ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คนที่ชอบเดินละเมออาจลุกขึ้นมาลืมตานั่งอยู่บนเตียง ไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึก ลุกขึ้นจากเตียง ทำกิจวัตรประจำวัน อย่างพูดคุยหรือสวมใส่เสื้อผ้า ไม่ตอบสนองต่อใครๆ ปลุกให้ตื่นได้ยาก พอตื่นก็มึนงง และจดจำอะไรไม่ได้เลยในวันรุ่งขึ้น! ถึงจะดูพิลึกแค่ไหน แต่บางทีก็มีคนละเมอออกไปข้างนอก ทำอาหาร ขับรถ ปัสสาวะ มีเพศสัมพันธ์ ทำร้ายตัวเอง หรือดุร้ายขึ้นเมื่อรู้สึกตัวตื่น ช่วงระยะเวลาของการเดินละเมอนั้นมักอยู่ต่ำกว่า 10 นาที แต่บางครั้งมันอาจกินเวลาเกินครึ่งชั่วโมง ถ้าคุณหรือใครในบ้านมีอาการเดินละเมอ มีหลายสิ่งที่คุณสามารถทำได้ [1] [2] [3]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ลดอันตรายระหว่างการเดินละเมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำบ้านให้ปลอดภัยเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อที่เวลาใครเกิดเดินละเมอจะได้ไม่ทำให้ตนเองหรือผู้อื่นบาดเจ็บ เพราะคนเดินละเมอสามารถทำกิจกรรมที่ซับซ้อนได้ อย่าไปตีล่วงหน้าว่าเขาจะรู้สึกตัวตื่นก่อนจะทำอะไรที่มันต้องการการประสานกันทำงานของร่างกาย [4] [5] [6]
    • ล็อกประตูกับหน้าต่างเพื่อป้องกันคนละเมอออกไปจากบ้าน
    • ซ่อนกุญแจรถเพื่อที่คนนั้นจะขับรถไม่ได้
    • ล็อกหรือซ่อนกุญแจที่เก็บอาวุธหรือวัตถุมีคมทั้งหมดที่อาจใช้เป็นอาวุธได้
    • กั้นบันไดและประตูบ้านเพื่อป้องกันคนๆ นั้นจะร่วงลงมาโดยการใช้กรอบประตุบุนุ่ม
    • อย่าปล่อยให้เด็กที่เดินละเมอนอนบนชั้นบนของเตียงสองชั้น
    • ขยับข้าวของที่อาจทำให้คนๆ นั้นเดินสะดุดหัวคะมำได้
    • นอนตรงชั้นล่างของบ้านถ้าเป็นไปได้
    • ใช้เตียงที่มีราวกั้นด้านข้าง
    • ถ้าเป็นไปได้ ตั้งสัญญาณกันขโมยที่จะดังเตือนและปลุกคนๆ นั้นถ้าเขาเดินออกจากบ้าน
  2. บอกคนอื่นในบ้านให้รู้ไว้ เพื่อทุกคนจะได้เตรียมรับมือ. การเห็นใครคนหนึ่งเดินละเมออาจสร้างความหวาดกลัวหรือสับสนให้กับคนที่ไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น ถ้าพวกเขารู้ จะได้ช่วยคนนั้นรับมือกับเรื่องนี้ได้ [7]
    • คนที่เดินละเมอนั้นมักจะพากลับมาที่เตียงได้ อย่าสัมผัสตัวคนเดินละเมอ แต่พยายามใช้เสียงและการย้ำเตือนอย่างนุ่มนวลนำพาเขากลับมาที่เตียง
    • อย่าฉวยมือ ตะโกนใส่ หรือทำให้คนที่เดินละเมอตกใจ คนที่ตื่นตอนเดินละเมออยู่มักจะมึนงง และนี่อาจทำให้พวกเขาตื่นตระหนกจนเป็นอันตรายได้ ถ้าคนนั้นแสดงอาการดุร้ายขึ้นมา ให้หนีออกมาอย่างไวและล็อกห้องไว้เพื่อความปลอดภัย
    • ถ้าคุณค่อยๆ ปลุกเขาให้ตื่นหลังกลับมาที่เตียงแล้ว มันอาจไปรบกวนวงจรการนอนของเขา ช่วยป้องกันไม่ให้เขากลับมาเดินละเมออีกครั้งในวงจรการนอนเดิม
  3. ไปพบแพทย์ถ้าอาการเดินละเมอนั้นรุนแรง เป็นอันตราย หรือแสดงสัญญาณที่เกี่ยวเนื่องกับโรคประจำตัว. อย่างไรก็ตาม ควรจะให้แพทย์ตรวจดูถ้าการเดินละเมอนั้น: [8]
    • เริ่มเกิดในช่วงที่เป็นผู้ใหญ่ คนส่วนใหญ่ที่เดินละเมอจะเป็นเด็กและมักจะหายไปเองโดยไม่ต้องพึ่งพาการใช้ยารักษา ถ้ามันยังเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงช่วงวัยรุ่น เด็กคนนั้นควรไปพบแพทย์
    • ข้องเกี่ยวกับการทำเรื่องอันตราย
    • เกิดขึ้นมากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์
    • กระทบต่อผู้คนในบ้าน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

หยุดเดินละเมอด้วยการเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การที่เหนื่อยจนเกินไปสามารถกระตุ้นการเดินละเมอได้ ผู้ใหญ่ตามปกติต้องการการนอนหลับอย่างน้อยแปดชั่วโมงต่อคืน เด็กนั้นอาจต้องการได้ถึง 14 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับอายุ คุณสามารถลดอาการเหนื่อยล้าได้โดย: [9] [10] [11]
    • งีบหลับสั้นๆ ในตอนกลางวัน
    • เข้านอนแต่หัวค่ำ
    • ยึดอยู่กับตารางเวลาเป็นประจำเพื่อที่ร่างกายจะได้ตระเตรียมเข้านอนและตื่นในเวลาที่ถูกต้อง
    • ลดการบริโภคคาเฟอีนลง กาแฟนั้นเป็นตัวกระตุ้นและอาจทำให้หลับได้ยาก
    • ลดปริมาณการดื่มก่อนเข้านอน เพื่อจะได้ไม่ต้องลุกมาเข้าห้องน้ำกลางดึก
  2. ความเครียดและความกังวลใจอาจทำให้ผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะเดินละเมอเกิดอาการดังว่าขึ้นได้ พยายามทำการผ่อนคลายก่อนเข้านอนให้เป็นกิจวัตร หรือกระทำตาม “สุขอนามัยของการนอนหลับที่ดี” ซึ่งได้แก่สิ่งต่อไปนี้: [12]
    • ทำให้ห้องมืดและเงียบ
    • อาบหรือแช่น้ำอุ่น
    • อ่านหนังสือหรือฟังเพลง
    • ทำให้ห้องเย็นสบาย
    • ถอยห่างจากอะไรก็ตามที่มีหน้าจอ – โทรทัศน์ สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต เป็นต้น ก่อนเข้านอน
    • ใช้เทคนิคการผ่อนคลายก่อนเข้านอน เช่น การนึกภาพสถานที่เงียบสงบในหัว ทำสมาธิ สูดหายใจลึกๆ ทำการเกร็งผ่อนคลายกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นทีละส่วน นวด หรือเล่นโยคะ [13]
  3. การพัฒนาวิธีรับมือกับความเครียดจะช่วยป้องกันไม่ให้มันมารบกวนการนอน ความเครียดนั้นมักเชื่อมโยงกับการเดินละเมอเสมอ [14]
    • หาแนวทางการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับคุณ ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินซึ่งช่วยให้ผ่อนคลายและรู้สึกดี การผ่อนคลายจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อคุณได้ทำในสิ่งที่ชอบที่สุด ลองวิ่งจ๊อกกิ้ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือเข้าร่วมทีมกีฬาประจำท้องถิ่น
    • รักษาสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัวให้แน่นแฟ้น พวกเขาสามารถเป็นกำลังใจให้และช่วยคุณรับมือกับสิ่งที่ทำให้เกิดความกังวลใจทั้งหลายแหล่ได้ [15]
    • เข้าร่วมกลุ่มให้กำลังใจหรือพบผู้ให้คำปรึกษาถ้าเกิดมีสิ่งที่คุณอยากบอกออกมาแต่ไม่อยากเปิดเผยกับเพื่อนหรือครอบครัว แพทย์สามารถแนะนำกลุ่มให้กำลังใจหรือผู้ให้คำปรึกษาที่เหมาะต่อสถานการณ์ของคุณ
    • ให้เวลาตัวเองได้ทำงานอดิเรกที่คุณชอบ มันจะทำให้คุณมีอะไรสนุกๆ ได้โฟกัสและเบี่ยงเบนความสนใจของคุณออกจากสิ่งที่จะทำให้เครียด [16]
  4. นี่อาจต้องให้คนอื่นในบ้านมาเก็บสถิติว่ามันเกิดขึ้นบ่อยขนาดไหนและมักเกิดขึ้นในเวลาใด [17] [18] ทำสมุดบันทึกการเดินละเมอเพื่อที่ข้อมูลทั้งหมดจะถูกรวบรวมอยู่ในที่เดียวกัน
    • ถ้าหากช่วงเวลาของการเดินละเมอนั้นปรากฏให้เห็นเป็นแบบแผน มันจะช่วยบ่งบอกได้ว่าเหตุใดคนนั้นจึงเดินละเมอ เช่น ถ้าคนผู้นั้นเดินละเมอหลังจากวันเครียดๆ ก็หมายความว่าความเครียดและความกังวลใจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเดินละเมอ
  5. นี่เป็นเทคนิคซึ่งถ้าใครคนหนึ่งรู้แล้วว่าเวลาไหนที่มักจะเดินละเมอ ก็ให้มีคนคอยปลุกเขาให้ตื่นก่อนเวลานั้นสักเล็กน้อย [19] [20]
    • คนๆ นั้นควรตื่นก่อนเวลาที่มักเกิดละเมอสัก 15 นาทีและควรตื่นสักประมาณห้านาที
    • มันจะไปรบกวนวงจรการนอนและอาจทำให้บุคคลนั้นเข้าสู่สภาวะการนอนที่ต่างไปจากเดิมเมื่อกลับมานอนใหม่ ป้องกันไม่ให้เขาเดินละเมอได้
    • ถ้าคุณชอบเดินละเมอและอาศัยอยู่ตามลำพัง ให้ตั้งนาฬิกาปลุกให้ตื่น
  6. แอลกอฮอล์สามารถรบกวนการนอนและอาจกระตุ้นการเดินละเมอ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

มองหาความช่วยเหลือด้วยยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สอบถามแพทย์ว่ายาที่ใช้อาจทำให้คุณเกิดเดินละเมอหรือไม่. ยาบางตัวอาจรบกวนวงจรการหลับนอนและทำให้เกิดเดินละเมอได้ แต่อย่าหยุดยานั้นจนกว่าจะได้ปรึกษาแพทย์ก่อน แพทย์อาจสามารถแนะนำยาตัวอื่นที่ยังคงรักษาปัญหาสุขภาพของคุณโดยลดการเดินละเมอได้ ยาที่อาจมีผลข้างเคียงทำให้เดินละเมอได้แก่: [23] [24]
    • ยาระงับประสาท
    • ยาที่ใช้สำหรับอาการป่วยด้านจิตเวช
    • ยานอนหลับที่ส่งผลในระยะสั้น
  2. ปรึกษาแพทย์ว่าอาการเดินละเมอของคุณนั้นเป็นอาการของโรคประจำตัวอะไรหรือไม่. ถึงแม้การเดินละเมอส่วนใหญ่จะไม่ใช่สัญญาณของโรคร้ายแรงอะไร แต่ก็มีตัวที่อาจกระตุ้นให้เดินละเมออันได้แก่: [25] [26]
    • โรคลมบ้าหมู
    • อาการสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
    • โรคกังวลใจ
    • โรคซึมเศร้า
    • โรคลมหลับ
    • อาการขาอยู่ไม่สุข
    • โรคกรดไหลย้อน
    • ไมเกรน
    • ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ
    • อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ
    • โรคสมองขาดเลือด
    • ไข้ที่สูงเกินกว่า 38.3° เซลเซียส (101°ฟาเรนไฮต์)
    • มีรูปแบบการหายใจในระหว่างหลับที่ผิดปกติ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
  3. มันอาจต้องให้คุณเข้านอนในห้องแล็บการนอนหลับ ซึ่งจะเป็นห้องวิเคราะห์ที่คุณต้องค้างคืนอยู่กับทีมแพทย์ที่จะทำการตรวจสุขภาพการนอนหลับ จะมีการติดตัวรับสัญญาณจากร่างกายคุณ (มักติดที่ขมับ กะโหลก ทรวงอก และขา) กับคอมพิวเตอร์ที่จะทำการตรวจการนอนหลับ แพทย์จะทำการวัด: [27]
    • คลื่นสมองของคุณ
    • ออกซิเจนในเลือด
    • อัตราการเต้นของหัวใจ
    • อัตราการหายใจ
    • การเคลื่อนไหวของดวงตาและขา
  4. ในบางกรณีนั้น แพทย์อาจสั่งจ่ายยาที่รักษาอาการเดินละเมอ ยาที่มักถูกสั่งจ่ายได้แก่: [28]
    • เบนโซไดอะซีไพน์ (Benzodiazepines) ซึ่งมักมีฤทธิ์ระงับประสาท
    • ยารักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งมักจะช่วยรักษาความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับความกังวลใจได้
    โฆษณา
  1. http://www.nhs.uk/Conditions/sleepwalking/Pages/Introduction.aspx
  2. https://sleepfoundation.org/sleep-topics/children-and-sleep/page/0/1
  3. http://www.nhs.uk/Conditions/sleepwalking/Pages/Introduction.aspx
  4. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/relaxation-technique/art-20045368?pg=2
  5. http://www.nhs.uk/Conditions/sleepwalking/Pages/Introduction.aspx#what-to-do
  6. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/stress-management/art-20044289?pg=2
  7. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/stress-management/art-20044289?pg=2
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sleepwalking/basics/treatment/con-20031795
  9. http://www.nhs.uk/Conditions/sleepwalking/Pages/Introduction.aspx
  10. http://www.nhs.uk/Conditions/sleepwalking/Pages/Introduction.aspx
  11. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sleepwalking/basics/treatment/con-20031795
  12. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/alcohol/art-20044551?pg=1
  13. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/alcohol/art-20044551?pg=2
  14. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sleepwalking/basics/causes/con-20031795
  15. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000808.htm
  16. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000808.htm
  17. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sleepwalking/basics/causes/con-20031795
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sleepwalking/basics/tests-diagnosis/con-20031795
  19. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sleepwalking/basics/treatment/con-20031795

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,361 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา