ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อเก่าแก่ที่สุดซึ่งเป็นที่รู้จักกัน [1] มันเป็นโรคที่มักส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่า เช่น ค้างคาว หมาป่าโคโยตี หมาจิ้งจอก แรคคูน สกังก์ และแม้กระทั่งแมว [2] โรคไวรัสชนิดเฉียบพลันนี้ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท และสามารถแพร่ไปสู่สัตว์แทบทุกชนิด รวมทั้งมนุษย์ หากสุนัขของคุณไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า มันอาจมีความเสี่ยงหากได้พบเจอหรือถูกสัตว์ป่าสักตัวหนึ่งกัด หากคุณเชื่อว่ามองเห็นสัญญาณของโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขของคุณ คุณสมควรรอบคอบและขอความช่วยเหลือ คุณอาจจำเป็นต้องติดต่อกับสำนักงานสัตว์แพทย์โดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รู้จักสัญญาณของโรคพิษสุนัขบ้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มองหาสัญญาณแรกเริ่มของการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า. อาการขั้นต้นอาจใช้เวลานานเท่าไรก็ได้ระหว่าง 2 วันจนถึง 10 วัน ในระหว่างช่วงเวลานี้ สุนัขของคุณจะดูเหมือนมีอาการป่วยของโรคทั่วๆ ไป หากสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ จงตรวจดูตามตัวสุนัขเพื่อหารอยกัด หรือสัญญาณที่บ่งชี้ว่ามีการต่อสู้ในช่วงไม่นานมานี้ (แผลตกสะเก็ด รอยขีดข่วน ขนชี้ฟูและมีคราบน้ำลายแห้งกรัง) หากพบรอยกัดหรือบาดแผลไม่ว่าชนิดใด จงนำสุนัขไปหาสัตว์แพทย์ในทันทีเพื่อประเมินอาการ อาการป่วยขั้นต้นซึ่งไม่ได้มีอาการอะไรเป็นพิเศษนี้ รวมทั้ง: [3]
    • ปวดกล้ามเนื้อ
    • กระวนกระวาย
    • หงุดหงิด
    • หนาวสะท้าน
    • มีไข้
    • ครั่นเนื้อครั่นตัว ความรู้สึกทั่วไปเมื่อมีไข้และไม่สบายตัว
    • กลัวการถ่ายภาพ กลัวแสงจ้า
    • เบื่ออาหาร หรือไม่สนใจอาหาร
    • อาเจียน
    • ท้องเดิน
    • กลืนไม่ได้หรือไม่ยอมกลืน
    • ไอ
    • อาจตามมาด้วยกล้ามเนื้อตรงลำคอและกรามเป็นอัมพาต
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Pippa Elliott, MRCVS

    สัตวแพทย์ ราชวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์
    ดร.เอลเลียตเป็นสัตวแพทย์ที่มีประสบการณ์กว่าสามสิบปี เธอสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในปี 1987 และทำงานเป็นศัลยสัตวแพทย์นาน 7 ปี หลังจากนั้น ดร.เอลเลียตทำงานเป็นสัตวแพทย์ในคลินิกสัตว์มานานนับสิบปี
    Pippa Elliott, MRCVS
    สัตวแพทย์ ราชวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์

    ระยะการฟักตัวของเชื้อพิษสุนัขบ้าตั้งแต่ตอนกัดไปจนถึงช่วงแสดงอาการนั้นอาจเป็นได้ตั้งแต่ 5 วันถึง 12 เดือน โดยเฉลี่ยจะต่ำกว่า 3 เดือน ดังนั้น การไม่มีบาดแผลถูกกัดใหม่ๆ ไม่ได้หมายถึงจะตัดโรคพิษสุนัขบ้าออกไปได้

  2. จงมองหาอาการป่วยในเวลาต่อมาของโรคพิษสุนัขบ้าชนิดไม่รุนแรง ซึ่งรู้จักกันในนาม โรคพิษสุนัขบ้าแบบซึม (Dumb or paralytic form). เป็นแบบซึ่งพบบ่อยที่สุด และจะใช้เวลาตั้งแต่ 3 ถึง 7 วัน ที่เรียกกันว่า แบบซึม เพราะสุนัขของคุณอาจมีน้ำลายฟูมปาก หรือกลายเป็นอัมพาต มันจะดูสับสน ป่วย หรือเซื่องซึม (เหนื่อย) ด้วย [4] จงพาสุนัขไปหาสัตว์แพทย์ในทันทีหากสังเกตเห็นอาการอื่นใดของโรคพิษสุนัขบ้าแบบซึม ซึ่งรวมทั้ง: [5]
    • เป็นอัมพาต (เคลื่อนไหวไม่ได้) ที่ขาทั้งสองข้าง กล้ามเนื้อบนใบหน้า หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ตามปกติจะเริ่มที่ขาหลัง และลุกลามผ่านร่างกายมาทางด้านหน้า
    • ขากรรไกรล่างตก ทำให้ดู 'เอ๋อ'
    • ส่งเสียงเห่าแปลกๆ ซึ่งฟังไม่เหมือนเสียงเห่าปกติ
    • น้ำลายไหลออกมามากจนทำให้น้ำลายฟูมปาก
    • กลืนอย่างยากลำบาก
      • โปรดสังเกตว่าโรคพิษสุนัขบ้าแบบนี้ สุนัขจะไม่ดุร้าย และหาได้ยากที่จะพยายามกัด
  3. จงมองหาอาการป่วยในเวลาต่อมาของโรคพิษสุนัขบ้าแบบดุร้าย. โรคแบบดุร้ายหรือก้าวร้าวนี้จะใช้เวลาตั้งแต่ 3 ถึง 7 วันและสุนัขของคุณจะมีท่าทีก้าวร้าว หรือขี้ตื่นได้อย่างง่ายดาย [6] สุนัขอาจมีพฤติกรรมผิดปกติ และมีน้ำลายฟูมปาก โรคพิษสุนัขบ้าแบบดุร้ายนี้คือสิ่งที่คนทั่วไปนึกถึงเวลาคิดถึงโรคพิษสุนัขบ้า แม้ว่าจะพบในสุนัขน้อยกว่าแบบซึม โรคพิษสุนัขบ้าแบบดุร้ายนี้จะทำให้สุนัขก้าวร้าวมาก ซึ่งจะต้องรับมืออย่างรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกกัด จงเรียกหน่วยควบคุมสัตว์มาช่วย หากคุณคิดว่าสุนัขเป็นโรคพิษสุนัขบ้าแบบนี้ สัญญาณต่างๆ นั้นรวมทั้ง: [7]
    • น้ำลายออกมากเกินจำเป็นจนดูเหมือนมีน้ำลายฟูมปาก
    • ไฮโดรโฟเบียหรือกลัวน้ำ สุนัขจะไม่เข้าใกล้น้ำ และจะดูเหมือนไม่สบายใจ ตื่นกลัวเสียงหรือการแตะถูกน้ำ
    • ก้าวร้าว สุนัขอาจดูเหมือนพยายามจะกัด และจะแยกเขี้ยวกว้างอย่างดุร้าย
    • กระสับกระส่ายหรืออึดอัด มันอาจไม่สนใจในอาหารด้วย
    • หงุดหงิด. แม้แต่การยั่วยุน้อยที่สุดก็อาจทำให้สุนัขจู่โจมและกัด สุนัขอาจจะถึงกับทำเช่นนี้โดยไม่มีการยั่วยุ หรือปัญหาใดๆ
    • มีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น เคี้ยวก้อนหิน ขยะ หรือขาของมันเอง สุนัขยังจะตามมือของคุณไปรอบๆ ด้วย หากคุณโบกมือตรงหน้ามันในตอนที่มันอยู่ในกรง และมันอาจพยายามกัดมือของคุณ
    • พวกลูกสุนัขที่ขี้เล่นเสียเหลือเกินซึ่งจู่ๆ ก็กัดเมื่อมีคนลูบไล้อย่างเอ็นดู และพวกมันจะเริ่มเปลี่ยนเป็นดุร้ายภายในเวลาเพียงสี่ห้าชั่วโมง
  4. เมื่อสัตว์ที่ติดเชื้อตัวหนึ่งกัดสัตว์ตัวอื่น โรคพิษสุนัขบ้าก็แพร่ระบาดผ่านน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ เมื่อน้ำลายเข้าไปโดนกับเลือดและเยื่อบุผิวในช่องจมูกและปากที่สร้างน้ำเมือกหล่อลื่น (ในปาก ดวงตา และโพลงจมูก) เชื้อโรคก็ถูกส่งผ่านจากสัตว์ตัวที่ติดเชื้อไปยังตัวที่ไม่ได้ติดเชื้อ การที่คุณพบรอยกัดหรือแผลเปิดสามารถช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าสุนัขของคุณอาจได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่
    • เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย มันจะเดินทางไปกับเส้นประสาทจนกระทั่งไปถึงระบบประสาทส่วนกลาง (กระดูกสันหลังและสมอง) [8] จากที่นั่น เชื้อโรคจะลามไปยังต่อมน้ำลายที่ซึ่งมันจะเตรียมพร้อมพ่นใส่เหยื่ออื่น
  5. ให้ความสนใจเรื่องการรักษาทางการแพทย์ในทันที. หากสุนัขของคุณถูกกัด จงพาไปหาสัตว์แพทย์โดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าสามารถมีชีวิตอยู่บนผิวหนังหรือขนสุนัขได้นานถึงสองชั่วโมง ดังนั้น จงสวมถุงมือ เสื้อเชิ้ตแขนยาว และกางเกงขายาวก่อนจะจัดการกับสุนัข สัตว์แพทย์จะถามคุณเรื่องความเป็นไปได้ที่สุนัขของคุณจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคพิษสุนัขบ้า (เช่น คุณได้กลิ่นสกังก์ในสนามของคุณหรือไม่ หรือสุนัขของคุณมีความเสี่ยงจากแรคคูน หรือค้างคาวตัวใดในแถบนั้นหรือไม่).สุนัขของคุณจะถูกตรวจสอบด้วยเช่นกัน
    • หากคุณมองเห็นสัญญาณว่าสุนัขตัวหนึ่งที่ไม่ใช่ของคุณอาจจะติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า จงแจ้งหน่วยงานควบคุมสัตว์ การใช้วิธีนี้ จะทำให้สุนัขได้ไปหาสัตว์แพทย์โดยไม่ต้องทำให้ตัวคุณเสี่ยงจะถูกกัด
    • ไม่มีการทดสอบใดๆที่จะตัดสินใจได้ว่าสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ตัวใด ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ การทดสอบอย่างเดียวคือการทดสอบซึ่งต้องตัดเอาสมองออกจากตัวสุนัข แล้วนำส่วนเล็กๆ ในสมองไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาสัญญาณพิเศษที่เรียกว่าเนกริ บอดี้ส์ (Negri bodies) [9]
  6. จงรู้ว่าสามารถให้การรักษาทางการแพทย์อย่างไรบ้างแก่สุนัขของคุณ. สุนัขของคุณจะได้รับการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้ากระตุ้น 1 เข็ม หากมันเคยได้รับวัคซีนมาก่อนหน้านี้แล้ว การทำเช่นนี้จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของมันช่วยขับไวรัสโรคนี้ออกไป สุนัขของคุณจะได้รับการเฝ้าดูอย่างระมัดระวังนาน 45 วัน ซึ่งตามปกติสามารถทำได้ที่บ้าน สุนัขของคุณจะต้องหลีกเลี่ยงการพบปะกับสัตว์และมนุษย์นอกบ้านในช่วงเวลาดังกล่าว [10] หากสุนัขของคุณไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และถูกกัดโดยสัตว์ตัวที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ตามปกตินั้น สัตว์แพทย์จะแนะนำให้ทำการุณยฆาต
    • การทำการุณยฆาตสุนัขช่วยป้องกันความเสี่ยงร้ายแรง ต่อสุขภาพของมนุษย์ และช่วยไม่ให้สุนัขพัฒนาไปเป็นโรคพิษสุนัขบ้าอย่างเต็มรูปแบบ
    • หากคุณปฏิเสธการทำการุณยฆาตสุนัขของคุณ.มันจะถูกกักกันโรค และเฝ้าดูนาน 6 เดือน ที่คลินิกสัตว์แพทย์ซึ่งยินดีรับมันไว้ โดยคุณจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และหากสุนัขของคุณไม่ได้เป็นโรคพิษสุนัขบ้า มันจะถูกฉีดวัคซีนหนึ่งเข็มนาน 1 เดือน ก่อนจะได้รับการปล่อยตัว
  7. จงรู้ว่ามีเชื้อโรคบางชนิดที่อาจมีอาการเหมือนกับโรคพิษสุนัขบ้า. หากสุนัขของคุณไม่มีรอยกัด แต่คุณกังวลเรื่องสัญญาณที่มันกำลังแสดงออกมา จงตระหนักว่ามีอาการอย่างอื่นที่อาจดูเหมือนโรคพิษสุนัขบ้า จงพาสุนัขของคุณไปหาสัตว์แพทย์ในทันทีหากมันดูป่วย หรือกำลังแสดงอาการของโรคแบบแปลกๆ เชื้อโรคและอาการป่วยอย่างอื่นที่อาจสับสนกับโรคพิษสุนัขบ้านั้นรวมทั้ง: [11]
    • โรคตับอักเสบติดต่อในสุนัข ( Infectious canine hepatitis)
    • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
    • โรคบาดทะยัก (Tetanus)
    • โรคติดเชื้อท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)
    • เนื้องอกในสมอง (Brain tumors)
    • ความก้าวร้าวเพราะความเป็นแม่ของสุนัขเพศเมียที่เพิ่งออกลูกมาคลอกหนึ่งเมื่อเร็วๆนี้
    • พิษจากสารเคมีต่างๆ เช่น ไดมินาซีน หรือ ออร์กาโนฟอสเฟต
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ป้องกันสุนัขของคุณไม่ให้ติดเชื้อโรคกลัวน้ำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้สุนัขของคุณฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า. เป็นวิธีถูกที่สุดและดีที่สุดที่จะป้องกันสุนัขของคุณจากการติดเชื้อ จัดทำตารางการฉีดวัคซีนเป็นประจำกับสัตว์แพทย์ เพื่อให้สุนัขของคุณได้รับวัคซีนจนถึงปัจจุบัน สุนัขของคุณอาจมีกำหนดการฉีดวัคซีนทุกปี ทุกสองปี หรือทุกสามปีขึ้นอยู่กับแนวทางการปฏิบัติของบริษัทผู้ผลิตวัคซีน หรือตามกฎหมายท้องถิ่น หรือกฎหมายของรัฐต่างๆ [12]
    • หลายประเทศมีกฎหมายระบุว่าสุนัขต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
  2. จำกัดโอกาสที่สุนัขของคุณจะพบเจอกับสัตว์ป่าหรือสัตว์จรจัด. วิธีดีที่สุดที่จะดูแลให้สุนัขของคุณปลอดภัย นอกเหนือจากการฉีดวัคซีน ก็คือกันไม่ให้มันมีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ป่า คุณอาจพยายามกั้นรั้วให้มันอยู่แต่ในสนามของบ้านคุณ และจำกัดเวลาที่มันจะออกมานอกบ้านในช่วงเวลาที่สัตว์ป่าน่าจะเคลื่อนไหวมากที่สุด (เช่น ตอนเช้าตรู่ ตอนเย็น หรือตอนกลางคืน) และจงใช้สายจูงเวลาพามันออกมาเดินนอกบ้าน [13]
    • ใส่ใจกับสุนัขของคุณเป็นพิเศษเวลาที่พามันออกไปปีนเขาหรือเดินผ่านบริเวณที่มีสัตว์ป่าชุกชุม
  3. คุณสมควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้า. (Pre-exposure vaccines) หากคุณอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงสูง หรือเป็นเจ้าของพื้นที่ดังกล่าว คุณสมควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้า เพื่อป้องกันคุณจากโรคพิษสุนัขบ้า ศูนย์ควบคุมโรคได้แนะนำให้นักเดินทางรับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ หากพำนักนานกว่าหนึ่งเดือนในส่วนของโลกซึ่งมีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าอย่างกว้างขวาง หรือหากนักเดินทางจะทำงานกับสัตว์ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ชนิดใดในพื้นที่เหล่านี้ [14] อ่าชีพซึ่งมีความเสี่ยงสูงนั้นรวมทั้ง:
    • สัตว์แพทย์
    • นักเทคนิคการสัตว์แพทย์
    • บุคลากรประจำห้องปฏิบัติการวิจัยเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า
    • บุคคลที่ทำงานกับสัตว์ป่า ไม่ว่าจะที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ศูนย์ฟื้นฟู หรือวนอุทยานต่างๆ
  4. จงรักษาบาดแผลใดๆ ที่เกิดจากสัตว์ที่มีศักยภาพจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้. หากคุณถูกสัตว์โดยสัตว์ที่คุณคิดว่าอาจมีเชื้อพิษสุนัขบ้า ใจงล้างแผลด้วยสบู่กับน้ำนาน 10 นาที หลังจากนั้น จึงแจ้งทางหน่วยงานของแพทย์ของคุณ ผู้จะติดต่อกับทางเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมเพื่อทำการตรวจสอบ พวกเขาอาจพยายามจะจับกุมสัตว์ตัวที่กัดคุณเพื่อนำมาทดสอบหาเชื้อพิษสุนัขบ้าด้วย
    • หากพวกเขาหาสัตว์ไม่พบ หรือพบตัวมันแล้วผลตรวจหาโรคพิษสุนัขบ้าเป็นบวก คุณจะต้องเข้าคอร์สการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่ผู้สัมผัสโรค (Post-exposure vaccine course) ซึ่งแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าก่อนหน้านี้ คุณเคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อนหรือไม่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คอยเฝ้าดูสุนัขของคุณและใช้สายจูงล่ามมันไว้ในบริเวณที่เคยมีเหตุการณ์เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า
  • ทำให้สนามของคุณไม่ดึงดูดใจพวกสัตว์ป่าโดยปิดฝาถังขยะและมัดไว้ให้แน่นหนา ทำให้แน่ใจว่าที่ใต้ดาดฟ้าหรือใต้ถุนบ้านของคุณไม่มีจุดที่ซ่อนตัวสำหรับสัตว์ป่า (ในสหรัฐฯ มักจะเป็นสกังค์ หรือแรคคูน ) และพิจารณาเรื่องล้อมรั้วเพื่อให้สัตว์ที่เร่ร่อนเข้ามาออกไปจากสนามของบ้านคุณ
  • หากคุณพบค้างคาวในบ้าน และสุนัขของคุณอยู่ในห้องเดียวกัน จงจับค้างคาวอย่างระมัดระวังโดยไม่สัมผัสตัวมัน และนำค้างคาวไปมอบให้กับหน่วยงานควบคุมสัตว์เพื่อตรวจหาความเป็นไปได้ที่จะมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า
โฆษณา

คำเตือน

  • รักษาบาดแผลถูกกัดทุกแผลโดยล้างด้วยสบู่กับน้ำ แล้วติดต่อกับแพทย์ของคุณ แม้คุณจะไม่คิดว่าสัตว์ตัวนี้มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า แผลถูกกัดอาจคิดเชื้อแบคทีเรียร้ายแรงได้หากไม่ได้รักษาในทันที
  • หากสุนัขหรือแมวจรจัดมีท่าทีว่าป่วย จงอย่าเข้าใกล้มัน คุณสมควรทำเช่นเดียวกันกับลูกสัตว์ป่า เพราะพวกมันอาจเป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้า จงแจ้งหน่วยงานด้านควบคุมสัตว์หรือหมายเลขโทรศัพท์ของตำรวจที่ไม่ใช่หมายเลขสายด่วนฉุกเฉิน เพื่อให้บุคคลมืออาชีพผู้ผ่านการฝึกพร้อมกับอุปกรณ์ที่เหมาะสม เป็นผู้จับสัตว์ตัวดังกล่าว
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www2c.cdc.gov/podcasts/media/pdf/EID_2-14-LowHighPathogens.pdf
  2. http://www.cdc.gov/rabies/exposure/animals/
  3. The Merck Veterinary Manual 9th Edition (2005)
  4. Dürr, S., Mindekem, R., Diguimbye, C., Niezgoda, M., Kuzmin, I., Rupprecht, C. E., & Zinsstag, J. (2008). Rabies diagnosis for developing countries. PLoS neglected tropical diseases, 2(3), e206.
  5. Gadre, G., Satishchandra, P., Mahadevan, A., Suja, M. S., Madhusudana, S. N., Sundaram, C., & Shankar, S. K. (2010). Rabies viral encephalitis: clinical determinants in diagnosis with special reference to paralytic form. Journal of Neurology, Neurosurgery & Psychiatry, 81(7), 812-820.
  6. Dürr, S., Mindekem, R., Diguimbye, C., Niezgoda, M., Kuzmin, I., Rupprecht, C. E., & Zinsstag, J. (2008). Rabies diagnosis for developing countries. PLoS neglected tropical diseases, 2(3), e206.
  7. Tepsumethanon, V., Wilde, H., & Meslin, F. X. (2005). Six criteria for rabies diagnosis in living dogs. J Med Assoc Thai, 88(3), 419-22.
  8. Kayali, U., Mindekem, R., Yemadji, N., Oussiguere, A., Naı̈ssengar, S., Ndoutamia, A. G., & Zinsstag, J. (2003). Incidence of canine rabies in N’Djamena, Chad. Preventive veterinary medicine, 61(3), 227-233.
  9. http://www.vetmed.wsu.edu/ClientED/rabies.aspx
  1. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/rabies
  2. Dürr, S., Mindekem, R., Diguimbye, C., Niezgoda, M., Kuzmin, I., Rupprecht, C. E., & Zinsstag, J. (2008). Rabies diagnosis for developing countries. PLoS neglected tropical diseases, 2(3), e206.
  3. Rupprecht, C. E., & Gibbons, R. V. (2004). Prophylaxis against rabies. New England Journal of Medicine, 351(25), 2626-2635.
  4. http://www.cdc.gov/rabies/pets/index.html
  5. http://www.cdc.gov/rabies/specific_groups/travelers/pre-exposure_vaccinations.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 134,764 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา