตัวไปมา สลับหงายคว่ำมือไปมา โยกเปลี่ยนข้าวของ หรือส่งเสียงเดิมซ้ำไปซ้ำมาอย่างที่เรียกว่าพฤติกรรมพูดเลียน [9] พวกมันจำเป็นต่อการผ่อนคลายและทำให้ตัวเองสงบ
    • เด็กทุกคนจะมีการเลียนเสียงพูดไปจนถึงอายุสามขวบ เด็กออทิสติกจะทำอย่างนั้นบ่อยกว่า และทำจนเกินอายุสามขวบ [10]
    • พฤติกรรมทำอะไรซ้ำเรียกว่า "การกระตุ้นตัวเอง" หมายถึง พวกมันจะกระตุ้นประสาทสัมผัสของเด็ก ตัวอย่างก็เช่นถ้าลูกคุณเอานิ้วขึ้นมาทำขยุกขยิกหน้าดวงตาตนเอง นั่นก็เพื่อกระตุ้นการมองเห็นของเขาและทำให้ตัวเองตื่นเต้น
  2. เด็กออทิสติกอาจไม่สนใจในการเล่นแบบใช้จินตนาการด้วยภาพ แต่เลือกที่จะเล่นจัดระเบียบข้าวของ (เช่น จัดของเล่นหรือสร้างเมืองให้ตุ๊กตาแทนที่จะเล่นบ้านตุ๊กตา) จินตนาการจะเกิดอยู่ภายในหัวพวกเขา
    • ลองทำลายรูปแบบดู: สลับจัดเรียงตุ๊กตาที่พวกเขาวางเรียงไว้ใหม่ หรือตัดหน้าเขาตอนที่เขากำลังพยายามเดินวนเป็นวงกลม เด็กออทิสติกจะโมโหอย่างเห็นได้ชัดที่คุณเข้ามาขัดจังหวะ
    • เด็กออทิสติกสามารถร่วมเล่นแกล้งสวมบทบาทโน่นนี่ร่วมกับเด็กคนอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะถ้าเด็กคนนั้นรับเป็นบทนำ อย่างไรก็ตาม เด็กออทิสติกมักจะไม่เป็นคนเริ่มเล่นเอง
  3. การลุ่มหลงในข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน (อย่างไม้กวาดหรือเชือก) อย่างมากจนผิดวิสัย อาจเป็นสัญญาณของโรคออทิซึม [11]
    • เด็กออทิสติกอาจพัฒนาความสนใจเป็นพิเศษในหัวข้อบางหัวข้อ และศึกษาจนมีความรู้เชิงลึกในหัวข้อนั้นอย่างทะลุปรุโปร่ง ตัวอย่างเช่น เรื่องแมว, สถิติกีฬาฟุตบอล, สตาร์วอร์ส , เกมไขปริศนา และเกมไพ่ เด็กอาจจะเปิดใจหรือ "ร่าเริงขึ้น" เมื่อได้คุยในเรื่องเหล่านี้
    • เด็กอาจมีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นคราวๆ ไป พวกมันสามารถเปลี่ยนแปลงได้เพราะเด็กจะเรียนรู้และเติบโตขึ้น
  4. 4
    สังเกตความจำเป็นต้องมีกิจวัตร. เด็กหลายคนที่เป็นออทิสติกจะมีความต้องการให้ทุกอย่างดำเนินตามกิจวัตรและมีความต่อเนื่องเป็นอย่างมาก และอาจแสดงปฏิกิริยาตอบโต้หรือประท้วงอย่างรุนแรงถ้าเกิดมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าคุณเคยเดินพาเขาไปโรงเรียนด้วยเส้นทางเดิมเสมอ ให้ลองเปลี่ยนทางดู เด็กออทิสติกจะเริ่มขัดขืนและเสียใจที่ต้องเปลี่ยนเส้นทางทันที
    • กิจวัตรอาจเป็นการทำกิจกรรมประจำวันตามลำดับ แต่มันยังอาจเป็นด้านวาจา (เช่นถามคำถามเดิมซ้ำๆ), เกี่ยวกับอาหาร (ทานแต่อาหารบางสี), เสื้อผ้า (ใส่แต่บางสีหรือบางชนิดของผ้า), ตำแหน่งของข้าวของเครื่องใช้ เป็นอาทิ [12]
    • ผู้ที่เป็นออทิสติกจะรู้สึกสบายกับการทำอะไรเป็นกิจวัตรมาก โลกนี้ดูเหมือนจะไม่อาจคาดเดาได้ สับสนวุ่นวาย และดูน่ากลัวสำหรับพวกเขา การมีกิจวัตรทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนสามารถควบคุมอะไรได้และรู้สึกถึงความมั่นคง
  5. มองหาความรู้สึกไวที่อาจไวเกินหรือเฉื่อยเกิน. ถ้าเด็กแสดงความรู้สึกอึดอัดอย่างผิดปกติต่อแสง ผิวสัมผัส สียง รสชาติ หรืออุณหภูมิ ให้ปรึกษาแพทย์ [13]
    • เด็กออทิสติกอาจ "มีปฏิกิริยาไวเกิน" ต่อเสียงแปลกหู (เช่นเสียงที่ดังขึ้นมาฉับพลันหรือเสียงเครื่องดูดฝุ่น), ผิวสัมผัส (เช่นเสื้อหนาวหรือถุงเท้าที่เนื้อผ้าคันๆ) เป็นต้น นั่นเป็นเพราะประสาทสัมผัสบางตัวถูกขยายใหญ่ขึ้น จนทำให้รู้สึกอึดอัดหรือเจ็บปวด
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ประเมินโรคออทิสซึมในแต่ละช่วงอายุ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้ว่าเมื่อไหร่ถึงจะสังเกตอาการออทิสติกออก. อาการบางอาการนั้นเห็นได้ชัดตั้งแต่อายุสองถึงสามขวบ เกินไปกว่านั้นแล้ว เด็กสามารถถูกวินิจฉัยว่าเป็นได้ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน (เช่น ขึ้นชั้นมัธยมหรือตอนย้ายบ้าน) หรือช่วงที่ทำให้เครียดอื่นๆ การที่ชีวิตเรียกร้องอะไรมากอาจทำให้คนที่เป็นออทิสติก "ถอยออกมา" เพื่อที่จะรับมือ [14] มีผลให้คนที่รักและเป็นห่วงเขาต้องมองหาการตรวจรักษา
    • ในเด็กบางคน อาจสังเกตเห็นสัญญาณได้ตั้งแต่ปีสองปีแรกของชีวิต
    • บางคนอาจตรวจไม่พบจนกระทั่งเข้ามหาวิทยาลัย เมื่อความยากลำบากในการพัฒนาตัวเริ่มจะเห็นได้ชัดเป็นพิเศษ
  2. เด็กส่วนใหญ่จะมีหลักเวลาของการพัฒนาเป็นไปตามรูปแบบจำเพาะ โดยอาจคลาดเคลื่อนได้เล็กน้อย เด็กออทิสติกอาจบรรลุตามหลักเวลานี้ได้ทีหลัง [15] บางคนอาจจะแก่แดดเกิน ทำเอาพ่อแม่นึกว่าเขาเป็นเด็กอัจฉริยะที่เก็บตัวหรือกำลังดิ้นรนปรับตัว
    • พออายุสามขวบ เด็กมักจะสามารถเดินขึ้นบันได เล่นของเล่นที่ใช้ความชำนาญอย่างง่ายๆ และเล่นบทบาทตามจินตนาการได้
    • พออายุสี่ขวบ เด็กสามารถเล่าเรื่องที่ตัวเองชอบ เขียนอะไรลวกๆ และทำอะไรตามขั้นตอนง่ายๆ ได้
    • พออายุห้าขวบ เด็กจะวาดรูปได้ เล่าถึงเหตุการณ์ที่พบในวันนั้น ล้างมือเอง และมีสมาธิในการทำอะไรสักอย่างได้
    • เด็กโตหรือวัยรุ่นที่เป็นออทิสติกอาจแสดงอาการยึดมั่นอยู่ในรูปแบบหรือกิจวัตร มีความสนใจพิเศษในเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มหลง ชมชอบในสิ่งที่ผิดแผกไปจากคนวัยเดียวกัน [16] หลีกเลี่ยงการสบสายตา และอาจไวต่อการถูกเนื้อต้องตัว
  3. ปรึกษาแพทย์หากคุณเป็นกังวลในพัฒนาการของลูก อย่ามัวทอดเวลาออกไปถ้าลูกสูญเสียความสามารถในการพูดจา ทักษะการดูแลตัวเอง หรือทักษะการเข้าสังคมในช่วงอายุใดก็ตาม
    • ทักษะส่วนใหญ่นั้นที่หายไปนั้นยังคงอยู่ "ที่นั่น" และสามารถรื้อฟื้นกลับคืนมาได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเด็กที่เป็นออทิสติกจะได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการรักษา ไม่ว่าจะโดยการบำบัดพิเศษและการช่วยเหลือในโรงเรียน ถ้าหากได้เริ่มรับการรักษาตั้งแต่ยังเยาว์วัย
  • เคยเชื่อกันว่าโรคออทิซึมจะพบบ่อยในเด็กชายมากกว่าในเด็กหญิง ผู้เชี่ยวชาญเพิ่งจะตระหนักว่าอาจมองข้ามอาการออทิสติกในเด็กหญิงไปในขั้นตอนการวางแนวทางวินิจฉัยโรค [17] โดยเฉพาะเนื่องจากเด็กหญิงนั้นมักจะ "ประพฤติตัวดีกว่า" [18]
  • โรคแอสเปอร์เจอร์ซินโดรมที่เคยถูกแยกเป็นโรคต่างหากตอนนี้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มความผิดปกติแบบออทิซึม
  • เด็กออทิสติกหลายคนประสบกับสภาวะทางแพทย์ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น กระวนกระวาย ซึมเศร้า มีความผิดปกติทางการขับถ่าย มีอาการชัก มีปัญหาทางการประมวลผลระบบประสาทสัมผัส และพิก้า ซึ่งก็คือการมีแนวโน้มชอบเอาสิ่งที่ไม่ใช่อาหารเข้าปาก (เกินไปจากพัฒนาการของเด็กทารกปกติที่มักจะหยิบของทุกอย่างเข้าปากโดยธรรมชาติ)
  • วัคซีนไม่ได้ทำให้เกิดออทิซึม [19]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,004 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา