ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บางครั้งการสัมภาษณ์งานก็เป็นเพียงโอกาสเดียวที่คุณจะสร้างความประทับใจและนำเสนอตัวเองว่าเหมาะสมกับงาน ดังนั้นการใช้เวลาทุ่มเทกับการเตรียมตัวสัมภาษณ์อาจเป็นตัวตัดสินว่าคุณจะผ่านเข้ารอบถัดไปหรือได้งานหรือไม่ คุณต้องรู้จักวางแผนสู่ความสำเร็จ เข้าสัมภาษณ์งานอย่างเหมาะสม และหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ ในการสัมภาษณ์งานเพื่อที่คุณจะได้มีโอกาสเริ่มต้นงานใหม่อย่างราบรื่น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เริ่มเตรียมตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณจะดูเป็นผู้สมัครที่เอาจริงเอาจังหากคุณมาสัมภาษณ์งานโดยทราบข้อมูลพื้นฐานและทิศทางการดำเนินงานของบริษัท พยายามหาข้อมูลและคาดการณ์เป้าหมายทางธุรกิจหรือเป้าหมายขององค์กรที่คุณกำลังสมัครงานเพื่อทราบถึงรูปแบบการทำงานและวิธีการทำงานของบริษัทเพื่อเอาชนะคู่แข่ง
    • ให้ความสำคัญกับการใช้คำศัพท์ที่ปรากฏบนเว็บไซต์ของบริษัท เช่น ถ้าคุณกำลังสมัครงานเป็นพนักงานเสิร์ฟของภัตตาคารที่เน้นวัตถุดิบแบบ “สดจากไร่” คุณก็ควรจะเข้าใจความหมายของคำ ๆ นี้ไว้ ถ้าคุณกำลังสมัครงานตำแหน่งบรรณาธิการของนิตยสารที่เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพแบบองค์รวม คุณก็ควรจะหาข้อมูลเกี่ยวกับการแพทย์แบบองค์รวมไว้ล่วงหน้าด้วย
    • การทราบชื่อและข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทของผู้สัมภาษณ์ในบริษัทจะช่วยให้คุณสามารถพูดคุยได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้นในระหว่างการสัมภาษณ์ซึ่งบ่อยครั้งจะช่วยให้ผู้สัมภาษณ์เกิดทัศนคติเชิงบวกต่อคุณอีกด้วยนะ
  2. คาดการณ์และซักซ้อมคำตอบของคำถามสัมภาษณ์ทั่ว ๆ ไปไว้ล่วงหน้า. สิ่งที่เครียดที่สุดในการสัมภาษณ์งานคือการพยายามตอบคำถามให้ได้ ผู้สัมภาษณ์อยากได้คำตอบแบบไหนกันล่ะ? การลองคิดและคาดการณ์คำถามที่อาจเกิดขึ้นได้จะช่วยให้คุณมีโอกาสฝึกตอบคำถามล่วงหน้า พยายามคิดหาคำตอบที่จริงใจแต่ก็สะท้อนให้เห็นด้านดีของคุณในฐานะผู้สมัครเข้าทำงาน คำถามที่มักได้ยินบ่อย ๆ เวลาสัมภาษณ์งานและคำตอบที่พอเป็นไปได้ ได้แก่:
    • คุณทราบอะไรเกี่ยวกับบริษัทนี้บ้าง
    • ทำไมคุณถึงคิดว่าตัวเองเหมาะสมที่จะทำงานที่บริษัทนี้
    • คุณจะทุ่มเทให้ทีมอย่างไร
    • ช่วยเล่าประสบการณ์ที่คุณเคยเอาชนะความท้าทายในที่ทำงานให้ฟังหน่อย
  3. อะไรคือความท้าทายเกี่ยวกับการทำงานที่หนักหนาที่สุดสำหรับคุณ อะไรคือจุดแข็งที่สุดของคุณ อะไรคือจุดอ่อนที่สุดของคุณ ผู้สัมภาษณ์มักถามคำถามพวกนี้บ่อย ๆ และคุณก็คงไม่อยากจะไปเค้นคำตอบดี ๆ เอาตอนถูกสัมภาษณ์ ไม่ว่าคุณจะไปสัมภาษณ์งานที่ไหนยังไงก็ต้องโดนถามคำถามพวกนี้อยู่ดีนั่นแหละ
    • บางทีการยอตัวเองเสียหน่อยก็ช่วยตอบคำถามเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี “จริง ๆ แล้วผมเป็นคนที่ทำงานและวางแผนชีวิตอย่างเป็นระบบ ถึงโต๊ะทำงานผมจะรกก็เถอะ” ฟังดูดี ส่วนการตอบไปว่า “ดิฉันรับผิดชอบงานที่ทำเสมอแต่บางครั้งก็ลืมที่จะถามคำถามยามต้องการความช่วยเหลือ” ก็ฟังดูจริงใจและเข้าทีเช่นกัน
    • ถ้าคุณสมัครในตำแหน่งหัวหน้า คุณต้องเน้นย้ำว่าคุณมีภาวะผู้นำและมีความเชื่อมั่นในตัวเอง จุดแข็งที่ฟังดูดีเช่น “ผมเก่งในเรื่องการสื่อสารวิสัยทัศน์ของตัวเองให้คนอื่น ๆ เข้าใจและโน้มน้าวให้ผู้คนรู้สึกกระตือรือร้นที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้ดี” ส่วนจุดอ่อนที่ยังฟังดูดีอยู่ก็เช่น “แต่บางครั้งผมก็ต้องเตือนตัวเองให้ทำงานช้าลงบ้างและทำงานให้เสร็จไปทีละงาน บางทีผมก็อยากทำหลายอย่างเกินไปในเวลาเดียวกัน” [1]
    • ถ้าคุณสมัครงานที่ไม่ต้องการประสบการณ์ทำงานมากนัก ผู้สัมภาษณ์จะไม่ขอให้คุณแสดงความเป็นผู้นำอะไร ดังนั้นจุดแข็งที่คุณจะตอบอาจเป็น “ผมทำงานตามที่ได้รับมอบหมายได้ดีมากและเรียนรู้อะไรได้ไว ถ้าผมไม่รู้อะไร ผมก็พยายามเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง ผมจะได้ไม่ต้องถามคำถามเดิมซ้ำสองรอบ” ส่วนจุดด้อยที่ฟังดูดีอาจเป็น “ผมมักไม่ใช่คนริเริ่มความคิด แต่ผมก็มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือคนอื่น ๆ ให้บรรลุสิ่งที่พวกเขาคิดไว้”
  4. บ่อยครั้งผู้สัมภาษณ์จะถามว่าคุณมีคำถามอะไรไหมในระหว่างการสัมภาษณ์หรือหลังการสัมภาษณ์ การถามคำถามไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับผู้ที่เพิ่งเคยเข้าสัมภาษณ์งานเป็นครั้งแรก การถามคำถามจะแสดงให้เห็นว่าคุณใส่ใจบทสนทนา ดังนั้นคิดรายการคำถามไว้ล่วงหน้าเลยคุณจะได้มีคำถามเผื่อไว้ในกรณีคิดคำถามสด ๆ ไม่ออก คำถามที่ฟังเข้าทีได้แก่
    • คุณคิดว่าการทำงานที่นี่เป็นอย่างไรบ้าง
    • ต้องทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จในการทำงานที่บริษัทนี้
    • ผม/ดิฉันจะได้ทำงานใกล้ชิดกับใครบ้าง
    • ต้องทำงานอะไรบ้างในแต่ละวัน
    • โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่บริษัทนี้เป็นอย่างไรบ้าง
    • อัตราการลาออกของผู้ที่ทำงานตำแหน่งนี้เป็นอย่างไร
  5. การสัมภาษณ์คือช่วงเวลาที่คุณจะเผยตัวตนที่แท้จริงให้คนที่อาจจะกลายมาเป็นเจ้านายได้รู้จัก ไม่ใช่ให้อีกฝ่ายได้เจอกับคุณในรูปแบบซ้ำซากจำเจที่เอาแต่ตอบคำถามซ้ำ ๆ เดิม ๆ เพื่อให้ได้งาน เป้าหมายของการสัมภาษณ์งานไม่ได้อยู่ที่การประจบสอพลอ โอ้อวด หรือตอบสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์อยากได้ยิน แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือเพื่อตอบคำถามอย่างจริงใจและไม่ดูถูกสติปัญญาของผู้สัมภาษณ์ ดังนั้นอย่าตอบอะไรอย่าง “จุดอ่อนเดียวของผมคือผมเป็นคนสมบูรณ์แบบเกินไป” หรือ “บริษัทนี้ต้องการคนอย่าดิฉันมาเปลี่ยนแปลง”
  6. ขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับกระบวนการสัมภาษณ์ของแต่ละที่โดยคุณอาจต้องเตรียมเรซูเม หนังสืออ้างอิง แฟ้มสะสมผลงานและจดหมายแนะนำมาด้วย ตรวจดูเอกสารทุกอย่างให้เรียบร้อยว่าไม่มีคำผิดและเขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ หากมีเวลา ให้คนอื่นช่วยตรวจความถูกต้องของเอกสารเผื่อว่าคุณมองข้ามข้อผิดพลาดบางอย่างไป
    • การสร้างความคุ้นเคยกับเรซูเม ซีวีและเอกสารสมัครงานก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน คุณอาจดูน่าสงสัยได้หากจดจำเนื้อหาในเรซูเมตัวเองไม่ได้ ดังนั้นจำชื่อต่าง ๆ วันที่ และหน้าที่ความรับผิดชอบที่เคยทำมาให้ได้ชัดเจนล่ะ
  7. เลือกเสื้อผ้าที่ทำให้คุณดูเป็นมืออาชีพและใส่แล้วรู้สึกมั่นใจ โดยเสื้อผ้านี้ต้องเข้ากับธุรกิจของบริษัทที่คุณสมัครงานด้วย
    • โดยทั่วไปแล้วใส่สูทสีเข้มไปสัมภาษณ์งานจะเหมาะสมที่สุด เว้นแต่ว่าคุณกำลังไปสัมภาษณ์งานที่สามารถแต่งกายอย่างลำลองได้ คุณอาจจะใส่กางเกงและเสื้อเชิ้ตมีปกที่ดูสะอาดสะอ้านก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สัมภาษณ์งานให้ผ่านฉลุย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่มีอะไรจะแย่ไปกว่าการไปสัมภาษณ์งานสายอีกแล้ว ไปถึงที่สัมภาษณ์ในเวลาที่เหมาะสมและเตรียมพร้อม ถ้าสถานที่สัมภาษณ์งานเป็นที่ที่คุณไม่คุ้นเคย ขับรถไปสำรวจสถานที่ก่อนล่วงหน้าสักหนึ่งวันเพื่อที่คุณจะได้ไม่ไปสายเพราะมัวแต่หลง ไปถึงสถานที่นัดไม่เกินสิบหรือสิบห้านาทีก่อนเวลาสัมภาษณ์ที่นัดกันไว้
    • ถึงการไปถึงสถานที่นัดตรงเวลาจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่การไปถึงเร็วเกินไปอาจทำให้คนที่อาจจะกลายมาเป็นนายจ้างของคุณรู้สึกหงุดหงิดได้ ถ้าอีกฝ่ายบอกให้คุณมาถึงสถานที่นัดตามเวลาที่ตกลงกันไว้ก็แปลว่าทางนั้นอยากพบคุณในเวลานั้น ไม่ใช่ครึ่งชั่วโมงก่อนหน้านั้น ถ้าคุณอยากสร้างความประทับใจก็ทำตามที่ตกลงกันไว้ให้ถูกต้องดีกว่า
    • ทำตัวให้ยุ่งไว้ขณะที่รอ เขียนโน้ตหรือทบทวนรายละเอียดของงานและข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท ใช้มือซ้ายถือเอกสารต่าง ๆ คุณจะได้พร้อมลุกขึ้นยืนจับมือกับผู้สัมภาษณ์ทันทีที่อีกฝ่ายเดินเข้ามาทักทาย
  2. ฝึกโพสท่าวางอำนาจก่อนจะเข้าสัมภาษณ์เพื่อช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น. ถ้าสามารถทำได้ ให้เข้าไปในห้องน้ำหรือที่ใดก็ได้ที่เป็นส่วนตัวสัก 5 นาทีก่อนการสัมภาษณ์จะเริ่ม มองกระจกแล้วยืดตัวตรง ให้ไหล่เอนไปด้านหลัง เท้ากางออกประมาณช่วงสะโพก และมือวางตรงสะโพก ยืนท่านั้นค้างไว้สักหนึ่งถึงสองนาที นี่จะมีผลต่อจิตใจและอาจถึงร่างกายด้วยที่จะทำให้คุณรู้สึกว่ามีอำนาจและความมั่นใจมากขึ้น [2]
    • ลองทำอย่างนี้ร่วมกับคำพูดตอกย้ำเชิงบวก เช่น "ฉันเหมาะสมกับตำแหน่งนี้ทุกอย่าง และฉันจะแสดงออกมาให้พวกเขาได้เห็น!"
  3. ในขณะสัมภาษณ์ คุณอาจรู้สึกกังวลและคิดแต่จะแสดงด้านที่ดีที่สุดของตัวเองออกมา การสัมภาษณ์งานเป็นเรื่องน่ากลัวก็จริง แต่ถึงอย่างไรก็ย้ำเตือนตัวเองไว้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องเสแสร้งเพื่อให้ได้งาน คุณแค่ต้องเป็นตัวของตัวเอง พยายามสงบจิตสงบใจและตั้งใจฟังการสนทนาที่ดำเนินไป เป็นตัวเองไว้น่ะดีแล้ว [3]
    • ผู้สัมภาษณ์รู้อยู่แล้วว่าคุณจะตื่นเต้น ดังนั้นบอกออกไปเลยก็ไม่เสียหายหรอก คุณอาจจะผ่อนคลายขึ้นและรู้สึกสนิทใจกับผู้สัมภาษณ์มากขึ้นด้วยซึ่งจะส่งผลให้คุณโดดเด่นกว่าผู้สมัครคนอื่น อย่ากลัวที่จะชวนอีกฝ่ายพูดคุยเล็ก ๆ น้อย ๆ
  4. การขอให้ผู้สัมภาษณ์ทวนคำถามเพราะคุณไม่ได้ตั้งใจฟังน่ะเป็นหนึ่งในเรื่องแย่สุด ๆ ที่ไม่ควรทำขณะสัมภาษณ์งานเลยล่ะ อย่าลดค่าตัวเองด้วยการนั่งใจลอย โดยปกติแล้วการสัมภาษณ์งานกินเวลาไม่เกินสิบห้านาทีและไม่น่าจะยาวเกินหนึ่งชั่วโมงหรือกว่านั้นนิดหน่อย จงใส่ใจบทสนทนาตรงหน้าและตอบคำถามอย่างกระตือรือร้น
  5. ขยับตัวไปด้านหน้าและตั้งใจฟังขณะสัมภาษณ์ ใช้ภาษากายที่สื่อถึงความเอาใจใส่และเปิดเผย มองหน้าผู้สัมภาษณ์ขณะตอบคำถามและขณะอีกฝ่ายกำลังพูด
    • เคล็ดลับการสัมภาษณ์ที่ดีอีกอย่างคือให้มองไปที่หว่างคิ้วของผู้สัมภาษณ์ ตรงระหว่างดวงตา พวกเขาจะไม่ทราบเลยว่าคุณไม่พยายามจะสบตาด้วย และมันจะช่วยคุณผ่อนคลายลงได้บ้าง ลองทำกับเพื่อนดู คุณจะทึ่งเลยล่ะ
  6. ข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นบ่อยอีกอย่างในขณะสัมภาษณ์คือการพูดมากและพูดเร็วเกินไป คุณไม่จำเป็นต้องกลบเกลื่อนความเงียบชวนอึดอัดด้วยการพูดเพ้อเจ้อ ถ้าคุณรู้ตัวว่าตัวเองชอบพูดจาไร้สาระเวลากังวลยิ่งไม่จำเป็นต้องพูดเพื่อทำลายความอึดอัดเลย แค่ผ่อนคลายเข้าไว้และตั้งใจฟัง อย่าเปิดเผยเกินไปนัก
    • คุณไม่จำเป็นต้องตอบทันทีที่ได้ยินคำถาม จริง ๆ แล้วการรีบตอบอาจทำให้ผู้สัมภาษณ์ไม่ประทับใจเพราะคิดไปว่าคุณไม่ได้ใช้ความคิดอะไรเพื่อตอบคำถามที่ซับซ้อนเลยก็ได้ ดังนั้นตอบช้าลงหน่อยและคิดให้ดีก่อน ขอเวลาคิดด้วยการพูดว่า “เป็นคำถามที่ดีมาก ขอเวลาผมคิดคำตอบดี ๆ สักครู่นะครับ”
  7. คุณควรตอบตกลงเสมอในการสัมภาษณ์งาน คุณทำงานดึกหรือทำงานวันเสาร์อาทิตย์ได้ไหม? ได้ครับ คุณสามารถรับมือลูกค้าพร้อมกันหลายคนได้ไหม? ได้ครับ คุณมีประสบการณ์ทำงานในบรรยากาศที่เร่งรีบไหม? มีครับ เกือบทุกงานมักมีการฝึกอบรมทักษะซึ่งจำเป็นต่อการทำงานในแต่ละวันควบคู่ไปกับการทำงานจริงอยู่แล้วดังนั้นคุณจะมีโอกาสเรียนรู้สิ่งที่ไม่คุ้นเคยเองหลังจากเริ่มงาน อย่าลดค่าตัวเองลงก่อนได้เริ่มงาน ตอบรับไปก่อนแล้วค่อยไปศึกษารายละเอียดต่าง ๆ หลังจากได้งานแล้ว
    • อย่าโกหก การพร้อมทำสิ่งที่จำเป็นต้องทำไม่ได้แปลว่าคุณควรจะเติมแต่งประสบการณ์การทำงานหรือโกหกเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะคุณอาจจะโดนไล่ออกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มงานเลยก็ได้ ถ้าคุณไม่เคยทำอาหารมาก่อนเลยในชีวิตนี้ คุณก็ไม่ควรโกหกผู้จัดการแผนกครัวว่าคุณเป็นพ่อครัวชั้นเลิศ
  8. โดยทั่วไปแล้ว เป้าหมายหลักของการสัมภาษณ์ก็แค่เพื่อรู้จักตัวตนของคุณ บริษัทมีเรซูเม รู้ประสบการณ์การทำงานและข้อมูลสำคัญทุกอย่างของคุณหมดแล้ว แต่สิ่งที่ยังไม่รู้จักดีจริง ๆ ก็คือตัวคุณนั่นแหละ
    • การสัมภาษณ์ไม่ใช่การสอบสวนหรือการถกเถียงแต่เป็นการพูดคุยกันดังนั้นคุณต้องมีส่วนร่วมด้วย ในขณะที่ผู้สัมภาษณ์กำลังพูด ใส่ใจสิ่งที่อีกฝ่ายพูด ฟัง และตอบอย่างจริงใจ ผู้ถูกสัมภาษณ์บางคนก็ไปไม่เป็นเมื่อผู้สัมภาษณ์ไม่ได้เริ่มสัมภาษณ์ด้วยการถามตอบไปเรื่อย ๆ ในทันที
  9. เตรียมปากกาและกระดาษไว้ในแฟ้มสะสมผลงานหรือกระเป๋าเอกสารเผื่อไว้จดโน้ตหากจำเป็น คุณอาจเตรียมสำเนาใบสมัครมาเผื่อและเตรียมรายการคำถามไว้ดูหากจำเป็นขึ้นมา
    • การจดโน้ตทำให้คุณดูใส่ใจและดูทำอะไรอย่างมีแบบแผน การจดโน้ตยังช่วยให้คุณจดจำรายละเอียดและชื่อที่สำคัญได้ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ภายหลังการสัมภาษณ์หรือเมื่อคุณต้องการติดต่อเพื่อติดตามผล ระลึกไว้ว่าคุณควรจดโน้ตสั้น ๆ เท่าที่จำเป็นเท่านั้นเพราะถ้าจดยาวเกินไปจะก่อความรำคาญได้
  10. การติดต่อกลับไปหลังการสัมภาษณ์ผ่านไปไม่นานเป็นความคิดที่ดีเพราะจะทำให้ชื่อคุณยังเป็นที่จดจำ คุณควรติดต่อเพื่อติดตามผลการสัมภาษณ์เว้นแต่ว่าทางบริษัทบอกชัดเจนแล้วว่าไม่ต้องทำ ไม่แนะนำให้โทรศัพท์ไปถามผล ส่งอีเมลหรือข้อความทางอื่นจะเหมาะกว่า
    • สรุปรายละเอียดสำคัญของการสัมภาษณ์ ใช้โน้ตเพื่อย้ำเตือนความจำ อย่าลืมขอบคุณผู้สัมภาษณ์ที่ให้โอกาสและบอกว่าคุณหวังว่าจะได้ทราบผลจากบริษัทในอีกไม่ช้า
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่รู้ว่าเพราะอะไรใครหลายคนถึงคิดว่าการโผล่มาสัมภาษณ์งานพร้อมถือแก้วกาแฟเป็นเรื่องดี ทั้งที่ความจริงแล้ว อย่างดีผู้สัมภาษณ์อาจจะมองว่าการกระทำเช่นนี้ไม่เป็นมืออาชีพ หรือถ้าแย่หน่อยก็อาจจะคิดว่าคุณไม่ให้ความนับถือเลยก็ได้ คุณไม่ได้กำลังพักกลางวันอยู่นะ เก็บลาเต้ไว้จิบหลังสัมภาษณ์เถอะไม่ใช่ก่อนสัมภาษณ์ ถึงจะมีสัมภาษณ์เช้าหรือรอสัมภาษณ์นานกว่าจะถึงคิวก็อย่าถือกาแฟมาด้วยเลย ข้อดีก็คือคุณจะไม่ต้องพะวงว่ากาแฟจะหกใส่ตัวเองไหมไงล่ะ
  2. สิ่งที่ไม่ควรทำสุด ๆ ในยุคของการสื่อสารไร้สายก็คือการใช้โทรศัพท์มือถือขณะสัมภาษณ์งาน ห้ามหยิบมือถือออกมาดูเด็ดขาดไม่ว่าจะช่วงไหนของการสัมภาษณ์ก็ตาม หากสัมภาษณ์งานอยู่ก็ทำตัวเป็นมนุษย์ถ้ำผู้ไม่รู้จักแอปใด ๆ เสียเถอะ ปิดมือถือซะให้เรียบร้อยและเก็บไว้ในรถเลยก็ได้ ไม่ว่าจะยังไงคุณก็ไม่ควรทำให้ผู้สัมภาษณ์เข้าใจว่ามีการส่งข้อความกันในขณะที่กำลังสัมภาษณ์งานอยู่เด็ดขาด
  3. การสัมภาษณ์งานไม่ใช่เวลาที่จะมาถามเรื่องผลประโยชน์ โอกาสได้ขึ้นเงินเดือนหรือพูดเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ถ้าคุณจะสมัครงานก็ควรสนใจแต่เรื่องทักษะและคุณสมบัติของตัวเองมากกว่า
    • บางครั้งทางบริษัทอาจขอให้คุณเรียกเงินเดือนสำหรับงานที่สมัครไว้ คำตอบที่เหมาะสมที่สุดก็คือคุณพร้อมที่จะทำงานโดยเรียกเงินเดือนที่ต่ำที่สุดจากเงินเดือนเฉลี่ยของตำแหน่งที่คุณสมัคร แสดงออกให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณอยากทำงานและรับได้กับเงินเดือนเท่าใดก็ตามหากยังตรงตามกับที่กฎหมายกำหนด
  4. มองการสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกันไม่ใช่การสอบสวน. อย่าปกป้องตัวเองในขณะสัมภาษณ์แม้ว่าคุณจะเข้ากับผู้สัมภาษณ์ได้ไม่ดีเท่าไหร่ การสัมภาษณ์ควรเป็นการพูดคุยกันดังนั้นพยายามมองคนอื่นในแง่ดีเข้าไว้ ไม่มีใครตั้งใจอยากเป็นอริกับคุณ คิดซะว่านี่เป็นโอกาสที่คุณจะได้พิสูจน์ตัวเองและให้คำอธิบายดี ๆ อย่าเอาแต่พูดจาปกป้องตัวเอง
  5. การนินทาอดีตเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือบ่นเรื่องงานเก่าก็ไม่สมควรเช่นกัน ถึงคุณจะกำลังสมัครงานที่บริษัทคู่แข่งก็อย่าพูดจาถือหางตัวเองหรือแสดงท่าทีเหมือนคนที่ทำงานด้วยยาก จำไว้ว่าการพร่ำบ่นถึงงานเก่าจะทำให้คุณดูไม่ดี
    • ถ้าอีกฝ่ายถามว่าทำไมคุณถึงจะลาออกจากงานที่ทำอยู่ ตอบอะไรที่ฟังดูดีเช่น “ผมแค่อยากทำงานในบรรยากาศที่ต่างออกไปและรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เริ่มงานใหม่ ผมคิดว่าบริษัทนี้เหมาะสมสำหรับการเริ่มต้นใหม่ครับ”
  6. หลีกเลี่ยงไม่สูบบุหรี่หรือดื่มก่อนการสัมภาษณ์. ถึงคุณมักจะสูบในบางโอกาสก็เว้นช่วงก่อนสัมภาษณ์งานเอาไว้เสียหน่อย ผลการศึกษาเมื่อไม่นานนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้จ้างงานกว่าร้อยละเก้าสิบอยากจ้างคนที่ไม่สูบบุหรี่มากกว่านักสูบหากทั้งสองคนมีคุณสมบัติเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะถูกหรือผิด ยังไงการสูบบุหรี่ก็ทำให้ผู้มาสัมภาษณ์งานดูประหม่าอยู่ดี [4]
    • คุณควรหลีกเลี่ยงการจิบแอลกอฮอล์เพื่อผ่อนคลายด้วยเช่นกัน คุณต้องพูดจาชัดเจนตรงประเด็น ไม่ใช่ลิ้นพันกันมั่ว ถึงอย่างไรผู้สัมภาษณ์รู้อยู่แล้วแหละว่าคุณจะตื่นเต้น ก็นี่มันการสัมภาษณ์งานนี่นา
  7. มหาเศรษฐีผู้ทรงอำนาจอย่างริชาร์ด แบรนสันกล่าวว่าเขาจ้างคนจากบุคลิกภาพเป็นหลัก ไม่ใช่จากประสบการณ์หรือทักษะต่าง ๆ งานทุกงานล้วนแตกต่างกันและทักษะสำคัญสำหรับแต่ละงานนั้นเรียนรู้กันได้ ให้ความสำคัญกับการนำเสนอตัวตนและเผยบุคลิกภาพที่แท้จริงออกมา ไม่ใช่มัวแต่เสแสร้งเป็นคนอื่น [5]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าลืมสบตาผู้สัมภาษณ์และตอบคำถามอย่างมั่นใจ
  • โทรศัพท์ไปสอบถามผลการสัมภาษณ์หากเลยระยะเวลาประกาศผลแล้วแต่ยังไม่ได้รับคำตอบ
  • ถ้าคุณไม่ได้รับเลือก ถามเหตุผลว่าทำไมผู้สมัครรายอื่นถึงได้รับเลือกแทนคุณ ข้อมูลนี้อาจช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการสัมภาษณ์งานในอนาคต
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 62,623 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา