PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

กระต่ายอาจเป็นสัตว์เลี้ยงแสนรักที่น่ารักของเรา แต่เพราะกระต่ายถือเป็นสัตว์ผู้ถูกล่าเมื่ออยู่ในป่า บ่อยครั้ง กระต่ายจึงกลัวและไม่ไว้ใจมนุษย์ [1] การเรียนรู้ที่จะเข้าใจภาษากายของกระต่ายและให้ในสิ่งที่เขาต้องการจะช่วยให้กระต่ายของคุณเรียนรู้ที่จะเชื่อใจคุณและช่วยสานสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์เลี้ยงให้แนบแน่นยิ่งขึ้น

สัตวแพทย์ Pippa Elliott ตั้งข้อสังเกตว่า: "กระต่ายนั้นแต่เดิมถูกมองว่าเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับเด็ก อย่างไรก็ตาม กระต่ายนั้นรู้สึกเครียดได้ง่ายและต้องการการดูแลอย่างนุ่มนวล รวมถึงความอดทนที่จะสร้างความคุ้นเคยกับมัน นั่นไม่ได้หมายความว่าเด็กไม่ควรเลี้ยงกระต่าย แต่ผู้ใหญ่สมควรให้คำแนะนำและช่วยดูแลการเลี้ยงกระต่ายอย่างถูกต้อง"

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

อ่านภาษากายของกระต่าย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. กระต่ายมีช่วงของการเปล่งเสียงที่กว้างอย่างน่าทึ่ง ซึ่งช่วยให้กระต่ายสื่อสารได้ทุก ๆ อย่างตั้งแต่ความพึงพอใจ ความเหงาจนถึงความกลัว ฟังเสียงที่กระต่ายคุณเปล่งออกมาตอนที่คุณเข้าหาเขาแล้วปรับเปลี่ยนการกระทำของคุณเพื่อตอบสนองความต้องการของเขาให้ดียิ่งขึ้น
    • การทำฟันกระทบกัน ตรงข้ามกับสิ่งที่คุณอาจนึกถึง เป็นสัญญาณของความสบายและความพึงพอใจ กระต่ายบางตัวอาจทำฟันกระทบกันเมื่อถูกสัมผัส แบบเดียวกับที่แมวส่งเสียงคราง กระต่ายตัวอื่น ๆ ทำเสียงแบบนี้เมื่อรู้สึกปลอดภัยและพึงพอใจตอนอยู่ในที่ที่เป็นเหมือนกรงหรือบ้าน ถ้ากระต่ายคุณทำฟันกระทบกัน ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าเขาชอบและเชื่อใจคุณ [2]
    • การทำเสียงขึ้นจมูกอาจตีความได้ว่ากระต่ายเรียกร้องความสนใจหรือความรัก หรือเป็นอาการบ่งบอกความไม่พอใจหรือความไม่เชื่อใจ สำหรับกระต่ายบางตัว การทำเสียงขึ้นจมูกอาจจะเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอีกด้วย โดยเฉพาะถ้ากระต่ายตัวนั้นมีน้ำมูก ถ้าคุณคิดว่ากระต่ายของคุณทำเสียงขึ้นจมูกเพราะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ทางที่ดีคุณควรพาเขาไปให้สัตวแพทย์ตรวจอาการเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ [3]
    • การส่งเสียงครางหรือร้องเสียงแหลมเป็นสัญญาณทั่วไปของความเจ็บหรือความกลัว ถ้ากระต่ายคุณร้องครางหรือร้องเสียงแหลมตอนที่คุณอุ้มเขาขึ้นมา คุณอาจจับเขาผิดวิธีหรืออาจเป็นเพราะว่าเขายังไม่เชื่อใจคุณ [4]
    • การบดฟันเป็นสัญญาณของความเจ็บ อาการป่วยหรือความกังวล ถ้ากระต่ายคุณบดฟัน คุณอาจกำลังอุ้มเขาผิดวิธีอยู่ ซึ่งทำให้เขารู้สึกไม่สบายตัว หรือเขาอาจจะป่วยและต้องการการดูแลจากสัตวแพทย์ เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน คุณควรพากระต่ายของคุณไปหาสัตวแพทย์เมื่อเขาเริ่มบดฟัน [5]
    • การขู่เป็นสัญญาณของความไม่พอใจหรือความกลัว ถ้ากระต่ายของคุณขู่ใส่คุณ นั่นหมายความว่าเขารู้สึกโดนคุกคามและไม่อยากให้คุณอุ้ม ทางที่ดีคุณควรหลีกเลี่ยงที่จะหยิบจับอาหาร ของเล่นหรือกระบะทรายของเขาในตอนที่เขาคำรามใส่คุณเป็นเชิงว่าไม่อนุญาต [6]
    • การกรีดร้องบ่งบอกถึงความเจ็บปวดขั้นรุนแรงหรือความกลัวที่จะเสียชีวิต ถ้ากระต่ายของคุณเริ่มกรีดร้องตอนที่คุณอุ้มเขา เขาอาจบาดเจ็บหรืออาจคิดว่าคุณจะทำร้ายเขา เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน คุณควรพากระต่ายของคุณไปให้สัตวแพทย์ตรวจอาการเมื่อเขาเริ่มกรีดร้อง [7]
  2. ท่าทางและภาษากายของกระต่ายก็เหมือนกับเสียงของเขาที่สามารถบอกถึงอารมณ์และความรู้สึกของเขาได้มากมาย การเรียนรู้ที่จะแยกแยะระหว่างกระต่ายที่รู้สึกเหงากับกระต่ายที่ไม่อยากให้คุณอุ้มช่วยให้คุณสานสัมพันธ์กับเพื่อนขนฟูของคุณได้
    • สังเกตหูของกระต่ายคุณ กระต่ายเป็นสัตว์ที่หูไวมาก ๆ แต่กระต่ายก็ใช้หูในการสื่อสารผ่านทางภาษากายด้วย ถ้าหูของกระต่ายคุณราบไปด้านหลังแนบกับตัวแปลว่าเขากำลังวางใจและรู้สึกปลอดภัย ถ้าหูลู่มาด้านหน้าแปลว่าเขาได้ยินหรือสัมผัสได้ถึงบางอย่างที่อาจจะน่ากังวลหรือไม่ก็ได้ หูข้างหนึ่งไปด้านหน้าและหูอีกข้างไปด้านหลัง ตามปกติแล้วหมายความว่ากระต่ายคุณรับรู้ว่ามีบางอย่างเกิดขึ้นใกล้ ๆ ตัวเขา แต่ไม่ได้ตัดสินใจแน่ชัดว่าสิ่งนั้นเป็นภัยหรือไม่ [8]
    • ถ้ากระต่ายของคุณยืดสองขาหลังไปด้านหลัง เป็นการบ่งบอกว่าเขารู้สึกสบายและผ่อนคลาย การยืดขาไปด้านหลังทำให้เขาไม่สามารถกระโจนเพื่อวิ่งหนีหรือโจมตีได้ ซึ่งบ่งบอกว่ากระต่ายคุณเชื่อใจคุณและรู้สึกปลอดภัยในบ้านคุณ [9]
    • ถ้ากระต่ายของคุณเกร็งตัว ถือเป็นสัญญาณบอกว่าเขากำลังตื่นกลัวหรือกังวล บางทีคุณอาจทำบางอย่างที่ทำให้เขากลัวหรือบางอย่างในบ้านคุณอาจจะทำให้เขากังวลและตึงเครียด [10]
  3. นอกจากเสียงและภาษากายแล้ว กระต่ายบางตัวก็บอกความต้องการหรือสิ่งที่ไม่ชอบด้วยการตอบสนองต่อการสัมผัสของมนุษย์
    • การใช้จมูกดุนเป็นวิธีของกระต่ายที่จะบอกว่าเขาอยากให้คุณสนใจเขาหรือสัมผัสเขา [11]
    • การเลียเป็นสัญญาณของความรักใคร่อย่างมาก กระต่ายไม่ได้เลียมนุษย์เพราะต้องการเกลือ แต่พฤติกรรมนี้มีเพื่อการสื่อสารเพียงอย่างเดียว และยังเป็นการบ่งบอกถึงความเชื่อใจและความชื่นชมอย่างมาก [12]
    • การทิ้งตัวนอนข้างหน้าคนเป็นสัญญาณของความเชื่อใจและพอใจอย่างมาก [13]
    • ถ้ากระต่ายคุณเอาเปลือกตาด้านในออกมา (ตรงหัวตา) ในตอนที่คุณอุ้มเขาอยู่แปลว่าเขากำลังกังวลและกลัวมาก ๆ ทางที่ดีคุณไม่ควรอุ้มเขา ถ้าเขาตอบสนองต่อการสัมผัสของคุณแบบนี้หรืออย่างน้อยก็จนกว่าเขาจะเชื่อใจคุณมากกว่านี้อีกสักหน่อย [14]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ทำให้กระต่ายของคุณอยู่อย่างสะดวกสบายในบ้านคุณ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. กระต่ายคุณอาจจะต่อต้านความรักของคุณเพราะเขายังไม่ได้รู้สึกปลอดภัยที่อยู่บ้านคุณ คุณช่วยให้เขาปรับตัวได้โดยการสร้างที่ที่เงียบสงบ สะดวกสบายและปลอดภัยจากสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ ในบ้านคุณให้กับเขา คุณอาจจะเอากรงเขาไปไว้ในห้องแยกเพื่อให้เขาหลีกเลี่ยงความวุ่นวายและปัญหาต่าง ๆ ถึงแม้ว่าห้องแยกจะทำให้กระต่ายของคุณมีปฏิสัมพันธ์กับคนน้อยลงและอาจทำให้เขาปรับตัวที่จะอยู่ในบ้านคุณยากมากขึ้นก็ตาม [15]
    • เลือกบริเวณในบ้านคุณที่จะทำให้มีการปฏิสัมพันธ์กันในทุกวันและคนในบ้านคุณสามารถสังเกตเห็นได้ แต่ยังคงเว้นระยะห่างมากพอที่จะไม่ทำให้กระต่ายคุณตื่นกลัวกับความวุ่นว่ายในแต่ละวัน [16]
    • รักษาอุณหภูมิของห้องที่กระต่ายคุณอยู่ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม กระต่ายส่วนมากต้องอยู่ในอุณหภูมิที่คงที่ในช่วงระหว่าง 15.5 ถึง 21.1 องศาเซลเซียส (60 - 70 องศาฟาเรนไฮต์) อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำกว่าช่วงนี้อาจทำให้กระต่ายคุณตายได้ [17]
    • วางกรงของกระต่ายคุณให้พ้นจากแสงแดดที่ส่องมาตรง ๆ จัดที่ให้แสงแดดส่องถึงอย่างพอเหมาะจะช่วยปรับอุณหภูมิสภาพแวดล้อมของเขาได้และช่วยไม่ให้เขาร้อนจนเกินไป [18]
  2. ให้พื้นที่ให้กระต่ายคุณได้วิ่งเล่น การออกกำลังกายถือเป็นส่วนสำคัญสำหรับชีวิตของกระต่าย และหลายครั้งที่ช่วงเวลาสำหรับการวิ่งเล่นคือการออกกำลังกายที่ดีที่สุด ถ้ากรงของกระต่ายคุณใหญ่ไม่พอที่จะให้เขากระโดดหรือวิ่งเล่นไปรอบ ๆ ให้สร้างพื้นที่ล้อมรั้วเล็ก ๆ (อยู่ในที่ร่มจะดีกว่า) ให้เขาได้วิ่งเล่น [19]
    • พื้นที่วิ่งเล่นควรปลอดภัยสำหรับกระต่าย นำสายไฟและข้าวของในบ้านที่คุณไม่อยากให้กระต่ายกัดออกไปให้หมด ถ้าเกิดเป็นสถานที่กลางแจ้ง ต้องให้แน่ใจว่ามีรั้วล้อมทั่วบริเวณและกระต่ายคุณจะไม่สามารถกระโดดข้ามรั้วออกมาได้ [20]
    • คอยจับตาดูกระต่ายคุณตลอดเวลาที่เขาอยู่นอกกรง กระต่ายเป็นสัตว์ที่อยากรู้อยากเห็นและบาดเจ็บหรือหาทางไปยังที่ที่เป็นอันตรายต่อตัวเองได้ง่าย ๆ [21]
  3. หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้กระต่ายชอบคุณคือการให้เขากินของที่เขาอยากกินมากที่สุด
    • กระต่ายต้องการหญ้าแห้งอย่างหญ้าทิโมธี (Phleum pratense) หรือหญ้าโบรม (Bromus) ตุนไว้อยู่เสมอเพื่อให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี [22]
    • ให้กระต่ายคุณกินอาหารเม็ดสูตรที่มีโปรตีนอย่างน้อยร้อยละ 15 ถึง 19 และไฟเบอร์ร้อยละ 18 ในแต่ละวัน กระต่ายที่อายุมากกว่าหกเดือนควรกินอาหารเม็ดปริมาณระหว่าง ⅛ ถึง ¼ ถ้วยต่อน้ำหนักตัวสองกิโลกรัม (ตัวอย่างเช่น กระต่ายหนักสี่กิโลกรัมควรกินอาหารปริมาณระหว่าง ¼ ถึง ½ ถ้วยทุกวัน) [23]
    • ให้กระต่ายคุณกินผักใบเขียวที่สดใหม่ กระต่ายมักจะชอบกินผักกาดหอมสีเข้ม ๆ หัวผักกาดสีเขียวและใบแคร์รอต กระต่ายของคุณควรกินผักใบเขียวอย่างน้อยสองถ้วยต่อน้ำหนักตัวสามกิโลกรัม (ตัวอย่างเช่น กระต่ายหนักหกกิโลกรัมควรกินผักใบเขียวอย่างน้อยสี่ถ้วยในแต่ละวัน) [24]
    • ดูให้แน่ใจว่ากระต่ายคุณได้ดื่มน้ำที่ใหม่และสะอาด ไม่ว่าจะเป็นน้ำจากในขวดน้ำกระต่ายหรือชามแข็งแรง ๆ ที่จะไม่คว่ำง่าย ๆ [25]
  4. กระต่ายชอบเล่นของเล่น คุณอาจซื้อของเล่นที่ทำมาเพื่อกระต่ายโดยเฉพาะหรือคุณอาจทำขึ้นเองที่บ้าน
    • โดยปกติแล้วกระต่ายจะอยากได้ของเล่นที่เขาเคี้ยว ขุดและซ่อนได้ กล่องกระดาษลูกฟูกเปล่า ๆ ถือเป็นของเล่นเริ่มแรกที่ดีมาก แต่คุณอาจจะสร้างสรรค์ได้ตามแต่ใจต้องการตอนที่ทำหรือซื้อของเล่นเพื่อให้เขาได้มีช่วงเวลาสนุก ๆ มากขึ้น [26]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

สานสัมพันธ์กับกระต่ายของคุณ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปล่อยกระต่ายของคุณออกจากกรงให้เขาได้วิ่งเล่นและออกสำรวจ คุณอาจเห็นกระต่ายคุณชอบไปซ่อนในที่มืด ๆ อย่างใต้โซฟา เตียงหรือตู้ลิ้นชักในตอนแรกที่เริ่มออกจากกรง แต่กระต่ายเป็นสัตว์ตัวน้อยที่อยากรู้อยากเห็น กระต่ายจะไม่สามารถทนแรงเย้ายวนที่จะได้สำรวจบ้านใหม่ของพวกเขา ให้เวลากับกระต่ายของคุณ
    • เมื่อกระต่ายคุณกล้าพอที่จะออกมาเดินดูรอบ ๆ ให้คุณนั่งเงียบ ๆ (นั่งบนพื้นดีที่สุด) แล้วรอให้กระต่ายมาหาคุณ กระต่ายเป็นสัตว์ที่น่ารักมาก ๆ และมีขนปุกปุย คนจึงอยากอุ้ม กอดและสัมผัสกระต่าย แต่จำไว้นะว่า กระต่ายเป็นสัตว์ผู้ถูกล่า วันสองวันแรกพวกเขายังไม่รู้เลยว่าคุณจะจับพวกเขากินหรือเปล่า! เพราะแบบนั้นให้กระต่ายเข้าหาคุณก่อนดีกว่า ถ้ากระต่ายดมหรือใช้จมูกดุนคุณ อย่าถอยห่างจากเขา นี่เป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งบอกว่ากระต่ายคุณเริ่มเชื่อใจคุณแล้ว
  2. นี่เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ถูกมองข้าม แต่สิ่งสำคัญในการสานสัมพันธ์กับกระต่ายของคุณนั้นยังรวมถึงการเรียนรู้ที่จะอุ้มเขาอย่างถูกวิธีด้วย การอุ้มไม่ถูกวิธีอาจทำให้กระต่ายคุณไม่สบายตัวและอาจทำให้เขาดิ้นและพยายามหนีจากคุณ นี่อาจทำให้คุณและกระต่ายคุณบาดเจ็บเพราะการดิ้นแรง ๆ ทำให้คอและกระดูกสันหลังของกระต่ายบาดเจ็บได้
    • ต้องนุ่มนวลแต่มั่นคง ห้ามบีบกระต่ายเด็ดขาด แต่ต้องอุ้มเขาให้แน่นพอที่จะไม่ทำเขาตกหรือปล่อยให้เขาดิ้นจากมือคุณไปได้ ออกแรงให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เขาอยู่ในอ้อมแขนคุณอย่างปลอดภัย [27]
    • ประคองหลังและส่วนครึ่งหลังของตัวเขา นี่เป็นส่วนสำคัญในการอุ้มกระต่ายให้ถูกวิธีและไม่ควรมองข้ามเรื่องนี้ [28]
  3. ถ้ากระต่ายของคุณยังคงไม่สบายตัวตอนโดนอุ้ม เขาก็คงจะไม่ชอบใจเวลาโดนจับหรือพาเขาออกจากกรงแน่ ๆ แทนที่จะนำเขาออกจากบ้านหลังน้อย ๆ ของเขาเพื่อจะเล่นด้วยกัน ปล่อยให้เขาเข้าหาคุณเองดีกว่า เปิดประตูกรงเขาทิ้งไว้แล้วรอจนกว่าเขาจะอยากออกมาสำรวจด้านนอก
  4. นี่เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งเลย ถ้าคุณเพิ่งนำกระต่ายมาเลี้ยง เพราะเขาจะต้องการเวลาเพื่อปรับตัวและทำตัวให้คุ้นเคยกับผู้คนและสถานที่ที่จะเป็นบ้านของเขา [29]
    • ไปอยู่ในห้องที่เงียบและปิดทึบ ควรจะมีแค่คุณกับกระต่ายในห้องนั้นโดยไม่มีสัตว์ตัวอื่น ๆ และไม่มีอะไรที่จะมาดึงความสนใจของกระต่ายคุณไป [30]
    • ให้อาหารกับกระต่าย นี่จะช่วยให้สัตว์ขี้กังวลชอบคุณและยังดีต่อกระต่ายคุณอีกด้วย ควรให้ของกินที่ดีต่อสุขภาพเช่น เบบีแคร์รอต แอปเปิลหรือกล้วยชิ้นเล็ก ๆ หรือข้าวโอ๊ตเต็มช้อนเล็ก ๆ ให้กระต่ายคุณกินอาหารบนพื้น จากนั้นลองให้เขากินจากมือคุณดู [31]
    • ให้ทำจนเป็นกิจวัตรประจำวันจนกว่ากระต่ายคุณจะเริ่มคุ้นชินที่จะอยู่ใกล้ ๆ คุณ การทำซ้ำ ๆ และทำเป็นประจำคือกุญแจสำคัญที่จะสร้างความคุ้นเคย [32]
  5. ถ้ากระต่ายคุณยังใหม่กับคนในบ้านและไม่สบายตัวตอนถูกอุ้มหรือสัมผัส อย่าไปบังคับเขา การบังคับจะยิ่งทำให้เขารู้สึกแย่และต่อไปอาจทำให้เขากลัวคุณ [33] ที่จริงแล้ว กระต่ายบางตัวไม่เคยชินที่จะถูกอุ้มเลยเพราะพวกเขาเป็นสัตว์ผู้ถูกล่าในป่า [34] ถ้ากระต่ายคุณไม่ให้คุณจับตัวเขา ยังมีวิธีอื่นอีกที่คุณจะสานสัมพันธ์และปลอบประโลมกระต่ายขี้กังวลของคุณได้
    • ใช้เสียงนุ่ม ๆ ทำให้กระต่ายคุณสงบ คุยกับเขาบ่อย ๆ และปล่อยให้เขาคุ้นกับเสียงคุณ [35] ให้เขาได้คุ้นชินกับเสียงคุณ กระต่ายเป็นสัตว์สังคมและพวกเขาจะเบื่อถ้าต้องนั่งอยู่ในกรงทั้งวัน บางครั้ง แค่พูดคุยกับกระต่ายคุณ เขาก็จะนอนลงและกระทบฟันเบา ๆ เป็นเชิงอนุญาตแล้ว
    • ห้ามตะโกนใส่กระต่ายคุณเด็ดขาด พวกเขาไม่สามารถมีระเบียบหรือฝึกได้เหมือนกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น พวกเขาจะไม่เข้าใจว่าทำไมคุณต้องตะโกนใส่และคุณจะยิ่งทำให้เขากลัวถ้าคุณเสียงดัง
    • แบมือให้กระต่ายคุณดม ถ้าเขาไม่คุ้นชินที่จะอยู่ใกล้ ๆ คุณ เขาอาจต้องทำตัวให้คุ้นกับหน้าตา กลิ่นและเสียงของคุณก่อนที่เขาจะเต็มใจให้คุณอุ้ม [36]
    • ห้ามขยับตัวแบบกระทันหันเวลาที่กระต่ายคุณอยู่ใกล้ ๆ นี่อาจทำให้เขากลัวและทำให้เขาวิ่งกลับเข้ากรงได้
  6. คนเลี้ยงกระต่ายบางคนอาจไม่สะดวกจะลองทำที่บ้าน โดยเฉพาะต่อหน้าคนอื่น ๆ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านกระต่ายบางคนแนะนำว่าการแกล้งทำเป็นล้างหน้าและศีรษะแบบที่กระต่ายคุณทำอาจทำให้กระต่ายขี้กลัวตัวใหม่ชอบคุณได้ การได้เห็นคนเลี้ยงของเขาทำแบบเดียวกับเขาอาจช่วยให้เขาสบายใจที่จะอยู่ในบ้านหลังใหม่ [37]
  7. จำไว้ว่ากระต่ายจะกระตือรือร้นที่สุดในช่วงที่พระอาทิตย์ขึ้นกับพระอาทิตย์ตกในแต่ละวัน เขาจะใช้เวลาส่วนใหญ่ตอนบ่ายไปกับการพักผ่อน ถ้าคุณอยากเริ่มสร้างช่วงเวลาเล่นหรือช่วงเวลาสานสัมพันธ์กับกระต่ายคุณ ให้ทำในช่วงเวลาที่เขากระตือรือร้นมากที่สุดและอยากเล่นมากที่สุด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ากระต่ายคุณเข้าหาคุณหรือมานอนข้าง ๆ คุณ ค่อย ๆ ยื่นมือคุณไปหาเขาแล้วลูบศีรษะเขาเบา ๆ ถ้าเขาไม่ขยับหนี ให้ลูบศีรษะและหลังหูเขาต่อไปเรื่อย ๆ ถ้ากระต่ายคุณขยับตัวลุกขึ้น ให้ปล่อยมือออก เคารพกระต่ายคุณและอย่าบังคับให้เขานั่งและกอดเขา จะยิ่งเป็นเรื่องยากเข้าไปอีกที่จะสานสัมพันธ์กับกระต่ายที่กลัวคุณ
  • ดูให้แน่ใจว่ากระต่ายคุณกินหญ้าทิโมธีไม่ใช่หญ้าอัลฟาฟ่า กระต่ายอายุมากกว่าหกเดือนต้องกินหญ้าทิโมธี
  • ให้เขากินอาหารโปรดเสมอ และถ้ากระต่ายคุณยังเด็กอยู่ พยายามฝึกให้เขาดื่มน้ำจากขวดน้ำสัตว์เลี้ยง
  • ให้เวลากระต่ายคุณได้ปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ กระต่ายส่วนมากจะคุ้นชินภายในเวลาหนึ่งหรือสองวัน แต่บางตัวก็ต้องการเวลามากกว่านั้น โดยเฉพาะตัวที่ถูกอุ้มแบบไม่ถูกวิธีและถูกเข้าหาแบบไม่เหมาะสม
  • ให้กระต่ายคุณได้จัดการพื้นที่ที่เขาอยู่ด้วยตัวเอง กระต่ายชอบย้ายชาม ของเล่นและผ้าไปยังที่ที่พวกเขารู้สึกสะดวกสบาย
  • กระต่ายชอบเข้าสังคมมาก ๆ และต้องการเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นกระต่ายด้วยกันเพราะพวกเขาสามารถสื่อสารและเข้าใจกันได้ดีที่สุด
  • ให้กระต่ายคุณอยู่ในบ้านที่มีที่ซ่อนเพื่อที่เขาจะได้มีที่ที่อยู่แล้วรู้สึกปลอดภัยตลอดเวลาเมื่อเกิดกลัวหรือเครียดขึ้นมา
  • ค่อย ๆ สร้างความเชื่อใจขึ้นมาใหม่ ถ้าแต่ก่อนคุณเคยมีปัญหากับเขาในเรื่องความเชื่อใจ
  • ห้ามให้แขกหรือคนนอกมาสร้างความยุ่งยากใจให้กระต่ายคุณ
  • ถ้ากระต่ายกัดคุณจนเข้าเนื้อ ให้ไปพบแพทย์
  • นวดหูของกระต่ายคุณเพื่อทำให้เขาสงบ บางครั้งเขาจะหลับตาเวลาที่คุณนวดให้
  • ถ้าคุณพยายามมากเกินไป กระต่ายจะคิดว่าคุณกำลังคุกคามเขา ให้เวลาเขาได้เชื่อใจคุณ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าอุ้มเขาโดยจับผิวหรือขนตรงหลังเขา ให้ประคองเท้าเขาด้วย
  • ห้ามลงโทษกระต่ายคุณเวลาเขาทำผิดเด็ดขาด เขาจะไม่เรียนรู้จากการลงโทษ
  • กระต่ายกัดแรง ๆ ได้ถ้าเขาอยากกัด ถ้ากระต่ายคุณขู่และหูของเขาลู่ไปด้านหลัง ให้ถอยออกมาแล้วปล่อยให้เขาสงบลง
  • ดูให้แน่ใจว่ากระต่ายคุณไม่ไปกัดสายไฟ การกัดสายไฟอาจทำให้เขาถูกไฟช็อตตายได้
  • อย่าอุ้มกระต่ายคุณขึ้นถ้าเขาไม่ชอบให้อุ้มขึ้น กระต่ายบางตัวชอบให้ลูบมากกว่า
  • อย่าเอาขวดน้ำหนูแฮมสเตอร์ให้เขา ให้ใช้ชามเซรามิกของสุนัขหรือแมว พวกเขาต้องการน้ำมากกว่าหนึ่งหยดต่อครั้ง
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • กรงใหญ่ ๆ
  • ของเล่น
  • ขวดน้ำ
  • ผักและผลไม้สด ๆ
  • อาหารเม็ด
  • หญ้าทิโมธี
  • ก้อนเกลือแร่
  • แปรง
  • หนังสือพิมพ์หรือขี้เลื่อย
  1. http://rabbitresource.org/care-and-health/behavior/how-to-speak-rabbit/
  2. http://rabbitresource.org/care-and-health/behavior/how-to-speak-rabbit/
  3. http://rabbitresource.org/care-and-health/behavior/how-to-speak-rabbit/
  4. http://rabbitresource.org/care-and-health/behavior/how-to-speak-rabbit/
  5. http://rabbitresource.org/care-and-health/behavior/how-to-speak-rabbit/
  6. http://www.rabbit.org/journal/4-3/new-home.html
  7. http://www.rabbit.org/journal/4-3/new-home.html
  8. http://netvet.wustl.edu/species/rabbits/rabtcare.txt
  9. https://www.pdsa.org.uk/taking-care-of-your-pet/rabbits/environment
  10. https://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/general-rabbit-care
  11. https://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/general-rabbit-care
  12. https://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/general-rabbit-care
  13. https://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/general-rabbit-care
  14. https://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/general-rabbit-care
  15. https://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/general-rabbit-care
  16. https://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/general-rabbit-care
  17. http://www.rspca.org.uk/adviceandwelfare/pets/rabbits/behaviour/enrichment/toys
  18. http://www.rspca.org.uk/adviceandwelfare/pets/rabbits/company/handling
  19. http://www.rspca.org.uk/adviceandwelfare/pets/rabbits/company/handling
  20. http://www.bio.miami.edu/hare/shybun.html
  21. http://www.bio.miami.edu/hare/shybun.html
  22. http://www.bio.miami.edu/hare/shybun.html
  23. http://www.bio.miami.edu/hare/shybun.html
  24. http://www.rabbit.org/journal/4-3/new-home.html
  25. http://www.bio.miami.edu/hare/shybun.html
  26. http://www.rabbit.org/journal/4-3/new-home.html
  27. http://www.rabbit.org/journal/4-3/new-home.html
  28. http://www.rabbit.org/journal/4-3/new-home.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 26,245 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา