PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

คุณเคยพบว่าตัวคุณกำลังพูดกับตัวเองบ้างไหม แม้ว่าการพูดกับตัวเองนั้นจริงๆ แล้วอาจจะเป็นสัญญาณของสุขภาพที่ดี แต่คุณก็อาจจะพบว่ามันรบกวนชีวิตของคุณและชีวิตของผู้อื่นได้ในบางครั้งเช่นกัน [1] มีวิธีมากมายให้เรียนรู้เพื่อที่จะหยุดพูดกับตัวเองและคิดว่าทำไมคุณถึงได้ทำแบบนั้นในตอนแรก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การประเมินการพูดกับตัวเองของคุณ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาคำตอบว่าการพูดกับตัวเองนั้นเป็นตัวของคุณเองหรือเป็นเสียงอื่น. ถ้าคุณกำลังได้ยินเสียงเสียงที่ไม่ใช่ของคุณเอง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตเนื่องจากนี่อาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาทางจิตที่รุนแรงกว่า
    • วิธีหนึ่งในการตรวจสอบว่าเสียงนั้นเป็นของคุณหรือไม่ ก็คือให้ตรวจสอบว่าคุณรับผิดชอบมันหรือเปล่า ถ้าคุณไม่ได้รับผิดชอบต่อเสียงนั้น (เช่น คุณกำลังคิด ทำ และพูดคำเหล่านั้นอย่างมีสติหรือเปล่า) และถ้าคุณไม่มีเบาะแสว่าเสียงนี้จะพูดอะไรต่อไป นี่อาจจะเป็นสัญญาณของโรคทางจิต เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า หรือโรคจิต=
    • อาการอื่นๆ ของโรคทางจิตนั้น ได้แก่ การได้ยินเสียงมากกว่าหนึ่งเสียง การประสบกับความคิดที่ไม่มีคำพูด การมองเห็น รส กลิ่น และสัมผัสที่คุณไม่เคยรู้สึกว่ามีอยู่จริง การประสบกับเสียงในความฝันแบบรู้ตัวที่รู้สึกเหมือนจริง การประสบเสียงที่เกิดขึ้นทั้งวันและส่งผลกระทบด้านลบต่อบทบาทในชีวิตประจำวันของคุณ (เช่น คุณกลายเป็นคนสันโดษและเก็บเนื้อเก็บตัว หรือเสียงเหล่านั้นข่มขู่คุณถ้าคุณไม่ทำสิ่งที่พวกมันพูด)
    • ถ้าคุณกำลังประสบอาการใดๆ เหล่านี้ในช่วงที่คุณพูดกับตัวเองแล้วล่ะก็ คุณจำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อป้องกันโรคจิตเภทที่อาจจะส่งผลกระทบในแง่ลบต่อชีวิตและสุขภาพของคุณ
  2. คุณพูดกับตัวเองเรื่องอะไร คุณกำลังเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างวันใช่ไหม คุณกำลังวางแผนว่าคุณต้องทำอะไรต่อไปหรือเปล่า คุณกำลังพูดถึงสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้หรือเปล่า คุณกำลังท่องประโยคจากภาพยนตร์หรือไม่ [2]
    • การพูดกับตัวเองไม่ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่ดีเสมอไป การพูดความคิดของคุณออกมาสามารถช่วยให้คุณจัดระเบียบความคิดเหล่านั้นได้ และยังสามารถช่วยให้คุณใช้เวลาคิดทบทวนสิ่งต่างๆ อย่างระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ต้องตัดสินใจเรื่องยากๆ เช่น จะไปเรียนที่มหาวิทยาลัยที่ไหน หรือจะซื้อของขวัญชิ้นนี้หรือชิ้นนั้นให้บางคนหรือไม่ [3]
  3. ประเมินว่าปกติแล้วการพูดกับตัวเองของคุณนั้นเป็นด้านบวกหรือด้านลบ. การพูดกับตัวเองในด้านบวกจริงๆ แล้วอาจจะดีสำหรับคุณในสถานการณ์ที่คุณอยากจะรู้สึกว่ามีแรงกระตุ้นอย่างสูง เช่น การสัมภาษณ์งานหรือการออกกำลังกายอย่างเอาจริงเอาจัง การบอกตัวเองว่า "คุณทำได้” จะสามารถทำให้คุณรู้สึกดีและเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเองในด้านบวกก่อนที่คุณจะทำเรื่องสำคัญได้ คุณสามารถเป็นเชียร์ลีดเดอร์ให้ตัวคุณเองได้ ดังนั้นการพูดกับตัวเองเป็นครั้งคราวอาจจะดีต่อสุขภาพได้เช่นกัน [4]
    • อย่างไรก็ตาม ถ้าการพูดกับตัวเองของคุณนั้นส่วนใหญ่เป็นด้านลบซึ่งคุณมักจะดุด่าและวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง (เช่น "ทำไมคุณโง่จังเลย" "คุณไม่เคยทำอะไรถูกเลย" ฯลฯ) นี่อาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาทางด้านจิตหรืออารมณ์ที่ซ่อนอยู่ [5] นอกจากนี้ ถ้าการพูดกับตัวเองของคุณเกิดขึ้นซ้ำๆ และมุ่งเน้นไปที่เรื่องที่เป็นด้านลบที่เกิดขึ้นกับคุณ นี่อาจจะเป็นสัญญาณของแนวโน้มที่จะครุ่นคิด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเมื่อเร็วๆ นี้คุณมีปากเสียงเล็กๆ น้อยๆ กับเพื่อนร่วมงานและคุณใช้เวลาตลอดสองชั่วโมงถัดมาในการคิดและพูดกับตัวเองเกี่ยวกับสิ่งทั้งหมดที่คุณน่าจะได้พูดแล้วล่ะก็ อันนี้ไม่ดีต่อสุขภาพ มันเป็นการครุ่นคิดและจมปลักอยู่กับปัญหา [6]
  4. ประเมินว่าการพูดกับตัวเองของคุณนั้นทำให้คุณรู้สึกอย่างไร. เราทุกคนอาจจะเพี้ยนๆ นิดหน่อย และนั่นไม่เป็นไร แต่เพื่อให้ตัวคุณเองมีสุขภาพจิตที่แข็งแรงนั้นคุณต้องทำให้แน่ใจว่านิสัยนี้ในความเป็นจริงแล้วเป็นแค่นิสัยที่แปลกๆ และไม่ส่งผลกระทบในด้านลบว่าคุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับตัวเองหรือคุณทำหน้าที่ในชีวิตประจำวันของคุณอย่างไร ให้ถามคำถามเหล่านี้กับตัวเอง:
    • ฉันรู้สึกกังวลหรือรู้สึกผิดบ่อยๆ เรื่องฉันพูดกับตัวเองมากแค่ไหนหรือเปล่า
    • การพูดกับตัวเองของฉันทำให้ฉันเศร้า โมโห หรือวิตกกังวลไหม
    • ที่ฉันพูดกับตัวเองเป็นปัญหาใหญ่ที่ฉันพยายามจะหลีกเลี่ยงในสถานการณ์สาธารณะเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความกระดากอายหรือเปล่า
    • ถ้าคุณตอบว่า “ใช่” กับข้อใดข้อหนึ่งของคำถามเหล่านี้แล้วล่ะก็ คุณควรจะปรึกษากับที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิตอื่นๆ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิตที่มีใบรับรองสามารถช่วยให้คุณไตร่ตรองว่าทำไมคุณถึงพูดกับตัวเองและช่วยคุณพัฒนากลวิธีต่างๆ เพื่อทำให้นิสัยนั้นอยู่ภายใต้การควบคุม
  5. ประเมินว่าคนอื่นๆ ตอบสนองกับการพูดกับตัวเองของคุณอย่างไร. พิจารณาว่าคนอื่นมีปฏิกิริยาไหมตอนที่พวกเขาเห็นคุณกำลังคุยกับตัวเอง โอกาสก็คือคนส่วนใหญ่จะไม่ได้แม้แต่จะสังเกตว่าคุณทำแบบนั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณสังเกตเห็นปฏิกิริยาบางอย่างจากผู้คนรอบข้างคุณบ่อยๆ นี่อาจจะเป็นสัญญาณว่าการพูดกับตัวเองของคุณนั้นรบกวนคนอื่นหรือบุคคลเหล่านี้กังวลเกี่ยวกับคุณและบทบาททางจิตและสังคมของคุณ ให้ถามคำถามเหล่านี้กับตัวเอง:
    • คนอื่นมองฉันแปลกๆ ในขณะที่ฉันเดินอยู่แถวนั้นหรือไม่
    • คนอื่นมักจะขอให้ฉันเงียบเสียงอยู่บ่อยๆ หรือเปล่า
    • สิ่งแรกที่บางคนได้ยินจากฉันก็คือฉันคุยกับตัวเองใช่
    • ครูของฉันเคยแนะนำให้ฉันปรึกษาที่ปรึกษาบ้างไหม
    • ถ้าคุณตอบว่า “ใช่” กับข้อใดข้อหนึ่งของคำถามเหล่านี้แล้วล่ะก็ คุณควรจะปรึกษากับที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิตอื่นๆ ตามปฏิกิริยาของพวกเขา ผู้คนอาจจะแสดงความกังวลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีของคุณ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือให้สังเกตว่าคุณอาจจะกำลังรบกวนคนอื่นอยู่ตอนที่คุณพูดกับตัวเองและคุณอาจจะต้องการให้นิสัยนี้อยู่ภายใต้การควบคุมเพื่อเป้าหมายในความสัมพันธ์ทางสังคมของคุณ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การหยุดพูดกับตัวเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณพบตัวเองกำลังคุยออกเสียง ให้ตระหนักและรับรู้ว่าตัวเองกำลังทำแบบนั้นอยู่ คุณสามารถสังเกตการณ์ได้โดยการบันทึกจำนวนครั้งต่อวันที่คุณพบตัวเองว่าคุยออกเสียง การตระหนักถึงพฤติกรรมนั้นเป็นขั้นตอนแรกในการลดการทำพฤติกรรมนั้นลง
  2. พยายามเก็บบทสนทนาไว้ในหัวของคุณ ทันทีที่คุณพบว่าคุณกำลังพูดออกเสียงกับตัวเอง ให้ลองย้ายบทสนทนามาไว้ในหัวของคุณ ในโลกภายในของคุณ
    • คุณยังอาจจะกดฟันลงบนริมฝีปากของคุณเพื่อไม่ให้คุณสามารถอ้าปากได้ ซึ่งช่วยได้ แต่จำใส่ใจว่ามันอาจจะดูแปลกสำหรับคนรอบข้างคุณด้วยเหมือนกันนะ
    • ลองเคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อให้ปากของคุณไม่ว่างและไม่สามารถคุยได้ [7]
    • ถ้าท้าทายเกินไปที่จะแค่เริ่มคิดมากกว่าพูด ให้พยายามขยับปากพูดโดยไม่มีเสียง วิธีนี้บทสนทนาจะสามารถดำเนินต่อไปแต่จะคนอื่นๆ จะไม่ได้ยิน
  3. อนุญาตให้พูดกับตัวเองได้เฉพาะในบางสถานการณ์เท่านั้น. อนุญาตให้ตัวเองทำแบบนี้แค่ในขณะที่อยู่บ้านคนเดียวหรือในรถ เป็นต้น โปรดระวังกับขั้นตอนนี้เพราะว่าเมื่อคุณอนุญาตให้ตัวเองพูดออกเสียงไปครั้งหนึ่งแล้ว คุณอาจจะเริ่มคุยกับตัวเองในเวลาอื่นๆ ด้วยเหมือนกัน ลองสร้างกฎต่างๆ เพื่อจำกัดการคุยของคุณและถ้าคุณทำตามได้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ก็ให้ทำบางอย่างเพื่อให้รางวัลกับตัวเอง เช่น การดูหนังหรืออนุญาตให้ตัวเองกินขนมหวานได้ เมื่อเวลาผ่านไปให้พยายามลดจำนวนสถานการณ์ที่คุณอนุญาตให้ตัวเองพูดออกเสียงจนกว่าคุณจะไม่ทำอีกต่อไป
  4. ซื้อสมุดบันทึกสำหรับช่วงเวลาเหล่านั้นที่คุณพบว่าคุณเริ่มพูดกับตัวเอง ดังนั้นคุณจะสามารถเขียนมากกว่าพูดสนทนากับตัวเอง วิธีหนึ่งที่จะทำแบบนี้ก็คือการจดบันทึกความคิดของคุณแล้วจัดหาการโต้ตอบหรือคำตอบ
    • ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณไปออกเดทมาแต่ชายหนุ่มยังไม่ได้ติดต่อกลับมาอีก นี่เป็นหนึ่งในบทสนทนาที่คุณอาจจะอยากจะพูดออกเสียงกับตัวเอง แต่คุณก็อาจจะจดบันทึกลงไปได้อีกด้วยว่า: "ทำไมยังเขายังไม่โทรหาฉันอีก บางทีเขาอาจจะยุ่งหรือบางทีเขาอาจจะไม่ชอบคุณ ทำไมคุณคิดว่าเขาไม่ได้ชอบคุณ เขาอาจจะแค่ยุ่งจริงๆ กับเรื่องเรียน หรือคุณอาจจะไม่เหมาะกันเพราะคุณไม่ได้มีความสนใจเหมือนๆ กันหรือมีเรื่องสำคัญเรื่องเดียวกัน แต่ก็นะ ฉันยังรู้สึกว่าถูกปฏิเสธ นั่นเป็นความรู้สึกที่เข้าใจได้ แต่เขาไม่ใช่ผู้ชายคนเดียวในโลก และที่สำคัญไปกว่านั้นยังมีอะไรเกี่ยวกับตัวคุณอีกเยอะที่ยอดเยี่ยม ในความเป็นจริงนั้น อะไรที่ทำให้คุณรู้สึกดีกับตัวเอง ... "
    • บทสนทนาและการฝึกบันทึกแบบนี้จะช่วยจัดระเบียบและสะท้อนให้เห็นความคิดของคุณ และยังสามารถเป็นกลไกที่ดีเพื่อให้ตัวเองให้อยู่บนวิถีทางของการคิดและการถ่ายทอดความคิดในด้านบวกเกี่ยวกับตัวคุณเอง และแก้ไขสิ่งที่คุณอาจจะรู้สึกในด้านลบเหล่านั้น
    • เก็บสมุดบันทึกไว้ติดตัวตลอดเวลาจนเป็นนิสัย ไม่ว่าจะในกระเป๋าของคุณ รถ หรือกระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋ากางเกง และยังมีแอพพลิเคชั่นสมุดบันทึกในสมาร์ทโฟนของคุณอีกด้วย ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการฝึกเขียนนี้ก็คือคุณจะมีบันทึกของสิ่งที่คุณพูดถึงและสนใจ แบบแผนอาจจะปรากฏขึ้นมา ความคิดสร้างสรรค์อาจจะลื่นไหล และคุณจะมีบางอย่างเอาไว้แสดงมันออกมา [8]
  5. หนึ่งในเหตุผลที่พบมากที่สุดที่ทำให้คนลงเอยที่การพูดกับตัวเองนั้นเป็นเพราะว่าพวกเขารู้สึกเหมือนกับว่าพวกเขาไม่มีคนอื่นให้คุยด้วยนั่นเอง [9] การเข้าสังคมมากขึ้นจะทำให้คุณมีคนอื่นๆ ให้คุยมากกว่าที่จะคุยกับตัวเอง จำไว้ว่ามนุษย์นั้นโตมากับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม [10]
    • ถ้าคุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการเข้าสังคมและการคุยกับคนอื่นๆ ให้พยายามทำตามขั้นตอนเล็กๆ สองสามอย่างเพื่อที่จะเริ่มต้นบทสนทนา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณได้พบบางคนที่ดูเหมือนจะเป็นมิตรและเปิดรับคุณ (โดยการยิ้มให้คุณ การพูดว่า "สวัสดี" หรือการสบตา) ลองตอบสนองและยิ้มหรือพูดว่า "สวัสดี" กลับไป หลังจากได้รับการตอบรับในด้านบวกเหมือนๆ กันไม่กี่ครั้ง คุณอาจจะรู้สึกพร้อมที่จะมีส่วนร่วมมากกว่าการพูดหยอกล้อกันธรรมดาก็ได้
    • บางครั้งการอ่านสัญญาณทางสังคมและรู้ว่าจะพูดคุยกับใครมากแค่ไหนนั้นเป็นเรื่องยาก ความไว้ใจเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อาจจะต้องใช้เวลาในการสร้างเพื่อให้พูดคุยกับใครสักคนได้อย่างสบายๆ ถ้าคุณรู้สึกกังวลเกินไปหรือประหม่าเกี่ยวกับการคุยกับคนแปลกหน้านั้นก็ไม่เป็นไรหรอก อย่างไรก็ตาม อาจจะเป็นความคิดที่ดีที่จะพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มช่วยเหลือและการบำบัดส่วนบุคคลเพื่อช่วยให้เอาชนะความรู้สึกอัดอัดนี้ได้
    • ถ้าคุณอยากจะพบปะกับผู้คนมากขึ้นให้ลองทำกิจกรรมใหม่ๆ เช่น โยคะ การทำเครื่องปั้นดินเผา หรือเข้าเรียนเต้น การใช้ความพยายามที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีคนอื่นทำอยู่ด้วยเพิ่มขึ้น (เช่น การร่วมกลุ่มทำโยคะกับการวิ่งบนลู่วิ่งที่บ้านของคุณเอง) จะทำให้คุณมีโอกาสสนทนากับคนที่สนใจเรื่องเดียวกันกับคุณมากขึ้น
    • ถ้าคุณอาศัยอยู่ในสถานที่ที่ห่างไกล การใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อกับผู้คนจะสามารถทำให้บรรลุเป้าหมายได้ คุณอาจจะลองห้องแชทหรือฟอรั่มที่ผู้คนแลกเปลี่ยนความเห็นกันในหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับคุณ ถ้าคุณไม่มีอินเทอร์เน็ต ให้ลองสื่อสารแบบเก่าๆ ด้วยตัวอักษร การยังติดต่อกับคนอื่นๆ อยู่นั้นเป็นส่วนสำคัญของการเป็นมนุษย์
  6. ในหลายกรณี การสนทนากับตัวเองเริ่มจากการฝันกลางวันหรือเพียงแค่เบื่อ ดังนั้นการทำตัวเองให้ยุ่งสามารถช่วยได้ คร่ำเคร่งอยู่กับกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งเพื่อให้สมองของคุณยุ่งอยู่กับการทำอย่างอื่นแล้ว
    • ลองฟังเพลง ตอนที่คุณอยู่คนเดียวหรือกำลังเดินอยู่ที่ไหนสักที่หนึ่ง ให้สมองของคุณเพ่งความสนใจกับอะไรสักอย่างเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงแรงกระตุ้นที่จะพูดกับตัวเอง [11] เพลงอาจจะเป็นสิ่งบันเทิงใจที่ดีสำหรับจิตใจของคุณและยังอาจจะทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ ในใจ หรือเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้มากมายอีกด้วย เสียงเพราะๆ นั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจะส่งเสริมการปล่อยโดพามีนในบริเวณรางวัล/ความสุขของสมอง ซึ่งหมายความว่าคุณจะรู้สึกดีในขณะที่กำลังฟังเพลง [12] ยังมีประโยชน์เพิ่มเติมกับการกระทำที่ดูเหมือนว่าคุณกำลังฟังเพลง ถ้าคุณกำลังใส่หูฟังและตระหนักว่าคุณกำลังพูดกับตัวเอง คนอาจจะคิดว่าหูฟังนั้นเป็นหูฟังสำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณและคิดว่าคุณกำลังคุยกับคนอื่นอยู่
    • อ่านหนังสือ. การอ่านสามารถช่วยให้คุณหลงหายเข้าไปในอีกโลกหนึ่งและต้องการสมาธิในระดับหนึ่งเลยทีเดียว การที่คุณคิดเพ่งความสนใจกับสิ่งอื่นจะทำให้คุณมีโอกาสพูดกับตัวเองน้อยลง [13]
    • ดูโทรทัศน์. ลองดูสิ่งที่คุณสนใจในโทรทัศน์หรือเพียงแค่เปิดโทรทัศน์ไว้ให้มีเสียงพื้นหลัง ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศและความรู้สึกบางอย่างว่าห้องนั้น "เต็ม" และมีชีวิตชีวา เพราะเหตุนี้คนที่มีปัญหาในการนอนคนเดียวมักจะเปิดโทรทัศน์ไว้ขณะที่พวกเขานอน เพียงเพื่อให้พวกเขารู้สึกว่ามีคนอื่นอยู่ด้วยแม้ว่าจะเพียงแค่บนหน้าจอก็ตาม การดูโทรทัศน์ยังช่วยมุ่งเน้นความสนใจของคุณและทำให้สมองของคุณไม่อยู่เฉยอีกด้วย [14]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จำไว้ว่าทุกคนพูดกับตัวเองเกือบทั้งวัน (พูดในใจ) ดังนั้นคุณอาจจะไม่ได้แตกต่างกับคนอื่น คุณแค่พูดออกเสียงก็เท่านั้น
  • ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นตอนที่คุณรู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกขาด หรือคิดถึงบางคน หยุดพูดกับตัวเองและทำตัวเองให้ยุ่งเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความคิดทั้งหมดเหล่านี้
  • กดลิ้นไว้กับเพดานปากของคุณตอนคุณรู้สึกอยากพูด คนรอบข้างคุณจะได้ไม่สังเกตเห็น และตามความคิดของฉันนั้นมันช่วยให้เก็บเสียงไว้ภายในหัวของคุณได้จริงๆ นะ
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณพบว่าตัวเองไม่สามารถหยุดคุยกับตัวเองอย่างหมกมุ่นได้ พบว่าสิ่งที่คุณพูดกับตัวเองส่วนใหญ่เป็นด้านลบ หรือคิดว่าเสียงที่คุณได้ยินไม่ใช่เสียงของคุณเองแล้วล่ะก็ สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณทั้งหมดของปัญหาที่ซ่อนอยู่ที่ร้ายแรงกว่า คุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อได้รับการวินิจฉัยและปรึกษาหาการรักษาที่เหมาะสม
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://psychcentral.com/blog/archives/2012/12/07/talking-to-yourself-a-sign-of-sanity/
  2. Pedersen, C. W.; Denson, T. F.; Goss, R.; Vasquez, E. A.; Kelley, N. J.; Miller, N (June 2011). "The impact of rumination on aggressive thoughts, feelings, arousal, and behaviour". British Journal of Social Psychology 50 (2): 281–301.
  3. http://psychcentral.com/blog/archives/2012/12/07/talking-to-yourself-a-sign-of-sanity/
  4. http://www.wsj.com/articles/SB10001424052702304831304579543772121720600
  5. http://psychcentral.com/lib/challenging-negative-self-talk/0003196
  6. Pedersen, C. W.; Denson, T. F.; Goss, R.; Vasquez, E. A.; Kelley, N. J.; Miller, N (June 2011). "The impact of rumination on aggressive thoughts, feelings, arousal, and behaviour". British Journal of Social Psychology 50 (2): 281–301.
  7. http://www.healthguidance.org/entry/15556/1/How-to-Stop-Talking-to-Yourself.html
  8. http://psychcentral.com/lib/the-health-benefits-of-journaling/000721
  9. http://www.healthguidance.org/entry/15556/1/How-to-Stop-Talking-to-Yourself.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 20,064 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา