ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าคุณจะมีอายุ ประสบการณ์ และพื้นเพเป็นมาอย่างไร การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพก็เป็นทักษะที่คุณสามารถเรียนรู้ได้ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่หลายคนในประวัติศาสตร์ ก็เป็นนักพูดและนักสื่อสารที่ยอดเยี่ยมเช่นกัน ที่จริงแล้ว นักศึกษามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสมัยนี้ก็เลือกที่จะเรียนสาขาวิชาการสื่อสารกันด้วย เพราะผู้คนในยุคนี้เริ่มที่จะเล็งเห็นคุณค่าของการเป็นนักสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกันแล้ว ทั้งนี้ ขอเพียงคุณมีความรู้ขั้นพื้นฐานบวกกับความมั่นใจสักนิด คุณก็จะสามารถพิชิตเป้าหมายการเป็นนักสื่อสารที่ดีได้ในเวลาไม่นาน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่างที่คนมักพูดกัน ทุกสรรพสิ่งย่อมมีที่ทางและเวลาอันเหมาะสม การสื่อสารก็เช่นเดียวกัน
    • หลีกเลี่ยงการพูดถึงเรื่องเครียดๆ ในช่วงค่ำของวัน มีไม่กี่คนหรอกที่จะรู้สึกตื่นเต้นในการได้เผชิญกับการได้คิดแก้ปัญหาในเรื่องใหญ่ๆ อย่างเช่นเรื่องเงินหรือเรื่องการจัดตารางเวลางาน ในช่วงที่พวกเขากำลังอ่อนล้ามากที่สุด ดังนั้น แทนที่จะพูดเรื่องดังกล่าวช่วงค่ำ คุณควรเก็บไว้พูดคุยกับเขาหรือเธอในตอนเช้า หรือไม่ก็ตอนกลางวัน ซึ่งเป็นช่วงที่พวกเขารู้สึกตื่นตัว มีเวลามากพอ และมีแนวโน้มที่จะตอบสนองอย่างชัดเจนมากกว่า
  2. พยายามหาสถานที่เหมาะๆ ที่สามารถพูดคุยกันได้อย่างอิสระ สร้างสรรค์ และพร้อมให้ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันด้วยดี หากคุณจำเป็นต้องบอกกล่าวใครในเรื่องที่อาจทำให้นั่งไม่ติดเก้าอี้ (เช่น ข่าวการตายของญาติพี่น้อง หรือการบอกเลิกรากัน) อย่าทำในที่สาธารณะ หรือเวลามีเพื่อนร่วมงานและคนอื่นๆ อยู่ใกล้บริเวณนั้น แต่จงให้เกียรติและใส่ใจผู้รับฟังด้วยการไปพูดคุยกันในที่ๆ เป็นส่วนตัวหน่อย ซึ่งจะช่วยให้มีพื้นที่สำหรับการสนทนาในเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง และมีความเข้าใจร่วมกันได้อย่างไม่อึดอัดใจ และยังเป็นการเปิดทางให้การสื่อสารแบบสองทางเป็นไปอย่างเหมาะสมด้วย
    • หากคุณกำลังจะพูดต่อหน้าคนกลุ่มใหญ่ พยายามเช็คเสียงในบริเวณดังกล่าวล่วงหน้า เพื่อที่จะได้กะประมาณการใช้เสียงได้อย่างเหมาะสม อย่าลืมใช้ไมโครโฟนเมื่อจำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ฟังได้ยินคุณพูดโดยทั่วถึง
  3. ปิดอุปกรณ์อิเล็คทรอนิค ทุกอย่าง ที่อาจจะรบกวนการพูดคุย หากมีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น ก็อาจจะแกล้งหัวเราะหรือปล่อยมุกไปก่อนในครั้งแรก จากนั้นก็ปิดมันลงทันทีเพื่อพูดต่อไป อย่าปล่อยให้มีการรบกวนจากภายนอกซึ่งจะกลายเป็นจุดเบี่ยงเบนความสนใจของการพูดคุย สิ่งเหล่านั้นจะคอยรบกวนทั้งคุณและคนฟัง อีกทั้งยังอาจทำลายการสื่อสารพูดคุยดังกล่าวลงอย่างน่าเสียดาย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

จัดระเบียบการสื่อสาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณควรทำเรื่องนี้ทุกครั้ง ก่อน จะสื่อสารความคิดใดๆ ออกไป หากคุณมีความกระตือรือร้นในการสื่อสารเรื่องใด ความคิดของคุณอาจจะสันสนปนเปไปหมด ในกรณีที่ไม่ได้จัดวางประเด็นสำคัญไว้ให้ดีก่อน ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญ จะทำหน้าที่เหมือนจุดเน้นย้ำการสนทนา เพื่อให้คุณโฟกัสและขยายความในการสื่อสารครั้งนั้นได้
    • กฎหลักๆ ในการสื่อสารคือ คุณควรหาประเด็นหลักไว้สัก 3 จุด เพื่อให้การสื่อสารเน้นย้ำไปที่ประเด็นเหล่านั้น ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถดึงผู้ฟังกลับมาสนใจที่ประเด็นเหล่านี้ได้ทุกครั้งที่มีการเบี่ยงประเด็นไป โดยไม่ทำให้พวกเขาสับสน ทั้งนี้ การเขียนหรือจดสามประเด็นดังกล่าวไว้ก็สามารถช่วยได้ในเวลาจำเป็น
  2. พยายามชี้ให้ชัดถึงสิ่งที่คุณหวังจะสื่อออกไปตั้งแต่เริ่มต้น เช่น จุดประสงค์ของคุณอาจจะเป็นเพื่อการชี้แจงผู้อื่น เก็บข้อมูล รวมถึงเพื่อกระตุ้นให้ผู้อื่นลงมือปฏิบัติงานใดๆ ซึ่งหากพวกเขารู้ว่าคุณคาดหวังสิ่งใดจากพวกเขา การสื่อสารดังกล่าวก็จะราบรื่นขึ้นมาก
  3. หลังจากที่คุณสื่อถึงประเด็นหลักทั้งสามเรื่องของคุณออกไป พยายามพูดให้แน่ใจว่าทุกอย่างที่คุณพูดออกมา จะเป็นการส่งเสริมเพิ่มเติมในประเด็นเหล่านั้นที่คุณต้องการสื่อ หากคุณได้มีการเตรียมการเนื้อหามาอย่างดี และจัดสรรเนื้อหาแต่ละช่วงให้เข้าประเด็นอย่างเหมาะสมแล้ว คุณก็ย่อมจะจดจำจังหวะจะโคนในการพูดแต่ละข้อความสำคัญได้ขึ้นใจ อย่ากลัวที่จะใช้ใจความสำคัญดังกล่าวในการเน้นประเด็นที่คุณต้องการสื่อ เพราะแม้แต่นักพูดที่มีชื่อเสียงและมีความมั่นใจมากที่สุด ก็ยังต้องอาศัยข้อความสำคัญในการเน้นและย้ำประเด็นของพวกเขาเหมือนกัน
  4. ขอบคุณบุคคลหรือกลุ่มผู้ฟังสำหรับการสละเวลามารับฟังและมีปฏิสัมพันธ์ ไม่ว่าผลของการสื่อสารจะจบลงอย่างไร แม้ว่าการตอบสนองต่อการพูดหรือการอภิปรายของคุณอาจจะไม่เป็นไปตามคาดหวัง ก็จงปิดท้ายอย่างสุภาพด้วยการให้เกียรติทุกคนอย่างเหมาะสม สำหรับเวลาและการมีส่วนร่วมจากพวกเขา
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

การสื่อสารด้วยการพูด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณควรทำสิ่งนี้ตั้งแต่ก่อนเริ่มเปิดการสนทนาหรือพรีเซ็นเตชั่น บางครั้งการเริ่มพูดถีงเกร็ดประวัติของตนเองสักเล็กน้อยก็ช่วยได้มาก เพราะคนฟังจะได้รับทราบว่าความเป็นมาของคุณและมองคุณว่ามีบางอย่างเหมือนๆ กับพวกเขา เป็นมนุษย์ปุถุชนที่ประสบปัญหาเหมือนพวกเขาด้วยนั่นเอง
  2. มันสำคัญมากที่จะสื่อสารออกไปอย่างชัดเจนและไม่คลุมเครือ เพื่อที่ข้อความของคุณจะได้มีลักษณะที่ผู้ฟังทุกคนสามารถเข้าใจได้ คำพูดแต่ละคำของคุณจะถูกจดจำได้ก็ต่อเมื่อคนฟังสามารถเข้าใจมันได้ทันทีที่ออกจากปากคุณ ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้หากคุณสื่อสารอย่างมีศิลปะชั้นเชิง และใช้คำที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน
  3. พยายามพูดให้เสียงดังฟังชัดเพื่อที่จะแน่ใจได้ว่าทุกคนได้ยิน และไม่เบาเกินไปจนผู้ฟังไม่สนใจ จงใส่ใจในการพูดย้ำประเด็นสำคัญเป็นพิเศษเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดๆ หากคุณมีปัญหาชอบพูดพึมพำเป็นนิสัยเพื่อป้องกันการอับอายล่ะก็ คุณควรฝึกซ้อมพูดหน้ากระจกบ่อยๆ ก่อน หรือคุณอาจจะฝึกซ้อมสื่อสารกับคนที่คุณสนิทด้วยสักนิดดูก่อน สิ่งนี้จะช่วยให้คุณจดจำคำพูดได้ขึ้นใจด้วย นอกจากนี้ จำไว้ว่า การฝึกฝนและขัดเกลาการออกเสียงอยู่เสมอจะช่วยสร้างความมั่นใจให้คุณได้
  4. จงตั้งใจฟังผู้อื่นและแสดงสีหน้าให้เห็นถึงความสนใจ. พยายามฟังอย่างกระตือรือร้น จำไว้ว่า การสื่อสารมักเป็นสองทางเสมอ หากคุณกำลังพูด ก็จะไม่มีโอกาสเรียนรู้ แต่หากคุณฟังอย่างตั้งใจ คุณจะได้รู้ว่าข้อความของคุณส่งไปถึงคนฟังได้ดีหรือยัง และพวกเขาเข้าใจถูกต้องดีไหม หรืออาจต้องมีการกล่าวซ้ำหรือไม่ หากคนฟังของคุณท่าทางสับสนอยู่ ก็จะเป็นการดีหากคุณถามพวกเขาให้ช่วยทวนในสิ่งที่คุณเพิ่งพูดจบไปในเวอร์ชั่นของพวกเขาเอง ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถระบุและแก้ไขข้อความที่ผิดพลาดไปจากที่คุณต้องการสื่อในตอนแรก
    • แสดงความเข้าใจในความรู้สึกของผู้ฟังด้วย จะช่วยให้พวกเขาเปิดใจรับฟังมากขึ้น และช่วยให้พวกเขารู้สึกดีขึ้นในกรณีที่รู้สึกหัวเสียหรือหงุดหงิด
  5. เสียงที่ราบเรียบจะไม่ค่อยน่าฟังเท่าไร คนที่พูดเก่งมักจะใช้โทนเสียงแตกต่างกันเพื่อสร้างสีสันให้การพูด นักพูดอย่างนอร์มา ไมเคิล ได้แนะนำ [1] ให้คุณ:
    • ใช้เสียงสูงและดังขึ้น เมื่อคุณต้องการจะเปลี่ยนจากประเด็นหนึ่ง ไปสู่ประเด็นใหม่
    • เพิ่มระดับเสียงและพูดให้ช้าลง เมื่อคุณต้องการเน้นใจความสำคัญหรือกำลังสรุปเรื่องใด
    • พูดอย่างรวดเร็วแต่หยุดตรงข้อความสำคัญเมื่อต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

สื่อสารด้วยภาษากาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แน่นอนว่า คุณไม่จำเป็นต้องรู้จักทุกคนหรือเพื่อนหน้าใหม่ที่อยู่ในกลุ่มคนฟัง แต่พวกเขาก็ยอมพยักหน้าคล้อยตามคุณ หรือเห็นด้วยกับคุณกันทั้งนั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขากำลังเชื่อมต่อทางใจกับคุณ ดังนั้น จงตอบแทนพวกเขาด้วยการหัดจดจำพวกเขาให้ได้บ้าง
  2. พยายามแสดงสีหน้าอย่างตั้งใจ เน้นที่การสื่อความกระตือรือร้นและกระตุ้นความเข้าอกเข้าใจจากผู้ฟัง โดยการใช้สีหน้าสื่อถึงการรับรู้อย่างนุ่มนวลและอ่อนโยน หลีกเลี่ยงสีหน้าในเชิงลบ เช่น การขมวดคิ้วหรือเลิกคิ้วขึ้นสูง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทในการพูดและวัฒนธรรมของคนฟังด้วย ดังนั้น จงเอาสถานการณ์เป็นตัวตัดสิน
    • จงรับรู้ถึงพฤติกรรมที่ไม่คาดฝัน อันเกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมให้ทันการ เช่น การกำหมัด ท่าทางการห่อตัว หรือแม้กระทั่งการนิ่งเงียบ [2] หากคุณไม่ได้มีความรู้ลึกซึ้งทางวัฒนธรรมนั้นๆ พยายามค้นหาคำตอบเกี่ยวกับอุปสรรคทางวัฒนธรรมไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะเริ่มการพูดหรือสื่อสารในพื้นที่ๆ แตกต่างจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของคุณ
  3. การสบตาจะสร้างการเชื่อมต่อกับผู้ฟัง และช่วยสื่อให้พวกเขารู้ถึงความเชื่อถือได้ของคุณ แถมยังเป็นการแสดงความสนใจด้วย ดังนั้น ในระหว่างการสนทนาหรือพรีเซ็นเตชั่น มันจึงสำคัญมากที่คุณสบตาทุกครั้งที่ทำได้ และใช้เวลาในการสบตาดังกล่าวอย่างพอประมาณ พยายามอย่าให้ดูจงใจเกินไป การสบสายตาควรเป็นไปอย่างธรรมชาติ ประมาณ 2-4 วินาทีต่อครั้ง [3]
    • พยายามจำไว้ว่าต้องมีส่วนร่วมกับคนฟังให้มากที่สุด หากคุณกำลังพูดในที่ประชุมกรรมการ พยายามสบตากรรมการทุกคนอย่างทั่วถึง การเว้นคนใดคนหนึ่งไว้ อาจเป็นการแสดงความดูหมิ่น และทำให้คุณพลาดโอกาสในหน้าที่การงาน ธุรกิจ และการบรรลุข้อตกลงได้ ไม่ว่าคุณกำลังคาดหวังสิ่งใดก็ตาม
    • หากคุณกำลังพูดถึงใคร พยายามสบสายตากับคนๆ นั้นเป็นเวลาประมาณสองวินาที ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่ประเด็นที่พูดต่อไป ซึ่งเป็นการช่วยให้คนๆ นั้น รู้สึกว่าคุณให้คุณค่าแก่เขาหรือเธอ
    • ตระหนักว่าการสบสายตานั้น อาจไม่ได้เหมือนกันในทุกวัฒนธรรม บางสถานที่อาจมองว่าการสบตาดูไม่เหมาะสมและสื่อได้หลายนัยยะ พยายามสอบถามและหาข้อมูลให้ดีก่อนทุกครั้ง
  4. การเว้นจังหวะ มีพลังในการสื่อสารมากทีเดียว นักพูดอย่างไซม่อน เรโนลด์ กล่าว่า การเว้นจังหวะสักนิด จะช่วยโน้มน้าวให้คนฟังหันมาสนใจ ซึ่งคุณสามารถใช้จังหวะดังกล่าวนี้ในการเน้นย้ำประเดนสำคัญ และปล่อยให้ผู้ฟังได้ครุ่นคิดเกี่ยวกับสิ่งนั้นสักพัก นอกจากนี้ มันยังช่วยให้การพยายามสื่อสารของคุณดูพลาดไม่ได้ และทำให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลายกับเนื้อหาที่คุณพูด รวมถึงรู้สึกว่ามันเข้าใจได้ง่ายด้วย [4]
    • พยายามสูดลมหายใจลึกๆ เพื่อสร้างความหนักแน่นให้ตนเองก่อนเริ่มการพูดหรือสื่อสาร
    • ฝึกหายใจให้สม่ำเสมอและเต็มที่ในระหว่างการสนทนาทุกครั้ง จะช่วยให้น้ำเสียงคุณมีความสม่ำเสมอและไม่สั่นเครือ แถมทำให้ตนเองรู้สึกผ่อนคลายด้วย
    • พยายามหาจังหวะหยุดพักเป็นช่วงๆ ระหว่างพูด เพื่อหายใจ
  5. ใช้ท่าทางของมือประกอบอย่างรอบคอบ พยายามสังเกตว่ามันเป็นไปในลักษณะใด เพราะท่าทางของมือบางอย่างอาจเป็นผลดีในการเน้นประเด็นสำคัญ (เช่น ท่าทางแบบเปิดกว้าง) แต่บางท่าทางจะทำให้ผู้ฟังรำคาญและรู้สึกแย่มากกว่า แถมยังอาจสื่อถึงการไม่อยากสนทนาโดยไม่ได้ตั้งใจด้วย (เช่น ท่าทางแบบปิดกั้น) คุณอาจลองสังเกตดูท่าทางของมือเวลาที่นักพูดคนอื่นกำลังพูด เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาก็ได้ จากนั้น ก็พยายามนำท่าทางที่ดูมีประสิทธิภาพและดึงดูดผู้ฟังมาใช้บ้าง ส่วนใหญ่แล้ว จะเห็นได้ว่า ท่าทางประกอบที่ดีมักจะเป็นธรรมชาติ ช้าๆ และดูอ่อนโยน
  6. ตระหนักถึงดวงตาที่เลิ่กลั่กไปมาของตัวเอง หรือการเอามือหยิบจับสิ่งใดแก้เขิน รวมถึงการหายใจฟึดฟัดและท่าทางการโยกเยกของลำตัว หรือลักษณะทางลบอื่นๆ ด้วย พยายามรู้ทันว่า ลักษณะท่าทางที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่ส่งผลให้การพูดหรือสื่อสารของคุณด้อยประสิทธิภาพลง
    • หาใครสักคนมาช่วยอัดคลิปการพูดของคุณเอาไว้ จากนั้น ก็ศึกษาลักษณะการพูดของตนเองแบบคร่าวๆ ซึ่งคุณอาจจะสังเกตเห็นพฤติกรรมซ้ำๆ หรือนิสัยแปลกๆ บางอย่างที่ดูตลกของตนเองได้ไม่ยาก หลังจากตระหนักในจุดนี้แล้ว มันก็จะง่ายขึ้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวและสำรวจภาพลักษณ์ที่ปรากฏออกมา
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ขัดแย้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่ายืนค้ำหัวคนอื่น เพราะมันจะสื่อถึงการท้าทายและอาจนำไปสู่ความบาดหมางที่รุนแรงมากขึ้นได้ หากคนฟังนั่ง คุณก็ควรจะนั่งกับเขาหรือเธอเช่นเดียวกัน
  2. ปล่อยให้พวกเขาระบายสิ่งที่รู้สึกบ้าง รอให้พวกเขาพูดเสร็จสิ้นเสียก่อน แล้วจึงค่อยพูดในสิ่งคุณต้องการบ้าง
  3. อย่าตำหนิหรือตะคอกกล่าวโทษอีกฝ่าย หรือพฤติกรรมของพวกเขา
  4. พยายามสื่อในลักษณะที่ว่า “หากผมเข้าใจถูกต้อง คุณกำลังบอกว่า…”
  5. พยายามอย่าตัดบทการโต้แย้งด้วยประการทั้งปวง. หากมีใครเดินออกจากการโต้แย้ง อย่าตามพวกเขาไป ปล่อยให้พวกเขาทำเช่นนั้นไป และรอให้พวกเขากลับมาเองเมื่อพวกเขารู้สึกสงบลง หรือต้องการสนทนาใหม่อีกครั้ง
  6. การทำเช่นนี้ก็เป็นการแสดงความท้าทายเช่นกัน ซึ่งรังแต่จะกระตุ้นให้สถานการณ์รุนแรงขึ้นไม่รู้จบ บางครั้งคุณแค่ต้องยอมเห็นด้วยในเรื่องที่ไม่เห็นด้วย และเดินหน้าต่อไป
  7. เวลาที่คุณต้องการแสดงความเห็น พยายามเริ่มต้นด้วยคำว่า “ผม/ดิฉัน…” และย้ำให้ชัดเจนถึงความรู้สึกหรือความเห็นที่คุณมี จะช่วยให้อีกฝ่ายเข้าถึงความเห็นของคุณ และมีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น เช่น แทนที่จะพูดว่า “คุณเอาแต่เพิกเฉยเรื่องนี้ ซึ่งมันทำให้ผมประสาทเสีย” คุณอาจพูดว่า “ผมรู้สึกว่าความยุ่งเหยิงบางอย่างอาจเป็นปัญหาของเราทั้งคู่ ความรกรุงรังเป็นสิ่งที่สามารถรบกวนจิตใจ และเป็นอุปสรรคต่อการใช้ความสามารถของผม พูดตรงๆ นะ ความยุ่งเหยิงที่ว่านี้มันก่อกวนผมได้มากกว่าที่มันทำกับคนอื่น”
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ใช้อารมณ์ขันอย่างระมัดระวัง. แม้ว่าบางครั้งการสอดแทรกอารมณ์ขันจะมีประสิทธิภาพในการสื่อสาร แต่พยายามอย่าให้เลยเถิดและอย่าใช้มันสื่อแทนเรื่องที่กำกวม หากคุณเอาแต่ทำตลกโปกฮา ผู้ฟังจะไม่จริงจังกับการสื่อสารของคุณ
  • อย่าเรียกร้องหรือเหวี่ยงใส่คนฟัง พฤติกรรมทั้งสองอย่างนี้ย่อมไม่สามารถทำให้พวกเขาสนใจหรือเคารพในตัวคุณได้ หากคุณหงุดหงิดจริงๆ พยายามขอเวลานอกออกไปก่อน และกลับเข้ามาใหม่หลังจากที่คุณได้ไตร่ตรองทุกอย่างรอบคอบแล้ว
  • พยายามสบสายตาเวลาสื่อสารกับผู้ฟัง
  • พยายามอย่าสื่อภาษากายในเชิงลบหรือดูน่าหดหู่
  • อย่าพล่ามนอกเรื่อง มันจะทำให้การสื่อสารของคุณไม่ได้รับการใส่ใจ หรือเข้าใจอย่างถูกต้อง
  • ลองหาคลิปการพูดของนักพูดชื่อดังมาศึกษา โดยเฉพาะคลิปที่มีคนดูเยอะที่สุด Ted Talks ในโลกออนไลน์มีคลิปในลักษณะดังกล่าวให้คุณศึกษามากมายได้อย่างง่ายดาย จงใช้คลิปเหล่านั้นเป็นเสมือนโค้ชการพูดส่วนตัวของคุณ
  • หลีกเลี่ยงการพูดหยาบคาย
  • กรณีที่คุณจะทำการพรีเซ็นเตชั่นให้กลุ่มคนฟังใหญ่ๆ พยายามเตรียมคำตอบสำหรับคำถามยากๆ เอาไว้ จะได้ไม่ถูกทำให้ไขว้เขวหรือเสียศูนย์ระหว่างการนำเสนอ วิทยากรชื่อดังอย่างไมเคิล บราวน์ แนะนำว่า หากคุณต้องการรักษาสถานการณ์ไว้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณควรใช้กฎทองคำในบริบทดังกล่าวนี้ นั่นคือ คุณควรรับฟังเสมือนกับว่าเป็นตัวแทนของคนฟังทุกคน รวมถึงทำการกล่าวย้ำถึงประเด็นที่ถูกถามนั้น และถามกลับตามความเหมาะสม โดยพูดให้ทุกคนในกลุ่มคนฟังได้รับทราบโดยทั่วกันด้วย ซึ่งทำได้โดยละสายตาออกจากคนที่ถาม และหันไปสบตากับคนอื่นๆ ในสถานที่นั้น เพื่อเป็นการเน้นให้พวกเขารับทราบคำตอบร่วมกัน จากนั้น ก็ใช้คำตอบหรือจังหวะนี้ในการเปลี่ยนหัวข้อเพื่อพูดต่อไป [5]
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Norma Michael, How to Say What You Mean , (1988), p.33, ISBN 0-474-00303-5
  2. Don W Prince and Michael H Hoppe, Listen and Watch for Cultural Differences , in Communicating Across Cultures , (2000), pp.14-19
  3. Linda Talley, Body Talk , Career World, a Weekly Reader publication 38.6, (April-May 2010), p.6
  4. Siimon Reynolds, Why People Fail; The 16 obstacles to success and how you can overcome them , (2010), p. 94, ISBN 978-0-670-07431-0
  5. Michael Brown, Speaking Easy , (undated), Media Associates, NZ, p.114.
  6. บางส่วนของบทความนี้มีที่มาจาก FEMA, Effective Communication: An Independent Study , ธันวาคม 2005 PDF document - downloads on clicking , ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลฟรีของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ
  7. Center for Nonverbal Studies, ( http://center-for-nonverbal-studies.org/ CN), ซึ่งเป็นองค์กรที่อุทิศให้การศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารแบบไม่ใช้คำพูด ซึ่งคุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมในหัวข้อดังกล่าวเพิ่มเติมได้

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 56,534 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา