ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
คุณกลัวที่จะตกหลุมรักหรือเปล่า? การถูกรักโดยใครสักคนทำให้คุณกลัวหรือปล่า? รอยแผลจากความรักครั้งก่อนอาจทำให้คุณหลีกเลี่ยงความรักเพราะกลัวว่าจะเจ็บอีกครั้ง หากคุณกลัวการที่จะรักหรือถูกรักก็สามารถใช้วิธีเหล่านี้ในการรับมือกับความกลัว คุณสามารถระบุที่มาของความกลัว ความคิดเชิงลบและความกลัวให้เพื่อนหรือคนรักฟังได้ บางครั้งความกลัวที่จะรักหรือถูกรักอาจจะต้องใช้ความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญแต่คุณสามารถลองก้าวผ่านความกลัวเหล่านี้ด้วยตัวเองก่อน
ขั้นตอน
-
นึกว่าทำไมคุณถึงกลัวการที่จะรักหรือถูกรัก. ขั้นตอนแรกในการรับมือกับปัญหาของคุณเกี่ยวกับการที่จะรักหรือถูกรักคือการระบุความกลัวที่รั้งคุณอยู่เพราะมีความกลัวหลายแบบที่ทำให้คนเรากลัวการที่จะรักหรือถูกรัก [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- พิจารณาความรู้สึกของคุณและพยายามหาว่าความกังวลหลักของคุณคืออะไร คุณกลัวว่าอะไรจะเกิดขึ้นหากคุณปล่อยตัวเองให้รักหรือถูกรัก
- ลองเขียนเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณเพื่อค้นคว้ามันให้ลึกลงไป การเขียนความกลัวเกี่ยวกับความรักอาจจะช่วยให้คุณระบุต้นตอของความกลัวและการเขียนอาจจะช่วยให้คุณจัดการกับความรู้สึกได้เช่นกัน
-
นึกถึงความสัมพันธ์ครั้งก่อนๆ. วิธีหนึ่งที่คุณสามารถเริ่มเข้าใจความกลัวเกี่ยวกับการรักหรือถูกรักคือการนึกย้อนไปยังความสัมพันธ์ครั้งก่อนๆ พิจารณาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์และวิธีที่คุณจัดการกับปัญหาเหล่านั้น [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- คุณประสบปัญหาอะไรในความสัมพันธ์? คุณทะเลาะกันเรื่องอะไร? อะไรคือสาเหตุที่คุณบอกเลิก? คุณจัดการกับปัญหาเหล่านั้นอย่างไร? ความคิดอะไรที่ทำให้คุณโต้ตอบในแบบนั้น?
-
มองย้อนไปยังวัยเด็กของคุณ. บางครั้งประสบการณ์ในวัยเด็กอาจจะส่งผลไปยังความสามารถในการรักหรือถูกรักได้ หากคุณมีประสบการณ์ที่ลำบากในวัยเด็ก คุณก็อาจจะดึงเอาความรู้สึกเหล่านี้ไปยังความสัมพันธ์เมื่อเป็นผู้ใหญ่ พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณหรือรอบตัวคุณในวัยเด็กและผลที่อาจจะกระทบคุณเมื่อเป็นผู้ใหญ่ [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- คนในบ้านชอบทะเลาะกันเมื่อตอนคุณเป็นเด็กหรือเปล่า? คุณรู้สึกว่าพ่อแม่ทอดทิ้งหรือไม่รักคุณหรือเปล่า? ประสบการณ์เหล่านี้ทำให้คุณรู้สึกอย่างไร?
-
พิจารณาความกลัวที่คนส่วนใหญ่มีเกี่ยวกับการที่จะรักหรือถูกรัก. หลายคนกลัวการที่จะรักหรือถูกรัก ท่ามกลางความกลัวเหล่านั้นคือความกลัวการเจ็บปวด ความกลัวการทำให้บางคนเจ็บปวดและความกลัวการผูกมัด พิจารณาความกลัวต่างๆ เหล่านี้และพยายามนึกให้ออกว่าความกลัวของคุณสอดคล้องกับความกลัวแบบไหน [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ความกลัวการเจ็บปวด หากคุณเคยเจ็บปวดกับความสัมพันธ์ครั้งก่อนๆ คุณจะรู้ว่ามันเจ็บแสนสาหัสแค่ไหนและคุณอาจจะอยากปกป้องตัวเองไม่ให้รู้สึกแบบนั้นอีก ผลก็คือคุณอาจจะพยายามป้องกันตัวจากการตกหลุมรักเพื่อจะได้ไม่ต้องรู้สึกถึงอารมณ์ที่เจ็บปวดแบบนั้นอีก
- ความกลัวการทำให้บางคนเจ็บปวด คุณอาจจะเคยทำให้คนอื่นเจ็บปวดมาในความสัมพันธ์ครั้งก่อนๆ และมันทำให้คุณรู้สึกผิด ผลก็คือคุณอาจจะต้องการหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ครั้งใหม่และก่อความเจ็บปวดแบบเดิมๆ ให้กับใครบางคนที่คุณแคร์อีก
- ความกลัวการผูกมัด บางทีความคิดเรื่องการที่ต้องผูกมัดกับใครสักคนไปตลอดชีวิตทำให้คุณกลัว คุณจึงไม่ปล่อยให้ตัวเองผูกพันกับใครสักคน
- ความกลัวการสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง บางคนคิดว่าการตกหลุมรักคือการที่พวกเขาต้องเสียตัวตนบางส่วนไปซึ่งอาจจะฟังดูน่ากลัวและทำให้บางคนหลีกเลี่ยงความรัก
-
ดูว่าคุณคิดว่าตัวเองคู่ควรกับการถูกรักหรือเปล่า. บางคนมีปัญหากับการรักหรือถูกรักเพราะพวกเขาเชื่อว่าตัวเองไม่น่ารักหรือไม่คู่ควรที่จะถูกรัก ความเชื่อนี้อาจจะเป็นผลจากการถูกทอดทิ้ง ไม่ใส่ใจหรือประสบการณ์อื่นๆ ในวัยเด็กซึ่งทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าพอที่จะถูกรัก [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงเคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ
"ความรักจากตัวเราเองและผู้อื่นสามารถช่วยเรารู้สึกว่าตนเองมีค่า ลึกๆ ในใจแล้วนั้น เราทุกคนต่างต้องการจะถูกรักและปรารถนา"
Moshe Ratson, MFT, PCC
นักบำบัดชีวิตคู่และครอบครัวMoshe Ratson, MFT, PCC
นักบำบัดชีวิตคู่และครอบครัว -
ดูว่าคุณกำลังเผชิญกับวิกฤตเกี่ยวกับความรักหรือเปล่า. บางคนกลัวความรักเพราะมันทำให้พวกเขาคิดเกี่ยวกับความไม่จีรังของชีวิต การรักใครสักคนและถูกรักโดยคนๆ นั้นสามารถทำให้ความคิดเรื่องของความตายดูน่ากลัวกว่าเดิมเพราะคุณต้องสูญเสียเขาไปในสักวัน บางคนอาจจะหลีกเลี่ยงการรักหรือถูกรักเพราะความรู้สึกเชิงลบที่น่ากลัวเหล่านี้ [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
-
ท้าทายความคิดเชิงลบของคุณ. นอกจากความสัมพันธ์ครั้งก่อนๆ และประสบการณ์ในวัยเด็กแล้ว การคิดในแง่ลบก็อาจจะกันไม่ให้คุณรักหรือถูกรัก บางคนคิดเกี่ยวกับตัวเองและคนรักในแง่ลบซึ่งทำให้ความสัมพันธ์นั้นทุกข์ทรมาน อย่าปล่อยให้ความคิดแง่ลบเหล่านั้นมาวนเวียนอยู่ในหัวของคุณโดยไม่ได้พูดหรือตีกรอบมันใหม่ การทำเช่นนั้นจะช่วยให้คุณเปลี่ยนกรอบความคิดและหยุดยั้งความกลัวการที่จะรักหรือถูกรักได้ ครั้งต่อไปที่คุณมีความคิดแง่ลบในก็จงเปลี่ยนให้มันเป็นแง่บวก [7] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- เช่น หากคุณกังวลเกี่ยวกับการถูกปฏิเสธ คุณก็อาจจะคิดว่า “เธออยู่คนละชั้นกัน เธอต้องทิ้งฉันไปแน่ๆ” หรือหากคุณรู้สึกว่าไม่คู่ควรกับการถูกรักคุณก็อาจจะคิดว่า “เรามันขี้เหร่เกินกว่าจะไปรักใคร อย่าแม้แต่คิดเลย”
- ความคิดเหล่านี้ทำลายความเชื่อมั่นในตัวเองของคุณและความสามารถในการรักและถูกรัก หากคุณกำลังรับมือกับความคิดเชิงลบแบบนี้คุณจะต้องกำจัดและเปลี่ยนมันให้ได้
- ครั้งต่อไปที่คุณพบว่าตัวเองกำลังคิดในแง่ลบ คุณต้องหยุดตัวเองและเปลี่ยนความคิด หากคุณคิดกับตัวเองว่า “เธออยู่คนละชั้นกัน เธอต้องทิ้งฉันไปแน่ๆ” ให้เปลี่ยนสิ่งนั้นมาเป็นแง่บวก เช่น “เธอเป็นคนสวย ฉันตื่นเต้นที่จะดูว่าความสัมพันธ์นี้จะเป็นอย่างไร”
-
ฝึกสร้างความคิดแง่บวกเกี่ยวกับความรัก. คุณอาจจะได้ประโยชน์จากการพูดกับตัวเองในแง่บวกเกี่ยวกับความรัก ลองใช้คำตอกย้ำเชิงบวกประจำวันเพื่อสร้างความรู้สึกแง่บวกเกี่ยวกับความรัก คำตอกย้ำเชิงบวกประจำวันสามารถช่วยให้คุณรับมือกับอารมณ์เชิงลบที่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของความกลัวของคุณเกี่ยวกับความรัก ลองใช้เวลาสักนิดทุกๆ วันเพื่อมองตัวเองในกระจกและพูดสิ่งที่เป็นแง่บวกต่างๆ เกี่ยวกับความรัก คุณสามารถพูดสิ่งที่คุณเชื่อหรืออยากจะเชื่อเกี่ยวกับความรักก็ได้ [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ตัวอย่างของสิ่งที่คุณอาจจะบอกตัวเองมีดังนี้:
- “ฉันควรค่ากับความรัก”
- “ฉันจะมีความสัมพันธ์ที่เติมเต็มและเอ่อล้นไปด้วยความรักในสักวัน”
- “ความรักเป็นสิ่งที่สวยงาม”
-
ยอมให้ตัวเองอ่อนแอ. ความอ่อนแอถูกตีความว่าเป็นความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่มากับการเปิดรับทางอารมณ์ [9] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง . คนที่กลัวการรักและถูกรักมักจะตั้งกำแพงขึ้นมาให้กับความสัมพันธ์ หากคุณต้องการเอาชนะความกลัวการรักและถูกรักคุณจะต้องลดกำแพงลงและยอมให้ตัวเองอ่อนแอกับคนรัก สิ่งนี้อาจจะฟังดูน่ากลัวแต่มันเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการรู้สึกสบายๆ กับความรักมากขึ้น กำแพงที่ตั้งขึ้นเพื่อป้องกันความรู้สึกส่วนใหญ่คือการอยู่ในโลกที่แห่งจินตนาการหรือการนำเสนอตัวตนในทางที่ไม่ค่อยน่าพิสมัยนัก [10] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ระบุกำแพงที่คุณใช้เพื่อกันตัวเองไม่ให้รู้สึกอ่อนแอ กำแพงเหล่านั้นคืออะไร? คุณจะลดกำแพงลงและเริ่มยอมให้ตัวเองเป็นคนที่อ่อนแอมากขึ้นได้อย่างไร?
- ในความสัมพันธ์ครั้งต่อไปให้คุณลองมองไปยาวๆ โดยการใช้ความทรงจำของความสุขในอดีตเป็นหลักประกันสำหรับอนาคตหรือการระลึกถึงการผูกมัดครั้งนั้นและสัญญาที่คุณให้ไว้แก่กัน
-
พูดถึงความกลัวให้คนรักหรือเพื่อนของคุณฟัง. การพูดกับใครสักคนเกี่ยวกับความกลัวและความรู้สึกอาจจะช่วยให้คุณรับมือกับความกลัวการรักและถูกรักได้ หากคุณอยู่ในความสัมพันธ์ก็ลองแบ่งปันความรู้สึกเหล่านี้ให้คนรักฟัง การบอกคนรักว่าคุณรู้สึกอย่างไรสามารถเปิดโอกาสสำหรับความใกล้ชิดที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นในความสัมพันธ์ได้ คุณควรพูดเรื่องนี้กับคนรักเมื่อคุณทั้งคู่รู้สึกสงบ ไม่ใช่หลังจากหรือระหว่างที่ทะเลาะกัน [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- หากคุณไม่ได้อยู่ในความสัมพันธ์หรือไม่พร้อมที่จะพูดกับคนรักเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณก็ลองพูดกับเพื่อนที่ไว้ใจได้แทน
- ลองเริ่มด้วยการพูดว่า “ฉันว่าปัญหาของความสัมพันธ์ในอดีต/ปัจจุบันของฉันเกิดจากความกลัวเกี่ยวกับความรัก ฉันกำลังพยายามจัดการความรู้สึกเหล่านั้นเพื่อที่มันจะหมดไป คุณพร้อมที่จะพูดเรื่องนั้นกับฉันไหม?”
-
ลองพูดคุยกับผู้ให้คำปรึกษาหากปัญหาของคุณยังไม่หมดไป. บางครั้งความกลัวการรักหรือถูกรักก็หนักหนาจนคุณต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ให้คำปรึกษา หากปัญหาของคุณไม่หมดไปถึงแม้คุณจะพยายามทำให้สิ่งต่างๆ ดีขึ้นก็ลองพูดคุยกับผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ ผู้ให้คำปรึกษาสามารถช่วยให้คุณขุดต้นตอของปัญหาและจัดการกับมันเพื่อคุณจะสามารถมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในอนาคตได้โฆษณา
เคล็ดลับ
- ใจเย็นและอดทน มันอาจจะใช้เวลาในการรับมือกับความกลัวการที่จะรักหรือถูกรัก คุณควรพยายามและขอความช่วยเหลือหากคุณไม่สามารถทำสิ่งที่ต้องการได้
- ความรักเป็นสิ่งที่วิเศษ คุณอาจจะเจ็บปวดแต่คุณจะสามารถรักได้อีกครั้ง
โฆษณา
คำเตือน
- หากคุณถูกทำร้ายทางร่างกายจากความสัมพันธ์นี้ คุณควรขอความช่วยเหลือเพื่อที่จะออกจากความสัมพันธ์นี้ หากคุณเคยโดนทำร้ายคุณอาจจะไม่สามารถรับมือกับความกลัวที่จะรักด้วยตัวเองได้
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/compassion-matters/201401/7-reasons-most-people-are-afraid-love
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/compassion-matters/201402/5-ways-overcome-your-fear-love
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/compassion-matters/201402/5-ways-overcome-your-fear-love
- ↑ http://www.psychalive.org/7-reasons-most-people-are-afraid-of-love/
- ↑ http://www.psychalive.org/7-reasons-most-people-are-afraid-of-love/
- ↑ http://www.psychalive.org/7-reasons-most-people-are-afraid-of-love/
- ↑ http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/positive-thinking/art-20043950?pg=2
- ↑ http://www.researchgate.net/profile/Hart_Blanton/publication/232586031_From_dissonance_to_disidentification_Selectivity_in_the_self-affirmation_process/links/5445a57c0cf22b3c14ddeb21.pdf
- ↑ http://psychcentral.com/blog/archives/2012/08/29/3-myths-about-vulnerability/
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,869 ครั้ง
โฆษณา