PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าคุณจะมีเจ้าตูบเพื่อนใจตัวใหม่ หรือสนิทกับมันมานานแล้ว ก็เป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรรู้จักพฤติกรรมการสื่อสารของมัน เพื่อที่จะได้ตอบสนอง หรือปรับตัวเข้าหาความต้องการและเข้าใจความรู้สึกของมันได้ เพราะสุนัขก็ใช้สีหน้าท่าทางในการบ่งบอกให้ผู้อื่นรู้ เหมือนคนเราเช่นกัน และแม้ว่าภาษากายบางอย่างของมันจะคล้ายคลึงกับมนุษย์ แต่ความหมายอาจเป็นไปคนละทาง ในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้วิธีการตีความหมายการสื่อสารของมัน และโต้ตอบกับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

เข้าใจพฤติกรรมสุนัขของคุณ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเรียนรู้นิสัย มารยาท และการเคลื่อนไหวของสุนัขของคุณ จะช่วยให้ขั้นตอนในการเข้าใจการสื่อสารของมัน เป็นไปโดยธรรมชาติ คุณจะเริ่มเข้าใจพฤติกรรมหลายๆ อย่างของมันโดยไม่ต้องมีคำอธิบาย สุนัขของคุณก็มีเอกลักษณ์เช่นเดียวกับมนุษย์นั่นแหละ
    • ตระหนักว่า ภาษาหรือการสื่อสารส่วนใหญ่ของสุนัข มักจะละเอียดอ่อนและเข้าใจยาก
    • การเรียนรู้สัญญาณทางกายที่ใช้ในการสื่อสารของสุนัข จะช่วยให้คุณสามารถป้องกันปัญหา และตัดไฟได้แต่ต้นลม แต่หากคุณมองข้ามสัญญาณเล็กๆ น้อยๆ บางอย่าง มันอาจก่อตัวลุกลามเป็นปัญหาใหญ่ในภายหลังได้
    • จำไว้ว่า นี่เป็นการเรียนรู้แบบสองทาง สุนัขของคุณก็ต้องเรียนรู้ความหมายพฤติกรรมของคุณเช่นกัน ซึ่งคุณควรจะระวังท่าทางเวลาที่จะสื่อสารอะไรออกไปด้วย สุนัขของคุณมันไม่เข้าใจภาษามนุษย์ เวลาที่คุณพูดว่า “ไม่” หรือ “นั่ง” ต่อให้พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันก็ไม่เข้าใจหรอก มันก็จะคิดแค่ว่าคุณพูดอะไรเรื่อยเปื่อยทั้งวัน แต่การล่อให้มันนั่ง พร้อมๆ ไปกับการให้รางวัลมันต่างหาก มันจึงจะเรียนรู้และอยากนั่งเอง ซึ่งหากคุณพูดว่า “นั่ง” ในจังหวะที่มันนั่ง มันก็จะเข้าใจว่า อ๋อ นั่งแปลว่าให้เอาก้นวางลงบนพื้นนั่นเอง
    • จำไว้ว่า ความหมายสัญญาณหรือการสื่อสารบางอย่าง อาจใช้ไม่ได้กับสุนัขพันธุ์ เช่น หากสุนัขของคุณมีหูลีบหรือหางกุด ลักษณะการสื่อสารบางอย่าง มันก็อาจไม่สามารถทำได้เหมือนสุนัขทั่วไป
  2. เข้าใจการตอบสนองของสุนัขของคุณ เวลาที่จ้องตามัน. คุณจะรู้สึกยังไงเวลาที่มีคุณมาจ้องตาคุณตรงๆ แทนที่จะสบตาธรรมดาๆ สุนัขของคุณก็เช่นกัน มันจะรู้สึกถูกข่มขู่และลังเล เวลาที่คุณจ้องตามันตรงๆ การที่มันหลบตาคุณ แสดงว่ามันสุภาพดีและว และต้องการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ในทางกลับกัน การฝึกให้สุนัขของคุณ สื่อสารผ่านการมองตา จะเป็นประโยชน์มากในการดึงความสนใจสุนัขของคุณมาที่คุณ [1]
    • วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการฝึกสุนัขของคุณคือ การกระตุ้นพฤติกรรมเชิงบวก และการใช้เสียงคลิ๊กเชื่อมโยง ทั้งสองวิธีได้รับการพิสูจน์โดยนักวิทยาศาสตร์ สัตวแพทย์ และนักพฤติกรรมสัตว์แล้วว่าดีจริง ส่วนการทำโทษเมื่อกระทำผิดนั้น พวกเขาไม่แนะนำ เพราะสุนัขความจำสั้นและมักไม่สามารถรู้ได้ว่า การอึลงบนพื้นห้องนั้น ทำให้คุณไม่พอใจ ที่จริงสุนัขไม่เคยมีความรู้สึกผิดด้วยซ้ำ แต่พอมันทำหน้าเหมือนรู้สึกผิด เจ้าของสุนัขมักจะหยุดลงโทษ แถมยังรู้สึกดีขึ้น จนอาจให้รางวัลปลอบใจมันด้วย ผลก็คือ ต่อไปพอมันอึลงพื้น และคุณกลับบ้านมาเห็น มันก็แค่ทำหน้าตารู้สึกผิดเพื่อเอาตัวรอดและเอาใจคุณ ไม่ได้รู้เลยว่าสิ่งนั้นทำให้คุณโมโห
    • การใช้เสียงคลิ๊กเชื่อมโยง เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้มันจำได้ทุกครั้งว่า สิ่งใดถูกต้องหรือควรทำ และทำแล้วได้รางวัลจากคุณ
    • พฤติกรรมและท่าทีสุนัขของคุณมักเป็นไปตามแรงจูงใจในการทำสิ่งที่ได้รางวัลมากที่สุด และถูกลงโทษน้อยที่สุด ในทุกสถานการณ์ หากมันรู้สึกว่าการกัดรองเท้าคุณทำแล้วได้รางวัลตอบแทน มันก็จะทำเรื่อยๆ แต่หากคุณให้รางวัลเวลาที่มันหยุดกัด มันก็จะไม่กัดอีก ต่อให้คุณไม่อยู่ก็ตาม ในทางกลับกัน การใช้วิธีลงโทษหรือข่มเหง ก็ทำได้แค่บอกให้มันรู้ว่าใครใหญ่กว่า แต่มันก็มักจะแอบทำสิ่งนั้นเวลาที่คุณไม่อยู่
    • สุนัขมีแรงจูงใจเข้าหารางวัลมาก ส่วนการลงโทษนั้นไม่ได้ผล สุนัขของคุณจะทำในสิ่งที่ทำแล้วได้รางวัลมากกว่าที่จะทำไปเพื่อข่มคุณหรือสุนัขตัวอื่นๆ หากคุณรู้จักวางตัวให้เป็นเหมือนรางวัลอันสูงสุดของมัน มันจะยอมทำทุกอย่างตามที่สั่ง
    • การกลิ้งตัวไปมาและโชว์หน้าท้อง เป็นการบ่งบอกว่ามันต้องการเอาใจคุณ หากคุณเกาหรือลูบท้องมัน มันก็ยิ่งอยากทำอีกเรื่อยๆ
    • การโชว์หน้าท้อง ยังอาจเป็นพฤติกรรมที่ใช้แสดงความดื้อด้านต่อการคุกคามบางอย่าง [2]
    • การขึ้นมาคร่อมหรือก่ายคุณ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ามันกำลังเครียด และยังเป็นวิธีที่สุนัขขี้กลัว ใช้ในการแสดงความสวามิภักดิ์ต่อสัตว์ที่ดุดันกว่า
    • สุนัขมีพฤติกรรมท่าทางหลายอย่าง ในการแสดงความอึดอัด เช่น การหาวหรือจามบ่อยๆ แบบไร้สาเหตุ เลียปากตัวเอง หลบตา มองเหลือบ(จนคุณเห็นตาขาวของมัน) ตัวแข็งนิ่ง ซึ่งหากคุณเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ ก็ควรหยุดสิ่งที่คุณกำลังทำ และอย่าทำอีกต่อไป แต่หากคุณอยากให้มันรู้สึกสบายใจกับเรื่องใด พยายามให้รางวัลมันพร้อมๆ ไปกับการทำสิ่งเหล่านั้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ต่อไปมันก็จะอาสาทำสิ่งนั้นเพื่อของรางวัล
    • สุนัขของคุณอาจแสดงอารมณ์หลายอย่างผ่านหางของมัน การกระดิกหางและส่ายก้น แสดงถึงกำลังมีความสุข แต่หางที่ส่ายช้าๆ แสดงว่ามันกำลังระวังตัว หางที่ชี้ขึ้นแข็งตรง แสดงว่าสุนัขของคุณกำลังตื่นตัว ส่วนหางตก แสดงว่ามันพึงพอใจ หางที่หดงอ แสดงว่ามันกำลังกลัว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

การอ่านสัญญาณทางกายที่ใช้ในการสื่อสารของสุนัขของคุณ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ศึกษาเพื่อตีความพฤติกรรมและท่าทีสุนัขของคุณ. ท่าทีของสุนัขของคุณ บอกอะไรได้หลายอย่างเกี่ยวกับอารมณ์สุนัขของคุณ แม้ว่าสัญญาณทางกายที่ใช้ในการสื่อสารของสุนัขหลายอย่างจะซับซ้อน และต้องใช้เวลาศึกษาสักหน่อย แต่ก็คุ้มค่าในความพยายาม
  2. รู้จักพฤติกรรมขี้เล่นและการแสดงความรักของสุนัขของคุณ. สุนัขมักแสดงถึงความมั่นใจและอาการอยากเล่นสนุก ผ่านพฤติกรรมและภาษากายของมัน
    • ท่าทางมั่นใจ: หากสุนัขของคุณกำลังมั่นใจ มันมักยืนผ่าเผย หางเชิดและแกว่งช้าๆ หูอาจจะตั้งตรงหรืออยู่ลักษณะผ่อนคลาย โดยรวมแล้วตัวมันจะมีลักษณะดูผ่อนคลาย ตาดำของมันจะเล็กลงเนื่องจากความผ่อนคลายนั้นด้วย
    • ก้มคำนับ: หากสุนัขของคุณนั่งก้มหน้าและห่อหน้าอกมาทางคุณ พร้อมขาหน้าที่แผ่กว้าง โดยทำก้นและหางชี้ขึ้น เป็นสัญญาณชัดเจนว่ามันต้องการเล่นกับคุณ คล้ายๆ เวลาที่ผู้ชายไทยสมัยก่อนก้มเพื่อเชื้อเชิญสาวออกมาเล่นรำวงกัน [3] มันบ่งบอกถึงช่วงเวลาหรรษาอย่างชัดเจน แม้ว่าจะทำให้สุนัขตีความหมายพฤติกรรมดังกล่าวว่ามักตีความผิด นึกว่ามันเตรียมต่อสู้
    • ส่ายสะโพก: การส่ายสะโพกหรือเอาตัวมาดุนๆ ก็เป็นอีกสัญญาณของการชวนเล่น มันอาจจะเคลื่อนไหววนรอบสุนัขตัวอื่นและเอาสีข้างกระแทกตัวอื่นให้ล้มลงด้วย [4] หากสุนัขของคุณหันหลังให้คุณ มันอาจเป็นการแสดงความเชื่อใจ ทั้งนี้ในสุนัขบางตัว มันยังอาจเป็นการขอให้คุณช่วยเกาหลัง การส่ายบั้นท้ายของสุนัข มักเป็นสัญญาณว่ามันกำลังตื่นเต้นและอยากเป็นมิตร [5]
    • หากสุนัขของคุณยืดเส้นยืดสายโดยยกก้นชี้ขึ้น ขาและอุ้งเท้าหน้าเหยียดมาข้างหน้า หัวหมอบชิดพื้น แสดงว่ามันอาจจะกำลังอยากเล่นเช่นกัน
    • หากสุนัขของคุณยกเท้าหน้ามาแตะหรือวางบนเข่าคุณ หรือส่วนไหนของคุณก็ตาม อาจจะเป็นการเรียกร้องความสนใจ หรือขออะไรบางอย่าง รวมถึงเป็นการชวนไปเล่นด้วย [6] ท่าทีดังกล่าวในช่วงเริ่มต้น อาจจะคล้ายๆ ตอนที่มันยังเป็นลูกสุนัข และเข้าไปคลอเคลียเพื่อดูดนมแม่ [7] แต่ไปๆ มาๆ กลับคล้ายกับเวลาที่มันยกเท้า เพื่อให้คุณจับ เหมือนจับมือทักทายกัน เพื่อแสดงความสัมพันธ์อันเป็นมิตร [8]
    • การเอาอุ้งเท้าตวัดลม เป็นพฤติกรรมของลูกสุนัขในการชวนให้คุณเล่นด้วย
    • หากหางสุนัขของคุณ อยู่ในระดับกลางๆ บริเวณแนวเดียวกับลำตัวหรือตำหว่าเล็กน้อย บ่งบอกถึงความรู้สึกปลอดภัยและเป็นมิตร [9]
    • หากสุนัขของคุณแกว่งหางอย่างรุนแรง โดยหางชี้ขึ้นด้วย แสดงว่ามันกำลังคึกและเกเร อยากแกล้งคุณและสุนัขตัวอื่นๆ! [10] มันยังเป็นการท้าตบตีหรือฟัดกับสัตว์ตัวอื่นๆ ด้วย
    • หากสุนัขของคุณแกว่งหางช้าๆ และจ้องมองคุณ แสดงว่ามันกำลังผ่อนคลาย และตื่นตัวอยากเล่น
  3. การรู้ว่าเมื่อใดที่สุนัขของคุณกำลังรู้สึกกังวลและอึดอัด จะช่วยให้คุณเข้าใจความต้องการของมัน และปลอบโยนได้ตามความเหมาะสม
    • การเดินย่ำไปมา มักเป็นสัญญาณบ่งบอกความว้าวุ่นใจ แต่อาจเป็นการแสดงความตื่นเต้นหรือความเบื่อได้ด้วย หากสุนัขของคุณได้รับการออกกำลังกายหรือเล่นสนุกมากพอแล้ว พยายามมองหาสิ่งที่ทำให้มันว้าวุ่นเมื่อมันมีอาการเดินย่ำไปมา
    • สุนัขที่รู้สึกถูกคุกคามอาจมีขนที่คอลุกชัน มันเป็นกลไกป้องกันเพื่อแสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่ามันตัวใหญ่เกินจริง ด้วยการชันขนตั้งแต่แผงคอลงไปถึงส่วนหลังขึ้น มันอาจไม่ได้เป็นการแสดงความก้าวร้าว แต่เป็นความตื่นตัวพร้อมรับเหตุการณ์ ดังนั้น คุณควรออกห่างสุนัขที่มีท่าทีเช่นนี้ ความกลัวอาจทำให้มันกัดได้ [11]
    • สุนัขที่กำลังกลัวอาจหมอบหรือก้มราบไปกับพื้น การหมอบเล็กน้อยอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความกังวลและการยอมแพ้ ทำนองเดียวกับเวลาที่มันโก่งตัว หางชี้ลง (แต่ไม่ขด) และงอขาเล็กน้อย ขณะที่มันมองไปที่บางสิ่ง
    • การยกเท้าหน้าไปที่บางสิ่ง โดยเอี้ยวตัวหลบ หรือถอยหลังหนี เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความไม่แน่ใจและกำลังสับสน สุนัขที่กำลังเอียงหัวไปด้านนึง แสดงว่ามันกำลังฟังคุณ ด้วยความไม่แน่ใจและรอฟังบางอย่างเพิ่มเติม
    • การแกว่งหางช้าๆ ต่ำลงเล็กน้อยเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสับสันและขอคำอธิบาย หรืออาจเป็นแค่สุนัขที่กำลังสำรวจสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ บางอย่างอยู่ก็ได้
    • หากสุนัขของคุณต่ำลงและอยู่นิ่ง เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความตื่นตัวและกำลังเฝ้ามอง หากหางมันต่ำลง และเกือบไม่ขยับเลย เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความรู้สึกไม่ปลอดภัย [12]
    • หากหางสุนัขของคุณลงต่ำและเคลื่อนไหวเล็กน้อย อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเสียใจหรือรู้สึกไม่ดี
  4. ความก้าวร้าวมักนำไปสู่การจู่โจมแบบไม่ทันตั้งตัวของสุนัข การที่คุณรู้ทันสัญญาณเหล่านี้ จะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์ได้ ก่อนที่จะเลวร้ายกว่าเดิม
    • สุนัขที่มีหางลงต่ำและขดเข้าใต้หว่างขา เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความกังวลใจ หวาดกลัว และรู้สึกไม่แน่นอน [13] [14] หางของมันยังอาจส่ายไปมาด้วย ซึ่งอาจทำให้คุณเข้าใจผิดว่ามันกำลังมีความสุข ท่าทางแบบนี้ยังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันต้องการความเชื่อมั่นและการปกป้อง
    • สุนัขที่หยุดชะงักกลางคัน เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความไม่แน่ใจในตัวเองและต้องการความเป็นส่วนตัว หรือไม่ก็กำลังเตรียมตัวจู่โจม [15] ซึ่งเป็นธรรมดาเวลาที่มันกำลังครอบครองกระดูก อย่าเข้าไปขวางกลางระหว่างสุนัขกับกระดูกเชียว!
    • หากสุนัขของคุณโน้มตัวและเดินทื่อเข้ามา มักเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความก้าวร้าวและขู่เข็ญ ซึ่งเป็นท่าทีเวลาที่มันต้องการโต้ตอบจากการถูกท้าทายก่อน หางมันมักขดงอเข้าไปข้างใต้ หรือไม่ก็แกว่งอย่างบ้าคลั่ง
    • เวลาที่สุนัขกำลังรู้สึกถูกคุกคามหรือคิดจะจู่โจม มันมักจะเหลือกตาขาวใส่คนหรือสิ่งที่มันมองว่ากำลังขู่เข็ญมัน
    • บางทีสุนัขของคุณอาจจะแสดงท่าทีก้าวร้าวและจู่ๆ ก็ส่ายศีรษะและหัวไหล่ นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงมันไม่สนใจแล้ว เป็นเพราะสิ่งๆ นั้นอาจไม่ดูคุกคามมันอีกต่อไป หรือเป็นเพราะสิ่งที่มันคิดไว้ ไม่ได้เกิดขึ้นแล้ว
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

รู้จักสัญญาณบ่งบอกท่าทีจากใบหน้าและศีรษะมัน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนเรามักขยับหูแทบไม่ได้ แต่สุนัขของคุณมันสามารถแสดงอาการทางหูได้มากมายทีเดียว แต่หากตอนมันยังเป็นลูกสุนัข หูมันถูกขลิบหรือตัดออก อาการแสดงออกทางหูก็ย่อมเป็นไปไม่ได้
    • สุนัขที่หูชี้ขึ้นหรือชี้ไปข้างหน้า แสดงว่ามันกำลังตื่นตัวในการเล่น การล่า หรือกำลังจดจ่อกับบางสิ่ง หูของมันยังอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความอยากรู้อยากเห็น อยากทำอะไรสักอย่าง เหมือนกับว่ามันกำลังเงี่ยหูฟังบางสิ่ง สุนัขในวัยกำลังล่า มักจะมีหูแบบนี้อยู่ตลอดเวลา [16]
    • หากหูสุนัขของคุณแบนเรียบ ติดกับกะโหลก เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงมันกำลังกลัวหรือถูกคุกคาม หูที่ชี้มาข้างหน้าและชิดกับศีรษะ ยังบ่งบอกว่ามันกำลังก้าวร้าวด้วย [17]
    • หากสุนัขของคุณมีหูเอียงไปด้านหลัง แต่ไม่ถึงกับแบนราบ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันกำลังไม่มีความสุข กังวล และรู้สึกไม่แน่นอน [18]
  2. การตีความพฤติกรรมและท่าทีสุนัขของคุณทางสายตา. สุนัขก็มีสายตาที่แสดงออกได้เช่นเดียวกับมนุษย์เรา ในเมื่อคุณสามารถเรียนรู้ความหมายจากสายตาของมนุษย์ด้วยกันได้ คุณก็สามารถตีความหมายจากแววตาของสุนัขได้เช่นกัน ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างลักษณะทางแววตาของมัน:
    • ดวงตาเบิกกว้าง: หมายความว่าสุนัขของคุณกำลังตื่นตัว อยากเล่น และเตรียมพร้อม [19]
    • จ้องเขม็ง: แสดงว่าสุนัขของคุณกำลังแสดงท่าทีข่มขู่และท้าทาย
    • หลบสายตา: หากสุนัขของคุณมีท่าทีหลบสายตา แสดงว่ามันกำลังแสดงความสุภาพ คล้อยตาม และยอมอ่อนให้คุณ
    • กะพริบตาถี่: เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันกำลังขี้เล่น
    • หรี่ตา: เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันกำลังก้าวร้าวและเตรียมตัวจู่โจม [20] โดยอาจมีการจ้องเขม็งร่วมด้วย
  3. สุนัขมักจะแสดงออกทางใบหน้าด้วยความรู้สึกหลากหลาย การเข้าใจพฤติกรรมและท่าทีสุนัขของคุณผ่านทางใบหน้าของมัน จะช่วยให้คุณเข้าถึงความรู้สึกและสื่อสารกับสุนัขของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ยิ้ม: เชื่อหรือไหมว่า สุนัขก็สามารถยิ้มได้ แม้ว่าพฤติกรรมและท่าทีสุนัขของคุณ ระหว่างการยิ้มและการแยกเขี้ยวนั้น อาจจะคล้ายคลึงกัน แต่หากคุณสามารถแยกแยะความแตกต่างได้ ก็จะช่วยให้คุณรับมือกับสถานการณ์ได้ดีขึ้น หากมีปัจจัยเกื้อหนุนให้มันมีความสุขอยู่ละก็ แสดงว่ามันกำลังยิ้มอยู่ และเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันกำลังผ่อนคลายและมีความสุข
    • หาว: สุนัขที่กำลังหาว จะหมายถึงอะไรนั้น ขึ้นอยู่กับบริบทต่างๆ คล้ายๆ กับคนเรานั่นเอง (คนเราอาจหาวเพราะเหนื่อยล้า ต้องการออกซิเจนมากขึ้น รู้สึกเครียดหรืออึดอัด หรืออาจเป็นเพียงเพราะเห็นคนรอบข้างหาวก็ได้) สำหรับสุนัขของคุณ การหาวมักจะเป็นพฤติกรรมหมู่คล้ายๆ กับคนเรานั่นเอง [21] ซึ่งแน่นอนว่า หากคุณหาวต่อหน้าสุนัขของคุณ มันก็อาจจะตีความว่าคุณกำลังเครียด (และก็อาจจะเดินหลบไปที่อื่น เพื่อให้คุณมีความเป็นส่วนตัว) หรือมันอาจจะเลียนแบบหรือหาวตามก็ได้ [22] สุนัขยังมักหาวเพื่อลดความเครียด หรือแสดงความสับสน หรืออาจเป็นการแก้เก้อเวลาที่มันถูกคุกคามจากสุนัขหรือสัตว์ตัวอื่น รวมถึงอยู่ในสถานการณ์แปลกๆ
    • การแสดงออกทางปาก: สุนัขที่กำลังฉีกปากไปข้างหลัง โดยหุบหรือเปิดเล็กน้อย เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันกำลังเครียดมาก กำลังตระหรก หรือเจ็บปวดอยู่ [23] ซึ่งอาจมีอาการหอบหรือหายใจรัวๆ ร่วมด้วย แต่หากปากมันฉีกไปข้างหลังแบบอ้าล่ะก็ แค่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันกำลังรู้สึกเฉยๆ หรือยอมตามคุณ ส่วนสุนัขที่กำลังตื่นตัวด้วยความสุขเต็มที่ มักจะหุบปากหรืออ้านิดๆ แบบไม่เห็นฟัน [24]
    • เลียริมฝีปาก: หากสุนัขของคุณเลียริมฝีปากสลับกับหาว เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันกำลังเครียด กดดัน และรู้สึกถูกคุกคามอย่างชัดเจน [25] ซึ่งมักเป็นสัญญาณทางกายที่ใช้ในการสื่อสารของสุนัขในวัยกำลังโตเต็มวัย แต่พฤติกรรมและท่าทีสุนัขของคุณเช่นนี้ ไม่ควรต่อเนื่องมาถึงวัยผู้ใหญ่ หากสุนัขของคุณอยู่ในวัยสมบูรณ์แล้ว การเลียริมฝีปากยังอาจเป็นการแสดงออกทางเพศ เวลาที่มันได้กลิ่นทางเคมีของสุนัขตัวอื่นๆ บนหญ้า พรม หรือบริเวณอวัยวะเพศของสุนัขตัวอื่นๆ โดยตรง [26] สุนัขที่เลียปากสุนัขตัวอื่น เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันกำลังอ่อนคล้อยยอมตาม
    • ยิงฟัน: สุนัขที่กำลังแยกเขี้ยวยิงฟัน เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันกำลังก้าวร้าวเต็มที่ และอยากจะใช้เขี้ยวงับเต็มทีแล้ว [27] แน่นอนว่า การที่มันยิงฟันไม่ได้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความก้าวร้าวเสมอไป คุณควรต้องรู้จักแยกแยะจากปัจจัยอื่นด้วย หากสุนัขของคุณยิงฟันแต่ยังไม่ถึงขนาดมีรอยย่นบนจมูก ก็แสดงว่ามันแค่แสดงอาการข่มขู่หรือหวงอาณาเขต แต่หากสุนัขของคุณทั้งยิงฟัน แยกเขี้ยว จนปากโค้งและมีรอยย่นบนจมูกล่ะก็ แสดงว่ามันกำลังโกรธจัดและเตรียมฟัดแล้ว โอกาสที่มันจะกัดมีสูงมาก
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

ตีความสัญญาณทางกายที่ใช้ในการสื่อสารของสุนัข ผ่านเสียงของมัน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเห่า การคำราม การร้องเสียงหลง หรือหอนออกมา ล้วนแต่เป็นเสียงหรือภาษาที่มีความหมายเป็นเอกลักษณ์ทั้งสิ้น ซึ่งอาจต้องใช้เวลาศึกษาสักหน่อย แต่มันก็สำคัญในการที่จะเรียนรู้สัญญาณทางกายที่ใช้ในการสื่อสารของสุนัข ทั้งนี้ คนส่วนใหญ่มักจะเหมาเอาว่า มันก็เห่าของมันไปอย่างนั้น แต่หากคุณเรียนรู้พฤติกรรมและท่าทีสุนัขของคุณแล้วล่ะก็ คุณจะรู้ว่ามันเป็นสัญญาณทางกายที่ใช้ในการสื่อสารของสุนัขที่แตกต่างกันไป
    • ต้องเข้าใจว่า เมื่อใดที่ปลอดจากเสียงเห่าหรือเสียงอื่นๆ ของสุนัขของคุณ แสดงว่าพวกมันกำลังทำการล่า และไม่ต้องการให้เหยื่อรู้ตัว ซึ่งมันมักจะทำควบคู่ไปกับการสูดกลิ่นในอากาศ หมอบตัวลงต่ำ มีท่าทางทื่อๆ หูขยับไปมาหน้าหลังเพื่อคอยฟังเสียง ปากหุบมิด และดวงตาเบิกโพรง [28] ในทำนองเดียวกัน การปลอดจากเสียงของพวกมัน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่า มันกำลังโอนอ่อนและขอการยอมรับ
  2. สุนัขที่กำลังเห่านั้น เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงหลายสาเหตุ การคอยฟังและสังเกต จะช่วยให้คุณเรียนรู้สัญญาณทางกายที่ใช้ในการสื่อสารของสุนัข ได้ในหลากหลายสถานการณ์
    • เสียงเห่าที่ดังแหลมและถี่ เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความก้าวร้าวและหวงแหนอาณาเขต [29]
    • เสียงเห่าที่สั้นถี่ และแหบแห้ง ดูตื่นตัว เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการแจ้งเตือนให้มนุษย์ (หรือฝูงหมาป่า) รู้ว่ากำลังมีภัยมาเยือน ซึ่งมันอาจจะแยกเขี้ยวคำรามสลับไปด้วย [30]
    • เสียงเห่าสั้นๆ มีชีวิตชีว่า เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันกำลังยินดีทักทายคุณ
    • การเห่าเสียงสูงยังมักเกิดขึ้นเวลาที่สุนัขของคุณกำลังอยากเล่นสนุก ส่วนการเห่าสั้นๆ ก็แสดงความเป็นมิตรได้ ซึ่งสุนัขของคุณอาจจะหอนสั้นๆ หรือครางหงิงๆ ร่วมด้วย [31]
    • หากจู่ๆ สุนัขของคุณหอนเสียงดังแหลมขึ้นมา แสดงว่ามันอาจกำลังเจ็บปวดจากอะไรสักอย่าง
    • สุนัขที่กำลังเห่าเสียงต่ำขึ้นมาลอยๆ หรือเห่าเพียงครั้งนึง อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเตือนของมันให้คุณถอยห่างออกไป
  3. สุนัขแปลกหน้าที่กร่นคำราม มักสร้างความหวดกลัวให้เรา แต่ไม่ใช่ว่ามันจะเป็นการแสดงความก้าวร้าวเสมอไป สุนัขของคุณอาจคำรามในเชิงเล่น หรือเป็นอีกทางเลือกของการเห่าสำหรับมันนั่นเอง อย่างไรก็ตาม คุณควรระวังสุนัขที่กำลังคำรามเอาไว้ เพราะแม้ว่ามันจะเล่นอยู่ แต่ก็อาจเลยเถิดจนรุนแรง และอาจจู่โจมคนที่เข้ามาขัดขวางหรือเข้าใกล้เกินไป
    • สุนัขที่กำลังคำรามเสียงต่ำเบา เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันต้องการให้คุณถอยไป มันเป็นสัญญาณทางกายที่ใช้ในการสื่อสารของสุนัขที่เป็นเจ้าถิ่น หรือแข็งแรงกว่า [32]
    • สุนัขที่กำลังคำรามเสียงต่ำเบาและปิดท้ายด้วยการเห่าสั้นๆ เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันกำลังตอบโต้ต่อภัยคุกคาม ซึ่งอาจนำไปสู่การโมโหจนฟิวส์ขาดของสุนัขของคุณ
    • สุนัขที่กำลังคำรามเสียงกลางๆ สลับหรือปิดท้ายด้วยการเห่า เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่าสุนัขของคุณกำลังรู้สึกว้าวุ่น และอาจก้าวร้าวได้ ควรระวังไว้
    • สุนัขที่กำลังคำรามเสียงต่ำอย่างต่อเนื่องนาน เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่า สุนัขของคุณกำลังมีความกังวลหรือเคลือบแคลงอะไรบางอย่าง
    • เสียงครวญครางหงิงๆ ของสุนัขของคุณ เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันกำลังรู้สึกสุขใจและพึงพอใจ การกร่มคำรามอย่างนุ่มนวลมักแสดงถึงความขี้เล่นมากกว่า; [33] คุณสามารถประเมินได้จากบริบทแวดล้อม และนิสัยส่วนตัวของสุนัขของคุณ การกร่นคำรามแบบขี้เล่นมักจะสลับด้วยการเห่าอย่างตื่นเต้น
  4. ความเข้าใจในสัญญาณทางกายที่ใช้ในการสื่อสารของสุนัขทางการหอนของมัน จะช่วยให้คุณตอบสนองต่อมันได้อย่างเหมาะสม การหอนมีหลายแบบซึ่งมีความหมายแตกต่างกันไป
    • การหอนยาวและต่อเนื่อง เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันรู้สึกโดดเดี่ยวและแปลกแยกจากฝูง หากสุนัขของคุณ เพิ่งมาใหม่ และถูกแยกจากตัวอื่นๆ ในบ้าน มันก็อาจจะหอนในลักษณะนี้ คุณควรจะนำมันมาไว้ใกล้ๆ ตัวเพื่อช่วยคลายเหงาให้มัน
    • การหอนสั้นด้วยเสียงสูง เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่า สุนัขของคุณกำลังมีความสุขและตื่นเต้น
    • การหอนเสียงดังกังวาน เป็นลักษณะอันโดดเด่นของสุนัขสายพันธุ์ที่ถูกเพาะมาเพื่อการล่า ต่อให้สุนัขของคุณไม่เคยถูกฝึกให้เป็นสุนัขล่าก็ตาม
    • การหอนแบบกังวานต่อเนื่อง มักเป็นการตอบโต้กับสุนัขที่กำลังหอน หรือเวลามีเสียงดังรบกวนสุนัขของคุณ คุณอาจสังเกตได้ว่า สุนัขของคุณชอบหอนสวนกับเสียงหวอรถพยาบาลหรือรถดับเพลิง แต่หากสุนัขของคุณหอนแบบดังกล่าวตอนกลางคืน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันกำลังโต้ตอบกับเสียงหอนของสุนัขตัวอื่น ซึ่งมนุษย์เราอาจไม่ได้ยิน
  5. พยายามศึกษาลักษณะการครวญครางของสุนัขของคุณ. การใช้เสียงอีกรูปแบบของสุนัข คือการครวญคราง ซึ่งมีหลายแบบและมีความหมายแตกต่างกันไปตามบริบทต่างๆ เช่นเดียวกับ การเห่า หอน คำราม
    • สุนัขที่กำลังครวญครางแบบสั้น สลับกับการเห่าเล็กน้อย เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่ามันกำลังกระตือรือร้นล้น อยากรู้อยากเห็น และตื่นเต้น [34]
    • การครวญครางแบบสั้นๆ ยังมักเป็นสัญญาณบ่งบอกถึง สุนัขของคุณกำลังกลัวหรือมีความกังวลด้วย
    • การครวญครางด้วยเสียงต่ำ เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่า มีความกังวลเล็กน้อยและพร้อมที่จะโอนอ่อนให้ [35]
    • สุนัขที่กำลังครางเสียงสูงต่อเนื่อง อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่า มันกำลังเรียกร้องความสนใจ ซึ่งอาจเกิดจากความกังวล หรือมันกำลังมีความเจ็บปวดและอึดอัดอะไรสักอย่าง
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

วิธีการสื่อสารของมนุษย์ต่อสุนัข

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. สุนัขของคุณอาจสามารถเข้าใจพฤติกรรมและท่าทางการสื่อสารของคุณบ้าง แต่คุณก็ควรระวังการสื่อสารหรือภาพลักษณ์ของคุณ ซึ่งอาจเผลอไปส่งสัญญาณให้มันเข้าใจผิดๆ ได้ จนทำให้มันเกิดความเครียด กังวล และกลัว แม้ว่าคุณจะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม พยายามตระหนักเสมอว่า สุนัขของคุณกำลังมองดูคุณตลอดเวลา และพยายามเรียนรู้คาดการณ์นิสัย ความต้องการ และกิจวัตรประจำวันของคุณอยู่ตลอดเวลา [36]
    • การผละมือและละสายตาออกจากสุนัขของคุณพร้อมกัน จะทำให้สุนัขตีความหมายพฤติกรรมดังกล่าวว่า คุณไม่อยากแตะต้องมันอีกแล้ว ซึ่งอาจทำให้มันโต้ตอบหรือตอบสนองด้วยพฤติกรรมแย่ๆ [37]
    • การหาว จะทำให้สุนัขตีความหมายพฤติกรรมดังกล่าวว่า คุณกำลังเครียด มันจึงอาจจะรีบเดินหนีไปให้พ้นหน้าคุณ ดังนั้น คุณควรปิดปากเวลาหาวหากสุนัขของคุณชอบตอบสนองการหาวด้วยพฤติกรรมเชิงลบ
  2. ป้องกันการเกิดความรู้สึกอึดอัดให้สุนัขของคุณ. การกระทำบางอย่างอันเป็นปกติและเป็นเชิงบวกของเรา มักจะทำให้สุนัขตีความหมายพฤติกรรมดังกล่าวว่าเป็นไปในเชิงลบ ดังนั้น หากคุณสามารถหลีกเลี่ยงการกระทำบางอย่างที่ทำให้มันอึดอัดโดยไม่รู้ตัว สัตว์เลี้ยงหรือสุนัขของคุณ กับตัวคุณเอง ก็จะมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น
    • การจ้องตา จะทำให้สุนัขตีความหมายพฤติกรรมดังกล่าวว่า เป็นการข่มขู่ได้ นักฝึกสุนัขหลายคนเคยเชื่อว่า การหลบสายตาเรา เป็นการแสดงความดื้อรั้นของสุนัข แต่ตอนนี้พวกเขาเข้าใจแล้วว่า มันเป็นเพียงสัญญาณทางกายที่ใช้ในการสื่อสารของสุนัข ด้วยความสุภาพและยอมตามเราต่างหาก [38]
    • การลงโทษหรือตอบสนองในเชิงลบกับสุนัขที่กำลังกลัว มีแต่จะทำให้มันกลัวมากขึ้น และไม่ช่วยในการฝึกพฤติกรรมด้านบวกให้แก่มันเลย อย่าไปตีความท่าทางอึดอัดและหวาดกลัวของมันว่าเป็นความรู้สึกผิด
    • สุนัขหลายๆ ตัว อาจไม่ชอบให้คนมาลูบหัวเล่น อย่างไรก็ดี พวกมันมักจำเป็นต้องปรับตัวกับพฤติกรรมดังกล่าวของเรา [39] แต่คุณก็ไม่ควรจะไปลูบหัวสุนัขแปลกหน้า จนกว่าจะคุ้นเคยกับมันมากขึ้นก่อน หากคุณอาศัยอยู่ในชุมชนที่ผู้คนชอบแวะเวียนมาเล่นกับสุนัขของคุณ การฝึกให้มันเคยชินกับการถูกลูบหัว ก็เป็นเรื่องสำคัญ
    • การกอดก่ายหรือนัวเนีย ก็เป็นอีกพฤติกรรมที่สุนัขของคุณอาจไม่ค่อยชอบ ธรรมชาติของมัน ปลูกฝังให้พวกมันตีความการถูกโอบจับเช่นนั้นไปได้ 2 ทาง คือหนึ่ง มันกำลังติดกับดักในฐานะเหยื่อ หรือสอง มันกำลังถูกต้อนไปขังหรือฆ่าทิ้ง [40] ด้วยเหตุดังกล่าว สุนัขบางตัวอาจตอบสนองต่อการโอบรัดของคุณ ด้วยการดีดดิ้น หลบหนี หรืออาจจะหันมากัดคุณได้ด้วยซ้ำ ซึ่งหากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น คุณควรเข้าใจสัญชาติญาณของมันและค่อยปรับพฤติกรรมกันไปด้วยความรัก หากคุณมีลูกหลานในบ้าน ต้องคอยดูเวลาที่เด็กๆ กอดก่ายกับสุนัขของคุณด้วย และพยายามเตือนให้เด็กๆ เบือนหน้าหนีสุนัขของคุณเอาไว้ระหว่างที่กอดก่าย
    • สุนัขเป็นสัตว์สังคม และต้องการปฏิสัมพันธ์ ดังนั้น หลีกเลี่ยงการทำให้มันรู้สึกว้าเหว่ โดยเฉพาะในช่วงคืนแรกที่คุณเอาลูกสุนัขมาเลี้ยงที่บ้าน ต้องพยายามอยู่ใกล้มันเอาไว้ โดยอาจเอากรงไว้ในห้องนอนคุณเลย และค่อยๆ ขยับให้ห่างไปถึงบริเวณที่คุณต้องการให้มันนอนในอนาคต ซึ่งจะเป็นการช่วยให้มันรู้สึกดี แต่อย่าเอามันมานอนบนเตียงหากคุณไม่อยากให้มันติดตลอดไป เพราะลูกสุนัขของคุณจะฝังใจและเคยชินกับกิจวัตรดังกล่าวได้
  3. การสั่งอย่างชัดเจน สม่ำเสมอ และกระชับ โดยใช้การสื่อสารทางตรงและคำพูด จะช่วยให้มันเข้าใจความต้องการของคุณได้ดีขึ้น สุนัขส่วนใหญ่ต้องการเอาใจเจ้าของอยู่แล้ว ดังนั้น มักจะพยายามปรับตัวเข้าหาคำสั่งของคุณ
    • พยายามสั่งซ้ำๆ โดยใช้คำสั่งและน้ำเสียงแบบเดิม เพื่อให้สุนัขของคุณเข้าใจและรู้จักชื่อตัวเอง เพื่อที่จะได้คอยฟังคำสั่งในคราวต่อไป
    • คุณควรใช้น้ำเสียงแตกต่างกันไปในแต่ละความรู้สึกที่คุณต้องการสื่อสารกับสุนัขของคุณ สุนัขมักเข้าใจโดยสัญชาติญาณว่า เรากำลังพอใจหรือไม่พอใจมัน หากคุณยิ้มและชมมันว่าเป็นสุนัขที่ดี โดยใช้น้ำเสียงเชิงบวก มันก็จะรู้ว่าตนเองทำถูกต้องแล้ว ในทางกลับกัน หากคุณตำหนิมันด้วยน้ำเสียงดุนิดนึง มันก็จะรู้ว่ากำลังทำผิด ดังนั้น จำข้อนี้ไว้เวลาที่ต้องการฝึกอะไรให้มัน
    • จำไว้ว่า สุนัขของคุณความจำสั้น อย่างไรก็ดี มันมักจะจดจำได้ในเรื่องที่ถูกฝึก จำได้ว่าใครหรือของอะไรอยู่ตรงไหน คุณเป็นใคร และใครเป็นมิตรกับมัน รวมถึงเรื่องที่ทำให้มันได้รับคำชม และเรื่องที่ทำให้มันประหลาดใจ (ทั้งเชิงบวกและลบ) ด้วย
    • การตะโกนใส่ หรือออกท่าทางมากเกินไป หรือเอาอาวุธมาขู่ลงโทษสุนัขของคุณ จะทำให้สุนัขตีความหมายพฤติกรรมดังกล่าวว่า เป็นเพียงความบ้าบอไร้สาระ และไม่ได้ช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมของมันเลย แถมยังจะทำให้สุนัขที่กลัวและหวาดหวั่นอยู่แล้ว ยิ่งมีอาการหนักขึ้นไปอีก พยายามใจเย็นๆ และเก็บพลังงานไว้ พยายามสื่อสารอย่างชัดเจนด้วยเหตุผล
    • จำเรื่องนี้ไว้ เวลาที่คุณจะฝึกสุนัขของคุณ หากคุณกลับมาแล้วเห็นมันกัดโซฟาย่อยยับไปหมด การดุด่ามันจะไม่ช่วยอะไร เพราะมันไม่สามารถเชื่อมโยงพฤติกรรมที่ควรทำกับโซฟาที่ย่อยยับไปแล้วได้
  4. การสื่อสาร 2 ทาง จะช่วยให้คุณกับสุนัขของคุณ มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น การเปิดใจเรียนรู้และทำให้มันเห็นว่าคุณเข้าใจมัน จะช่วยให้คุณรู้ว่าเมื่อไรควรจัดการเวลาที่มันทำบางอย่างผิด
    • ศึกษาว่า สุนัขแต่ละตัวมันมีวิธีสื่อสารกันอย่างไร การนำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในแบบของคุณ จะช่วยให้การสื่อสารประสบความสำเร็จมากขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ศึกษารูปแบบการสื่อสารของสุนัขของคุณ แม้ว่าบทความนี้จะถ่ายทอดลักษณะบางอย่างไว้แล้ว แต่สุนัขแต่ละตัวก็มีความเป็นปัจเจก และอาจสื่อสารในแบอื่นๆ ได้อีก ซึ่งคุณควรใช้เวลากับสุนัขของคุณให้มากๆ เพื่อเรียนรู้
  • พยายามทวนคำสั่งโดยใช้คำพูดและน้ำเสียงเดิม ไม่งั้นสุนัขของคุณจะสับสนได้
  • พยายามใช้น้ำเสียงแสดงความรู้สึกให้ชัดเจน
  • การเรียนรู้วิธีการสื่อสารของสุนัขของคุณ ที่มีต่อสัตว์อื่นๆ นอกเหนือไปจากสุนัขด้วยกันและตัวคุณเอง เป็นเรื่องสำคัญมาก และจะช่วยให้คุณรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ เวลาที่นำสัตว์เลี้ยงอื่นๆ มาไว้ในบ้านและเกิดความยุ่งเหยิงขึ้น ซึ่งจะช่วยรักษาสวัสดิภาพของสัตว์เหล่านั้นไว้ได้ การค่อยๆ ให้พวกมันปรับตัวหากัน คอยเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดด้วยความอดทน จะเป็นสิ่งจำเป็นทุกครั้งที่คุณพาสัตว์เลี้ยงใหม่ๆ มาไว้ในบ้านที่มีสัตว์เจ้าถิ่นอยู่
  • จำไว้ว่า สุนัขแต่ละตัวต่างกัน หากสุนัขของคุณมีนิสัยนิ่งเฉย มันอาจจะฝึกไม่ได้ดีเท่าที่เราเขียนในบทความนี้
  • ยังมีสัญญาณทางกายที่ใช้ในการสื่อสารของสุนัขอีกหลายอย่าง ที่มันใช้แสดงความเครียดและวิตกกังวล รวมถึงความชอบและความรู้สึกอื่นๆ พยายามเรียนรู้เพื่อคาดการณ์สุนัขของคุณ
  • พยายามเข้มงวดกับสิ่งที่คุณตีกรอบเอาไว้ให้สัตว์เลี้ยง เช่น หากคุณไม่อนุญาตให้มันขึ้นไปบนโซฟา ก็ควรจะยึดกฎดังกล่าวไปตลอด
  • หากสุนัขของคุณอาศัยอยู่ในหอพักและไม่มีสวนให้มันปลดทุกข์ พยายามฝึกสอนให้มันขับถ่ายตามคำสั่ง ซึ่งจะช่วยได้มากในกรณีที่สภาพอากาศไม่อำนวย หรือขณะที่คุณกำลังยุ่ง โดยคุณอาจจะฝึกให้มันสั่นกระดิ่งตรงลูกบิดประตู เวลาที่ต้องการให้เปิดประตูออกไปข้างนอก
  • อย่าอุ้มมันขึ้นในในลักษณะที่ทำให้มันเจ็บหรืออึดอัด
  • อย่าให้อาหารสุนัขของคุณตอนที่คุณก็กำลังกินของตัวเองอยู่ ที่จริง ไม่ควรให้มันกินอาหารในห้องเดียวกับคุณด้วยซ้ำ เพื่อป้องกันการขออาหารจากคุณ ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณควรเข้มงวด ในทำนองเดียวกับการห้ามขึ้นโซฟา
โฆษณา

คำเตือน

  • จำไว้ว่า การครวญครางอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึง สุนัขของคุณกำลังเจ็บปวดก็ได้ หากยังไม่รู้สาเหตุก็อย่านิ่งนอนใจ แต่หากไม่สามารถหาสาเหตุได้จริงๆ ควรพาไปพบสัตวแพทย์ด่วน
  • เวลาที่เข้าใกล้สุนัขริมถนน พยายามอยู่เหนือระดับสายตาของมันเข้าไว้ แต่อย่าให้ดูเป็นการข่มเหงมัน จนอาจถูกแว้งกัดได้ การเอ่ยปากคุยกับมันในลักษณะท่าทางแบบนี้ จะช่วยให้คุณปลอดภัย
  • อย่างที่บอกไปว่า สุนัขที่กำลังแกว่งหาง อาจไม่ได้กำลังมีความสุขหรือแสดงความเป็นมิตร แต่ยังมีอีกหลายสาเหตุ (เหมือนที่คนเรายิงฟันได้ด้วยหลายสาเหตุ นอกเหนือไปจากการยิ้ม) หากคุณไม่คุ้นเคยกับสุนัขตัวใด ก็พยายามระมัดระวังเอาไว้เป็นดีที่สุด
  • อย่าบังคับสุนัขของคุณให้ทำอะไร และอย่าตำหนิ ทำโทษรุนแรง หรือทำร้ายมันด้วยวิธีใดก็ตาม
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , pp. 26-27, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  2. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 33, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  3. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 30, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  4. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 30, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  5. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  6. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 30, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  7. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 30, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  8. See Fido, How to speak dog language, http://www.seefido.com/html/dog_language.htm
  9. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 34, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  1. See Fido, How to speak dog language, http://www.seefido.com/html/dog_language.htm
  2. See Fido, How to speak dog language, http://www.seefido.com/html/dog_language.htm
  3. See Fido, How to speak dog language, http://www.seefido.com/html/dog_language.htm
  4. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 34, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  5. See Fido, How to speak dog language, http://www.seefido.com/html/dog_language.htm
  6. See Fido, How to speak dog language, http://www.seefido.com/html/dog_language.htm
  7. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  8. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  9. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  10. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  11. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  12. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 32, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  13. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 32, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  14. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  15. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  16. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 32, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  17. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 32, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  18. See Fido, How to speak dog language, http://www.seefido.com/html/dog_language.htm
  19. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  20. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  21. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  22. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  23. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  24. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  25. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  26. Paws Across America, How to interpret your dog's body language, facial expressions, and vocalizations, http://www.pawsacrossamerica.com/interpret.html
  27. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 26, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  28. Jo Navarro and Marvin Karlins, What Every Body is Saying , p. 118, (2008), ISBN 978-006-1438-295
  29. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 27, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  30. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 29, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2
  31. Sarah Whitehead, The City Dog: The Essential Guide for the Urban Owner , p. 34, (2008), ISBN 978-0-600-61724-2

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 44,343 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา