ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ก่อนจะออกตามล่าหาหมัด ต้องถามตัวเองก่อน ว่าทำไมถึงสงสัยว่าแมวน่าจะมีหมัด ถ้าเป็นเพราะคุณเห็นหมัดไต่บนตัวแมวหรือมุมใดมุมหนึ่งของบ้าน ก็ชัดเลยว่าคุณกำลังมีปัญหาหมัดบุกแมวและบุกบ้าน ต้องรีบพาไปหาหมอหรือให้หมอจ่ายยากำจัดหมัดสำหรับแมวโดยเฉพาะ แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องหมัดทั้งที่ไม่มีหมัดบนตัวแมวหรือตามพื้นบ้าน แสดงว่าแมวทำความสะอาดตัวเอง กำจัดหมัดโตเต็มวัยจากขนไปเรียบร้อย แต่ไข่หมัดอาจตกหล่นจากแมว จนฟักออกมาเป็นตัวใน 2 - 3 อาทิตย์ต่อมา ไม่ว่าคุณจะกำลังประสบปัญหาแบบไหน ให้สำรวจแมวจนรู้แน่ ว่ามีหมัดหรือไม่มี

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สังเกตอาการแมว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าแมวแพ้ง่าย โดยเฉพาะแพ้หมัด อาจพบผื่นแพ้ได้ แต่ถึงจะเป็นแมวแข็งแรงทั่วไป น้ำลายของหมัดก็ยังทำให้แมวคันหรือระคายเคืองได้เวลาโดนกัด เพราะแบบนี้แมวเลยเลียตัวบ่อยผิดปกติ ถ้าแมวเลียตัวเองบ่อยและละเอียด บางทีก็กำจัดหมัดออกไปได้ แต่ส่วนใหญ่จะจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน เพราะหมัดโดดมาดูดเลือดแมว เสร็จแล้วก็โดดกลับออกไป บางทีเลยหาไม่เจอ นี่แหละสาเหตุที่เหมือนจะมีหมัด แต่พอสำรวจแมวจริงๆ กลับไม่มีซะอย่างนั้น [1]
    • สัญญาณที่บอกว่าแมวมีหมัด จะต่างกันออกไปตามสุขภาพและความแข็งแรงของแมว รวมถึงจำนวนหมัดบนตัว และอื่นๆ
  2. หมัดกัดแล้วแมวจะระคายเคืองมาก เพราะงั้นเลยแสดงอาการต่อไปนี้ [2]
    • ผิวแห้งแข็งหรือมีตุ่มเล็กๆ โดยเฉพาะแถวคอและหลัง
    • ผิวหนังระคายเคือง โดยเฉพาะที่หลังคอและโคนหาง [3]
    • แมวเกาบ่อย โดยเฉพาะแถวใบหน้า
    • เลียขนบ่อยผิดปกติ
    • ก้อนขนสะสมในคอเพราะเลียตัวบ่อยเกินไป
    • ขนร่วง ขนแหว่ง
    • ในอึมีพยาธิตัวตืดปนมา (หมัดเป็นพาหะของไข่พยาธิตัวตืด แมวเลยติดมาตอนเลีย/กินหมัดเข้าไป และออกมากับอึ) [4]
  3. อยู่ๆ แมวก็เลิกเข้าห้องที่เคยไปขลุกอยู่ โดยเฉพาะห้องที่ปูพรมและมีหมัดชุกชุม นอกจากนี้แมวอาจหงุดหงิดงุ่นง่าน เริ่มร้องครางหรือส่ายหัวบ่อยๆ รวมถึงพยายามกำจัดหมัดบนตัว [5]
    • แมวบางตัวก็เกิดอาการแพ้ตอนหมัดกัด เลยแสดงอาการผิดปกติเป็นพิเศษเวลามีหมัดบนตัว อาจจะเริ่มมีพฤติกรรมแปลกๆ เพราะไม่สบายตัวนั่นเอง [6]
  4. ถ้าแมวมีหมัดมากจนน่ากลัว นอกจากเห็นหมัดไต่ยั้วเยี้ยตามขนแล้ว ยังอาจเสียเลือดจนเกิดภาวะโลหิตจางได้ ถ้าเป็นแบบนั้นแมวจะมีอาการเซื่องซึมหรือเหนื่อยอ่อนผิดปกติ เหงือกซีด และสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ให้สังเกตขี้หมัดติดตามผ้าเปียกสีขาว แต่ไม่ว่าแมวจะมีหมัดหรือเปล่า ก็ควรพาแมวไปตรวจร่างกายหาภาวะโลหิตจางอยู่ดี [7]
    • กลุ่มเสี่ยงที่มักเกิดภาวะโลหิตจางเวลาถูกหมัดกัด ก็คือลูกแมวกับแมวแก่
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

สำรวจแมวหาหมัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้แมวนั่งบนผ้าหรือปลอกหมอนสีขาว จะได้เห็นหมัดหรือขี้หมัดชัดๆ ถ้ามี ถ้าจะสางขนโดยให้แมวนั่งตัก ก็ปูผ้าขาวรองบนตักไว้ก่อน
    • หมัดเป็นแมลงไร้ปีกตัวสีน้ำตาลเข้ม ตัวยาวประมาณ 3 - 4 มิลลิเมตร [8] ระหว่างสำรวจขนแมวจะเห็นหมัดกระโดดเป็นพักๆ ให้แสกขนสำรวจแถวซอกขาและท้องของแมว เพราะเป็นแหล่งที่หมัดชอบไปซุกตัว
  2. สางขนแมวจากหัวจรดหาง โดยใช้หวีซี่ถี่สำหรับสางดักหมัดโดยเฉพาะ แล้วสำรวจขน แหวกดูผิวหนังไปพลางๆ เน้นหนักบริเวณต้นคอ โคนหาง และซอกขา ที่มักเป็นแหล่งซ่องสุมของหมัด [9]
    • หวีสางหมัดโดยเฉพาะ เวลาสางขนหมัดจะค้างอยู่บนหวี เพราะซี่ถี่จนหนีไม่รอด ซ่อนก็ไม่ได้
  3. ถึงหมัดจะไม่กระโดดให้เห็นจะๆ ก็ยังมีขี้หรือไข่หมัดติดมาได้ ดูเผินๆ จะเหมือนเกลือพริกไทย ถ้าพบสิ่งผิดปกติหน้าตาอย่างที่ว่า ให้เอาวางบนทิชชู่เปียก ในขี้หมัดจะมีเลือดอยู่ เพราะงั้นพอเปียกก็จะมีสีแดงเข้มละลายออกมา [10]
    • ถ้าเจอขี้หมัดที่ว่า ก็แน่นอนว่าบนตัวแมวมีหมัดโตเต็มวัย
  4. เขย่าหวีให้เศษสิ่งสกปรกต่างๆ ร่วงจากหวีและขนแมว ตกลงบนกระดาษหรือผ้าสีขาว ถ้ามีขี้หมัดจะเห็นเป็นจุดดำๆ วิธีแยกขี้ดินกับขี้หมัด ก็คือให้พรมน้ำใส่นิดหน่อย ถ้าเป็นขี้หมัด จุดดำจะกลายเป็นสีน้ำตาลออกแดงหรือส้ม และขอบจะละลายฟุ้งออก [11]
    • จะเห็นได้ชัดเลยถ้าให้แมวนั่งบนผ้าเช็ดตัวหรือผ้าปูสีขาวตอนสางขน
  5. หมัดทำแมวขนร่วงได้หลายสาเหตุ แมวอาจเกิดอาการระคายเคืองเพราะโดนหมัดกัด ทีนี้พอเกาตัวเองบ่อยเกินไปขนเลยร่วงเป็นหย่อมๆ อีกทีคือแมวอาจแพ้น้ำลายหมัด ทำให้ผิวหนังระคายเคือง เกาเยอะผิดปกติ [12]
    • บางทีแมวก็แพ้อย่างอื่น ไม่ใช่หมัด ถ้าหาหมัดไม่เจอจริงๆ แต่แมวยังเกาไม่หยุด พาไปหาหมอเลยจะดีกว่า
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้ยาป้องกันและกำจัดหมัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงจะหาหมัดตัวเป็นๆ ไม่เจอ ก็ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทั้งป้องกันหมัดและกำจัดหมัดที่มีอยู่ เดี๋ยวนี้ยากำจัดหมัดปลอดภัยและเห็นผลขึ้นเยอะ บางอย่างก็หาซื้อเองได้ แต่บางอย่างต้องให้คุณหมอจ่ายให้เท่านั้น
    • เลือกผลิตภัณฑ์กำจัดหมัดสำหรับแมวโดยเฉพาะ เพราะผลิตภัณฑ์ของหมามักมีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อแมว ยังไงปรึกษาสัตวแพทย์จะตรงจุดและปลอดภัยกับแมวที่สุด
  2. โดยปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้งานที่ฉลาก หรือคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด จะได้ป้องกันไม่ให้แมวติดหมัดซ้ำอีก และจะได้รู้กันไปเลยว่าอาการผิดปกติของแมวเกิดจากหมัดหรือเปล่า ถ้าอาการต่างๆ หายไปหลังกำจัดและป้องกันหมัด แสดงว่าแมวป่วยเพราะหมัด ถึงจะไม่เคยเห็นหมัดตัวเป็นๆ ก็เถอะ
    • ยาป้องกันหมัดประจำเดือนมีทั้งแบบกิน ฉีด และแบบหยด [13]
  3. เดี๋ยวนี้มีปลอกคอกันหมัดขายเยอะแยะไปหมด บางอันก็ใช้ดี บางอันก็เปล่าประโยชน์ ที่น่ากลัวคือบางยี่ห้ออันตรายกับแมวนี่สิ [14] เพราะงั้นย้ำว่าต้องให้คุณหมอแนะนำ อย่าสุ่มสี่สุ่มห้าซื้อหามาใช้เอง
    • หรือเอาปลอกคอกันหมัดใส่ในถุงเก็บฝุ่นหรือกระบอกเครื่องดูดฝุ่น จะช่วยฆ่าหมัดที่ดูดเข้าไปได้ [15]
  4. ดูดฝุ่นทุกวัน ทั้งพื้นพรม พรมปูพื้น และผ้าหุ้มเฟอร์นิเจอร์ เสร็จแล้วทิ้งถุงเก็บฝุ่นในถังขยะใหญ่นอกบ้านแบบที่มีฝาปิดมิดชิด หมัดจะได้ไม่อพยพกลับเข้าบ้านคุณอีก นอกจากนี้ให้ซักเบาะนอนของสัตว์เลี้ยงด้วยน้ำร้อนเพื่อฆ่าหมัด
    • ถ้าหมัดระบาดจนรับมือไม่ไหว ต้องใช้ fogger หรือเครื่องปล่อยควันพิษกำจัดหมัดและไข่หมัด แต่บอกเลยว่าอันตรายต่อทั้งสัตว์เลี้ยงและเด็กๆ ในบ้าน เพราะงั้นให้ศึกษาดีๆ ก่อนใช้งาน [16]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถึงจะสงสัยว่าตัวใดตัวหนึ่งติดหมัดเข้าให้ ก็ต้องสำรวจสัตว์เลี้ยงทุกตัวในบ้าน
  • หมัดนี่แหละสาเหตุก่อโรคผิวหนังของแมวที่พบบ่อยที่สุด แต่ก็เป็นอะไรที่วินิจฉัยและรักษาได้ง่ายที่สุดเช่นกัน
  • ถ้าละแวกบ้านคุณหมัดกำลังระบาดหนัก ต้องรีบใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดหมัดกับแมว
  • ปรึกษาคุณหมอเรื่องกำจัดพยาธิตัวตืดให้แมวด้วย ถ้าแมวมีหมัด
  • นอกจากขี้หมัดแล้ว มักจะเจอไข่หมัด (เป็นจุดขาวๆ) ในขนแมวด้วย
  • ถ้าหมัดระบาดหนักมาก เรียกบริษัทรับกำจัดแมลงจะดีกว่า
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าแมวมีหมัด ระวังคุณอาจโดนหมัดกัดได้เช่นกัน
  • หมัดทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ โดยเฉพาะในลูกแมว นอกจากนี้ยังแพร่เชื้อต่างๆ เช่น เชื้อกลุ่ม Rickettsia และ Bartonella ที่ก่อให้เกิดไข้ไทฟัส รวมถึงเป็นพาหะของพยาธิตัวตืด และทำผิวหนังระคายเคืองด้วย [17]
  • ดักแด้ของหมัดอยู่นอกตัวสัตว์เลี้ยงโดยไม่ตายได้นานหลายเดือน เพราะงั้นถ้ารู้ว่าแมวมีหมัด ต้องรีบกำจัดและป้องกัน รวมถึงทำความสะอาดบ้านทุกซอกทุกมุม โดยเฉพาะบริเวณที่พบหมัด ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านได้ปลอดภัย หมัดจะได้ตายและไม่ย้อนกลับมา [18]
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://pets.webmd.com/cats/guide/cats-and-compulsive-scratching-licking-and-chewing
  2. Sue Patterson, Manual of Skin Diseases of the Dog and Cat, (Chicester: Wiley-Blackwell, 2009), 123-129.
  3. http://www.vet.cornell.edu/FHC/health_resources/CW_Fleas.cfm
  4. Patrick J. McKeever, Tim Nuttall and Richard G. Harvey, A Colour Handbook of Skin Diseases of the Dog, Second Edition, (London: Manson/Veterinary Press, 2009), 41.-42
  5. http://www.catchannel.com/ten-signs-your-cat-has-fleas.aspx
  6. http://healthypets.mercola.com/sites/healthypets/archive/2012/04/04/feline-hyperesthesia-symptoms.aspx
  7. http://pets.thenest.com/tell-cat-fleas-dry-skin-11385.html
  8. William J. Foreyt, Veterinary Parasitology Reference Manual (Ames, Iowa: 2001), 40.
  9. https://www.aspca.org/pet-care/cat-care/fleas

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,452 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา