ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ แต่ละทีต้องมีก้าวแรก ถ้าอยากหัดวาดรูปสีน้ำ ก็ต้องหัดวาดอย่างค่อยเป็นค่อยไปและสนุกสนาน! ถ้าคุณเป็นมือใหม่ จะไม่แปลกใจเลยถ้าการวาดภาพสีน้ำสนุกก็จริง แต่ก็ยุ่งยากชวนหงุดหงิดในเวลาเดียวกัน อันนี้แล้วแต่ว่าคุณเริ่มต้นถูกวิธีหรือเปล่าด้วย ถ้าวาดเป็นแล้ว บอกเลยว่าเป็นสื่อที่ใช้แสดงความรู้สึกและเรื่องราวต่างๆ ได้ดีมาก เทคนิคมีทั้งแบบค่อยๆ วาด ลงรายละเอียด ไปจนถึงวาดตามใจเน้นแสดงอารมณ์และความอาร์ต ตอนเพิ่งหัดวาดก็ต้องใจเย็น ค่อยๆ ฝึกไป อย่ากดดันตัวเองว่าจะได้ผลงานชิ้นโบว์แดงในครั้งแรกหรือครั้งเดียว! ของแบบนี้มันต้องค่อยๆ เรียนรู้กันไป

ต้องฝึกวาดไปสักพัก กว่าจะเริ่มชินกับสีน้ำ ระหว่างนั้นก็อย่าเพิ่งด่วนถอดใจ ถ้าวาดไปแรกๆ แล้วไม่ค่อยเป็นท่า การวาดภาพสีน้ำต้องใช้เวลาและฝึกซ้ำๆ กว่าจะคุ้นมือกับสีน้ำและลักษณะฝีแปรงที่ต้องใช้ ฟังดูเหนื่อยแต่บอกเลยว่าคุ้ม!

ครูสอนวาดภาพสีน้ำส่วนใหญ่จะให้เริ่มฝึกจากเทคนิค "wet-into-wet" (แปรงเปียกกระดาษก็เปียก) แต่บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำเทคนิคที่แพร่หลายกว่าอย่าง "wet-into-dry" คือระบายแปรงเปียกบนกระดาษแห้ง

เกริ่นมาเยอะแล้ว ไปเริ่มลงมือกันเลยดีกว่า!

  1. ใช้ดินสอร่างรูปอะไรง่ายๆ ในกระดาษ แนะนำให้เป็นสี่เหลี่ยมหรือวงกลมก็ดี
  2. Watermark wikiHow to หัดวาดภาพสีน้ำ
  3. Watermark wikiHow to หัดวาดภาพสีน้ำ
    ถ้าพู่กันชุ่มน้ำเกินไป ให้เอาไปป้ายๆ ที่ผ้าขนหนูเพื่อกำจัดน้ำส่วนเกิน หรือสะบัดพู่กันนิดหน่อยก็ได้
  4. Watermark wikiHow to หัดวาดภาพสีน้ำ
    หยดน้ำ 1 - 2 หยด (จากพู่กัน) ลงในสีน้ำที่แต้มไว้ในจานสี. อย่าหยดน้ำใส่เยอะเกินไป แค่พอให้สีน้ำที่ข้นเหนียวเหลวขึ้น
  5. Watermark wikiHow to หัดวาดภาพสีน้ำ
    จุ่มพู่กันในสีน้ำที่เหลวแล้วในจานสี ให้สีน้ำติดพู่กันมาพอประมาณ. เริ่มระบายสีรูปที่ร่างไว้ในกระดาษ ถ้าสีข้นไป ปาดหรือระบายไม่ค่อยไป ให้เอาพู่กันไปจุ่มน้ำอีกรอบ แล้วหยดน้ำใส่สีที่กระดาษ ต้องลองปรับเปลี่ยนสัดส่วนระหว่างน้ำกับสีดูเอง จนได้ความเหลวตามต้องการ ถ้าอยากได้ฝีแปรงแบบ "dry brush" หรือแห้งๆ เห็นเป็นรอยพู่กัน ก็ให้ใช้น้ำน้อยหน่อย แต่ถ้าชอบแบบฉ่ำๆ ฟุ้งๆ ระบายลื่นไหล ก็ต้องเติมน้ำเยอะๆ ผสมสีเสร็จก็ระบายแบบที่ร่างไว้จนเสร็จ
  6. Watermark wikiHow to หัดวาดภาพสีน้ำ
    ใช้พู่กันไซส์ใหญ่หรือฟองน้ำปาดน้ำให้ทั่วจนกระดาษเปียกพอประมาณ จากนั้นระบายด้วยสีต่างๆ พอกระดาษแห้ง ลองสังเกตดูว่าสีออกมาเป็นยังไง ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามปริมาณน้ำที่ใช้ทากระดาษ
  7. Watermark wikiHow to หัดวาดภาพสีน้ำ
    ถ้าอยากให้พื้นหลังสีอ่อนๆ เนียนๆ ก็ต้องลงสีตอนกระดาษเปียก (wet into wet). สีน้ำแต่ละสีจะปนกันง่ายมากตอนระบายในกระดาษ แต่บางสีก็เลอะง่ายกว่าสีอื่นๆ ลองระบายสีฟ้าเป็นแถบๆ ดู จากนั้นลากแถบสีเหลืองหรือทองข้างๆ แล้วตามด้วยแถบสีแดงต่อท้ายแถบทองตอนที่กระดาษยังเปียก จะเห็นสีฟุ้งผสมกัน
  8. ขอบของแถบที่ป้ายไว้จะยังฟุ้งๆ แต่คมขึ้น พอสีเริ่มเข้าที่ ก็ผึ่งลมไว้จนกระดาษแห้งสนิท แล้วค่อยลงรายละเอียดแบบใช้พู่กันเปียกบนกระดาษแห้ง
  9. Watermark wikiHow to หัดวาดภาพสีน้ำ
    เริ่มวาดและระบายจากรูปง่ายๆ ไม่ต้องลงรายละเอียดมากนัก. ระบายท้องฟ้า วาดภูเขาและต้นไม้ แล้วลองระบายดูแบบ wet in wet จากนั้นค่อยลงรายละเอียดใหญ่ๆ แบบ wet on damp สุดท้ายเก็บรายละเอียดยิบย่อยแบบ wet on dry ตอนที่กระดาษแห้งสนิทแล้ว
  10. วิธีเช็คว่ากระดาษแห้งสนิทแล้ว คือจับแล้วจะไม่เย็น. เอาหลังมืออังที่รูป แต่อย่าวางลงไปให้สีเลอะ ต้องสักพักถึงจะจับความรู้สึกได้ว่ารูปชื้นเย็นหรือว่าแห้งสนิทแล้ว ย้ำว่าห้ามแตะสีโดยตรงเด็ดขาด ไม่งั้นสีเลอะหรือน้ำมันจากผิวคุณจะติดลงไปได้ อย่าแกะเทปยึดขอบ จนกว่ากระดาษจะเรียบและแห้งสนิท เทปกาวนี่แหละที่จะช่วยดึงรั้งไว้ให้กระดาษเรียบ ไม่ม้วนงอหลังระบายสีน้ำ
  11. จะใช้สมุดกระดาษสีน้ำ (watercolor block) ที่ติดกาวทั้ง 4 ด้านไว้กับแผ่นรองเขียนแทนก็ได้ ไม่ต้องมานั่งติดเทปกาวเอง. จะแพงกว่ากระดาษสีน้ำธรรมดาหน่อย แต่บอกเลยว่าใช้สะดวกมาก โดยเฉพาะคนที่เพิ่งหัดระบายสีน้ำ
  12. Watermark wikiHow to หัดวาดภาพสีน้ำ
    แล้วโรยเกลือก่อนสีจะทันแห้ง บอกเลยว่าจะได้ลายด่างดวง สวยไปอีกแบบ เหมือนเกล็ดหิมะในท้องฟ้า หรือลายมอส/ราบนก้อนหินยังไงอย่างงั้น
  13. Watermark wikiHow to หัดวาดภาพสีน้ำ
    วาดรูปด้วยสีไม้ สีเทียน หรือเทียนสีขาว พอระบายสีน้ำทับจะเห็นลายเส้นโดดเด่นขึ้นมา.
  14. Watermark wikiHow to หัดวาดภาพสีน้ำ
    ติดมาสกิ้งเทปให้เป็นรูปร่างที่ต้องการ แล้วระบายสีทับ. ส่วนที่ติดมาสกิ้งเทปไว้ พอลอกออกมาก็จะขาวสะอาด เป็นรูปทรงตามต้องการ
  15. Watermark wikiHow to หัดวาดภาพสีน้ำ
    เวลาระบายสีน้ำ ให้ลงสีเข้มก่อน แล้วค่อยตามด้วยสีอ่อน. ระบายสีรอบๆ ส่วนที่อยากเว้นขาวไว้ หรือติดเทปทับไว้ก่อน ถ้าระบายสีแบบ "negative painting" (กลับค่าสี) จนชิน ก็จะได้เส้นขอบที่คมชัดยิ่งขึ้น ดีกว่าร่างแบบแล้วลงสีเอาเอง เช่น วาดที่ว่างรอบๆ ถ้วยกาแฟ แล้วตามด้วยช่องว่างของหูถ้วยกาแฟ บอกเลยว่าจะออกมาเป๊ะกว่าวาดถ้วยกาแฟเองจริงๆ!
  16. Watermark wikiHow to หัดวาดภาพสีน้ำ
    พอสีน้ำหรือกระดาษทั้งแผ่นแห้งสนิท ให้ลงสีอื่นบางๆ แล้วระบายทับเร็วๆ จะทำให้ได้สีต่างออกไป ถ้าฝึกจนเก่งแล้ว จะไม่ไปรบกวนรายละเอียดข้างใต้เลย ถ้าเคลือบสีทองจางๆ บริเวณที่แสงส่องในรูปวิว ก็จะทำให้แสงแดดดูจัดจ้า สวยงามยิ่งขึ้น
  17. หาหนังสือหรือบทความสอนระบายสีน้ำมาฝึกฝนเทคนิคแปลกใหม่เพิ่มเติม. จะดูคลิปใน YouTube หรือเว็บอื่นๆ เพื่อหาเทคนิคระบายสีน้ำใหม่ๆ ก็ได้ จะได้ประยุกต์ใช้วาดอะไรที่คุณชอบ ภาพที่เอามาเป็นแบบวาดภาพสีน้ำได้ดีก็เช่น Sumi-E หรือภาพวาดพู่กันหมึกญี่ปุ่น เพราะฝีแปรงและเทคนิคงามมาก หยิบยืมมาใช้กับสีน้ำได้เลย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าเพิ่งเครียดจนถอดใจ ถ้า 2 - 3 รูปแรกที่วาดไม่สวยหรูดูโปร ศิลปะเป็นอะไรที่ต้องใช้เวลาฝึกฝน ยิ่งการวาดภาพสีน้ำยิ่งแล้วใหญ่ ไม่ใช่อะไรที่เก่งเทพได้ในอาทิตย์เดียว
  • ถ้าใช้กระดาษสีน้ำดีๆ แพงๆ อย่างของ Arches ถ้าระบายพลาดไปก็อย่าเพิ่งขยำทิ้ง เพราะระบายทับได้เสมอ โดยใช้สีอะคริลิกหรือสีกวอช (gouache) อีกทีคือใช้กระดาษที่เสียเป็นพื้นหลัง แล้วระบายทับด้วยสีชอล์คแทน ข้อดีของกระดาษดีๆ คือทนทาน แก้ไขได้เสมอ ถ้าแก้แล้วออกมาเป็นภาพสวยๆ ก็จะอยู่ได้นาน ไม่ต้องกลัวเหลืองเลย
  • สีน้ำแบบตลับพกพาสะดวก เหมาะสำหรับใช้วาดตอนไปเที่ยวหรือนอกสถานที่ แต่ถ้าจะผสมสีในปริมาณมากจะลำบากหน่อย เหมาะสำหรับระบายแบบ wet into dry ใช้พู่กันพกพาหัวแปรงกลมปลายแหลม ขนาดกลางถึงใหญ่จะดีที่สุด เพราะพู่กันที่แถมมากับตลับสีน้ำจะเล็กไป ทำได้แค่ลงรายละเอียด ส่วนกระดาษก็ให้ใช้สมุดกระดาษสีน้ำขนาดโปสการ์ด เท่านี้ก็ยัดทุกอย่างที่ว่ามาลงกระเป๋า พร้อมวาดหรือฝึกวาดได้ทุกเวลา จะพักเที่ยงตอนอยู่ออฟฟิศหรือที่โรงเรียนก็ดี ยี่ห้อแพงๆ หน่อยก็ของ Winsor & Newton แถมยังมีไลน์สินค้าที่จำเป็นเพิ่มเติม เช่น กระบอกน้ำ หรือจานสีแบบพับได้ด้วย
  • เทคนิค wet into wet นี่แหละดี แนะนำให้ระบายด้วยเทคนิคนี้ก่อน wet into dry ถ้าจะควบรวม 2 เทคนิคในรูปเดียว
  • ยี่ห้อสีน้ำที่แพงแต่ดีก็เช่น Winsor & Newton โดยมือใหม่มักเลือกใช้ "Cotman" เพราะราคาย่อมเยา ไม่ต้องกลัวพลาดจนเปลืองสี เป็นรุ่นและยี่ห้อที่แนะนำสำหรับนักเรียนหรือมือใหม่หัดวาดภาพสีน้ำ
  • เลือกกระดาษให้เหมาะสมกับ สไตล์ การวาดของคุณ เพราะกระดาษแต่ละชนิดก็มี "จุดเด่นจุดด้อย" แตกต่างกันไป อย่างของ Arches ดีตรงทนมือ ละเลงตามใจชอบได้เลย ทำได้กระทั่งล้างสีออกจากกระดาษ พอแห้งแล้วก็เอากลับมาใช้ใหม่ได้เลย
  • อย่ารีบคว้ากระดาษดีๆ หรือพู่กันขนกระรอกแพงๆ จริงๆ ถ้างบเยอะก็ไม่เป็นไร แต่บอกเลยว่าไม่จำเป็น! มือใหม่เริ่มจากพู่กันขนสังเคราะห์ สีน้ำดีๆ สักตลับ (ถ้าเลือก artist grade หรือที่ศิลปินใช้กันได้จะดีกว่าเกรดนักเรียน) กับกระดาษผิวกึ่งหยาบ 140 แกรมก็พอ ซื้อแค่ของที่จำเป็น ถ้าลองวาดแล้วรู้สึกว่าใช่ ก็ค่อยขยับขยายต่อไป
  • ถ้าใช้สีน้ำหมดเหลือแต่แพนเปล่า ก็อย่าเพิ่งรีบโยนทิ้ง เพราะเอาสีน้ำแบบหลอดมาบีบใส่ได้ ถูกกว่าซื้อใหม่เยอะ ยิ่งถ้าล้างแพนสะอาดๆ ก็เปลี่ยนสีใหม่ได้ เอาตามที่ชอบเลย
  • สีน้ำมีทั้งแบบ "แพน" แบบแท่ง หรือแบบหลอด มีกระทั่งสีน้ำแบบแท่งสีเทียน แต่บทความวิกิฮาวนี้จะพูดถึงสีน้ำแบบหลอดเท่านั้น
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าจุ่มพู่กันแบบเอาหัวแปรงทิ่มลงแล้วทิ้งไว้ในกระบอกน้ำแบบนั้น แต่ถ้าใช้ขวดโหลสำหรับล้างพู่กันโดยเฉพาะที่มีขดสปริงข้างใน ก็ทำได้ ตราบได้ที่ขนแปรงไม่ทิ่มติดก้นขวด ถ้าใช้พู่กันจีน ให้ใช้นิ้วจัดแต่งขนแปรง แล้วเอาห่วงที่ด้ามเกี่ยวตะปูหรือตะขอ แขวนห้อยไว้ พู่กันก็จะคงรูปสวยอยู่เสมอ
  • พู่กันเดียวอย่าใช้ระบายทั้งสีสูตรน้ำ (สีน้ำ สีอะคริลิก และสีกวอช) และสีสูตรน้ำมัน (สีน้ำมัน สีชอล์ค หรืออะไรที่ผสมทินเนอร์) โดยเฉพาะพู่กันที่ใช้ทาสีน้ำมันแล้ว ก็จะใช้กับสีน้ำไม่ได้อีก ถ้ากลัวสับสนให้หาอะไรเขียนแปะไว้ที่ด้ามเลย
  • อย่าดึงหรือเอาปากดูดขนแปรงให้กลับมาปลายแหลมหรือหัวตัดเรียงสวยตามเดิม แต่ให้ปั้นๆ แต่งๆ ด้วยนิ้วแทน บอกเลยว่าสีน้ำเกรดศิลปินเป็นพิษต่อร่างกาย ใครติดนิสัยหรือเผลอๆ ชอบดูดขนแปรง บอกเลยว่าอันตรายมาก
  • ล้างพู่กันด้วยน้ำยาล้างจานสูตรอ่อนโยน หรือน้ำยาล้างแปรงโดยเฉพาะของ Masters Brush Cleaner & Conditioner ปกติจะล้างได้สะอาดดี มีแค่บางสีที่ติดขนแปรงทนนาน ถ้าล้างถูกวิธีบอกเลยว่าพู่กันจะใช้ทนใช้นาน
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • สีน้ำหลายๆ สี
  • กระดาษสีน้ำ 300 แกรม (โดนน้ำแล้วไม่บวมหรือย่นเหมือนกระดาษแบบอื่นๆ)
  • พู่กันสีน้ำ (เบอร์ 8)
  • ขวดโหลใส่น้ำ 2 ขวด
  • จานพลาสติกสีขาว หรือจานกระเบื้องเคลือบ สำหรับทำจานสี
  • ทิชชู่ 1 ม้วน หรือผ้าขี้ริ้วสะอาดๆ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 23,012 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา