ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณพบว่าตัวเองกินขนมจุบจิบเยอะในช่วงที่ไม่ใช่เวลารับประทานอาหาร มันอาจจะเป็นเพราะว่าคุณหิว และมันก็อาจจะเป็นเพราะว่าคุณรู้สึกเบื่อหรือเครียด ถ้าคุณทานอาหารเมื่อรู้สึกเบื่อ อย่ารู้สึกแย่ไป เพราะไม่ใช่แค่คุณคนเดียว! อย่างไรก็ตาม การทานอาหารมากเกินไปเนื่องจากความเบื่อหรือความเครียดอาจจะมีส่วนทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ และอาการป่วยร้ายแรงอื่นๆ [1] วิธีในบทความนี้อาจจะไม่สามารถช่วยให้คุณจัดการกับต้นตอของปัญหาที่แท้จริงที่ทำให้คุณอยากกินขนม แต่คุณจะสามารถเรียนรู้การเริ่มต้นนิสัยการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและสู้กับความรู้สึกเบื่อที่ถาโถมเข้ามา

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ประเมินพฤติกรรมการทานอาหารของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การจดไดอารี่จะช่วยให้คุณรู้ว่าคุณทานอะไรไปบ้างในแต่ละวัน มันจะช่วยให้คุณควบคุมพฤติกรรมการทานอาหารของคุณ เพราะว่าคุณจะใส่ใจมากขึ้นถ้าคุณจดมันไว้ในไดอารี่ [2]
    • จด ทุกอย่าง ที่คุณทานและดื่มในสมุดบันทึก รวมถึงบันทึกจำนวนแคลอรี่ด้วยก็ได้ คุณจะจดอาหารที่ทานเข้าไปลงในสมุดกระดาษ โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ก็ได้ ความสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่สำคัญ
    • จดบันทึกเวลาที่คุณทานและปริมาณ ตัวอย่างเช่น 9:45 a.m M&M 2 กำมือ
    • จดว่าตอนนั้นคุณกำลังทำอะไรอยู่และคุณรู้สึกอะไร เช่น 9:45 a.m M&M 2 กำมือ นั่งกินที่โต๊ะทำงานขณะที่กำลังหาข้อมูลออนไลน์ รู้สึกเครียดเกี่ยวกับโปรเจ็คที่ที่ทำงาน
  2. เมื่อคุณจดไดอารี่จบครบอาทิตย์แล้ว ให้ดูสิ่งที่จดย้อนหลังและมองหารูปแบบการทานอาหารของคุณ เช่น คุณรู้สึกเศร้าหรือรู้สึกเครียดบ่อยๆ เมื่อทานอาหารหรือไม่? ตอนนั้นคุณกำลังทำอะไรอยู่ (หรือไม่ทำอะไร) ขณะที่กำลังทาน?
    • ลองสังเกตความแตกต่างในรูปแบบการทานอาหารของคุณ เช่น ถ้าคุณสังเกตว่าคุณกินขนมเยอะเมื่ออยู่ที่ที่ทำงานแต่กินไม่เยอะเมื่อคุณกลับถึงบ้านแล้วในตอนเย็น มันอาจจะเป็นเพราะว่าคุณรู้สึกว่างานของคุณไม่สนุกและไม่อยากกระตือรือร้นที่จะทำ หรืออาจจะเป็นเพราะว่าคุณรู้สึกเครียดมากกว่าขณะอยู่ที่ที่ทำงานและคุณก็ใช้ขนมเป็นกลไกที่เผชิญกับความเครียด
  3. อาหารหรือขนมอะไรที่คุณจะกินเมื่อรู้สึกเบื่อ? หลายคนมีแนวโน้มจะเลือกอาหารที่มันเยิ้ม มีรสชาติหวาน และอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เมื่อพวกเขารู้สึกเสียใจ เบื่อ หรือเครียด [3]
    • ถ้าคุณมีแนวโน้มว่าคุณจะทานอะไรก็ตามที่อยู่รอบตัวคุณ คุณสามารถแก้ไขด้วยการซื้อขนมที่ดีมีประโยชน์เมื่อคุณไปช้อปปิ้ง ถ้ามีตู้หยอดเหรียญที่ที่ทำงานหรือที่โรงเรียน ให้นำขนมที่มีประโยชน์นั้นพกไปด้วย เพื่อที่คุณจะได้ไม่ถูกดึงดูดให้ซื้อของที่ตู้หยอดเหรียญ
    • ลองถามคำถาม เช่น คุณรู้สึกดีขึ้นหรือไม่เมื่อทานอาหารในเวลาที่ไม่ใช่มื้ออาหาร? คุณรู้สึกว่าคุณมีพลังงานมากกว่าหรือไม่? หรือ คุณรู้สึกเหนื่อยหรือไม่?
  4. มีสิ่งกระตุ้นหลายอย่างที่ทำให้ผู้คนอยากทานอาหาร แม้ว่าพวกเขาจะไม่รู้สึกหิว สิ่งกระตุ้นบางอย่างคือจิตใจและอารมณ์ เช่น ความเบื่อหรือความกังวล ส่วนสิ่งกระตุ้นอื่นๆ อาจจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น บางคนพบว่าตัวเองทานขนมเยอะขึ้นเมื่อดูโทรทัศน์ บางที มันอาจจะเป็นความรู้สึก “ไม่ถูกต้อง” ที่จะดูหนังโดยที่ไม่มีป็อปคอร์นและโซดา บางทีคุณอาจจะรู้สึกกดดันในการทานอาหารขณะที่คุณอยู่ที่งานปาร์ตี้ หรือบางที เมื่อคุณกินโดนัทไปเพียงชิ้นเดียว คุณก็รู้สึกว่าคุณควรที่จะทานโดนัททั้งหมด ไม่ว่าสิ่งกระตุ้นของคุณคืออะไร การที่เรียนรู้ไว้จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการทานที่ไร้เหตุผล
    • มีหลายคนที่พบว่าชอบทานขนมขณะที่กำลังทำกิจกรรมอื่นๆ (เช่น อ่านหนังสือ และดูโทรทัศน์) [4] ในบางกรณี คุณอาจจะทานอาหารที่มีแคลอรี่มากกว่าปกติถึง 71 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กำลังดูโทรทัศน์อยู่ [5]
  5. รายงานวิจัยเผยว่าผู้คนจำนวนมากไม่สามารถจำได้อย่างละเอียดว่าดื่มอะไรไปเมื่อพวกเขารู้สึกกระหายน้ำ [6] และผู้คนก็สับสนบ่อยๆ ระหว่างอาการกระหายน้ำกับอาการรู้สึกหิวอาหาร การดื่มน้ำให้เยอะขึ้นจะช่วยลดความอยากทานขนม
    • ความกังวลในระดับสูงอาจจะทำให้คุณรู้สึกกระหายน้ำด้วย [7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

พัฒนาพฤติกรรมการทานอาหารอย่างมีสุขภาพดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีหลายคนที่ไม่สามารถระบุสัญญาณของความหิวจริงๆ ได้ จึงทำให้พวกเขาคิดว่าตนเองนั้นหิว ทั้งๆ ที่ไม่ได้หิว [8] ถ้าคุณไม่รู้ว่าความหิวจริงๆ เป็นอย่างไร ให้ลองใช้เคล็ดลับต่อไปนี้ที่จะบอกว่าคุณนั้นหิวจริงๆ [9]
    • ลองนึกถึงสิ่งที่คุณกินล่าสุด ระดับความหิวจะพุ่งสูงประมาณทุกๆ 90 นาที แต่ถ้าคุณเพิ่งทานอาหารภายใน 2 หรือ 3 ชั่วโมงที่แล้ว บางที คุณอาจจะไม่ได้หิวจริงๆ (แต่ถ้าคุณเป็นนักกีฬาหรืองานของคุณต้องใช้แรง แน่นอนว่าความหิวของคุณก็จะแตกต่างไป)
    • จัดลำดับความหิวของคุณโดยกำหนดค่าจาก1 ถึง 10 ซึ่ง 1 หมายถึง “อิ่มมากๆ” และ 10 หมายถึง “ฉันอาจจะตายได้ถ้าไม่ได้กินพิซซ่าเดี๋ยวนี้” คุณอาจจะไม่ต้องกำหนดค่าให้แม่นยำมากก็ได้ในตอนแรก แต่ให้นึกถึงระบบการวัดค่าความหิวนี้ที่จะช่วยให้คุณเรียนรู้เกี่ยวกับความหิวในสถานการณ์ต่างๆ
    • ดูสัญญาณทางร่างกาย เช่น อาการท้องร้อง ปวดหัว อ่อนแรง ตัวสั่น หรือรู้สึกเหนื่อยด้วยเหตุผลที่ไม่สามารถอธิบายได้ อาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณว่าคุณต้องทานอาหาร [10]
    • ลองคิดดูว่าคุณหิวจริงๆ หรือแค่อยากอาหาร ในหลายกรณี ถ้าคุณอยากทานอาหารบางอย่างแบบเจาะจง เช่น ช็อคโกแลต หรือมักกะโรนีและชีส คุณก็แค่อยากจะลิ้มรสอาหารนั้น
  2. ลองคิดให้ต่างออกไปเกี่ยวกับการทานอาหารและการดื่ม. รายงานวิจัยได้เผยว่าการที่คุณคิดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณทานหรือดื่มนั้นส่งผลเกี่ยวกับความอิ่มที่คุณจะรู้สึกด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งทดลองกำหนดให้ของเหลวอย่างซุปและเครื่องดื่มมีปริมาณเท่ากัน จากนั้นผู้คนก็จัดลำดับว่าซุปนั้นให้ความรู้สึกที่อิ่มกว่า แม้ว่ามันจะมีปริมาณเท่ากันก็ตาม! [11] คุณมีแนวโน้มที่จะรู้สึก “อิ่ม” ถ้าคุณคิดว่าสิ่งที่คุณทานเข้าไปนั้นเป็น อาหารมื้อหลัก มากกว่า ขนม [12]
    • จัดทุกอย่างที่คุณจะทานรวมถึงขนมลงบนจาน นี่จะช่วยทำให้คุณสามารถควบคุมการทานอาหารอย่างพอเพียงมีเหตุผล ใช้จานใบเล็กจะช่วยคุณควบคุมปริมาณอาหารด้วย [13]
    • ลองสร้างกำหนดการในการกินขนมเพื่อช่วยลดการทานขนมลง ถ้าคุณ “คิดว่า” จะต้องกินขนมในช่วงเวลาหนึ่งของวัน คุณอาจจะต้องระวังเกี่ยวกับปริมาณที่ทานเข้าไป
  3. ถ้าคุณพบว่าคุณทานอาหารอื่นๆ เยอะระหว่างมื้ออาหารหลัก ให้ลองทานอาหารที่ช่วยทำให้อยู่ท้อง รายงานวิจัยเผยว่าความรู้สึกอิ่มหรือ “อิ่มจนพอใจ” จะทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะไม่ทานมากเกินไป [14] อาหารที่มีไฟเบอร์เยอะๆ เช่น ผลไม้ ผัก และโฮลเกรน จะช่วยทำให้คุณรู้สึกอิ่มได้นานขึ้น [15]
    • อาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบสูง เช่น ผักและผลไม้ จะช่วยทำให้คุณรู้สึกอิ่ม พยายามเพิ่มมันเข้าไปในอาหารมื้อหลักของคุณ ถ้าคุณอยากทานขนมขบเคี้ยวจริงๆ ลองทานแครอทหนึ่งกำมือแทนมันฝรั่งทอด เพราะว่า แครอท 1 ออนซ์ (28.4 กรัม) มีแคลอรี่แค่ 25 แคลอรี่ ขณะที่มันฝรั่งทอดปริมาณ 1 ออนซ์ (28.4 กรัม) มีแคลอรี่ถึง 152 แคลอรี่
  4. ถ้าคุณเป็นพวกเลือกทานกาแฟลาเต้แทนการทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ คุณอาจจะต้องมานั่งคิดใหม่อีกครั้ง รายงานมากมายพบว่าผู้ที่ไม่ทานอาหารเช้ามีแนวโน้มที่จะทานเยอะเกินไปในตลอดทั้งวัน พวกเขาจะมีแนวโน้มมากในการทานขนมที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ขนมที่มีไขมันและน้ำตาลสูง [16]
    • ตัวเลือกที่ดีที่สุดคืออาหารเช้าที่มีโปรตีนสูงและน้ำตาลต่ำเพื่อคุณจะได้รู้สึกว่าคุณใส่ใจในการทานอาหารและจะรู้สึกหิวน้อยลงตลอดทั้งวัน
    • การทานอาหารเช้าจะช่วยทำให้คุณมีสมาธิและทำงานได้ดีขึ้นตลอดทั้งวันอีกด้วย [17] เพราะว่าบ่อยๆ แล้วความรู้สึกเบื่อจะมีจุดเริ่มต้นจากการไม่มีสมาธิกับความคิดและสภาพแวดล้อม การส่งเสริมกระบวนการการรับรู้จากการทานอาหารเช้าจะทำให้คุณไม่ค่อยรู้สึกเบื่อ
  5. จะต้องใช้เวลาถึง 20 นาทีที่สมองของคุณจะสั่งการให้รู้สึก “อิ่มจนพอใจ” หลังจากที่คุณทานอาหาร ถ้าคุณทานอาหารและขนมอย่างรวดเร็ว คุณอาจจะต้องกินเข้าไปเยอะกว่าที่ต้องการเพราะว่าคุณไม่ได้ให้เวลาสมองในการประมวลผลให้ทันกับอาหารที่เข้ามาในปาก [18]
    • ถ้าคุณ ต้อง กินช็อคโกแลตซักแท่งจริงๆ ให้ซื้อช็อคโกแลตแท่งจิ๋วและทานแค่ชิ้นเดียวเท่านั้น งานวิจัยรายงานว่าคุณจะรู้สึกพึงพอใจในการทานอาหารส่วนเล็กๆ เท่ากับการทานอาหารส่วนที่ใหญ่กว่า [19]
  6. มีงานวิจัยรายงานว่าการเก็บขนมและของหวานไว้ใกล้ตัวและใกล้สายตา เช่น บนโต๊ะทำงานของคุณ จะเป็นการเพิ่มการบริโภคให้มากขึ้น [20] แม้ว่าจะเป็นแค่การลุกขึ้นและเดินไปอีกห้องหนึ่งเพื่อหยิบขนมก็เป็นการลดการกินขนมของคุณได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

พัฒนาไลฟ์สไตล์อย่างมีสุขภาพดีจนเป็นนิสัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รายงานพบว่าการทำอะไรที่น่าเบื่อ จริงๆ แล้วจะช่วยกระตุ้นให้คุณทำอะไรที่สร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา [21] ถ้าคุณรู้สึกเบื่อๆ ลองเปลี่ยนความสนใจไปที่สิ่งอื่นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการระดมความคิดหรือการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
    • ตัวอย่างเช่น งานวิจัยได้ชี้ว่าเมื่อคุณรู้สึกเบื่อ ให้ทำกิจกรรมเช่น นึกถึงประโยชน์ของสิ่งของชิ้นหนึ่งและเขียนเป็นข้อๆ ก็จะทำให้คุณหายเบื่อได้ เกมปริศนาและกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้คุณคิดอย่างสร้างสรรค์ก็มีประโยชน์เช่นกัน
  2. ลองทำเล็บ เย็บปักถักร้อย และถักนิตติ้ง ถ้าคุณเล่นเครื่องดนตรี นี่ก็เป็นเวลาที่เหมาะสำหรับการฝึกฝน ถ้าคุณทาเล็บอยู่ คุณก็จะกินขนมไม่ได้ถ้าเล็บของคุณยังไม่แห้ง!
    • กิจกรรมอะไรก็ตามที่ช่วยทำให้เลื่อนความอยากกินขนมออกไป แม้ว่าจะแค่ 2-3 นาทีก็ตาม ก็เป็นความคิดที่ดี คุณสามารถใช้ช่วงเวลาระหว่างนั้นพิจารณาว่าคุณรู้สึกหิวจริงๆ หรือคุณแค่อยากกินเพราะคุณไม่มีอะไรจะทำ [22]
  3. การรู้สึกว่าตนเองนั้นหมดความสำคัญเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อได้บ่อยๆ เมื่อคุณรู้สึกเบื่อ คุณก็จะรู้สึกไม่กระตือรือร้นหรือมีสมาธิเข้าถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวคุณ การติดต่อพูดคุยกับผู้อื่นที่มีความหมายสำหรับคุณจะช่วยลดทอนความรู้สึกเบื่อ [23]
    • ถ้าคุณไม่สามารถอยู่ด้วยกันกับเพื่อนได้ ให้ลองติดต่อหาเพื่อนผ่านทางโซเชียลมีเดีย ผ่านการส่งข้อความ หรือคุยกันทางโทรศัพท์ ก็จะช่วยบรรเทาความเบื่อลงได้ [24]
    • ถ้าคุณอยู่ที่ปาร์ตี้และไม่รู้จักใครเลย ให้ลองทำอะไรสนุกๆ ดู คุณลองพูดอะไรที่น่าสนใจหรือกล่าวคำชมกับคนสักคนสองคนได้ไหม? ให้เน้นไปที่การมีปฏิสัมพันธ์เล็กๆ ซึ่งก็อาจจะช่วยให้คุณคลายความเบื่อได้ [25]
  4. การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายปล่อยสารเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารเคมีในร่างกายที่จะทำให้คุณ “อารมณ์ดี” การเดินไวๆ หรือการออกกำลังกายสั้นๆ จะช่วยทำให้อารมณ์ของคุณดีขึ้นและช่วยกระตุ้นพลังของคุณ กิจกรรมที่ต้องใช้แรงจะช่วยทำให้คุณหันเหความสนใจจากความอยากกินอาหาร [26]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

เข้าใจความรู้สึกเบื่อและความเครียด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีหลายสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกเบื่อ เช่น การต่อคิวที่ร้านขายของชำ หรือรถติด ซึ่งก็เป็นสาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดความเบื่อ [27] สำหรับผู้ที่ต้องทำงานอะไรซ้ำๆ และไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ก็อาจจะรู้สึกเบื่อได้ [28] โดยปกติแล้วเราจะพบว่าสถานการณ์ที่ถูกกำหนดให้ขึ้นอยู่กับเวลาจะมีความน่าเบื่อมากกว่าสถานการณ์ที่ขึ้นอยู่กับการใช้ความสามารถของเรา สถานการณ์ที่ได้รับการตอบแทนที่ไม่แน่นอนหรือมีผลตอบรับเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้เบื่อได้
    • ตัวอย่างเช่น ไม่ว่าคุณจะขับรถได้ดีขนาดไหน ถ้าคุณรถติดอยู่ คุณก็ไม่สามารถทำอะไรได้ที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์รถติด คุณทำได้เพียงแค่รอจนกว่ารถจะหายติดเท่านั้น แต่คุณก็ไม่แน่ใจว่าเมื่อไหร่ที่รถจะหายติด อาจจะเป็นเวลาเพียง 10 นาทีหรือ 2 ชั่วโมง นี่เป็นสถานการณ์หลักที่จะทำให้เกิดความเบื่อเพราะคุณไม่สามารถเปลี่ยนสถานการณ์ด้วยความสามารถของคุณได้และคุณก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ที่คุณจะได้รับ “สิ่งตอบแทน”
    • มีแนวโน้มว่า ผู้คนจะรู้สึกพึงพอใจที่สุดเมื่อพวกกำลังรู้สึกท้าทายให้ทำงานให้เสร็จ ถ้าพวกเขาคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จหรือได้รับเงินเมื่อทำงานชิ้นนั้นเสร็จ พวกเขาก็จะรู้สึกเบื่อน้อยลง [29]
    • บางคนมี “ลักษณะ” เบื่อง่ายมาก พวกเขาจะรู้สึกเบื่อแม้ว่าจะเป็นสถานการณ์ที่คนอื่นๆ ไม่รู้สึกเบื่อ
  2. เมื่อคุณรู้สึกเบื่อ ท่าทางร่างกายของคุณหรือการวางศีรษะของคุณจะเปลี่ยนไป คนที่รู้สึกเบื่อจะนั่งหลังงอหรือนั่งพิงหลังไปกับเก้าอี้บ่อยๆ ศีรษะของพวกเขาอาจจะก้มลงมาข้างหน้า สัญญาณทางร่างกายอื่นๆ เมื่อรู้สึกเบื่ออาจจะรวมไปถึงการลืมตาได้ยากลำบากหรือรู้สึกง่วง [30]
    • บางคนมีปฏิกิริยากับความรู้สึกเบื่อด้วยความรู้สึกกระวนกระวายมากกว่าความเฉื่อยชาเกียจคร้าน คนเหล่านี้อาจจะเดินไปมา เคาะเท้า หรือกระดิกเท้า หรืออาจจะเคาะนิ้วตามเฟอร์นิเจอร์ [31]
  3. ตระหนักว่าอาการเบื่อนั้นเป็นความรู้สึกอย่างไร. ความรู้สึกเบื่อบางทีอาจจะมีความหมายมากกว่าการไม่มีอะไรทำ จริงๆ แล้ว คนเราจะรู้สึกเบื่อเมื่อพวกเขาต้องการแรงกระตุ้นแต่ไม่สามารถเข้าถึงตัวเองหรือสิ่งรอบตัวได้ ความเบื่อเป็นความรู้สึกที่ไม่พึงพอใจเมื่อคุณไม่สามารถมีสมาธิกับตัวเองหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว [32]
    • หากคุณรู้สึกเบื่อแม้ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ตื่นตัวสูง คุณอาจจะมีปัญหาในการเข้าถึงสิ่งรอบตัวคุณ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณไม่รู้จักใครสักคนที่งานปาร์ตี้ค็อกเทล คุณอาจจะรู้สึกเบื่อแม้ว่าจะมีสิ่งต่างๆ ที่น่าสนใจกำลังเกิดขึ้น
    • นักวิจัยได้ชี้แนะว่ามีองค์ประกอบหลายอย่างของความเบื่อ ความรู้สึกเบื่อเกิดขึ้นเมื่อคุณพยายามที่สนใจข้อมูลภายใน (ความคิดหรือความรู้สึก) และข้อมูลภายนอก (สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวคุณ) ได้อย่างยากลำบาก คุณอาจจะต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการเข้าร่วมกิจกรรมที่คุณรู้สึกพึงพอใจ (ความรู้สึกที่ตรงกันข้ามกับความรู้สึก “เบื่อ”) [33]
    • เมื่อคุณรู้สึกว่าคุณเพ่งความสนใจไปที่สิ่งหนึ่งได้ยาก คุณอาจจะต้องลองหาเหตุผลว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
    • คุณอาจจะอธิบายว่าทำไมคุณถึงมีปัญหา โดยอาจจะเป็นเพราะหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายไปจนถึงสภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะพูดว่า “ฉันไม่มีอะไรจะทำ” แต่คุณ "มี" สิ่งที่คุณต้องทำ แต่เพราะความเบื่อทำให้คุณโยนความรับผิดชอบไว้ที่อื่นก่อน
  4. คุณอาจจะตีความความเครียดว่าเป็น “ความเบื่อ” ความเครียดอาจจะทำให้คุณมีปัญหาในการเชื่อมโยงตัวคุณเข้ากับสภาพแวดล้อม ซึ่งคุณก็อาจจะตีความอีกว่ามันเป็นสถานการณ์ที่ “น่าเบื่อ” ถ้าคุณรู้สึกหงุดหงิดรำคาญ หรือคุณตัดสินใจได้ยากลำบาก คุณอาจจะกำลังเผชิญกับความเครียดอยู่ [34]
    • ความเครียดนั้นได้พบว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับช่วงเวลาที่คุณกำลังมีสมาธิสนใจเรื่องหนึ่งอยู่ เมื่อคุณรู้สึกเครียด คุณจะมีปัญหาในเรื่องสมาธิหรือปัญหาเรื่องความสนใจในสิ่งต่างๆ [35] นี่เป็นจุดกำเนิดอันสมบูรณ์แบบที่จะทำให้เกิดความเบื่อ
    • ทุกคนต้องเคยเผชิญกับความเครียดในหลายๆ ทาง สำหรับบางคน ความเครียดนั้นปรากฏเป็นอาการทางกาย เช่น อาการปวดหัว ปวดท้อง จุกเสียดท้อง เหนื่อยล้า ปวดและตึงกล้ามเนื้อ สำหรับคนอื่นๆ มันอาจจะปรากฏเป็นอารมณ์โกรธหรือเศร้าซึม คุณอาจจะเผชิญกับอาการเหล่านี้ปนๆ กันก็ได้ [36]
  5. เมื่อคุณรู้สึกกังวลว่าคุณอาจจะไม่ประสบความสำเร็จในการทำบางสิ่งบางอย่างที่คุณเริ่มทำ คุณมีแนวโน้มว่าจะผัดมันออกไป [37] ความเครียดที่เกี่ยวกับงาน เช่น ความกลัวว่างานที่ได้รับมอบหมายที่สำคัญนั้นจะล้มเหลว หรือการกลัวว่าตนจะดูไม่ดีในสายตาของเจ้านาย ความเครียดเหล่านี้เป็นสาเหตุทั่วไปของการผัดวันประกันพรุ่ง [38] ถ้าคุณผัดสิ่งที่คุณจะต้องทำออกไป คุณอาจจะเลือกการกินอาหารเป็นวิธีหันเหไปจากงานที่ทำ ไดอารี่บันทึกอาหารที่คุณทานจะช่วยทำให้คุณระลึกว่าคุณทานอาหารเพราะคุณรู้สึกไม่อยากทำอะไรอย่างอื่น
    • คุณอาจจะจัดการกับการผัดวันประกันพรุ่งโดยการกำหนดเส้นตายของโปรเจ็คของคุณ [39]
    • การลดที่มาของความเครียดถ้าสามารถทำได้อาจจะช่วยให้คุณไม่ผัดวันประกันพรุ่งได้
    • อย่าตำหนิตนเองรุนแรงเมื่อผัดวันประกันพรุ่ง รายงานวิจัยเผยว่าการให้อภัยตนเองและเตรียมพร้อมสำหรับการทำให้ดีขึ้นในครั้งหน้าจะได้ผลดีกว่าการตำหนิลงโทษตัวเอง [40]
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • หางานอดิเรก หาสิ่งที่คุณชอบทำและเริ่มทำมันเลย!
  • ถ้าคุณมีปัญหาในการควบคุมการทานอาหาร ให้ลองปรึกษากับนักโภชนาการเพื่อวางแผนที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ ทุกคนนั้นต้องการการให้คำชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญเป็นบางครั้ง
  • ลองเคี้ยวหมากฝรั่งในช่วงเวลาที่ไม่ใช่มื้ออาหาร ถ้าปากของคุณไม่ว่าง คุณก็อาจจะไม่ต้องกินขนม
  • ยอมตามใจกินขนมอย่างพอดีๆ คนที่ควบคุมการทานอาหารอย่างสุดๆ อาจจะลงท้ายด้วยการทานขนมเป็นจำนวนมาก
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นก่อนที่มันจะเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง
  • นอกจากเคี้ยวหมากฝรั่งแล้ว ลองทำความรู้จักผู้คนใหม่ๆ ด้วย!
  • ถ้าคุณกำลังไดเอทอยู่ ให้แปะรูปภาพของเป้าหมายของคุณไว้ที่ตู้เย็น มันจะเป็นแรงกระตุ้นสำหรับคุณ
  • ถ้าคุณจะเคี้ยวหมากฝรั้ง ให้เลือกหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาลและแคลอรี่ต่ำ
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณไม่สามารถควบคุมการทานอาหารได้ และคุณไม่รู้สึกดีขึ้นหลังจากทานอาหาร คุณอาจจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับการทานอาหาร เป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรจะไปพบกับแพทย์หรือจิตแพทย์เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการทานอาหารของคุณ


โฆษณา
  1. http://www.carolinashealthcare.org/body.cfm?id=14&action=detail&ref=879
  2. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4063786/
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16442668
  4. http://www.foodpsychology.cornell.edu/research/summary-platecolor.html
  5. http://www.mayoclinic.org/healthy-living/nutrition-and-healthy-eating/expert-blog/overeating/bgp-20056208
  6. http://www.foodpsychology.cornell.edu/pdf/permission/2009/Healthy_Hueristics-AER_2009.pdf
  7. http://www.nature.com/ijo/journal/v34/n7/full/ijo20103a.html
  8. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3737458/
  9. http://mannlab.psych.umn.edu/classprojects/mindlesseating/mindlesseating.html
  10. http://foodpsychology.cornell.edu/content/just-bite-considerably-smaller-snack-portions-satisfy-delayed-hunger-and-craving
  11. http://www.foodpsychology.cornell.edu/pdf/pre-prints/candyconsumption-2002.pdf
  12. http://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/10400419.2014.901073#.VQnI5qPN5pQ
  13. http://www.webmd.com/diet/really-hungry
  14. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15270068
  15. http://www.com.cuhk.edu.hk/ccpos/b5/pdf/18%20Ch%2018%20Mediated%20Interpersonal%20Communication.pdf
  16. http://www.jstor.org/discover/10.2307/173452?sid=21105694571891&uid=4&uid=3739616&uid=3739256&uid=2
  17. http://www.mayoclinic.org/healthy-living/fitness/in-depth/exercise/art-20048389
  18. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0191886913012373
  19. http://joe.sagepub.com/content/20/2/207.short
  20. http://etd.nd.edu/ETD-db/theses/available/etd-04182013-15501
  21. http://141.225.218.248/web-cslwebroot/emotion/files/dmello-bpms-cogsci07.pdf
  22. http://www.apa.org/monitor/2013/07-08/dull-moment.aspx
  23. http://pps.sagepub.com/content/7/5/482.abstract
  24. http://pps.sagepub.com/content/7/5/482.abstract
  25. http://www.apa.org/helpcenter/stress-tips.aspx
  26. http://www.edweek.org/ew/articles/2012/10/10/07boredom_ep.h32.html
  27. http://www.mayoclinic.org/healthy-living/stress-management/in-depth/stress-symptoms/art-20050987
  28. http://psycnet.apa.org/psycinfo/1985-07993-001
  29. http://flexmanager.ir/downloads/Effect%20Procrastination%20on%20Work-Related%20Stress.pdf
  30. http://pss.sagepub.com/content/13/3/219.short
  31. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0191886910000474

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,267 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา