ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การไปเจอพ่อแม่ของคนรักครั้งแรกอาจทำให้คุณเครียดจนอยากทึ้งผม คุณอยากให้พ่อแม่ของเขาชอบคุณ แต่ว่าคุณจะคุยเรื่องอะไรกันดีล่ะ ไม่ว่าคุณจะกำลังคิดหาเรื่องคุยอย่างบ้าคลั่งระหว่างนั่งรถไปพบพ่อแม่ของเขาหรือมีเวลาเตรียมตัว 1 สัปดาห์ เรามาช่วยคุณแล้ว เพื่อให้คุณไม่ต้องมานั่งเครียดเรื่องจะไปพบพ่อแม่ของเขา ลองอ่านบทความนี้เพื่อดูหัวข้อชวนคุยและการเกริ่นเข้าเรื่องที่คุณสามารถหยิบยืมไปใช้ได้ เพื่อทำให้ครอบครัวของแฟนประทับใจ

1

พูดถึงจุดแข็งของคนรัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บอกให้พ่อแม่ของเขารู้ว่า พวกเขาประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูก. บอกว่าคุณภูมิใจในความสำเร็จของคนรักและเขาปฏิบัติต่อคุณเป็นอย่างดี การทำให้พ่อแม่ของเขารู้ว่าคุณประทับใจลูกชายของพวกเขาจะทำให้พวกเขายิ่งมองคุณในแง่ดีมากขึ้น! [1]
    • เล่าเหตุการณ์ที่คนรักทำในสิ่งที่คุณชื่นชม เช่น “หนูโชคดีมากเลยค่ะที่ได้เป็นแฟนกับภู เขาน่ารักมาก เมื่อวานนี้เขาช่วยเด็กซ่อมโซ่จักรยานด้วยนะคะ”
    • พูดถึงความสำเร็จของคนรัก เช่น “หนูภูมิใจมากเลยค่ะที่ปลื้มได้เลื่อนตำแหน่ง เขาตั้งใจทำงานมาก!”
    โฆษณา
2

ชวนคุยเรื่องวัยเด็กของคนรัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรื่องนี้เป็นหัวข้อที่ง่ายมากๆ แถมยังสนุกด้วย โดยเฉพาะเมื่อคุณไม่รู้ว่าจะพูดอะไรดี พ่อแม่มักจะชอบพูดถึงลูกๆ อยู่แล้ว และพวกเขาก็อาจจะเล่าเรื่องตลกๆ ให้คุณฟังด้วยนะ [2]
    • “หนูว่าสมัยม.ต้นเขาต้องเป็นตัวตลกของห้องแน่เลยค่ะ ครูพูดถึงเขาว่าไงบ้างเหรอคะ”
    • “ตอนเด็กๆ ฟลุ๊กเขาเป็นยังไงเหรอคะ”
3

ถามถึงภาพครอบครัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถามเรื่องราวเบื้องหลังภาพที่ใส่กรอบ หรือจะเป็นภาพพื้นหลังในจอคอมพิวเตอร์ก็ยังได้. คุณจะได้รู้จักความเป็นมาหรือวัยเด็กของคนรักเพิ่มขึ้นอีกมากมายจากการถามถึงภาพถ่ายสักใบ แค่อย่าลืมพูดถึงครอบครัวเขาอย่างให้เกียรติ และเข้าใจว่าภาพถ่ายอาจบันทึกความทรงจำที่มีคุณค่ามากๆ เกี่ยวกับคนหรือสถานที่ที่พวกเขารัก [3]
    • พูดถึงความคล้ายคลึงกัน เช่น “คนนี้คือคุณปู่ของปุณณ์เหรอคะ ตาเหมือนกันเลย”
    • ถามถึงสถานที่ถ่ายภาพ เช่น “ภาพนี้ถ่ายที่ไหนคะ สวยมากเลย”
    โฆษณา
4

ถามถึงการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมในครอบครัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำให้การคุยกันครั้งนี้สนุกสนานด้วยการถามถึงแผนการท่องเที่ยวในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต. ถ้าครอบครัวของเขาไม่เคยไปเที่ยวที่ไหนเป็นพิเศษ คุณก็อาจจะถามว่าพวกเขาชอบไปเที่ยวที่ไหน หรือคุณอาจจะถามถึงธรรมเนียมของครอบครัวหรือทริปใกล้ๆ ก็ได้ถ้าพ่อแม่เขาไม่ค่อยเที่ยว [4]
    • ถามเจาะจงเกี่ยวกับธรรมเนียมของครอบครัว เช่น “ธันบอกว่าครอบครัวเขาไปปิกนิกกันทุกวันอาทิตย์ ไปที่ไหนกันเหรอคะ”
    • ถามถึงทริปที่ผ่านมา เช่น “ทริปแบกเป้เที่ยวเป็นยังไงบ้างคะ”
    • ถามถึงแผนการในอนาคต เช่น “คุณพ่อคุณแม่ฝันอยากไปเที่ยวที่ไหนคะ”
5

ถามถึงละแวกที่พวกเขาเคยอยู่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มจากคำถามง่ายๆ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับจังหวัดหรือภูมิภาคที่พวกเขาเคยอยู่. จากนั้นค่อยถามเจาะจงว่า อยู่ที่นั่นพวกเขาชอบทำอะไร แล้วย้ายไปอยู่ที่อื่นได้อย่างไร (ถ้าพวกเขาย้าย) หรือว่าเพราะอะไรพวกเขาถึงยังอยู่ที่นี่ (ถ้าตอนนี้พวกเขาอยู่ที่เดิม) คนเราชอบพูดเรื่องตัวเองอยู่แล้ว และคุณเองก็จะได้รู้จักครอบครัวที่เลี้ยงคนที่คุณคบอยู่ด้วย ถ้าคุณมีเวลาค้นคว้าล่วงหน้าสักหน่อย คุณก็อาจจะค้นหาสถานที่และถามถึงลักษณะเฉพาะของบ้านเกิดพวกเขาก็ได้ [5]
    • ถ้าคุณไม่ค่อยคุ้นเคยกับพื้นที่นั้นเท่าไหร่ ลองถามว่า “อยู่ที่นั่นคุณพ่อคุณแม่ชอบอะไรมากที่สุดคะ”
    • ถ้าคุณรู้อะไรเกี่ยวกับพื้นที่นั้น ให้ถามเจาะจงเกี่ยวกับพื้นที่นั้นต่อ เช่น “ว้าว ที่นั่นมีสนามฟุตบอลที่จุคนดูได้หลายหมื่นคนเลยใช่ไหมคะ คุณพ่อคุณแม่เคยไปดูแข่งฟุตบอลที่นั่นไหมคะ”
    โฆษณา
6

ขอให้พวกเขาแนะนำหนังสือ ภาพยนตร์ หรือเพลง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรียนรู้รสนิยมของพวกเขาและดูว่ามีบางอย่างที่ตรงกันหรือเปล่า. ถ้าคุณไม่รู้อะไรเกี่ยวกับครอบครัวของคนรักมากนัก การพูดคุยเรื่องสื่อที่เป็นที่นิยมนั้นถือว่าเป็นหัวข้อการสนทนาระดับพื้นฐานที่ดีเลยทีเดียว เมื่อพ่อแม่ของคนรักบอกคุณว่าพวกเขาสนใจอะไร ให้ถามคำถามต่อเพื่อให้พวกเขารู้ว่า คุณอยากฟังมุมมองของเขาและเพื่อให้มีเรื่องคุยกันต่อ คุณอาจจะพูดถึงหนังสือ ภาพยนตร์ หรือวงดนตรีที่คุณชอบที่คล้ายๆ กับสิ่งที่พวกเขาพูดถึงด้วยก็ได้ [6]
    • “ช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ได้อ่านหนังสือที่น่าสนใจบ้างไหมคะ”
    • “หนังที่ดีที่สุดที่คุณพ่อคุณแม่เคยดูมาคือเรื่องอะไรคะ”
    • “คุณพ่อคุณแม่ชอบฟังเพลงอะไรคะ”
7

สานสัมพันธ์ผ่านสิ่งที่คุณสนใจเหมือนกัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สิ่งที่พวกเขาสนใจอาจจะหมายถึงงานอดิเรก ทักษะ ภูมิหลัง และอื่นๆ ถ้าคุณกับพ่อแม่ของคนรักมีอะไรที่เหมือนกัน ให้เตรียมคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิ่งที่คุณทั้งคู่สนใจเหมือนกัน อย่าลืมว่าคุณต้องเป็นตัวของตัวเองด้วย อย่าแกล้งทำเป็นสนใจอะไรบางอย่างแค่เพื่อให้มีเรื่องคุย เพราะพวกเขาอยากรู้จักตัวตนที่แท้จริงของคุณ [7]
    • “เอิร์ธบอกว่าคุณพ่อคุณแม่ชอบปลูกต้นไม้ หนูกำลังทำสวนสมุนไพรอยู่ค่ะ คุณพ่อคุณแม่พอจะมีเคล็ดลับไหมคะ”
    • “หนูตั้งใจเรียนเพื่อจะสอบหมอค่ะ คุณพ่อคุณแม่ชอบอะไรเกี่ยวกับงานของตัวเองเหรอคะ”
    โฆษณา
8

พูดถึงสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำให้พ่อแม่ของเขาเห็นว่า คุณอยากรู้จักครอบครัวของเขา. ไม่ว่าคุณจะเคยเจอพี่น้องของคนรักมาแล้วหรือไม่ก็ตาม คุณก็สามารถถามถึงพวกเขาได้ว่าพวกเขาเป็นอย่างไรบ้างหรือเป็นคนแบบไหน ถ้าพวกเขามีสัตว์เลี้ยงที่พวกเขารักมากๆ คุณก็อาจจะถามว่าพวกเขาได้มันมาจากที่ไหน ตั้งชื่อว่าอะไร และขอดูรูปถ่ายน่ารักๆ ของมันก็ได้ [8]
    • “น้องสาวของไอซ์เรียนพยาบาลใช่ไหมคะ เรียนเป็นยังไงบ้างคะ”
    • “หนูยังไม่เคยเจอพี่ชายของเขาเลยค่ะ เขาเป็นยังไงคะ”
    • “กระปุกดูเป็นหมาที่น่ารักมากเลยค่ะ คุณพ่อคุณแม่มีรูปกระปุกตอนเด็กไหมคะ”
9

กล่าวชมและกล่าวขอบคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกสิ่งที่ดูน่ารักในบ้าน/สถานที่ของครอบครัวแฟน การตกแต่งที่ไม่เหมือนใคร หรืออาหารอร่อยในมื้อนั้น แสดงความชื่นชมและขอบคุณอย่างจริงใจ ความสุภาพของคุณจะชนะใจครอบครัวของเขา และคุณก็สามารถพูดถึงสิ่งนั้นเพื่อชวนคุยได้ด้วย เมื่อกล่าวชมแล้วก็ให้ถาม คำถามปลายเปิด เกี่ยวกับสิ่งที่คุณชื่นชมต่อ [9]
    • ชมของแต่งบ้าน เช่น “ห้องนั่งเล่นดูสดใสน่านั่งมากเลยค่ะ คุณพ่อคุณแม่ซื้อโซฟาตัวนี้มาจากที่ไหนเหรอคะ”
    • พูดถึงมื้ออาหาร เช่น “ขอบคุณสำหรับอาหารเย็นมื้อนี้มากนะคะ คุณแม่หัดทำจานนี้จากที่ไหนเหรอคะ”
    โฆษณา
10

หลีกเลี่ยงหัวข้อที่นำไปสู่การถกเถียง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าพูดถึงเรื่องดราม่าในครอบครัว ศาสนา และการเมือง. ถ้ามีคนพูดหัวข้อที่เป็นประเด็นร้อนแรงและคุณไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาพูด ลองคิดดูว่ามันคุ้มกับการที่คุณจะเถียงด้วยไหม ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองจำเป็นที่จะต้องพูดถึงประเด็นหรือเรื่องนี้จริงๆ คุณก็สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างให้เกียรติและลึกซึ้งได้ หรือถ้าคุณไม่อยากพูดออกไปว่าไม่เห็นด้วย ให้เก็บความคิดเห็นของคุณไว้ก่อนจนกว่าคุณจะรู้จักครอบครัวของเขาดีกว่านี้ [10]
    • แสดงออกว่าไม่เห็นด้วยอย่างสุภาพด้วยการพูดว่า “หนูมีมุมมองที่ต่างออกไปนิดหน่อยค่ะ” ซึ่งฟังดูละมุนละไมกว่าการพูดว่า “หนูไม่เห็นด้วยค่ะ” [11]
    • หัวเราะเมื่อได้ยินคำพูดที่ชวนกระอักกระอ่วนหรือพูดว่า “หนูไม่รู้จะพูดยังไงเลยค่ะ!” [12]
11

อย่าบ่นหรือวิจารณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าพวกเขาจะถามเรื่องภาพยนตร์หรือเรื่องงาน ให้คิดบวกเข้าไว้. ถ้ามีใครถามคุณเกี่ยวกับสิ่งที่คุณไม่ชอบ พยายามเปลี่ยนทิศทางการสนทนา การแสดงออกเล็กน้อยว่าไม่ชอบหรือพูดออกมาว่าไม่เห็นด้วยนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ต้องทำอย่างมีมารยาทและพอประมาณเพื่อไม่ให้ดูหยาบคาย [13]
    • คุณสามารถเปลี่ยนเรื่องคุยได้ด้วยการถามเกี่ยวกับชีวิตของคนอื่น เช่น “หนูไม่ค่อยชอบวิชานี้เท่าไหร่ แต่ว่าหนูก็ได้เรียนรู้อะไรเยอะแยะเลยค่ะ มีบทเรียนอะไรจากมหาวิทยาลัยที่คุณพ่อคุณแม่จำได้จนถึงทุกวันนี้ไหมคะ”
    • ถ้าคุณไม่เห็นด้วยมากๆ พยายามลดทอนคำวิจารณ์ให้ฟังดูเป็นบวกมากขึ้น เช่น “อ๋อ หนูไม่ค่อยชอบหนังเรื่องนั้นเท่าไหร่คะ แต่หนูว่าเพลงเพราะมากเลยนะคะ”
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,592 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา