ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
คุณมักหลีกเลี่ยงการจับมือกับผู้อื่น เพราะมันมีเหงื่อออกชุ่มอยู่เสมอหรือเปล่า คุณมีเหงื่อออกเยอะจนรองเท้าและถุงเท้าเหม็นตลอดเวลาเลยหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น คุณคงต้องอับอายเพราะเจ้ารอยเหงื่อใต้รักแร้ทุกครั้งไป หรือหากเรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาสำหรับคุณ ก็ขอให้รู้ว่า คุณไม่ได้โดดเดี่ยวในเรื่องนี้เลย เพราะคุณอาจมีอาการที่เรียกว่า ภาวะเหงื่อออกเยอะผิดปกติ (Hyperhidrosis) หรือแม้ว่าไม่ได้ถึงกับมีภาวะดังกล่าว แต่เป็นเพียงแค่เหงื่อที่ออกเยอะกว่าคนทั่วไปเท่านั้น คุณก็ยังสามารถคอยควบคุมความเปียกชื้นและกลิ่นเหม็น ไม่ให้มันมาทำลายชีวิตประจำวันและความมั่นใจของคุณได้ ด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นตอน
-
เริ่มใช้แบบสูตรอ่อนโยนแต่เข้มข้น. จงอ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์ด้วย เพื่อให้มั่นใจว่า คุณซื้อแบบที่ระงับเหงื่อได้มา ไม่ใช่แค่แบบระงับกลิ่นกายเท่านั้น หากเป็นยาระงับกลิ่นกาย มันจะแค่กำจัดกลิ่นเหม็น แต่ไม่ได้ช่วยกำจัดเหงื่อส่วนเกิน
-
หาสูตรที่เขียนว่า ตัวยาเข้มข้น . ยาระงับเหงื่อที่เป็นสูตรตัวยาเข้มข้น จะมีราคาแพงกว่า แต่ก็จะมีประสิทธิภาพในการกำจัด หรือลดเหงื่อส่วนเกินได้ดีกว่าด้วย
-
ทายาระงับเหงื่อ ตอนเช้า 1 ครั้ง และก่อนนอน 1 ครั้ง. มีรายงานทางการแพทย์ว่า การใช้ยาระงับเหงื่อ 2 ครั้งต่อวัน จะได้ผลอย่างมากในการป้องกันเหงื่อส่วนเกิน หากคุณจะทาแค่วันละครั้ง ก็ควรเลือกช่วงเวลาก่อนนอน ดีกว่าตอนเช้า โดยต้องนวดคลึงตัวยาให้ซึมลงใต้ผิวด้วย
-
ทายาระงับเหงื่อเวลาที่ผิวกำลังแห้งเท่านั้น. หากรักแร้ของคุณกำลังมีเหงื่อชุ่มหรือเพิ่งอาบน้ำเสร็จ ก็ควรซับให้แห้งเสียก่อนด้วยผ้าแห้ง หรือใช้ไดร์เป่าโดยเลือกเป็นลมแบบเย็น หากคุณทาตอนที่รักแร้กำลังเปียก อาจเกิดการระคายเคือง
-
ทายาระงับเหงื่อบริเวณอื่นของร่างกาย นอกเหนือไปจากรักแร้. ยาระงับเหงื่อแบบเป็นสเปรย์พ่น ก็ใช้ได้ผลดีสำหรับเท้าที่มีเหงื่อออกมาก แต่คุณต้องพ่นไปบริเวณระหว่างซอกนิ้วเท้าด้วย ไม่ใช่แค่ฝ่าเท้า หากใบหน้าคุณมีเหงื่อออกเยอะ ก็อาจจะทาบริเวณตามขอบไรผมได้เช่นกัน ขอแค่ลองใช้ดูสักพัก ก่อนที่จะออกไปข้างนอก เพื่อให้มั่นใจว่า ยาดังกล่าวไม่ทำให้ผิวหน้าคุณระคายเคือง [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
-
เลือกเนื้อผ้าที่ช่วยซับเหงื่อ. ผ้าฝ้ายจะช่วยซับความชื้นได้ เหมือนกับเนื้อผ้าของชุดกีฬาที่ออกแบบให้กำจัดความชื้นได้เช่นกัน คุณอาจจะเลือกเสื้อผ้าที่เนื้อผ้าทอแบบไม่ทึบมากนัก เช่น เสื้อผ้าจากผ้าลินิน
-
สวมชุดซ้อนกัน. ผู้ชายควรสวมเสื้อด้านในที่ทำจากผ้าฝ้าย เพื่อช่วยซับเหงื่อส่วนเกิน ในขณะที่ผู้หญิงควรสวมชุดชั้นในที่ช่วยดูดซึม หรือใช้แผ่นซับเหงื่อช่วย
-
เลือกสีอย่างเหมาะสม. หากคุณใส่ชุดสีขาว คนอื่นจะสังเกตเห็นรอยเหงื่อได้ง่าย หากคุณสวมชุดสีเข้มหรือดำ คราบก็จะไม่ปรากฏให้เห็นมากนัก
-
ซื้อรองเท้าแบบ "ระบายอากาศ" สำหรับเท้าที่เหงื่อออกมาก. รองเท้ายี่ห้อ Geox มีแผ่นรองเท้าที่ช่วยดูดซับเหงื่อ และคุณยังสามารถลดปริมาณของเหงื่อที่เท้าได้ ด้วยการสวมรองเท้าหนังหรือวัสดุธรรมชาติอื่นๆ ได้ด้วย [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง หากสถานการณ์เหมาะสม คุณควรสวมรองเท้าแตะ หรือเท้าเปล่า เพื่อให้เท้าคุณได้ระบายอากาศ
-
เตรียมเสื้อผ้าสำรองไว้. เตรียมเสื้อหรือกระโปรงที่คุณสามารถเปลี่ยนได้ระหว่างวัน เวลาที่คุณเกิดรอยเหงื่อบนเสื้อผ้า คุณอาจจะเปลี่ยนชุดในรถหรือในห้องน้ำ และใช้ชุดเดิมหรือผ้าเช็ดหน้าในการซับเหงื่อออก ก่อนที่จะสวมชุดใหม่แทน นอกจากนี้ หากคุณเป็นคนที่มีเหงื่อออกเท้ามาก ก็ควรหาถุงเท้าและรองเท้าสำรองไว้ด้วย [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและวิธีรักษาที่บ้านด้วยตัวเอง (ยังไม่ผ่านการรับรองทางการแพทย์)
-
หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด. อาหารอย่างเช่น พริกไทย สามารถทำให้คุณเหงื่อออกมากขึ้น ในขณะที่กระเทียมและหัวหอม จะทำให้กลิ่นเหงื่อเหม็นมากขึ้น พยายามกินอาหารที่มีความรุนแรงน้อยหน่อยในระหว่างวัน หรือเวลาอยู่ในที่สาธารณะ
-
ลดน้ำหนัก. หากคุณมีภาวะโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนักจะช่วยลดปริมาณเหงื่อที่เกิดขึ้นได้ เพราะยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าไหร่ เหงื่อก็จะออกมากขึ้นเท่านั้น เพราะร่างกายจะต้องระบายความร้อนให้ได้มากที่สุด
-
ทำตัวให้เป็นเด็กอนามัย. เหงื่อในร่างกายสามารถลดลงได้อย่างมาก ด้วยการปฏิบัติตัวให้ถูกสุขอนามัยบ่อยๆ โดยวิธีที่เรียบง่าย
- อาบน้ำเป็นประจำทุกวัน ไม่ว่าจะลงอ่างหรืออาบฝักบัว และหากกรณีรุนแรง ก็ควรอาบน้ำ 2 ครั้งต่อวัน โดยใช้สบู่ระงับกลิ่นกาย เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น
- เวลาออกไปข้างนอก เตรียมผ้าเช็ดก้นเด็กหรือวัสดุที่ใกล้เคียงกันเอาไว้ เพื่อใช้เช็ดรอบวงแขนของคุณและบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อกำจัดเหงื่อแบบเฉพาะหน้าก่อน ขณะอยู่ในห้องน้ำ จะทำให้รู้สึกสดชื่นอีกครั้ง
- เตรียมยาระงับเหงื่อติดตัวไว้ตลอดเวลาสำหรับกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะหลังจากการทำกิจกรรมทางกาย หรืออยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด เช่น ช่วงที่มีการพรีเซนเตชั่น หากคุณทำงานแบบเป็นหลักแหล่ง ก็สามารถซื้อยาระงับเหงื่อและเก็บไว้ในลิ้นชักส่วนตัวไว้ แต่อย่าทิ้งเอาไว้ในรถ เพราะหากอากาศร้อนมันอาจจะละลายได้
-
ลดการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน. เพราะเครื่องดื่มประเภทนี้จะทำให้เหงื่อออกมากยิ่งกว่าเดิม
-
ลองใช้สมุนไพรใบเสจ. หลายคนเชื่อว่า ใบเสจสามารถช่วยผ่อนคลายเส้นใยประสาท ซึ่งส่งผลให้ร่างกายขับเหงื่อออกมามาก ลองใช้สมุนไพรดังกล่าวนี้เพื่อป้องกันเหงื่อออกมากเกินไป:
- ใส่ใบเสจ 4 ช้อนโต๊ะลงไปผสมน้ำเดือด 2 ถ้วย ขนาดถ้วยละ 500 มล. ต้มต่อไปประมาณ 5 นาที และเทน้ำดังกล่าวลงบนผ้ากรองหรือตะแกรง จากนั้นก็ดื่มน้ำที่กรองออกมา
- ผสมใบเสจ 5 ช้อนโต๊ะ และรากต้นวาเลอเรียน 1 ช้อนโต๊ะ กับสมุนไพรจากต้นฮอร์สเทล 1 ช้อนโต๊ะ เทน้ำเดือดลงไป 1 ถ้วยหรือ 250 มล. และนำไปต้มอีกครั้ง กรองเศษต่างๆ ออกไป และดื่มน้ำที่กรองออกมาทุกวัน
-
ล้างมือและเท้าของคุณด้วยน้ำสมุนไพร. ผสมใบยูคาลิปตัส เปลือกต้นโอ๊ก ใบวอลนัต ใบวิทช์ฮาเซล และรากทอร์เมนทิล ในสัดส่วนที่เท่าเท่ากัน เทส่วนผสมที่ได้ 5 ช้อนโต๊ะลงไปในน้ำขนาด 2 ลิตร ต้มประมาณ 5 นาที และยกออกจากเตา จากนั้น เติมน้ำเย็นลงไปอีก 1 ลิตร ใช้น้ำที่ได้ดังกล่าวล้างมือและเท้าของคุณ
-
ใช้สมุนไพรกำจัดเนื้อที่ออกตอนกลางคืน. ผสมใบเสจและใบวอลนัต 3 ส่วน กับตำแยและใบสตรอเบอร์รี่ 2 ส่วน เติมน้ำลงไป 1 ถ้วยหรือ 250 มล. นำน้ำที่ได้ดื่มก่อนนอน
-
ดื่มชาที่ทำจากเลมอนบาล์ม ใบเปปเปอร์มินท์ หรือเมล็ดยี่หร่า หากมีอาการเหงื่อออกจากความเครียดหรือวิตกกังวล. การดื่มชาประเภทนี้ก่อนนอนจะช่วยให้คุณผ่อนคลายและได้พักผ่อน ซึ่งจะช่วยให้ระดับความกังวลลดลง
-
ผสมน้ำมันสกัดลงไปในน้ำที่อาบ. ลองน้ำมันกลิ่นกุหลาบ ส้ม หรือลาเวนเดอร์ เพื่อช่วยให้เกิดกลิ่นหอม และกลบกลิ่นตัวของคุณ
-
ทาน้ำมันหอมบางๆ ลงบนมือและเท้าของคุณ. โดยใช้น้ำมันกลิ่นเจอราเนียม ทีทรีออย หรือกลิ่นไซเพรส [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
-
คุยกับคุณหมอหรือแพทย์ผิวหนังก่อน. หากคุณประสบภาวะเสื้อผ้าชุ่มเหงื่อ อับอาย หรือไม่สามารถควบคุมกลิ่นเหงื่อได้ ก็ถึงเวลาต้องคุยกับคุณหมอหรือแพทย์ผิวหนัง ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเหล่านี้ จะช่วยตรวจเลือดเพื่อเช็คความปกติของไทรอยด์ หรือมองหาการติดเชื้อ หรือทดสอบด้วยรูปแบบอื่นๆ ตามหลักการแพทย์
-
ลองวิธี ไอออนโตโฟเรสิส เพื่อรักษาอาการเหงื่อออกตามมือและเท้ามากผิดปกติ. คุณหมออาจจะแนะนำให้ใช้เครื่องดังกล่าวไปบำบัดตัวเองที่บ้าน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะใช้กระแสไฟฟ้าแบบอ่อนๆ ไหลกระจายผ่านน้ำ เพื่อระงับการทำงานของต่อมเหงื่อ [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ปรึกษาเกี่ยวกับการฉีดโบท็อก. โบท็อกสามารถช่วยยับยั้งการทำงานของต่อมเหงื่อได้ประมาณ 7-19 เดือน ต่อการฉีด 1 ครั้ง โดยทั่วไปมักจะใช้กับรักแร้ แต่ก็สามารถใช้รักษากับใบหน้า มือและเท้าได้เช่นกัน [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ใช้เครื่องมิราดราย (miraDry). อุปกรณ์ชนิดนี้ใช้รักษาบริเวณรักแร้ และบริเวณชั้นไขมันส่วนต่างๆ อุปกรณ์ที่ใช้ด้ามจับชนิดนี้ จะส่งพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ในการควบคุมออกไป ความร้อนที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ต่อมเหงื่อคลายตัวออก คุณหมอมักจะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีนี้ประมาณ 2 ครั้งโดยห่างกันครั้งละ 3 เดือน [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ใช้ยาในกลุ่มแอนไทคอลิเนอร์จิค. ยาประเภทนี้ไม่ผ่านการรับรองขององค์การอาหารและยา แต่มีประวัติมายาวนานมาก ในการรักษาเหงื่อออกผิดปกติ ทั้งนี้ นักกีฬา หรือคนที่เล่นกีฬา และคนที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรหลีกเลี่ยงยาประเภทนี้ เพราะมันจะไปทำลายกลไกขับเหงื่อของร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการระบายอุณหภูมิของร่างกาย [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
บำบัดอาการทางจิตใจร่วมด้วย. อาการเหงื่อออกของคุณ เกิดจากความกังวล การบำบัดจิต ด้วยวิธีความคิดและพฤติกรรมบำบัด อาจจะเป็นทางออกสำหรับปัญหาเรื่องเหงื่อของคุณ
-
ใช้วิธีผ่าตัดเป็นทางเลือกสุดท้าย. การผ่าตัดมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน:
- การผ่าตัดใต้รักแร้เฉพาะจุด กระบวนการนี้จะต้องทำโดยสถานที่ของทางแพทย์ผิวหนัง ด้วยการวางยาสลบเฉพาะที่ โดยคุณหมอจะใช้อุปกรณ์เครื่องมือแบบเดียวกับที่ใช้ดู หรือขูดชั้นไขมัน รวมถึงแสงเลเซอร์ร่วมด้วย ในการทำลายต่อมเหงื่อ ซึ่งคุณอาจจะต้องพักฟื้นประมาณ 2 วันเต็ม และอาจต้องลดกิจกรรมหนักๆ ในช่วงอีกหนึ่งสัปดาห์ถัดไปด้วย อย่าลืมว่า พวกประกันสุขภาพมักไม่ได้ครอบคลุมในการรักษาแบบนี
- การรักษาโดยจี้บริเวณเส้นประสาทที่ทำงานผิดปกติ ส่วนใหญ่เรียกกันว่าวิธี ETS ซึ่งศัลยแพทย์จะให้ยาสลบแบบปกติกับคนไข้ และตามด้วยกระบวนการจี้หรือตัดเส้นประสาทไขสันหลังบางจุดที่ก่อให้เกิดอาการเหงื่อออกมากเกินไป ซึ่งอาจทำใหเกิดผลข้างเคียง เช่น อาการทนต่ออากาศร้อนได้น้อยลง ความดันเลือดต่ำ และหัวใจเต้นผิดปกติ ดังนั้น วิธีนี้จะแนะนำก็ต่อเมื่อวิธีรักษาแบบอื่นๆ ไม่ได้ผลแล้ว
-
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรักษาทางเลือกอื่น. ตัวอย่างเช่น การฝังเข็ม ไบโอฟีดแบค การสะกดจิต หรือเทคนิคผ่อนคลาย เป็นต้น [9] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
เคล็ดลับ
- พยายามผ่อนคลายและสงบจิตใจเวลาอยู่ในที่มีคนเยอะ ความเครียดจะทำให้เหงื่อออกมากขึ้น
- ดื่มน้ำให้มากเท่าที่จะทำได้ (โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อน) เพื่อชะล้างทำความสะอาดระบบต่างๆ ในร่างกาย
- แม้ว่าคราบเหงื่อของคุณอาจจะเห็นชัด แต่ไม่ควรหาชุดหรือผ้ามาปิดทับซ้อนไปอีก เพราะจะยิ่งทำให้เหงื่อออกมากขึ้นและมีกลิ่นเหม็นอับ สุดท้ายแล้ว เดี๋ยวมันก็แห้งเอง ถ้าไม่แห้ง ก็ควรไปที่ห้องน้ำและทำความสะอาดตัวเองเสียหน่อย
- อย่าดื่มนมก่อนที่จะออกไปข้างนอกในวันที่แดดแรง มันจะทำให้คุณอาการย่ำแย่ลง และมีเหงื่อออกมากขึ้น
- เวลาอยู่ข้างนอก หาเวลาพักบ่อยๆ และกินผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมในช่วงพัก รวมถึง ควรนำสเปรย์พ่นน้ำพกเอาไว้ด้วย เพื่อฉีดส่วนต่างๆ ในร่างกายบริเวณที่รู้สึกร้อน เพื่อให้ความเย็นเกิดขึ้นในบริเวณดังกล่าว เหงื่อจะได้ไม่ออก
- เหงื่อที่ออกเยอะเกินไป เป็นเพียงผลสืบเนื่องของภาวะหลั่งเหงื่อมากผิดปกติ หากคุณมีภาวะดังกล่าว ควรจะไปพบแพทย์ เพราะมันอาจบ่งชี้ถึงโรคเบาหวานด้วย
- พยายามอย่าอายจากคราบเหงื่อที่เกิดขึ้น.
- หลายคนกลัวที่จะใช้ยาระงับเหงื่อ เพราะเชื่อว่า มันทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม [10] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง รวมถึงอัลไซเมอร์ด้วย [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง แต่ทั้งสมาคมอัลไซเมอร์และสมาคมศึกษาผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา ต่างก็ออกมาระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด เกี่ยวกับความเชื่อมโยงของยาระงับเหงื่อกับโรคมะเร็งและอัลไซเมอร์
- อาการแสบคัน เกิดจากเวลาที่เหงื่อสะสมบนชั้นผิวและระบายออกไม่ได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดผด ผื่น หรือแผลพุพอง หากคุณมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ควรรักษาผิวหนังให้แห้งและเย็นเสมอ ควบคู่ไปกับยาระงับเหงื่อ [12] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง The Merck Manual of Medical Information, <i>Excessive sweating</i>, p. 962, (2003), ISBN 978-0-7434-7733-8 พยายามอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกระหว่างที่รักษาตัวเอง หากเกิดผื่นขึ้น ควรไปพบแพทย์เสื้อคอครีมหรือโลชั่นคอร์ติคอสเตอรอยด์ ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับอาการดังกล่าว.
- บางครั้งอาการเหงื่อออกอาจเกี่ยวข้องกับโภชนาการที่ไม่สมบูรณ์ หากคุณรู้สึกว่าตัวเองกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ กินของหวานมากเกินไป ก็เป็นไปได้ว่า จะมีภาวะเหงื่อออกผิดปกติ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานด้วย
- หากร่างกายเกิดกลิ่นคาว พยายามหลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอม กลบ กลิ่น เพราะผลที่ได้ คือ กลิ่นอาจจะยิ่งรุนแรงขึ้น
- อาบน้ำเย็นเพื่อป้องกันเหงื่อออก และดื่มน้ำเย็นเวลากระหาย เพื่อให้ร่างกายเย็นอยู่เสมอ
- พยายามสงบจิตใจเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเหงื่อออกด้วยความประหม่า
- เสื้อผ้าสีมืดทึบ จะเก็บความร้อน ทำให้เหงื่อออกมากขึ้น
โฆษณา
คำเตือน
- หากอาการเหงื่อออกมากผิดปกติ เกิดขึ้นร่วมกับอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดท้อง ปวดหน้าอก หรือตัวเย็นลง มันอาจจะเป็นอาการของภาวะที่ร้ายแรง เช่น โรคหัวใจวาย คุณจึงควรไปตรวจที่โรงพยาบาลโดยเฉพาะ [13] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
โฆษณา
สิ่งของที่ใช้
- ยาระงับเหงื่อ
- เสื้อผ้าที่ซับเหงื่อได้ดี
- ชุดชั้นในหรือเสื้อชั้นในจากผ้าฝ้าย
- แผ่นซับเหงื่อ
- รองเท้าที่ระบายอากาศได้ดี
- สบู่ระงับกลิ่นกาย
- ยาระงับกลิ่นกาย
- ผ้าเช็ดก้นเด็ก
- ใบเสจ
- รากวาเลอเรียน
- สมุนไพรจากต้นฮอร์สเทล
- ใบยูคาลิปตัส
- เปลือกต้นโอ๊ค
- ไบวอนัด
- ใบวิทช์ฮาเซลล์
- รากทอร์เมนทิล
- ใบตำแย
- ใบสตอเบอรี่
- ชาที่สกัดจากเทียนข้าวเปลือก เลมอนบาล์ม หรือใบเป็ปเปอร์มิ๊นท์
- น้ำมันหอมกลิ่นกุหลาบ ส้ม หรือลาเวนเดอร์
- น้ำมันหอมกลิ่นเจอราเนียม ทีทรี หรือต้นสน
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.sweathelp.org/en/hyperhidrosis-treatments/antiperspirants/tips-for-best-results-otc.html
- ↑ http://www.cnn.com/2012/08/16/world/europe/geox-shoes-italy/index.html
- ↑ http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/features/dont-sweat-it?page=2
- ↑ http://www.herbs2000.com/disorders/sweating.htm
- ↑ http://www.sweathelp.org/en/hyperhidrosis-treatments/iontophoresis.html
- ↑ http://www.sweathelp.org/en/hyperhidrosis-treatments/botox.html
- ↑ http://www.sweathelp.org/en/hyperhidrosis-treatments/miradry.html
- ↑ http://www.sweathelp.org/en/hyperhidrosis-treatments/medications.html
- ↑ http://www.sweathelp.org/en/hyperhidrosis-treatments/alternate-therapies.html
- ↑ http://www.sweathelp.org/en/hyperhidrosis-treatments/antiperspirants/not-linked-to-breast-cancer.html
- ↑ http://www.sweathelp.org/en/hyperhidrosis-treatments/antiperspirants/connection-to-alzheimers.html
- ↑ The Merck Manual of Medical Information, Excessive sweating , p. 962, (2003), ISBN 978-0-7434-7733-8
- ↑ http://www.mayoclinic.org/symptoms/excessive-sweating/basics/when-to-see-doctor/sym-20050780
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,384 ครั้ง
โฆษณา